หลักศรัทธา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 12 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ลำพังศรัทธาอย่างเดียว เมื่อไม่ก้าวหน้าถึงขั้นปัญญาต่อไปตามลำดับ ย่อมมีผลอยู่ในขอบเขตจำกัดเพียงแค่สวรรค์เท่านั้น ไม่สามารถให้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมได้ ดังพุทธพจน์ว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นของง่าย เปิดเผย ประกาศไว้ชัด ไม่มีเงื่อนงำใดๆอย่างนี้

    - สำหรับภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ...ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป
    - ภิกษุที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ได้แล้ว ย่อมเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ฯลฯ
    - ภิกษุที่ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว มีราคะ โทสะ โมหะเบาบาง ย่อมเป็นสกทาคามี ฯลฯ
    - ภิกษุที่ละสังโยชน์ ๓ ได้ ย่อมเป็นโสดาบัน ฯลฯ
    - ภิกษุที่เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ย่อมเป็นผู้มีสัมโพธิ เป็นที่หมาย
    - ผู้ที่มีเพียงศรัทธา มีเพียงความรักในเรา ย่อมเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่หมาย(ม.มู.12/288/280)
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เพียรเร่งรัด เร่งเร้า

    อย่าให้สัททาเสื่อมถอย

    แปลเปนไทยว่า อะไรฮับ ให้เขายุติเลิกสัททา

    หรือว่า ทำให้เขายิ่งสัททาเข้ามา มากๆ

    เร่งรัดอย่าให้รักเสื่อมถอย

    แปลเปนไทยว่าอะไรฮับ ให้หยุดรักพิสมัย หรอ

    หรือว่า ทำให้เขายิ่งรักมวักๆ

    ฮะเอ่อ

    ย้ำให้มากๆ ตามเหนความเกิดความดับ

    เหนรูปนามดับขณะจิตเดียว โลกวิทู ทันที(ดัดแปลงจาก หลวงปู่หล้า)
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ลวกเพ่ งง เต็ก ปายกานหญ่าย

    ไหน มจด ลองอธิบาย อรหันต์
    ประเภท สัททาวิมุตติ จิฮับ


    ไปไม่เปน

    ถอดแว่น ไปปล่อยแมว (จิตสู่จิต)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ที่ถือเอาประโยชน์จากศรัทธาอย่างถูกต้อง ปัญญาจะเจริญขึ้นโดยลำดับ จนถึงขั้นเป็นญาณทัสสนะ คือเป็นการรู้การเห็น ในขั้นนี้ จะไม่ต้องใช้ความเชื่อ และความเห็นอีกต่อไป เพราะรู้เห็นประจักษ์กับตนเอง จึงเป็นขั้นที่พ้นขอบเขตของศรัทธา

    ขอให้พิจารณาข้อความในพระไตรปิฎกต่อไปนี้

    ถาม: ท่านมุสิล โดยไม่อาศัยศรัทธา ไม่อาศัยความถูกกับใจคิด ไม่อาศัยการเรียนรู้ตามกันมา ไม่อาศัยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ไม่อาศัยความเข้ากันได้กับการทดสอบด้วยทฤษฎี ท่านมุสิล มีการรู้จำเพาะตน (ปัจจัตตญาณ) หรือว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ?

    ตอบ: ท่านปวิฏฐ์ ผมย่อมรู้ ย่อมเห็นข้อที่ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี นี้ได้โดยไม่ต้องอาศัยศรัทธา...ความถูกกับใจคิด...การเรียนรู้ตามกัน มา...การคิดตรงองตามแนวเหตุผล...ความเข้ากันได้กับการทดสอบด้วยทฤษฎีเลยที เดียว

    (จากนี้ ถามตอบหัวข้ออื่นๆในปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ ทั้งฝ่ายอนุโลม ปฏิโลม จนถึงภวนิโรธเป็นนิพพาน) (สํ.นิ.16/269-275/140-144)

