หูทิพย์ - ตาทิพย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Boomsc, 5 สิงหาคม 2011.

  1. Boomsc

    Boomsc Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +27
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> หูทิพย์ - ตาทิพย์ ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๑)


    การ ฟังธรรมะ ณ วันนี้ ที่ผมจะได้นำธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเล่าสู่ฟัง ตามสมควรแก่เวลา เรื่องที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันอยู่มานานแล้ว บางคนอาจเข้าใจ บางคนอาจไม่เข้าใจ เพราะสติปัญญาของคนนั้น มันตื้นลึกและหนาบางไม่เหมือนกัน ท่าน--พระพุทธเจ้าจึงได้เปรียบเอาไว้ คนทุกคนเกิดมาแล้ว ก็มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน

    ท่านอุปมาว่า เหมือน กับดอกบัว บัวสี่เหล่า เหล่าหนึ่งนั้นก็พ้นน้ำมามากแล้ว คอยแสงพระอาทิตย์โผล่ออกมา ก็บานได้ทันที เหล่าที่สองก็พ้นน้ำขึ้นมา กำลังตั้งซ้อ (ช่อ) หรือตั้งกะสร (เกสร) เตรียมตัวจะบานได้อยู่เหมือนกัน แต่แสงพระอาทิตย์หรือแสงตะเว็น ออกมาหลายมื้อหลายวัน ก็สามารถบานได้เหมือนกันกับดอกที่หนึ่ง

    ดอกที่สาม กำลังเจือน้ำ หรือปนน้ำอยู่ หรืออยู่ในน้ำ แต่พ้นน้ำขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อแสงพระอาทิตย์หรือแสงตะเว็นออกมามาก น้ำก็ลดลงไป ดอกบัวดอกนี้ก็สามารถที่จะบานได้เหมือนกัน เหล่าที่สี่นั้น ยังจมอยู่ในตมหรืออยู่ในน้ำ ยังเป็นอาหารของสัตว์ ปู ปลา เต่า ที่กำลังเสาะแสวงหาเป็นอาหารนั้น สามารถที่จะบานได้ หรือบางทีไม่สามารถที่จะบานได้ เพราะยังเป็นอาหารของสัตว์อื่นอยู่ ปัญญาของพวกคนเราทั้งหลาย ก็เหมือนกัน


    ดังนั้น ที่เรามา ณ สถานที่นี่ เรียกว่า มาเจริญสติ มาเจริญสมาธิ หรือมาเจริญปัญญา คำว่าเจริญก็แปลว่า ทำให้มาก หรือทำให้ก้าวหน้านั่นเอง พวกเรามาที่นี่ เรียกว่า คนถูกคัดเลือกกลั่นกรองมาแล้ว จึงมาได้ เมื่อไม่มีศรัทธาจริงๆ ก็มาไม่ได้ ที่เรามา ณ สถานที่นี้ ก็เรียกว่าเรามีศรัทธา หรือมีความสามารถจะมาประพฤติปฏิบัติ

    พระพุทธเจ้านั้น ท่านมีญาณ สามารถมองเห็นอะไรได้ต่างๆ คือ เข้าฌานเรียกว่า ญาณ นั่นเอง

    ดังนั้น เราก็ต้องมีญาณเหมือนกัน หรือเข้าฌานเหมือนกันกับอย่างพระพุทธเจ้า
    แต่เมื่อไม่เหมือนหรือไม่.....เหมือนก็ให้คล้ายคือกัน ให้ได้เล็กๆ น้อยๆ ตามสมควรแก่เวลาที่มาในที่นี่

    คำว่าญาณ ก็แปลว่า รู้ รู้แจ้ง เห็นจริง เข้าใจจริง เรียกว่า ญาณ แต่ คนส่วนมาก...(คิดว่า) ไม่มีหูทิพย์ ไม่มีตาทิพย์ เหมือนกันกับพระพุทธเจ้า ญาณก็เรียกว่า เหาะ แน่ะ เข้า ก็เรียกว่าเข้าไปนั่งหลับตา หรือนั่งอยู่ในถ้ำ นั่งแข็งทื่ออยู่อย่างนั้น อันนั้นก็จริง จริงอยู่กับบุคคลผู้ที่ยังไม่มีหูทิพย์ ยังไม่มีตาทิพย์ หรือยังไม่มีญาณอย่างพระพุทธเจ้า นั่นเอง

