อยากสอบถามเรื่องการนั่งสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tommie, 4 มกราคม 2017.

  1. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ลูกพี่ นอนคลึงไข่อยู่นี้เอง..:)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2017
  2. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ไปว่าโพธิสัตว์ เขาทำไม ผมลาออกไปแล้ว...:cool:
     
  3. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ไปไหนแล้วลูกพี่เรา ตอนนี้ผมกำลังว่าง...

    ถามหน่อยลูกพี่..พอใจอะไร..?....
     
  4. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ลูกพี่นิวรณ์มาสมัครเป็นศิษย์ผมชิ ผมจะสอนให้ รับรองบรรลุอรหันต์เลย

    นะจะบอกให่...:D
     
  5. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    ไล่หนีหมดระวังบอร์ดร้างนะครับ
    555555
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ฌาน-สมาธิ โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง


    นิวรณ์ห้า คือ
    กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณห้า มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องเกี่ยวข้องกันกับสิ่งเหล่านี้ ๑
    พยาบาท จิตคิดปองร้ายอยากให้ได้ตามความปรารถนาของตน ไม่ว่ากามนั้นจะอยู่ ในสภาพเช่นไร และอาการอย่างไร โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบเลย เปรียบเหมือนคนคิดจะทำลายคนอื่น โดยเขาไม่ทันรู้ตัวเลย ฉะนั้น ๑
    ถีนะมิทธะ จิตเมื่อคิดฉะนั้นแล้วก็หมกมุ่นอยู่แต่ในอารมณ์นั้น และไม่กล้าบอกแก่ ใคร จนกระทั่งซึมเซ่อและมึนงงไปหมด ๑
    อุทธัจจะกุกกุจจะ จิตที่ฟุ้งซ่านส่งไปในอารมณ์ของกามนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ๑
    วิจิกิจฉา จิตที่ลังเล ไม่แน่ใจว่ากามนั้นจะสำเร็จลงได้เมื่อใดหนอ ๑

    ทั้ง ๕ นี้ เมื่อจิตสงบเข้าถึงฌานแล้วก็จะไม่ปรากฏ เมื่อออกจากฌานก็จะปรากฏอีกตามเดิม



    จิตของฌานมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับกัน คือ
    ๑. ภวังคุบาท
    ๒. ภวังคจารณะ
    ๓. ภวังคุปัจเฉทะ

    ภวังคุบาท จิตจะรวมเป็นครั้งคราว รวมแล้วถอนออกมาจะตั้งหลักไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจิตของ เรารวม มีได้ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย เช่น เมื่อเห็นคนหรือสัตว์ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้นว่า ถูกเขาฆ่าหรือ ทรมานด้วยประการต่าง ๆ จิตจะสลดสังเวชแล้วรวมลงขณะหนึ่ง ถ้าไม่รวมก็จะไม่ สลดสังเวช เรียกว่า ภวังคุบาท

    ภวังคจารณะ เมื่อผู้ฝึกหัดจิตแล้วจึงจะเกิด เมื่อเกิดมีอาการให้พิจารณาอารมณ์ภายใน หรือที่ เรียกว่า ส่งใน เช่น เห็นสีแสงต่าง ๆ นานา แล้วจิตจะจดจ้องมองแต่สิ่งนั้น หรืออารมณ์อื่น ๆ ก็ เหมือนกัน เป็นต้นว่า รูปพระปฏิมากร หรือพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ตลอดถึง เทวดา อินทร์ พรหม เป็นต้น แม้จะพิจารณาในธรรมนั้น ๆ ก็เรียกว่า ภวังคจารณะ ทั้งสิ้น

    ภวังคุปัจเฉทะ นั้นตัดขาดเสียซึ่งอารมณ์ทั้งปวงไม่มีเหลือแม้แต่ ผู้รู้ (คือใจเดิม) ก็ไม่ปรากฏ บางท่านที่สติอ่อนย่อมนอนหลับไปเลยก็มี


    ภวังคุบาท ได้แก่ผู้ได้ ปฐมฌาน
    ภวังคจารณะ ได้แก่ผู้ได้ ทุติยฌาน และ ตติยฌาน
    ภวังคุปัจเฉทะ ได้แก่ผู้ได้ จตุตฺถฌาน






    -------------------------------------------------------------------
    ฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน

    ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน

    สมาธิ ได้แก่การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริงจนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ

    ฌาน และ สมาธิ นี้จิตรวมเหมือนกัน

    ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน


    มีแปลก ต่างกันที่ ...
    ฌาน นั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสติอยู่ แต่ไป เพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียก ว่าความเห็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน

    ส่วน สมาธิ นั้น เมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ


    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้น หรือพิจารณาอารมณ์อันใด ก็ตาม จนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์อันนั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่ แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญาณ เสีย จิตไม่รวมลงเป็น ภวังค์ เรียกว่า ฌานกลับมาเป็นสมาธิ

    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าไปสู่ ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมา เป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ไม่เป็นการเสีย หายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิ อย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆ ก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว แล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้



    พระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณา ฌาน นี้เป็น วิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่าน



    ธรรมดาจิตจำเป็นจะต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อ วัฏฏะ เพราะฉะนั้นท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็น ฌาน เสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ใน ทิฏฐธรรม ของท่าน


    ฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ.


