อานิสงส์ของการสวดมนต์..

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ลุงไชย, 17 มกราคม 2012.

  1. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    [​IMG]




    การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้


    ๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น

    ๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน

    ๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ ไปด้วย

    ๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น

    ๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

    และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า

    ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
    ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


    เรื่องการสวดมนต์ ได้กล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า

    ๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่

    ๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย

    ๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร

    ๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน

    ๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน

    ๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้

    ๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง

    ๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน

    ๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์


    และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...

    ๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา

    ๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม

    ๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร

    ๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ

    ๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา

    ๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้

    ๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว

    ๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป

    ๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ

    ..............................................................................................

    ที่มา http://www.dhammajak.net/phitee/11.html
    ...............................................................................................

    (เจ้าของกระทู้ขออนุญาตทุกท่าน แทรกบทความเกี่ยวกับอานิสงค์การสวดมนต์

    ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งเป็นบทความที่เขียนโดย ท่านเนตรอิศวร เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณา)


    .....ดูก่อนเถิดหนอ...เพื่อนผู้ใฝ่ธรรมเพื่อมุ่งสู่ความเจริญทั้งหลาย อันเราขออนุโมทนาอานิสงน์แห่งการสวดมนต์ ดังนี้.

    ****การสวดมนต์ภาวนานั้นเป็นสิ่งประเสริฐ...การสวดมนต์นั้นก็เปรียบเสมือนการเจริญภาวนาจิตเพื่อการครองสติเข้าสู่สมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา ฉะนั้นเราจึงมาวินิจฉัยและพิจารณากันว่า อนิสงน์แห่งการสวดมนต์จะเกิดขึ้นเป็นลำดับเช่นใด ดังเราจักขอยกบรรยายดังนี้ คือ.

    ๑.การสวดมนต์นั้นสำหรับผู้ที่ยังท่องไม่ได้และไม่มีหนังสือ ก็ต้องอาศัยการฟังเพื่อการจดจำ บางท่านอาจจะนั่งหลับตาเพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ที่หูเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำบทสวด ฉะนั้นสติและสมาธิจึงจดจ่ออยู่กับการฟัง เมื่อจิตจดจ่อก็จึงเกิดสมาธิ อานิสงน์จากข้องนี้จึงได้อานิสงน์จากการฝึกสมาธิจากการตั้งใจฟัง .

    ๑.๑ สำหรับผู้ที่มีตำราสวดมนต์อยู่ก็จักดูตำรานั้นไปด้วยพร้อมทั้งภาวนาตามตำรานั้น ในจุดนี้จึงไม่จำเป็นจะต้องหลับตา ด้วยเหตุนี้ดวงจิตจึงจดจ่ออยู่ที่ผัสทางตา ภาวนาทางปากหรือลิ้น และจดจำด้วยผัสสะทางหู กล่าวคือ ตามองจดจ่อ ปากพร่ำภาวนา หูได้ยินใจเฝ้าจดจำ อานนิสน์ในจุดนี้ ก็จะได้การฝึกสมาธิจาก ตาจดจ่อด้วยการมอง หูและจิตจดจ่อด้วยการฟัง ปากและลิ้นจดจ่อด้วยการภาวนา กายจดจ่อด้วยการพนมมือสำรวม อานิสงน์จึงได้เกิดสมาธิ.

    ๑.๒ เมื่อผู้สวดมนต์นั้นเป็นผู้ที่สวดมนต์ได้จนคล่องแคล้วแล้วจนจำบทสวดมนต์ได้จนขึ้นใจ จึงไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือสวดมนต์ เขานั้นในเวลาสวดมนต์นั้นจึงจะหลับตาก็ได้ หรือจะลืมตาก็ได้ จะดูตำราก็ได้ หรือจะไม่ดูตำราก็ได้ ยามเมื่อเขานั้นสวดมนต์ สัมผัสทางกายเขาจึงสำรวม สัมผัสทางตาก็ต้องสำรวม สัมผัสทางใจก็ต้องสำรวม ผัสสะทางหูก็ต้องสำรวม เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่กับการภาวนาทางปากหรือลิ้น อานิสงน์ในข้อนี้จึงได้อานิสงน์ในการฝึกสมาธิ.


