อะไรคือ อริยสัจจ์ ๔ หัวใจพุทธศาสนา?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย นักรบธรรม, 13 กันยายน 2008.

  1. นักรบธรรม

    นักรบธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    969
    ค่าพลัง:
    +1,174
    <TABLE cellSpacing=1 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="66%" bgColor=#800080>
    <BIG>การวิเคราะห์หนังสือของ .....(ป.อ.ปยุตฺโต)</BIG>
    </TD><TD width="6%" bgColor=#8080c0>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%"> ในทางพุทธศาสนานั้น การเข้าถึงอริยสัจจ์ ๔ ได้นั้น จะเป็นไปด้วยการ ปฏิบัติทางสมาธิจิต ทั้งนี้เนื่องด้วย องค์ธรรมที่ต้องนำมาพิจารณา มีมากมายเหลือคณานับ หากพิจารณา กันด้วยความคิด ความรู้ หรือการเล่าเรียน โดยวิธีปกติธรรมดานั้น ชั่วชีวิตของมนุษย์ ผู้ปฏิบัติคนนั้น จะไม่มีวันบรรลุโลกุตรธรรม ใดๆ เลย ดังที่ตรัสกับ เวชณสปริพาชก กัจจานโคตร ณ เชตวันวิหาร ถึงการบรรลุโลกุตรธรรม ปรากฏในพระไตรปิฎก บาลีเถรวาท เวชณสสูตร ม.ม.๑๓/๓๗๒/๔๐๑ ว่า
    "กัจจานะ ...กล่าวคือ บุรุษผู้เป็นวิญญูชนไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีสัญชาติแห่งคนตรง จงมาเถิด เราจะพร่ำสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติ ตามที่เราสอนแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเอง โดยแท้ ต่อกาลไม่นานทีเดียว ดังที่ได้ยินกันอยู่แล้วว่า มีการพ้นพิเศษโดยชอบ จากเครื่อง ผูกมัดโดยอวิชชา"
    จะเห็นได้ว่า การบรรลุโลกิยธรรม และ เห็นแจ้ง ในอริยสัจจ์ ๔ นั้น จะเป็นไปโดยการปฏิบัติ มิใช่การศึกษา จากตำรา หรือจากประสบการณ์ ในชีวิตประจำวัน ตามที่พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต)กล่าวอ้างไว้ในหนังสือ "พุทธธรรม" ซึ่งทั้งนี้ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธวจนะไว้ชัด ต่อพุทธสาวกทั้งหลาย ณ เชตวันวิหารว่า ทรงบรรลุอริยสัจจ์ ๔ โดยสมาธิจิต ปรากฏในพระไตรปิฎกบาลี มหาวาร.สํ.๑๙/ ๕๒๘ / ๑๖๖๔ ความว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่ เราไม่เคยได้ยิน ได้ฟัง มาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือ ความทุกข์ ก็ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์นี้ ......เราตถาคต กำหนดรู้รอบแล้ว (ทุกข์)
    ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เรา ไม่เคยได้ยินได้ฟัง มาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริง อันประเสริฐ คือ แดนเกิดของทุกข์นี้ เป็นสิ่งควรละเสีย เกิดขึ้นแก่เราว่า คือแดนเกิดของความทุกข์นี้....... เราตถาคตละได้แล้ว (เหตุที่เกิดทุกข์ = สมุหทัย)
    ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้น เกิดขึ้นในสิ่งที่เรา ไม่เคยได้ยินได้ฟัง มาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริง อันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (นิโรธ).......เราตถาคต ได้ทำให้แจ้งแล้ว
    ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่ ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือ ข้อปฏิบัติ ที่ทำให้สัตว์ ลุถึงความดับไม่เหลือ ของความทุกข์นี้..... เราตถาคต ทำให้เกิดมีแล้ว"
