....ห้องกวีเอก....

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย นิตยา11, 17 พฤษภาคม 2013.

  1. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    เชิญร่วมแชร์ผลงานและแรงบันดาลใจในบทกวีต่างๆ ค่ะ
    ขอเริ่มจากท่านศรีปราชญ์ กวีเอกของเมืองไทยที่อยู่ในใจคนไทยมาช้านาน

    (ที่มา : ธรณีนี่นี้ เป็นพยานเราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง จากศรีปราชญ์ เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช | MThai Webboard)

    100079-02.jpg

    ธรณีนี่นี้ เป็นพยานเราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง จากศรีปราชญ์ เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช

    ชอบมากๆ เลยค่ะ
     
  2. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    ศรีปราชญ์ เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เขาเข้ารับราชการตั้งแต่มีอายุได้เพียง 9 ขวบ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงกลายเป็นกวีเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่สุดท้ายด้วยความสามารถของศรีปราชญ์ที่เด่นเกินหน้าเกินตาใครๆ พร้อมนิสัยเจ้าชู้ไม่ดูตาม้าตาเรือ จนกระทั่งทำให้ศรีปราชญ์มีจุดจบที่น่าสะเทือนใจที่สุดคือ การถูกสั่งให้ประหารชีวิต

    ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งความเจริญยุคหนึ่งที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีชาวตะวันตกเข้ามารับราชการเป็นขุนนางในราชสำนักหลายคน และบ้านเมืองในเวลานั้นก็ค่อนข้างสงบสุขร่มเย็น เมื่อบ้านเมืองเป็นเช่นนี้ก็ทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข และด้วยนิสัยดั้งเดิมของคนไทยที่ชอบร้องรำทำเพลง เจ้าบทเจ้ากลอน เมื่อไม่มีความกดดันจากสงครามกับข้าศึกศัตรูภายนอก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดอารมณ์สุนทรียะ ทำให้ยุคนั้นเป็น “ยุคทองของวรรณคดี” เพราะประชาชนคนส่วนใหญ่สนใจในวรรณคดี มีบทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เกิดขึ้นมากมาย

    สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงสนพระราชหฤทัยในวรรณคดีเช่นเดียวกัน พระองค์นั้นโปรดการแต่งโคลงกลอนมาก วันหนึ่งทรงแต่งโคลงสี่สุภาพขึ้นมาบทหนึ่ง คือ

    อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย

    ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย ลอบกล้ำ
     
  3. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงนี้ได้เพียง 2 บาท หรือสองบรรทัดเท่านั้น ก็ทรงติดขัด ถึงทรงแต่งต่ออย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชทานแผ่นกระดานชนวนที่ทรงแต่งบทโคลงนั้นให้แก่พระยาโหราธิบดี หรือพระยาราชครู ซึ่งเป็นบิดาของ ศรีปราชญ์ เพื่อนำไปแต่งต่อให้จบ พระยาโหราธิบดีนอกจากจะมีความสามารถในด้านการพยากรณ์แล้ว ยังมีความรู้ความสามารถอื่นๆ อีกรอบด้าน โดยเฉพาะความสามารถในด้านการแต่งโคลงกลอน ถือเป็นมือหนึ่งในยุคนั้นเลยทีเดียว และเมื่อรับแผ่นกระดานชนวนที่มีบทโคลงที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งค้างเอาไว้แล้ว ก็พิจารณาจะแต่งต่อให้เดี๋ยวนั้น แต่ก็ไม่สามารถจะแต่งต่อได้ จึงขอพระราชทาน เอาไว้แต่งต่อที่บ้าน ซึ่งพระองค์ก็ทรงไม่ขัดข้อง

    พระยาโหราธิบดีจึงนำกระดานชนวนนั้นกลับมาที่บ้าน แต่ก็ยังไม่สามารถแต่งต่อได้เช่นกัน เล่ากันว่าเมื่อพระยาโหราธิบดีกลับไปถึงบ้านก็นำแผ่นกระดานชนวนนั้นไปไว้ในห้องพระด้วยเป็นของสูง จากนั้นก็ไปอาบน้ำจนกระทั่งบุตรชายวัย 9 ขวบ ชื่อ ศรี ได้เข้ามาในห้องพระเพื่อเข้ามาหาผู้เป็นบิดา และพบกระดานชนวนนั้น ด้วยความซุกซนและเฉลียวฉลาด เจ้าศรีเลยเอาดินสอพองมาเขียนแต่งต่ออีก 2 บาท ต่อจากที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งค้างเอาไว้ ว่า

