หวั่นระเบิดแก่งกระทบพระธาตุย่าม่อน-ศูนย์รวมศรัทธาของคนริมโขง...

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 24 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8b0e0b980e0b89ae0b8b4e0b894e0b981e0b881e0b988e0b887e0b881e0b8a3e0b8b0e0b897e0b89ae0b89ee0b8a3.jpg
    เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2560 ที่ศาลาประชาคมบ้านปากอิง ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนชนต่อโครงการปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือพานิชย์แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (โครงการระเบิดแก่งแม่น้ำโขง) โดยบริษัททีมคอนซัลติ้ง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์เมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งมีประชาชนในเขตพื้นที่ศรีดอนชัยมาร่วมเวทีประมาณ 200 คน ทั้งนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างตั้งคำถามในทำนองเดียวกันว่า “ประชาชนได้ประโยชน์อะไรจากการเดินเรือ 500 ตันของจีน” และต่างรู้สึกหวั่นว่าการระเบิดแก่งแม่น้ำโขง จะกระทบต่อพระธาตุย่าหม่อน พระธาตุศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงจุดที่เรียกว่า กว๊านอิง อ.เชียงของ

    ทั้งนี้ในเวทีประชุมได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 6 กลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็น ข้อวิตกกังวล และข้อเสนอแนะต่อโครงการระเบิกแก่ง โดยชาวบ้านที่เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ต่างรู้สึกข้อกังวลต่อโครงการระเบิดแก่ง โดยต่างพูดว่าแม้โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ด้านการค้าขายในระดับประเทศ แต่ชาวบ้านในพื้นที่คงจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผลกระทบต่ออาชีพประมง ที่ถือเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน และก่อให้เกิดอันตรายจากการเดินเรือขนาดใหญ่ รวมทั้งผลกระทบต่อเกาะแก่ง ตลิ่งพัง ที่อยู่อาศัยของนกอพยพที่อยู่ตามเกาะแก่ง ที่สำคัญคือผลกระทบต่อความมั่นคงและพรมแดนระหว่างไทย-ลาว

    ในเวทีชาวบ้านส่วนหนึ่งยังได้กล่าวถึงความเดือดร้อนที่เกิดจากการขึ้น-ลงไม่ปกติของแม่น้ำโขง หลังจากมีการสร้างเขื่อนหลายแห่งบนแม่น้ำโขในประเทศจีน ระบบนิเวศที่แปรปรวน น้ำขึ้นผิดฤดูกาลเนื่องจากการใช้งานเขื่อนทำให้ชาวบ้านไม่สามารถหาปลา เก็บไก หรือร่อนทองได้ รวมไปถึงผลกระทบต่อเรือประมงที่จอดไว้ตามฝั่งแม่น้ำของชาวบ้าน และชาวบ้านยังมีข้อเสนอว่า หากจะทำการค้าก็ควรไปใช้สะพานหรือถนนที่เป็นเส้นทางขนส่งในปัจจุบันแทน ซึ่งไม่ต้องทำลายธรรมชาติแม่น้ำโขง และหากดำเนินโครงการระเบิดแก่งนี้ เมื่อเกิดผลกระทบใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ รัฐบาลไทย จีน หรือใคร

    นางสุวรรณี บุญไกร ชาวบ้านปากอิง กล่าวว่า ข้อคิดเห็นสำคัญคือ ชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ เพราะการระเบิดเกาะแก่งจะทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหายไป ชาวบ้านปากอิงทั้งสองหมู่บ้านทั้งปากอิงบน และปากอิงใต้ ไม่มีไร่มีนา ชาวบ้านส่วนใหญ่ 80% มีอาชีพประมงที่หาปลาขายเป็นรายได้ และเป็นที่ทราบกันทั้งอำเภอเชียงของว่า หากอยากกินปลาแม่น้ำโขง ต้องมาบ้านปากอิง จึงจะได้กินปลาแน่นอน การเอาเกาะแก่งแม่น้ำโขงออกไปจะทำให้น้ำไหลเชี่ยว ตลิ่งทรุดพัง และไก สาหร่ายแม่น้ำโขงจะหายไป จะเกิดมลพิษทางน้ำจากการเดินเรือขนาดใหญ่ พื้นที่เกษตรริมโขงของชาวบ้านก็คงจม เพราะระดับน้ำคงลึกมากกว่าเดิม ที่ผ่านมาเขื่อนจีนปล่อยน้ำก็ไม่ได้บอก ซึ่งควรจะมีการแจ้งเวลาที่ปล่อยน้ำให้ชาวบ้านได้รับทราบ อนาคตเสนอว่า ห้ามระเบิดเกาะแก่ง ควรรักษาธรรมชาติให้เหมือนเดิมไว้
    b8b0e0b980e0b89ae0b8b4e0b894e0b981e0b881e0b988e0b887e0b881e0b8a3e0b8b0e0b897e0b89ae0b89ee0b8a3-1.jpg
    นายสมดี จันเป็ง ชาวบ้านปากอิง ม.2 กล่าวว่า ได้ยินข่าวโครงการระเบิดแก่งเมื่อปีที่แล้ว ว่าจีนจะดำเนินโครงการ และคณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติไปแล้ว แต่การศึกษาและการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านกลับดำเนินการมาที่หลัง จึงสงสัยว่า ความคิดเห็นของชาวบ้านมากมายที่เป็นข้อห่วงกังวลต่อโครงการนี้จะไปมีผลต่อการติดสินใจอย่างไร เมื่อรัฐบาลลงนามไปแล้ว และย้ำว่าข้อคิดเห็นที่ชาวบ้านพูดในวันนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ที่สำคัญคือ ตอนนี้หากมีการระเบิดแก่งน้ำโขงจริงๆ จะต้องส่งผลกระทบทั้งเสียง ต่อบ้านเรือน และที่สำคัญคือ พระธาตุย่าหม่อน ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านที่อาจจะได้รับความเสียหายแน่นอน

    อนึ่งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือพานิชย์ บนแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงนี้ เป็นการจัดเวทีในระดับพื้นที่วันที่ 4 โดยก่อนหน้ามีการจัดเวทีดังกล่าวในเขตตำบลแม่เงินและบ้านแซว อ.เชียงแสน และต.ริมโขง อ.เชียงของ โดยในวันที่25 กันยายน 2560 จะเป็นการจัดเวทีที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น

    ทั้งนี้บริษัททีมฯ ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทจีน CCCC Second Harbor Consultants เพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นการดำเนินการสำรวจออกแบบความเป็นไปได้และจำทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมของแต่ละโครงการ ใช้เงินทุนประมาณ 1.2 พันล้านหยวน โดยรัฐบาลจีนสนับสนุนทุนผ่านกองทุน China – ASEAN Maritime Cooperation Fund
    ————-

    ขอขอบคุณที่มา
    http://transbordernews.in.th/home/?p=17721
     

แชร์หน้านี้

Loading...