หลวงพ่อสด แยกกายมาจากต้นธาตุต้นธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย belives, 29 ตุลาคม 2010.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    น่าเห็นใจบางท่าน ที่มองอะไรเพียงเปลือกด้วยอคติมาปิดกั้นปัญญา และด้วยวิธีการใช้สุตมยปัญญา แลจินตมยปัญญา ในการไตร่ตรองธรรมภาคปฏิบัติวิชชาธรรมกาย ไม่ได้พิสูจน์ในภาคภาวนามยปัญญานั่นเอง


    ท่านผู้มีใจเป็นธรรมทั้งหลาย ธรรมกายเป็น ธรรมภาคปฏิบัติดั่งได้ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถามากมาย ท่านต้องปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมกายท่านจึงจะเข้าใจ สาระประโยชน์นั้นมีมากมายนัก การที่จะมีผู้เข้าใจผิดเพราะไม่เปิดใจศึกษาแลไม่อาศัยใจที่เป็นกุศลในการพิจารณาความรู้นั้น เพราะประสบการณ์ทางความเห็นเป็นไปในทางอคติเสียแล้วก็ป่วยการที่จะทำความเข้าใจแนวปฏิบัติวิชชาธรรมกายได้จริง


    คำถามเดิมๆ ที่ใครๆ เขาทราบความชัดเจนไปแล้ว ก็ไม่เคยจักเข้าใจอะไรได้สักที ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาแต่ก็พยายามหาแง่ตั้งแง่มาวิจารณ์ก็จะเกิดตามมาแบบผู้ไม่เอาความรู้ เอาแต่วิจิกิจฉาอยู่ร่ำไป คำว่า วิชชาธรรมกายหมายถึงอย่างไร ผู้ปฏิบัติวิชชาธรรมกายเขาเข้าใจเป็นอันดี ผมได้ตอบมามากแล้ว สิ่งที่ท่านถามไม่มีอะไรใหม่เลย เป็นความสงสัยเดิมๆ ที่ผมอธิบายมามากแล้วเท่านั้นเอง แปลว่ายังติดวิจิกิจฉาเดิมๆ เท่านั้น


    บางท่านถามว่า "วิชชาธรรมกาย" ประโยคนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก...?


    ต้องเข้าใจคำว่า "วิชชาธรรมกาย" เป็นเพียงคำที่ใช้เรียกผู้ฝึกสมาธิแนว "ธรรมกาย" เพื่อให้เห็นกายในกายจนเข้าถึงธรรมกาย


    ไม่ใช่ว่าเราต้องไปตามค้นหาว่า คำว่าวิชชาธรรมกายซึ่งไม่มีเลยในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกหรือในอรรถกถา ในคัมภีร์โบราณ มีแต่คำว่า "ธรรมกาย" ไม่มีคำว่า "วิชชาธรรมกาย" เพราะคำว่า วิชชาธรรมกาย เป็นคำศัพท์ในภาษาไทยโดยเอาคำศัพท์บาลีสองคำมารวมกันคือคำว่า "วิชชา" กับคำว่า "ธรรมกาย" มารวมกันเป็นคำว่า "วิชชาธรรมกาย" ไม่มีในบาลี เพราะแค่บ่งบอกว่า เป็นผู้ฝึกให้เห็น ธรรมกาย


    วิชชาธรรมกายรวมยอดเอาการฝึกปฏิบัติให้เข้าถึง วิชชา ๓ วิชชา ๖ วิชชา ๘ และส่วนแห่งวิชชา ๒ อย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา รวมอยู่ในธรรมกาย เพราะธรรมกายเป็นผู้บอกปิฎกความรู้ทั้งปวงเหล่านั้น ธรรมกายเป็นกายตรัสรู้ธรรม ทุกคนมีธรรมกาย ใครเข้าถึงธรรมกายได้ก็สามารถเจริญวิชชาและจรณะได้นั่นเอง จึงเรียกรวบยอดว่า "วิชชาธรรมกาย"



    สำหรับคุณขันธ์ ผมเห็นว่าท่านกำลังหาความพึงพอใจที่จะแสดงทิฏฐิความไม่เห็นด้วย แลอคติความเอนเอียงไม่ชอบใจตามภูมิปัญญาของท่าน ซึ่งต้องขอขอบคุณจริงๆ ที่พยายามกระทำเช่นนี้ เพราะทำให้ผมเห็นอะไรๆ ในความคิดเห็นของท่านว่า ยึดถือและติดตังความรู้ความเห็นของตนเป็นที่ตั้งจริงๆ สำหรับวิธีการแก้วิจิกิจฉาธรรมเช่นนี้ วิธีที่ง่ายและตรงประเด็น ก็คือ


    1. ลองมาปฏิบัติสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายในสำนักที่เขาเปิดสอนดูก่อนซีครับ อาจจะยากแก่การปลงใจวางใจวางอคติในการฝึกสักหน่อย แต่นี่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ท่านจะเข้าใจว่า การเดินใจ ๗ ฐานคืออย่างไร กายในกายทั้ง ๑๘ กายคืออย่างไร หลวงพ่อสดท่านเป็นต้นธาตุคืออย่างไร พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพานคืออย่างไร ถ้าท่านวางใจจากอคติเจตนาลงได้ ท่านจะพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ได้ แต่ถ้าอคติเจตนายังมีอุดมในจิตใจ ก็จบกัน ก็อยู่แบบเดิมๆ เช่นนี้ เห็นอะไรไม่เข้าตา ไม่ถูกใจ ไม่ถูกจริตอัธยาสัย ไม่ถูกประสบการณ์ของตนก็วิพากวิจารณ์ตามอารมณ์แลปัญญาจะพาไปเช่นนี้เอง นี่ประการหนึ่ง


    2. ถ้าไม่สนใจฝึกเพราะอคติหนาแน่นเหลือเกิน ก็จงยุติความคับแคบด้วยการทำใจเป็นกลางๆ แล้วศึกษาภาคปริยัติที่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นหามากมายไปก่อนเถิด ถ้าข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ช่วยให้อคติคลี่คลายลงได้ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ ชอบอย่างไหนก็ปฏิบัติอย่างนั้นให้ถึงที่สุดทุกข์หรือให้ถึงที่สุดของความเพียรของตนเถิด แล้ววันนึงท่านจะเข้าใจอะไรมากขึ้นก็เป็นได้



    ผมคุยกับผู้ไม่เข้าใจวิชชาธรรมกายมามากมายเหลือเกิน และส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ก็มีข้อสงสัยเพียงไม่กี่เรื่อง ซึ่งคุณขันธ์ก็แสดงออกมาให้เห็นเป็นส่วนใหญ่แล้ว พอมาประเมินก็ทราบว่าถึงจะให้ข้อมูลอย่างไร อคติที่ฝั่งในจิตใจก็ยากที่จะคลี่คลายลงได้ ท่านลองช่างใจดูนะครับ ผมกล้ายืนยันได้ว่า ผู้ฝึกสมาธิวิชชาธรรมกาย ถ้าเข้าถึง ๑๘ กายได้ และรักษาด้วยการเดินวิชชาให้ใจหยุด-นิ่ง-ใสเนืองๆ ท่านไปสุคติทุกคน ที่สำคัญถ้าท่านฝึกจริง ท่านหมดข้อสงสัยในคุณพระรัตนตรัยและภพภูมิต่างๆ ท่านจะได้ความรู้ทั้งสมถะ-วิปัสสนาอย่างชัดแจ้ง เพราะได้ รู้-เห็น สิ่งเหล่านี้จนแจ้งใจ แต่ท่านต้องเรียนจริง แม้แต่พระพุทธเจ้าเราก็ไปกราบได้ตามที่ได้แสดงวิธีการให้แล้ว ดังนั้นใครที่กระดูกเป็นพระธาตุ ศิษย์ทั้งหลายยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้ธรรมกายชั้นสูงท่านตรวจสอบทันที ผลปรากฏว่า.....นั่นเพราะยังไม่รู้จักธรรมภาคมารว่าเขามีชั้นเชิงอย่างไร ก็คิดว่าสำเร็จแล้วแน่นอน ผมกล่าวอย่างนี้ไม่ได้เจาะจงแก่ผู้ใด เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่า วิชชาธรรมกายเขาตรวจสอบได้ละเอียดนัก ที่สำคัญเรื่องเหล่านี้เขาไม่พูดกัน ต้องคุยกับผู้ที่ไปรู้ไปเห็นได้เท่านั้น จักได้ไม่มีการกล่าวหาอะไรกัน คือผู้ปฏิบัติวิชชาธรรมกายชั้นสูงนั้นเขาจะคุยกันเอง ผมเพียงเสนอให้เป็นข้อคิดว่า อะไรที่ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น ทำก็ไม่เป็นและยังไม่เข้าใจ และยากแก่การเข้าถึงนั้นยังมีอีกมาก จึงขอให้ท่านวางใจให้เป็นกุศลเถิด ถ้าท่านเตลิดคิดมากด้วยความเอนเองไปตามอคติแทนที่จะได้ประโยชน์จากการพูดคุยกัน กลับจะมีการเพ่งโทษกล่าวหากันไปไม่รู้จบ แทนที่จักได้บุญก็จะกลายเป็นได้บาปกันไป เพราะไปกระทบท่านนั้นท่านนี้โดยที่ตนเองก็ยังไม่เข้าใจตื้นลึกหนาบาง...แต่ประการใด


