หลวงพ่ออลงกต พระโพธิสัตว์แห่งเมืองลพบุรี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย 5314786, 2 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    พระครูอาทรประชานาถ (ติกขปญโญ ) ชื่อเดิม อลงกต พลมุข เกิดเมื่อ พ.ศ. 2496 ภูมิลำเนาเดิม อยู่ที่จังหวัดราชบุรี บิดารับราชการกรมทางหลวง มารดาเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังวัยเยาว์

    ได้รับการศึกษาครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาได้เรียนต่อที่กรุงเทพมหานคร แล้วย้ายที่เรียนไปตามจังหวัดต่างๆ อีกหลายแห่ง สาเหตุเพราะต้องติดตามโยมบิดาซึ่งเป็นข้าราชการต้องย้ายที่ทำงานไปหลายแห่ง จนเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

    ต่อมาได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สาขาวิศกรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีจากนั้นได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย สาขาวิศกรรมเครื่องกลจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท แล้วสมัครเข้าทำงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ทำงานอยู่ไม่นานก็เบื่อทางโลกจึงลาออกมุ่งศึกษาทางธรรม โดยอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศเมื่อปี พ.ศ. 2522สังกัดธรรมยุติกนิกาย
    ใน พ.ศ. 2529 ได้ย้ายมาอุปสมบท และจำพรรษาสังกัดมหานิกายณ วัดเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และเริ่มศึกษาทางธรรมอย่างจริงจังโดยออกธุดงค์ ไปตามเขาและถ้ำต่างๆ หลายจังหวัด เป็นระยะเวลาประมาณ 2 - 3 ปี จนธุดงค์กลับมาที่จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. 2531 พระเถรานุเถระได้ขอให้มาจำพรรษาที่วัด พระบาทน้ำพุ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเจ้าอาวาส และได้ตั้งพระอาจารย์อลงกต ติกขปัญโญเป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน
    ต่อมาได้มีโอกาสไปเยี่ยมผู้ป่วยโรคเอดส์ ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯพบว่าผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ถูกทอดทิ้งไม่มีญาติขาดคนคอยดูแลจึงได้ช่วยดูแล มีผู้ป่วยหลายคนต้องเสียชีวิตในอ้อมแขนของท่าน
    เมื่อกลับมายังวัดพระบาทน้ำพุ จึงมีความคิดว่า ควรหาสถานที่สำหรับเป็นที่พักพิงของผู้ป่วย โรคเอดส์ในระยะสุดท้ายของชีวิตสักแห่งหนึ่ง ประกอบกับองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม ( พ.ส.ส. ) มีแนวคิดเช่นเดียว จึงได้ร่วมจัดตั้งโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ บ้านพักผู้ป่วยเอดส์ในระยะสุดท้ายขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดยระดมทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่เท่าที่จะหาได้จัดสร้างเรือนพักสำหรับผู้ป่วย โดยขอรับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ จัดตั้งผู้รับบริจาคหาทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยพร้อมทั้งได้ออกแสดงพระธรรมเทศนาไปยังสถาน ที่ ต่างๆ เพื่อหาทุนทรัพย์สมทบเป็นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่ายา ค่าของเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย ฯลฯ
    นับว่าเป็นผู้ส่งเสริมให้กับสังคมมีความเสียสละเอื้ออาทรเพื่อมนุษย์ ปลูกจิตสำนึกให้มีความเมตตา และมนุษยธรรม อันนำไปสู่ความคิดตามวิถีทางพระพุทธศาสนาโดยมีพระสงฆ์ แพทย์ พยาบาลอาสาสมัครเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยร่วมกันช่วยควบคุมปริมาณการเผยแพร่โรค เอดส์ ช่วยให้ชุมชนไม่แสดงความรังเกียจ นอกจากนี้ยังได้จัดสาธารณกุศลสงเคราะห์ เช่น ที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุงห่ม และยารักษาโรค ให้กับผู้ป่วยทุกคน แม้กระทั่งการจัดการฌาปนกิจศพ
    จากคุณงามความดีในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเป็นเวลานานทำให้ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมสงเคราะห์แก่พระครูอาทรประชานาถในปี พ.ศ. 2540

    การศึกษา
    พ.ศ. 2511 ประถมศึกษาปีที่ 7 โรงเรียนนันท-วิทยา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    พ.ศ. 2516 มัธยมศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2519 วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับที่ 2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    พ.ศ. 2522 วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
    พ.ศ. 2531 นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดพระบาทน้ำพุ ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี

    ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    พ.ศ. 2540 สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    พ.ศ. 2542 สาขาพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    พ.ศ. 2544 สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    พ.ศ. 2545 สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราช
    วิทยาลัย

    ไม่ว่าท่านจะเหน็ดเหนื่อยจากงานหนักสักเพียงใด ก็จะคงเห็นรอยยิ้มที่เปี่ยมเมตตาจากท่านอยู่เสมอ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2014
  2. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG][​IMG]

    นับแต่วัดนี้ เริ่มเปิดรับผู้ป่วยเอดส์ครั้งแรก เมื่อปี 2535 ต้องเผชิญกับสารพันปัญหา พระอุดมประชาทร
    หรือหลวงพ่ออลงกต เจ้าอาวาส ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างหนัก
    กว่าที่สังคมจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย
    แต่ยิ่งวัดนี้จัดระบบให้การดูแลผู้ป่วยดีเพียงไร ดูเหมือนปัญหาเอดส์จากทั่วสารทิศ ยิ่งหลั่งไหลรุมเร้า
    กลายเป็นภาระหนักอึ้งให้หลวงพ่อ มากขึ้นทุกขณะ
    นับจากวันแรกที่วัดพระบาทน้ำพุ เปิดประตูต้อนรับผู้ป่วยเอดส์ หมายเลข 1 จวบจนวันนี้ เฉลิมพล พลมุข ผู้จัดการโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ วัดพระบาทน้ำพุ
    อยากใช้วาระนี้นำบางประสบการณ์ที่หวานอมขมกลืน กลับมาใคร่ครวญ
    เขาตัดพ้อว่า จะมีใครสนใจบ้างหรือไม่ ทุกวันนี้สถานการณ์ในวัดพระบาทน้ำพุเป็นอย่างไร
    ผู้ป่วยยิ่งทวีจำนวน ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร ข้าวของเครื่องใช้ในการดูแลผู้ป่วย
    ได้มาจากไหน
    “ทุกวันนี้หลวงพ่อต้องรับผิดชอบดูแลคนในวัด ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชีวิต” ผู้จัดการหนุ่มเว้นจังหวะ
    “ทุกเดือนท่านมีภาระต้องหาเงิน ไม่ต่ำกว่า 3,500,000 บาท หรือเฉลี่ยวันละ 116,000 กว่าบาท
    มาใช้จ่ายในวัด”
    เขาว่า ฟังเหมือนวัดนี้ใช้เงินมือเติบ...แต่ใครไม่รู้ ไม่เคยสัมผัสความเป็นไปใกล้ชิด ยากจะเข้าใจ

    “แค่ค่ายา ค่าอาหาร ค่าบริหารจัดการ เงินเดือนเจ้าหน้าที่ และค่าเผาศพ แต่ละเดือนแทบไม่เหลือ ช่วง 4-5
    ปีมานี้ ยังมีกลุ่มคนและองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ดาหน้าเข้าไปขอรับ ความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อ
    แทบไม่เว้น”
    “มีทั้งขอเงินไปซื้อคอมพิวเตอร์ ซื้อแอร์สำนักงาน ขอให้ท่านช่วยสร้างอาคารสถานที่ให้
    และขออะไรต่อมิอะไรอีกมาก ใครก็รู้ หลวงพ่อเปี่ยมล้นด้วยเมตตา คนที่ขอได้สมหวัง กลับไปดีใจหน้าบาน
    พวกไม่สมหวังก็เอาท่านไปนินทาว่าร้าย”
    เฉลิมพลเล่าว่า ภารกิจอันเกิดจากรายจ่ายของวัด เฉลี่ยเดือนละ 3.5 ล้านบาท บีบคั้นให้แต่ละวัน
    หลวงพ่ออลงกตต้องออกจากวัดตั้งแต่ ตี 2 ตี 3 เพื่อไปบิณฑบาตข้าวสาร อาหารแห้ง
    จตุปัจจัยจากประชาชนตามที่ต่างๆ เพื่อนำไปเลี้ยงดูผู้ป่วยเอดส์ และขับเคลื่อนให้องค์กร สามารถยืดลมหายใจ
    อยู่รอดไปวันๆ
    วัดพระบาทน้ำพุ ได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ดูแลผู้ป่วยเอดส์ ปีละ 9 แสนบาท
    “ถ้านี่คือการทำธุรกิจ ป่านนี้วัดพระบาทน้ำพุเจ๊งไปนานแล้ว บางวันมีเงินบริจาคเข้าวัดยังไม่ถึง 3,000
    บาท แต่สิ่งที่ทำให้คนในวัดนับพันชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ คือ ข้าวสาร อาหารแห้ง
    จากผู้มีจิตศรัทธาที่ใส่บาตรหลวงพ่อ”
    เฉลิมพลบอกว่า 12 ปีที่ผ่านมา “หลวงพ่ออลงกต” ทำงานหนักมาตลอด ทำให้หมู่นี้สุขภาพของท่านเริ่มอิดโรย
    เศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่ก็อยู่ในช่วงขาลง พลอยให้สถานการณ์ของวัดพระบาทน้ำพุต้องอยู่ในช่วงขาลงไปด้วย

    “12 ปีที่ผ่านมา ยอดคนป่วยมีแต่เพิ่ม โรงพยาบาลของรัฐก็รับไม่ไหว
    คนเหล่านี้ไม่มีที่จะไปและไม่สามารถกลับไปอยู่กับครอบครัว คนเป็นเอดส์ นอนกันเกลื่อนวัด
    เด็กเล็กๆรอทั้งข้าว นม และของเล่น รัฐบาลก็ขาดความจริงใจจะดูแล”
    “ลำพังหลวงพ่อรูปเดียว ต้องหาเงินมาดูแลให้คนเป็นเอดส์ อยู่ฟรี กินฟรี ตายก็เผาให้ฟรี เดือนละ 3
    ล้านกว่าบาท นับเป็นเรื่องสาหัส”


    ชีวิตที่ผู้อื่นมองว่าไร้ค่า แต่หลวงพ่อท่านเห็นว่าทุกชีวิตย่อมมีค่าเท่าเทียมกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2014
  3. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800

    [​IMG]

    ประวัติ พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกฺขปญฺโญ )


    ตอนที่


    ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ราว ๑๖๐ กิโลเมตร ณ วัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พระสงฆ์รูปหนึ่งได้สืบทอดปณิธานธรรมในอันจะดับทุกข์ร้อน สร้างประโยชน์สุขให้แก่สังคมและประชาคม โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยวิถีทางพุทธในประเทศไทย ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ป่วยเอดส์ ณ สถานที่นี้คืออาณาจักรใจอันร่มเย็น เป็นหลักพักพิงอันอบอุ่นตลอดถึงเป็นที่ที่ผู้ป่วยได้สิ้นลมหายใจอย่างสงบและมีที่ยึดเหนี่ยวตามปรัชญาความเชื่อแบบพุทธ

    ๑๔ ปีที่ผ่านมา พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกขปัญโญ )ปัจจุบัน ๕๖ ปี มหาบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อผู้ป่วยเอดส์ ผู้ได้รับการปฏิเสธจากสังคม การป้อนข้าวป้อนน้ำ เช็ดเนื้อเช็ดตัว ทำแผล การดูแลพยาบาลด้วยตนเองเป็นกิจวัตรประจำวันของท่าน นอกเหนือจากหน้าที่ทางด้านการบริหารจัดการด้วยน้ำมืออันนุ่มนวลและด้วยน้ำใจอันเปี่ยมด้วยเมตตา เสียสละ ของพระภิกษุรูปนี้ ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจึงมีกำลังใจฟื้นคืนชีวิตขึ้นอีกครั้ง และสำหรับผู้ป่วยที่ใกล้หมดลมหายใจ ภาพพระอาจารย์ที่อดตาหลับขับตานอนเฝ้าดูแลอยู่เคียงข้างกายเขาในวาระสุดท้ายคือความอบอุ่นใจ คือที่พึ่งสุดท้ายที่พวกเขาได้เห็นก่อนลมหายใจรวยรินจะขาดห้วง

    การเริ่มต้นที่ปฐมวัยของชีวิต
    คุณแม่พระอาจารย์เสียชีวิตตั้งแต่พระอาจารย์ยังเด็ก ส่วนคุณพ่อก็ทำโปรเจ็กต์สร้างทางไปเรื่อย ท่านจะย้ายแคมป์ไปเรื่อยๆ เดือนหนึ่งท่านจะมาเยี่ยมสักครั้ง ท่านวางระเบียบสำหรับชีวิตของลูกไว้ค่อนข้างเคร่งครัดมาก เป็นการสร้างระเบียบให้เรา ตั้งแต่ ๓ ขวบ นี่เริ่มซักผ้าเป็นแล้วนะครับ หัดซักกางเกงตัวเองเป็น อ่านหนังสือออกแล้วครับ ลูกๆ ทุกคนต้องตื่นแต่เช้า ตี ๔ ตี ๕ มาคัดลายมือ เช้ามาก็ต้องคัดภาษาไทยหนึ่งหน้า ภาษาอังกฤษหนึ่งหน้า แล้วก็ต้องทำเลขคณิตอีก ๕ ข้อ ซึ่งเลขคณิตจะต้องเป็นโจทย์ที่ตั้งขึ้นเอง ตั้งเองแล้วก็ทำเอง พอพ่อกลับมาเดือนหนึ่ง พ่อก็จะมาดู ชม คือพ่อจะเป็นสิ่งที่เรารอคอยกันนานมาก พอมาครั้งหนึ่งพ่อจะพาไปเที่ยว พาไปซื้อของ แล้วก็ให้สตางค์ ให้อะไรหลายๆ อย่างแก่พวกเราเหมือนกับชีวิตพวกเรารอคอยพ่อ พ่อสอนระเบียบให้แก่ลูก ขนาดถุงเท้านี่ถึงเก่ายังไงพ่อก็ไม่ให้ทิ้ง ให้ซักให้สะอาดแล้วก็เก็บม้วนเอาไว้ หนังสือหนังหาทุกเล่มต้องเก็บไว้เป็นระเบียบ ถึงจะเรียนอ่านไปแล้วก็ต้องเอามาเก็บไว้ จะมีหีบของแต่ละคน ใส่ของของ ตัวเองให้เก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

