อากาสานัญจายตนะ กับ กสิณอากาศ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย center-in-center, 8 มีนาคม 2009.

  1. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,716
    ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคนละแบบกัน โดยส่วนตัวไม่ได้ฝึกกสิณอากาศ แต่ทำสมาธิสมถะเข้าไปจนถึง อากาสานัญจายตนะ
    ซึ่งข้าพเจ้าขอใช้คำว่า "อวกาศไม่มีที่สิ้นสุด" มากกว่าจะใช้คำว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แต่ก็แล้วแต่ความรู้สึกของแต่ละคน สภาวะเวิ้งว้างกว้างไกล สงบ เงียบ ไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา
    เป็นภาวะที่ตนเองลอยเคว้งอยู่กลางอวกาศ มีตัวตนก็ใช่ จะไม่มีก็ใช่ สงบดีแท้ รู้สึกอยากอยู่นานๆ แต่ก็ไม่รู้จะอยู่ทำไม พูดมะถูก...หุหุหุ (เหมียวๆๆ)
     
  2. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,716
    เมื่อมี"สติ" ในภาวะอากาสานัญจายตนะ แล้วดำริใน "รู้" ว่าแม้อากาศ ไม่มีที่สิ้นสุดนี้ ก็ยัง "มี" อากาศ อยู่นั่นเอง ล้วนต้องดับไปในไม่นาน
    พอถึงตอนนี้ จิตดิ่งเข้าสู่ ภาวะวิญญาณไม่ม่ที่สิ้นสุด เห็นเป็นสาย เป็นชั้น เป็นเถา เป็นพืด พูดมะถูก ตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบัน และ อนาคตอีกยาวไกล หาที่สุดไม่ได้ แม้อดีต ก็หยั่งลง ให้สุดก็มิได้ มีชาติ ภพ เป็นอนันต์ เมื่อพิจารณา สภาวะธรรม นี้ ด้วยสติแล้ว ย่อมรุ้ชัด ว่า การเวียนว่าย ตาย เกิด อันไม่มีประมาณนี้ น่าสังเวช หดหู่ ควรที่จะหลีกออกไปเสีย จากห่วงโซ่นี้ ในวัฏสงสารนี้....
    ความรุ้ที่ได้ส่วนตัว ประมาณนี้อ่ะคับ ขอคนช่วยแชร์ประสบการณ์หน่อย คับ.....เหมียวๆๆๆ
     
  3. dragoona

    dragoona เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +129
    อนุโมทนา สาธุ เคยอ่านในหนังสือ เล่มหนึ่ง บอกว่า อรูปพรหม ก็มี อัจฉริยะบุคคล ที่สามารถ ทำวิปัสสนา ทั้งๆ ที่เป็น อรูปพรหม จนนิพพาน เองได้
     
  4. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ลองศึกษาดูอีก ก่อนดีไหมคะ ว่าเปนเช่นที่กล่าวหรือไม่
     
  5. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    ไม่มีความเห็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2012
  6. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
      เป็น  สภาวะธรรมที่สูงขึ้น ต่อจากฌาน ๔ เรียกว่าอากาสานัญจายตนะ
    หรือ อรูปฌาน ๑ 
    สภาวะเหมือน     ลูกโป่งขนาดใหญ่    หลุดลอยไปใน
    อากาส โดยไม่มีที่สิ้นสุด   ทะลุชั้นบรรยากาศ  ผ่านมืด และสว่าง สลับกัน ๘ ครั้งโดยประมาณ จนกระแสจิตสามารถ สัมผัส ภูมิชั้น พรหม
    มีลักษณะ ไออุ่น ดวงรูปคล้ายดวงจันทร์  มีแสงนวลในตัวเอง ขนาดเส้นผ่าสูญกลางประมาณ ๒ ฟุต  กระจายอยู่ทั่วไป ในชั้นพรหม จากนั้น ในสมาธิจิตก็สามารถ  รับรู้อย่างละเอืยด โดยทุกกระเบียดนิ้ว  ถึงที่มาของพรหมแต่ละรูป  รู้การเกิด การดับ และรู้ว่าอยู่เป็นเวลานานเท่าไร และรู้ว่า
    จะไปเกิดที่ไหน เกิดเป็น ใคร ชื่ออะไร หรือเกิดเป็นลูกใครและ เกิดในเวลาใหน  รู้ทุกอย่าง  ในสภาวะบนชั้นพรหม เท่าที่จิตของเราต้องการที่จะรู้  ครับ ที่ อธิบาย เสียยาว เพื่อจะได้เข้าใจ เพราะไม่ค่อยพบในตำรา
    ทั้งหมดที่อธิบาย มีหลักฐาน ไว้เป็นอุปกรณ์ธรรม ๑ ในภพพรหมนั้นมาเกิดเป็น มนุษย์   ปัจจุบัน นี้อายุ  ๑๓  ปี แล้ว ครับ  แล้วยัง ใด้ ฌานติดตัว
    มาจากอดีตชาติ สามารถ หลับตาอ่านหนังสือ  โดยที่ไม่มีหนังสือ ครับ