    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒

    ----------------------------------------------------------------
    ( คงมีประโยชน์ต่อท่านเจ้าของกระทู้บ้างนะครับ )

    สิกขา ฉบับเต็ม ที่ http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_18.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2017
  7. tommie

    tommie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +25
    ก่อนหน้านี้สัก 1 เดือนตอนเริ่มนั่งสมาธิต่อเนื่อง เคยมีครั้งนึง นอนแล้วสะดุ้งตื่น แล้วเหมือนอาการจิตจะรวม แล้วเราก็แวบไปโผล่อยู่ในห้องๆนึงมีคนที่ไม่รู้จักนั่งอยู่หลายคน รู้สึกปิติตัวชาๆ แวบเดียวก็กลับมา แล้วก็ลืมตาตื่น อาการนั้นแบบนี้ไม่เคยเป็นอีก

    ตอนนี้พยายาม ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นโดยเฉพาะของคุณนพ ทำไปเรื่อยๆ ระหว่างวันก็พยามรู้ตัวให้มากที่อาการดิ่งวูบแรงๆไม่เป็นแล้ว แต่ตอนเสียงรอบข้างวูบดับลง รู้สึกว่าลมหายใจจะค่อยๆตื้นขึ้นๆ จนสุดท้ายเหมือนจะหยุดหายใจ ไม่มีลมใหัตาม พอหาลมหายใจไม่เจอ ไม่รู้จะทำไงต่อ ก็ไปควานหาอย่างอื่น แล้วก็รู้สึกว่าขายังมีการกดทับอยู่ แล้วลมหายใจก็กลับมา ช่วงนี้จะเป็นวนๆ อยู่แบบนี้ครับ

    ขออนุโมธนา ทุกคำชี้แนะครับ อ่านเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็จะพยายามฝึกต่อไป
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    นักภาวนา ส่วนใหญ่ ไม่รู้ว่า จิตวิวัฏ มันเกิด

    เพราะ. อสังขาริกัง. จิตภาวนาที่วิวัฏตัวมันเอง
    เวลาเกิด. มันจะพ้น. เจตนาจาก "สังโยชน์เจ้าของ"

    แต่เราจะอาสัย. จิตมีสิกขา. เปนสิ่งกำหนดรู้

    จิตมีสิกขา คือมันภาวนา วิวัฏหมุนไป. ของมันเอง

    แม้แต่เรื่อง. อิทธิวิธี อิทธิบาท. ก้เกิดจาก จิตมันหมุน
    ไม่ได้เกิดจากเจตนา จงใจ. หรือเกิดจาก. ปราถนา ตัณหา
    ความต้องการจากตน. หรือคนภายนอก

    ดังนั้น เวลา. จิตมันเปนอิสรจากขันธ์ การรำพึง จิตมันอ่อน
    ควรแก่การงาน. จิตที่ยังติดในสังโยชน์ ลูบคลำศีลพรต
    มันจะ พาออกรู้ ออกเห็น. หรือ. เกิดอาการน้อมไปในญาณทัสนะ

    นักภาวนาที่ดี จะใส่ใต เหตุที่มันเกิดดับ บังคับไม่ได้ เปนตัวยก
    เหน. จิตมันทำสิกขา ของมันเอง

    เพื้อที่จะ อบรมให้เกิด. ภูมิจิตการเหน

    ธรรมอันยิ่ง. จิตมีธรรม จิตมีสิกขา. ที่เปน อสังขาริกัง
    ก้ยังเปน. สิ่งเกิดดับ. เปนของโลกๆ. เปนของชาวบ้าน
    ที่ ผู้ขาดการสดับ. ติดข้อง. เกิดมานะ. จิตกูภาวนาเองเว้ยเฮ้ย

    ไม่ต่างจาก เฮีย ทั่วๆไป. ยังไม่เหน. สัมมาสมาธิ จิตไม่ถึงฐาน

    จิตยังไม่พรากออกจากขันธ์ ยังกำหนดแยกรูปนาม ไม่เปน

    หรือที่เรียกว่า. จิตไม่มีกำลังสมาธิ สติ สัมปชัญญะพอ

    จะเกิดการโน้มไปเชื่อตามๆกันไป. หรือถูกขันธ์ห้า
    ครอบงำ. ปิดบัง. มรรค. ทำให้ยังเหนว่า ขันธ์5 เปน
    ของวิเสษ

    วิญญาณเปนสิ่งวิเสษ. ภาวนาไปพรหมโลก โง่เท่าเดิม
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ธรรมะนั้น เราไม่ได้ภาวนา. เพื่อให้ตัวเรา แทรกเข้า
    ไปรับผล. ทำท่าเข้าใจ

    ธรรมะนั้น. เปนเรืีองของจิต. วิญญาณที่ไม่ใช่เรา. ของเรา

    มันเปนธาตุที่ อบรม ได้ เปนเพียง ธาตุที่ยังแปรไปตามปัจจัยด้วยความไม่รู้
    สังโยชน์เจ้าของ

    อสังขตธาตุ ธาตุที่พ้นปัจจัย. นั้นมีอยู่ ควรโน้มไปด้วยสัททาที่ถูก
    เท่านั้นถึงจะแจ้ง. ไม่เช่นนั้น. โง่เท่าเดิม

    โดนเขาหลอกใช้ปรุงธาตุ ปรุงยา. สร้างโน้นนี่ สังโยขน์ถือสีลพรต หัวร่อ
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ตรงนี้ เป็นรอยต่อ เป็นขั้นตอน เป็นทางแพร่ง ที่สำคัญ ที่หลายท่านติดชงักตรงนี้

    และจากที่ท่านนิวรณ์ ได้เมตตา กรุณา มาโพสเตือน( หากเข้าใจเนื้อความที่ท่านหวังดีเตือนในโพสที่49-50)

    ตรงนี้ มีเทคนิค วิธีการของหลากหลายครูบาอาจารย์ จะไปต่อแบบไหนก็ขึ้นกับวาสนาเก่าประการหนึ่ง ขึ้นกับครูอาจารย์ เหล่ากัลยาณมิตรในที่นี้และที่อื่นประการหนึ่ง การใฝ่หาสิกขาจากพระปริยัติธรรมหรือคำสอนของผู้ปฎิบัติดี ปฏิบัติตรงประการหนึ่ง