    *****ด้วยจากที่เรานั้นได้ยกบรรยายมา ท่านทั้งหลายก็จะเห็นว่าอันเรานั้นได้แสดงอานิสงน์แห่งการสวดมนต์ไว้แค่ได้การฝึกสมาธิ และการฝึกจิต แต่หากเกิดสมาธิแล้วอานิสงน์ยังได้มากกว่านั้นดังต่อไปนี้ คือ.

    ๑.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกัน อานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจเยือกเย็น สุขุม ผิวกายรัศมีผุดผ่อง.

    ๒.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกันอานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มี กิริยาอาการอ่อนโยน สุขุม.

    ๓.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกันอานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มี วาจาสุภาพไพเราะนิ่มนวล สุขุม.

    ๔.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกันอานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มี จิตจดจ่อคิดดีและมีจิตใจที่เมตตาอยู่เสมอ.

    *****ด้วยอานิงส์แห่งการสวดมนต์ทั้ง๔ข้อที่นั้นได้กล่าวบรรยายมานี้ ท่านทั้งหลายก็คงจะเกิดความสงสัยที่ว่า ทำไมหนอเมื่อเรานั้นเป็นผู้สวดมนต์ภาวนาจนเกิดสมาธิแล้วทำไมถึงยังไม่เกิดปัญญาอีกล่ะ? ท่านทั้งหลายสงสัยไหมว่าทำไมอันเราถึงยังไม่กล่าวอานิสงน์แห่งปัญญาจากการสวดมนต์ เราจึงขอชี้บรรยายให้ท่านทั้งหลายดังนี้ คือ.

    *****การสวดมนต์ภาวนาในสิ่งอันใดทั้งหลายก็แล้วแต่นั้น สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือการเข้าใจที่จะนำไปใช้พิจารณาเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ เมื่อใดก็แล้วแต่เราทั้งหลายเป็นผู้ท่องบทความใด หรือบทสวดใดจนขึ้นใจแล้วแต่ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจความหมายของเนื้อความที่ท่องจำจนถ่องแท้ เมื่อนั้นก็ไม่สามารถที่จะนำคำกล่าวนั้น หรือบทสวดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อนั้นก็ย่อมสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญา จึงทำได้แค่การท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองที่พูดตามคำสอนของคนเลี้ยง เขาให้พูดอะไรก็พูด แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่พูดนั้นมันมีความหมายว่าอย่างไร (อันเรานั้นต้องของอภัยท่านทั้งหลาย หากกล่าวเทียบเคียงกับสิ่งที่ทำให้ท่านทั้งหลายเกิดอารมณ์ขุ่นมัว)

    .....ยกตัวอย่างเช่น ท่านทั้งหลายสวดมนต์ในบท "อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวา เทมิ" ซึ่งในบางท่านที่สวดมนต์บทนี้ยังไม่รู้เลยว่าบทนี้สวดเพื่ออะไร และมันมีความหมายว่าอย่างไร บางท่านอาจจะแย้งว่าท่านก็แปลได้ซึ่งแปลว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรูชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. ทีนี้อันเราก็จะถามอีกว่าแล้วท่านทั้งหลายผู้ที่แปลบทสวดนี้ได้ท่านเข้าใจและสามารถที่จะนำไปใช้ได้หรือไม่ กล่าวคือ ท่านทั้งหลายเข้าใจหรือไม่ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเป็นผู้รู้นั้น ทรงรู้อย่างไร? พระองค์ทรงเป็นผู้ตื่นนั้นทรงตื่นอย่างไร? และทรงเป็นผู้เบิกบานนั้นพระองค์ทรงเบิกบานอย่างไร? และที่สำคัญวิธีการขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทำให้เรานั้นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมันมีวิธีการอย่างไร ? ซึ่งหากท่านทั้งหลายเข้าใจแล้วสิ่งนั้นแหละจึงเรียกว่า การเกิดปัญญา ตัวปัญญานี้แหละที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงกล่าวว่า ปัญญาเป็นสิ่งขจัดความมืดมัวให้สว่างผ่องใส ประดุจดวงอาทิตย์ที่ทำดอกบัวให้บาน ประดุจทำของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้น.

