อริยมรรคสมังคี : พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 23 ตุลาคม 2015.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    อ ริ ย ม ร ร ค ส มั ง คี
    พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    คำพูดที่เรียกว่า อริยมรรคสมังคี เป็นคำพูดเรียก ชื่อแห่งภูมิจิต
    ที่นักปฏิบัติได้นั่งสมาธิรวมจิตลงถึงความเป็นหนึ่งแล้ว
    และในที่ประชุมแห่งอริยมรรคสมังคีนั้น
    เป็นที่ประชุมพร้อมแห่งองค์อริยมรรคทั้ง ๘ ประการ
    ประชุมพร้อมอยู่เองด้วย

    อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการก็ประชุมพร้อมอยู่เองด้วย
    ตลอดพระธรรมวินัยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    ก็ประชุมพร้อมอยู่เองในขณะจิตอันเดียวกันนั้นด้วย

    นักปฏิบัติ ผู้รู้เร็ว สามารถรู้พร้อมในขณะจิตที่รวมลงเป็นหนึ่งนิ่ง
    ถึงที่ประชุมแห่งอริยมรรคสมังคีนั้นโดยเร็ว
    เรียกว่า สุขะ ปฏิปทาขิปปาภิญญา

    แต่นักปฏิบัติ ผู้รู้ช้า ก็ไม่สามารถจะรู้เร็วพร้อมในขณะที่จิตรวมลง
    ถึงความเป็นหนึ่งแห่งอริยมรรคสมังคี
    เรียกว่า สุขะ ปฏิปทา ทันธาภิญญา

    อีกโวหารหนึ่ง โบราณาจารย์เจ้า เรียกว่า เอกะ วิธา พิสมัย
    แปลว่า ตรัสรู้ได้ในขณะจิตดวงเดียว

    บัดนี้จะอธิบาย คำว่า มรรค อริยมรรค ผล อริยผล นั้นต่อไป

    คำว่า มรรค เป็นชื่อ แห่งหนทางทั่วไปในมนุษยโลก
    เทวโลก พรหมโลก ตลอดเป็นชื่อแห่งหนทางพระนวโลกุตระ
    คือทางพระนิพพาน

    คำว่า อริยมรรค เป็นชื่อแห่งหนทางพระนวโลกุตระ
    คือ เป็นชื่อแห่งหนทางพระนิพพานอย่างเดียว
    ไม่ทั่วไปในหนทางอื่นๆ


    คำว่า ผล เป็นชื่อแห่ง ความสำเร็จ หรือ ความบรรลุ
    ตลอดความตรัสรู้ ว่าโดยเฉพาะในทางโลกีย์
    หมายเอา ความสำเร็จผลที่ตนต้องการ ในทางโลกุตระ หมายดวงปัญญา

    คำว่า อริยผล เป็นชื่อแห่งมรรค ผล ธรรมวิเศษในทางโลกุตระ
    อย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องในทางโลกีย์


    บัดนี้จะอธิบายเหตุหรือปัจจัยที่ให้บังเกิดมีมรรคมีผลขึ้น
    ข้อนี้ นักปฏิบัติ พึงทราบดังนี้ว่า

    มรรค ก็ดี อริยมรรค ก็ดี ตกแต่งเอาเองได้

    ผล ก็ดี อริยผล ก็ดี ตกแต่งเอาเองไม่ได้ เป็นของเป็นเอง
    หรือ สำเร็จเองมาจากมรรค และอริยมรรคที่ตกแต่งถูกต้องแล้ว


    เมื่อบุคคลต้องการผลประโยชน์ในทางโลกีย์
    ก็ให้พึงตกแต่งมรรคในทางโลกีย์ให้ถูกต้อง


    คือ ต้องการเดินไปมาสะดวก
    ก็ให้ตกแต่งถนนหนทางให้เรียบร้อย

    ต้องการมีวิชาความรู้
    ก็ให้ศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ต่อครู อาจารย์

    ถ้าต้องการความมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติมากๆ
    ให้ตกแต่งการค้าขายให้ถูกต้องในทางสุจริตธรรม

    ถ้าต้องการเป็นคนดี
    ก็ให้ตกแต่งความประพฤติตนให้เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริตธรรม

    ถ้าต้องการเป็นคนมีชื่อเสียงยศถาบรรดาศักดิ์
    ให้ตกแต่งตนเป็นคนทำราชการแผ่นดินให้ถูกต้องในทางราชการนิยม

    เมื่อบุคคลต้องการโลกุตระให้ตกแต่งอริยมรรคให้ถูกต้อง
    ตามพระพุทธพจน์เดิมของพระพุทธเจ้า
    ซึ่งจะแสดงในข้อต่อไปข้างหน้า


    ในที่นี้มีประสงค์จะแสดงรูปเปรียบไว้พอเป็นนิทัศนะ

    มรรค กับ ผล มีรูปเปรียบเหมือนบุคคลปลูกต้นไม้ลงในพื้นที่ไร่
    ที่สวน หรือปลูกต้นข้าวลงในพื้นที่นา ในเวลากำลังปลูกอยู่ก็ดี
    และเวลาบังเกิดเป็นต้น เป็นลำแล้ว
    แต่ต้นลำยังอ่อนอยู่ก็ดี ย่อมไม่แลเห็นผล

    อาศัยความเชื่อแน่ในใจว่า ถ้าต้นลำแก่เต็มที่
    และถึงฤดูเป็นผล ก็จะต้องเป็นผลแน่ และเป็นผลจริงๆ ด้วย
    ฉันใดก็ดี มรรค กับ ผล ก็มีรูปเปรียบเหมือนกัน ฉะนั้น

    อริยมรรค กับ อริยผล มีรูปเปรียบเหมือนบุคคลก่อไฟ
    หรือจุดตะเกียงเจ้าพายุ ในเวลากำลังก่อไฟ
    หรือกำลังจุดตะเกียงเจ้าพายุอยู่นั้น
    ไฟยังไม่ติด ก็ยังไม่สว่างฉันใด อริยมรรค ก็เหมือนกัน

    ฉะนั้น ต่อเมื่อเวลาก่อไฟติดแล้วหรือจุดตะเกียงเจ้าพายุติดแล้ว
    ย่อมบังเกิดแสงสว่างขึ้นพร้อมกัน
    ฉันใดก็ดี อริยผล ก็มีรูปเปรียบเหมือนกันฉะนั้น


    ตรงตามพระพุทธภาษิตว่า
    นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา
    แปลว่า แสงสว่าง เสมอด้วย ปัญญาไม่มี

    ดังนี้ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า อริยผล คือ
    ดวงปัญญาซึ่งบังเกิดความสว่างไสวขึ้นในเวลาที่จิตประชุมอริยมรรคแล้ว



    ที่มาแสดงกระทู้ - อริยมรรคสมังคี : พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม • ลานธรรมจักร
     

แชร์หน้านี้

Loading...