    ต่อจากนี้ไป สิ่งที่ผมจะนำเสนอท่านเจ้าของกระทู้ ก็คงต้องยืมคำพูดของท่านนพการที่บอกว่า "ฟังหูไว้หู"

    ประกอบเหตุ คือ ทดลองทำ
    สังเกตุผล คือ วิตก วิจาร น้อมมาพิจารณาเห็นว่าทำอะไรไปแล้ว เกิดความสงบสุขจากภายในได้ ไม่ว่าจะตั้งท่าทำสมาธิหรือไม่ ไม่ว่าจะมีความสามารถพิเศษหรือไม่ ไม่ว่าจะมีปรากฏการณ์แปลกๆเกิดขึ้นหรือไม่


    .... สังเกตุภายใน ว่าวัฒนาการไปสู่ความสงบ ที่ไม่ต้องพึ่งวัตถุภายนอกมากเกินไปเหมือนเมื่อก่อนหรือไม่

    สังเกตุว่าเมื่อกระทบกับสิ่งที่มาทางอายตนะทั้งหก คือ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส ใจคิดนึก ทั้งขณะใช้ชีวิตประจำวันและทั้งขณะบำเพ็ญภาวนา ....จิตรู้เท่าทันความเป็นสามัญลักษณะคือไตรลักษณ์ของสิ่งที่มากระทบได้ไวได้เท่าทันมากขึ้นหรือไม่ เมื่อไม่มีสิ่งนั้นมากระทบมาสัมผัสอีก จิตมีความอยากได้ใคร่เป็นจนเกินไปจนใจมีทุกข์เกิดขึ้นหรือไม่

    ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คืออดทน เพียรประกอบสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันสิ่งที่ปรากฏต่อจิตใจ ทั้งขณะตั้งท่าบำเพ็ญภาวนาสมาธิ และทั้งขณะใช้ชีวิตประจำวัน

    แล้วจะมีสติสัมปชัญญะ ที่เจริญงอกงามขึ้น ส่งผลให้สัมมาสมาธิ และฌาณ ก้าวหน้า ส่งผลให้ปัญญาที่เห็นความจริงของทุกสิ่งเกิดขึ้นและก้าวหน้าได้

    ขอคุณพระรัตนตรัย คุณความดีบุญบารมีที่คุณได้กระทำสั่งสมมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน และเหตุปัจจัยที่ดีทั้งปวง ส่งผลให้คุณเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งขึ้นไป ได้ดวงตาเห็นธรรม มีมรรคผลนิพพานเป็นที่สุด สาธุ
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    แม้สมาธิ-ฌาณ จะไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดที่พุทธศาสนิกชนควรจะเข้าถึง แต่เราก็ต้องอาศัยและต้องใช้ให้เกิดประโยชน์(สัมมาสมาธิ) เป็นราวจับเดิน เป็นเครื่องพักเพื่อเดินทางต่อ เป็นความแน่นหนาของใบมีดปัญญาที่จะต้องใช้ตัดส่วนเกินออกจากจิตใจ จนกว่าจะเหลือแต่วิมุตติสุข

    สิ่งที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้บำเพ็ญมา ต่อไป ถ้ามาถึงขั้นตอนที่ลมหยาบดับ( จิตวางจากรูปหยาบ กายหยาบ สังขารหยาบ) ตรงนี้ ที่คุณบอกว่ามันวูบลง คล้ายตกเหว ดิ่งลง ถ้าท่านบำเพ็ญสติสัมปชัญญะมามีกำลังพอ คือวางเฉย ไม่ไหวไปกับความคิดที่เกิดมาภายหลังว่า จะทำอะไรต่อไปดี , ความคิดหวาดกลัวกลัวตายเพราะเหมือนลมขาดไป ฯลฯ แต่สติสัมปชัญญะจ่อไปที่ตัวรู้ของจิตเอง จิตจะก้าวเข้าสู่องค์ฌาณที่ละเอียดต่อไปดืมด่ำอยู่ภายในไม่ส่งออกไปรู้เรื่องนอกกายเลย ( ยังไม่บอกว่าอะไร เพื่อไม่ให้เกิดสัญญานำไปปรุงแต่ง )ก็ปล่อยให้เป็นไปตามที่เค้าจะเป็น เพียงแค่มีสติสัมปชัญญะดู รู้ เฉย จนกว่าเค้าจะถอนออกมาเป็นปกติตามธรรมชาติ เมื่อเริ่มมีความคิดเกิด ไม่ว่าจะคิดอะไร ก็อย่าไปใส่ความรู้สึก รัก ชอบ ชัง อะไรกับความคิด เห็นความคิดสักแต่ความคิด จากความคิดหนึ่งไปสู่ความคิดหนึ่ง

    ตรงนี้ เราจะได้ภูมิของสมถกรรมฐาน ที่จะก้าวไปสู่วิปัสนากรรมฐานได้ โดย การที่เรามีสติสัมปชัญญะ เห็นสามัญลักษณะ(ไตรลักษณ์)ของลม( กายเนื้อ กายลมที่หยาบ-ละเอียด),ความทุกข์ความสุขสบายที่เกิดกับกายกับจิต( เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน), ความคิด-ความนึก , ความฟุ้ง ความสงบ ( จิตตา-ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน )

    เพียงแต่ตอนนี้ คุณกำลังดำรงสภาวะสมาธิที่เป็นขณิกกะ-อุปจารสมาธิยังไม่เป็นอัปนาสมาธิ ขอให้ใจเย็นบำรุงเลี้ยงสติสัมปชัญญะไว้ในกายในใจไปเรื่อยๆ อย่าใจร้อน