    ผมตอบท่านในทุกประเด็นที่ท่านสงสัย แต่เชื่อเถิดความวิจิกิจฉาเช่นนี้ของท่านยังมีอยู่ร่ำไป นั่นไม่ใช่ปัญหาของผม และไม่ใช่ปัญหาของผู้ฝึกภาวนาวิชชาธรรมกาย แต่เป็นปัญหาของท่านที่ไม่สามารถเข้าใจอะไรได้ติดต่อชัดเจนเอง จะให้ผมสนทนาเพื่อความพึงพอใจของท่านฝ่ายเดียวนั้น เห็นว่าเหนื่อยเสียเปล่านะ....ขอรับ



    สำหรับกระผมเอวังแก่คุณขันธ์ด้วยประการล่ะฉะนี้ สนใจศึกษารายละเอียดในประเด็นต่างๆ โปรดเข้าไปอ่านในเวบ http://khunsamatha.com/


    ในห้องสนทนาก็มีความรู้ให้ศึกษามากมาย http://forums.212cafe.com/samatha/


    เช่น

    คำถามทางวิชชาธรรมกาย ที่ควรรู้
    http://forums.212cafe.com/samatha/board-2/topic-9-1.html


    กระทู้นี้เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง กรุณาค่อยๆ ศึกษาหาความรู้ไปเถิด อย่าเพิ่งด่วนสรุป เพราะความประมาทในธรรมที่เรายังไม่รู้ไม่เห็น....อีกเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    มีผู้เข้าใจผิด คิดไปว่าวิชชาธรรมกายคืออะไร ทำไมไม่มีในพระไตรปิฎกหรือ...?


    ขอให้ทำความเข้าใจกันด้วยใจเป็นกลางๆ ดังนี้...


    พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี เมื่อท่านบรรลุธรรมนั้น ท่านเข้าถึงกายในกาย จนกระทั่งถึงธรรมกาย ธรรมกายเป็นผู้บอกปิฎกธรรมทั้งปวง กายมนุษย์เพียงกายนี้กายเดียวความรู้มีไม่พอ เพราะกายมนุษย์อยู่ในชั้นโลกียวิสัย ใจก็ละเอียดไม่พอ ตาก็ไม่มีรู้ญาณทัสสนะเพียงพอ เพราะอยู่ในโลกียวิสัยไม่สามารถเห็นโลกุตตระวิสัย ต้องเห็นกายในกาย( กายมนุษย์ กายฝัน กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมหรือธรรมกาย) จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย คือกายโลกุตตระวิสัย

    แม้ในชั้นพระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี ก็ต้องเห็นกายในกาย จนกระทั่งเห็นธรรมกาย แม้ผู้ฝึกวิชชาธรรมกายในปัจจุบันก็ถือว่าเมื่อถึงธรรมกายก็จัดเป็นโคตรภูบุคคลเท่านั้น...

    แต่แรกเมื่อเห็นกายโลกีย์ท่านก็เห็นการเวียนเกิดเวียนตายของตนเอง(ปุพเพนุวาสานุสติญาณ) และผู้อื่น(จุตูปปาตญาณ) เมื่อเข้าถึงธรรมกายทำการสะสางธาตุธรรมภายใน(อาสวขยญาณ)กิเลสก็หลุดหมดไปจากขันธสันดาน เมื่อธรรมกายตรัสรู้เป็นพุทธเจ้า ก็เข้าถึงปิฎกธาตุปิฎกธรรมของธรรมภาคกุศล (84,000 พระธรรมขันธ์) วิชชาความรู้ต้องอาศัยธรรมกายเป็นผู้ต่อรู้ต่อญาณทัสสนะให้เห็นเข้าไปไม่สิ้นสุด


    วิชชาธรรมกาย ไม่ใช่ของใหม่ เพียงแต่ท่านผสมระหว่าง 2 คำ คือ วิชชา = ความรู้แจ้งใจ กับ ธรรมกาย กายแห่งธรรมทั้งปวง กล่าวตามบัญญัติศัพท์เมื่อผสม วิชชา+ธรรมกาย คือ ธรรมกายเป็นผู้ให้เกิดรู้ญาณทัสสะให้เห็นความรู้อันแจ้งใจในธรรมทั้งปวง วิชชา 3 วิชชา 6 วิชชา 8 ส่วนแห่งวิชชา 2 อย่าง ล้วนต้องมาจากกายในกาย จนกระทั่งถึงธรรมกายนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ฝึกปฏิบัติให้เห็นกายในกาย จนกระทั่งถึงธรรมกาย คือผู้ฝึก "วิชชาธรรมกาย" นั่นเอง


    ทีนี้ที่กล่าวว่า ความรู้นี้สูญหายไป เพิ่งกลับขึ้นมาใหม่ ท่านหมายเอา การปฏิบัติให้เห็นกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกาย แต่แรกเมื่อเห็นธรรมก็เห็นกายในกายจนกระทั่งเห็นธรรมกายด้วย เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่ต้องปรุงแต่ง ไม่ต้องไปยึดมั่น ไม่สาธารณะว่าอัตตาหรืออนัตตา เพราะตรวจดูตามสภาวธรรมที่เป็นจริงได้ว่าเกิดแต่สังขตธาตุ หรืออสังขตธาตุ แต่พอหลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ 500 ปี ท่านว่าการปฏิบัติให้เห็นกายในกายขาดหายไป โดยเฉพาะเมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงมีน้อยลง เหลือแต่นักปราชญ์บัณฑิตที่จารบันทึกความรู้ลงในพระไตรปิฎก แล้วก็ศึกษาตามตัวอักษร จนกระทั่งปฏิบัติย่อหย่อน นักปฏิบัติก็ไม่ถนัดงานแต่งตำรา นักตำราก็ไม่ถนัดปฏิบัติให้เข้าถึง หนักเข้าหนักเข้าก็เหลือแต่พิจารณาสภาวะธรรมตามตัวอักษร การเข้าถึงกายในกายอันเป็นอุปการะแก่รู้ญาณทัสสนะ คือการเห็นแจ้งเห็นวิเศษก็หมดไป การเข้าถึงกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกายก็ไม่มีผู้เข้าถึงอีกต่อไป หรือถ้าจะมีบ้างก็เป็นเฉพาะนักปฏิบัติจริงๆ อยู่ในป่าในเขา จนไม่ปรากฏร่องรอยการสืบต่อ มีอยู่เพียงในชั้นจารึกซึ่งไม่ชัดเจนนัก แม้แต่คำว่าธรรมกายอันเป็นภาวนามยปัญญาเกิดแต่การปฏิบัติ ก็กลายเป็นสุตตมยปัญญา แลจินตมยปัญญาเหลือแต่อธิบายกันตามนักปราชญ์ท่านจะรจนา กลายเป็นกองแห่งธรรมไป ทั้งๆ ที่พุทธศาสนาเน้นที่การปฏิบัติให้เข้าถึง


    ขอให้เข้าใจให้ถูกตรงว่า คำว่า "วิชชาธรรมกาย" คืออย่างไร ไม่ใช่ไม่มีแต่ท่านไม่ได้หมายเอาว่า คือวิชชาแบบ วิชชา 3 วิชชา 6 วิชชา 8 ส่วนแห่งวิชชา 2 อย่าง(สมถะ+วิปัสสนา) แต่ท่านหมายเอาว่า ธรรมกายนี่แหละที่เป็นอุปการะส่วนแห่งวิชชา 2 วิชชา 3 วิชชา 6 แล วิชชา 8 นั้นเทียว จึงให้นามผู้ปฏิบัติให้เห็นกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกายว่า ผู้ปฏิบัติ "วิชชาธรรมกาย"


    อธิบายให้แล้ว...ไม่ทราบว่าจะพึงพอใจหรือไม่ ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกตรงแล้วปล่อยวางอคติลงเถิด...ท่านผู้เจริญ...
    <TABLE border=0 cellSpacing=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width=75 noWrap>จากคุณ</TD><TD>: <!--MsgFrom=17-->สมถะ [​IMG][​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=bottom width=75 noWrap>เขียนเมื่อ</TD><TD vAlign=bottom>: <!--MsgTime=17-->10 ส.ค. 53 20:42:22 <!--MsgIP=17-->[​IMG]</TD></TR><TR><TD id=xscore17 vAlign=top width=75 noWrap>ถูกใจ</TD><TD id=score17>: ABP@BDZ, De affodil</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อย่าไปติดคำว่า "วิชชาธรรมกาย" เท่านั้นนะครับ เป็นคำที่ประสมคำว่า วิชชา+ธรรมกาย ก็เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำเผยแผ่วิธีการฝึกปฏิบัติให้เห็นกายในกายจนกระทั่งเห็นธรรมกายนี่แหละ


    ในพระไตรปิฏก มีกล่าวถึงคำว่า ธรรมกาย ดังนี้

    .....................................................................................................................................................