     ขอบุญจงรักษาท่านผู้ใฝ่ธรรม
     
  7. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,849
    โมทนาสาธุ เป็นอย่างสูงครับ ของผมฌาน๑ ถึง ๔ ยังเอาไม่รอดเลยครับ ^ ^ แค่ทรงอารมณ์ไว้ยังเอายากเลย
     
  8. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ผมแนะนำพอเป็นแนวทางให้นะครับ เมื่อเข้าสู่อากาสานัญจายตนะแล้ว เป็นสภาวะที่ มองไปทางไหนก็ว่างเปล่าเหมือนล่องลอยอยู่ในอากาศ หาที่สุดมิได้นั้น เราใช้อะไรเป็นตัวรู้ เราใช้จิตหรือวิญญานรู้ ฉะนั้นให้กำหนดไปที่ตัวผู้รู้คือจิต พิจารณาไปต่อไปก็จะเข้าสู่วิญญานัญจายตนะ เป็นฌามที่หก ต่อจากนั้นถ้าทำต่อไปก็จะเข้าสู่ สภาวะที่เรียกว่า หน่อยหนึ่งก็เหมือนจะไม่มีตัวผู้รู้ แต่อีกหน่อยหนึ่งก็ยังรู้สึกว่ามีตัวผู้รู้อยู่ เรียกว่าอาจิณจัญญายตนะ เป็นฌามที่เจ็ด ต่อจากนั้นถ้าพิจารณาต่อไปอีก ก็จะไปสู่สภาวะที่เรียกว่า หน่อยหนึ่งก็เหมือนจะดับจากสภาวะทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเวทนา หรือสัญญาต่างๆ แต่ก็ยังเหลืออยู่อีกหน่อยหนึ่งที่ยังจะมีสัญญาหรือเวทนาอยู่แบบเบาบางละเอียดมาก สภาวะนี้เป็นฌานที่เเปด เนวสัญญานาสัญญายตนะ ต่อไปถ้าพิจารณาต่อไปจะเข้าสู่สภาวะที่ดับทั้งสัญญาและเวทนา เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นฌานที่เก้า ซึ่งเป็นฌานสุดท้าย แล้วสุดท้ายที่ปลายห้วงของสถาวะนี้ จะเกิดปัญญาญาณหยั่งรู้ สุขุมคำภีรภาพ จะเป็นปัญญาระดับโลกุตระ พิจาณาเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง เป็นการหยั่งรู้ด้วยญาณมิมีการผิดพลาดแต่ประการใด จะรู้ในอริยสัจสี่ รู้ในกิจสาม ญาณสี่ และเข้าสู่สภาวะนิโรธธรรม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น เบื้องบาทที่คุณควรได้คือ การเกิดนิพพิทาญาณเสียก่อน จากการพิจารณาอสุภะ หรืออาการสามสิบสอง จนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายของตน เห็นร่างกายของตนตามความเป็นจริง ให้จิตเห็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่ใช่นึกคิดเอา แต่มันจะเป็นไปโดยอัตโนมัติของจิตเอง ที่เรียกว่าเกิดนิพพิทาญาณ จึงจะเจริญฌานเป็น ฌานที่ไปสู่โลกุตระ ได้ มิใช่โลกียฌานแต่อย่างใด ก็มีด้วยเอวังละประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2012
  9. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    คุณ โมกขทรัพย์ ครับ เอาสติ ตามจิตให้ทัน ปฏิบัติ ให้สม่ำเสมอ
    ถ้าความเพียรมากไป หรือน้อยไป จะทำให้ทรงอารมฌ์ใว้ยาก
    เอาใจช่วยครับ อย่าพึ่งท้อ  เมื่อไรถ้าคุณมีความอยาก  ที่จะนั่งสมาธิ
    เวลานั้นคุณจะไปได้เร็ว ส่วนใหญ่จะติดอยู่ที่เวทนาครับ ถ้ายังไม่ก้าว
    หน้าให้เปลี่ยนอิริยาบทใหม่ครับ  ลองดูสิครับ
      เจริญธรรมมาต้วยเมตตาจิต
     