    แต่แนวทางของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ในหนังสือพุทธธรรม หน้า ๘๙๗ - ๙๑๑ นั้นเป็นการชี้แนะที่สับสน ไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย ของพุทธศาสนา ซึ่งเน้น "การปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่า เอหิปสฺสิโก ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นเองรู้เอง" แต่พระธรรมปิฎก กลับกล่าวในหน้า ๙๐๐ ว่า เป็นเนื้อหา ที่ทางฝ่ายวิชาการ ที่จะต้องศึกษา ในเมื่อต้องการเข้าใจอริยสัจจ์ให้ชัดเจน ถึงที่สุด" ซึ่งนับว่า เป็นคนละเรื่อง คนละความหมาย ในพุทธศาสนา ดังได้นำพุทธวจนะ มาเปรียบเทียบให้ดูไว้แล้วนั้น
    สิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ในความปรารถนา และการชี้นำ ที่ต้องการให้ใช้ "หนังสือพุทธธรรม" เป็นหลักในการเผยแพร่อุดมการณ์ ของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ปรากฏตามหนังสือ วัฒนพจน์ของ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทางวัฒนธรรม หน้า ๑๑๘ จัดทำโดย สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์เผยแพร่ ๒,๐๐๐ เล่มโดย สำนักพิมพ์คุรุสภา (งบประมาณรัฐ = ประชาชน) ว่า
    "การศึกษา "พุทธธรรม" เพื่อให้การวินิจฉัยความหมาย และคุณค่าของหลักธรรม ในพุทธศาสนา เป็นไปด้วยความแน่ใจ ให้เกิดความชัดเจน และความถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะว่า การตีความ หรือวินิจฉัย ความหมายต่าง ๆ นั้น หากทำไปไม่ถูกต้อง อาจจะเป็นอันตรายได้มาก ดังจะเห็นได้ในปัจจุบันนี้..."
    จะเห็นได้จากการชี้นำว่า หนังสือ"พุทธธรรม" เท่านั้น ที่สามารถอธิบายพุทธศาสนา ได้ถูกต้อง การจัดพิมพ์หนังสือต่างๆ เหล่านั้น ก็ใช้เงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศ เผยแพร่สิ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนยาพิษ ให้กับเยาวชน และประชาชน
    จากที่กล่าวมาแล้วแต่ต้นนั้น จะเห็นได้ว่า ขบวนการดังกล่าว มุ่งเน้นในเรื่อง เยาวชน และระบบการศึกษาของชาติ อันเป็นเป้าหมายหลัก ในการถ่ายทอด ปลูกฝังอุดมการณ์ ที่จะติดอยู่ภายใต้จิตสำนึก ของเยาวชนในชาติ ไปชั่วชีวิต และต้องยอมรับกันว่า ชีวิตวัยเรียน ของเยาวชนนั้น เวลาช่วงศึกษา จะอยู่กับครูอาจารย์ผู้สอน ที่ป้อนความรู้ และข้อมูลใส่สมอง มากกว่าบิดามารดา ฉะนั้นสถานศึกษา จึงเป็นแหล่งที่ปลูกฝัง และชี้ชะตา ของชาติในอนาคต ว่าจะมีทิศทางไปทางใด และหากต้องการจะกลืนชาติ ให้สำเร็จ ก็ต้องกลืนแหล่งปลูกฝังการศึกษา ของเยาวชนนั่นเอง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่กระทรวงศึกษาธิการ คือ เป้าหมายที่ถูกยึดครอง อย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งบุคคลต่างๆ ที่ได้เข้ามีส่วนร่วม กับขบวนการนี้นั้น อาจจะไม่มีส่วนรู้เห็น หรือเห็นด้วยก็ได้ เพราะผู้วางแผน เป็นมืออาชีพระดับโลก มีวิธีการอันชาญฉลาด ที่จะหลอกใช้ ให้กระทำในสิ่งต่างๆ โดยบุคคลเหล่านั้นไม่มีโอกาสรู้ตัวสักนิด และมีตัวอย่างเช่นนี้มาแล้ว ในประเทศ ที่ถูกยึดครองพื้นที่ทางสมอง เป็นเมืองขึ้น ทางเศรษฐกิจ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  3. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    จักขุ ปัญญา ญาณ วิชชา แสงสว่าง คือต้นทางของการบรรลุมรรคผล นิพพาน ถ้ายังไม่มีก็พิจารณาอริยสัจไม่ได้ วิปัสสนาก็เป็นอันยังไม่ได้ทำ
     