    แม่จากไปตอนพระอาจารย์อายุ ๓ ขวบกว่า แม่คลอดน้องคนเล็กแล้วรู้สึกจะเสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช ความจำของพระอาจารย์เกี่ยวกับแม่จะน้อยมาก แค่จำรูปแม่ได้เท่านั้นเอง หลังจากที่แม่ป่วยแล้ว เราเริ่มจำความได้ในความรู้สึกของตัวเองจะมีภาพของแม่อยู่ตั้งแต่เด็กๆ เป็นภาพที่เลอะเลือนมากแต่เป็นภาพที่ตรึงใจว่าแม่มานะ ตอนกลางคืนเราตื่นขึ้นมา แม่ซื้อผลไม้ ซื้อเงาะซื้ออะไรมา แล้วปลุกมานั่งกิน เป็นภาพที่ยังอยู่ในใจ

    ตั้งแต่แม่ป่วย แม่ก็เข้าโรงพยาบาลไม่ค่อยได้อยู่กับลูกๆ แล้วแม่ไม่เคยให้ทางบ้านเดือดร้อน แม่ก็จะไปหาญาติพี่น้องของแม่ พอแม่เสียก็ตกเป็นภาระของย่าในการเลี้ยงดูหลานๆ ทุกคน พ่อก็ไปทำงาน นานๆ จึงกลับมาเป็นอย่างนี้อยู่หลายปีจนกระทั่งเราโตขึ้นมาแบบไม่มีพ่อไม่มีแม่ แต่ความรู้สึกในใจเรื่องแม่เป็นสิ่งที่เราขาดแคลนมากจริงๆ แม้ความรักความผูกพันที่มีต่อพ่อจะมีมากแต่ก็ยังรู้สึกว่าขาดแคลน

    ตอนแม่จากไป พระอาจารย์ยังคงไม่มีความทรงจำในเรื่องของแม่มากนัก แม้อายุของแม่ก็จำไม่ได้จริงๆ เรื่องของแม่นี่เลือนลางมาก คุณพ่อก็พามาที่โรงพยาบาลศิริราช จำได้ว่าพ่อตามหาคุณแม่ คุณพ่อทราบแต่เพียงว่าคุณแม่อยู่โรงพยาบาลศิริราช มีญาติบอกว่าเห็นแม่ไปรักษาตัวที่นั่น เสียที่นั่น ศพก็น่าจะเก็บไว้ที่นั่น คุณพ่อก็พาเราไปถาม พระอาจารย์จำได้ว่าพ่อพาไปข้ามเรือข้ามจากท่าพระจันทร์ไปวังหลัง จำตรงนั้นไปติดตาตรึงใจถึงวันนี้ว่าไปโรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่เด็กๆ ไปตามหาแม่ แต่ว่าไม่เจอ ไม่พบศพ ไม่ทราบว่าแม่ไปยังไง ไปรักษาที่นั่นจะไม่ได้ใช้ชื่อจริงหรือยังไง ไ ม่รู้ นี่เป็นเรื่องสุดท้ายที่เป็นความทรงจำถึงแม่ แม้แต่ญาติทางฝ่ายแม่เองก็ไม่ทราบว่าแม่สูญหายไปไหน

    วัยเด็กของพระอาจารย์จะต่างจากเด็กอื่นทั่วๆ ไป ที่เขาสามารถสัมผัสความรักของพ่อแม่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่ของเราเป็นความรักที่คู่กับการรอคอย มันก็ผลักดันออกมาในรูปแบบของการทำให้เรามีพฤติกรรมที่ต้องการจะได้รับการตอบสนองในเรื่องนี้ แต่โชคดีที่มันออกมาในรูปแบบที่ดี กลายเป็นเราทำอะไรเพื่อคนอื่นๆ เพื่อให้ได้ความรักนี้มาชดเชยกับตนเอง และนี่ก็น่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรามีวันนี้ ได้ทำอะไรๆ ในวันนี้ด้วย ความรู้สึกจากที่ได้ทำงานตรงนี้ได้ช่วยเหลือคนอื่นให้มีความสุขทำให้เรามีความสุขด้วย

    คุณย่าเป็นคนเลี้ยงพวกหลานๆ มา ท่านเป็นคนเจ้าระเบียบ ดุ แล้วก็เป็นคนขยัน ขยันมาก ประหยัด ละเอียดมาก ทำอะไรค่อนข้างจู้จี้จุกจิก หลานทุกคนต้องเป็นคนละเอียด ทำอะไรหยาบไม่ได้เลย แม้แต่ต้นชมพู่ที่เขาแบ่งให้ดูแลคนละต้น หลานทุกคนจะต้องเอากระดาษไปห่อผลชมพู่แต่ละผลไม่ให้แมลงมากัดกิน เขาสอนให้เรารับผิดชอบก็เลยทำให้เราได้ความอ่อโยนและละเอียดลออในชีวิตเราอยู่ในสวนไม่มีเพื่อนบ้านใกล้ๆ สวนเรามีละมุด ชมพู่ มะนาว อาชีพของย่าก็คือเก็บผลพวกนี้ไปขายมีมะนาวเป็นหลัก

    อย่างหนึ่งที่พ่อสอนให้พวกเราทำตั้งแต่เด็กๆ คือนั่งสมาธิ พ่อบอกว่าก่อนที่จะเริ่มต้นเขียนหนังสือให้นั่งฟังเสียงนาฬิกา นับเสียงนาฬิกาให้ได้ถึงร้อยก่อนแล้วค่อยลงมือเขียน เพราะฉะนั้นเวลาตื่นปุ๊บพระอาจารย์จะมานั่งนับเสียงนาฬิกาที่ดังติ๊กต๊อกๆ พ่อบอกว่าเวลานั่งฟังเสียงนาฬิกาให้นึกถึงพ่อนะ ว่าเป็นการรอคอยเวลาที่พ่อจะมาเป็นอุบายของสมาธิที่พ่อสอนเรา เวลาเรานั่งฟังเสียงนาฬิกาจิตใจจะสงบมาก พอสงบแล้วสมองมันจะปลอดโปร่ง

    น่าจะเป็นปมด้อยของตัวเองอย่างหนึ่งคือไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ทำให้ต้องการความรักจากคนอื่นๆ ทั้งเพื่อนทั้งใครๆ ก็ตาม เขาใช้อะไรเราก็จะทำหมดและทำแบบกระตือรือร้นมาก เป็นคนชอบอาสา ใครใช้ไปซื้อของก็จะรีบวิ่งไปแล้วจะกลับมาอย่างรวดเร็วมาชื่นชมดีใจกับคำขอบคุณของคนอื่นเขา มีความรู้สึกอย่างนั้นมาตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับเรื่องของตัวเองบางทีไม่ค่อยใส่ใจรายละเอียดของตัวเองเท่าไร มักจะสนใจคนนั้นคนนี้ ใครอยากได้อะไรอยากทำอะไรก็ช่วยเขาไปหมด ใส่ใจต่อความรู้สึกและความต้องการต่อปัญหาของคนอื่นแต่ตัวเองไม่ค่อยสนใจ สิ่งนี้เป็นความสุขโดยธรรมชาติของตัวเอง

    ถึงจะไม่ค่อยอบอุ่นแต่ก็ไม่ว้าเหว่นัก เพราะเรามีพี่น้องหลายคน แล้วเรามีสิ่งที่ต้องกระทำตลอดเวลา ไม่มีเวลาว่างสำหรับความรู้สึกนึกคิดอย่างนั้นเพราะเราโตขึ้นมาท่ามกลางธรรมชาติที่เราไม่มีทางเลือก และเราไม่มีข้อเปรียบเทียบกับสังคมอื่น ในสังคมเด็กๆ เราก็พอใจอยู่แค่นั้น อาศัยที่บ้านพระอาจารย์อยู่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง เย็นมาก็ลงแม่น้ำดูเรือผ่านไปผ่านมา ชอบว่ายน้ำมาก ดำน้ำได้นาน ว่ายข้ามฝั่งแม่น้ำ เวลาเรือมาก็ไปเกาะเรือ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  4. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    เด็กชายอลงกต อำลาบ้านเกิดที่โพธารามและสายน้ำแม่กลอง เพื่อเข้ามาเรียนหนังสือต่อในกรุงเทพฯ ขณะอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่โรงเรียนดอนเมืองจารุจินดา จากนั้นจึงมาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ด้วยบุคลิกที่เรียบๆ เย็นๆ ยิ้มแย้ม ไม่ชอบขัดใจใคร
    และช่างบริการคนทำให้ได้รับ การโหวตเสียงจากเพื่อนๆ ให้เป็นนักเรียนพ็อพพูลาร์ของโรงเรียน
    ด้วยผลการเรียนระดับดี เด็กหนุ่มสอบเข้าเรียนต่อในคณะ วิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผลการเรียนดีเด่นในคณะ กิจกรรมที่โปรดปรานของเขา คือการเล่นดนตรี และกีฬาฟุตบอล พรสวรรค์ ด้านหนึ่งของเขาคือการแต่งเพลง มีผลงานเพลงมากมายที่คุ้นหูคนรักเสียงเพลงแม้จนทุกวันนี้

    “ ขณะที่เรียนเกษตรฯ ก็มีแฟนคนหนึ่ง เขาเป็นรุ่นน้องด้วยกัน ชอบกันตั้งแต่เขาอยู่ปี ๑ เราอยู่ปี ๒ ไปช่วยน้องทำแปลงเกษตรก็แอบชอบ แต่ผู้หญิงคนนี้เป็นผู้หญิงที่มีคนชอบมากที่สุดเราตาถึง แต่ตัวไม่ถึงอยู่ข้างหลังเขาตลอด ก็ได้แต่มองหน้าตาเขาดีมาก นิสัยก็ดีมากด้วย แล้วยังเป็นลูกคนรวยมากๆ ด้วย คือคุณพ่อเขาเป็นเจ้าของฟาร์มวัว มีวัวประมาณ ๖,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ ตัว มีควายเป็นหมื่นตัวส่งออกต่างประเทศ
    แม้ว่าเราจะแอบชอบเขา แต่เราก็จะอยู่ห่างๆ เขาตลอด พอมาเทอมที่ ๒ มีการแข่งขันกีฬาสี ก็อยู่สีเดียวกัน เขาสมัครเล่นกีฬาหลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งที่เขาสมัครเล่นก็คือฟุตบอลซึ่งเป็นกีฬาที่เราเกี่ยวข้องอยู่ เราก็เป็นนักฟุตบอลของมหาวิทยาลัยด้วย และก็เป็นนักกีฬาของสีแดงด้วย เพราะพอปีแรกเข้ามาก็เล่นฟุตบอลแล้ว พอมาขึ้นปีที่ ๒ ก็เป็นรองประธานกีฬาในฝ่ายกีฬาฟุตบอล เขาก็ให้ควบคุมนักกีฬาฟุตบอลหญิง ”


    นี่เป็นที่มาของการได้รู้จักและสนิทสนมกับน้องคนนี้ คือเขาเป็นคนที่คล้ายๆ กับเรา คือใส่ใจในรายละเอียดของคน แต่ไม่ชอบการเอาอกเอาใจและก็ไม่ชอบวิธีการที่มีเล่ห์เหลี่ยมมีมารยา เขามีความรู้สึกที่เขาบอกว่า เขาทึ่งในตัวเราอย่างหนึ่งคือ เขาถามเราว่ารุ่นพี่มาสนใจเขาเยอะไปหมด เขาถามว่าเรามีความรู้สึกยังไงตรงนี้ เราก็บอกว่าถ้าเราคบใครสักคนเราคงไม่ได้ดูที่เรื่องหน้าตาเป็นเรื่องแรก
    เขาก็คิดว่าเขาสวยแล้วก็ดีพร้อมทุกอย่างแต่เรากลับไม่สนใจ เขาก็ถามว่าเรามีแฟนหรือยัง เราก็บอกว่ายังไม่มี ที่จริงเขาทราบแบ็คกราวน์เรามาก่อนแล้วว่าเราเป็นคนที่เรียนดีที่สุดในคณะวิศวะฯ คือในแต่ละเทอมเขาจะประกาศผลนักศึกษาที่เรียนดีที่สุดในคณะ แล้วก็มอบเหรียญรางวัลให้ซึ่งเขาเคยเห็นเราขึ้นไปรับรางวัลคนแรกเลย


    พอมาตรงนี้ก็กลายเป็นสะพานที่เชื่อมต่อกัน จากวันแรกที่ได้คุยกันก็จบตรงแค่นี้ว่าเขาก็รู้จักเรามานานแล้ว เห็นเรามานานแล้วเหมือนกัน เขาบอกว่าแม้แต่ที่แปลงเกษตรเขาก็มองเราว่าไม่เหมือนคนอื่น คนอื่นจะเข้ามาช่วยเขา เขาก็ถามทำไมเราไม่เข้าไปช่วย เราก็บอกว่าเราอยากให้คนช่วยตัวเองอยากให้คนอื่นเข้มแข็งมากกว่า การช่วยลักษณะนั้นไม่ได้ช่วยทำให้น้องเป็นคนเก่งหรือเข้มแข็งหรอก แต่เป็นการช่วยเพื่อทำให้น้องชื่นชมในตัวเขามากกว่า

    เช้าวันรุ่งขึ้นต่อมาต้องมาซ้อมกีฬากัน เขาก็ตื่นแต่เช้ามาซ้อมฟุตบอล เราก็รู้ว่าเขาต้องตื่นแต่เช้า เราก็ตื่นแต่เช้าเหมือนกัน เขานัดกันไว้แล้วทีมฟุตบอลนี่ แต่เขามาเช้ากว่าใคร เราก็มาเช้ากว่าใครไปถึงก่อนสองคนก็สอนเข้าเล่นฟุตบอลทั้งหมดก็ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ทั้งหมดเป็นไปแบบสุภาพเรียบร้อยหลังจากที่วิ่งรอบสนามด้วยกันแล้วก็มาเล่นฟุตบอลสองคนเล่นด้วยกัน พอเล่นเสร็จแล้วเขาก็ชวนเขา อยากจะเลี้ยงเรา ก็พาไปดื่มนมที่คอกวัว

    จากความสัมพันธ์เมื่อแรกรู้จักค่อยบ่มเพาะมาเป็นความรัก หลังจากคบกันมา ๓ ปีชายหนุ่มจบปริญญาตรีเกียรตินิยม และสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียทั้งคู่สัญญากันไว้ว่าจะครองชีวิตคู่ด้วยกันเมื่อเขากลับมา

    ความเปลี่ยนแปลงคือกฎธรรมดาของโลก ความผิดหวังในรักครั้งแรกทำให้เขาแทบเสียผู้เสียคนและเกือบเรียนไม่จบ เคราะห์ดีที่เพื่อนนักศึกษาสาวจากต่างประเทศให้กำลังใจเขา ได้กอบกู้ความหวังในชีวิตขึ้นมาได้ใหม่