    หรือ เลือกทำอีกแบบ คือ เมื่อลมหยาบดับ ขณะที่รู้สึกวูบดิ่งลง มีความสงบภายในเกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีแสง สี เสียง ละเอียดใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พอเริ่มมีความคิดเกิดขึ้น หรือ ถอนออกมาเริ่มมีกาย และความรู้สึกของกายหยาบ
    ให้หยิบยกกายส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมาพิจารณาลงในสามัญลักษณะก็ได้ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรืออวัยวะภายใน

    ถ้าพิจารณาอันไหนแล้วจิตยอมรับความจริง มันจะสงบลงอีกด้วยปัญญา ที่มีสมาธิเป็นฐานเสริม จะก้าวไปสู่อัปนาสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิได้ยิ่งขึ้นไป


    ปล. อย่าเน้นไปที่การดับความรู้สึกของกายหยาบ แต่ให้สังเกตุความสงบภายในและปัญญาเห็นความจริงของโลกทั้งภายในและภายนอกที่เพิ่มขึ้น ความสามารถพิเศษอื่นๆจะมีหรือไม่เป็นเรื่องรอง ถ้าจะมี ก็เป็นเพียงเครื่องมือเรียนรู้ความจริง และเครื่องพัก
    บนทางสายกลาง
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    การที่บางท่าน มีเทคนิคกำหนดฐานลมที่ต่างกัน มีเทคนิคในการอาศัยความสงบ มีนิมิตเครื่องหมายต่างกัน ไม่ได้หมายความว่าคนใดผิด คนใดถูก สำคัญตรงที่ ขั้นตอนที่จะน้อมเอากำลังที่เกิดจากเทคนิคนั้น มาเห็นความจริงของสรรพสิ่งทั้งภายในและภายนอกได้ จนวาง คลาย สลายการยึดติดมากน้อยแค่ไหน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

    ตรงนี้ ถ้าเราไม่ได้ศรัทธาไม่ได้นำมาปฏิบัติตามท่านเหล่านั้น ก็ไม่ล่วงเกินกันทั้งกาย วาจา ใจ ให้เป็นอกุศลกรรมย้อนมาทำให้เนิ่นช้าต่อการพ้นทุกข์ของตนเอง

    แล้วตั้งใจทำเทคนิคไหน ที่เราทำแล้วจิตใจวัฒนาก้าวหน้าไปสู่ปัญญาความพ้นทุกข์เป็นลำดับไป

    เกริ่นและกล่าวเสริมไว้ เผื่อไว้ครับ
     
  13. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ให้เฉยๆ อย่าอยากว่าจะต้องดีกว่า
    และ อย่าเปรียบเทียบกับที่ผ่านมา
    ได้แค่ไหนแค่นั้น ถ้าไปต่อไม่ได้
    ให้ลุกมาเดินจงกลม
    ที่สำคัญคือรักษาลมหายใจไว้ให้
    เหมือนเดิม ทำสลับไปมา
    เอาแค่ถึงจุดเดิม
    ไปต่อไม่ได้ ก็ลุกมาเดินจงกลมอีก
    หรือหาอะไรอย่างอื่นทำไปก่อนอีก
    ที่สำคัญคือรักษาลมหายใจไว้
    มันถึงจะได้กำลังสมาธิสะสม
    เพียงพอที่จะผ่านสภาวะนี้ไปได้
    และถ้าผ่านได้ มันจะข้ามไปเร็ว
    ขึ้นไปสมาธิระดับสูงได้เลย
    (กิริยาปกติของลักษณะที่ฝึกอยู่)
    คือจะคุมจิตไม่อยู่(เรื่องธรรมดา
    ถ้าเข้าถึงสถาวะได้จริง
    ประกันว่าจะเอาจิตไม่อยู่
    มันจะออกจากกายไปเลย
    รับรู้ภายนอกชัดเจน
    ถ้าจิตยังอยู่ในกายได้แสดงว่า
    หรือเหมือนออกได้แต่เงียบๆ
    ไม่ใช่แระ คือยังไม่ถึงระดับสูง)
    ทำได้แล้ว ให้มาเจริญสติให้ต่อเนื่องยิ่งขึ้น
    ไปอีก ทำแบบที่แนะนำอีก
    ประมานครั้งที่ ๓ ถึง ๔
    ถึงจะมีกำลังมากพอที่จะคุมจิต
    ให้มันแยกออกจากกาย
    และอยู่นิ่งๆได้ เราจะมอง
    เห็นผนังช่องท้องเราได้
    ในขั้นนี้ระดับนี้
    เอาถึงตรงนี้ให้ได้ก่อน
    แล้วค่อยมารักษาสภาวะ
    แล้วจะเห็นขันธ์ ๕ นามธรรมได้
    ซึ่งจะเห็นจากด้านไหนไม่ขอบอก
    และในครั้งที่ ๓ ถ้าสังเกตุทันตอน
    มันจะรวมกับจิตได้
    (ต้องระวังถ้าไปดูมันจะดับและหายเลย)
    จิตจะแยกรูปแยกนามได้เอง
    จะทำให้เรารู้ทุกกิริยาชัดเจน
    ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นความคิดที่เกิดจากจิต
    อะไรเป็นความคิดที่เกิดจาก
    ขันธ์ ๕ นามธรรม
    ถึงตรงนี้จะเริ่มเดินปัญญาได้จริง
    ที่ไม่ใช่วิปัสสนึกหรือปัญญาแบบโลกๆ
    ที่ได้เท่ห์อย่างเดียวแต่ไม่มีผลต่อจิต