  4. ทรัพย์พระฤาษี

    ทรัพย์พระฤาษี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    อริยะสัจจ์ ๔


    (งานสัปดาห์วิสาขบูชา วันที่ ๒๓ พ.ค. ๒๕๔๕ เวลา ๑๘.๐๐ น.ท้องสนามหลวง)
    โดย อาจารย์วิชิต ธรรมรังษี
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ชุด หัวข้อที่ควรกำหนดในอริยสัจ ๔


    ๑. ความเบื้องต้นที่ควรทราบ
    ๒. ความหมายของอริยสัจ ๔ --- มีกี่อย่าง อะไรบ้าง ?
    ๓. องค์ธรรมของอริยสัจ ๔ --- แยกประเภทได้กี่อย่าง ?
    ๔. กิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ?
    ๕. อรรถคือความหมายของอริยสัจ ๔ แต่ละข้อ
    ๖. ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔ มีอาการ ๑๒






    ๑. ความเบื้องต้นที่ควรทราบ

    <CENTER><TABLE id=AutoNumber6 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=10 width="92%" border=0><TBODY><TR><TD width="25%">[​IMG]</TD><TD width="75%">ธรรมเทศนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ทรงแสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงแสดงธรรมนี้แก่พุทธบริษัทเป็นส่วนมาก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
     
  5. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,671
    ค่าพลัง:
    +51,946
    *** สัจจะ ๔ ****

    ผู้ที่มีบุญบารมีถึง มีสัญญาเก่ากับศาสนาพุทธ
    จะมีโอกาสได้พบกับศาสนาพุทธ ที่จะนำพาให้หลุดพ้นทุกข์
    เมื่อเข้ามาแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ออกนอกศาสนา หลงความคิดเห็น ที่ไม่ใช่สัจจะธรรมความจริง
    จึงให้รับสัจจะ นับถือพุทธศาสนาตลอดชีวิต

    สัจจะปฏิบัติ คำสอนพระพุทธเจ้า ค่อยๆ ขาดหายไปจากพระไตรปิฎก
    เพราะ สัจจะเป็นเรื่องพ้นทุกข์
    คำสอนพระพุทธเจ้า จึงขัดกับการหาผลประโยชน์ด้วยศาสนา
    พระพุทธเจ้า ห้ามไม่ให้ซื้อขายพระ เพราะจะทำลายศาสนา
    สร้างได้ แล้วให้แจกจ่ายไปเคารพบูชา ไม่เรียกผลตอบแทน
    ผู้ใดจะทำบุญกับวัด ก็จะเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกัน

    พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ใน หลักสัจจะธรรม
    รู้ว่าผลการกระทำ ไม่ตาย จะติดตัวเราไป และมีผลตอบแทน
    จึงปรับความเชื่อให้ถูกต้อง
    โดยมอบสัจจะ ไม่เห็นผู้อื่นเป็นที่พึ่ง

    พระพุทธเจ้า สั่งสอนไว้
    ไม่ให้พระ ตั้งตัวเป็นเกศิอาจารย์
    เพราะ นานไปจะหลงตัวเอง ดัดแปลงคำสอน แล้วนำไปสู่เรื่องหวังผลประโยชน์
    จะทำให้คนเสื่อมศรัทธาในศาสนาได้

    สรุปเป็น... สัจจะ ๔ ข้อ
    ๑. นับถือพระพุทธศาสนา ตลอดชีวิต
    ๒. ไม่ซื้อขายพระ ตลอดชีวิต
    ๓. ไม่เห็นผู้อื่นเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต
    ๔. ไม่ตั้งตัวเป็นเกศิอาจารย์ ตลอดชีวิต

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,671
    ค่าพลัง:
    +51,946
    <TABLE id=post2024326 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_2024326 class=alt1>*** อริยสัจ กับ หลักสัจจะธรรม ****

    หลักสัจจะธรรม
    …คือ “ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน”
    เป็นแก่นสารสัจจะธรรม....ที่ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ค้นพบ

    ทุกข์
    ....คือ "ผลตอบแทน" จาก "ตัวกระทำ" ที่เกิดจากการกระทำที่เบียดเบียน
    ....เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ ที่ส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจของผู้สร้างการกระทำ

    สมุทัย
    ... คือ "นิสัยสันดาน" เป็น ต้นเหตุให้เกิดการกระทำที่เบียดเบียน
    … เป็น สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด

    นิโรธ
    .... คือ "การกระทำใหม่" เพื่อการดับทุกข์
    .... เป็น การกระทำที่พยายามฝืน ละ เลิก กิเลสนิสัยสันดานของตนเอง

    มรรค
    … คือ “สัจจะ” ข้อปฏิบัติเพื่อตัดกิเลสนิสัย
    … เพื่อให้เกิดการกระทำใหม่ในชีวิต ที่ปราศจากนิสัยสันดานบางตัว ในช่วงเวลาที่ตนเองกำหนดไว้ชัดเจน
    ... คือ หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ที่เกิดจากการกระทำ ตามนิสัยสันดานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
    … คือ เห็น “การกระทำเป็นที่พึ่ง” เพราะ เห็นตัวกระทำเป็นที่พึ่ง
    ... เป็นการก้าวเดินตาม “หลักสัจจะธรรม”
    ... “ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน”

    นิสัยหมดเมื่อไหร่ ละสังขารไปก็ไม่ต้องมาเกิดใหม่
    คือ เข้าถึงที่สุด คือ หลุดพ้นไปจากโลกเข้าสู่นิพพาน

    - “ หนุมาน ผู้นำสาร”<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2> <SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("2024326")</SCRIPT> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt1 align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...