  10. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ลักษณะของการกำหนดตัวรู้ เพื่อขึ้นฌานที่ 6 ทำอย่างไรครับ
    เพราะผมสังเกต ลักษณะของตัวรู้นี้ ที่ผมเห็น มันเหมือนกับว่า รู้ขึ้นมาชั่วขณะนึง แล้วตัวรู้ก็ดับลงไป ก็จะกลับไปเจอความว่างอีก ต้องกำหนดถี่ๆ เรื่อยๆ หรือเปล่าครับ?
     
  11. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    จะจับอะไรก็มุ่งไปสักอย่างจะดีกว่า

    ขอร่วมเสวนาเป็นการคั่นเวลาก่อนนะครับ

    ผมว่าจะมุ่งไปทางไหน จะสมถะหรือจะไปตามตัวรู้ จะไปวิปัสสนา ก็มุ่งไปสักทางจะดีกว่า ขืนส่ายไป ส่ายมา จะไม่ได้การ ไม่ได้งานเอาสักอย่าง

    ผู้ฝึกอรูปฌาน จะดื่มด่ำกับความสงบ ในสิ่งไร้รูปที่ยึดถือเป็นอารมณ์ของฌานในแต่ละระดับ เพียงอย่างเดียว ไม่มีการพิจารณาสิ่งใดหรือไปตามรับรู้สภาวะ หรือความเป็นไปในเรื่องกาย เรื่องใจแต่อย่างใด เพราะถ้าขืนไปทำอย่างนั้น จะตกฌานเอานะครับ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เท่าที่จับสัมผัสได้ ในบอร์ดนี้ ในห้องนี้ ผู้ที่ฝึกอรูปฌาน ช่ำชองในอรูปฌาน นั้นก็มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี

    เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่ผมเห็นว่าสมควรที่จะต้องขอให้ท่านสมาชิกที่ช่ำชองในอรูปฌานทั้งหลาย เข้ามาอภิปรายให้ความรู้กันต่อไป

    ส่วนผม ความรู้น้อย ประสบการณ์น้อย ก็ขอเข้ามาคุยเป็นการคั่นเวลา และขอถอยออกไปยืนห่างๆ เพื่อรออ่านความเห็นต่อไปจากท่านผู้รู้ เพื่อผมจะได้ถือโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมๆกันไปด้วยนะครับ
     
  12. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    หากปฏิบัติสูงขึ้นไป จะเห็นเองว่า สมถะและวิปัสสนา นั้นคือคนละดานของเหรียญอันเดียวกันครับ

    กำลังของวิปัสสนาขั้นสูงนั้น ไม่แตกต่างจากฌานเลย จิตนั้นนิ่ง และสงบพิจารณาในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แตกต่างแค่ มีตัวรู้ทำงานอยู่ และพร้อมจะหยิบอย่างอื่นมาพิจารณาแทนตัวเดิมได้

    กำลังของสมถะขั้นสูง เติมตัวรู้ และปัญญา เข้าไป ก็เป็นกำลังวิปัสสนาอย่างแรง
    กำลังของวิปัสสนาขั้นสูง ปล่อยให้ตัวรู้หายไป กำหนดแค่อารมณ์เดียว ก็เข้าเป็นฌานของสมถะไปเลยได้

    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนามานาน จิตในชีวิตประจำวัน จะเหมือนอยู่ในอุปจารสมาธิ ตลอดเวลาครับ
     
  13. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    อันนี้ผมเห็นด้วยว่าถูกทาง ถ้าในชีวิตประจำวันวิปัสสนาโดยปกติ จิตจะทรงอยู่ในอุปจารสมาธิเป็นพื้นฐาน หากประสงค์จะทรงฌานก็ตัดตัวรู้ออกไป จิตก็จะมุ่งสู่ระดับฌานตามที่ต้องการ คือกลับไป กลับมาได้ดังใจที่ต้องการ

    คุณปุณพิธกล่าวถึงการปฏิบัติขั้นสูงนี่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ต้องผ่านสมถะและวิปัสสนามาอย่างเข้มข้นแล้วถึงจะทำได้เยี่ยงนั้น