    อีกแห่งหนึ่งว่า

    ถาม: มีปริยายบ้างไหม ที่ภิกษุจะใช้พยากรณ์อรหัตผลได้ โดยไม่อาศัยศรัทธา ไม่อาศัยความถูกกับใจชอบ ไม่อาศัยการเรียนรู้ตามกันมา ไม่อาศัยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ไม่อาศัยความเข้ากันได้กับการทดสอบด้วยทฤษฎี ก็รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว สิ่งที่ควรทำ ได้ทำแล้ว สิ่งอื่นที่ต้องทำเพื่อเป็นอย่างนี้ ไม่มีเหลืออยู่อีก ? ฯลฯ

    ตอบ: ปริยายนั้นมีอยู่...คือ ภิกษุเห็นรูปด้วยตา ย่อมรู้ชัด ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ในตัวว่า ราคะ โทสะ โมหะ มีอยู่ในตัวของเรา หรือย่อมรู้ชัดชัด ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ที่ไม่มีอยู่ในตัวว่า ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีในตัวของเรา

    ถาม: เรื่องที่ว่า ...นี่ ต้องรู้ด้วยศรัทธา หรือด้วยความถูกกับใจชอบ หรือด้วยการเรียนรู้ตามกันมาหรือด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือด้วยความเข้ากันได้กับการคิดทดสอบด้วยทฤษฎี หรือไม่ ?

    ตอบ: ไม่ใช่อย่างนั้น

    ถาม: เรื่องที่ว่า...นี้ ต้องเห็นด้วยปัญญา จึงทราบมิใช่หรือ ?

    ตอบ: อย่างนั้นพระเจ้าข้า

    สรุป: นี้เป็นปริยายหนึ่ง ที่ภิกษุจะใช้พยากรณ์อรหัตผลได้ โดยไม่ต้องอาศัยศรัทธา ฯลฯ

    (จากนี้ ถามตอบไปตามลำดับอายตนะอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน จนครบทุกข้อ) (สํ.สฬ.18/239-242/173-176)
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เมื่อมีญาณทัสสนะ คือการรู้การเห็นประจักษ์แล้ว ก็ไม่ต้องมีศรัทธา คือไม่ต้องเชื่อต่อผู้ใดอื่น
    ดังนั้น พุทธสาวกที่บรรลุคุณวิเศษต่างๆ จึงรู้และกล่าวถึงสิ่งนั้นๆ โดยไม่ต้องเชื่อต่อพระศาสดา เช่น ได้มีคำสนทนาถามตอบระหว่างนิครนถนาฎบุตร กับ จิตตคฤหบดี ผู้เป็นพุทธสาวกฝ่ายอุบาสกที่มีชื่อเสียงเชียวชาญในพระธรรมมาก ว่า

    นิครนถ์: แน่ะท่านคฤหบดี ท่านเชื่อพระสมณโคดมไหมว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารได้ มีอยู่ ?

    จิตตคฤหบดี : ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามิได้ยึดถือด้วยศรัทธา (มิได้เชื่อ) ต่อพระผู้มีพระภาคว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารได้ มีอยู่

    ข้าพเจ้านี้ ทันทีที่มุ่งหวัง...ก็เข้าปฐฌานอยู่ได้...เข้าทุติยฌานอยู่ได้...เข้าตติย ฌานอยู่ได้...เข้าจตุตถฌานอยู่ได้ ข้าพเจ้านั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงไม่ยึดถือด้วยศรัทธาต่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดๆ ว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารได้ มีอยู่ (สํ.สฬ.18/578/367)
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ พระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเป็นญาณทัสสนะถึงที่สุด จึงมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งว่า "อัสสัทธะ" (ขุ.ธ.25/17/28) ซึ่งแปลว่า ผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่ต้องเชื่อต่อใครๆ ในเรื่องที่ตนรู้เห็นชัดด้วยตนเองอยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากพุทธดำรัสสนทนากับพระสารีบุตร ว่า

    พระพุทธเจ้า สารีบุตร เธอเชื่อไหมว่า สัทธินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่หมาย มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์...สตินทรีย์...สมาธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ (ก็เช่นเดียวกัน)

    พระสารีบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มิได้ยึดถือด้วยศรัทธา (เชื่อ) ต่อพระผู้มีพระภาค....