    ในความผิดหวังเรื่องความรักในชีวิตวัยรุ่นทำให้รู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณค่าเลย ไม่อยากจะทำอะไร ไม่อยากจะได้อะไรเลย เป็นอยู่หลายสัปดาห์ไม่มีเพื่อนด้วย ไม่ได้ร้องไห้ แต่ซึม มันร้องไห้ในใจ ทำไมมันเป็นได้ขนาดนี้ ไม่อยากจะเชื่อเลย ไม่ได้ดื่มเหล้าปลอบใจแต่เบื่ออาหาร เบื่อหนังสือหนังหา เบื่อไปหมด ไม่รู้จะทำอะไรเหมือนกัน พออ่านหนังสือ อ่านๆ ไปมันก็ต้องหยุด ใจมันไม่ได้อยู่ที่หนังสือ มันตกอยู่ในความคิดตรงนี้ ความคิดตรงนี้มันคล้ายๆ กับมันเรียกร้องสิ่งเก่าๆ คืนมา ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งที่รู้เขาแต่งงานแล้ว ใจจริงแล้วทั้งลืมเขาไม่ได้แล้วก็รู้ว่าความผูกพันมันมากขนาดไหนต้องใช้เวลานาน

    สิ่งที่ทำให้ตรงนี้คลี่คลายไปได้นับว่าค่อนข้างโชคดีที่มีเพื่อนหญิงคนหนึ่งเป็นคนอเมริกันที่ไปเรียนออสเตรเลีย เขาเป็นคนหน้าตาดีพบกันในงานเลี้ยงสังสรรค์ของมหาวิทยาลัย พอดีจับฉลากไปนั่งโต๊ะเดียวกับเขา มีเพื่อนหลายคนนั่งอยู่โต๊ะเดียวกันคือทางมหาวิทยาลัยต้องการให้นักศึกษาที่มาจากต่างชาติได้รู้จักกัน เขาก็เข้าทักทายเรา เราก็ทักทายเขา คือเขาเป็นคนที่เชื่อมันตนเอง แล้วก็กล้าแสดงออกเขาสนใจเกี่ยวกับประเทศไทยเห็นเราเป็นคนไทย เขาก็ทักถามเราก็ตอบไปตามมารยาท คือลึกๆ ไปแล้วเขาไม่รู้ว่าเป็นอะไร

    ลงท้ายก็คุยกันเรื่องราวต่างๆ เราคุยกับเขาไม่ใช่ด้วยความเบื่อหน่ายแต่พูดให้เขามีความสุข ทั้งที่ใจตัวเองแล้วกำลังปวดร้าวขมขื่น แล้วตอนท้ายเขาก็มาถามว่าเรามีแฟนหรือยัง มีเพื่อนผู้หญิงหรือยัง เราก็บอกแต่ก่อนมีแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีเพิ่งจะเสียไปไม่นานนี้เอง เขาก็ถามว่าเป็นอะไรยังไงพอเขาถามเราก็เลยเล่าให้เขาฟัง ไม่ทราบว่าเป็นอะไรทำไมถึงเก็บไว้ไม่ได้มันคงไม่มีทางระบายก็บอกเขาไปว่า เรามีเพื่อนผู้หญิงที่รักกันมาตั้งหลายปี เขาเพิ่งจะแต่งงานไปเพราะเรามาเรียนที่นี่ เขาฟังแล้วก็ขอโทษที่เขารบกวนเวลาเรามากมาย คืนนั้นเขาก็ขับรถไปส่งเราที่หอพักเราก็เชิญเขาขึ้นไปบนห้องดื่มกาแฟ ตัวเองไม่มีอะไรเลยกับชีวิตที่ออสเตรเลีย มีแต่ห้องกับหนังสือหนังหา เขาก็มาเห็นเราเขาไม่แปลกใจว่าเราเป็นคนที่ไม่มีอะไรเลยแม้แต่ทีวีก็ไม่มี วิทยุก็ไม่มี มีแต่หนังสือหนังหาตำรับตำราง่ายมากจริงๆ มีหม้อหุงข้าวเล็กๆ ใบหนึ่ง มีกาต้มกาแฟ มีอยู่เท่านี้

    มิตรภาพของคนไกลบ้านสองคน เกิดและเติบโตงอกงามขึ้นในต่างแดน ยังความอบอุ่นลบรอยหมองของความว่าเหว่ให้จางหาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  5. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ประวัติ พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกฺขปญฺโญ)
    ตอนที่๓
    [FONT=&quot] ผู้หญิงคนนี้เล่าให้ฟังถึงชีวิตของเขาว่าเป็นมายังไง[/FONT] เขาเป็นลูกมหาเศรษฐีในอเมริกา แต่เขาก็มีปัญหาเพราะพ่อของเขาต้องการให้เขาเป็นอย่างหนึ่ง แต่เขาอยากเป็นอีกอย่างหนึ่งเลยคุยกันรู้เรื่อง เขาก็รู้สึกเห็นอกเห็นใจกับเราตรงนี้มาก คล้ายๆ กับว่าเขารู้ว่าตอนนี้เราต้องการเพื่อน
    ต้องการคนที่จะมารับความรู้สึกตรงนี้ได้ ก็ชวนเขาดื่มกาแฟแล้วก็คุยจนกระทั่งเช้ารุ่งขึ้นคุยกันทั้งคืนแล้วเขาก็กลับไป มันเหมือนกับการจากกันที่ไม่มีอะไรกันเลยนอกจากความรู้สึกที่ว่าคนหนึ่งห่วงใยคนหนึ่ง อีกคนหนึ่งต้องการระบายความรู้สึกอะไรออกไปเท่านั้นเอง
    พอเล่าให้เขาฟังแล้วอะไรก็ไม่ดีขึ้น เช้าอีกวันก็ยังเหมือนเดิมปรากฏว่าผู้หญิงคนนี้เขากลับมาเย็นวันนั้นก็มาอีก ซื้ออาหารซื้ออะไรมากินที่ห้องเราเขาบอกตอบแทนที่เลี้ยงกาแฟเมื่อคืน ก็เลยกลายเป็นเขาเป็นแขกประจำของเราทุกๆวัน

    เขาก็รู้ว่าเราไม่ใช่คนรวยแล้วเขาคงชอบนิสัยที่มีความจริงใจแล้วก็ตรงไปตรงมา เขาก็มาทุกวันๆ แม้แต่เตะเนื้อต้องตัวเขาเราก็ไม่เคยทำเลย รู้สึกว่าเขาค่อนข้างจะไว้ใจเราการที่เราคบผู้หญิงคนนี้ไม่ใช่เป็นความรู้สึกที่ชดเชยกับความรู้สึกสูญเสีย แต่เป็นความรู้สึกว่าเหมือนกับเป็นการที่ดึงเรามาจากทะเลที่เราจมอยู่ ก็คบกันเป็นเพื่อนที่ดีมากๆ คนนี้ทำให้เรียนจบถ้าไม่มีคนนี้คงเรียนไม่จบเพราะว่าเขาก็พูดอะไรหลายๆอย่างให้เราได้คิด ให้เราได้ตื่นขึ้นมาจากการจมอยู่กับความรู้สึกเขาบอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาให้เรานี่
    เขาดีใจที่ได้ให้
    เราก็คบกันมานานนานมากจนทำให้เราลืมความรู้สึกเก่าๆ ไปได้ชั่วขณะ แต่ก็ไม่ได้จางหายไป เพราะมันตราตรึงมากคบเขาเป็นเพื่อนอยู่ราวๆ ๒ ปี
    ตลอด ๒ ปีนั้นก็รู้สึกว่าเขาเป็นคนที่ดีมากๆ เลย ถ้าจะเทียบความดีกับคนที่เรารักคนเดิมก็น่าจะเท่ากันหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป แต่ทีนี้ปัญหาอยู่ตรงว่าจากเพื่อนมันก็กลายมาเป็นเรื่องราวของความรัก
    รักกันมากๆตอนหลังมานี้เขาก็ซื้อบ้านแล้วเราก็ไปอยู่ด้วยกันจนกระทั่งเรียนจบ
    ความรักและการพลัดพรากเกิดขึ้นอีกครั้งเป็นคำรบสอง คงเหลือเพียงเปลวเถ้าแห่งความหลังและความทรงจำอันงดงามไว้ให้ได้ระลึกนึกถึงกัน ตอนจะจากกันก็รู้สึกขมขื่นตัวเขาเองเขาก็รู้ตัวว่าสิ่งที่เขาทำขึ้นมาทั้งหมดนี่มันเหมือนกับความฝันภายในชั่วระยะเวลาหนึ่งของชีวิต
    คือพ่อแม่เขาไม่เคยรู้ว่าเขามาอยู่ที่นี่กับเรา ทีนี้มามองความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเรื่องเหมือนกับเอาสุนัขไปผูกคอกับราชสีห์ในเมื่อมันเป็นไปไม่ได้เราก็ต้องจากกัน เขาต้องกลับไปบริหารงานของทางครอบครัวพ่อแม่เขาความรู้สึกมันต่างกันกับครั้งแรก
    ตรงนี้มันเป็นความรู้สึกที่เหมือนใบไม้ที่ค่อยๆ แห้ง ร่วง แล้วก็หล่น ยิ่งใกล้วันจากก็ยิ่งเงียบเหงา บางทีเราก็ไปนั่งที่ทะเลด้วยกันไม่ได้พูดอะไรกัน คล้ายๆ กับนั่งระลึกถึงความรู้สึกเก่าๆ แล้วสัญญากันไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา เราจะเก็บไว้ในความทรงจำ

    ตัวเราเองบอกว่าชีวิตนี้จะไม่แต่งงานและจะไม่รักใครอีก เพราะความรักที่ได้ให้แก่เขาทั้งหมดนี่มันคือความรักจริงๆ แล้วมันจะต้องไม่เสื่อมสลาย เขาก็รับปากว่าเขาจะมีชีวิตอยู่กับความทรงจำ นั่นคือสัญญาครั้งที่สองหลังจากนั้นอีกนาน เขาเขียนจดหมายมาหาเล่าว่าพ่อแม่เขาต้องการให้เขาแต่งงานกับเศรษฐีคิดแล้ว เราก็ต้องส่งเสริมให้เขามีชีวิตอย่างมีความสุขตามวิถีทางของปุถุชน
    ตัวอาจารย์เองก็ไม่เศร้าโศกเสียใจถ้าเขาแต่งงานถ้าเขามีคนทีดีคือเราอยากให้คนที่เรารักมีความสุขจริงๆ ก็เลยเขียนจดหมายไปบอกเขาว่า ให้เขาแต่งงานนะความรักที่มีต่อกันนั้นก็ให้เป็นความรักอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่เสื่อมคลายไปยังเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจระลึกถึงคนที่เรารัก

    ในวัย ๒๓ ปี หนุ่มอลงกต พลมุข กลับคืนแผ่นดินเกิด พร้อมปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ มหาบัณฑิต เขาเข้ารับราชการเป็นนักวิชาการประจำกระทรวงเกษตรฯ การกลับคืนเมืองไทย นำเขากลับไปสู่บรรยากาศเก่าๆ อีกครั้ง ในขณะที่ความจริงความจริงคือหญิงสาวในอดีตกาลเป็นคนมีพันธะชีวิตแล้ว ความผิดพลาดหวังทำให้ชายหนุ่มปล่อยชีวิตลงในปลักตมแห่งอบายภูมิ
    พอกลับเมืองไทยไปทำงานขับรถผ่านดอนเมือง ก็ตัดสินใจวันแรกเลยที่ลงมาจากเครื่องบิน คิดว่าอยากจะมาเห็นหน้าเขา เห็นหน้าคนที่เรารัก อยากจะมาดูว่าความรักที่เขามีต่อเรา ยังมีหรือเปล่า ไม่รู้ทำไมเป็นอย่างนี้นะ กลับมาถึงบ้านก็ไปหาเขา พบกันครั้งแรกเห็นเขามีลูกเล็กๆ ตอนที่ไปพอดีสามีเขาไม่อยู่ เราไปยืนอยู่ริมรั้วบ้านบรรยายไม่ถูกว่าเป็นความรู้สึกยังไงกับเขา
    คือรู้ว่าเขาแต่งงานแล้วแต่ในใจความรักก็ยังเป็นความรักอยู่ ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงความรักยังทำให้เราเรียกร้องที่จะได้เขากลับคืนมา ในจิตสำนึกมันก็บอกว่าเขาแต่งงานแล้วเราทำได้แค่มาเยี่ยมเยือนเขา
    เขาก็ได้แต่ขอโทษก็ไปเยี่ยมเขาทุกวัน ไปช่วยเขาเลี้ยงลูกตอนหลังมาเขาเริ่มมีปัญหาครอบครัวก็เลยตัดสินไม่ไปหาเขาอีก

    เริ่มใช้ชีวิตแบบปล่อยชีวิต ชีวิตไม่มีเป้าหมายอะไรอีกแล้ว หลังจากที่ไปหาคนที่รักแล้วก็ใช้ชีวิตอยู่กับสังคมเจ้านายเพื่อนฝูงพาไปดื่มเหล้าก็ไป ไปเที่ยวไหนก็ไปแต่ที่ไม่ยุ่งเลยก็เรื่องผู้หญิง เล่นกอล์ฟเล่นเทนนิสไปหมด ดื่มเหล้าดื่มเบียร์เป็นหมดเลยนั่นแหละเรื่องที่มาที่ไปของผู้หญิงทั้งหลายแหล่ก็เป็นอย่างนี้ คือปล่อยชีวิต ปล่อยความจริงจังกับงานการก็ไม่มีหลักไม่มีศีลธรรมไม่มีจิตสำนึกในบางเรื่องทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปอีกแบบ ปล่อยตัวฟุ้งเฟ้อใช้เงินเหมือนกระดาษ ใช้ชีวิตแบบไม่มีหลักไม่มีแก่นสารสาระอะไรเลย ดื่มเบียร์วันหนึ่งเป็นสิบขวด ดื่มไปได้เรื่อยๆ บางทีก็ดื่มจนตีสองตีสามบางครั้งก็นอนตามอาบอบนวด นอนตามโรงแรมใหญ่ๆ อะไรอย่างนี้ไปกับเจ้านาย และบางครั้งก็ต้องขับรถในเวลาที่มึนเมาก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยเพราะขับรถ ความกดดันข้างในเวลาเราเมาแล้วก็คิดถึงความรู้สึกเก่าๆ มีชีวิตไปก็ไม่มีอะไรเลย อยากจะให้มันหมดๆ จบลงไปสักที

    ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งเขาเป็นห่วงเป็นใยเขาเป็นเหมือนแม่บุญธรรมเป็นคนอายุมาก แล้วเขารักเราเหมือนลูก วันนี้เขาก็ยังเป็นห่วงอยู่เขาขอร้องให้บวช เวลานั้นก็ไม่มีโอกาสได้คิดในจังหวะที่เราจมอยู่ในทะเลชีวิตในช่วงนั้น เหมือนกับคนที่ไม่มีเวลาที่จะมองหาว่าอะไรจะไขว่คว้า แต่เป็นจังหวะเวลาที่จะเฮือกขึ้นมาหายใจเฉยๆ ให้ได้เท่านั้นเองก็ไม่ได้มีเวลาที่จะมานั่งคิดพิจารณาหรือคิดถึงตัวเองว่า ชีวิตที่ดำเนินมาทุกวันนี้เราอยู่กับความมัวเมาทุกๆ ขณะสติสัมปชัญญะไม่มีอะไร
    หน้าที่การงานของตัวเองที่ทำก็ไม่ได้ใช้สติสัมปชัญญะมากนัก ก็เซ็นหนังสือบ้าง คือเรื่องละเอียดก็ไม่จำเป็นต้องไปละเอียดกว่าจะมาถึงขั้นเรานี้มันก็กลายเป็นเรื่องง่ายๆ เซ็งๆ ผ่านๆ ไป นั่นแหละชีวิตช่วงนั้นจนกระทั่งอายุ ๒๕ ย่าง ๒๖ หน้าที่การงานก็ขึ้นพรวดพราด ขนาดทำงานอย่างนั้นนะครับ คือเราทำงานทะลุเป้าหมายของเจ้านาย

    เมื่อตัดสินใจบวชเรียนและได้ใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตได้น้อมนำพระธรรมมาเป็นหลักในการคิดพิจารณา การมองชีวิตในแง่มุมใหม่จึงได้เกิดขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  6. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ประวัติ พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกฺขปญฺโญ )
    ตอนที่
    [FONT=&quot] ความคิดที่จะบวชเป็นการบวชแบบชั่วคราว[/FONT] ไม่ได้คิดบวชด้วยซ้ำไป คือทำตามคำขอร้องของคนๆหนึ่ง ที่เป็นคนสำคัญคือแม่บุญธรรม ในส่วนหนึ่งก็คิดว่าน่าจะลองดูบ้างเผื่ออะไรจะดีขึ้น ใจก่อนหน้าที่จะบวชนี่หนังสือธรรมะก็ไม่ชอบอ่าน แล้วก็ไม่สนใจไม่เคยคิดที่จะอ่าน จะอ่านพวกปรัชญาพวกเซ็น พวกเต๋า พอมาบวชได้อ่านหนังสือธรรมะก็เริ่มเข้าใจอะไรขึ้น เริ่มมองตัวเอง มองตัวเองก่อนแล้วก็เริ่มรู้จักแยกแยะอะไรต่างๆ เป็น เริ่มเข้าใจว่าชีวิตคืออะไร จากชีวิตคืออะไร ต่อมาก็ได้เข้าใจว่าชีวิตเป็นอย่างไร แล้วก็มาจบลงตรงที่ว่าชีวิตควรให้ดำเนินไปอย่างไร ตรงนี้เป็นจุดที่ได้คิดแล้วก็ทำให้มองตัวเอง
    จากเราเคยเดินไปอย่างนั้นเป็นอย่างนั้นนี่มันถูกต้องไหม จากภาพที่เป็นคำสอนของศาสนาก็ได้เห็นชัดเจนว่า จริงๆ แล้วชีวิตที่ผ่านมามันไม่ได้มีสาระอะไรเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่มี ที่เห็นที่ได้ ในที่สุดก็ไม่มีอะไร คือความว่างเปล่า ก็เริ่มคิดแล้วก็เห็น เห็นสัจธรรมในความคิด เห็นความคิดว่า เอ้อ ..! จริงนะ ดิ้นรนไปก็เท่านั้น มีไปก็เท่านั้น แม้กระทั่งมองย้อนกลับไปเรื่องเก่าๆ
    [FONT=&quot]

    พอมาถึงตรงนี้ก็เลยกลายเป็น[/FONT][FONT=&quot]วัตถุ ดิบในความคิด ให้เราสร้างสรรค์ความคิดขึ้นมาให้เห็นมุมมองว่า ไม่มีอะไรที่จะเป็นไปได้ดังใจปรารถนา ไม่มีอะไรให้เรายึดเหนี่ยวหรือครอบครองเอาไว้ได้ ก็เลย ได้คิดว่าตรงนี้น่าศึกษาตรงนี้เป็นสัจธรรม หลังจากที่ได้เข้าใจชีวิตรู้ว่าชีวิตเป็นอย่างไร หนทางในการดำเนินชีวิตควรเป็นอย่างไร

    เราน่าจะศึกษาเรื่องนี้ให้รู้จริงเสียก่อน คือรู้ว่าตัวเองออกไปเป็นฆราวาสยังไงก็ไม่จนแน่ ไปเมื่อไรก็ได้ ความรู้ก็มีน่าลองใช้ชีวิตอย่างนี้ดูสักพักหนึ่ง ก็เลยบวชต่อ คิดว่าเป็นเพียงสิ่งที่น่าสนใจไม่ได้คิดถึงขั้นที่ว่าต้องบวชตลอดชีวิต ไม่ได้คิดเลย ... คิดเพียงว่าเราอยู่ตรงนี้เราศึกษาไปก่อนจนกว่าเราจะมีวิธีการจัดการกับตัว เองได้ ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือจะเป็นบรรชิตก็ตาม เมื่อเกิดความเชื่อมั่นว่า [/FONT] [FONT=&quot] วิถีชีวิตของสมณะคือวิถีชีวิตที่ดีที่สุดในการดำเนินชีวิต[/FONT]

    [FONT=&quot]พระอาจารย์อลงกตจึง[/FONT]
    เริ่มออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความวิเวกสงบสงัด [FONT=&quot] โดยจาริกไปตามพื้นที่หลายจังหวัดนับตั้งแต่จันทบุรี[/FONT] [FONT=&quot] ปราจีนบุรี [/FONT] [FONT=&quot]นครนายก [/FONT] [FONT=&quot]เพชรบูรณ์ ฯลฯ รวมเป็นเวลา[/FONT][FONT=&quot] ๓ [/FONT] [FONT=&quot] ปี

    [/FONT]
    [FONT=&quot] ชีวิตของพระธุดงค์ให้อยู่สองเรื่องที่สำคัญ เรื่องแรกคือความมีขันติในตัวเองมีมากน้อยแค่ไหน กับวิริยะคือความพากเพียรมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในช่วง ๒ [/FONT] [FONT=&quot] – ๓ ปีบทสรุปที่เราได้ก็คือ ต้นไม้เมื่อถึงเวลาแล้วจะต้องออกดอกผล การแสวงหาก็เหมือนกัน ถึงจุดหนึ่งแล้วเราต้องหยุดเพื่อที่จะให้ชีวิตของเราได้เกิดการพิจารณา เกิดสมาธิเกิดปัญญาขึ้นจากที่เราได้สั่งสมศรัทธา สั่งสมสติ สั่งสมความเพียร

    เราก็เอาสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราได้สั่งสมมาเจริญสมาธิ ทำให้เกิดปัญญานี่แหละเหมือนกับต้นไม้เราบำรุงเลี้ยงดูมาจนกระทั่งถึงจุดจุ หนึ่งต้นไม้ต้องออกดอกออกผล สำหรับตัวพระอาจารย์เองคิดว่าเรามีพื้นฐานบางอย่างที่มั่นคงไม่ว่าจะเป็นกับ ความรักหรืออะไรก็ตาม เมื่อมีความเชื่อกับสิ่งนี้ก็จะมีความมุ่งมั่นกับสิ่งนี้มากเวลาเกิดปัญหา เราก็นึกถึงข้อธรรมคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ได้สอนเอาไว้ก็เป็นหลักในการ ดำเนินชีวิตของพระธุดงค์มาตลอด

    [/FONT]
    หลังจากเดินธุดงค์มาแล้ว ๓ ปี
    ก็มาจบลงตรงถ้ำเขาเขียวอยู่ในเขตของวัดพระบาทน้ำพุ


    พระอาจารย์อยู่บนเขา ๗ ปี เวลาบิณฑบาตก็เดินไปกลับวันละ ๘ กิโล ตอนหลังพระผู้ใหญ่ท่านให้ช่วยลงมาดูแลวัดก็ลงจากเขาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ตอนนั้นวัดพระบาทน้ำพุยังมีประมาณ ๗
    [FONT=&quot]– ๘ รูป ยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไรมากมาย

    [/FONT]
    [FONT=&quot] ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นปีสถานการณ์เอดส์ในประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติ[/FONT][FONT=&quot] พระสงฆ์รูปหนึ่งได้ก้าวออกมาจากโลกของการรำพึงภาวนาเพื่อมาร่วมรับรู้ปัญหา ของชาวโลก หลังจากได้ลงไปศึกษาข้อเท็จจริงด้วยการสัมผัสผู้ป่วยเอดส์ มองเห็นสภาพผู้ป่วยที่ถูกทอดทิ้งจากสังคมและครอบครัวด้วยสำนึกอันสะเทือน ใจ และด้วยตระหนักในกิจของสงฆ์ในอันที่จะบำเพ็ญกรณีเพื่อประโยชน์สุขของสังคม โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามวิถีทางพุทธในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น

    [/FONT]
    [FONT=&quot] จากหยาดเหงื่อเม็ดแรก ... บัดนี้บ้านพักผู้ป่วยเอดส์หลายหลังถูกปลูกสร้างในอาณาบริเวณของวัดพระบาท น้ำพุ เป็นอาณาจักรอันอบอุ่น เป็นที่พึ่งพิงทางกายและจิตวิญญาณของเขาเหล่านั้น นับถึงบัดนี้มีผู้ป่วยที่เข้ามาสู่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์แล้วประมาณ ๒๔๐ คน เสียชีวิตไปแล้ว[/FONT] ๕๔ คน[FONT=&quot] และมีผู้ป่วยพำนักอยู่ในปัจจุบัน ๓๐ คนเศษ ( ในสมัยนั้น )

    [/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อนที่จะมาทำโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ที่วัดพระบาทน้ำพุ พระอาจารย์[/FONT]สอนสมาธิอยู่ที่วัดบูรณะสิริมาตยารามอยู่ข้างกระทรวงยุติธรรม สอนอยู่ ๒ [FONT=&quot] – ๓ ปีได้กลุ่มขณะทำงานขององค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคมที่เขาเป็นผู้ทำ โครงการบ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ได้มารู้จักกัน ตัวโครงการเขามีอยู่แล้วซึ่งเป็นโครงการที่ชาวต่างประเทศเขียนขึ้นมา ชื่อนายเจฟฟรีย์ เอ เซเกอร์ เป็นนักจิตวิทยาบำบัดของอเมริกา เขาเขียนโครงการผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยวิถีทางพุทธในประเทศไทยขึ้น โดยหวังว่าจะมีวัดและจะมีพระทำโครงการนี้ตามที่เขาคิดมา คอนเซ็ปต์ของโครงการดีมาก เขาคิดว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายจะถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมาก และไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากแพทย์พยาบาลอย่างมีเมตตาและมนุษยธรรม เขาก็เลยคิดว่าน่าจะมีบ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้นมา โดยความร่วมมือของพระสงฆ์ ของแม่ชี ของแพทย์ พยาบาลที่ยังมีจิตใจเมตตาและมีมนุษยธรรมต่อผู้ป่วยเหล่านี้ โดยใช้วัดเป็นสถานที่ให้การดูแลผู้ป่วย

    [/FONT]
    [FONT=&quot] เขาศึกษาพุทธศาสนามาหลายปี เขาก็คิดว่าพื้นฐานของคนในพุทธศาสนานี่เหมาะสมสำหรับการทำบ้านพักผู้ป่วย ระยะสุดท้าย ทั้งนี้เขาก็มองว่าคนไทยมีจิตเมตตาและมีมนุษยธรรมเป็นพื้นฐานที่ดี ในช่วงนั้นก็พอดีคณะทำงานได้ไปพบพระอาจารย์ที่วัดบูรณะสิริฯ ทีแรกก็คิดว่าจะไปฝึกสมาธิกัน เขาสนใจเรื่องสมาธิ

    ตอนนั้นพระอาจารย์สอนสมาธิในเชิงที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับสุขภาพ ร่างกายเพื่อให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น และก็รักษาความเจ็บป่วยพื้นฐานหลายๆอย่างซึ่งก็มีคนมาเรียนกันเยอะ สอนวันหนึ่งประมาณ ๖-๗ ชั่วโมงเป็นคอร์สหนึ่ง นายเจฟฟรีย์ ก็ได้นำเอาเรื่องราวของโครงการนี้มาคุยให้ฟัง ตอนนั้นพระอาจารย์ยังไม่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์เลย

    [/FONT]
    [FONT=&quot] หลังจากที่ได้รับฟังโครงการและความคิดเห็นต่างๆจากนายเจฟฟรีย์แล้ว ก็รู้สึกเห็นใจเขาความตั้งใจเขาสูงมาก เขายังขาดความเข้าใจพื้นฐานสังคมเราจริงๆว่าเป็นอย่างไร ในตอนนี้สภาพปัญหาของสังคมไทยและชุมชนในเรื่องโรคเอดส์นั้นรุนแรงมาก คือสังคมไม่ยอมรับผู้ป่วยครอบครัวก็ไม่สามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ ยิ่งย้อนมาดูทางด้านพระสงฆ์นี่ ท่านยิ่งไม่เข้าใจกันเลย เอดส์เป็นอะไร ยังไง จะอยู่ร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ได้อย่างไร พอได้พูดได้คุยก็ได้ให้ข้อแนะนำอะไรเขาหลายๆอย่าง การจะเริ่มโครงการตามคอนเซ็ปต์นี้คงเป็นไปได้ยาก เขาก็พยายามมาหาบ่อยๆ เขาติดตามความคิดของเราก็เลยเป็นที่ปรึกษาทางด้านความคิดของคณะทำงานคณะนี้ ในระยะแรกๆ

    [/FONT]
    [FONT=&quot] พระอาจารย์ก็ได้พยายามศึกษาทำความเข้าใจโครงการนี้ให้มากขึ้น ได้เห็นปัญหาอย่างหนึ่งแต่ตอนนั้นยังไม่เชื่อว่าปัญหาจะรุนแรงขนาดนี้ ประเทศไทยเราในอนาคตจะมีผู้ติดเชื้อเอดส์หลายสิบล้านคนก็ยังไม่เชื่อตรง นี้ ยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นไปได้ก็เลยพยายามที่จะศึกษาข้อเท็จจริงตรงนี้ถ้า

    หากว่ามีคนติดเชื้อเอดส์มากขนาดนั้นสังคมจะเป็นอย่างไร และถ้าหากผู้ป่วยจำนวนมากมายถูกทอดทิ้งจากครอบครัวทางโรงพยาบาลของรัฐไม่ได้ ให้การดูแลผู้ป่วยเหล่านี้อย่างเหมาะสม สภาพความรู้สึกของผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นอย่างไรสภาพสังคมไทยจะเกิดความ เสื่อมด้านมนุษยธรรมมากเพียงไหนก็เริ่มคิดเริ่มมองประเด็นตรงนี้ก่อน