    *****เราทั้งหลายขอโปรดจงพิจารณา ในสมัยพุทธกาลนั้นก็ยังไม่มีบทสวดเกิดขึ้นในระยะเริ่มแรก แต่ทำไมหนอเหล่าปัจจัควัคคีทั้ง๕ ถึงได้ฟังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงยังไม่สำเร็จพระอรหันต์จากการเทศนาบท ธรรมจักร ในครั้งแรกจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเพียงพระโกทัญญะเพียงเท่านั้นที่สำเร็จได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงขอบวชจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทำไมจึงสำเร็จพระอรหันต์ตามมาเป็นลำดับ?...หากท่านทั้งหลายวินิจฉัยก็จะเห็นว่าก็ด้วยเหตุที่ว่า ในขณะนั้นเหล่าปัจจัควัคคีทั้ง๕ ยังไม่เข้าใจในความหมายของบทธรรมจักรนั้นเอง ด้วยความไม่เข้าใจนี่แหละจึงทำให้ยังไม่เกิดปัญญา และสิ่งที่ทำให้เหล่าพระโกทัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัญสะชิ สำเร็จพระอรหันต์นั้นก็คือ ความรู้และเข้าใจแจ้งในอริยะสัจทั้ง๔ในพระธรรมจักรนั่นเอง.

    *****จากด้วยเหตุที่เรานั้นได้แสดงร่ายยาวมา ก็เพื่อจะชี้ให้ท่านทั้งหลายเห็นว่า การสวดมนต์นั้น ย่อมได้อานิสงน์แห่งความตั้งใจ ย่อมได้เกิดสมาธิ ภาวนา แต่ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็จะต้องเกิดจากความเข้าใจเนื้อหาในบทสวดนั้นๆ จึงจะถือว่าสมบูรณ์ มิใช่เทิดทูลเสียจนประดุจมนต์ขลังที่จะพลิกโลกได้ หรือไล่ภูติผีปีศาจได้ เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปด้วยอำนาจจิตที่เกิดจากสมาธิ ไม่ว่าจะเป็น ฌานสมาธิหรือแม้แต่อภิญานั้นล้วนเกิดจากสมาธิจิตโดยทั้งสิ้น หาได้เกิดจากบทสวดใดๆไม่ แต่สิ่งที่เกิดจากที่ท่านทั้งหลายคิดว่าเป็นผลบันดาลที่เกิดจากการสวดมนต์นั้น ก็เป็นเพราะแรงแห่งความเชื่อความศรัทธาที่ก่อให้เกิดเป็นอำนาจแห่งความปิติของจิต(หากกล่าวไปมากกว่านี้ก็จะทำให้สับสนมึนงงก็ขอหยุดเรื่องอำนาจแห่งจิตไว้ก่อน). ยกตัวอย่างเช่น ท่านทั้งหลายพิจารณาหรือไม่ว่าทำไมหนอ?

    ในสมัยพุทธกาลเหล่าปัจจัควัคคีทั้ง๕ มีพระโกทัญญะนั้นได้ฟังบทพระธรรมจักรแล้วจึงเกิดดวงตาเห็นธรรม และหลังจากนั้นก็สำเร็จพระอรหันต์ตามมาเป็นลำดับ นั่นก็เพราะว่าองค์พระโกทัญญะนั้นเข้าใจในพระอริยะสัจทั้ง๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค พระโกทัญญะจึงพิจารณาแล้วจึงละนิวรณ์ทั้ง๕ลงได้ ท่านจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์. แล้วทำไมหนอในสมัยกาลนี้อ่านพระไตรปิฎกร์ก็แล้ว สวดพระไตรปิฎกร์ก็แล้ว ฟังบทพระธรรมจักร๑๐๐ หนก็แล้ว สวดบทพระธรรมจักร ๑๐๐หนก็แล้ว แล้วทำไมยังไม่สำเร็จพระอรหันต์เสียที นั่นก็เพราะว่ายังไม่เข้าใจในความหมายของบทธรรมจักรอย่างถ่องแท้ไง เมื่อยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเหตุนี้ก็จะเกิดปัญญารู้แจ้งได้อย่างไร เมื่อไม่เกิดปัญญารู้แจ้งแล้วอย่างนี้จะฝึกตัดนิวรณ์ได้อย่างไร เมื่อยังไม่รู้วิธีการตัดนิวรณ์แล้วอย่างนี้ก็จะบำเพ็ญเพียรอย่างไร