    ที่ผมติงคือ หากในขั้นต้นหรือขั้นกลาง ถ้าจะมุ่งวิปัสสนาเพียวๆเลยนี่ โดยพื้นของสมถะไม่แน่นมาก่อน จะไปหวังตามตัวรู้อย่างเดียวโดยไม่ฝึกสมถะ ผมมองว่าลำบากครับ

    แต่ก็อาจจะมีหนทางที่สามารถทำได้ ซึ่งผมอาจจะไม่ทราบมาก่อน ก็ต้องรอความเห็นจากผู้รู้กันต่อไปครับ
     
  14. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ถึงคุณ ปุณบพิธ ครับ ที่คุณถามว่าตัวผู้รู้ใน ฌาน ที่หกนั้น คือสภาวะ จะอธิบายว่า เหมือนจะรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด ตัวผู้รู้ก็คือจิต รู้แบบไม่มีภพมีชาติ รู้แบบไมมีที่สิ้นสุด ซึ่งจะหาสาระแก่นสารอะไรมิได้เลย ให้ใช้สติเพ่งเข้าไปที่จิต ที่เรารู้สึกว่าเรายังรู้อยู่ เพ่งเข้าไปใช้สติอันคมกล้าที่ได้ฝึกมาอย่างดีแล้วเพ่งเข้าไป เพื่อที่จะได้ไปสู่ฌานที่สูงขึ้นไปอีก แต่ทั้งนึ้ทั้งนั้น อย่างที่ผมบอก ต้องพิจารณา ร่างกายของเราให้เกิดความเบื่อหน่าย หรือที่เรียกว่า นิพพิทาญาณเสียก่อน สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ได้ตรงจุดนี้ก่อน ฌานที่ได้จะเป็นโลกียฌาน ซึ่งก็มิได้ทำให้เราท่านพ้นทุกข์ได้แต่ประการใด ซึ่งผมว่า ควรจะทำให้ได้นิพพิทาญาณเสียก่อน ซึ่งเป็นการวิปัสสนาโดยแท้จริง มิใช่ได้มาง่ายๆ บางคนทำมาหลายปีก็ยังไม่ได้เลย เช่นการพิจารณาอสุภะ หรืออาการ 32 เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณ ยากจริง ฌานที่ได้จากพื้นฐานของนิพพิทาญาณ จะเป็นฌานของโลกุตระ เพราะจิตได้รู้ถึงสภาะตามความเป็นจริงของร่างกาย ที่เราท่านทั้งหลายยึดติดว่าเป็นตัวเราของเรา นั้นเราได้เกิดความเบื่อหน่ายแล้วเราคลายออกแล้ว ฉะนั้นเราก็ฝึกไล่ฌานไปเรื่อยๆจนถึงฌานสุดท้าย แล้วให้คงสภาวะของฌานสุดท้ายอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ถ้าน้อยกว่านั้นยังไม่ใช่ ต้องหนึ่งชั่วโมงอย่างน้อย พอสภาวะคลายออก สิ่งที่ผมจะพูดหรือบอกต่อไปนี้คงไม่มีความหมายอะไรกับท่านผู้ปฏิบัติถึงแล้ว เพราะเป็นปัจจัตตัง เป็นสิ่งที่เป็นเอหิปัสสิโก และผมขอร่วมอนุโมทนากับทุกท่านที่ปฏิบัติถึงแล้ว เพราะท่านคงไม่ต้องไปถามใครๆในสามโลกนี้อีกแล้ว ท่านจะไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงใดๆเลย เพราะเป็นปัจจัตตังไปเสียแล้ว ตามที่พระตถาคตตรัสว่า ธรรมะของพระพุทธองค์ เป็นเอหิปัสสิโก เป็นปัจจัตตัง เป็นอะกาลิโก เป็นของลี้ลับสำหรับคนที่ปฏิบัติไม่ถึง แต่เป็นของที่มีอยู่แล้วสำหรับคนที่ปฏิบัติถึง ก็มีด้วยเอวังละประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2012
  15. leehonza

    leehonza Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +78
    พวกท่านทำไมไม่ไปดูทุกข์ว่าเกิดจากอะไรเพราะอะไรหาเหตุผลเพราะอะไรมันจึงเกิดรู้เหตุก็รู้ผลไม่ดีก่าหรอครับหาคำว่าทุกข์ให้เจอเถอะครับอนุโมทนาครับ
     