    "ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต"


    --> ธรรมกายเป็นชื่อของเราตถาคต การที่พระองค์จะได้ชื่อใดมานั้น ต้องมีที่มาเสมอ ก็คือผลของการปฏิบัติที่ทรงเข้าถึง ธรรมกายคือชื่อของตถาคตก็แปลว่า พระองค์ต้องเข้าถึงธรรมกาย



    "ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"


    --> ประโยคนี้ พระนางปชาบดีโคตรมีเป็นผู้กล่าว ก็แปลว่า รูปกายของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นเจ้าชายสิทธัตถะพระนางเป็นผู้เลี้ยงดูให้เติบโต ส่วนพระธรรมกายนี้ พระพุทธเจ้าทรงบอกวิธีการปฏิบัติจนกระทั่งพระนางได้เข้าถึงนั่นเอง



    "พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"


    --> พระสูตรนี้ทำให้เราทราบว่าแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เข้าถึงธรรมกาย ธรรมกายเป็นผู้บอกปิกฎก จึงว่ามีธรรมะอันใหญ่ ธรรมกายมีไปจนสุดหยาบสุดละเอียด จึงชื่อว่า มีธรรมกายมาก



    "บุคคลใดยัง "ธรรมกาย"ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"


    --> พระสูตรนี้บ่งชัดว่า ต้องเห็น และยังกล่าวอีกว่า เมื่อเห็นธรรมกายต้องสว่าง ใครเห็นก็ปลาบปลื้มยินดี


    ปล. --> หลังเครื่องหมายนี้คือความเห็นของผู้เขียนเอง

    ......................................................................................................................................................


    ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นว่าธรรมกายเป็นเรื่องของการปฏิบัติทั้งสิ้น ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ ไม่ใช่เป็นเพียงกองแห่งธรรมเฉยๆ เป็นแน่


    แต่ทำไมไม่ปรากฏคำว่า "วิชชาธรรมกาย" เลย ตอบง่ายๆ ก็คือ ธรรมกายเป็นบ่อเกิดของส่วนแห่งวิชชา 2 อย่าง(สมถะ+วิปัสสนา) และเป็นบ่อเกิดของวิชชา3 วิชชา 6 วิชชา 8 เพราะการเข้าถึงกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกายเป็นอุปการะให้เห็นวิชชาเหล่านี้นั่นเอง ท่านจึงเรียกรวมย่อว่า "วิชชาธรรมกาย" <!--MsgFile=32-->

    <TABLE border=0 cellSpacing=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width=75 noWrap>
    จากคุณ
    </TD><TD>: <!--MsgFrom=32-->สมถะ [​IMG][​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=bottom width=75 noWrap>เขียนเมื่อ</TD><TD vAlign=bottom>: <!--MsgTime=32-->11 ส.ค. 53 20:15:08 <!--MsgIP=32-->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิธีเข้าถึงธรรมกายในคัมภีร์




    พิจารณาคำว่าธรรมกายในคัมภีร์ศาสนา


    คำว่า ธรรมกาย ในคัมภีร์พิเศษชื่อวิสุทธิมรรค ภาค ๒ ตอน มรณัสติกถา (มกุฏ. ๘ / จุฬา. ๑๕๕)



    โยปิ โส ภควา อสีติอนุพฺยญฺชนปฏิมณฺฑิตทฺวตฺตึสมหาปุริสลกฺขณวิจิตฺตรูปกาโย สพฺพาการปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตนสมิทฺธธมฺมกาโย ฯเปฯ โสปิ สลิลวุฏฺฐินิปาเตน มหาอคฺคิกฺขนฺโธ วิย มรณวุฏฺฐินิปาเตน ฐานโส วูปสนฺโต ฯ



    ในฎีกาของวิสุทธิมรรคชื่อ ปรมัตถมัญชุสา ฉบับ มกุฏ. ๘/๘ ขยายความว่า


    ฯ... สห วาสนาย สพฺเพสํ กิเลสานํ ปหินตฺตา สพฺพาการปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตเนหิ สมิทฺโธ ธมฺมกาโย เอตสฺสาติ สพฺพาการ ฯเปฯ ธมฺมกาโย


    เอวํ มหานุภาวสฺสาติ เอวํ ยถาวุตฺตรูปกายสมฺปตฺติยา, ธมฺมกายสมฺปตฺติยา จ วิญฺายมานวิปุลาปริเมยฺย-พุทฺธานุภาวสฺส, วสมาคตํ อนุรูปคมนวเสนาติ อธิปฺปาโย ฯ



    ขยายความ : ความตอนนี้พระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายเกี่ยวกับการเจริญมรณสติกัมมัฏฐาน คือ ให้ระลึกถึงความตายว่า แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยรูปกายที่วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเป็นต้น ที่สำเร็จมาจากบุญที่ทรงสั่งสมมาตลอดสี่อสงไขยแสนกัลป์ ดังที่ตรัสไว้ในลักขณสูตรเป็นต้น และ มีพระธรรมกายที่สถิตอยู่ภายในรูปกาย ที่สำเร็จมาจากรัตนะอันประเสริฐ อันทรงคุณานุภาพมีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่บริสุทธิ์ด้วยอาการทั้งปวง เพราะละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาเสียได้ ถึงกระนั้นเมื่อถึงกาลแห่งพระชนมายุก็ยังต้องดับขันธปรินิพพาน ไปโดยพลัน ไม่ต้องกล่าวถึงเหล่าสัตว์ที่เหลือที่เพียบพร้อมไปด้วยกิเลสตัณหาเล่า นี้เป็นความโดยย่อ ต่อไปนี้ผู้เขียนจะได้ขยายความเฉพาะบทต่อไป


    คำว่า สมิทฺธ ในคำว่า คุณรตนสมิทฺธธมฺมกาโย นี้ แปลว่า สำเร็จ สมบูรณ์ หรือ ทำจาก เช่น บ้านทำมาจากไม้ ช้อนทำจากแสตนเลสเป็นต้น เป็นการบอกถึงโครงสร้างหรือส่วนประกอบหลักที่สำคัญโดยรวมๆ หรือถ้าจะแปลภาษาชาวบ้าน ก็แปลว่า เข้าถึง คือ ใส่เข้าไป คือ ทำจากสิ่งนั้นโดยมาก เช่น ถ้าพูดว่า น้ำพริกถ้วยนี้ ถึงพริกถึงขิงดี ก็หมายความว่า ใส่พริกใส่ขิงไปมากจนรู้สึกเผ็ดจัด เป็นต้น



    ฉะนั้น เนื้อความในอรรถกถาและฎีกาตอนนี้ จึงเป็นการบอกถึงวิธีการเข้าถึงพระธรรมกายไปโดยปริยาย ตามวิธีการที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านได้ค้นพบ ดังนั้น เนื้อความตอนนี้ถ้าจะแปลลงในหลักปฏิบัติ จึงได้ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระธรรมกายที่เข้าถึง (สมิทฺธ) ได้ด้วย คุณรัตนะ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์



    คำว่าขันธ์ ในคำว่า ศีลขันธ์ เป็นต้น ซึ่งแปลว่า กอง กลุ่ม ก้อน หรือ มีคุณ ตามหลักปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านใช้คำว่า ดวง หมายถึง [COLOR=blue]ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ[/COLOR] ที่มีลักษณะกลมใสประดุจแก้วมณีโชติรสใสสว่างเย็นตาเย็นใจ ดูนุ่มนวลคล้ายมีชีวิต สามารถนำผู้เข้าถึงไปสู่สุคติหรือ ทำลายกิเลสทั้งปวง ถ้าเป็นพระสัมพุทธเจ้าก็ละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาเสียได้ (สห วาสนาย สพฺเพสํ กิเลสานํ ปหินตฺตา) ดับขันธ์แล้วจึงไปสู่พระนิพพานได้ ฉะนั้นศีลขันธ์หรือดวงศีลเป็นต้น จึงได้ชื่อว่า [U][COLOR=blue]“คุณรัตนะ”[/COLOR][/U] (คุณรตเนหิ สมิทฺธ) [B][U][COLOR=blue]แก้วที่มีคุณ[/COLOR][COLOR=blue]จริง[/COLOR][/U]ไม่ใช่แก้วภายนอกเอาไว้ประดับ หรือดูไว้อย่างมากก็ให้แสงสว่างเย็นตาเท่านั้น [/B]




    นอกจากนี้ยังมีอีกหลายพระสูตรที่กล่าวถึง ภิกษุผู้มีธรรมกายที่เข้าถึงได้ด้วยพระธรรมขันธ์ ๕ จึงจะเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ทานที่ให้ในท่านที่ประกอบด้วยพระธรรมขันธ์ ๕ จึงมีผลมาก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน วัจฉโคตตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาตว่า