    [/FONT]
    พระอาจารย์อลงกตลงไปศึกษาข้อเท็จจริงที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง เกือบทุกวันในเวลาเช้าจรดเย็นค่ำ ท่านจะเฝ้าพยาบาลดูแลผู้ป่วยเอดส์ ปฏิบัติต่อเขาเหล่านั้นด้วยความเต็มอกเต็มใจมิได้รังเกียจ มีผู้ป่วยหลายรายที่ตายกับมือของท่าน ความรู้สึกผูกพันและความรับผิดชอบในชีวิตของผู้ป่วยเหล่านั้นเริ่มเกิดขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  7. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ประวัติ พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกฺขปญฺโญ)
    ตอนที่ ๕
    นี่คือความบันดาลใจอันใหญ่หลวง

    [FONT=&quot] พระอาจารย์มาเริ่มโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หลังจากที่ได้พบปะพูดคุยกับองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคมของมูลนิธิเสถียรโกเศศ พูดคุยกับเจฟรีย์ ได้พบคุณหมอประเวศ วะสี มีการพูดถึงโครงการบ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย

    ในช่วงแรกที่ตัวเองก็ไม่ได้สนใจว่าเอดส์มันคืออะไร ยังไง ไม่รู้เรื่องเอดส์เลยด้วยซ้ำไป คนที่มีอิทธิพลต่อพระอาจารย์ในเรื่องนี้คือหมอประเวศ ซึ่งค่อนข้างจะเห็นจริงด้วยกับสถานการณ์ผู้เอดส์ในประเทศไทย ความเสื่อมเมตตา เสื่อมมนุษยธรรมของคนในสังคมปัจจุบัน นั่นเป็นเหตุทำให้ตัดสินใจพิจารณาว่าจะทำโครงการ[/FONT]


    [FONT=&quot] ทีแรกโครงการนี้คิดจะทำกันที่วัดสวนแก้วแต่พระพยอมท่านทำไม่ได้ เพราะว่ามวลชนท่านต่อต้านอย่างรุนแรงมาก พระอาจารย์ได้ไปศึกษาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง

    ดูผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ถูกญาติทอดทิ้งไว้ หลายๆ คนตายกับมือพระอาจารย์ในขณะที่เราไปดูแลเขา นี่เป็นความรู้สึกที่ไม่เคยได้รับมาก่อนในชีวิต

    การทำให้คนคนหนึ่งได้สิ้นลมหายใจอย่างสงบเป็นความผูกพันเชื่อมั่นกับสิ่งดีงามที่เราให้เขา ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขอย่างประหลาดเป็นสุขที่ไม่เหมือนโลกียสุขทั้งหลาย
    [/FONT]


    [FONT=&quot] พระอาจารย์ไปป้อนข้าวป้อนน้ำให้เขา เช็ดตัว นวด ทายา แล้วก็ป้อนยาให้ทุกวัน บางทีวันเว้นวันก็ไปที บางคนตาย บางคนดีขึ้น ก็ได้ข้อเท็จจริงคือครอบครัวทิ้งผู้ป่วย พยาบาลบางคนก็ไม่ดูแลไม่สนใจ วางข้าวไว้ที่ปลายเตียงผู้ป่วย ทานเองก็ไม่ได้ นอนรอความตาย

    ตายกันทุกวัน ทำให้รู้สึกว่าถ้าเราปล่อยไว้อย่างนี้อนาคตจะต้องมีปัญหาแน่และยิ่งเราทราบถึงสถานการณ์ที่โรคเอดส์ที่แพร่ระบาดในเมืองไทย มองสภาพสังคมไทย มันเป็นไปได้ที่โรคเอดส์จะมีการแพร่ระบาดจนมีสิทธิ์ที่ทำให้เคนไทยติดเชื้อเอดส์ถึง ๗๐ -๘๐ เปอร์เซ็นต์นี่เป็นไปได้ น่ากลัวมาก

    ... คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะคิดและก็ไม่คิดว่ามันจะเป็นไปได้ แต่ถ้าคนที่คิดไกลเขาก็มองว่ามันเป็นไปได้ยิ่งสังคมไทยเรารับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น การที่คนจะมีพฤติกรรมมีคู่ครองคนเดียวมันเป็นไปไม่ได้[/FONT]


    [FONT=&quot] น่าคิดว่าอนาคตประเทศไทยก็คงจะไปไม่รอดแน่ก็เลยตัดสินใจที่จะมาทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะสร้างทางเลือกให้แก่สังคม ไม่ได้คิดหรือมั่นใจนักว่ามันจะสำเร็จ เข้าใจดีว่าสังคมเรามีปัญหาพื้นฐานมากมาย ยิ่งสังคมเราไม่ยอมรับผู้ป่วยเลยก็น่าเป็นห่วง

    พระอาจารย์เริ่มงานด้วยความตั้งใจอยู่สองอย่างคือ
    หนึ่งจะต้องมีความอดทนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีขอบเขต
    สองจะต้องมีความเพียรพยายามอย่างไม่มีจบสิ้น

    ก็เริ่มมากับปัญหาต่างๆ มากมายทั้งปัญหาผู้ป่วย ปัญหาครอบครัว ปัญหาชาวบ้านในชุมชน [/FONT] [FONT=&quot] ด้วยความเชื่อมั่นว่าปัญหาผู้ป่วยเอดส์ต้องได้รับการแก้ไข เพราะปัญหานี่กำลังลุกลามเป็นปัญหาใหญ่และมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสังคม เป็นความหวังเป็นแสงสว่างให้แก่ผู้ป่วยเอดส์บนเส้นทางอันมืดมนและไร้หวังของชีวิต[/FONT]


    [FONT=&quot] จากการลงไปดูแลผู้ป่วยทำให้พระอาจารย์ได้เห็นสองเรื่อง [/FONT] [FONT=&quot] เรื่องหนึ่งคือการได้ทำให้คนสิ้นลมหายใจอย่างสงบ [/FONT] [FONT=&quot] อีกเรื่องหนึ่งคือการทำให้คนที่ไม่น่าจะมีชีวิตขึ้นมาใหม่กลับมามีชีวิตขึ้นมาใหม่ [/FONT] [FONT=&quot] เรื่องแรงบันดาลใจก็คิดว่าเรื่องตรงนี้จากที่ไม่เคยดูแลคนไข้ [/FONT] [FONT=&quot] ไม่เคยเห็นคนตายกับมือ

    [/FONT] [FONT=&quot]ก็เลยกลายเป็นว่าเรามองเห็นคนจำนวนมากมายที่เสียชีวิตอย่างนั้นแล้วใครจะช่วยเขา [/FONT] [FONT=&quot] ใครจะช่วยให้เขามีชีวิตขึ้นมาหรือให้เขาได้ไปอย่างสงบ[/FONT] [FONT=&quot] นี่ก็เป็นคำถามสำหรับตัวเอง [/FONT] [FONT=&quot]

    ก็คิดว่าเราน่าจะช่วยให้โอกาสให้คนเหล่านี้ได้สิ้นลมหายใจอย่างสงบหรือมีชีวิตใหม่ขึ้นมา [/FONT] [FONT=&quot] สำหรับตัวเองนี่น่าจะเป็นการสร้างกุศลและเป็นการพัฒนาจิตใจของตัวเองได้อย่างดี[/FONT] [FONT=&quot] ก็เลยจับเอาตรงนี้มาเป็นเรื่องของแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจ[/FONT]

    [FONT=&quot]แต่ในส่วนที่ทำให้ตัดสินใจทำโครงการเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเป็นเรื่องของการมองในแง่ปัญหาของประเทศชาติ[/FONT] [FONT=&quot] ปัญหาของสังคม [/FONT] [FONT=&quot] ปัญหาของชุมชน[/FONT] [FONT=&quot] ปัญหาของครอบครัว [/FONT] [FONT=&quot] หรือปัญหาส่วนบุคคลทั้งหมดเลย[/FONT]

    [FONT=&quot] ประเทศไทยเรามีเสรีภาพเหลือเกิน เสรีภาพในที่นี้หมายถึงเสรีภาพที่มันผิดทำนองคลองธรรม

    เมื่อได้มาเห็นปัญหาก็มองย้อนกลับไปว่าใครจะเป็นคนแก้ปัญหาเหล่านี้ รัฐทำได้ไหม มองแล้วก็ต้องทำใจยอมรับความจริง เป็นไปไม่ได้จนทุกวันนี้รัฐก็ยังทำอะไรไม่ได้ จัดการกับปัญหานี้ไม่ได้ ก็คิดว่าปัญหามันยิ่งใหญ่ขึ้นๆ

    ในขณะที่ศักยภาพของรัฐเท่าเดิม แต่โรคเอดส์มันโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ปัญหาที่เกิดขึ้นมันรุนแรงจนไม่อยู่ในวิสัยทัศน์ที่รัฐจะเข้าไปควบคุมหรือป้องกันอะไรได้แล้ว ตัวเองก็เลยมองอนาคตไว้ ถ้าเราไม่มีทางเลือกประเทศชาติเราก็ต้องไปไม่รอด[/FONT]


    [FONT=&quot] ถ้าถามว่าในประเทศไทยเรา กระบวนการที่จะมาใช้ในการแก้ปัญหาโรคเอดส์โดยใช้พื้นฐานของความมีเมตตาและมนุษยธรรมแล้วใครจะทำได้บ้าง [/FONT] [FONT=&quot] มองไปมองมาก็มีแต่พระสงฆ์เท่านั้นที่จะทำได้ ก็มองดูตัวเองว่าเราก็เป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง [/FONT] [FONT=&quot] พระ สงฆ์ในประเทศไทย ๒ - ๓ แสนรูป มีสักกี่รูปที่ท่านจะทำโครงการนี้ได้ มีสักกี่รูปที่ท่านจะมีศักยภาพในตัวเองสูงที่จะทำโครงการบ้านพักผู้ป่วยระยะ สุดท้ายได้

    มองตามวิธีการดำเนินการของโครงการเขาแล้วนี่ก็เป็นไปได้ยากเหลือเกิน พระสงฆ์ที่จะทำโครงการนี้ได้ต้องเป็นพระสงฆ์ที่น่าจะจบมาทางด้านการบริหาร จัดการด้วย จบทางด้านการแพทย์ด้วย จบมาทางด้านสังคมสงเคราะห์ด้วย จบมาทางด้านมนุษยศาสตร์ ... ด้วยปริญญาหลายๆ ใบ[/FONT]


    ตัวเองก็มองดูตัวเองว่า ศักยภาพตัวเองยังเป็นไปไม่ได้ ก็ประมาณตัวเองเหมือนกันว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำโครงการนี้ให้เป็นไปตามคอนเซ็ปต์และวิธีการดำเนินการของเขา

    ก็มานั่งคิดเหมือนกันว่าเราจะมาเริ่มต้นตรงไหน ดูตามเปเปอร์ของงานแล้วมันใหญ่มาก ใหญ่จนเรามองเห็นตัวเองกะจิดริด

    ... คือตัวเองประมาณตัวเองได้ในบางเรื่องเท่านั้น แต่บางเรื่องประเมินตัวเองไม่ถูกว่าเรามีศักยภาพเท่าไหน ถ้าพูดถึงความอดทนหรือความตั้งใจความเพียรพยายามของเรามี เรารู้ว่าเรามีมาก ... มาก
    พอที่จะทำโครงการอย่างนี้ได้ แต่ในเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องซึ่งเราต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรในสังคมในชุมชนนี่เป็นเรื่องที่จัดการยากเหลือเกิน คือทำให้คนในหมู่บ้านมาเห็นดีเห็นชอบกับเรา ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่เขาสนับสนุนเรา ทำให้คนในสังคมเขาเห็นด้วยกับเรา ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยนะ คิดถึงกระแสที่ทวนกันขณะนั้นน่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  8. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ประวัติ พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกฺขปญฺโญ)
    ตอนที่ ๖

    ตอนนี้เราเหมือนกับเรือน้อยที่จะพยายามพายทวนกระแสน้ำเชี่ยว
    ทั้งกระแสความคิดของคนในสังคม กระแสชุมชนทางด้านเงินทุนนี่สำหรับตัวเองแล้วคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ก็คิดว่าน่าจะขอได้จากต่างประเทศหรือขอได้จากภาครัฐจากองค์กรการกุศล

    แต่ที่มองเห็นว่าเป็นปัญหามากๆ ก็คือคนที่จะมาทำงานกับเราจะเอามาจากไหน ใครจะมาอยู่กับผู้ป่วย ใครจะมาสัมผัสบีบนวดทายาป้อนข้าวป้อนน้ำเช็ดตัวให้ผู้ป่วยก็หนักใจเหมือนกัน

    ว่าคงยากนะยากแต่ไม่ได้คิดถึงความมั่นใจและก็ไม่ได้คิดถึงความเป็นไปได้อะไรมากมายนัก แต่เราต้องทำและทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ คือระดมทรัพยากรทั้งหมดจากตัวเองเอามาใช้ทั้งด้านแรงกายหรือความคิดอะไรทั้งหมดที่มีอยู่ในชีวิตเอาออกมาใช้หมดเลย ก็เริ่มต้นด้วยการศึกษาความเป็นไปได้ว่า ทำอย่างไรเราถึงจะทำโครงการนี้ได้


    อย่างแรกก็คือเราต้องมีการเตรียมชุมชน การจัดเตรียมชุมชนของพระอาจารย์อลงกตเริ่มต้นด้วยการจัดสัมมนาพระสงฆ์และหัวหน้าส่วนราชการจำนวนถึง ๒๐๐ กว่าคนในลพบุรี โดยเชิญผู้ทรงวุฒิจากกรุงเทพฯ มาให้ความรู้ โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์เริ่มต้นขึ้นด้วยจำนวนผู้ป่วย ๘ คนพร้อมกับปัญหานานัปการ โดยเฉพาะปัญหาการต่อต้านจากชุมชนรอบวัด

    พอผู้ป่วยเข้ามาปุ๊บก็เริ่มมีปฏิกิริยา คนในหมู่บ้านก็เริ่มวิพากษ์วิจารณ์กัน โอ้โฮ้ ...! เร็วมากเลย ไม่เพียงวิพากษ์วิจารณ์เฉยๆ ยังต่อต้านด้วยความคิดและคำพูด แต่ยังไม่มีการต่อต้านอย่างรุนแรง

    อาจจะเห็นว่าเพราะเราเป็นพระ แล้วอีกส่วนหนึ่งเราได้ทำประโยชน์กับหมู่บ้านมาแล้วพอสมควร ถ้าไม่ทำโครงการนี้ ชาวบ้านก็รักเราเคารพเราอยู่
    แต่พอเราทำโครงการนี้ปุ๊บ ...