    และในกำลังระดับที่บังคับจิตที่แยกกับ
    กายให้มันนิ่งๆอยู่ในกายได้
    ตรงนี้ จะเกิดได้ ๒ สภาวะคือ
    ๑.จิตวิ่งดูอวัยวะตัวเอง จนระเบิดเสียงดังมาก
    ออกมาเราจะได้เรื่องการตัดร่างกายในระดับละเอียด
    ๒.จิตวิ่งซ้อนเข้าไปในจิตแล้วระเบิดไปเรื่อยๆ
    ตรงนี้ในเวลาบืมตาปกติ จะเกิดเครื่องรู้
    ความสามารถที่เคยทำได้ในอดีตขึ้นมา
    ให้ใช้งานได้ในเวลาลืมตาปกติ
    (ย้ำว่าบืมตาปกติ)
    ๒ สภาวะสุดท้ายนี้ ไม่สามารถบอกได้
    ว่าจะเกิด ๑ หรือ ๒ เพราะมันจะไปเองโดยธรรมชาติ
    ตามแต่เนื้อหาจิตที่ได้สะสมมา
    ไม่สามารถเลือกทำได้ว่าจะต้อง ๑ หรือ ๒ นะครับ
    ใครบอกเลือกได้ คือคนที่ไม่เคยทำได้ครับ

    ปล.อ่านดีๆ ค่อยๆเป็นไปตามลำดับครับ
    ช่วงนี้ ไปหวังไปคาดไม่ได้ต้องไปตามวาระ
    เราทำได้เพียงเตรียมฐานเตรียมลำดับ
    ความเข้าใจเพื่อให้เอื้อต่อสภาวะ
    ที่จะมาถึงได้เท่านั้นครับ
    เตือนอะไรไว้ให้ระวังดีๆก็พอ
    เพราะพลาดที มันจะช้าอย่างน้อย ๓ ถึง ๗ วันได้ครับ
    โชคดีครับ
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    เรื่องการเดินจงกรม มีอุปการะมากมีคุณมาก พระพุทธองค์ทรงแสดงคุณของการเดินจงกรมไว้ และสังเกตุได้ว่า ครูอาจารย์ทุกองค์ที่ทรงคุณทั้งหลาย ไม่ทิ้งการเดินจงกรมแม้จะเจ็บป่วย หากยังมีแรงที่จะลุกเดิน ท่านก็จะลุกมาเดินจงกรม

    แม้ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านก็ได้สมาธิตอนเดินจงกรม
    องค์หนึ่งก็ได้ธรรมะ จิตรวม จิตพลิก ตอนเดินเล่น เดินไปทำธุระแต่มีการฝึกสติจากการเดินจงกรมเป็นนิสัยไว้เช่นกัน

    ดังจะยกมาดังนี้ครับ
    -----------------------------------------------
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    space1.gif
    space1.gif
    ๙. จังกมสูตร

    [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
    ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหารที่กิน
    ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้ง
    อยู่ได้นาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ

    -----------------------------------------------------

    เทคนิคการกำหนดสติฯในการเดินแต่ละครูบาอาจารย์ก็ต่างกันไปบ้าง ก็ลองศึกษา หาจุดที่เหมาะกับตน



    1391433553-inpiration-o.jpg


    ( อันนี้เป็นเรื่องเล่าเพิ่มเติม
    แม้ผู้ฝึกในสายลมปราณ เดินปราณ ที่ไม่ได้มาทางพุทธล้วนๆ ก็ต้องอาศัยอิริยาบถเดิน
    มาช่วยในการบำเพ็ญสมาธิ

    ยกตัวอย่าง การเดินโดยมีสติสัมปชัญญะไว้ในกายขณะเดิน จะกระตุ้นขุมพลังงานตรงฐานรากที่คุมอวัยวะท่อนล่างของกาย ให้ตื่นตัว ไม่ง่วงซึม กระปรี้กระเปร่า และส่งผลต่อไปยังขุมพลังงานอื่นที่คุมอวัยวะต่างๆในร่างกายท่อนบนต่อไปเรื่อยๆ มีกำลังที่จะทุเลาทุกขเวทนาทางกาย บรรเทาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายในเอง หรือจากปัจจัยภายนอก ด้วยกำลังของปราณในกายที่ถูกกระตุ้น

    จนถึงขุมพลังงานทางปราณในสมอง

    เมื่อกาย หรือธาตุหยาบ สบาย มีกำลัง ก็ส่งผลให้นามธรรมหรือจิตสำนึก มีสติสัมปชัญญะที่ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อการภาวนาที่ต้องอาศัยสติสัมปขัญญะที่ละเอียดๆต่อไปได้ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2017
  15. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ขอพูดในเชิงกิริยาทางจิตหน่อยนะครับ
    ว่าการเดินกับการนั่งต่างกันอย่างไร
    อาจจะต้องอาศัยการสังเกตุ
    และประสบการณ์หน่อยนะครับ
    ที่จะอ่านแล้วเข้าใจ
    ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรครับ
    เอาไว้ให้ผ่านไปได้ก่อน
    แล้วค่อยมาย้อนดูก็ได้
    จะเข้าใจได้ดี..ตอนนี้อ่านไปก่อนแล้วกัน

    ขอพูดในมุมของการเดินจงกลมก่อนนะครับ..
    นอกจากเป็นกิริยาในการทำสมาธิอย่างหนึ่ง
    และก็พบว่าในอดีตมีหลายท่านที่บรรลุธรรม
    ในขณะที่อยู่ท่าเดินเนื่องจากจิตมันตัดตัวรู้ได้
    หรือตัดตัวพยายามได้ทำให้จิตมันคลายตัว
    แล้วบรรลุอะไรแล้วแต่จะบรรลุนั้น หรือกรณีที่จิตพบกิริยาอะไรต่างๆ
    นาๆนั้นจากการที่จิตดูเหมือน(ย้ำว่าดูเหมือนนะครับ)
    ที่มันทิ้งกายได้ชั่วคราวนั้น..
    ตรงนี้ก็สุดแล้วแต่ลักษณะของเดิมแท้ของจิตดวงนั้นๆ..
    ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ท่าเดินจะเป็นท่าที่เหมาะกับเราที่สุด
    เพราะในทางปฏิบัติมันไม่มีอะไรใช่สุด ไม่มีอะไรดีสุด
    และทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีส่วนสัมพันธ์ช่วยเหลือ
    เกลือหนุนกันได้หมดแล้วแต่ว่าเราจะมองเห็นได้ไหม...