    “ดูก่อนวัจฉะ อีกประการหนึ่ง เราย่อมกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ท่านผู้มีศีลมีผลมาก ที่ให้ในคนทุศีล หามีผลมากไม่ ทั้งท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ทั้งเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕



    ละองค์ ๕ เหล่าไหนได้ คือ (นิวรณธรรมมี ๕ อย่าง คือ) ๑. กามฉันทะ ๒. พยาบาท ๓. ถีนมิทธะ ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ๕. วิจิกิจฉา ท่านผู้มีศีลละองค์ ๕ เหล่านี้ ได้แล้ว


    เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน คือ (พระธรรมขันธ์ ๕) ๑. ประกอบด้วยศีลขันธ์ที่เป็นของ พระอเสขะ (อเสเขน สีลกฺขนฺเธน สมนฺนาคโต โหติ) ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๕. เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่เป็นของพระอเสขะ ท่านผู้มีศีลเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวว่า ทานที่ให้แล้วในท่านผู้ละองค์ ๕ ทั้งเป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีผลมาก”



    นี้เป็นข้อความตามพุทธวจนะที่ทรงแสดงถึงทานที่ให้ในท่านผู้ถึงพร้อมหรือเข้าถึงธรรมกาย ด้วยพระธรรมขันธ์ ว่ามีผลมาก ที่พระองค์ได้ทรงแสดงพร้อมกับแนวทางปฏิบัติธรรมของท่านผู้ที่จะเป็นพระอเสขะคือพระอรหันต์ต้องดำเนินตามนี้



    แต่เนื่องจากพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับผู้มีปัญญามีบุญบารมี มีอุปนิสัยที่สมบูรณ์แล้ว ทั้งพุทธวจนะที่ใช้แสดงธรรม ก็ทรงใช้ภาษาที่ผู้นั้นจะเข้าใจได้ ให้เหมาะแก่คนทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ ทุกวัย และตรัสได้เหมาะแก่อุปนิสัยเฉพาะบุคคลไป จึงมิน่าสงสัยเลยที่คนในสมัยพุทธกาลนั้น ฟังเพียงเท่านี้ก็เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกายได้



    แต่เป็นการยากที่จะเข้าใจและนำไปปฏิบัติสำหรับ คนสมัยนี้ ซึ่งมีบุญบารมีน้อย ทำให้ใส่ใจเฉพาะวัตถุภายนอกมากไป ไม่มีเวลาใฝ่ใจในธรรมะ โดยเฉพาะธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง ถูกถ่ายทอดมาทางภาษาที่ลึกซึ้งคือภาษาบาลี ต้องอาศัยจิตใจที่ละเอียดประณีตจึงจะเข้าใจเนื้อความในพุทธวจนะได้แจ่มแจ้ง



    ถึงกระนั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นการ สูญเปล่าเสียทีเดียว ที่พวกเราได้เกิดทันพบคำสอนและแนวการปฏิบัติธรรมตรงตามพุทธพจน์ที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้มีบุญบารมีอันเป็นอจินไตย ท่านได้กระทำ ให้เข้าใจง่าย ให้เหมาะแก่ปัญญาของพวกเราสมัยนี้ สามารถปฏิบัติได้ทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา สามารถเข้าถึงธรรมได้ ซึ่งในปัจจุบันเราก็สามารถจะพิสูจน์ได้ จากหลักปฏิบัติธรรมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งผู้ที่เข้าถึงธรรมก็ยังมีอยู่มาก <!--MsgFile=1-->






    เนื้อความในพระสูตรข้างต้นนี้ ผู้เขียนจะขอเทียบเคียงเป็นคำสอนของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีดังนี้


    คำว่า ละองค์ ๕ หรือนิวรณธรรม และประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ นั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านใช้คำง่ายๆ ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” หยุดใจไว้ภายในตัว ซึ่งในพระบาลีสูตรต่างๆ ใช้คำว่า อชฺฌตฺตํ วูปสนฺตจิตฺโต หรือ อชฺฌตฺตเมว จิตฺตํ สณฺฐเปตพฺพํ สนฺนิสาเทตพฺพํ เอโกทิ กาตพฺพํ สมาทหาตพฺพํ (๑๔/๑๘๗/๒๔๓) แปลว่า หยุดจิตตั้งมั่นแนบแน่น ภายในตัวเท่านั้น ทำให้เป็นธรรมดวงเอกผุดขึ้น ซึ่งหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ย้ำให้หนักไปอีกว่า “และต้อง ณ ศูนย์กลางกาย(ฐานที่ ๗) ด้วย” จึงจะละนิวรณธรรมทั้ง ๕ และจะประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ ได้




    ถามว่า ถ้าหยุดใจไว้นอกตัวละนิวรณธรรมได้หรือไม่


    ขอตอบว่า ได้เหมือนกัน แต่จะไม่มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๕ คือไม่พบพระธรรมขันธ์ ๕ ดังเช่นพวกพาหิรกนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา มีพวกฤาษี ดาบสเป็นต้น แม้ได้อภิญญา ๕ ก็ไม่เข้าถึงธรรมขันธ์ ๕ จึงไม่พบพระธรรมกาย เพราะเอาใจไว้ภายนอกตัว ต้องหยุดใจไว้ภายในตัว ณ ศูนย์กลางกาย(ฐานที่ ๗) จึงจะเข้าถึงพระธรรมกายด้วยพระธรรมขันธ์ ๕



    คำว่า ประกอบด้วย (สมนฺนาคโต โหติ) ในอรรถกถาบางแห่งมีวิสุทธิมรรคเป็นต้น ท่านใช้คำว่า อุเปโต โหติ สมุเปโต อุปปนฺโน สมุปปนฺโน แปลว่า เข้าถึง ซึ่งตรงกับ คำกล่าวของหลวงพ่อวัดปากน้ำ บอกถึงการที่ต้องดำเนินจิตเข้าไปภายในเรื่อยไป จึงจะพบธรรมขันธ์ ๕ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะตามลำดับไม่สับสน จนเข้าถึงพระธรรมกายภายในตน ฯ



    <!--MsgFile=2-->

    **************************************************************************
    ขยายความหลักฐานธรรมกาย โดย พระมหาสมเกียรติ วรยโส (ป.ธ.๙)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรื่องกายภายใน



    ข้อความบางตอนจากปาฐกถาเรื่องกายสาม โดยพระเดชพระคุณ พระพรหมมุนี (สุวจเถร) วัดบวรนิเวศวิหาร จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ พ.ศ. ๒๕๒๗



    เรื่องกายสาม ฯลฯ มีพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรบทหนึ่งว่า “กาเย กายานุปสฺสี” “พิจารณาเห็นกายในกาย” พระบาลีบทนี้ แม้แปลเป็นภาษาไทยแล้วก็ยังเข้าใจความยาก มีผู้อธิบายกันเป็นหลายนัย



    ฝ่ายที่เป็นนักเรียน อธิบายว่า “พิจารณาอย่างหนึ่งในกายทั้งหลาย” หมายความว่าให้แยกกายที่รวมกันหลาย ๆ อย่าง ยกขึ้นพิจารณาทีละอย่าง ๆ เช่น พิจารณาหมู่ขนอย่างหนึ่ง ผมอย่างหนึ่ง เล็บอย่างหนึ่ง เป็นต้น



    ส่วนนักธรรม อธิบายและความหมายความไปอีกอย่างหนึ่ง คือ หมายความว่า ให้พิจารณากายธรรมในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์ในกายมนุษย์ เป็นชั้น ๆ กันออกมา หรือให้พิจารณากายมนุษย์ในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์ในกายธรรม เป็นชั้น ๆกันเข้าไป กายมนุษย์อยู่ชั้นนอก กายทิพย์อยู่ชั้นกลาง กายธรรมอยู่ชั้นใน


    จะว่าของใครผิดก็ว่ายาก น่าจะถูกด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือ



    ฝ่ายนักเรียนก็แปลถูกด้วยแบบแผนและไวยากรณ์ หรือข้อปฏิบัติในเบื้องต้น



    ฝ่ายนักธรรม หรือ นักปฏิบัติก็ถูกด้วยอาคตสถาน มีที่มาเหมือนกัน และในทางปฏิบัติชั้นกลางและชั้นสูงก็มีได้. โดยอาคตสถานคือที่มา กายมนุษย์และกายทิพย์ มีที่มา เช่น ในมหาสมัยสูตรว่า


    เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
    ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ ฯ






    แปลความว่า “บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ บุคคลเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้เต็มรอบ” ดังนี้


    พระคาถานี้ เรียกกายมนุษย์ว่า “มานุสเทหะ” ซึ่งแปลว่า “กายอันเป็นของมีอยู่แห่งมนุษย์” เรียกทิพยกายว่า “เทวกาย” โดยความก็เหมือนกัน.



    ธรรมกายนั้น เช่น พระบาลีในอัคคัญญสูตรแห่งสุตตันตปิฎก ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย (หน้า ๙๒) ว่า “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ” แปลว่า “ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ดังนี้.....”