    แท้จริง คนเหล่าใด ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่ทราบ ยังไม่กระทำให้แจ้ง ยังไม่มองเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น จึงจะยึดถือด้วยศรัทธาต่อผู้อื่น ในเรื่องนั้น

    ส่วนคนเหล่าใด รู้ เห็น ทราบ กระทำให้แจ้ง มองเห็นสิ่งนี้ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ย่อมไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจ ในเรื่องนั้น...

    ก็ข้าพระองค์ ได้รู้ เห็น ทราบ กระทำให้แจ้ง มองเห็นสิ่งนี้ด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจ ในเรื่องนั้นว่า สัทธินทรีย์...วิริยินทรีย์...สตินทรีย์...สมาธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ หมาย มีอมตะเป็นที่สุด

    พระพุทธเจ้า สาธุ สาธุ สารีบุตร ฯลฯ (สํ.ม.19/984-986/292-293)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เพื่อสรุปความสำคัญและความดีเด่นของปัญญา ข้ออ้างพุทธพจน์ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญ เพราะกระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์กี่อย่างหนอ ภิกษุผู้ขีณาสพจึงพยากรณ์อรหัตผล รู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว ....สิ่งอื่นที่จะต้องทำเพื่อเป็นอย่างนี้ ไม่มีเหลืออยู่อีก"

    "เพราะเจริญ เพราะกระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์อย่างเดียว ภิกษุผู้ขีณาสพจึงพยากรณ์อรหัตผลได้...อินทรีย์อย่างเดียวนั้น ก็คือ ปัญญินทรีย์"

    "สำหรับอริยสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธาอันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้ วิริยะ...สติ...สมาธิ... อันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้" * (สํ.ม.19/987-989/293-294)

    อินทรีย์อื่นๆ (คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ) ลำพังแต่ละอย่างๆก็ดี หรือหลายอย่างรวมกัน แต่ขาดปัญญาเสียเพียงอย่างเดียว ก็ดี ไม่อาจให้บรรลุผลสำเร็จนี้ได้

    "ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด
    บทธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ที่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ บทธรรมคือปัญญินทรีย์ เรียกได้ว่า เป็นยอดของบทธรรมเหล่านั้น ในแง่การตรัสรู้ ฉันนั้น" (ความสำคัญของปัญญินทรีย์ ดู สํ.ม.19/1038-1043/035-6;1070-1081313-5)
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ญาณทัศนะ, ญาณทัสนะ การเห็น กล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณหรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึง วิปัสสนาญาณ
    นอกนั้น ในที่หลายแห่ง หมายถึง ทิพพจักขุญาณ บ้าง มรรคญาณ บ้าง และในบางกรณี หมายถึงผลญาณ บ้าง ก็มี ทั้งนี้ สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

    ญาณทัสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค ๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ยานทับนรกะวิสุก กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว สัททา หาไม่เจอ

    ยกธรรม ด้วยอาการประจบ สรรเสริญ แต่ ลักขโมย

    ใจสั่นไหว รอวัน ตายเปล่า
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไม่ได้มีสาระแก่นสารอะไรเลย ขยะบอร์ดโดยแท้ คิกๆๆ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ญาณ ความรู้, ความหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้


    วิปัสสนา ความเห็นแจ้งคือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

    (สังขาร คือหมดทั้งตัว ซึ่งได้แก่ ร่างกาย กับ จิตใจ เรียกเต็ม สังขารธรรม)

    วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา มี ๙ อย่าง คือ

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป

    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นเฉพาะความดับเด่นขึ้นมา

    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ

    ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย

    ๖.มุญจิตุกัมยญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย

    ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง

    ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร

    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิสุทธิ ความบริสุทธิ์, ความหมดจด, การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย คือ พระนิพพาน มี ๗ ขั้น (ในที่นี้ ได้ระบุธรรมที่มีที่ได้เป็นความหมายของแต่ละขั้น ตามที่แสดงไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะ) คือ

    ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล (ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ ฯลฯ)

    ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์ (ได้แก่ สมาธิ ๒ คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ)

    ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (ได้แก่ นามรูปปริคคหญาณ)

    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย (ได้แก่ ปัจจัยปริคคหญาณ)

    ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง (ได้แก่ ต่อสัมมสนญาณ ขึ้นสู่อุทยัพพยญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา เกิดวิปัสสนูปกิเลส แล้วรู้เท่าทันว่า อะไรใช่ทาง อะไรมิใช่ทาง)

    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ นับแต่อุทยัพพยญาณที่ผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เกิดเป็นพลววิปัสสนา เป็นต้นไป จนถึงอนุโลมญาณ)

    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ (ได้แก่ มรรคญาณ ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น แต่ละขั้น)
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน ๑๖ อย่าง, ญาณ ๑๖ นี้ มิใช่เป็นหมวดธรรมที่มาครบชุดในพระบาลีเดิมโดยตรง

    แต่พระอาจารย์ปางก่อนได้ประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์ แล้วสอนสืบกันมา บางที เรียกให้เป็นชื่อชุดเลียนคำบาลีว่า "โสฬสญาณ" หรือเรียกกึ่งไทยว่า "ญาณโสฬส"

    ทั้งนี้ ท่านตั้งวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักอยู่ตรงกลาง แล้วเติมญาณขั้นต่างๆ ที่ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ เพิ่มเข้าก่อนข้างหน้า และเติมญาณขั้นสูงที่เลยวิปัสสนาญาณไปแล้ว เข้ามาต่อท้ายด้วย ให้เห็นกระบวนการปฏิบัติตลอดแต่ต้นจนจบ จึงเป็นความปรารถนาดีที่เกื้อกูลแก่การศึกษาไม่น้อย

    ญาณ ๑๖ นั้น ดังนี้ (ในที่นี้ จัดแยกให้เห็นเป็น ๓ ช่วง เพื่อความสะดวกในการศึกษา)
    คือ
    ก) ก่อนวิปัสสนาญาณ: ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป (นามรูปปริคคหญาณ หรือสังขารปริจเฉทญาณ ก็เรียก)

    ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป (บางทีเรียก กังขารวิตรณญาณ หรือธัมมัฏฐิติญาณ)

    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์

    ข) วิปัสสนาญาณ ๙ : ๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและดับแห่งนามรูป

    ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นเฉพาะความดับเด่นชัดขึ้นมา

    ๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

    ๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ

    ๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย

    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย

    ๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง

    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร

    ๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

    ค) เหนือวิปัสสนาญาณ: ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน

    ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค

    ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล

    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน


    อนึ่ง คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ถือต่างจากที่กล่าวมานี้บ้าง โดยจัดญาณที่ ๓ (สัมมสนญาณ) เป็นวิปัสสนาญาณด้วย จึงเป็นวิปัสสนาญาณ ๑๐ อีก ทั้งเรียกชื่อญาณหลายข้อให้สั้นลง เป็น ๔. อุทยัพพยญาณ ๕. ภังคญาณ ๖ ภยญาณ ๗. อาทีนวญาณ ๘. นิพพิทาญาณ ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ๑๒. อนุโลมญาณ (นอกนั้นเหมือนกัน) ทั้งนี้ พึงทราบเพื่อไม่สับสน


    มีข้อควรทราบพิเศษว่า เมื่อผู้ปฏิบัติก้าวหน้ามาจนเกิดวิปัสสนาญาณข้อแรก คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าได้ตรุณวิปัสสนา (วิปัสสนาอ่อนๆ) และในตอนนี้วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้น

    ชวนให้สำคัญผิดว่าถึงจุดหมาย แต่เมื่อรู้เท่าทัน กำหนดแยกได้ว่าอะไรเป็นทางอะไรมิใช่ทาง ก็จะผ่านพ้นไปได้ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณนั้น ก็จะพัฒนาเป็นมัคคามัคคญาณ เข้าถึงวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ที่สำคัญขั้นหนึ่ง เรียกว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ (วิสุทธิข้อที่ ๕)

    อุทยัพพยญาณ ที่ก้าวมาถึงตอนนี้ คือ เป็นวิปัสสนาญาณที่เดินถูกทาง ผ่านพ้นวิปัสสนุปกิเลสมาได้แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพลววิปัสสนา (วิปัสสนาที่มีกำลังหรือแข็งกล้า) ซึ่งจะเดินหน้าเป็นวิปัสสนาญาณที่สูงขึ้นต่อๆไป