    ผิวชนแต่จะกราย ยังยาก

    ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อ เรียมสงวน


    ความหมายของโคลงบทนี้ที่เจ้าศรีแต่งต่อมีอยู่ว่า “คงไม่มีผู้ใดในแผ่นดินนี้ที่จะอาจสามารถเข้าไป ย่างกรายนางได้ง่าย และจะบังอาจไปทำให้แก้มของนวลนางอันเป็นที่รักและหวงแหนต้องชอกช้ำไปได้”
     
  4. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    เมื่อเสร็จจากการอาบน้ำ พระยาโหราธิบดีก็ กลับมายังห้องพระและพบว่าบุตรชายของตนได้มาแต่งต่อ พออ่านดูแล้วจึงรู้สึกชอบใจ วันรุ่งขึ้นพระยาโหราธิบดีจึงนำโคลงบทนี้ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จ พระนารายณ์ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก พระองค์จึงทรงเรียกตัวเด็กชายศรีเข้ารับราชการ แต่ด้วยความที่เจ้าศรียังเป็นเด็ก พระยาโหราธิบดีจึง กราบบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์ขอให้บุตรชายของตนเจริญวัยขึ้นมาก่อน เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว ตนจะนำบุตรชายมาถวายตัวรับใช้เบื้องพระยุคลบาท

    ด้วยความที่พระยาโหราธิบดีมีความสามารถ ในการพยากรณ์ และได้ทำการทำนายทายทักดวงชะตาให้บุตรชายตนแล้วพบว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา และทำการประวิงเวลาที่จะให้บุตรชายถวายตัวเข้ารับราชการเรื่อยมา

    จนกระทั่งเจ้าศรีมีอายุได้ 15 ปี และเรียนรู้สรรพวิทยาการต่างๆ จากผู้เป็นพ่อจนหมดสิ้นแล้ว พระยาโหราธิบดีจึงได้ถามความสมัครใจของบุตรชายว่าอยากจะเข้าไปรับราชการในวังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง พระยาโหราธิบดีจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีก แต่ก่อนที่จะนำเจ้าศรีบุตรชายเข้าถวายตัวนั้น พระยาโหราธิบดีได้ขอพระราชทานคำสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ 1 ข้อ คือ หากว่าเมื่อเจ้าศรีรับราชการแล้ว และหากกาลภายภาคหน้าได้กระทำความผิดใดๆ ที่ไม่ใช่ความผิดต่อราชบัลลังก์ ขอให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงละเว้นโทษประหารชีวิต ขอเพียงแต่ให้เนรเทศไปให้พ้นจากเมืองเสีย ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงพระราชทานสัญญานั้น

    เมื่อเจ้าศรีเข้าถวายตัวรับราชการแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้เจ้าศรีอยู่ในตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิดพระองค์ เมื่อเสด็จไปไหนก็ทรงให้เจ้าศรีติดตามไปด้วยทุกหนทุกแห่ง
     
  5. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงนึกสนุกอยากที่จะให้ความสามารถของเจ้าศรีเป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคน พระองค์จึงทรงแต่งโคลงกลอน ขึ้นมาบทหนึ่ง แล้วให้บรรดาเหล่าข้าราชบริพารตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายที่เข้าเฝ้าฯ ณ ที่นั้น ช่วยกันแต่งต่อ เพื่อประชันความสามารถกัน แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดแต่งโคลงกลอนได้ดีและ ถูกพระราชหฤทัยพระองค์เทียบเท่ากับของเจ้าศรี สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงให้บำเหน็จด้วยการพระราชทานพระธำมรงค์ให้และตรัสว่า

    “เจ้าศรี เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ ณ บัดนี้เถิด”

    นับแต่นั้นเป็นต้นมา คนทั่วไปจึงเรียกเจ้าศรีว่า “ศรีปราชญ์” สืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

    ศรีปราชญ์ได้รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอยู่หลายปี จนกระทั่งเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และด้วยนิสัยเจ้าชู้ตามอารมณ์ของกวี บวกกับความคึกคะนอง และถือตัวว่าเป็นคนโปรดของพระนารายณ์ จึงทำให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับติดคุกหลายครั้ง ด้วยมักไปทำรุ่มร่ามแต่งโคลงเกี้ยวพาราสีบรรดาสาวใช้ในวัง แต่พอพ้นโทษมาก็ไม่เข็ดหลาบ มีอยู่ครั้งหนึ่งศรีปราชญ์อาจกล้าถึงขั้นไปเกี้ยวพาราสีพระสนมเอกคือท้าวศรีจุฬาลักษณ์เข้าให้ โดยแต่งโคลงเพลงยาว