    ชาวบ้านเปลี่ยนไป ไม่ใช่คะแนนเสียงตกแต่มันหายไปเลย แทบจะไม่มีใครมาคบค้าสมาคมเลย ขนาดคนคุ้นเคยกันยังไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเรา ก็ไม่ได้น้อยใจเสียใจอะไร เพราะรู้ว่านี่คือสัจธรรม สุขทุกข์ สรรเสริญ นินทา เสื่อมลาภเสื่อมยศ ธรรมดา

    ปัญหามันรุนแรงก็ตอนเราพาผู้ป่วยเข้าหมู่บ้านไปขึ้นรถเมล์ แต่ก่อนนี้เราไม่มีรถ มอเตอร์ไซค์ก็ยังไม่มี แรกๆ บ้านพักยังไม่มีเลย เลยต้องเอาศาลาชั้นล่างมากั้นเป็นห้องพัก เอากุฏิตัวเองเป็นห้องทำงาน

    เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยอยู่แล้วมีคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร สิ่งเหล่านี้หลายอย่างมีมาก่อนแล้วเพราะว่าพระอาจารย์ต้องทำงานวิจัยเรื่องสมาธิรักษาโรคที่ไปสอนคน ก็เลยได้ใช้ทำเอกสารอะไรต่างๆ

    พอผู้ป่วยมาอยู่ก็สละห้องให้เขาตัวเองก็ย้ายไปอยู่ที่ศาลา ตั้งสำนักงานชั่วคราวที่ศาลา

    พอผู้ป่วยเข้าหมู่บ้านนี่ชาวบ้านมีปฏิกิริยารุนแรงมากถึงขนาดที่ว่าลงชื่อกันร้องเรียน จากผู้ใหญ่บ้านไปกำนัน กำนันก็ไปร้องนายอำเภอ เผอิญโชคดีที่เราเตรียมชุมชนมาไว้ก่อนแล้ว นายอำเภอก็ส่งปลัดมาชี้แจง พอชาวบ้านรู้ว่าโครงการนี้ ผู้ว่าฯ สนับสนุน ก็จำยอมให้ทำแต่การวิพากษ์วิจารณ์ก็ยังเหมือนเดิม อาจจะมากขึ้นๆ แต่เราอดทน เรามองทางออกแล้วว่า การที่เรารับชาวบ้านส่วนหนึ่งมาทำงานจะเป็นสะพานเชื่อมให้ชาวบ้านเขาได้รู้ได้เห็นอะไรมากขึ้น


    ชาวบ้านที่มาเป็นอาสาสมัครเขาก็ถูกต่อต้านเหมือนกัน เมื่อแรกๆ เขามาพูดให้ฟังว่าคนข้างบ้านนี่กระทบกระแทกอยู่ตลอดเวลา เราก็บอกว่าต้องอดทนนะ หลายๆ คนอดทนได้หลายเดือนเหมือนกัน หลังจากนั้นก็หมดความอดทนก็ลาออกไป แต่หมดความอดทนนี่ไม่ได้หมดความอดทนกับคนในหมู่บ้านนะ ส่วนใหญ่จะหมดความอดทนกับผู้ป่วย ผู้ป่วยมาก็มีปัญหาซับซ้อนแล้วบางทีก็เรียกร้องต่อรองก้าวร้าว บางที่ใช้อาสาสมัครเหมือนคนรับใช้ อะไรทำนองนั้น บางทีคนที่ช่วยเองได้ก็ไม่พยายามช่วยตัวเอง อาสาสมัครเขาก็เบื่อ เบื่อแล้วก็ท้อ ท้อแล้วก็ไป แต่ชาวบ้านก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นนิดหน่อย ลดการวิพากษ์วิจารณ์ลงแต่ก็ยังกลัวแล้วก็ยังรังเกียจอยู่ดี

    ไม่ถึงสองเดือนดีหรอกพระในวัดก็หายหมด
    เพราะท่านมาเห็นสภาพผู้ป่วยหลายๆ คนที่สภาพร่างกายย่ำแย่ ท่านก็ออกจากวัดกันไป จากพระ ๗ – ๘ รูปก็เหลือพระรูปเดียวคือพระอาจารย์กับผู้ป่วย ก็เป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าว


    อุเบกขาไม่ไหวกลัวเอดส์ ” พระเผ่นกระเจิง
    คนก็วิพากษ์วิจารณ์ เขียนจดหมายมาด่าว่าท่านเป็นพระไปยุ่งเรื่องโรคเอดส์ทำไม จดหมายมาเยอะมากอ่านแล้วบางทีก็ขำบางคนก็ให้กำลังใจ พวกที่เป็นผู้ป่วยติดเชื้อก็เขียนมาให้กำลังใจพระสงฆ์ด้วยกันก็มีเขียนมาว่า ท่านเป็นพระทำไมไม่อยู่ส่วนพระไปยุ่งอะไรกับทางโลก

    คนชั่วคนเลวอะไรอย่างนี้ ไอ้เรื่องของชาวโลกไม่เท่าไรหรอก แต่โรคที่สังคมรังเกียจพวกประพฤติผิดศีลธรรม พวกติดยาเสพติด ชอบเที่ยวก็ยกเอาความเลวร้ายต่างๆ ของคนเหล่านี้มาเป็นข้อตำหนิติเตียน พอเป็นข่าวก็มีคนเริ่มเข้ามาสนับสนุน ช่วงนั้นเป็นช่วงวิกฤตจริงๆ วิกฤตมากเลย

    ภาวะวิกฤตทางด้านเงินสนับสนุนปฏิกิริยาต่อต้านจากชาวบ้านและปัญหาการขาดแคลน อาสาสมัคร ต้องรับภาระอันหนักทั้งสิ้น

    ทั้งมวลนี้เป็นมรสุมที่โหมกระหน่ำบนเส้นทางสาย โดดเดี่ยว
    ที่ช่างยากไร้ขาดแคลนไปเสียทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนี้


    พระอาจารย์อลงกตได้ฝ่าฟัน
    ต่อสู้มาด้วยจิตใจที่มั่นคงและด้วยใจที่ไม่เคย สิ้นหวัง


    เงินทุนงวดแรกเราได้มาจากกระทรวงสาธารณสุข แต่มาใช้ในการเตรียมการด้านชุมชนมากแล้วก็เอามาปรับปรุงห้องพักให้ผู้ป่วย สร้างห้องน้ำส่วนหนึ่งก็เหลือไม่มากกระทรวงสาธารณสุขให้งบมา ๓๕๐,๐๐๐ บาท หลังจากที่หนังสือพิมพ์มีข่าวพระออกนอกวัดไปเหลือเจ้าอาวาสรูปเดียว สถานการณ์ดีขึ้นในแง่ของการดำเนินการ มีคนเข้ามาช่วยเขาเห็นอกเห็นใจเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนมาบริจาคเอาข้าวสารมา บริจาคยาให้ผู้ป่วย

    พูดถึงความลำบากช่วงแรกก็ลำบากมากเรื่องเงินทุน ถ้าเป็นคนธรรมดาก็คงต้องมานั่งน้ำตาซึม พระอาจารย์เองก็เป็นพระ มองย้อนกลับไปยัง โอ้โฮ้...
    ! เรามาทีแรกนี่ขมขื่นจริงๆ

    ถ้าพูดก็พูดได้ว่าไม่มีใครมองเราเลยในช่วงแรกๆ นะ เหมือนกับเราต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวจริงๆ ความเป็นจริงทั้งหลายที่เกิดขึ้นเราดูแล
    ช่วยเหลือผู้ป่วย ตี ๑ ตี ๒ บางทีไม่ได้หลับไม่ได้นอน

    ผู้ป่วยร้องครวญครางต้องมาบีบมานวดทายา ป้อนข้าวป้อนน้ำ บางทีตัวเองต้องทำกับข้าวให้ผู้ป่วยกิน ผู้ป่วยจะกินอะไรตามใจทุกอย่าง ทำทุกอย่างที่จะให้เขามีความสุขกับความไม่รู้ของเรา

    ไม่รู้ในเรื่องระบบการจัดการก็พยายามที่จะทำให้เขาเป็นคนปกติ ทำอะไรก็ทำ ทำให้มันดีก็แล้วกัน สิ่งที่ดีงามทำไปเถอะ มันก็เลยหนักทุกเรื่องทุกอย่างที่เราต้องรับก็หนักอยู่ในช่วงแรกหลายเดือนกว่าจะมีคนยื่นมือเข้ามาช่วย


    ความรู้สึกโดดเดี่ยวอาจมีบ้างแต่ไม่ค่อยเป็นความรู้สึกที่บีบคั้นตัวเองเท่าไร ก็คือโดดเดี่ยวจริงแต่รู้สึกถึงความหนัก หนักในสิ่งที่มาบีบคั้นสภาพของเราเอง ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยเรื่องที่ยาก

    ยากมาก คือจะดูแลชีวิตของแต่ละคนให้เขาได้สุขสบาย แล้วก็ตอบสนองความต้องการของคนที่มีปัญหาซับซ้อนมากมายเป็นเรื่องยาก ต้องอดทนต้องอะไรทุกๆ อย่าง ในที่สุดก็เลยทำให้ตรงนี้ไม่ได้คิดเรื่องความโดดเดี่ยวอ้างว่างเท่าไร มาทบทวนตัวเราทำงานมาประมาณ ๕ - ๖ เดือน ความจริงโครงการทดลองมันหมดลงไปแล้ว แต่เราอยากทำต่อคือ เรารู้สึกว่าเราดูแลผู้ป่วยเขามีความสุขได้แล้วในระยะเวลาไม่กี่เดือนนี้ก็มีคนตายหลายคน


    ผู้ป่วยตายที่นี่คนแรก เราก็มีความรู้สึกผูกพันต่อความรับผิดชอบในชีวิตของคนเหล่านี้ ถ้าเขาไปจากนี่เขาก็ไม่รู้จะไปไหน ในขณะที่ถ้าเราทำต่อเราก็ไม่รู้จะหาใครมาสนับสนุน หาใครมาช่วยเราตรงนี้ทำให้หลายๆ คนไปเพราะว่าทนไม่ได้ แต่ก็มีบางคนที่ทำอยู่ได้กับเราตอนที่งานหนักมากคนน้อยเงินจำกัด เป็นช่วงที่พระอาจารย์เองต้องมาทำกับข้าวให้ผู้ป่วย พยาบาลก็ต้องเข้าครัวทำกับข้าว พระก็ต้องเข้าครัวทำกับข้าว ตัวเองเคยขัดส้วม ถูพื้น ซักผ้าให้ผู้ป่วย ทำหมดทุกอย่างบีบนวดทายาให้ผู้ป่วย

    ปัจจุบันโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ได้รับการสนับสนุนทางด้านเงินทุนจากองค์กรฟรังซัวร์ ซาเวียร์ บร็องนัวร์ของสวิตเซอร์แลนด์ จากเงินบริจาคและงบประมาณส่วนหนึ่งจากภาครัฐบาล ทั้งยังได้รับพระราชทานความช่วยเหลือด้านยาและเวชภัณฑ์จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

    นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท จากสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี เพื่อใช้ในการจ้างพยาบาลมาดูแลผู้ป่วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  9. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800

    ประวัติ พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกฺขปญฺโญ )
    ตอนที่ ๗

    หลักการในการรับผู้ป่วยของโครงการ ถ้าผู้ป่วยมาถึงเราจะสอบประวัติให้การปรึกษาเขา ถ้าเป็นภาษาทางพยาบาลคือต้องทำเคาน์เซลลิ่ง มีประวัติว่าติดมาอย่างไร มีพฤติกรรมเสี่ยงมาอย่างไร ปัญหาด้านครอบครัว ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านอื่นๆ ของเขาในแต่ละเรื่อง แล้วมาดูความจำเป็น จำเป็นไหมที่เราต้องรับผู้ป่วยคนนี้

    ผู้ป่วยบางคนไม่ได้มีอาการอะไรเลยแต่บอกว่าถ้าผมไม่ได้อยู่ที่นี่
    ผมจะฆ่าตัวตาย นี่เป็นความจำเป็นด้านจิตใจ


    บางคนบอกผมอยู่ในหมู่บ้านไม่ได้หรอกใครเห็นตัวผมก็บอกว่าผมเป็นเอดส์ ความจำเป็นทางด้านสังคมชุมชน ครอบครัวเขาให้ผมออกไปจากบ้าน ไม่มีใครจับไม่มีใครแตะผม ไม่มีใครสนใจเลย ไม่มีใครเอาข้าวมาให้ผมกิน
    นี่เป็นปัญหาครอบครัว ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไรเลยแต่เราต้องรับ เราพิจารณาจากความจำเป็นโดยเลือกเอาคนที่จำเป็นมาก่อน คนที่จำเป็นน้อยเราค่อยๆ ผ่อนไป จองเตียงบ้าง ให้อยู่กับครอบครัวเหมือนเดิมบ้าง แล้วแต่ว่าเราจะคลี่คลายปัญหาอย่างไร ก็ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพราะผู้ป่วยเข้ามามากเสียเหลือเกิน

    ตอนนี้เฉลี่ยผู้ป่วยที่จะเข้ามาประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ รายต่อเดือน จะมีมาทุกวัน วันหนึ่ง ๑๐ กว่าราย ๒๐ ราย แต่ถึงวันนี้เราสามารถรับผู้ป่วยได้เต็มที่เพียงประมาณ ๓๓ เตียง ( ปัจจุบันสามารถรับผู้ป่วยได้ประมาณ ๒๐๐ คน ) เป็นเดือนหน้าก็คงได้ประมาณ ๖๐ เตียง แต่ถ้าเขาสามารถที่จะสร้างบ้านพักอยู่เองได้

    ในกรณีที่ญาติมีความรับผิดชอบถึงขนาดนั้นเรายินดีที่จะรับผู้ป่วยเอาไว้ เพราะเรามีห้องสำรองสำหรับญาติที่ประสงค์จะสร้างบ้านพักให้ผู้ป่วย เรามองเห็นว่าเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วผู้ป่วยคนอื่นก็ยังได้มาอยู่มาพัก อาศัย เดือนหน้านี้เราจะเปิดโรงพยาบาล สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ๒๐ เตียง โรงพยาบาลแห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นสถานบำบัด สถานพักฟื้นซึ่งไม่มีหมออยู่ จะมีเพียงพยาบาลที่คอยดูแล มีผู้ช่วยพยาบาล แต่มีมากก็คือพวกอาสาสมัคร