    ธรรมกาย คือกายธรรม นี้เป็นชั้นละเอียด เมื่อกล่าวด้วยเรื่องกายธรรม จำเป็นต้องจะต้องอธิบายคำว่า “ธรรม” ในศัพท์นี้ให้เข้าใจก่อน ธรรมหรือธาตุนั้น ตามพยัญชนะแปลว่า “ทรง” เมื่อถือเอาคำว่า “ทรง” เป็นประมาณ ก็ไม่อธรรม แม้ในสภาพที่เป็นธรรม ซึ่งแปลว่า “ทรง” นั้นเมื่อเพ่งตามอาการแล้ว ก็มีทรงอยู่ ๒ อย่างคือ ทรงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเรียกว่า อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรืออมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย อย่างหนึ่ง ทรงอยู่ชั่วครู่ชั่วคราว แล้วก็เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นไป เช่น ร่างกายของคนของสัตว์ หรือสิ่งประดิษฐ์ทุก ๆ ชนิดอย่างหนึ่ง อย่างหลังนี้ท่านเรียกว่าสังขตธรรมบ้าง สังขารธรรมบ้าง เพราะเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เรียกว่ามตธรรม ธรรมที่ตายสลายไปบ้าง



    คำว่า ธรรมกาย ในที่นี้เข้าใจว่า หมายเอาอสังขตธรรมหรืออมตธรรมที่เป็นส่วนโลกุตตรธาตุหรือโลกุตตรธรรม ไม่ใช่โลกียธาตุหรือโลกียธรรม



    คำว่า ธรรมกาย ได้แก่อะไร ธรรมที่เรียกว่า ธรรมกาย นี้ เข้าใจว่า หมายเอาอสังขตธรรมทั้งที่เป็นวิราคะ ทั้งที่เป็นสราคะ ถ้าเป็นวิราคธรรมก็เป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ ถ้ายังไม่เป็นวิราคธรรม ก็ยังไม่เป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ แต่ ธรรมกาย ที่มาในอัคคัญญสูตร คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี เป็นชื่อ หรือคำร้องเรียกซึ่ง “ตถาคต” นั้น มีปรากฏที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในที่อื่นอีกหลายแห่ง เช่น ใน อัคคิเวสสนวัจฉโคตรสูตรเป็นต้น เล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชก ปฏิเสธขันธ์ว่า เขาบัญญัติตถาคตด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนั้น ตถาคตละเสียได้แล้ว ทำให้เหมือนตาลมีรากขาด มียอดด้วน ไม่เจริญอีกแล้วดังนี้ นี่ก็ได้ความว่า ตถาคตไม่ใช่นาม ไม่ใช่รูป ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ไม่ใช่อายตนะ ๖ ไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ใช่โลกิยธาตุ ตถาคตนั้นเป็นธรรมซึ่งบางครั้งหรือบางแห่งก็เรียกว่า “เรา” เช่นใน วักกลิสูตร ทรงแสดงแก่พระวักกลิว่า “ประโยชน์อันใดด้วยการมานั่งแลดูร่างกายซึ่งเป็นของเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม” ดังนี้ แต่คำว่า เรา ๆ นี้มีที่ใช้หลายแห่งเราแก่ เราเจ็บ เราตายก็มี เราเป็นผู้พลัดพรากจากนามรูป ที่แก่ ที่เจ็บ ที่ตาย ซึ่งเป็นของรักยิ่งนั้นก็มี เราเป็นผู้เป็นไปตามกรรมก็มี อันมาในอภิณหปัจจเวกขันธ์ เราไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็มี เราที่แสดงไว้ในวักกลิสูตรนั้น ไม่ใช่เรา ๓ ข้อ ข้างต้น ในอภิณหปัจจเวกขณ์นั้น “เรา” ในพระสูตรนี้ เป็นเรา “ตถาคต” เราใช้ใน “ธรรมกาย” ที่บริสุทธิ์ <!--MsgFile=0-->
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ที่คุณสมถะยกกล่าวมา เป็นเรื่องตามตรรกะของตนเอง ที่จะอนุมานเอาเองทั้งสิ้น

    เป็นการหยิบเอาคำ ที่พ้องรูปกัน ยกขึ้นมา หยิบจับ บางส่วนของคำอื่น มาผสมผสานกันเอง

    ยกตัวอย่างเช่น

    อย่างข้อนี้ คุณสรุปไปยังไง ว่ามีความหมายโดยนัย มาสนับสนุน วิชชาธรรมกาย

    เป็นการสรุปแบบ คนขาดสติ ขาดการไตร่ตรอง หยิบจับลวกๆ มา เรียกว่า จับแพะชนแกะ

    และ ข้อสรุปที่ คุณยกมาทุกข้อนั้น ก็มีลักษณะเช่นนี้

    และที่สำคัญ คนที่พยายามหยิบจับมานี้ ก็มีจุดประสงค์อย่างเดียวคือ ให้คนเชื่อว่า ธรรมกายนั้นถูกต้อง
    คัดลอกตามๆ กันมา โดยคนแรก ที่ไปหาเหตุผลนี้ เป็นใครก็ไม่รู้ โง่หรือฉลาดก็ไม่รู้ สุดท้ายก็เชื่อๆ ตามๆ กันมา

    แล้วยังจะมาแนะนำให้ ผม ทำใจเป็นกลาง เปิดใจให้กว้าง ปัดโธ่ จะให้เปิดตรงไหนอีก

    ฟังประเด็นอีกครั้ง

    คุณลองตอบคำถามตัวเองว่า

    จริงหรือไม่ ที่หลักฐานที่ยกมา นั้น ไม่มีข้อใดชี้ชัดเลย ไม่มีคำใดกล่าวถึง 18 กาย

    และที่สำคัญ คือ พระศาสดาตรัสรู้ อริยสัจสี่ อันมีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั้น เราจะต้องมองภาพรวมก่อนแล้วค่อยๆ กระจายลงไปสู่รายละเอียด เช่น

    ทุกข์ มีสภาพอย่างไร ไล่ลงไปจนถึง ขันธ์ 5
    สมุทัย มีสภาพอย่างไร ไล่ลงไป ในปฏิจสมุบาท และ อุปาทาน ต่างๆ ที่โยงใยกันในความคิด
    นิโรธ มีสภาพอย่างไร ดับทุกข์อย่างไร ไม่ใช่ดับแค่ทำสมาธิ หรือ หยุด แต่ดับสภาพสังขาร ไล่ลงไปจนถึงวิมุตติ ไม่ใช่ เป็นกาย นั้นกายนี้ เพราะภาพสังขารความปรุงแต่ง ไม่ได้เป็นกาย ก็มี
    มรรค มีสภาพอย่างไร ไล่ลงไป จนถึง อินทรีย์ พละ สติ ธรรมวิจยะ ต่างๆ หรือ องค์ธรรมต่างๆ

    ไม่ใช่ ไปจับปลายทาง แล้ว เอามาพันกันเอง แล้ว ลองพิจารณาดูว่า ธรรมกายห่างไกล กับ อริยสัจสี่แค่ไหน มันไปไกล ไม่เข้าทาง
     
  7. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรียนคุณขันธ์ ถ้าไม่เข้าใจ ไม่เชื่อถือ และตีรวนไปเรื่อยเพื่อชวนทะเลาะ จะมีประโยชน์อันใดเล่าครับ

    คุณขันธ์ฉลาดนักหรือ...? ถ้าฉลาดนักก็เชิญปฏิบัติไปตามภูมิธรรมเถิด คุณธรรมคุณขันธ์สูงส่งกว่าใครเพื่อน ความรู้ความคิดหลักแหลมกว่าใครเพื่อน เชิญเถิด...ขอรับ


    ถ้าไม่อะไรๆ มากมายกับสิ่งที่ผมนำเสนอ ก็หยุดอาการแบบที่กระทำอยู่นี่เถิด คุณไม่เข้าใจก็ไม่ได้แปลว่าผมต้องมานั่งเดือดร้อนอะไรด้วย ผมมีหน้าที่นำเสนอข้อมูล ผมได้ทำเท่าที่ควรกระทำแล้ว ส่วนผู้อ่านจะคิดเห็นเป็นเช่นไร เป็นเรื่องของท่าน


    ไม่เชื่อ ไม่เข้าใจ รับไม่ได้ ไม่ชอบใจ ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ก็ไม่ต้องมาตะแบงอยู่เช่นนี้ซีครับ คุณหาแต่ข้อจับผิดเพ่งโทษ ถ้าคุณขันธ์ฉลาดรอบรู้เห็นปานนี้ กระผมก็ไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรอีก เพราะจะอธิบายหรือให้ข้อมูลอย่างไร ก็มิอาจถูกใจความฉลาดหลักแหลมของท่านได้


    ผมว่าคุณขันธ์มีจุดยืนที่ยึดถืออย่างเหนียวแน่นแล้ว ก็เชิญยืนไปในจุดนั้นเถิดครับ ถ้าไม่เดือดร้อนอะไรมากนัก ก็ไม่เห็นต้องมานั่งโวยวายอะไรเลย


    ท่านผู้อ่านทั้งหลาย อันว่าการปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น ผู้ใดกระทำเพื่อความสงบแห่งใจ เพื่อจิตผ่องใส เพื่อจิตอ่อนโยนควรแก่การงาน จิตถึงซึ่งคุณวิเศษ ก็ได้รับประโยชน์ในการฝึกปฏิบัติตามกำลังแห่งความเพียร ไม่ว่าจะฝึกสมาธิรูปแบบใด ผลก็คือความสงบแห่งใจ การที่จิตมุ่งร้ายสร้างอคติในทุกเรื่องจักได้ชื่อว่าเป็นผู้สงบซึ่งกาย วาจา ใจ ด้วยการปฏิบัติมาดีเป็นพื้นจิตหรือ...???