    บางท่านเดินแทบตายไม่เกิดผลอะไรเลย
    พอเลิกสนใจไม่เดินแล้วมานอน ขณะที่กำลังจะนอน
    บรรลุซะงั้น(ท่านหนึ่งในสมัยพุทธกาล)
    ...แม่ชีมีอายุท่านหนึ่ง(มีสัมพันธ์กับหลวงตามือชื่อท่านหนึ่ง)
    นั่งสมาธิไม่เกิดผลเท่าไรเหตุเพราะร่างกายไม่เอื้อ
    พอมาเดินจิตกลับเดินทางต่อไปจนเห็นไตรลักษณ์ได้เฉยเลย...
    ดังนั้นอย่าไปกะเกณฑ์อะไรกับตรงนี้มาก....
    ว่าท่าไหนดีกว่า อะไรอย่างนี้
    ใช้ควบคู่กันไปอย่าไปฟิก เอาตามความเหมาะสมครับ

    แต่ที่แน่ๆของการเดินจงกลม
    นอกจากบางกลุ่มที่ไปในเรื่องการพิจารณาได้
    ที่จะมีประโยชน์กับคนที่ร่างกาย
    ยังปกติและยังนั่งสมาธิได้ ก็คือ จะเป็นกำลังหนุนส่ง
    ในเรื่องของการสะสมกำลังสมาธิครับ...
    เหมาะสำหรับบุคคลที่สมาธิยังขึ้นๆลงๆมีตก..
    หรือเหมาะสำหรับบุคคลที่ติดในสมาธิระดับหนึ่ง..
    แล้วไม่มีกำลังไปต่อได้ คือที่จม ที่แช่ อยู่ในสภาวะนั้นๆ
    หรือในสภาวะนั้นมีเรื่องผุดขึ้นมามากมายรบกวนสมาธิ
    เพราะสมาธิสะสมที่ได้จากการนั่งไม่เพียงพอ
    จิตไม่ยกระดับพัฒนาสมาธิต่อ จึงต้องอาศัยกำลังจากการเดิน
    เพื่อมาหนุนกำลังในขณะที่บุคคลนั้นมานั่งสมาธิครับ
    ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก
    ในทางปฏิบัติที่ทำกันครับ.....

    และถ้าสังเกตุดูการนั่งกับการเดินต่างกันตรงที่
    มีการเคลื่อนไหวของกาย
    แต่ถ้ากิริยาทางจิต ต้องอาศัยการสังเกตุนะครับจะเข้าใจได้
    แต่ไม่เข้าใจไม่เป็นไรให้ฟังไว้ก่อน
    การนั่งนั้นจะมีการลดระดับคลื่นความถี่ของจิต
    ให้ต่ำลงเรื่อยๆ(ยิ่งต่ำระดับฌานยิ่งสูง)ในขณะเดียว
    กันตัวจิตก็จะพยายามคลายตัวและทิ้งกาย
    ออกไปเชื่อมกับอากาศธาตุภายนอก
    หรือเราพูดง่ายๆว่า ตัดกายคนที่นั่งสมาธิจึงได้เจอ
    สภาวะจิตหลุดไปโน้นนี่นั้นนั่นหละครับ
    หรือคนที่นั่งสมาธิจึงสามารถรักษาโรคให้ตัวเองได้
    เพราะเมื่อจิตมันพยายามทิ้งกายคือตัดธาตุร่างกาย
    ออกไปเชื่อมกับอากาศธาตุภายนอก เมื่อทิ้งกายได้
    เชื่อมกับธาตุอากาศภายนอกได้ ธาตุอากาศภายนอกนั้น
    จึงเสมือนตัวช่วยในการปรับธาตุภายในร่างกายไปในตัวเอง
    จากกิริยาที่เป็นปกติของท่านั่ง เราจึงได้ยินเรื่องราว
    ของสมาธิรักษาโรค โดยอยู่ในท่านั่งนั่นหละครับ...
    ซึ่งมีเทคนิคอีกหลายๆอย่างค่อยว่ากันตามวาระนะครับ