    บางที ท่านกล่าวถึงตรุณวิปัสสนา และพลววิปัสสนา โดยแยกเป็นช่วง ซึ่งกำหนดด้วยญาณต่างๆ คือ ระบุว่า (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ สังขารปริจเฉทญาณ กังขารวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา และ (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ เป็นพลววิปัสสนา

    ในญาณ ๑๖ นี้ ข้อ ๑๔ และ ๑๕ (มัคคญาณ และผลญาณ) เท่านั้น เป็นโลกุตรญาณ อีก ๑๔ อย่างนอกนั้น เป็นโลกียญาณ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วางภาคปฏิบัติจริงคั่นให้สังเกตด้วย ซึ่งก็ไม่ได้ผิดทางแต่อย่างใด ปฏิบัติถูกสะด้วยซ้ำ แต่อย่างว่า จะผ่านไปได้ ก็ต้องกำหนดดูรู้เท่าทันสภาพธรรมตามเป็นจริงต่อไปทุกๆขณะ

    ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนา, สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด, สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา โดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนา มี ๑๐ อย่าง
    คือ
    ๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

    ๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

    ๓. ญาณ ความหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไปไม่มีติดขัด

    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

    ๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

    ๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

    ๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

    ๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

    ๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส

    ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษเนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเอง ว่าเป็นการบรรลุมรรคผล เป็นต้น

    วิปัสสนูปกิเลสนี้ ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง และไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน แต่เกิดขึ้นเฉพาะแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้อง เท่านั้น

    ในพระไตรปิฎก เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด เอาโอภาส เป็นต้น นั้นเป็นมรรคผลนิพพาน ว่า "ธัมมุทธัจจะ" (ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน) แต่ท่านระบุชื่อ โอภาส เป็นต้น นั้นทีละอย่าง โดยไม่มีชื่อเรียกรวม, "วิปัสสนูปกิเลส" เป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา
    (พูดสั้นๆ ธรรมุธัจจ์ ก็คือความฟุ้งซ่าน ที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส)

    เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไป และเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุ้งซ่านไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และเจริญวิปัสสนาต่อไป, ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะฟุ้งไม่ซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป

    วิธีปฏิบัติต่อเรื่องนี้ คือ เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ (เช่นว่าโอภาส) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป ฯลฯ เมื่อรู้เท่าทัน ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งไปตามมัน คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั่นแหละเป็นมรรคเป็นทางที่ถูกต้อง

    นี่คือเป็นญาณที่รู้แยกได้ว่ามรรค และมิใช่มรรค นับเป็นวิสุทธิข้อที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนาวิสุทธิ

    วิปัสสนาตั้งแต่ญาณเริ่มแรก (คือ นามรูปปริจเฉทญาณ) จนถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ท่านจัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา)

    ส่วนวิปัสสนาตั้งแต่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปแล้ว (จนถึงสังขารุเปกขาญาณ) จัดเป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง ที่แรงกล้าหรืออย่างเข้ม (พลววิปัสสนา)
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วางภาคปฏิบัติจริงคั่นไว้ให้สังเกตอีก วิธีไปต่อ คือ กำหนดตามสภาพของมันทุกครั้งทุกขณะ เป็นยังไง รู้สึกยังไง ว่าในใจ (กำหนด) ตามนั้น อ้วกให้มันอ้วกไป นี่คือภาคฝึกหัดพัฒนาจิต


    ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

    วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

    เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

    จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

    จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

    คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

    ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

    คำถามครับ

    1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

    2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร

    หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิปลาส, วิปัลลาส กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้

    ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ

    ๑. วิปลาสด้วยอำนาจความสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส

    ๒. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส

    ๓. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส


    ข. วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ

    ๑. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

    ๒. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

    ๓. วิปลาสในของทีไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน

    ๔. วิปลาสในของทีไม่งาม ว่างาม

    (เขียนว่า พิปลาส ก็มี)
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วางภาคปฏิบัติ คือ การพัฒนาจิตให้สังเกตอีก ถ้าเข้าถึงอุเบกขาจริงๆ ก็จะไม่พ้นสภาวะทั้งหมดนี้ไป แต่นี่ ไม่ใช่อุเบกขาจริง เพียงแต่คิดเอาเองว่าอุเบกขา