    ท่านผู้อ่านทั้งหลาย กระทู้นี้เป็นกระทู้กล่าวถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำ ต้องการให้ผู้ที่รู้จักหลวงพ่อวัดปากน้ำได้เข้ามาเสวนากัน แต่อาจมีบางท่านเข้ามาพูดคุยในประเด็นเดิมๆ ที่มีอคติต่อวิชชาธรรมกาย กระผมก็นำเสนอข้อมูลพร้อมทั้งความรู้จากหลายๆ แหล่ง เพื่อความกระจ่างชัดเจนตามสมควร และถ้ายังไม่เพียงพอ กระผมก็เสนอแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมให้แล้ว นั่นคือ http://khunsamatha.com/ ถ้าผู้สนใจใส่ใจโปรดเข้าไปติดตามหาความรู้ดูเถิด


    ไร้สาระที่จะมานั่งสร้างอคติ กล่าวกระทบกันไปมา โดยหาประโยชน์มิได้ คุณค่าอันใดจักเกิดขึ้นได้ถ้าเราคอยแต่กระทำปากดั่งหอกคอยทิ่งแทงกัน ถ้าท่านเดือดร้อนไม่พึงพอใจในข้อมูลที่นำเสนอ ก็ขอท่านงดการเข้ามาเสวนาเถิด เพื่อความสงบใจแห่งตนเอง


    กระทู้นี้ เริ่มคุยเฉพาะผู้ฝึกสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายด้วยกัน เมื่อท่านอื่นที่ไม่เคยฝึกสมาธิวิชชาธรรมกายเข้ามาร่วมสนทนา การดึงกระทู้ให้แตกประเด็นไปเรื่อยเห็นว่าเป็นการบานปลายเกินเลย ผมเองไม่เห็นเป็นประโยชน์อันใดเลยที่จะมานั่งแก้ปัญหาให้แก่ผู้มากด้วยมานะทิฏฐิ


    ผมกล่าวชัดนะครับ ท่านชอบใจการปฏฺบัติแบบใด ท่านทำเถิด ให้เข้าถึงทางอันประเสริฐคือมรรคผลนิพพาน ประโยชน์ก็จะเกิดแก่ตัวท่านเองโดยแท้ การเข้ามาดื้อแพ่งตะแบงเถียงกันไปมาไม่เกิดประโยชน์เลย มากความยืดยาวไปก็จักเกิดโทษคือสร้างอคติเจตนาแก่กันเสียมากกว่า



    หวังว่าท่านผู้อ่านคงเข้าใจ ประเด็นที่ผมจะคุยกับผู้ปฏิบัติวิชชาธรรมกายทุกสำนัก ยังพอมี เมื่อใดที่ท่านอื่นไม่ชวนดึงออกนอประเด็นจนกลายเป็นการแตกประเด็นไป กระผมก็จักได้กลับเข้าประเด็นเพื่อปรับความเข้าใจกันในกลุ่มผู้สนใจฝึกภาวนาวิชชาธรรมกายต่อไป ถ้าท่านอื่นที่ไม่สนใจไม่ใส่ใจอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องมาแสดงอาการกระทบกระทั่งอันใดอีกเลย



    ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร
    มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ
    โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ
    หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน


    วิจารณ์ด้วยใจซื่อสุจริต
    มิได้คิดดูหมิ่นสถานไหน
    ตัวอักษรซ่อนนัยยะประการใด?
    จงใช้ใจพินิจคิดครวญดู

    มีสมอง(??)จงตรองตรึกสำนึกคิด
    ใครทำถูกทำผิดคิดอดสู
    เวทีนี้สร้างมิตรใช่ศัตรู!!
    จงกลั่นกรองตรองดูจะรู้ดี

    ตีความผิดคิดต่ำช้าน่าหัวร่อ
    ใครกันหนอแต่งจริตคิดบัดสี
    ใครกันแน่ลวงล่อชวนต่อตี
    ผิดวิสัยผู้ดีมีปัญญา


     
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชชาธรรมกายสอนเรื่องกายในกายนั้นเป็นอย่างไร...?


    ก่
    อนที่จะ กล่าวเหตุผลใดๆ ในหัวข้อกระทู้ ผมขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านผู้อ่านกันก่อนว่า ท่านมีความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ในทิศทางใด
    ถามตัวท่านเองแล้วตอบด้วยความจริงใจออกมาก่อนว่าท่านเชื่อหรือไม่เชื่อใน เรื่องเหล่านี้ เราจึงจะพูดคุยกันรู้เรื่องในพื้นฐานของความเห็นที่ตรงกัน


    ๑.ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนเราตายแล้วไม่สูญ
    (หมายเอาการสืบต่อแบบสันตติ เมื่อจุติจิต(ตาย)มีขึ้น ปฏิสนธิจิต(เกิด)ก็ตามมาโดยไม่มีระหว่างคั่น แม้หลังตายแล้วถ้ายังไม่หมดกิเลสก็ต้องเกิดอีก)


    ๒.ท่านเชื่อหรือไม่ ในเรื่องกฎแห่งกรรม (บุญ-บาป) ที่จะนำสัตว์โลก (หลังตาย) ไปสู่สุคติภูมิ หรือไปสู่ทุคติภูมิ
    (หมายเอาความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม(บุญ-บาป)ที่ส่งไปสู่นรก-สวรรค์)


    ๓.ท่านเชื่อหรือไม่ ในเรื่องภพภูมิต่างๆ อันเป็นสถานที่รองรับการเวียนว่ายตายเกิด จนกว่าสัตว์โลกนั้นๆ จะพ้นทุกข์หมดกิเลส
    (หมายเอาความเชื่อเรื่องภพภูมิอันได้แก่ กามภพ(สวรรค์ โลก นรก) รูปภพ(พรหม) อรูปภพ(อรูปพรหม)


    ๔.ท่าน เชื่อหรือไม่ เรื่องวัฏฏสงสารอันยาวนานไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลายอันสัตว์ผู้ยังติดอยู่ใน กิเลส ตัณหา อุปาทาน ยังต้องท่องเที่ยวไปตลอดไม่มีสิ้นสุด
    (หมายเอาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารแบบสันตติ)


    ๕.ท่าน เชื่อหรือไม่ ว่าผู้บำเพ็ญสมาธิภาวนาสามารถมีอิทธิปาฏิหาริย์ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ ละลึกชาติของตนและคนอื่นได้ แสดงฤทธิ์ทางใจอื่นๆ ได้
    (หมายเอาสมาธิในพระพุทธศาสนาจนถึงขั้นแสดงฤทธิ์ได้)


    ๖.ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าผู้บำเพ็ญสมาธิภาวนาสามารถถอดจิตหรือถอดกายทิพย์ไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆ ได้
    (หมายเอาสมาธิที่สามารถเห็นภพภูมิและกายทิพย์ตลอดจนสัตว์ในภพภูมินั้น ๆ ได้)



    ขอให้ท่านตอบมาก่อนแล้วการพูดคุยของเราจะชัดเจนขึ้น ถ้าความเข้าใจตรงจุดนี้ไม่ตรงกันการพูดคุยในเรื่องอื่นๆ ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะความคิดพื้นฐานของความรู้ไม่ตรงกันแต่แรกแล้ว โปรดตอบก่อนนะครับ

    ถ้าท่านตอบว่า ท่านมีความเชื่อตามนั้น ถ้าเช่นนั้นท่านก็ต้องยอมรับว่า คนเราหลังตายแล้วไม่สูญ ยังมี จิต เจตสิก รูป ที่ยังสืบต่อเป็นสันตติให้ไปเกิดยังภพภูมิใหม่ รวมทั้งบุญและบาปที่ติดตามไป ดังนั้น ท่านก็ต้องยอมรับว่าคนเราไม่ใช่มีแค่กายมนุษย์หยาบที่(นั่งอ่านอยู่นี่) เพียงกายเดียว เพราะกายนี้เมื่อเราตายมันก็เน่าเปื่อยผุพังไป กายละเอียดซึ่งอาจจะเรียกว่า กายทิพย์ นั้นรับช่วงสืบต่อหลังตายโดยไม่มีระหว่างคั่นคือเกิดขึ้นทันที ไปอยู่ยังภพภูมิต่างๆ ตามระดับคุณภาพของจิต ที่มีกรรม(บุญ+บาป) คือการกระทำเป็นตัวสนับสนุน

    เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ท่านก็คงไม่ปฏิเสธว่ามีกายในกายที่สืบต่อกรรมคือบุญและบาปของกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้รองรับช่วงต่อในสัมปรายภพเบื้องหน้า ฉะนั้นต่อไปก็คือทำอย่างไรเราจะได้พบเห็นกายละเอียดเหล่านี้แม้ในขณะที่เรา ยังมีชีวิตอยู่ อย่าลืมเรื่องที่เราเคยได้ยินกันคือ มีผู้ปฏิบัติจิตภาวนาสมารถถอดเอากายทิพย์ซึ่งเป็นกายละเอียดขณะยังมีชีวิต อยู่ไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆ ได้ เช่นพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายซึ่งก็มีอยู่มากมาย

    ฉะนั้นเรื่องกายในกายจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกินความจริงใดๆ สามารถปฏิบัติให้รู้ให้เห็นได้ วิชชาธรรมกายกล่าวถึงกายในกายซึ่งมีเป็นชั้นๆ เข้าไปจึงเป็นไปได้อย่างแน่นอน อยู่แต่ว่าเราจะเข้าถึงไปรู้ไปเห็นเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร และเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นเพียงรูปนิมิตอย่างที่บางท่านเข้าใจไปเอง แล้ว แต่เป็นเรื่องของกายในกาย หรือกายซ้อนกายที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ตรงนี้เราต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อน

    หลวงพ่อวัดปากน้ำโชคดีที่ไปรู้ไปเห็นเรื่องกายในกาย เป็นชั้นๆ เข้าไปถึง 18 กาย จึงได้เข้าถึงกรุวิชชา หลวงพ่อใช้เวลาใครครวญวิชชาอยู่ถึง 8 ปี นั่นคือหลวงพ่อพิจารณาทุกเรื่องจนแน่ใจว่านี่ของจริง ไม่ใช่เรื่องนิมิตแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้หลวงพ่อก็เคยไปเรียนกัมมัฏฐานจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ย่อมทราบดีว่าอะไรคือของจริงหรือของหลอก ซึ่งหลวงพ่อปรารถตอนนั่งเข้าที่ ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ว่าถ้าไม่ได้เห็นของจริงอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็น เป็นไม่ลุกจากที่ นั่นหมายความว่าความรู้ที่ได้ในครั้งนั้นคือ การเห็นดวงปฐมมรรคและการเห็นเรื่องกายในกาย หลวงพ่อจึงต้องใคร่ครวญพิจารณาเป็นอย่างดีว่าจริงแท้แค่ไหน จนในที่สุดหลวงพ่อตัดสินใจทำวิชชาชั้นสูงที่เรียกว่า ปราบมาร โดยตั้ง
    กองทัพปราบมาร ในวัดปากน้ำ เกณฑ์ผู้ที่ได้ธรรมกายระดับสูงเข้าทำวิชชาที่เรียกว่า "โรงงาน" ทำต่อเนื่องไม่หยุดเลยตลอดเวลา 30 กว่าปี กวดขันกันอย่างนั้นทั้งพระภิกษุและแม่ชีอุบาสิกาและอุบาสก ได้ความรู้ออกมาเป็นตำรา เป็นมรดกธรรม ถึง 4 เล่ม คือ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,753
    อนุโมทนาสาธุครับ คุณเตชพโล ที่เดินตาม "ปฏิปทาของพ่อเเม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพเป็นอย่างดี _/\_




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  10. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,753
    อุปสรรคขวางความดี ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ นิสัยชอบจับผิดผู้อื่น
    ภาษาพระเรียกว่า การเพ่งโทษผู้อื่น

    ครูบาอาจารย์มักเตือนเสมอว่า
    ถ้ารักดี ควรหลีกเลี่ยงไม่ไปเพ่งโทษผู้อื่น
    แล้วหันมาเพ่งโทษตัวเองให้มาก เตือนตัวเองให้มาก

    บางคนมีความตั้งใจดีในการปฏิบัติ หรือ มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติ
    กิเลสก็มักจะมาหลอกเจ้าของ (ตัวเรา) ว่า
    ไม่มีใคร...เคร่งเท่าฉัน
    ไม่มีใคร...ตั้งใจปฏิบัติเท่าฉัน
    ไม่มีใคร...มีปัญญาเท่าฉัน ฯลฯ

    แล้วสอดส่ายสายตามองภายนอก
    คนนั้นก็ทำไม่ถูก คนนี้ก็ทำไม่ถูก
    มุ่งแต่จะไปแก้ไขคนอื่น...ยิ่งกว่าแก้ไขตนเอง

    สุดท้าย ใจเจ้าของนั้นเองแหละที่เศร้าหมอง ไม่แจ่มใสเบิกบาน
    ดังนั้น ความตั้งใจปฏิบัติในตอนต้นซึ่งถือว่า เป็นสิ่งที่เป็นกุศล...ก็เลยแปรเปลี่ยนเป็นอกุศล
    ขวางทางสร้างความดี ไม่ให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

    ดังที่ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะเเก จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า


    "มุ่งแก้ไขคนอื่นเขา...เป็นเรื่องโลก
    แต่มุ่งแก้ไขที่ตัวเรา...เป็นเรื่องธรรม"


    ที่มา Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    วิชชาธรรมกายเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาครับ เพียงแต่เราใช้กายในกายเรียนหลักสูตรสมถะและวิปัสสนาตามหลักพระพุทธศาสนาก็เท่านั้นเอง แต่บางท่านเห็นว่าการฝึกเบื้องต้นเพื่อให้เห็นกายในกายนั้นเป็นของแปลก แต่อันที่จริงแล้วก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าก็กล่าวไว้แล้วในเรื่องของรูปกาย นามกาย และธรรมกาย เพียงแต่ผู้ฝึกวิชชาธรรมกาย จะต้องเข้าถึงกายในกายเหล่านี้ให้ได้ก่อน แล้วจึงเรียนหลักสูตรสมถะและวิปัสสนาตามหลักในพระไตรปิฎกนั่นเองครับ


    ในเรื่องของกายในกายมีที่มาดังนี้

    ..................................................................................


    ปกรณ์ของฝ่ายทักษิณนิกาย หรือเถรวาท (คือฝ่ายเรา) ท่านโบราณจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาคเช่นเดียวกันกับปกรณ์ของฝ่ายมหายาน แต่เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง เมื่อเทียบดูแล้วก็จะเป็นว่าคล้ายคลึงกัน คือ


    ๑. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งเอากำเนิดจาก พระพุทธบิดา พระพุทธมารดาที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เหมือนกายของสามัญมนุษย์เป็นแต่บริสุทธิ์สะอาดสวยงาม พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งเกลี้ยงเกลากว่ากายของมนุษย์สามัญ เป็นวิบากขันธ์สำเร็จมาแต่พระบุญญาบารมี


    ๒. พระนามกาย ได้แก่กายชั้นใน ปราชญ์บางท่านเรียกว่ากายทิพย์ และว่าเป็นกายที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนกายชั้นนอก เป็นแต่ว่องไวกว่าและสามารถกว่ากายชั้นนอกหลายร้อยเท่า สามารถออกจากร่างหยาบไปในที่ไหน ๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกายหยาบสลาย กายชั้นนี้ยังไม่สลายจึงออกร่างไปหาที่เกิดใหม่ต่อไป นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศล อกุศลที่ตนทำไว้แต่ก่อน ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้าท่านว่าดีวิเศษยิ่งกว่าของสามัญมนุษย์ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัลป์


    ๓. พระธรรมกาย ได้แก่ พระกายธรรมอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวาและมนุษย์ หมายถึง พระจิตที่พ้นจากกิเลสอาสวะแล้วเป็นพระจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีพระรัศมีแจ่มจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัยไขแสงในนภากาศฉะนั้น พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกขโศกทั้งหลายได้จริง เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่สูญสลายเป็นอยู่ชั่วนิรันดร



    จากหนังสือ วิปัสสนาบันเทิงสาร ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓
    “ธรรมกาย” ในแนวคิดพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    วัดป่าเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คุณสมถะ คุณจะมาบอกว่า ผมตีรวนชวนทะเลาะได้อย่างไร ก็ในเมื่อประเด็นที่คุยกัน ผมก็บอกว่า เหตุผลที่คุณยกมา ไม่ถูก สรุปแบบนั้นไม่ได้ ก็เท่านั้น

    สำหรับ เรื่องที่คุณขันธ์ สูงส่งกว่าใครเพื่อน หรือ ฉลาดอะไรนั่น มันเป็น มานะของคุณที่จะไปเปรียบเทียบเอง