    เมื่อคนใดมีหูทิพย์ มีตาทิพย์ และมีญาณเหมือนกันกับพระพุทธเจ้า ก็ต้องรู้ว่า คำ ว่า เข้า-เข้าฌาน หรือญาณ นั้นก็แปลว่า เข้าไปคือมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เจาะเข้าไปที่ตัวชีวิตจิตใจ เรียกว่า เข้า ญาณก็แปลว่า เห็น เมื่อเห็น เมื่อรู้ เมื่อเข้าใจอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ฌาน คลุกคลีอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่จะไปนั่งแข็งทื่อ เข้าไปนั่งอยู่อย่างที่คนไม่มีหูทิพย์ ไม่มีตาทิพย์นั้น

    หูทิพย์ ก็หมายถึง ฟังคำพูดหรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดสติปัญญา สามารถมองเห็นได้ เรียกว่า หูทิพย์
    ตา ทิพย์ คือเห็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ฟังแล้วเข้าใจ อย่างที่ว่าเข้าฌานเนี่ยะ เข้า ก็แปลว่าเข้ามาทำธุระ ทำกิจ หน้าที่ของตัวเอง จะไปไหนมาไหน ก็เข้าฌานได้ ทำการทำงาน ก็เข้าฌานได้ ฌานก็แปลว่ารู้

    วิญญาณ แปลว่ารู้ คือรู้นั่นเอง ทำการทำงานก็รู้ รู้การรู้งาน เรียกว่า เข้าฌาน ถ้าหากเราเข้าใจอย่างนี้เหมือนกันกับพระพุทธเจ้าแล้ว ทำการทำงานอะไรก็เข้าฌานทำทั้งนั้น หรือคลุกคลีอยู่กับสิ่งเหล่านั้น มองเห็นสิ่งเหล่านั้น ไม่ให้มีความหลงผิดเกิดขึ้นภายในจิตใจ อันนี้ เรียกว่า เข้าฌาน คือ เข้าไปตั้ง ตั้งกายให้ตรง ปลงสติให้มั่น ตั้งสติให้มั่น ท่านสอน คือตั้งกายตรง ปลงจิตไว้ หรือให้มีสติมั่นคง เห็นอยู่ รู้อยู่ เข้าใจอยู่ อันนี้เรียกว่า เราได้เห็น ได้รู้ ได้เข้าใจ ได้ประพฤติปฏิบัติตามแบบฉบับ หรือของพระพุทธเจ้านั่นเอง

    คำว่า ฌาน ก็หมายถึงคลุกคลี คลุกคลีอยู่กับอะไร คลุกคลีอยู่กับตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญา มองเห็นความหลงผิด มองเห็นความโลภ มองเห็นความโกรธ ความหลงผิด ความโกรธ ความโลภนี้ มันเป็นพญามาร มันเป็นโจร มันคอยแย่งชิงเอาบัลลังก์ หรือเอาสถานที่ที่ตั้งของสติ เราไม่ยอมให้มันเข้ามาได้อย่างนี้ เรียกว่า เราเห็น เรารู้ เราเข้าใจ เรามีหูทิพย์ มีตาทิพย์ มีญาณ

    อันนี้ เรียกว่าเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า หรือเป็นวิสัยของพระสาวกของพระพุทธเจ้า อย่างน้อยที่สุดก็เรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้กระแสพระนิพพาน นั่นเอง



    มีต่อ



    Credit http://buddhadham.zzl.org
     
  2. Boomsc

    Boomsc Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +27
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> หูทิพย์ - ตาทิพย์ ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๒)

    นิพพาน ในที่นี่ ไม่ได้หมายถึงว่าตายแล้ว จึงจะเอา แต่คนผู้ไม่มีหูทิพย์ ไม่มีตาทิพย์ ก็ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล อะไรๆ ทั้งหมดนั่นแหละ เรียกว่า ตายแล้วจึงเอาสวรรค์ ตายแล้วจึงเอานิพพาน อันนั้นเข้าใจน้อย ยังไม่มีหูทิพย์ ยังไม่มีตาทิพย์ เป็นการคาดฝัน นึกเดาเอาเอง

    ถ้าคน มีหูทิพย์ มีตาทิพย์ ทำบุญวันนี้ ต้องรู้จักว่า บุญวันนี้ ให้ทานวันนี้ ก็ต้องรู้จักว่า บุญ-ทานวันนี้ รักษาศีลวันนี้ ก็ต้องรู้จักว่า ศีลวันนี้ เจริญสมถะกรรมฐานหรือเจริญวิปัสสนาวันนี้ ก็ต้องรู้จักวันนี้ ไม่ต้องรอคอยต่อเมื่อตาย หรือหลังจากการตายแล้ว จึงจะไปสวรรค์ ไปนิพพาน ไม่ต้องรอคอยอย่างนั้น เราต้องเอาในขณะนี้ ที่กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดอยู่ที่นี่

    พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า อดีต อนาคต นั้น ยังไม่ต้องคำนึงคำนวณ ต้องคำนึงคำนวณแต่เฉพาะที่กำลังมีอยู่ เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านสอนอย่างนี้

    ดังนั้น สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ พระนิพพานก็อยู่ที่ใจ นี่ คนโบราณท่านสอนเอาไว้อย่างนั้น

    เดี๋ยว นี้เราไปฟังเอาตั้งแต่คำของคนโบราณ เราไม่ได้หาด้วยฝีไม้ลายมือของเรา เราก็เลยไม่มีดี เมื่อเราไม่มีดีแล้ว จะเอาอะไรมาพูด-ไม่ได้ เราก็พูดกับตำรับตำราไปอย่างนั้นแหละ เพราะทรงจำมาจากคำพูดของคนอื่น ไม่ได้เกิดมาจากจิตจากใจของเรา จึงไม่สามารถ ไม่รับรองคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อไม่สามารถ ไม่รับรองคำสอนของพระพุทธเจ้า จะถือว่าเราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้มั้ย จะถือว่าเราเป็นชาวพุทธได้มั้ย แต่เป็นได้เพราะสำมะโนครัวพูดเท่านั้น แต่ตัวจริงแล้ว ไม่-ไม่อย่างนั้น คนที่ถือศาสนาพุทธ หรือเชื่อฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ แล้ว ต้องสามารถรับรองคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ

    เราเคยพูดกันบ่อยๆ ว่า เมื่อมีความจำเป็น เจ็บไข้ได้ป่วย เจ็บหัวปวดท้อง ว่า เสียสละทรัพย์ เพราะรักษาอวัยวะ นี่ เพราะเราไม่ต้องการอยากให้มีความเจ็บไข้ได้ป่วย เรามีทรัพย์สมบัติมาแล้ว หรือมีเงินมีทองมาแล้ว ต้องไปจ้างหมอ เมื่อหมอมาตรวจดูสภาพร่างกายของเรา สิ่งนั้นไม่ดี สิ่งนั้นมันไม่ดี มันเป็นเนื้อร้าย ต้องตัดทิ้ง ถ้าไม่ตัดทิ้งแล้ว เราจะตาย เราต้องเชื่อฟังคำหมอ ต้องยอมเสียสละเนื้อร้ายออกไปได้ ให้หมอตัดออกไปได้ เนื้อร้ายที่มันไม่เป็นตะเอา มันจะนำพิษหรือนำอันตรายมาสู่ชีวิตของเรา เราต้องตัดทิ้ง เพราะเราฟังคำหมอ บัดนี้ หมอพูดว่า ตัดทิ้งได้อย่างนั้นล่ะ

    บัด นี้ เสียสละทรัพย์ เพราะรักษาร่างกาย อวัยวะของเราไว้ได้ ยอมเสียสละอวัยวะร่างกายของเรา เพราะเรารักษาชีวิต ชีวิตเราก็อยู่ได้บัดนี้

    บัดนี้ ยอม เสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพราะรักษาสัจจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะตายก็จำเป็น ขอให้คำสอนของพระพุทธเจ้าน่ะแหละ กลับคืนเข้ามาสู่จิตใจของคน อันนี้ เรียกว่า เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า หรือเป็นชาวพุทธจริงๆ จึงจะเป็นผู้เสียสละ กล้ายืนยันรับรองคำสอนของพระพุทธเจ้าจริง ๆ

    เมื่อเรากล้าจริงๆ อย่างนั้น เราต้องสามารถพูดได้อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ไปแล้วว่า เสมือนว่า ของ ที่คว่ำ พระองค์ก็หงายขึ้นให้คนดู ของที่ปิด พระองค์ก็มายเกลียวออกเปิดให้คนดูได้ ดังนั้น เราเป็นชาวพุทธ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จึงมีหูทิพย์ มีตาทิพย์ เข้าใจเหมือนกันกับพระพุทธเจ้า

    ดังนั้น เรื่องสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจนั้น พระนิพพานก็อยู่ที่ใจนี่ คำว่าสวรรค์นั้น อยู่ในอก ในอกก็อยู่ที่เรานี่เอง ในขณะใด เรามีตา สวรรค์ ๖ ชั้น