    แล้วท่าเดินหละครับ..ท่านเดินไม่ได้ช่วยรักษาครับ
    แต่ถ้าใช้คำว่าช่วยบรรเทา ช่วยปรับให้เข้ารูปเข้าลอย
    อย่างนี้ใช่ครับ..เพราะในท่าเดินตัวจิตมันจะยังก่อตัวอยู่ครับ
    และถ้ามีพลังงานมันก็ยังหมุนเกี่ยวกับร่างกายอยู่ครับ
    พูดง่ายๆว่าจิตมันหมุนของมันอยู่ มันจะไม่ไปในลักษณะที่ลดคลื่น
    ความถี่และขยายออกข้างเหมือนท่านั่งครับ
    ดังนั้นใครที่เดินแล้วเจออาการจิตรวมในท่าเดิน
    จึงเป็นเรื่องปกติ หรือแม้เจออะไรผุดขึ้นมาในท่าเดิน
    ทำให้เข้าใจโน้นนั้นนี่ในท่าเดินจึงถือว่าเป็นปกติครับ
    (พอเข้าใจกันไหมครับ)..และจิตที่มันก่อตัวในท่าเดินนี้
    มันไม่ได้ทิ้งกายออกไปแต่มันจะหมุนวนกายและสบัดออกไป
    ในท่าเดินจึงไม่พบว่า จะมีใครที่เดินแล้วออกไปทางวิชาเดินธาตุ
    หรือไปทางอรูปฌานได้เพราะเหตุที่จิตมันไม่ได้มีกิริยาทิ้งกายนั่นเอง
    (พอเข้าใจนะครับ)
    และจิตที่ก่อตัวในท่าเดินนี้มันจะไปได้กำลังสัมผัสภาย
    ในที่อยู่ใต้ลิ้นปี่หรือท้องน้อย
    มาหนุนตัวจิตที่มันหมุนๆอยู่ที่ฐานของจิตตรงลิ้นปี่ครับ
    ดังนั้นถ้าพบเห็นกิริยาอะไรทางจิตในท่าเดินได้
    หรือบรรลุอะไรในท่าเดิน. สมมุติว่าเราเทียบกิริยาทางจิต
    ในลักษณะอาการที่เกิดระหว่างท่านั่งกับท่าเดินแล้ว
    ในกิริยาที่ส่งผลแบบเดียวกัน
    จะพบว่า ท่าเดินมันจะดูอลังการงานสร้างกว่าท่านั่งได้
    อลังการหมายถึง เข้าไปสภาวะนั้นๆได้ชัดเจนกว่าท่านั่งครับ
    ยกตัวอย่างถ้าเห็นไตรลักษณะในท่าเดิน อย่างท่านแม่ชี
    ก็จะเห็นได้จนกระทั่งกระดูกหายละลายไปและกลับขึ้นมาใหม่
    (เหตุเพราะได้กำลังสัมผัสภายในที่ท้องมาหนุนนั่นเอง)
    เห็นแบบชัดๆและบรรลุไปเลย...
    แต่ถ้าเป็นท่านั่งจิตจะเสียเวลาไปวิ่ง ไปไล่ดูอวัยวะภายในกาย
    จนกว่ามันจะเบื่อและเกิดการระเบิดตูมตามก่อน
    ซึ่งความชัดเจนไม่เท่าท่าเดินและแม้ว่าท่านั่งจะถึงขั้นละเอียด
    แต่ผลที่เกิดกับจิตจะไม่เท่าท่าเดินครับ.....

    เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ต้องมาดูว่าเรามาแบบไหน
    แม้ว่าไปแบบไหนมันก็ได้ผลเช่นกัน แม้ว่าความละเอียดใน
    การเห็นจะต่างกันครับ....
    ค่อยๆพิจารณากันไปครับ
    สุดแล้วแต่เข้าถึงได้
    เพื่อไปยังเป้าหมายเดียวกันครับ..(^_^)
     
  16. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    สาธุครับ...ทั้งสองท่านครับ

    พระพุทธเจัาบอกไว้
    บุคคลพ้นทุกข์ได้...ด้วยความเพียรเผากิเลส...
     
  17. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    นี่แหละเลยต้องมีการใช้คำบริกรรมควบคู่ไปด้วยกับการตามรู้ดูลมหายใจ
    สิ่งที่หยาบจะดับก่อน สิ่งที่ละเอียดจะดับทีหลังครับ
    นี่คือสภาวะอุปจารสมาธิครับ
    แต่ดูท่าทางแล้วคงกลัวตายพอลมจะขาดก็เลยไม่ไปต่อ
    นี่แหละเลยไม่ค่อยมีคนเข้าถึงสมาธิระดับอัปนา
    พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านมักจะพูดว่า ธรรมอยู่ฟากตาย ทำนองนี้
    อย่ากลัวครับถ้ายังละรูปหยาบไม่ได้จะเจอรูปละเอียดหรือ
    ถ้ายังละรูปไม่ได้จะเจอนามหรือ
    พิจารณาดูให้ดีครับ
    หลวงปู่มั่นเคยแสดงไว้ครับ ว่า
    คนที่ไม่หายใจมี 4 หรือ 5 จำพวก นี่แหละ(ขออภัยจำไม่ได้จริงๆ) คือ
    คนตาย หนึ่ง
    คนดำน้ำ หนึ่ง
    ทารกในครรภ์ หนึ่ง
    ผู้เข้าสมาธิระดับลึก หนึ่ง
    ถ้ามี 4 ก็เท่านี้ครับ
    ถ้ามี 5 ก็รบกวนท่านผู้รู้ชี้แนะด้วยครับ
     
  18. tommie

    tommie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +25
    ผมพยายามบอกตัวเองว่าตายเป็นตาย แต่เข้าใจว่าจิตสั่งไม่ได้จิตยังกลัวตายไม่ยอมปล่อยกาย

    ตอนนี้ผมไปได้ถึงแค่ตามลมละเอียดบางช่วงลมเข้าออกแผ่วมากๆตื้นมากๆ ท่องพุทโธ แทบไม่ทัน ลองตามลมนี้ ลองตามลมแผ่วๆนี้ได้คราวละ 20-30 นาที เริ่มรู้สึกว่าไม่อึดอัดแล้วครับ แต่พอลมหายใจแผ่วลงจนใกล้หายจิตจะเริ่มกลัว ใจจะเต้นแรงแล้วก็ไม่ไปต่อกลับมาหายใจใหม่ หรือไม่ก็รู้สึกอยากกลืนน้ำลาย พอกลืนน้ำลายสมาธิก็จะคลายออก

    ที่สัมผัสได้อีกอย่างคือลมหายใจละเอียดมันเป็นคลื่นๆ ห้วงๆ ติดกัน ไม่ได้เป็นเส้นยาวราบเรียบเหมือนลมหายใจหยาบ ไม่แน่ใจว่าอันนี้คิดไปเองหรือเปล่าครับ?