    ผมมองคนเท่ากันหมด

    คนที่มองตนเองว่าต่ำ ก็จะมองว่า คนที่เสมอกันนั้นสูงกว่าตน


    สำหรับ ประเด็นที่ผมพูด คุณก็พูดของคุณ แต่คุณ จะไม่ยอมรับฟังใครเลยอย่างนั้นหรือ

    แล้วคุณจะตั้งกระทู้ทำไม ถ้าต้องการให้คนเห็นทางเดียวกันกับคุณ

    หากธรรมของคุณ ยังไม่ครอบ ธรรมนั้นสมควรต้องตกไป จะตั้งหน้าตั้งตาเชื่อถือแบบผิดๆ ไปได้อย่างไร
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    นี่แล้ว เอากลอนมาด่าผมอีก

    คุณ ถูกมาร ดลใจ แล้ว
     
  14. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    http://www.crystalmind.org/library/old-makphol1/index.htm

    เข้าไปอ่านมรรคผลพิสดาร 1 แล้ว พิสดารจริงครับ หน้า 6 - 7 ว่าด้วยเรื่องขันธ์ห้า ท่านว่าซ้อนกันอยู่ รูปขันธ์บรรยายเป็นกลม เป็นเม็ดได้ยังพอทน

    แต่นามขันธ์ท่านบรรยายสัณฐานได้เสียด้วย กลมกว่า สะอาดว่า เล็กกว่า ซ้อน ๆ กันมา ไล่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    พิสดารมาก

    ผมเอาแค่ "ใบไม้ในกำมือ" ที่พระศาสดากล่าว ก็พอใจแล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    จินนี่ เดินทางถูกแล้ว

    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุ คำๆ นี้มีความหมายลึกซึ้งมาก

    นั่นหมายความว่า อะไรก็ตามจะผุดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ เช่นว่า สัณฐานกลมเท่านั้นเท่านี้ สว่างเท่านั้นเท่านี้ จะต้องมีเหตุ

    และ หากสิ่งใด ไม่มีเหตุ เกิดขึ้นมาลอย ๆ นั่นเป็นสังขารความปรุง ไม่ใช่ธรรม จะยึดเอาเป็น จริงตามนั้นไม่ได้ ร้อยคน ร้อยแบบ ล้านคน ล้านแบบ
     
  16. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    การโต้แย้งธรรมะ เพื่อหาความถูกความผิด
    ควรมีความพอดั้งพอดี แก่การโต้แย้ง
    ควรโต้แย้งตามกรอบ ของการสนทนาธรรมตามกาล
    จึงเป็นมงคลแก่ตน

    แต่การถือพวกมากลากไป
    เพื่อบีบบังคับ ให้อีกฝ่ายยอมจำนนต่อความคิดตน
    ย่อมไม่ต่างไปจากมาเฟีย ในเวบบอร์ด ดีดี นี่เอง

    สิ่งที่นำมาเถียงก็เป็นเพียงความคิด
    หาใช่ความจริง ความคิดมีทั้งถูกทั้งผิด
    เพราะยังไม่รู้จริงเห็นจริง จึงคิดถูกคิดผิดได้

    แล้วจะไปอยากได้อะไร
    กับชัยชนะ ของความคิด ที่มันมีทั้งถูกทั้งผิด
     
  17. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    นามธรรม ถ้ามันเห็นที่ตา ถ้ามันมีภาพ ถ้ามันมีมโนภาพ ถ้ามันมีสี ถ้ามันบัญญัติได้ ถ้ามันแสดงออกมาเป็นรูปพรรณสัณฐานได้ มันไม่ใช่ปรมัตถ์ มันเป็นของปลอม อารมณ์มันเป็นสมมุติแล้ว ถูกปรุงแต่งแล้ว หาใช้กากำหนดรูปนามไม่ หาใช่วิปัสสนาไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  18. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรียนคุณขันธ์...ถ้าคิดว่าด่า....นั่นก็คือความคิดในใจที่คุณแปลออกมาได้นะครับ ถ้าอ้างเรื่อง "มาร" ผมก็เข้าใจล่ะว่าทำไมจึงคิดไปเช่นนั้น


    ถ้าไม่เข้าใจเรื่องที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ แถมยังพยายามคุยไปเรื่อยอีก ก็น่าเห็นใจครับ โดยเฉพาะในเรื่องของความรู้ในตำราต่างๆ ขอเสนอว่า...การจะเข้าใจได้ต้องลงมือปฏิบัติเพราะนี่คือญาณวิสัยจริงๆ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้


    แปลกใจอยู่เรื่องนึง ทำไมท่านจึงไม่คิดจะ "หยุดที่ใจตนเองบ้างล่ะครับ" คุณคิดว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำเข้าถึงธรรมกายโดยท่านคิดขึ้นมาเองอย่างนั้นหรือ...?


    ประจักษ์พยานแห่งการเข้าถึงธรรมกายนั้น เอาเฉพาะในสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้นมีมากมายนัก โดยเฉพาะท่านที่ทำวิชชาในโรงงาน คือทำวิชชา "ปราบมาร" โดยผลัดกัน ๖ เวรตลอด ๒๔ ชั่วโมง มารเขาต้องการปิดไม่ให้ใครเห็นกายในกาย อันเป็นทางพบเห็นพระพุทธเจ้าได้ เป็นทางไปพบเห็นภพภูมิต่างๆ ทั้งโลกียภูมิและโลกุตตรภูมิ ถ้าเข้ากลางของกลางได้ก็ไปรู้-เห็นเรื่องเหล่านี้ได้ ธรรมภาคมารเขาจึงหวงนัก ดลใจให้เราหลงไปว่านี่คือ นิมิต ทั้งๆ ที่ทางนี้แหละที่จะไปพบเห็นผู้ปกครองคือธรรมทั้ง ๓ ฝ่าย คือ กุศลาธัมมา(ธรรมภาคพระ) อกุศลาธัมมา(ธรรมภาคมาร) อัพยากตาธัมมา(ธรรมภาคกลางๆ) นั่นเอ


    อย่าคิดว่าผมด่าใครเลย เพียงแค่กลอนเตือนใจก็คิดว่าด่ากันแล้ว แล้วก็สรุปด้วยอัตโนมติแห่งความคิดตนว่า คนนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมว่าคุยกันแบบนี้ไม่เข้าท่าเลยนะครับ



    หยุด เป็นตัวสำเร็จ ระงับเวรภัย ระงับบาปกรรม ระงับอกุศลธรรมทั้งปวง สำหรับผมกล่าวชัดแล้ว ท่านไม่สนใจในวิชชาธรรมกาย และไม่เคยคิดเข้าหาครูทางวิชชาธรรมกายเพื่อพิสูจน์ด้วยใจเป็นกุศลเจตนา ท่านจะไม่มีทางเข้าใจธรรมภาคปฏิบัติเพื่อไปรู้เห็นเรื่องราวของมารได้เลย หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านทำอะไร ทำอย่างไร เพื่ออะไร บุคคลในยุคต้นวิชชาและยุคสืบทอดทางวิชชาเขารู้-เห็นเป็นอย่างดี ถ้าท่านไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจก็จงงดการแสดงอัตโนมติเถิด ผมเชิญชวนให้ท่านสงบใจแล้ว


    กระทู้นี้ผมไม่ได้ตั้งขึ้นมาเอง แต่ผมเข้ามาเพื่ออธิบายว่า หลวงพ่อสดคือต้นธาตุอย่างไร และตอบคำถามชาววัดพระธรรมกายในบางเรื่องบางประเด็น ให้ผมทำหน้าที่ของผมให้เรียบร้อยเถิด ท่านอื่นที่ไม่ใช่ผู้ฝึกภาวนาวิชชาธรรมกายอย่าได้เข้ามาตีรวนเลย ถ้าท่านยังคุยในประเด็นของท่านอีก ผมก็ขอเอวังกะท่าน ไม่คุยต่ออีก จะคุยเฉพาะวิชาธรรมกายกับคนในแวดวงเดียวกัน ท่านจะมองใครผิดใครถูก นั่นเป็นเรื่องของท่าน เพราะท่านเองก็ไม่สามารถตัดสินใครได้ดอก และถ้าท่านเข้าใจเจตนาในการสื่อสารในครั้งนี้ ผมว่าท่านน่าจะเข้าใจนะครับ ว่าท่านควรทำอย่างไร ทำไมผมจะไม่ทราบล่ะว่าใครมีทิฏฐิอย่างไรในห้องสนทนาแห่งนี้ แต่ผมไม่ต้องการให้เราเอาทิฏฐิมากระทบกันนะครับ หวังว่าคงเข้าใจ...


    มีความรู้จักนิ่ง ยามควร
    อีกรู้จักชวนผู้ เป็นปราชญ์
    ให้สอนและสงวนคำ อนุศาสน์ ไว้แล
    นี้นับว่าฉลาดยิ่ง กว่าพูดอวดตนฯ.
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เตชพโล คุณก็แค่ คนลบอคติ ไม่เป็น เท่านั้น
     
  20. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    คุณน่ะยังอ่อนหัดอีกเยอะ

    คุณหยั่งไม่ถึงธรรมของผมหรอก
     

แชร์หน้านี้

Loading...