หลวงพ่อสอนให้พิจารณาตนเอง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 29 มิถุนายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=14>
    พิจารณาตน
    </TD></TR><TR><TD> [​IMG]
    *** อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น คตินี้
    นักปฏิบัติทุกคนเขาจะประณามตัวเองเข้าไว้เสมอ อารมณ์ยุ่งอยู่กับกามราคะนิดหนึ่งเขาจะ
    ประณามว่าเลวทันที ของอะไรก็ดี ถ้าชมว่าสวย ชมว่างาม เมื่อรู้สึกขึ้นมาก็รู้สึกว่าใจของเรา
    มันเลวเสียแล้วรึนี่ แค่นี้เขาตำหนิตัวเขาแล้ว แล้วยิ่งไปเพ่งโทษของบุคคลอื่นไปแสดงอารมณ์
    อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเร่าร้อน นั่นแสดงว่ากิเลสมันไหลออกมาทาง
    กายและทางวาจา มันล้นออกมาจากใจมันเลวเกินที่จะเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ นี่เราต้องประณาม
    อย่างนี้ แล้วทางที่ไปจะไปไหน เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเป็นไม่ได้ ต้องไปขึ้นต้นมาจากนรก
    มันไม่เหมาะสำหรับเรา นี่เราต้องประณามตัวไว้เป็นปกติอย่าเที่ยวประณามคนอื่นเขา

    *** จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็
    ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทตน กล่าวโทษ
    ตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเมื่อไหร่เรา
    ก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่เราก็ไม่มองเห็นความเลว
    ของบุคคลอื่นเพราะยอมรับนับถือกฎของกรรมที่เรายังไปหาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสี
    เขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้างนั่นแสดงว่า เรามันเลวที่สุด
    ของความเลวคือความเลวมันไม่ได้ ขังอยู่ เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกายไหลออกมา
    ทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น
    มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด

    *** เราถ้ายังรู้สึกว่าคนอื่นเขาชั่วก็แสดงว่าเราชั่วมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราดีแล้ว
    ไม่มีใครชั่ว เพราะว่าเรายอมรับนับถือกฎของกรรม อะไรจะมีชั่ว เรายังนินทาว่าร้ายบุคคลอื่น
    นั่นเรายังชั่วอยู่ อาการอย่างนี้จงลืมเสียให้หมด

    *** สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรานั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน
    และอกุศลกรรม ไม่มีทางที่จะคืนตัวได้ เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือ
    สัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราคิดว่า ถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียงจะกระทำตอบเราก็จะเลว
    ตามเขาเวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมนรก
    เหมือนกันมันไม่มีประโยชน์จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา เฉย
    เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย

    *** อีกอันหนึ่ง ต้องทำใจของเราให้หยุดอยู่ในจุดสงบ หมายความว่า เราเพ่งเล็งจิตของเรา
    แต่ผู้เดียว ตามพระบาลีว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเองไว้เสมอว่า คำสอน
    ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ว่าอย่างไรให้เราปฏิบัติ ห้ามไว้แบบไหนไม่ให้
    เราทำ อันนี้ต้องปฏิบัติให้เคร่งครัด ไม่ใช่จะไปนึกเอาตามอารมณ์ที่ชาวบ้านเขาทำกัน
    ชาวบ้านไม่ใช่พระพุทธเจ้าถ้าคนนั้นเขาดีจริงเขาต้องเป็นพระพุทธเจ้า ที่เขาสร้างแบบแผน
    ขึ้นมาหักล้างคำสอนของพระพุทธเจ้านี่ เราเป็นพุทธสาวกปฏิบัติตามไม่ได้ ถ้าขืนปฏิบัติตาม
    เราก็ไม่มีมรรคผลใด ๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เพราะคัดค้านคำสอนของพระพุทธองค์
    เสียแล้ว

    *** ก่อนที่จะทำ ก่อนจะพูดน่ะใคร่ครวญเสียก่อน อย่าไปคิดเห็นบุคคลอื่นว่าเขาเลว เราเห็นคนอื่นเลว
    นี่ก็กลายเป็นการสร้างความเลวให้เกิดขึ้นแก่ใจของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สอนให้กล่าวโทษโจทความผิดตัวเองว่ามันเลวไว้เสมอ หาจุดความเลวของกาย หาจุดความเลว
    ของวาจา หาจุดความเลวของใจ อย่าไปหาจุดของความดี ถ้าพบจุดความเลวจุดไหน ทำลาย
    ความเลวจุดนั้นให้หมดไป แล้วความดีมันก็ปรากฏเอง