    ในสถานบำบัดสถานพักฟื้นแห่งนี้เราจะใช้เป็นที่สอนให้ญาติดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยทุกคนทุกเตียงจะต้องมีญาติมาดูแลแล้วเราก็จะให้อาสาสมัครคอยช่วย เหลือดูแลสอนให้ญาติได้ดูแลผู้ป่วยเป็น จากนั้นจะได้นำผู้ป่วยกลับไปดูแลที่บ้าน เป็นลักษณะการให้ความรู้ทางด้านโฮมแคร์

    แก่ผู้ป่วยในด้านการรักษาดูแลผู้ป่วย เราใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่ายาสมุนไพร แต่เราก็ส่งเสริมด้านสมุนไพรบางตัวที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ เช่น ฟ้าทลายโจร หนุมานประสานกาย ว่านหางจระเข้ เป็นสมุนไพรที่มีพื้นๆ อยู่แล้วในชุมชนในหมู่บ้าน แต่นำมาใช้ประโยชน์ได้สูงมาก

    ใช้ฟ้าทลายโจรรักษาอาการไข้ดีกว่าใช้พาราเซตามอล เพราะไม่มีอาการแทรกซ้อนเหมือนพาราฯ ถ้าใช้พาราฯ นานๆ เข้าผู้ป่วยก็แย่เหมือนกัน เพราะต้องใช้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นด้วย ใช้ฟ้าทลายโจรอาการจะดีขึ้นไข้น้อยลง

    เราอยากให้มีการรักษาแบบพื้นบ้านนั้นคงอยู่ เพราะว่างานชุมชนบำบัดเราต้องรักษาส่วนนี้เอาไว้ เพราะกลไกของชุมชน เราต้องใช้สมุนไพรใช้ยาแผนปัจจุบันทั้งหมดเลยไม่ได้ เนื่องจากยาแผนปัจจุบันแพงมาก และบางตัวมีผลข้างเคียงสูง อย่างสปอรอนที่ใช้แก้เชื้อราเม็ดหนึ่งตก ๓๐ กว่าบาท ผู้ป่วยกินวันหนึ่ง ๔ เม็ด ตอนนี้มี ๑๐ กว่าคนที่กิน

    เดือนหนึ่งเสียค่าใช้จ่ายหลายหมื่น ยังมียาตัวอื่นๆ ที่แพงอีกหลายตัว แต่เอแซดทีเราไม่ให้กินเพระพอกินแล้วร่างกายผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย มีโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง ทำลายระบบประสาทไขสันหลังด้วย

    จากแรกเริ่มจนถึงบัดนี้ พระอาจารย์อลงกตยังคงปฏิบัติดูแลผู้ป่วยด้วยตนเอง โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ท่านมักจะมาเฝ้าดูแลอยู่เป็นเพื่อนในยามค่ำคืนจนถึงรุ่งเช้าเสมอๆ

    สำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านธรรมรักษ์นิเวศน์ทุกคน
    พระอาจารย์คือที่พึงสุดท้ายของเขาอย่างแท้จริง


    แม้ในยามที่ผู้ป่วยสิ้นลมหายใจ ท่านมักจะช่วยอาสาสมัคร
    จัดการอาบน้ำแต่งกายศพโดยมิได้แหนงหน่ายรังเกียจใดๆ


    นั่นคือวัตรปฏิบัติอันนอบน้อมถ่อมตนต่อกิจของสงฆ์ที่ท่านได้กระทำ เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีที่พึ่งสุดท้าย ในขณะเดียวกันการปฏิบัติดูแลผู้ป่วยโดยใกล้ชิดเช่นนี้อาจเกิดความพลั้ง พลาด เป็นช่องทางให้เชื้อไวรัสเอดส์เข้าสู่ร่างกายได้โดยไม่ตั้งใจ

    การดูแลผู้ป่วยนอกจากอาศัยความอดทนแล้วยังต้องประกอบด้วยน้ำใจเสียสละอุทิศ อย่างสูง
    ต้องเสียสละทั้งหยาดเหงื่อแรงกายและอาจหมายรวมถึงชีวิต


    เรื่องโอกาสอาจติดเชื้อผู้ป่วยเป็นเรื่องที่เราคงไม่ต้องมาทำใจว่าเราจะติ หรือไม่ติด ถ้าเราเริ่มต้นจากในเรื่องของความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย มีความเมตตามีมนุษยธรรมต่อเขา ถ้าหากว่าเราเริ่มต้นจากตรงนี้จริงๆ เราจะไม่คิดเลยว่าติดไม่ติด

    เราจะไม่มีความวิตกกังวลต่อเรื่องนี้เลย ถ้าเราทำไปด้วยจิตใจที่มีความห่วงใยและมองเห็นความทุกข์ทรมานที่ปรากฏอยู่ใน ตัวเขา เรื่องจะติดไม่ติดนี้พระอาจารย์ไม่เคยคิดเลย และไม่เคยกลัวดังนั้นตลอดเวลาที่ทำงานมากับผู้ป่วยตั้งแต่คนแรกเลยจนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน

    ความคิดนี้ก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่เคยมีความรู้สึกหวาดหวั่นว่าเราจะติดไม่ติด ไม่เคยมีความคิดสับสนไม่เคยมีเลย และไม่เคยถามตัวเองด้วยซ้ำไปว่าติดหรือไม่ติด ทั้งๆ ที่รู้ทุกอย่างว่าในกระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบไหนติดไม่ติด มีความรู้พูดสอนคนอื่นได้หมดแต่กับตัวเองไม่เคยถามว่ามันจะติดเราไหม เราติดหรือยังไม่เคยถามตัวเอง

    ทุกวันนี้อยู่ไม่ได้ในสภาพนั้น แต่อยู่ในสภาพที่อยากจะใช้เวลาและความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดทุ่มเทไปให้แก่ผู้ป่วย บำบัดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมากกว่าที่จะไปคิดอย่างนั้น บางทีตัวเองมีอาการเป็นตุ่มคันขึ้นมาบ้าง อันโน้นอันนี้บ้างมานั่งเกานั่งแกะ แต่ความคิดมันก็ไม่เคยคิดไปถึงว่า เออ ... เราติดแล้วนะ ไม่เคยคิด คิดในที่นี้หมายความว่าคิดแล้วทำให้เกิดความกลัว แต่ถ้าคิดถึงความเป็นไปได้

    บางทีคิดมันเป็นไปได้ที่เราจะติด เป็นไปได้ที่จะมีอาการเป็นอาการของโรค แต่ไม่กังวล คือเรื่องตรงนี้ก็ไม่คิดไว้แต่ทีแรกแล้วว่า ถ้าเราจะทำงานตรงนี้ บำเพ็ญกุศลบำเพ็ญบารมีของตัวเองตรงนี้จุดนี้ ถ้าสิ่งที่เราทำไปเป็นกุศล เราต้องได้รับผลเป็นกุศลตอบ ถ้าเป็นความดีจริงก็ต้องได้รับผลของความดีตอบ ถ้าเราจะติดแล้วเราต้องตายด้วยโรคนี้นั่นก็ถือว่าเป็นส่วนของกรรม ถ้าเรามองแยกแยะอย่างนี้ก็มามีปัญหา สบายใจทำใจได้แล้ว ต้องทำใจแต่ต้นแล้ว

    ในส่วนนี้ยิ่งได้ทำ ความประทับใจในฐานของปุถุชนธรรมดาก็มีมากขึ้น คนที่เราสามารถช่วยให้เขาจากไปด้วยความสงบก็ดี คนที่เราได้ทำให้เขาฟื้นมีชีวิตใหม่ขึ้นมาก็ดี คนแล้วคนเล่าก็ทำให้ชีวิตเรามีคุณค่ามากขึ้นด้วยและเป็นความประทับใจใน เหตุการณ์เหล่านั้นด้วย แต่ก็ไม่ได้ไปยึดอะไรมากมายกับสิ่งเหล่านี้นะ เพราะว่าทำงานทุกวันนี้สิ่งที่อยู่ในสมองในความคิดตลอดเวลาก็คือปัญหาที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตในสังคมมากกว่าที่จะมาจมอยู่กับความรู้สึกประทับใจหรือความ นึกคิดกับใครคนใดคนหนึ่ง พระอาจารย์จะคิดอย่างนี้หรือถ้าจะบอกว่าเพราะเราต้องการความรักความอบอุ่น และการยอมรับ เราถึงทำตรงนี้ ก็เป็นไปได้ ตัวเองก็มองตัวเองเหมือนกัน ทำไมเราถึงเป็นคนอย่างนี้ ทำไมเราถึงคิดและทำอะไรอย่างนี้ ก็ยอมรับว่าพื้นฐานเราเป็นอย่างนี้ธรรมชาติของเราเป็นอย่างนี้

    ตามปรัชญาความเชื่อตามวิถีทางของชาวพุทธ การสิ้นลมหายใจอย่างสงบไม่เดือดร้อนกระสับกระส่าย ไม่กระวนกระวาย การน้อมใจระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
    การกำหนดสติให้มั่นอยู่กับสมาธิและคุณความดี หากบุคคลใดกระทำเช่นนี้ได้ ดวงวิญญาณของเขาย่อมมีสุคติเป็นที่หวัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  10. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ประวัติ พระอุดมประชาทร ( อลงกต ติกฺขปญฺโญ )
    ตอนที่ ๘

    ที่บ้านธรรมรักษ์นิเวศน์ สำหรับผู้ป่วยที่ใกล้จะสิ้นลมหายใจ เป็นกฎว่า
    ทุกคนจะพบกับการตายอย่างสงบโดยมีพระอาจารย์อยู่เคียงข้าง เพื่อบอกทางธรรมให้แก่ผู้ที่กำลังจะจากไป


    เรื่องปรัชญาการตายอย่างสงบนี้ ทางพุทธเราเชื่อว่าการที่คนเราจะตายได้อย่างสงบจะต้องมีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณที่มั่นคง
    ก็เข้าจ่าสิ่งที่จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจให้ผู้ป่วยที่จะทำให้เขาได้สิ้นลมหายใจอย่างสงบ

    จะต้องเป็นสิ่งที่ดีงามนี้จะอยู่ในรูปของบุคคลหรือสถานที่ซึ่งเป็นลักษณะ รูปธรรม หรือแม้แต่ความรู้สึกที่เขาได้รับจากคนใดคนหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งก็สามารถที่จะทำให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิต วิญญาณได้ รวมไปถึงในเรื่องของการภาวนาในการทำสมาธิด้วย


    ซึ่งตรงนี้ก็ยังเป็นความเชื่อหรือเป็นประเพณีของไทยเราว่า ในขณะที่บุคคลไดบุคคลหนึ่งจะหมดลมหายใจ เขาก็พยายามที่จะให้มีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณด้วยการให้นึกถึงสิ่ง ที่ดีงาม ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นการให้สติ อาจจะใช้การภาวนาพุทโธ

    ซึ่งนี่เป็นลักษณะของการภาวนาหรือบางคนอาจจะเปิดธรรมะให้ผู้ป่วยฟังก่อนที่ ผู้ป่วยจะหมดลมหายใจ เพี่อให้ผู้ป่วยได้ระลึกถึงอรรถหรือความหมายของธรรมะนั้น จะทำให้มีจิตใจสงบและมีเครื่องยึดเหนี่ยว หรือรวมไปถึงการพยายามที่จะให้ผู้ที่กำลังเสียชีวิตได้นึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพื้นฐานของคนโดยทั่วๆ ไป เมื่อเรานึกถึงพระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่าเรามีความศรัทธาแล้วมีความเชื่อมั่น


    แต่บางครั้งกับโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ซึ่งต้องมาประสบปัญหากับคนสมัยใหม่คน รุ่นใหม่มีพื้นฐานห่างจากศาสนาหรือคำสอนมาก โดยเฉพาะความผูกพันด้านจิตวิญญาณระหว่างคนสมัยใหม่ พระพุทธเจ้า พระธรรมกับพระสงฆ์นี่เป็นเรื่องที่มีความผูกพันกันน้อยลง

    แต่อย่างไรก็ตามการที่เราได้ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้สิ้นลมหายใจอย่างสงบ เราก็จะมาเชื่อมโยงบทบาทของเราเองในฐานะที่เป็นพระสงฆ์ ประยุกต์คำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นคำพูดง่ายๆ ที่เขาฟังดูแล้วเขาจะเข้าใจในความหมายของสิ่งที่เราพูด โดยรวมโดยเนื้อหาสาระจริงๆ นั้นคือ เรากำลังพยายามที่จะให้เขาเข้าใจธรรมะคือคำสอนของศาสนาด้วยรวมไปถึงการที่ เราพยายามที่จะสอนให้เขารู้สึกถึงการภาวนาด้วยวิธีการ เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก

    การภาวนา
    “ พุทโธ ในขณะที่เขากำลังมีลมหายใจอยู่ในช่วงสุดท้าย การให้เขาได้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงามที่เขาได้กระทำ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเรารวมๆเป็นเรื่องของศาสนาและปรัชญา

    เราต้องพยายามที่จะสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจให้แก่ผู้ป่วยที่กำลังใกล้จะสิ้นลมหายใจ การสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวนั้นก็จำเป็นต้องอาศัยสัมพันธภาพซึ่งจะก่อให้เกิด ความเชื่อมั่นแก่จิตใจของผู้ที่กำลังจะหมดลมหายใจกับผู้ที่กำลังจะให้

    เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแก่เขาคือ
    ในภาษาปฏิบัติเราให้เรียกกำลังให้สติ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก

    เพราะก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตนี่คือบทบาทหรือ สัมพันธภาพของเราที่มีต่อเขาเป็นอย่างไร ตรงนี้จะเป็นเรื่องที่กำหนดค่าของศรัทธาหรือความเชื่อในตัวของผู้ป่วยด้วย อย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าเรามีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งผูกพันกับผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายเวลาเราจะ ให้สติเขา หรือจะพูดจะบอกอะไรเขา เขาก็จะฟัง ก็จะเชื่อจะคล้อยตามสภาพจิตใจ เขาอาจจะยึดเหนี่ยวในสิ่งที่เรากำลังพูดหรือสิ่งที่เรากำลังให้ความรู้สึก แก่เขา


    โดยรวมๆ แล้วก็คือ เรากำลังจะให้เครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ไม่ได้เน้นว่าจะเป็นสิ่งใด แต่เน้นตรงที่ว่าให้เขามีเครื่องยึดเหนี่ยวที่ดีงามเท่าที่เขาจะทำได้ดีดี ที่สุด ไม่ว่าอะไรก็ตามเพื่อให้เขาได้สู่สุขคติ ซึ่งเราหวังว่าการไปสู่สุคติของเขานั้นจะนำประโยชน์สุขมาสู่ตัวเขาเอง และสู่โลกมนุษย์ด้วย ถ้าหากว่าเขาไปเกิดเป็นคนก็ได้ไปเกิดเป็นคนที่ดี ดีกว่าที่เขาจะได้ไปเกิดเป็นคนที่โหดเหี้ยมอำมหิตหรือก้าวร้าวทำร้ายผู้ อื่น หรือถ้าหากว่าเขาจะได้ไปเกิดในที่ที่ดีกว่านั้น เราก็คิดว่าเขาก็น่าจะทำประโยชน์สุขให้แก่ตนเองและบุคคลอื่นได้มากขึ้น