    ดิฉันฝึกหัดนั่งสมาธิวิปัสสนาแนวทางท่าน (...) คือนั่งดูลมหายใจเข้าออกเฉยๆ ไม่บริกรรมและให้ดูเวทนาที่เกิดในร่างกายแล้วให้มีอุเบกขา

    คอร์สแรกที่ดิฉันไปศึกษาเรียนรู้เป็นเวลา10 วัน และหลังจากนั้นดิฉันก็กลับมาปฎิบัติที่บ้าน สม่ำเสมอ วันละหลายครั้ง บางทีก็หลายชั่วโมงติดต่อกัน

    ล่วงเข้ามาประมาณเดือนที่ 3 ดิฉันมีอาการ ร้อนที่ร่างกายทุกส่วน และเกิดอาการปวดศีรษะเหมือนมีเข็มเป็น ร้อยๆเล่มอยู่ในหัว บางที แข็ง ตึง มึน ทึบอยู่ในหัว จนยากที่จะอธิบาย จนขนาดต้องไปเอกซ์เรย์แต่ไม่มีอะไรผิดปรกติ

    อาการมันลงมาที่มือข้างซ้าย และ กรามบน ขมับ2 ข้าง เหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ตลอดเวลาเป็นที่ทรมานมาก

    ระยะ หลังมาดิฉันก็เลยนั่งบ้างไม่นั่งบ้าง เพราะปวดหัวเหลือเกิน บาง อาการไม่สามารถบอกมาเป็นตัวอักษรได้ว่ารู้สึกอย่างไร อาการเป็นตลอด เวลา 2 - 4 ชั่วโมง ทั้งหลับทั้งตื่น ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ไปหาหมอฝังเข็ม ฝังมา 9 ครั้ง ไม่มีทีท่าว่าจะทุเลา อาการยังมีตลอด ดิฉันก็ได้แต่อุเบกขา ทำใจไป คิดไปต่างๆนานา เวลานั่งก็ขออุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง

    ตอนนี้นับระยะเวลาเป็นมากว่า 2 ปี ได้แต่หวังว่าผู้รู้ทั้งหลายคงช่วยอนุเคราะห์คนมีกรรมคนนี้ด้วย ขอได้โปรดเมตตาช่วยด้วยนะคะ

    การว่าในใจ, พูดในใจ (เรียกว่ากำหนดจิต) นั่นแหละ ตย. รู้สึกว่าเป็นทุกข์ ว่าในใจ ทุกข์ (หนอ) การว่าในใจ พูดในใจ กำหนดจิตตามสภาวะนั้นๆ (ความคิดขณะปัจจุบัน) มันจะตัดวงจรของทุกขเวทนา เป็นต้น เพื่อให้ (ความคิด) มันเปลี่ยนไป แต่ก็ต้องว่าทุกๆครั้งนะ

    แม้สภาวะอื่นๆก็ทำนองเดียวกับความรู้สึกทุกข์นั่น รู้สึกจะอ้วกปุ๊บ กำหนด ปั้บ จะอ้วก (หนอ) ๆๆๆ มันจะอ้วกจริงๆ ก็ให้มันอ้วกไป อย่าเลี่ยงหนี อย่าเบือนหนี
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ว่าไงนิวรณ์ ลุงแมว มีอะไรค้านไหม ว่ามา อิอิ เอาเนื้อๆเอาสาระนะ :p
     
  20. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    รู้อะไรตั้งมากมาย
    คุยข่มคนโน้นฝคนนี้ โชว์แต่ปฏิภาณไหวพริบ
    ทางปริยัติ
    แต่ภาวนาสัปะหงกสัปะเงย
    หงายหน้าหงายหลัง ตะพึดตะพือ
    พักเดียวหัวฟาดหมอนสลบ
    กับ
    อีกคน
    รู้หลักของการภาวนาแล้วปฏิบัติได้ด้วยความ
    รื่นเริงเพลิดเพลินคล่องแคล่ว...มจด.จะเลือก
    อยู่ฝ่ายไหน
    และทำไมถึงเลือกฝ่ายนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...