    .....ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ การสวดภาวนาโดยไม่สามารถที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จึงได้อานิสงน์แค่การฝึกสติให้เกิดสมาธิ การฝึกจิตเพื่อให้เกิดความสงบให้ผ่องใส การฝึกกายเพื่อให้เกิดความสำรวม จึงทำให้เป็นผู้ที่มาสติจิตใจสงบ สุขุมเยือกเย็น มีความสำรวมกายวาจา มีผิวพรรณผ่องใสหน้าตายิ้มแย้ม จิตใจชื่นบาน ด้วยความสุขจากการภาวนา แต่สิ่งที่ขาดหายไปก็คือปัญญาที่จะไปสู่มรรคผลนิพาน.

    .....แต่มื่อใด การสวดภาวนาสามารถที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จ อานิสงน์จึงเกิดการฝึกสติให้เกิดสมาธิ การฝึกจิตเพื่อให้เกิดความสงบให้ผ่องใส การฝึกกายเพื่อให้เกิดความสำรวม จึงทำให้เป็นผู้ที่มาสติจิตใจสงบ สุขุมเยือกเย็น มีความสำรวมกายวาจา มีผิวพรรณผ่องใสหน้าตายิ้มแย้ม จิตใจชื่นบาน ด้วยความสุขจากการภาวนา และปัญญาที่จะสามารถฝึกปฏิบัติเป็นแนวทางให้ตนเองนั้นสามารถกระทำตามเพื่อไปสู่มรรคผลนิพานได้.

    *****ฉะนั้นเราจึงขอสรุปไว้ว่า อานิสงน์ของการสวดมนต์สำหรับผู้ที่สวดภาวนาแต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จึงได้อานิสงน์ของการสวดมนต์ คือ

    ๑.เป็นผู้มี กาย กิริยาสำรวมในระดับหนึ่ง

    ๒.เป็นผู้มี วาจา สำรวมในระดับหนึ่ง

    ๓.เป็นผู้มี จิตใจ สำรวมในระดับหนึ่ง

    ๔.เป็นผู้ที่มี สติ สำรวมในระดับหนึ่ง

    ๕.เป็นผู้ที่มีผิวพรรณรัศมีงามผุดผ่องแห่งบารมี

    ๖.เป็นผู้ที่เป็นที่รักในหมู่ มนุษย์ สัตว์ เทวดา มาร และพรหม


    *****และอานิสงน์แห่งการสวดมนต์ สำหรับผู้ที่สามารถเข้าใจความหมายแห่งบทสวดมนต์ และสามารถนำเอาคำสอนในบทสวดมนต์ไปใช้เป็นแนวทางได้ ก็คือ.

    ๑.เป็นผู้มี กาย กิริยาสำรวมที่ดีแล้ว

    ๒.เป็นผู้มี วาจา สำรวมที่ดีแล้ว

    ๓.เป็นผู้มี จิตใจ สำรวมที่ดีแล้ว

    ๔.เป็นผู้ที่มี สติ สำรวมที่ดีแล้ว

    ๕.เป็นผู้ที่มีผิวพรรณรัศมีงามผุดผ่องแห่งบารมี

    ๖.เป็นผู้ที่เป็นที่รัก และสรรเสริญในหมู่ มนุษย์ สัตว์ เทวดา มาร และพรหม

    ๗.เป็นผู้ที่สามารถจะเข้าสู่มรรคผลนิพานตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ในกาลต่อไป.

