อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย กลิ่นลำดวน, 15 มกราคม 2014.

  1. กลิ่นลำดวน

    กลิ่นลำดวน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +2,461
    อนิจจังนี่มันเป็นของ ไม่เที่ยง จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมดในโลกนี้
    ถ้าไม่เที่ยงเราไปยึดมั่นเข้าแล้วมันเป็นทุกข์ต้องปล่อยตามมัน อย่าไปยึดว่ามีอะไรเป็นของเราเป็นของเราต่อไป แม้แต่ร่างกายเรายังพัง
    แล้วในที่สุดมันก็เป็นอนัตตา พังสลายตัวหมดอย่าไปยึด ไปถือมัน อย่าไปยึดว่าจะมีอะไรเป็นเราต่อไป แม้แต่ร่างกายเรายังพัง
    ในเมื่อร่างกายเรายังพังแล้วจะมีอะไรทรงอยู่
    ถ้าหากร่างกายเราพังแล้ว เราก็ไม่มีสิทธิ์ จะมายึดว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา
    ท่านบอกว่าต้องทำอย่างนี้จริงๆจังๆปล่อยไม่ได้
    แล้วต่อมาจงปล่อยความยึดมั่นจากรูปที่เห็นทางตา
    จงอย่ายึดว่ารูปนั้นเป็นของเรา
    ปล่อยเสียงที่ได้ยินทางหู
    ปล่อยกลิ่นที่ได้รับทราบทางจมูก
    ปล่อยรสที่รับทราบทางลิ้น
    ปล่อยสัมผัสที่รับทราบทางกาย
    ปล่อยอารมณ์ใจที่เป็นกุศล อย่าเอาเข้ามายุ่ง
    ฟังแล้วก็จำนะ นี่เราเรียนกันมาแล้ว นี่ท่านย่อมาแล้ว ผมเห็นว่าไม่ยาก ผมก็ย่อไป ท่านก็บอกว่าปล่อยใจว่าเป็นเชื้อของเดิมมาเพราะทั้งหมดเนื่องจากรูป
    ท่านบอกว่า ที่ต้องมาเกิดอย่างนี้ ต้องมาเป็นทุกข์อย่างนี้ เชื้อเดิมมา
    เพราะอาศัยรูปเป็นสำคัญ คือ
    อาศัยรูปทางตา
    อาศัยเสียงทางหู
    อาศัยกลิ่นทางจมูก
    อาศัยรสทางลิ้น
    อาศัยสัมผัสทางกาย
    อาศัยอารมณ์ใจที่เกลือกกลั้วในกามารมณ์
    นี่ที่ต้องมาเกิดมาเป็นอย่างนี้
    อาศัยตัณหาเป็นเจ้าเรือน ตัณหาคือ ความอยาก อยากได้รูปสวย
    อยากๆได้ยินเสียงหวานๆ อยากได้กลิ่นหอมๆ อยากได้รสอร่อย อยากได้รับการสัมผัสที่พอใจ อยากได้อารมณ์ที่พึงปรารถนา
    ท่านบอกว่า นี่พวกนี้เป็นเจ้าเรือน ต้องทำลายไปเสียให้หมด
    ต้องทำให้ได้แล้วจะรู้ผลภายในสิบวัน จำไว้นะ ใครอยากจะได้ บรรลุมรรคผลเร็วๆ และก็ปล่อยตามที่ท่านบอก จะรู้ผลภานในสิบวัน ดูซิท่านผู้เฒ่าจะทำได้มั๊ย
    ท่านบอกว่า
    "ธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมได้ผลแก่ผู้ขยัน"
    แล้วก็ไม่มีใครอาจจะกำหนดพยากรณ์เวลาที่จะบรรลุมรรคผลได้
    ท่านให้มั่นใจขนาดนี้ ขยันนี่ต้องขยันถูกด้วย ไม่ใช่ขยันผิด ขยันตามท่านว่านี้ ถ้าขยันจริงๆเวลาจะทำ ทรงสมาธิให้เต็มที่ ให้จิตมันทรงตัว
    แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา
    เห็นรูปทางตาไม่เป็นเรื่อง
    เห็นเสียงทางหูไม่ได้ความ
    กลิ่นทางจมูกไม่เป็นรส ว่ากันจิปาทะไปก็แล้วกัน
    ว่าให้เห็นว่ามันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ยึดถือ ปล่อยมันเสียให้หมด
    เสียงดีหรือเสียงเลวก็ช่าง
    รูปดีรูปเลวก็ช่าง
    กลิ่นดีกลิ่นเลวก็ช่าง
    รสดีรสเลวก็ช่าง
    สัมผัสดี สัมผัสเลวก็ช่าง
    อารมณ์ใจทรงไว้เฉพาะในด้านอารมณ์ที่เป็นกุศลเพียงอย่างเดียว
    คือตั้งไว้ในด้านสักยาทิฎฐิ ทำลาย อสมิมานะที่เธอตัวถือตนว่าเป็นเราเป็นของเรา อย่างนี้ สิบวันได้แน่
    (ปฎิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๐-๙๑)
    กราบพ่อด้วยหัวใจคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...