    ความมุ่งมั่นที่จะบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ ความรักความเมตตาที่ถ่ายทอดออกไปสู่ผู้คนและสังคมรอบข้างคือกำลังใจล้ำค่า

    ความรักความเมตตาที่เรามีต่อผู้ป่วยหรือที่ผู้ป่วยมีต่อเรา ทำให้พระอาจารย์มีกำลังใจมุ่งมั่นที่จะกระทำงานต่อไป สิ่งนี้คงไม่ใช่ความหมายทั้งหมดที่ทำให้ทำงานต่อไปได้แต่ความมุ่งมั่นในใจ จริงๆ นั่นก็คือยังเห็นความทุกข์ทรมานของเพื่อนมนุษย์อีกจำนวนหลายแสนหลายล้านคน ที่จะต้องเกิดขึ้นมาอีก คนเหล่านี้เขายังต้องการที่พึ่ง

    ต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจก็ไม่ ได้หมายความว่าเราจะต้องผูกพันเฉพาะผู้ป่วยของเราที่นี่ ยังมีเพื่อนมนุษย์อีกจำนวนหนึ่งในโลกมากมายคนในสังคมมากมายที่เราต้องการให้ คนเหล่านี้ได้เข้าใจ การที่เราได้ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้เขาได้สิ้นลมหายใจอย่างสงบ

    เป็นมนุษยธรรม ที่เราพึงปฏิบัติ พึงได้ต่อกันด้วย ในส่วนที่ตัวเองได้ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนได้สิ้นลมหายใจไปอย่างสงบนั้นก็ได้ทำให้ตัวเองมีพลังบางอย่างขึ้น


    พลังตรงนี้ก็คือว่าในผู้ป่วยรายต่อๆ ไปที่กำลังจะหมดลมหายใจ เราจะสามารถที่จะนำพลังเหล่านี้สื่อไปถ่ายทอดหรือไปควบคุมให้สติแก่ผู้ป่วย ที่จะเสียชีวิตต่อไปได้มากขึ้น ดูตัวเองวันนี้กับเมื่อสองปีที่ผ่านมาที่ความสามารถตรงนี้ยังต่ำ เหมือนกับนักกีฬาที่ผ่านสนามมามากๆ อาจจะมีความชำนาญในการควบคุมเหตุการณ์ควบคุมความรู้สึกนึกคิด ควบคุมจิตวิญญาณผู้ป่วยก่อนที่เขาจะหมดลมหายใจได้อย่างดีขึ้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เรารู้สึกว่าเราทำตรงนี้ได้ดีขึ้น เรารู้ว่าผู้ป่วยน่าจะเสียชีวิตในวันนี้ พรุ่งนี้จะไม่ค่อยพลาด พลาดน้อยลง แล้วก็สามารถที่จะทำให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบหรือหมดลมหายใจได้อย่างสงบมากขึ้น กว่าเดิม

    ทุกข์ทั้งหลายของสัตว์โลก พระสงฆ์พึงมีหน้าที่บำบัด คือพุทธพจน์อันจับใจสมณะหนุ่มรูปนี้เป็นความหมายอันกว้างไกลไพศาล
    ทุกข์ทั้งหลายของสัตว์โลก พระสงฆ์พึงมีหน้าที่บำบัด คือหน้าที่ของพระสงฆ์แล้วนี่ ท่านเองก็มีหน้าที่ที่จะสอนพระธรรมะส่วนหนึ่งคือพระสงฆ์ควรเป็นผู้ให้ ธรรมะ สอนธรรมะแก่คนที่อยู่ในความทุกข์

    การให้ธรรมะนั้นก็หมายถึงการแก้ไขปัญหาความทุกข์ให้แก่คนแก่สัตว์โลกนั่น เอง แม้แต่การเมตตาในสัตว์ทั้งหลายก็ถือว่าเป็นการให้ธรรมให้ธรรมชาติ ให้ธรรมะในส่วนที่เป็นกุศลจากตัวเองออกไปให้แก่ผู้อื่น

    เพราะฉะนั้นเมื่อในตัวพระสงฆ์มีกุศลหรือได้ทำกุศล กุศลนี้ย่อมแผ่ไปในทิศทั้งหลาย ในบุคคลทั้งหลายในสัตว์ทั้งหลายประโยคที่ว่าทุกข์ทั้งหลายในโลกพระสงฆ์พึงมี หน้าที่บำบัด จึงเป็นความหมายที่กลายมาจากหน้าที่ของท่านนั่นเอง

    พระสงฆ์พึงมีหน้าที่สอนธรรมะปฏิบัติธรรมเพื่อให้กุศลในตัวเองเจริญขึ้น เมื่อกุศลในตัวเองเจริญขึ้นตัวเองก็เป็นที่พึ่งของตัวเองเป็นที่พึ่งของคน อื่นได้ การบำบัดทุกข์ในสัตว์โลกทั้งหลายจึงเกิดขึ้นหลังจากที่พระสงฆ์ท่านได้ฝึกฝน ตนแล้วเป็นที่พึ่งของตนได้เป็นที่พึ่งของคนอื่นได้เหมือนต้นไม้ที่โตแล้วก็ ออกดอกออกผลหรือว่าร่มเงา

    ถ้าจะถามว่าสิ่งที่อาจารย์ทำนี่เป็นการขยายบทบาทอีกอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ หรือไม่ น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นความจำเป็นตามธรรมชาติของโลกมนุษย์มากกว่าในขณะที่ สัตว์โลกมีความทุกข์ ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีบางสิ่งบางอย่างหรือมีบางคนหรือมีพระบางรูปกระทำ หน้าที่นี้ ปัญหาของมนุษย์อาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากจุดเดิมๆ แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวหรอก มันต้องมีสิ่งที่สร้างสมดุลอยู่ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติต้องการสร้างสมดุลสร้างดุลยภาพ

    ในฐานะทายาทธรรมของพระพุทธเจ้า พระอลงกต ติกฺขปญฺโญ ได้บำเพ็ญธรรมตามกรณียกิจของพระสงฆ์สมดังพุทธพจน์ที่ว่า

    ทุกข์ทั้งหลายของสัตว์โลกพระสงฆ์พึงมีหน้าที่บำบัด พระธรรมของพระพุทธองค์ได้ประกาศสัจจะก้องกังวานอีกครั้งว่า ธรรมะมิใช่เพียงรับใช้กรรม หากยังรับใช้โลกแม้ในยามทุกข์เข็ญ

    ขอบคุณที่มา
    http://www.phrabatnampu.org
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  11. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    [​IMG]

    เพียงแค่รอยยิ้มแห่งความเมตตาที่หาประมาณไม่ได้ของท่าน ก็ทำให้น้ำตาผมไหลรินอาบแก้ม


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2014
  12. หงษ์

    หงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +821
    ร่วมอนุโมทนากับกระทู้นี้อย่างสูงเจ้าค่ะ น้ำตาจะไหลทุกครั้งที่เห็นท่าน ท่านเป็นผู้ที่เสียสละอย่างสูง เคยเจอท่านตอนไปเดินจตุจักรได้ทำบุญร่วมกับท่าน ท่านผ่องมากค่ะ มีเมตตายิ้มแย้มให้ทุกๆคน แม้ท่านจะเหนื่อยมาก ตอนนี้อยากให้ร่วมกันทำบุญกับวัดพระบาทน้ำพุ มากๆนะค่ะ สงสารคนที่ไม่มีที่พึ่งพิงค่ะ ขอให้ท่านมีพลานามัยแข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธ์ ร่มไทรกับชาวไทยตลอดไปนะค่ะ กราบนมัสการเจ้าค่ะ
     
  13. เด็กมัธยม

    เด็กมัธยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +230
    สาธุ ท่านเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนผมเอง ขนาดจบไปนานแล้วท่านยัีงช่วยเหลืออยู่ตลอด
     
  14. pupae52

    pupae52 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +24
    อนูโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

    น้ำตาไหลน่องแก้ม ปลื้มอกปลื้มใจ ในความเมตตาต่อสัตย์โลกของท่าน
    ได้เคยเจอท่านแถวสำเพ็ง ได้ร่วมทำบุญกับท่าน รู้สึกดีมาก
    อยากจะเชิญชวนทุกท่านร่วมทำบุญกับท่าน และช่วยเหลือผู้ป่วยค่ะ
    <TABLE id=table27 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none">บัญชีบ้านเด็กธรรมรักษ์</TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none"> ธ.กสิกรไทย ออมทรัพย์</TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none"> เลขที่ 180 2 495451

    <TABLE height=1006 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=583 background=images/bg-mid.jpg border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center bgColor=#cc0000 colSpan=2>
    บัญชีกองทุนอาทรประชานาถ ::
    </TD><TD> </TD><TD height=24></TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD height=16></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#837d10 colSpan=2> [​IMG] ธนาคารกรุงเทพ สาขาลพบุรี</TD><TD bgColor=#837d10 colSpan=2> เลขที่ 289 - 0 - 84697 - 1</TD><TD height=27></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#837d10 colSpan=2> [​IMG] ธนาคารทหารไทย สาขาลพบุรี</TD><TD bgColor=#837d10 colSpan=2> เลขที่ 304 - 2 - 41277 - 9 </TD><TD height=27></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#837d10 colSpan=2> [​IMG] ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลพบุรี</TD><TD bgColor=#837d10 colSpan=2> เลขที่ 579 - 2 - 33730 - 7</TD><TD height=27></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#837d10 colSpan=2> [​IMG] ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนสุรสงคราม</TD><TD bgColor=#837d10 colSpan=2> เลขที่ 174 - 2 - 39000 - 0</TD><TD height=28></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#837d10 colSpan=2> [​IMG] ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาลพบุรี</TD><TD bgColor=#837d10 colSpan=2> เลขที่ 111 - 1 - 47300 - 7</TD><TD height=29></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#837d10 colSpan=2> [​IMG] ธนาคารนครหลวงไทย สาขาลพบุรี</TD><TD bgColor=#837d10 colSpan=2> เลขที่ 340 - 2 - 14976 - 0 </TD><TD height=29></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#837d10 colSpan=2> [​IMG] ธนาคารกรุงไทย สาขาวงเวียนสระแก้ว</TD><TD bgColor=#837d10 colSpan=2> เลขที่ 129 - 0 - 10020- 9</TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่ได้ร่วมบริจาค
     
  15. แม่อ้วน

    แม่อ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +135
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ คุณก็คือคนหนึ่งที่ได้ช่วยท่านมาก คิดว่าผู้ที่อ่านกระทู้นี้คงมีความรู้สึกคล้ายกัน และคงจะช่วยกันบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการทำงานของท่านเพิ่มขึ้น
     
  16. คนสามตา

    คนสามตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +311
    กราบอนุโมทนาบุญ สาธุในความเพียร...

    "พระโพธิ์สัตว์"

    การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่ยอมสละชีวิตเป็นเดิมพัน ต่างจากการฆ่าตัวตายอย่างไร...?


    แหล่งที่มาข้อมูล...
    การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ สละชีวิตเป็นเดิมพัน ต่างจากการฆ่าตัวตาย
     
  17. sirawasa

    sirawasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2010
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +1,191
    รู้จักท่านมานานแต่ก็ไม่เคยรู้ประวัติท่านลึกซึ้งมากมาย ขอบคุณที่นำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

    ทำบุญกับท่านหลายครั้งเหมือนกันค่ะ ที่วัดพระบาทน้ำพุก็เคยไป ถวายท่านเวลาท่านมาบรรยายหรือบิณฑบาตในกรุงเทพฯ ก็มีบ้าง ล่าสุดก็พบท่านที่งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ผ่านมาก็ได้ทำบุญกับท่านด้วย แล้วก็มีการทำบุญในระบบโทรศัพท์ 1900 ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและทำได้บ่อยๆ

    มีอยู่ครั้งหนึ่งบอกบุญกับคนรู้จักชาวอเมริกัน เล่าเรื่องผู้ป่วยเอดส์แล้วก็ให้เว็บไซต์ของวัดไปทางอีเมลล์ เขาตอบกลับมาว่าได้ดูเว็บไซต์แล้วและได้ส่งเงินไปทำบุญกับท่าน พออีกสักประมาณเดือนนึงเห็นจะได้เขาอีเมลล์มาบอกอีกว่ามีจดหมายส่งไปหาพร้อมบัตรใบใหญ่แปลกๆ เขียนด้วยภาษาที่อ่านไม่ออก เขาก็คิดว่านั่นคือภาษาไทย และบัตรใบนั้นคงจะเป็น "Thank you certificate" จากทาง Aids Temple แน่นอน ดิฉันว่าก็คงจะใช่ล่ะค่ะ

    นอกจากวัดพระบาทน้ำพุแล้ว มีอีกหลายที่ที่รับภาระดูแลผู้ป่วยเอดส์ ที่ดิฉันร่วมสนับสนุนอยู่ด้วยอีกแห่งหนึ่ง (ตามกำลังนะคะ ไม่ใช่ผู้สนับสนุนรายใหญ่โตอะไร ) ก็คือมูลนิธิบ้านแกร์ด้า ซึ่งนำเด็กๆ ติดเชื้อมาดูแล

    อนุโมทนากับทุกๆ คนที่ทำบุญกับท่านและกับทุกๆ ที่ที่ช่วยเหลือสังคมในเรื่องนี้และเรื่องต่างๆ ด้วยนะคะ
     
  18. mu-nice

    mu-nice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +650
    ขออนุโมทนาค่ะอ่านแล้วน้ำตาจะไหล จะช่วยทำบุญตามกำลังที่พอจะมีช่วยได้ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ ใครเป็นลูกเกษตรช่วยกันหน่อยนะคะ
     
  19. chunhapong

    chunhapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +731
    ผมทำผ่านโทรศัพท์ 1900222200 ครั้งละ 15 บาท ทำบุญให้กับวัดครับ สะดวกดี
    ขออนุโมทนากับทุกๆ ท่าน..สาธุ


    ไม่มีใครเอาอะไรไปจากโลกนี้ได้......ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มี...แม้ตัวเราก็ไม่มี
     
  20. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]<style type="text/css">#avg_ls_inline_popup { padding: 0px; overflow: hidden; position: absolute; z-index: 9999; margin-left: 0px; margin-top: 0px; width: 240px; word-wrap: break-word; color: black; font-size: 10px; text-align: left; line-height: 13px; }</style>
    ขอบคุณท่าน จขกท. ที่นำบทความเรื่องราวดี ๆ ของหลวงพ่อมาฝากกัน ทำให้ไม่ลืมเลือนไปกับกาลเวลา

    โมทนาค่ะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...