    ขอเล่าเรื่อง สวรรค์ ๖ ชั้นให้ฟัง ตาเห็นรูปสวย รูปงามนี่ สวรรค์ชั้นที่ ๑ สวรรค์ชั้นที่ ๒ รองลงมา หูฟังเสียงเพราะ นี่ นี่ก็เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง จมูกดมกลิ่น หอม มันเพราะดี นี่ นี่ก็เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง ลิ้นได้รส เรารับประทานอาหาร อร่อยดี นี่ก็เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง กายถูกสัมผัสที่อ่อนนุ่ม เราพอใจ นี่ก็เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง จิตใจคิดสนุก หรือความพอใจในสิ่งที่ไม่ผิดศีลไม่ผิดธรรม นั้นก็เป็นสวรรค์ขึ้นมาชั้นหนึ่ง เรียกว่า สวรรค์หกชั้น มันไม่ได้เป็นชั้นอยู่ที่บนฟ้า คือ มันอยู่ที่เรา นี้เรียกว่าสวรรค์หกชั้น

    นรก ก็อยู่ที่ตรงนี้ คือ เรามีตาเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่พอใจ เคียดแค้น เดือดดาล ยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวว่าตน โกรธเคือง แน่ะ ทุกข์แล้ว ตกนรกแล้ว

    ดังนั้น หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกสัมผัส อะไรก็ตาม รวมความแล้ว มาลงอยู่ที่จิตใจ มาลงอยู่ที่จิตใจ

    มัน ต้องมองให้มันทะลุเข้าไปถึงจิตใจ เมื่อเรามองทะลุเข้าไปถึงจิตใจแล้ว นั่นแหละ เราเห็นนรก เห็นสวรรค์ได้จริงๆ นิพพานเล่าบัดนี้ นิพพานนั้นคือความปกติ คนมีศีล มีธรรม มีศีล มีธรรม ศีลหมายถึงอะไร ไม่ใช่ปาณาฯ อทินนาฯ กาเมฯ มุสาฯ สุราฯ ศีลห้าเรานี้ อันนั้นเป็นสังคม เป็นสังคม ศีลแปดก็ต่อไป ศีลสิบก็ต่อไป อันนั้นเป็นสังคม

    ศีล กำจัดกิเลสอย่างหยาบ สมาธิกำจัดกิเลสอย่างกลาง ปัญญากำจัดกิเลสอย่างละเอียด

    นี่ มีศีล มีธรรมอันนี้ ตอนนี้ฟังให้ดี และก็จดจำให้ได้ นำไปประพฤติปฏิบัติให้มันแน่นอนลงไปเหมือนกันกับที่พระพุทธเจ้าท่านปฏิบัติ นั้น เรียกว่า ที่ผมจะนำมาเล่านี้ เสมอเหมือนว่า หงายของที่คว่ำ และเปิดของที่ปิด ให้พวกเราทั้งหลายได้ยินได้ฟัง ศีล ก็หมายถึงปกติ คือปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจนี่เอง เรียกว่า มีศีล

    สมาธิกำจัดกิเลสอย่างกลาง สมาธิก็หมายถึง จะทำ จะพูด จะคิดอะไร ต้องเห็น ต้องรู้ มีสติ

    ปัญญากำจัดกิเลสอย่างสะเอียด ก็สามารถมองเห็นทะลุปรุโปร่งได้ทุกสิ่งทุกอย่าง

    อัน นี้เรียกว่า คนมีหูทิพย์ มีตาทิพย์ เราอาจจะไม่ได้ฟังโดยเป็นนิยาย คนแต่ก่อนสอนลูกหลานเป็นนิยาย เป็นปริศนา ให้คิดเอาเอง แต่คนไม่คิด เลยไม่เข้าใจ ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา เกิดมาจากจิตจากใจของเรา ก็เลยไปจำเอาคำที่ผิดๆ แต่ไม่ผิด จำแล้วไม่รู้ความหมาย

    คือ มีนิทานเรื่องหนึ่งที่จะนำมาเล่าให้เพื่อนภิกษุสามเณร และญาติโยมฟัง แล้วเอาไปใช้ ไปตีปัญหาหรือพิจารณาความจริงได้