    เนื่องจากศรีปราชญ์เจ้าชู้ และอยู่ในรั้วในวังมา ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงมีโอกาสเข้านอกออกในได้ใกล้ชิดเป็นพิเศษ และเนื่องจากความมีชื่อเสียงของศรีปราชญ์เป็นที่รู้จักกันทั่ว จึงไม่เป็นการประหลาดอะไรเลยที่ศรีปราชญ์จะล่วงเกินพระสนมเอกผู้มีตำแหน่งเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ความทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์กริ้วมาก ถึงกับจะสั่งประหารชีวิต แต่ด้วยสัญญาที่พระราชทานไว้จึงทำได้เพียงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช
     
  6. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    ในระหว่างการเนรเทศเดินทางไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงกลอนที่เรียกว่า “กำสรวลศรีปราชญ์” ขึ้น โดยบรรยายถึงความรู้สึกที่ต้องพลัดพรากจากบิดามารดามา อีกทั้งบ้านเรือนที่สุขสบาย องค์พระนารายณ์เจ้าชีวิต ตลอดจนนาง อันเป็นที่รัก โคลงบทหนึ่งในนิราศนรินทร์กล่าวไว้ว่า

    กำสรวลศรีปราชญ์พร้อง เพรงกาล

    จากจุฬาลักษณ์ลาญ สวาทแล้ว

    ทวาทศมาสสาร สามเทวษ ถวิลแฮ

    ยกทัดกลางเกศแก้ว กึ่งร้อนทรวงเรียม

    และเมื่อเดินทางไปถึงเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ให้อยู่รับราชการด้วยกัน เพราะถึงอย่างไร ศรีปราชญ์นั้นแม้จะถูกเนรเทศ แต่ก็ไม่ได้ถูกปลดจากตำแหน่งหรือลดศักดินาแต่อย่างใด เมื่ออยู่สุขสบาย นิสัยเจ้าชู้ปากเสียบวกกับอารมณ์กวีนักรัก ก็ชักพาให้ศรีปราชญ์ต้องโทษถึงกับประหารชีวิต ด้วยไปเกี้ยวพาราสีอนุภรรยาคนโปรดของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเข้าให้

    ที่เมืองนครศรีธรรมราชมีตำนานพื้นบ้านของสถานที่แห่งหนึ่งเรียกกันสืบมาว่า สระล้างดาบศรีปราชญ์ บ้างว่าอยู่บริเวณหลังจวนเจ้าเมืองเก่า บ้าง ก็ว่าอยู่ในบริเวณโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เรื่องเล่าเกี่ยวกับสระล้างดาบศรีปราชญ์นี้มีความ สัมพันธ์กับเค้าเรื่องของกวีศรีปราชญ์ ที่ทำความผิด กฎมณเทียรบาล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณลดหย่อน ผ่อนโทษเนรเทศไปอยู่ที่หัวเมืองไกลถึงนครศรีธรรมราช เชื่อกันว่าอาจเป็นที่มาของวรรณคดีนิราศโบราณโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ หรือนิราศเมืองนครศรีธรรมราช
     
  7. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    [​IMG]

    กล่าวกันว่า ต่อมาศรีปราชญ์ทำความผิดซ้ำอีก จนถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชตัดสินถึงขั้นประหารชีวิตแล้วนำดาบมาล้างน้ำ ณ สระแห่งนี้ โดยในลานประหารที่เป็นเนินดินปนทราย ก่อนที่เพชฆาตจะลงดาบ ศรีปราชญ์ได้ใช้หัวแม่เท้าเขียนบทโคลงสี่สุภาพลงบนพื้น ใจความว่า

    ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน

    เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง

    เราผิดท่านประหาร เราชอบ

    เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง

    และหลังจากที่ศรีปราชญ์ตาย อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงกลอนติดขัดหาคน แต่งต่อให้ถูกพระราชหฤทัยไม่ได้ ก็ทรงระลึกถึงศรีปราชญ์ ก็ตรัสสั่งให้มีหนังสือเรียกตัวกลับ เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ตอนนี้ศรีปราชญ์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว ด้วยต้องโทษประหารจากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ก็ทรงพระพิโรธ ตรัสว่า