  16. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    คุยกันเรื่องสมถะภาวนา ไม่ได้แปลว่าไม่สนใจวิปัสสนานี่ครับ
    ในการนี้จิตของคุณก็ได้ปรุงแต่งไปเรียบร้อยแล้วด้วยอคติ และเกิดมานะขึ้น ลองสำรวจดูนะครับ

    สมถะ และ วิปัสสนา เป็นสองด้านของเหรียญอันเดียวกันครับ
     
  17. aroonoldman

    aroonoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +462
    โมทนาสาธุกับทุกท่านครับ
    การเจริญพระกรรมฐานท่านหมายร่วมทั้งวิปัสนาและสมถะครับ
    ฉะนั้นการเจริญกรรฐานต้องเจริญทั้งสองอย่าง
    จะเจริญอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวนั้น
    ยังเป็นการเข้าใจในการเจิญพระกรรมฐานผิดจากความเป็นจริงอยู่ครับ
    ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยต่อท่านผู้รู้ทั้งหลายครับ
     
  18. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    บางทีผมก็แปลกใจกับมนุษย์เราเหมือนกัน

    ผมอยู่ทั้งกระทู้ที่คุยเรื่อง สมถะ และ วิปัสสนา
    ตัวผมเอง ฝึกทั้งสองอย่างควบคู่กันไป แต่จะไปทางวิปัสสนาเป็นหลักมากกว่า

    พอไปพูดเรื่องสมถะ บางทีก็มีคนแย้ง ทำไมไม่ดูวิปัสสนา
    พอพูดเรื่องวิปัสสนา ก็มีคนแย้ง ทำไมไม่ให้ความสำคัญสมถะ

    มันเป็นที่ผู้ดู หรือ ผู้ถูกดูกันแน่?
     
  19. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    เจ้าของกระทู้ยัง "พูดมะถูก" ผมก็เลยไม่รู้จะเสวนาอะไรกับเจ้าของกระทู้ดี

    อันที่จริงกระทู้นี้เป็การคุยกันเรื่องอรูปฌาน ผมก็ได้ขอให้สมาชิกที่ช่ำชองอรูปฌานเข้ามาคุย เข้ามาให้ความรู้ในกระทู้กันบ้าง เพราะเท่าที่จับสัมผัสได้ ในห้องนี้ก็มีท่านที่ช่ำชองในอรูปฌานอยู่ ไม่ใช่ไม่มี แต่ผมคงจะไม่ระบุว่าจะเป็นท่านใด เพราะไม่ใช่หน้าที่ หรือธุระอะไรของผม ในเมื่อท่านไม่เข้ามาคุย ผมก็ต้องรับผิดชอบไป ในการเข้ามาคั่นเวลา ถ้าอย่างนั้นก็ขอมาร่วมเสวนาอย่างคนความรู้น้อยนะครับ

    เรื่องของอากาสานัญจายตนะกับอากาศกสิณ ความจริงก็เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกันตรงแนวคิดและวิธีการ หรือเรียกว่ากาละ(Time) กับเทศะ (Space) ค่างกันนั่นเอง

    อากาศกสิณอาศัยสิ่งที่ไร้รูปคืออากาศมาสร้างขอบเขตให้กับตัวของมัน เกิดเป็นรูปร่างของวงกสิณที่สามารถจับจ้องได้ เพราะมีวงรอบ ขอบเขตชัด เมื่อจิตทรงตัวอยู่ในด้านของฌาน 4 ก็ทำการสลายขอบเขตของวงกสิณนั้นออกไป นั้่นคือไปจับเอาอารมณ์ของความเวิ้งว้างว่างเปล่า ไม่มีจุดจบของอากาศ การจับอากาศเป็นอารมณ์อย่างนี้ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ

    นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างอากาศกสิณกับอากาสานัญจายตนะ ที่บางตำรากล่าวไว้ว่าอากาศกสิณไม่สามารถเข้าถึงอรูปฌานได้ แต่ผมก็ขอคุยในเรื่องการปฏิบัติจริงๆ ที่ไม่ใช่ยึดตามตำรานะครับ