    คนโบราณท่านเล่าเป็นนิทานเรื่องหนึ่ง เคยได้ยินได้ฟังว่า

    สอง พี่น้องหรือเพื่อนสองคน ไปด้วยกันว่า ไปนอนในดง หรือในป่า คนสองคนก็ไปนอนในดงในป่า หรือพี่กับน้องก็ได้ หรือจะพูดยังไงก็ได้ เรียกว่าสองคน แต่ไม่รักกัน ก็มีเสือตัวหนึ่งมันเดินมา มันว่า... คนบุญนี้ แขวนคออยู่ก็ไม่อยาก คนบาปนี้แขวนฟ้าอยู่ก็สิกิน... เสือพูดอย่างนั้น คนที่เป็นพี่หรือเป็นคนฉลาดนั้น ได้ยินเสียงเสือพูดมาอย่างนั้น ก็กลัว ก็กลัว ก็ปีนป่ายขึ้นไปอยู่ที่บนต้นไม้ หรือไปหาที่หลบหลีกดีๆ ว่าอย่างเงี้ยะ แต่คนที่เป็นปกติ คือนอนหลับ ไม่ต้องกลัวอะไรแหละ นอนหลับสบายๆ อยู่ เสือมันก็พูดมา คนบุญนี้แขวนคอก็ไม่อยาก หรือบ่อยาก ว่าอย่างนี้ คนบาปนี้แขวนฟ้าก็สิกิน ว่าอย่างนี้

    ดังนั้น คนบุญเนี่ยะมันไม่อยากได้ของใคร ว่าอย่างนี้ก็ได้ คือไม่อยากได้ของใคร ยินดีเฉพาะของที่ตัวเรามีอยู่ เช่น มีเงินมีทอง ก็ยินดีพอใจในของเรา หรือมีพริกเขือ เกลือปลาร้า ก็ยินดีเฉพาะของเรามีอยู่ หรือบ้านเรือนของเราก็ยินดีเฉพาะของเรานี่เอง หรือสามีภรรยา ก็ยินดีของเรา ยินดีสามีภรรยาของเรา นี่เรียกว่าคนบุญ เรียกว่ามีศีล คนบุญต้องมีศีล

    คน บาปเล่าบัดนี่ ตรงข้าม ไม่มีศีลเสียแล้ว เห็นของคนอื่น ก็อยากได้ อยากเอา ดังนั้น คนบาปจึงลัก ปล้น จี้ ขโมย อิจฉาริษยาของคนนั้นคนนี้ นี่ เช่น เห็นมะเขือเกลือปลาร้า พริกหรือแตงโม อะไรเหล่านี้ เห็นของคนนั้นก็เอา ของคนนี้ก็เอา เกลือก็เค็ม น้ำอ้อยน้ำตาลก็หวาน ถ้าเป็นของคนอื่นแล้ว นี่ คนบาปมันต้องทำอย่างนี้ เสือก็กิน แม้ขึ้นปีนป่ายตก... เอ้อ... ปีนป่ายอยู่บนต้นไม้ก็หล่นลงมา หล่นลงมา เสือก็กิน หรือไปนอนอยู่ที่เงียบสงัด หรือหาที่กำแพงกั้นบังอะไรก็ เสือก็เจาะเข้าไปกินได้ เพราะบาปเกิดขึ้นภายในจิตใจ มันไม่มีศีล มันไม่มีธรรม คือไม่มีความละอายนั่นเอง อยากทำ อยากพูด อยากคิดอะไรก็ทำไป พูดไป คิดไป อันนี้เรียกว่า คนบาป

    ดังนั้น คำของคนโบราณพูดมาเป็นนิทมนิทานก็ตาม เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาขบคิด ให้มองเห็นทะลุปรุโปร่งออกมาได้ เรียกว่า มีหูทิพย์ มีตาทิพย์ มีญาณ นี่

    มี ญาณสามารถมองเห็นได้ เข้าไปซาบซึ้งกับคำพูดนั้นๆ ได้ ถอดออกมาเป็นใจความได้ตามภาษาของคนสมัยใหม่ ดังนั้น คนสมัยโบราณนั้น ไม่มีการศึกษาเล่าเรียน แต่เพียงได้ยินได้ฟังปู่ย่าตายายพูดให้ฟัง ก็ถามเจาะลงไป คำๆ นี้ พูดอย่างนั้น มีความหมายยังไง ต้องถามให้รู้ ให้เข้าใจ ไม่เหมือนคนสมัยนี้ คนสมัยนี้ฟังแล้ว ไม่ถูกใจนี่ ไม่ถูกใจ แต่มันถูกใจจนฟังไม่ได้ ไม่ถูกหู นี่ มันถูกหูจนฟังไม่ได้ ดูไม่ได้ ฟังไม่ได้ เพราะพูดเรื่องศีลเรื่องธรรมให้ฟัง ไม่สนใจ เพราะความบาปครอบงำอยู่จิตใจ คือ โมหะ โทสะ โลภะ แน่นทับอยู่ภายในจิตใจของบุคคลผู้เช่นนั้น...
     

แชร์หน้านี้

Loading...