    “อ้ายพระยานครศรีฯ มันถือดีอย่างไร ที่บังอาจสั่งประหารคนในปกครองของกูโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดของอ้ายศรีนั้น ขนาดมันล่วงเกินกูในทำนองเดียวกัน กูยังไว้ชีวิตมันเลย ไม่ได้การไอ้คนพรรค์นี้ เอาไว้ไม่ได้”

    ว่าแล้วก็ตรัสสั่งให้นำเจ้าพระยานครศรีฯ ไปประหารชีวิต ด้วยดาบเล่มเดียวกันกับที่ประหารศรีปราชญ์นั่นเอง เรื่องราวของศรีปราชญ์จึงกลายมาเป็นตำนานและอุทาหรณ์เตือนใจเรา
     
  8. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอก เป็นต้นแบบของกวีของไทย

    นางนพมาศ
    เป็นกวีหญิงไทยคนแรก สมัยสุโขทัย ผู้แต่ง "คำสอนของนางนพมาศ"

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ทรงนิพนธ์ "สมุทโฆษคำฉันท์" ต่อจากมหาราชครู อีกเรื่องหนึ่งที่เข้าใจว่าทรงนิพนธ์คือ "ลิลิตพระลอ"

    พระมหาราชครู
    เป็นกวีเอกในสมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งพระนารายณ์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่ง "สมุทโฆษคำฉันท์" ซึ่งยังแต่งไม่จบ ก็ถึงแก่กรรมเสียก่อน

    พระโหราธิบดี
    ชาวเมืองโอฆบุรี (พิจิตร) เป็ยกวีเอกและเชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ สมัยพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่ง "จินดามณี" ซึ่งเป็นแบบเรียนเบื้องต้นของเด็กไทยมาตลอดจนถึงกลาง รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ศรีปราชญ์
    บุตรพระโหราธิบดี เป็นกวีเอกอีกผู้หนึ่ง ในสมัยพระนารายณ์มหาราช นอกจาก โคลง กลอน เล็กๆ น้อยๆ แล้ว มีสองเรื่องที่แต่งโดยศรีปราชญ์ คือ "อนิรุท" และ "กำสรวลศรีปราชญ์"
     
  9. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (กุ้ง)
    เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน ขุนหลวงบรมโกษฐ์ ทรงแต่ง "นันโทปนันทสูตรคำหลวง" "พระมาลัยคำหลวง" กาพย์เห่เรือ" และ "กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง" "นิราศธารโศก" ฯลฯ

    พระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน)
    ทรงนิพนธ์ รามเกียรติ์ บางตอน

    พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    พระราชนิพนธ์เรื่อง รบพม่าที่ท่าดินแดง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นนิราศ

    สมเด็จพระมหาสุรสิงหนาท
    กรมพระราชวังบวรฯ พระราชนิพนธ์เรื่อง "ยกทัพไปปราบพม่าที่นครศรีธรรมราช"

    นายนรินทร์ธิเบศร (อิน)
    หรือเรียกกันว่า "นรินทร์อิน" กวีเอกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรื่องที่นรินทร์อินแต่งคือ "นิราศนรินทร์"
     
  10. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    พระยาตรัง
    กวีเอกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ง"นิราศลำน้ำน้อย"

    เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
    กวีคนแรกที่มียศเป็นเจ้าพระยา นับเป็นกวีใหญ่ที่แต่งได้ทุกอย่าง ทั้ง โคลง ฉันท์ กลอน และ ร่าย เรื่องที่ท่านแต่งมี "ร่ายยาวเทศน์มหาขาติกัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี" นอกจากนั้นท่านยังสามารถแปลเรื่อง "สามก๊ก" ของจีน และ "ราชาธิราช" ของมอญ มาเป็นสำนวนร้อยแก้ว ซึ่งมีสำนวนกวีมาก นิทานคำกลอนที่มีชื่อเสียงของท่านคือ "สมบัติอัมรินทร์คำกลอน" และ "กากีกลอนสุภาพ"

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    พระองค์ทรงเป็นกวัเอก คำกลอนพระราชนิพนธ์ประเภท กลอนละครมีประมาณร้อยเล่มสมุดไทย พระราชนิพนธ์เหล่านี้มิได้ทรงเองทั้งหมด คือแบ่งพระราชทานให้กวีอื่นๆไปแต่งบ้าง แล้วมาอ่านต่อหน้าพระที่นั่ง ช่วยกันติ ช่วยกันแก้ เช่น "สังข์ทอง" ขุนช้างขุนแผน" "อิเหนา" ฯลฯ

    พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่)
    นับเป็นกวีเอกในสมัย รัชกาลที่ 2 เรื่องที่แต่งมีมาก เช่น "นิราศภูเขาทอง" "เพลงยาวถวายโอวาท" "รำพันพิลาป" "นิราศสุพรรณ" พระอภัยมณี" "พระไชยสุริยา" "เห่กล่อมพระบรรทม" "สุภาษิตสอนหญิง" ฯลฯ

    กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
    พระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงนิพนธ์ "สมุทโฆษคำฉันท์" ต่อจากพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีที่นิพนธ์เองคือ "ลิลิตเตลงพ่าย" "กฤษณาสอนน้องคำฉันท์" แหล่บายศรีนางลอย" ฯลฯ
     
  11. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร
    ทรงเป็นผู้แปล (แต่งใหม่) "โคลงนิติคำโคลง" ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสุภาษิตดี ทั้งสิน

    สมเด็จกรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์
    ทรงนิพนธ์ "สุภาษิตพระร่วง"

    พระมหามนตรี (ทรัพย์)
    กวีสมัยรัชกาลที่ 3 เรื่องที่แต่งมี "เพลงยาวบัตรสนเท่ห์" และบทละครเรื่อง "ระเด่นลันได"

    คุณสุวรรณ
    กวีหญิงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในสมัยรัชกาลที่ 3-4-5 เรื่องที่แต่งไว้มี "พระมะเหลเถไถ" และ "อุณรุท-ร้อยเรื่อง"

    คุณพุ่ม
    จิตกวีหญิงฝีปากเอก ในกระบวนออกสักวา สมัยรัชกาลที่ 2 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นผู้แต่งเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
     
  12. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    หลวงจักรปาณี (ฤกษ์)
    มีชื่อเสียงว่าแต่งกลอนดี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 เรื่องที่แต่งมี "นิราศพระปฐม" "นิราศทวาราวดี" และ "นิราศพระปถวี"

    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)
    เป็นกวีสมัย รัชกาลที่ 5 นับเป็นอาจารย์ในเรื่องภาษาไทย ท่านแต่งโคลงกลอนได้ทุกประเภท ส่วนมากเป็นประเภทตำราเรียนเช่น "มูลบทบรรพกิจ"

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงเป็นกวีเอกพระองค์หนึ่ง พระราชนิพนธ์ของพระองค์ มี "พระราชพิธีสิบสองเดือน" "ไกลบ้าน" ลิลิตนิทราชาคริต" "เงาะป่า"

    กรมหลวงพิชิตปรีชากร
    เป็นกวีที่ใกล้ชิดกับรัชกาลที่ 5 ในทางวรรณคดีมากกว่าพระองค์อื่น เป็นผู้ทรงนิพนธ์ "คำฉันท์และโคลงจารึกอนุสาวรีย์พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาศ" และ "โคลงภาพพงศาวดารนายขนมต้มชกพม่าที่อังวะ"

    สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงนิพนธ์ "โคลงพิพิธพากย์"
     
  13. นิตยา11

    นิตยา11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +355
    กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์
    ทรงเป็นกวีใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5-6 พระนิพนธ์ของพระองค์มี "ลิลิตเรื่อง ตำนานพระแท่นมนังคศิลาบาต" "คำปรารภในเฉลิมเกียรติกษัตรีย์คำฉันท์" "กลอนสุภาพคำเริงสดุดีสตรีไทยนักรบ"

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงเป็นยอดกวีในทางแปล พระองค์ทรงใช้นามปากกาหลายนามปากกา เช่น "อัศวพาหุ" พระราชนิพนธ์ของพระองค์มี "สาวิตรี" "ศกุนตลา" "มัทนพาธา" "พระร่วง" เวนิสวานิส" "ตามใจท่าน" "ปลุกใจเสือป่า" "พระนลคำหลวง" "โรมิโอและจูเลียต" ฯลฯ

    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
    ทรงนิพนธ์ไว้มากมาย พระนิพนธ์ที่ร้อยกรองมีสามเรื่องที่นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ คือ "พระนลคำฉันท์" "กนกนคร" และ "สามกรุง"

    พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน)
    เป็นผู้แต่ง "อิลราชคำฉันท์"

    นาย ชิต บุรทัต
    เป็นผู้ประพันธ์ "สามัคคีเภทคำฉันท์"

    ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/kaweethai.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...