อันซีน“วัดเทพธิดาราม”…งดงาม“หอไตร” มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 4 ตุลาคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>วัดเทพธิดาราม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>หลายคนคงรู้ข่าวว่า เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การยูเนสโกประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ประกาศยกย่องรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปี 2011 จำนวน 9 แห่ง ผลปรากฏว่า มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยได้รับรางวัล 3 รางวัล หนึ่งในนั้นได้แก่ “หอไตร” วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ดีเด่น

    วันนี้ฉันจึงกลับมาเยือน “วัดเทพธิดารามวรวิหาร”อีกครั้ง เพื่อสัมผัสชื่นชมในมรดกวัฒนธรรมระดับโลกอันทรงคุณค่าแห่งใหม่ล่าสุดนี้


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หอไตร ที่ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ดีเด่นจากยูเนสโก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>สำหรับวัดเทพธิดาราม หากเข้าประตูแรกทางด้านซอยสำราญราษฎร์ ด้านซ้ายมือเราจะเจอประตูคณะ 5 และหากมองเข้าไปด้านซ้ายมือก็จะเจอกับ “หอไตร” ที่ดูสวยสดงดงาม มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีที่มีลักษณะการตกแต่งอิทธิพลจีนตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะอาคารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ใต้ถุนสูง กว้าง 6.50 เมตร สูง 10 เมตร ปิดทอง ล่องชาด มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันปิดทองประดับกระจกสี มีงานศิลปะลายรดน้ำที่มีอยู่ทุกบานประตู และหน้าต่าง สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาพระคัมภีร์ใบลาน ซึ่งจารึกพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่นๆ ภายในหอไตร มีตู้พระไตรปิฎกทรงโบราณ กว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.70 เมตร สูง 2 เมตร ขาตู้เป็นลักษณะเท้าสิงห์

    ทั้งนี้ทางกรมศิลปากรได้วางแนวทางการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของกรมศิลปากร โดยเน้นการปฏิสังขรณ์ ดูแล ร่วมกับชุมชน สำหรับ “หอไตร” วัดเทพธิดาราม ได้รับความร่วมมือกับชาวบ้านในการดูแลหอไตร ในด้านอนุรักษ์เป็นฝีมือช่างแบบดั้งเดิม และมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมศึกษาทุกวัน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300><TBODY><TR><TD vAlign=top width=300 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หอไตรมีสถาปัตยกรรมแบบไทยจีน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>นอกจากหอไตรแล้ว ที่วัดเทพธิดารามแห่งนี้ยังมีโบราณสถานที่น่ายลอีกเพียบ แต่ก่อนจะไปลุยกันต่อฉันขอเล่าถึงความเป็นมาของวัดเทพธิดารามกันสักหน่อย โดยวัดแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ (กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ)

    การก่อสร้างพระอารามนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์) เป็นแม่กองอำนวยการสร้างในตำบลสวนหลวงพระยาไกร และแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2382 รัชกาลที่ 3 ได้เสด็จพระราชดำเนินผูกพัทธสีมาด้วยพระองค์เอง พร้อมพระราชทานนามว่า “วัดเทพธิดาราม”


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>รอบพระวิหารมีพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ส่วนลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดแห่งนี้ เป็นศิลปะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน เนื่องจากสังคมในสมัยนั้นมีการติดต่อค้าขายกับจีนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้รับเอาศิลปวัฒนธรรมจีนเข้ามามีบทบาทในสถาปัตยกรรมไทย รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นอาคารแบบไม่มีช่อฟ้า ใบระกา แบบวัดในช่วงสมัยอื่น

    รวมถึงเครื่องประดับพระอารามที่เป็นตุ๊กตาจีนสลักหิน มีทั้งรูปคนและสัตว์ ตุ๊กตารูปคนบางตัวมีลักษณะท่าทางและการแต่งกายแบบจีน บางตัวแต่งกายแบบไทย แต่ที่น่าสนใจก็คือ ตุ๊กตาจีนที่วัดแห่งนี้ส่วนมากจะสลักเป็นผู้หญิงในลักษณะต่างๆ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หมู่ภิกษุณีประดิษฐานหน้าพระประธานในพระวิหาร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อรู้จักวัดเทพธิดาราม และชมความงามของหอไตร มรดกทางวัฒนธรรมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกันแล้ว ฉันขอพาไปชม “หมู่ภิกษุณี” แห่งเดียวในไทยกันที่พระวิหาร ซึ่งถือเป็นอันซีนอันน่าสนใจยิ่งแห่งวัดเทพธิดาราม