    .....จากการสาธยาย บรรยายมานี้ก็เพียงชี้เพื่อแลกเปลี่ยนธรรมในบางส่วนของอานิสงน์นั้น แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะพิจารณาดูเองเถิด อันเราขออนุโมทนา<!-- google_ad_section_end --> ​


    .................................................................................................................​

    อนุโมทนา ในธรรมทานของท่านเนตรอิศวร ด้วยครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 247477.jpg
      247477.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.3 KB
      เปิดดู:
      3,849
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มกราคม 2012
  2. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    มีความสุขที่ได้สวดมนต์ค่ะ รู้สึกเย็นดี
    ถึงจะเข้าฌานสี่แล้วถอยมาอุปจารไม่ได้
    แต่นาทีนี้ "ขณิก"ก็เอาค่ะ
     
  3. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขออนุโมทนาสาธุครับ...
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
     
  4. Nampan

    Nampan สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2012
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +4
    สาธุครับ การส่วนมนต์เนี่ย ดีจริงๆๆ
    รู้กันอย่างนี้แล้ว ทำไม วัยรุ่นๆเด็กไม่ค่อยชอบสวดกัน เอ่ย
     
  5. to see same

    to see same Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +34
    อนุโมทนาด้วยค่ะ สวดมนต์ทุกวันดีแล้ว ดีแล้ว สาธุ สาธุๆ
     
  6. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +2,459
    อนุโมทนาค่ะ

    เรื่องที่ทำให้เกิดสมาธิ..เกิดความจำ (ไม่หลงลืม) นั้นจริง ๆ ค่ะ เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเลยนะคะ.. สำหรับผู้ที่ต้องการให้มีสมาธินี่..ควบคู่กับการนั่งสมาธิด้วยยิ่งดีมาก ๆ เลยค่ะ สาธุ
     
  7. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    [​IMG]

    ขอโมทนา สาธุ กับผู้มีใจบุญ ใจกุศล ทั้งหลาย [www.marateebook.com]
     
  8. arathai

    arathai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +35
    สวดมนต์ทักวันค่ะ และวันละประมาณ ชั่วโมงถึงชั่วโมงกว่าๆ...แต่เป็นคนที่เจ็บต้นคอและไหล่ เพื่อนๆ มีวิธีนั่งสวดมนต์อย่างไรบ้างคะที่ไม่ทำให้เราเหนื่อยและเมื่อยตอนนั่งสวดค่ะ ขอเคล็ดลับด้วยค่ะ
     
  9. ดอกสร้อย

    ดอกสร้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,839
    ค่าพลัง:
    +4,890
    "มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น "

    เป็นเช่นนี้จริง ๆๆ ผิวพรรณจะผ่องใส ขึ้น อนุโมทนา สาธุ สาธุ กับเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะ
     
