อริยสัจจ์ ข้อที่ 1 " ทุกข์ "

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย forever_love, 2 ตุลาคม 2008.

  1. forever_love

    forever_love Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +43

    อริยสัจจ์ ข้อที่ 1 ทุกข์
    <O:p</O:p



    ทัศนะเกี่ยวกับทุกข์อาจจะแยกแยะแสดงได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
    • ทุกข์ ในฐานะที่เป็นความทุกข์ทรมานตามธรรมดา
    • ทุกข์ ในฐานะที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลง
    • ทุกข์ ในฐานะที่เป็นสภาพที่มีเหตุปัจจัยเกี่ยวเนื่องกัน
    <O:p</O:p
    ทุกข์ทุกอย่างในชีวิตเช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความที่ต้องเกี่ยวข้องกับตน หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่น่าชอบใจ การพลัดพรากจากบุคคลที่ตนรัก หรือสิ่งของที่ตนรัก ความปรารถนาสิ่งใดแต่ไม่ได้สิ่งนั้นตามที่อยากได้ ความโศก ความพิไรรำพัน ความแห้งใจ ความทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจทุกรูปแบบ ซึ่งยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นความทุกข์ทรมานหรือความลำบาก ล้วนรวมอยู่ในทุกข์ในฐานะที่เป็นทุกข์ธรรมดา
    <O:p</O:p
    ความรู้สึกที่เป็นสุข ปัจจัยที่เป็นสุขในชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มันเปลี่ยนเร็วบ้างช้าบ้าง เมื่อมันเปลี่ยนก็ก่อให้เกิดความทุกข์ ความไม่เป็นสุข ความแปรปรวนฉะนี้รวมอยู่ในทุกข์ในฐานะที่เกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลง
    <O:p</O:p
    การที่จะเข้าใจทุกข์ทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าวมาเป็นของง่าย ไม่มีใครปฏิเสธความทุกข์เหล่านั้น แง่นี้ของอริยสัจจ์
    ข้อที่ 1 เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาก เพราะมันง่ายต่อการเข้าใจ เป็นสิ่งธรรมดาที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของพวกเรา แต่รูปแบบที่ 3 ของความทุกข์ในฐานะที่เป็นปัจจัยปรุงแต่ง เป็นแง่ที่ลึกซึ้งมากที่สุดของอริยสัจจ์ข้อที่ 1 และจำเป็นจะต้องมีการอธิบายแยกแยะเกี่ยวกับสิ่งที่เราถือว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ( being, individual, I )
    <O:p</O:p
    ตามทัศนะทางพุทธศาสนา สิ่งที่เราเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเพียงการรวมกันเข้าแห่งกำลังหรือพลังงานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม หรือ 5 กอง (ปัญจขันธ์)
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า โดยย่อ อุปาทาน ขันธ์ 5 เป็นทุกข์
    อีกแห่งหนึ่ง พระองค์ทรงจำกัดความ คำว่าทุกข์ว่าหมายถึงขันธ์ 5 ไว้อย่างชัดแจ้งดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2008
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,662
    ค่าพลัง:
    +9,236
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะมีความตั้งใจ บุคคลจึงทำกรรมทางกาย วาจาและใจ เจตนาเป็นตัวสร้างจิต คือ ทำให้จิตเคลื่อนไหว กิจของเจตนาคือ บัญชาจิตให้เป็นไปในทางฝ่ายดี ฝ่ายเลว หรือกลางๆ”

    ขออนุโมทนาค่ะ


     
  3. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG][​IMG] ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...