    ระหว่างวันผมพยายามหายใจลึกๆสุดๆ ทำมาได้ 2 อาทิตย์แล้ว ถ้าตอนนั้งสมาธิผมฝึกตามลมแผ่วๆ นี้ไว้ก่อน ไม่ไปฝืนหายใจลึกๆ วันนึงจิตจะเข้าใจไหมครับ ว่าลมแผ่วๆหยุดๆ ไม่น่ากลัว ไม่ตาย (ผมเข้าใจว่าจิตใช้ความคิดทางโลกสั่งไม่ได้ถ้าจิตเห็นเองก็จะปล่อยเอง)

    ขอบคุณพี่ๆ (น้องๆ) ทุกท่านที่คอยชี้แนะ ขอให้ได้รับทานบารมี เพิ่มพูนทุกๆคนครับ
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อย่าไปลูบคลำ สีล ความปรกติของใจ

    อย่าไปลูบคลำ พรต โยคะ ทำยังไงจะถูก

    ให้สังเกตุ ความสามารถของ ธาตุรู้ ที่มันมีอาการ กระทบรู้ เนี่ยะ การสวนกระแสไปเหนจิต

    รู้เฉยๆ ไม่ใช่ รู้แล้วทรงความเฉย นั่นเฉยโง่

    รู้เฉยๆ หมายถึง ธาตุจิตมันทำหน้าที่ กิจเดียว
    รสเดียว คือ รู้เท่านั้น ส่วนอย่างอื่นจะเปน สัญญา สังขาร เวทนา

    ตอนที่ลมแผ่ว จริงๆ ลมไม่ได้แผ่ว จะมาก
    จะน้อย หายไปเลย ยังไงก้ได้ แต่สังเกตเลย
    จิตยังทำหน้าที่ของมัน ไม่หยุด

    หลวงพ่อพุธ อนุเคราะห์ไว้ว่า หากยังมีรู้ ไม่ตายกลอก

    หลวงตา อนุเคราะห์ว่า ธาตุรู้ไม่เคยตาย

    สายวิปัสสนาอื่นๆ จะพูดว่า รู้เฉยๆ

    พวกภาวนาไม่เปน ก้อปเอาไปพูด จะพูดไปทาง
    ไม่ฮือ ไม่อือ พาไป โมหะสมาธิ สมาธิฤาษี
    ซึ่งจะชักชวรจับ เพ่งจ้อง ให้นิ่ง แข่แป้ง แล้ว
    อ้างฤทธิ์ของจิตมีกำลังแบบจมโง่

    ลองดูนะ ลมไม่ค้องแผ่ว ให้สังเกค ธาตุรู้
    ที่มันทำกิจเดียว รสเดียว รู้เท่านั้น หรือ รู้เฉยๆ

    แล้วจะข้ามฝากตาย มีความสงัด รำงับ

    แต่ทั้งนี้ขึ้นกับ สัมมาทิฏฐิ ที่จะไม่จ้อง ผู้รู้

    หรือ จ้องแต่ก้เหรความแปรปรวนของจิต
    ที่มันรู้ผัสสะ หลากขนิด ขณะลมหายใจ
    เข้าออก มันแส่ส่ายรู้เปน ล้านสิ่ง

    ถ้าสติหาน สัมปชัญญะหาย ตกจากการ
    เหน สภาพ รู้ หน้าที่ของจิต นั่นแปลว่า
    จิตตกภวังค์ กลายเปนรูปวจรจิต อรูปวจรจิต
    กามวจรจิต ไม่มีอย่างอื่น

    ปฐมฌาณ ของพุทธ นั้นพรากจาก ภวังค์
    ทั้งหมด

    วิตก วิจาร กำเริบริดเดียว จิตจะเคลื่อนออก
    จากฐานจิต ไปสู่ฌาณฤาษีชนิดต่างๆ หรือ
    กามวจรจิต โลกของมนุษย เดรัจฉาน เปรต นรก
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ตรงที่บอกลมไม่เปนสาย

    ตรงนั้นแหละ เปนการ เหนจิต ไม่ใช่เหนลม

    จิตที่เกิดเปน อุปทายรูป ลมหายใจ กลายเปน
    สัตว์โลก มันจะมีภวังค์มาคั่น ก่อนจะเปลี่ยน
    อุปทายรูปหายใจเข้า หายใจออก ร้อยรัดให้กลายเปนสัตว์

    ถ้าทำความ สำเนียก สึกษาว่า จิตมีกิจเดียว รสเดียว จิตรู้อยู่ที่ฐาน

    จะเหนเลย จิตไม่ใข่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

    ที่มันไม่เคยตาย ก้เพราะ จิตไม่ใช่สัตว์

    ถ้าเปน สัตตาวาส พวกมีทิฏฐิเหนจิตเที่ยง จิต
    เปนปูเสฉวน เปลี่ยนร่าง มีไป มีมา มีโลก มีภพ
    ก้จะตกจาก ฐานจิต ภาวนาไม่เปน รู้ทุกเรื่อง
    เก่งทุกอย่าง รักษาได้สาระพัด แต่ขี้โลก หาสัมมาทิฏฐิไม่เจอ ได้แต่สำทับ เชื้อเรานะ
    แต่ไม่อาจประกาส การตรัสรู้ชอบที่คนฝึกหัดได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...