  10. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    .....ดูก่อนเถิดหนอ...เพื่อนผู้ใฝ่ธรรมเพื่อมุ่งสู่ความเจริญทั้งหลาย อันเราขออนุโมทนาอานิสงน์แห่งการสวดมนต์ ดังนี้.
    ****การสวดมนต์ภาวนานั้นเป็นสิ่งประเสริฐ...การสวดมนต์นั้นก็เปรียบเสมือนการเจริญภาวนาจิตเพื่อการครองสติเข้าสู่สมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา ฉะนั้นเราจึงมาวินิจฉัยและพิจารณากันว่า อนิสงน์แห่งการสวดมนต์จะเกิดขึ้ยนเป็นลำดับเช่นใด ดังเราจักขอยกบรรยายดังนี้ คือ.
    ๑.การสวดมนต์นั้นสำหรับผู้ที่ยังท่องไม่ได้และไม่มีหนังสือ ก็ต้องอาศัยการฟังเพื่อการจดจำ บางท่านอาจจะนั่งหลับตาเพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ที่หูเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำบทสวด ฉะนั้นสติและสมาธิจึงจดจ่ออยู่กับการฟัง เมื่อจิตจดจ่อก็จึงเกิดสมาธิ อานิสงน์จากข้องนี้จึงได้อานิสงน์จากการฝึกสมาธิจากการตั้งใจฟัง .
    ๑.๑ สำหรับผู้ที่มีตำราสวดมนต์อยู่ก็จักดูตำรานั้นไปด้วยพร้อมทั้งภาวนาตามตำรานั้น ในจุดนี้จึงไม่จำเป็นจะต้องหลับตา ด้วยเหตุนี้ดวงจิตจึงจดจ่ออยู่ที่ผัสทางตา ภาวนาทางปากหรือลิ้น และจดจำด้วยผัสสะทางหู กล่าวคือ ตามองจดจ่อ ปากพร่ำภาวนา หูได้ยินใจเฝ้าจดจำ อานนิสน์ในจุดนี้ ก็จะได้การฝึกสมาธิจาก ตาจดจ่อด้วยการมอง หูและจิตจดจ่อด้วยการฟัง ปากและลิ้นจดจ่อด้วยการภาวนา กายจดจ่อด้วยการพนมมือสำรวม อานิสงน์จึงได้เกิดสมาธิ.
    ๑.๒ เมื่อผู้สวดมนต์นั้นเป็นผู้ที่สวดมนต์ได้จนคล่องแคล้วแล้วจนจำบทสวดมนต์ได้จนขึ้นใจ จึงไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือสวดมนต์ เขานั้นในเวลาสวดมนต์นั้นจึงจะหลับตาก็ได้ หรือจะลืมตาก็ได้ จะดูตำราก็ได้ หรือจะไม่ดูตำราก็ได้ ยามเมื่อเขานั้นสวดมนต์ สัมผัสทางกายเขาจึงสำรวม สัมผัสทางตาก็ต้องสำรวม สัมผัสทางใจก็ต้องสำรวม ผัสสะทางหูก็ต้องสำรวม เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่กับการภาวนาทางปากหรือลิ้น อานิสงน์ในข้อนี้จึงได้อานิสงน์ในการฝึกสมาธิ.
    *****ด้วยจากที่เรานั้นได้ยกบรรยายมา ท่านทั้งหลายก็จะเห็นว่าอันเรานั้นได้แสดงอานิสงน์แห่งการสวดมนต์ไว้แค่ได้การฝึกสมาธิ และการฝึกจิต แต่หากเกิดสมาธิแล้วอานิสงน์ยังได้มากกว่านั้นดังต่อไปนี้ คือ.
    ๑.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกัน อานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจเยือกเย็น สุขุม ผิวกายรัศมีผุดผ่อง.
    ๒.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกันอานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มี กิริยาอาการอ่อนโยน สุขุม.
    ๓.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกันอานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มี วาจาสุภาพไพเราะนิ่มนวล สุขุม.
    ๔.เมื่อกาย วาจา ใจ จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์แล้ว จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเกิดสมาธิจึงเป็นการฝึกสมาธิ เมื่อผู้สวดภาวนาเป็นผู้มีสมาธิทุกเมื่อ จึงเป็นผู้ครองสติได้ทุกเมื่อเช่นกันอานิสงน์ในข้อนี้จึงทำให้ผู้สวดภาวนานั้นเป็นผู้ที่มี จิตจดจ่อคิดดีและมีจิตใจที่เมตตาอยู่เสมอ.
    *****ด้วยอานิงส์แห่งการสวดมนต์ทั้ง๔ข้อที่นั้นได้กล่าวบรรยายมานี้ ท่านทั้งหลายก็คงจะเกิดความสงสัยที่ว่า ทำไมหนอเมื่อเรานั้นเป็นผู้สวดมนต์ภาวนาจนเกิดสมาธิแล้วทำไมถึงยังไม่เกิดปัญญาอีกล่ะ? ท่านทั้งหลายสงสัยไหมว่าทำไมอันเราถึงยังไม่กล่าวอานิสงน์แห่งปัญญาจากการสวดมนต์ เราจึงขอชี้บรรยายให้ท่านทั้งหลายดังนี้ คือ.