    ทีนี้เมื่อจับความว่างปล่าของอากาศเป็นอารมณ์จนพอใจแล้ว หากปรารถนาจะจับสิ่งอื่นๆ เป็นอารมณ์ต่อไป ตามตำราท่านว่าไว้ถึงเรื่องของวิญญาณ วิญญาณในที่นี้คือสภาวะของจิต ที่มีอารมณ์คิดเป็นปกติ มักจะไม่มีอาการทรงตัว หาที่สุดไม่ได้ จิตมีสภาพไม่นิ่ง เดี๋ยวประสงค์อย่างนั้น เดี๋ยวประสงค์อย่างนี้ จึงถือว่าอารมณ์ของจิตนี้หาที่สุดไม่ได้ ถ้าเราไม่มีความต้องการอารมณ์อย่างนี้ จนกระทั่งอารมณ์ของจิตมีความแนบแน่นสนิท ไม่มีความผูกพันกับอะไร ด้านร่างกายก็ดี ด้านวัตถุก็ดี ไม่มีความสนใจ ต้องการอารมณ์อย่างเดียวคือความว่างเปล่าปราศจากแม้แต่จิตก็ไม่ให้ปรากฎ อารมณ์ว่างไม่เกาะอะไรทั้้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ก็ปล่อยวาง สภาวะทั้งหลายในโลกไม่มีอะไรเป็นของเรา ไม่มีอะไรทรงตัว ในเมื่อเราไม่เกาะติดอยู่กับโลกเป็นการชั่วคราว ตราบนั้นจิตก็ไม่มีทุกข์ แต่หากว่าเรายังเกาะโลกอยู่เพียงใด ตราบนั้นก็ชื่อว่าจิตยังวนเวียนอยู่กับทุกข์

    เมื่อทรงอารมณ์ได้อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าเข้าสู่วิญญาณัญจายตนะฌาน นี่เป็นอารมณ์ของฌาน ที่่จะเห็นได้ว่าอาการอย่างนี้คล้ายคลึงกับวิปัสสนาญาณมาก

    อันนี้ว่ากันในเรื่องของอากาสานัญจายตนะและวิญญาณัญจายตนะก่อน ว่ามีความคล้ายคลึงกับวิปัสสนาญานอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่า ในสมาธิระดับอากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะก็ย่อมจะคล้ายคลึงกับอารมณ์ของวิปัสสนาญาณอย่างนั้นเช่นเดียวกัน

    อารมณ์ของอรูปฌานแม้จะคล้ายคลึงกับอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันและใช้ทดแทนกันไม่ได้ แต่โดยแท้จริงแล้วทั้งสองอย่าง ต่างเป็นสิ่งที่ใช้หล่อเลี้ยง ค้ำจุนซึ่งกันและกันทั้งสิ้น การปฏิบัติเพื่อมรรคผลจึงขาดทั้งทางด้านสมถะและวิปัสสนาไม่ได้ ต้องมีควบคู่กันทั้งสองอย่าง ในสัดส่วนที่เหมาะสม พอเหมาะพอเจาะกัน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีโอกาสสำเร็จกิจอันพึงมุ่งหวังได้ต่อไป

    เข้ามาร่วมเสวนาอย่างผู้มีความรู้น้อย ด้อยปัญญากับเจ้าของกระทู้เป็นการคั่นเวลาก่อน รอท่านผู้รู้ในความเห็นต่อไป ส่วนผมขอถอยออกไปห่างๆ และขอถือโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเจ้าของกระทู้ด้วยคนครับ
     
  20. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    อากาสานัญจายตนะ  หรือ อรูปณาน ๑  และ กสิณ อากาศ อย่านำมาปนกันครับ ชื่ออาจจะเรียกคล้ายกัน แต่วิธีปฏิบัติ นั้นต่างกันครับ  
    อากาสานัญจายตนะ หรือ อรูป ณาน ๑ ได้อธิบายใว้แล้ว ในตอนต้น ครับ
    กสิณ อากาศ หรือ อากาศกสิณ ใช้เพ่งอากาศเป็นอารมณ์ ยังยึดตัวรูป
    เป็น อารมฌ์ ถ้าคล่องหรือชำนาญ ก็ใช้การ อธิฐานจิตแทนครับ
    ส่งภาพ มา เป็น อุปกรณ์ ธรรม หรืิอ วิทยาทานเพื่อการศึกษา และเป็นกำลังใจ แก่ผู้ที่ ปฏิบัติ เเละ ผู้ที่ กำลัง 
    ฝึกกสิณ  อยู่ ครับ   ทั้งสองภาพ ถ่ายในวันวิสาขะบูชา ที่ผ่านมา
      ภาพ ขณะกำลังเจริญ วาโยกสิณ และ อากาศกสิณ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P6030235.JPG
      P6030235.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      103
    • P6030241.JPG
      P6030241.JPG
      ขนาดไฟล์:
      999 KB
      เปิดดู:
      120

แชร์หน้านี้

Loading...