    *** อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย อย่าห่วงคนอื่น
    มากเกินกว่ากฎของกรรม จงนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยานเรื่อง
    ยศศักดิ์ ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจสบาย จะมีความสุข เรื่องลูกก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้
    ในฐานะพ่อแม่ที่ดี แต่อย่าดิ้นรนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพานให้ไกลออกไป

    *** เรื่องลูก จงรักเมื่อเรามีลมปราณ ทำหน้าที่ของพ่อแม่ให้สมบูรณ์และคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย
    เขาต้องตาย มีอะไรที่เราจะเป็นทุกข์เพื่อเขา เมื่อเราหรือเขาตาย หัดวางหัดคิดหัดยับยั้งใจ
    ค่อยคิดค่อยทำค่อย ๆ อบรมตัวเอง อย่าหวังวาจาของคนอื่นอบรม ทำอย่างนั้นเอาตัวไม่รอด
    ต้องคอยจับผิดตัวเอง คอยลงโทษตัวเอง คอยเป็นโจทก์ฟ้องตัวเองเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า
    เป็นตุลาการ จงถือธรรมเป็นสำคัญ อย่าถือคนถ้ายังติดคนก็จะไม่ถึงธรรม ถ้าถึงธรรมก็พ้น
    จากการติดคน ถ้าติดคน ติดยศของคน ติดฐานะของคน ติดศักดิ์ศรีของคน ไม่มีอะไรดี เราก็
    ไม่เข้าถึงธรรมทุกอย่างที่ทำไปควรปรารภธรรมอย่าเห็นแก่คน เรื่องการต้อนรับก็มุ่งเอาธรรม
    เป็นสำคัญ ทำไปด้วยใคร่ครวญพิจารณาไปด้วย จงเข้าใจว่าทุกอย่างที่ทำไปเป็นเรื่องของ
    ชาวโลกแต่ก็เป็นธรรม คือการทรงตัวของชาวโลกถ้าเรายังเกิด เราก็ต้องทุกข์อย่างนี้ อะไร
    ทำให้ทุกข์ เพราะความอยากทำให้ทุกข์ ถ้าเราไม่อยากเราก็ไม่ทุกข์ ที่เราทุกข์ก็เพราะชาติ
    ก่อนเราไม่หมดอยาก และชาตินี้เราก็ยังอยาก เมื่อไรความอยากสิ้นไปเมื่อนั้นก็ถึงนิพพาน

    *** อย่าเที่ยวซุกซนทำตนเป็นคนถือมงคลตื่นข่าว ความดีไม่ใช่อยู่ที่คนอื่น ความดีอยู่ที่เราใครเขา
    เป็นอรหันต์ เราไปเกาะเขาเราจะได้อะไร ความเป็นอรหันต์ เขาเป็นกันที่เราไม่ใช่เป็น
    ที่เกาะ การเกาะคนโน้น เกาะคนนี้ เอาอะไรมาเป็นเครื่องชำระจิต จงเอาที่บ้าน ที่นั่ง ที่นอน
    ของเราเป็นป่าช้า อย่าคิดว่ามันเป็นทิพย์วิมาน เพราะที่อยู่ในชาติปัจจุบันมันมีสภาพเป็น
    ซากศพมันผุพังเปื่อยเน่ามันทำลายตนเองเป็นปกติ เราและสถานที่ต่างก็เป็นซากศพ
    จะสนใจอะไรกับความสวยสดผ่องใสมันสวยจริงหรือ ผ่องใสจริงหรือ โลกนี้มีอะไรดี จงอย่า
    หวั่นไหวต่อความเป็นไปของโลก โลกต่อไปจะเป็นไฟ เราจงทำใจเป็นน้ำ ใช้คำว่าช่างมัน
    ช่างมันตลอดไปเขาให้ทำเราทำ เขาสั่งหยุดเราหยุด นี่เป็นภาวะของโลก แต่เรื่องทำใจให้
    เป็นต้องทำตลอดไปรักษาอารมณ์ รู้จักตาย รู้ว่าโลกเป็นของสลายตัวเท่านี้พอแล้วก็จะเข้าถึง
    นิพพานได้

