หัวใจของสติปัฏฐานสี่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สติจงมา, 11 พฤษภาคม 2017.

  1. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    สิ่งที่ท่านพูดถูกต้องเลยค่ะ การที่กระทำกรรมไปแล้วก็เนื่องจากไม่มีสติสัมปชัญญะ จิตไม่สงบจึงหลงไปกับผัสสะของบุคคลอื่น และหลงไปตามอุปนิสัยเดิมของตนเองที่แสดงไว้เป็นอาจิณที่เรียกว่าเป็นอุปนิสัย

    แต่จะมีใครสักกี่คนค่ะ ที่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นไม่ถูกต้อง ว่าสิ่งที่ทำนั้นให้ทุกข์โทษภัยต่อตนเองและคนอื่น. หากไม่ลดละนิสัย ยังกระทำเหมือนเดิม. ก็ดั่งโคทับล้อเกวียนเป็นวงกลมหมุนไปไม่สิ้นสุด. เมื่อนิสัยนี้ยังอยู่เป็นอุปนิสัย พอมีสิ่งใดมากระทบก็ต้องกระทำเหมือนเดิม ทุกข์อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จนกว่าจะละวางนิสัยอย่างนี้ได้

    การที่รู้ ในสิ่งที่ไม่รู้ คือ สุดยอดแห่งการรูั

    ขอยืมคำนี้ของท่านนิวรณ์หน่อยค่ะ. เพราะเคยอ่านโพสต์ของท่าน ว่านำมาจากพระ ไม่แน่ใจว่าเป็นหลวงพ่อพุทธ หรือหลวงปู่ดุลย์ แต่ที่จำไดัแม่นเพราะเราเป็นสภาวะนั้นอยู่ แต่ด้วยอดีตยังไม่ไดัฝึกสติสัมปชัญญะอย่างจริงจัง ยังไม่ดูจิต ศึกษาจิต พิจารณาจิต จึงไม่มียับยั้ง หลงไปในอารมณ์เกิดเป็นกรรมเสมอ

    แต่คนส่วนมากจะเป็นลักษณะที่ว่า สิ่งที่ตนทำนั้นถูกตัองแล้ว. มีไม่กี่คนที่จะยอมรับผิดกับสิ่งที่ตนทำเพราะมีทิฐิกับตัณหาเป็นสิ่งขวางกั้นอยู่ใช่ไหมค่ะ

    การระลึกได้ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นเป็นความผิด แสดงว่า ได้สั่งสม อโมหสัมปชัญญะไว้ในกาลก่อนหรือเปล่าค่ะ หรือ การฝึกสติปัฎฐานไว้มากแล้ว จึงทำให้สามารถระลึกรู้ได้ขณะที่ตนขาดสตินะค่ะ
    เป็นเพราะอะไร? ใครทราบบ้างค่ะ
     
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    เห็นปลายเหตุ คือ เห็นตัวอารมณ์ที่ทำให้เกิดกรรมไงค่ะ. เห็นแล้วจิตนิ่งอยู่ดูพิจารณาต่อไปอีกว่าเป็นอย่างไร? จึงรู้ว่า ในอารมณ์ที่เกิดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ ในอารมณ์นั้น มีทิฐิเห็นว่าอย่างไร? ผสมอยู่ในการเป็นอารมณ์ด้วยค่ะ แล้วการที่เราเกิดทุกข์เพราะมีกิเลสตัณหาตัวใดเป็นตัวประกอบไว้

    แล้วเคยดูจิตในลักษณะอีกแบบหนึ่งไหมค่ะ!!!!

    ในทิฐความเห็นที่เรารับจากสัมผัส. มันจะต้องมีทิฐนำทางก่อน แล้วตามด้วยตัณหาที่เป็นอนุสัยฝังไวั หากเรามีสติสัมปชัญญะ ตามทัน เราจะดึงมันให้หยุดนิ่งไวัไม่ไหลไปเป็นอารมณ์

    จึงน่าจะเข้าหลักการฝึกสติปัฏฐานสี่ ที่ว่าสักแต่ว่ารู้ท สักแต่ว่าระลึก แต่ทิฐิและตัณหาไม่อาศัยอยู่ได้นะค่ะ
     
  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ตรงนี้ท่านอาจจะยังนึกไม่ถึงก็ได้ค่ะ

    สติธรรม นำสติเดิน สร้างนิสัยธรรมใหม่

    มรรคมีองค์ 8. มรรคสมังคี รวมกันเป็นหนึ่ง...

    สัมมาวายาโม มีไว้เพื่ออะไรค่ะ?

    สัมมาทิฐิ เห็นอย่างไรก็คิดอย่างนั้น คิดอย่างไรก็คิดไปตามที่เห็น. เห็นตามที่คิด คิดตามที่เห็น แล้วจึงมีความปราถนาดำริตามที่เห็น

    ความสงบนิ่งของจิตใจไม่สั่นกระเพื่อมหวั่นไหวไปตามแรงดึงของกิเลสตนเองและของผู้อื่นด้วยการมีสติสัมปชัญญะ ทำให้เราแสดงออกทางกายและวาจาที่สุจริต พร้อมกับการใช้ชีวิตที่สุจริตไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือกรรม ไม่มีกรรมก็ไม่ต้องนำมาเกิด สัมมาวายาโม. จึงเป็นบทตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติตามมรรคค่ะ
     
  4. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,420
    ค่าพลัง:
    +3,195
    จาน จำคุณปุณฑ์ สมาชิกเว็บพลังจิตเราได้ไหมค่ะ?

    http://palungjit.org/threads/จิต-ใจ-มโน-มันมาจากไหนครับ-เมื่อขันธ์5-มีแค่.611782/page-9#post-10402013

    แล้วจากที่ตนเองโพสต์ในกระทู้ข้างบนนั้น ที่ว่าเกิดสมาธิแนวดิ่งผ่านคลื่นการสั่นสะเทือนลงไปขณะชั่วลัดมือเดียวไปเจอคำตอบของสัจธรรมที่ไม่อาจปฏิเสธได้

    คูณปุณฑ์ นำสภาวะนี้มาลงไว้ในโพสต์ที่ตนเองเคยลงไว้ครั้งหนึ่งในกระทู้ใดจำไม่ได้ คูณปุณฑ์นำมาจากพระไตรปิฏกอธิบายภาษาธรรมว่า...

    เป็นลักษณะ "อาสวักขยญาณ"

    ซึ่งตนเองตอนนั้นอ่านผ่านไปเฉยๆ

    และดันไปเจอขัอความใครก็ไม่รู้ว่า โสดาบันต้องได้อาสวักขยญาณ

    ก็เลยงง!!! เป็นไก่ตาแตกว่าใช่หรือ!! ไม่น่าจะใช่นะ

    นับตั้งแต่บัดนั้นมาก็สงสัยตนเอง.

    แต่ที่มั่นใจว่าไม่ใช่เพื่อจะยืนยันจากคนอื่นด้วย. เพราะเรารู้ว่าติดอะไรอยู่ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...