    หมู่ภิกษุณี หรือนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนานี้ เป็นรูปหล่อลงรักปิดทอง ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนหน้าพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร จำนวน 52 องค์ นั่ง 49 องค์ ยืน 3 องค์ อยู่ในอิริยาบถต่างๆ หลากหลายท่า มีทั้งท่านั่งปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ฉันหมาก สูบยา ยืนไหว้ นั่งพนมมือ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หมู่ภิกษุณี 52 องค์ในอิริยาบทต่างๆ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>โดยหมู่ภิกษุณีเหล่านี้ มีประวัติเล่าไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล แรกเริ่มเดิมทีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ ต่อมาพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของพระองค์เอง ได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล

    จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องรับเอาครุธรรมแปดประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ จึงได้กำเนิดภิกษุณีองค์แรก คือ พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี นั่นเอง สันนิษฐานว่า ภิกษุณีองค์ที่มีลักษณะท่านั่งคล้ายพระพุทธองค์ ปางมารวิชัย คือ พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300><TBODY><TR><TD vAlign=top width=300 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงพ่อขาว พระประธานในพระอุโบสถ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>จากพระวิหาร ฉันขอไปไหว้พระประธานในพระอุโบสถกันบ้าง โดยภายในพระอุโบสถมี “หลวงพ่อขาว” ประดิษฐานบนบุษบก เป็นพระประธานปางมารวิชัย สลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 15 นิ้ว สูง 21 นิ้ว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธเทววิลาส”


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระอุโบสถศิลปะแบบจีน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ส่วนรอบนอกพระอุโบสถ ทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐาน “องค์พระปรางค์” ที่ฐานพระปรางค์แต่ละองค์มีรูปท้าวจตุโลกบาล คือท้าวกุเวร ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก และท้าววิรุฬปักข์ ประจำรักษาในทิศทั้ง 4 อาคารอีกหลังที่สำคัญก็คือ “ศาลาการเปรียญ” เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะใกล้เคียงกันกับพระอุโบสถและพระวิหาร แต่ไม่มีการทำระเบียงรอบ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ศาลาการเปรียญ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>นอกจากนี้ วัดเทพธิดารามยังมีความสัมพันธ์กับกวีเอกของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) หรือรู้จักกันในนามว่า “สุนทรภู่” ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้อุปสมบทและจำพรรษาที่พระอารามนี้ระหว่าง พ.ศ. 2382-2385 ซึ่งได้รับพระอุปถัมภ์จากพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพตลอดมา

    สุนทรภู่ได้สร้างงานประพันธ์ไว้เป็นจำนวนมาก ในบรรดางานเหล่านี้ เรื่องที่เกี่ยวกับวัดเทพธิดารามมากที่สุดคือ “รำพันพิลาป” ท่านได้พรรณนาให้เห็นลักษณะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และความงามของพระอารามในสมัยนั้นอย่างละเอียด รวมทั้งได้กล่าวถึง หอพระไตรปิฎก ไว้ด้วย


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300><TBODY><TR><TD vAlign=top width=300 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตุ๊กตาสลักผู้หญิง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ใครที่อยากชมหอไตร มรดกทางวัฒนธรรมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หมู่ภิกษุณี และศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มาชมกันได้ที่ “วัดเทพธิดาราม” แห่งนี้ ชาวต่างชาติยังเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมของไทย เราเป็นคนไทยก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานมรดกอันทรงคุณค่าให้อยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD vAlign=top width=450 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ส่วนของกุฏิสุนทรภู่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    วัดเทพธิดาราม ตั้งอยู่ที่ ริมถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-2225-7425, 0-2222-3046-7
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000126261
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2011
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุๆ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกันสร้าง
    และบูรณะวัดแห่งนี้ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  3. rit_nadoul

    rit_nadoul Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +78
    หน้าวัดยังมีผัดไทเส้นจันทร์มันกุ้งต้นตำหรับด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...