    *** พยายามเพียรทรงตัวไว้ทำใจว่าจะไม่ฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็เพียรทรงไว้แต่ความดี
    เพียรละความชั่วอยู่ตลอดเวลา กรรมอะไรก็ตาม อารมณ์ใดก็ตาม ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
    เป็นอารมณ์ของความชั่ว ต้องเพียรต่อต้านมันนะ แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณาหาความเป็นจริง
    ให้พบ เมื่อพบความจริงแล้วก็เพียรถือมันเข้าไว้ คือทรงความเป็นจริงไว้ในใจ ยอมรับนับถือ
    ตามความเป็นจริงคิดไว้เสมอว่าไม่มีที่ใดที่จะดีไปกว่าพระนิพพานนะ

    *** ถ้าเราไปเพ่งเล็งคนอื่นว่าคนนั้นชั่ว คนนี้ดี แสดงว่าเราเลวมาก เราควรจะดูใจของเราต่างหากว่า
    เรามันดีหรือเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียว ใครเขาจะเลวร้อยแปดพันเก้าก็เรื่องของเขา
    ถ้าเราดีแล้วก็หาคนเลวไม่ได้ เพราะเรารู้เรื่องของคน คนมาจากอบายภูมิก็มี คนมาจาก
    สัตว์เดรัจฉานก็มี คนมาจากมนุษย์ก็มี มาจากเทวดาก็มี มาจากพรหมก็มี มันจะเสมอกันไม่ได้
    ถ้าพวกมาจากอบายภูมิ สอนยาก ป่วยการสอน

    *** ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดี
    หรือชั่ว ไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามว่าเลวมันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิต
    ของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษา
    กำลังใจ เป็นสำคัญว่าควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่
    เราดี เพราะรอให้ชาวบ้านสรรเ
    สริญนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว

    *** ถ้าบุคคลใดไม่สนใจในจริยาของบุคคลอื่น ไม่เพ่งเล็งบุคคลอื่น ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่มีความ
    ประมาท มีจริยาดี มีความสงบ ใคร่ครวญเฉพาะความประพฤติของตัว อย่างนี้ชื่อว่าเข้าถึง
    สะเก็ดความดี ที่ตถาคตสอน
    แล้วบุคคลใดไม่ทำลาย ศีล ในตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลาย ศีล ไม่ยินดีเมื่อ
    บุคคลอื่นทำลาย ศีล แล้วสามารถระงับ นิวรณ์ ๕ ได้ตามต้องการ จิตทรงฌาน มีอารมณ์ทรง

    พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌานโลกีย์ อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงเปลือกความดีที่
    พระองค์ทรงสั่งสอน
    ถ้าบุคคลใดทำความดีดังนี้ ตามลำดับมาครบถ้วนทรงตัว สามารถทำจิตให้ระลึกชาติได้โดย
    ไม่จำกัดอย่างนี้ เข้าถึงกระพี้ความดีที่พระองค์สอน
    ถ้าบุคคลใดทำ จุตูปปาตญาณ ให้เกิดขึ้น เห็นคนและสัตว์รู้ได้ทันทีว่า คนและสัตว์นี้ก่อน
    เกิดมาจากไหน คนตายแล้วไปอยู่ที่ไหน อย่างนี้ถือว่าเข้าถึงแก่นความดีของพระองค์สอน
    แต่เป็นแก่นขั้นฌานโลกีย์
    ต่อไปทบทวนความดีนี้ให้ทรงตัว ทำวิปัสสนาญาณ ถ้ามีบารมีแก่กล้าจะตัดกิเลส เป็น
    สมุจเฉทปหาน ได้ภายใน ๗ วัน ถ้ามีบารมีอย่างกลางจะตัดกิเลสได้หมดภายใน ๗ เดือน
    ถ้ามีบารมีอย่างอ่อนจะตัดได้หมดภายใน ๗ ปี

    *** คนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และ
    อกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมนี่ ไม่มีทางจะคืนตัวได้ ความเป็นอยู่
    ของเขาในสมัยปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมอง
    เพราะกิเลสมันทำจิตใจให้เศร้าหมอง ตัณหาสร้างจิตใจให้เร่าร้อน อุปทานมีอาการเกาะ
    ความชั่วเป็นปกติ อกุศลกรรมทำความชั่วตลอดเวลา คนที่เป็นทาสของกิเลสตายแล้ว
    ไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคนแม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ
    นี่ถ้าบุคคลผู้ใดทำใจของเราให้เร่าร้อนด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วย
    วาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราก็คิดว่า
    ถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไป
    แล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตเรา
    ก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา นี่ อุเบกขา เราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลว
    ก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...