อาการและวิธีแก้ลมพิษ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย DevilBitch, 11 กรกฎาคม 2005.

  1. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    "ลมพิษ"เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของหลอดเลือดในชั้นหนังแท้ต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอกและภายในร่างกาย ทั้ง อาหาร ยา เชื้อโรค และสภาวะทางฟิสิกส์ เช่น ความร้อน ความเย็น แสงแดด เป็นต้น

    อาการของผื่นลมพิษเกิดขึ้นเมื่อร่างกายผู้ป่วยได้รับสิ่งที่ตัวเองแพ้เข้าสู่ผิวหนังโดยการรับประทาน สัมผัส หรือฉีดเข้ากล้าม เข้าใต้ผิวหนัง หรือเข้าหลอดเลือด สิ่งกระตุ้นจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว สารน้ำจะซึมออกนอกหลอดเลือด เกิดอาการแดง บวม ร้อน คัน บางครั้งอาจมีอาการเจ็บ ถ้าการขยายตัวของหลอดเลือดเกิดในหนังแท้ส่วนบนๆ อาการบวม แดง ร้อนเห็นชัดเจน เรียกลมพิษชนิดตื้น เกิดบริเวณใดของผิวหนังก็ได้ ผื่นอาจเป็นรูปกลม รี วงแหวน หรือรูปแผนที่

    ถ้าการขยายตัวของหลอดเลือดเกิดในส่วนลึกของหนังแท้ อาการแดงมักเห็นไม่ชัดเจน แต่จะพบอาการบวมมากกว่า เรียก ลมพิษชนิดลึก มักเกิดบริเวณรอบตา ปาก ปลายแขน รายที่เป็นรุนแรงจะบวมมาก โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและลำคอซึ่งเป็นเครื่องเตือนว่าผู้ป่วยอาจเกิดอันตรายจากการอุดตันของทางเดินหายใจ หากมีอาการแน่น หายใจไม่สะดวก รีบพบแพทย์โดยด่วน

    น.พ.ป่วน สุทธพินิจธรรม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ให้ความรู้ว่าลมพิษแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ชนิดเฉียบพลัน เกิดขึ้นรวดเร็ว บางรายอาจรุนแรง แต่ส่วนใหญ่หายไปใน 6 สัปดาห์ โรคติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เป็นสาเหตุของลมพิษชนิดเฉียบพลันที่พบบ่อย ผื่นลมพิษอาจนำหน้าอาการไอ เจ็บคอ ท้องเดิน ที่เกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือเกิดภายหลังอาการดังกล่าวก็ได้ แต่มักอยู่ในระยะ 2 สัปดาห์ หลังเกิดอาการ

    2.ชนิดเรื้อรัง คือผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่รุนแรง ผื่นจะขึ้นๆ ยุบๆ เป็นอยู่นานเกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ได้ ผู้ป่วยจึงมีอาการผื่นลมพิษเป็นๆ หายๆ นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

    วิธีป้องกันอาจารย์หมอป่วนแนะนำดังนี้ หลีกเลี่ยงหรือกำจัดสาเหตุของผื่นลมพิษ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับสารพิษที่เป็นต้นเหตุออกไป ระวังไม่ให้ท้องผูกเพื่อกำจัดของเสียออกทางอุจจาระ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ อาหารทะเล อาหารหมักดอง อาหารที่มีสารกันบูด อาหารกระป๋อง ถั่ว เนื้อสัตว์ เพราะอาจมียาปฏิชีวนะตกค้าง นอกจากนี้ผัก ผลไม้ที่รับประทานควรแช่น้ำและล้างให้สะอาด เพื่อกำจัดยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ปนเปื้อน

    กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือทราบแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้รับประทานยาแก้แพ้ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม 1.ยาต้านฮิสตามีนชนิดที่ทำให้ง่วงน้อย มีฤทธิ์กดอาการลมพิษได้ดี ทำให้ง่วงนอน ราคาแพง ได้แก่ Astemizole และ Loratadine เป็นต้น 2.ยาต้านฮิสตามีนชนิดที่ทำให้ง่วงซึม มีฤทธิ์กดอาการผื่นคันดีมาก ข้อจำกัดคืออาการง่วงนอน ซึ่งพบบ่อยกว่ายากลุ่มแรก เช่น Chlorpheniramine และ Brompheniramine แต่การรับประทานยาต้านฮิสตามีนในระยะยาวควรอยู่ในความดูแลของแพทย์


    [font=MS Sans Serif,Thonburi][color=#00000]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="20%" align=right bgColor=#f0f5f5 border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[/color]
    [/font]
     
  2. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    ไซนัส


    [font=MS Sans Serif,Thonburi][color=#00000]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="20%" align=right bgColor=#f0f5f5 border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[/color]
    [/font]

    -Sinusitis หรือโรคโพรงอากาศอักเสบ เกิดจากการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก มักเป็นภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด หวัดจากภูมิแพ้ หรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้รูเปิดไซนัสถูกอุดตัน ทำให้มีน้ำขังในไซนัส ถ้าติดเชื้อจะมีหนองขังอยู่ภายใน มีอาการคัดจมูก ปวดหนักๆ และกดเจ็บบริเวณที่มีการอักเสบ ถ้าเป็นโพรงอากาศข้างแก้ม จะปวดแก้ม ถ้าเป็นโพรงอากาศเหนือคิ้ว จะปวดระหว่างหน้าผากเหนือคิ้ว ปวดศีรษะ ปวดหัวตา ร้าวไปทั้งขมับ เป็นต้น


    ไซนัสก่อให้เกิดปัญหากับโรคภูมิแพ้ เมื่อเยื่อบุจมูกของคนที่มีปัญหาทางภูมิแพ้สัมผัสกับอากาศที่มีสารซึ่งทำให้ร่างกายผลิตสารฮิสตามิน (histamine) ขึ้น สารตัวนี้ทำให้เยื่อบุในจมูกและในโพรงอากาศบวมเป็นน้ำระยะยาว เป็นเหตุให้การเดินทางของน้ำมูกน้ำเมือกสู่ช่องจมูกและช่องปากเป็นไปได้ไม่ราบรื่น ตกค้างอยู่ในโพรงอากาศมากแบบเดียวกับโรคหวัดเรื้อรัง


    ไซนัสยังเกิดกับคนที่เป็นหวัด เป็นสาเหตุให้เยื่อบุในจมูกและโพรงอากาศบวมขึ้น ทำให้ท่อติดต่อระหว่างโพรงอากาศและจมูกตัน เมื่อน้ำเมือกเหนียวที่ผลิตขึ้นมาโดยเยื่อบุในโพรงอากาศเกิดคั่งค้าง เป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะสีของน้ำมูกที่เปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองหรือแกมเขียวบ่งชี้ถึงการอักเสบที่เกิดขึ้น


    การผ่าตัดไซนัส แพทย์ใช้กล้องขนาดเล็กส่งตรวจเข้าไปในช่องจมูก โดยไม่ต้องเปิดแผลที่จมูกและใบหน้า ตรวจดูภาวะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุและจะผ่าตัดแก้ไขไซนัสอักเสบผ่านทางกล้องขนาดเล็กนั้น ใช้เวลาประมาณ 1-2 ช.ม.


    การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด มักรักษาด้วยยารับประทาน ผู้ป่วยควรนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ กินอาหารที่มีคุณค่าถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว อากาศหนาวควรดื่มน้ำอุ่นจัด หลีกเลี่ยงการกระทบอากาศเย็นจัดหรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ทำงานที่ไม่ได้ออกกำลังมากและไม่เครียด การใช้น้ำร้อนประคบอาจช่วยลดอาการปวดได้บ้าง ไซนัสไม่มีอันตรายรุนแรง นอกจากผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอมากๆ หรือมีโรคประจำตัวร้ายแรงอยู่เท่านั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...