    *****การสวดมนต์ภาวนาในสิ่งอันใดทั้งหลายก็แล้วแต่นั้น สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือการเข้าใจที่จะนำไปใช้พิจารณาเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ เมื่อใดก็แล้วแต่เราทั้งหลายเป็นผู้ท่องบทความใด หรือบทสวดใดจนขึ้นใจแล้วแต่ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจความหมายของเนื้อความที่ท่องจำจนถ่องแท้ เมื่อนั้นก็ไม่สามารถที่จะนำคำกล่าวนั้น หรือบทสวดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อนั้นก็ย่อมสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญา จึงทำได้แค่การท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองที่พูดตามคำสอนของคนเลี้ยง เขาให้พูดอะไรก็พูด แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่พูดนั้นมันมีความหมายว่าอย่างไร (อันเรานั้นต้องของอภัยท่านทั้งหลาย หากกล่าวเทียบเคียงกับสิ่งที่ทำให้ท่านทั้งหลายเกิดอารมณ์ขุ่นมัว)
    .....ยกตัวอย่างเช่น ท่านทั้งหลายสวดมนต์ในบท "อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวา เทมิ" ซึ่งในบางท่านที่สวดมนต์บทนี้ยังไม่รู้เลยว่าบทนี้สวดเพื่ออะไร และมันมีความหมายว่าอย่างไร บางท่านอาจจะแย้งว่าท่านก็แปลได้ซึ่งแปลว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรูชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. ทีนี้อันเราก็จะถามอีกว่าแล้วท่านทั้งหลายผู้ที่แปลบทสวดนี้ได้ท่านเข้าใจและสามารถที่จะนำไปใช้ได้หรือไม่ กล่าวคือ ท่านทั้งหลายเข้าใจหรือไม่ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเป็นผู้รู้นั้น ทรงรู้อย่างไร? พระองค์ทรงเป็นผู้ตื่นนั้นทรงตื่นอย่างไร? และทรงเป็นผู้เบิกบานนั้นพระองค์ทรงเบิกบานอย่างไร? และที่สำคัญวิธีการขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทำให้เรานั้นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมันมีวิธีการอย่างไร ? ซึ่งหากท่านทั้งหลายเข้าใจแล้วสิ่งนั้นแหละจึงเรียกว่า การเกิดปัญญา ตัวปัญญานี้แหละที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงกล่าวว่า ปัญญาเป็นสิ่งขจัดความมืดมัวให้สว่างผ่องใส ประดุจดวงอาทิตย์ที่ทำดอกบัวให้บาน ประดุจทำของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้น.
    *****เราทั้งหลายขอโปรดจงพิจารณา ในสมัยพุทธกาลนั้นก็ยังไม่มีบทสวดเกิดขึ้นในระยะเริ่มแรก แต่ทำไมหนอเหล่าปัจจัควัคคีทั้ง๕ ถึงได้ฟังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงยังไม่สำเร็จพระอรหันต์จากการเทศนาบท ธรรมจักร ในครั้งแรกจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเพียงพระโกทัญญะเพียงเท่านั้นที่สำเร็จได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงขอบวชจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทำไมจึงสำเร็จพระอรหันต์ตามมาเป็นลำดับ?...หากท่านทั้งหลายวินิจฉัยก็จะเห็นว่าก็ด้วยเหตุที่ว่า ในขณะนั้นเหล่าปัจจัควัคคีทั้ง๕ ยังไม่เข้าใจในความหมายของบทธรรมจักรนั้นเอง ด้วยความไม่เข้าใจนี่แหละจึงทำให้ยังไม่เกิดปัญญา และสิ่งที่ทำให้เหล่าพระโกทัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัญสะชิ สำเร็จพระอรหันต์นั้นก็คือ ความรู้และเข้าใจแจ้งในอริยะสัจทั้ง๔ในพระธรรมจักรนั่นเอง.
    *****จากด้วยเหตุที่เรานั้นได้แสดงร่ายยาวมา ก็เพื่อจะชี้ให้ท่านทั้งหลายเห็นว่า การสวดมนต์นั้น ย่อมได้อานิสงน์แห่งความตั้งใจ ย่อมได้เกิดสมาธิ ภาวนา แต่ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็จะต้องเกิดจากความเข้าใจเนื้อหาในบทสวดนั้นๆ จึงจะถือว่าสมบูรณ์ มิใช่เทิดทลูเสียจนประดุจมนต์ขลังที่จะพลิกโลกได้ หรือไล่ภูติผีปีศาจได้ เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปด้วยอำนาจจิตที่เกิดจากสมาธิ ไม่ว่าจะเป็น ฌานสมาธิหรือแม้แต่อภิญานั้นล้วนเกิดจากสมาธิจิตโดยทั้งสิ้น หาได้เกิดจากบทสวดใดๆไม่ แต่สิ่งที่เกิดจากที่ท่านทั้งหลายคิดว่าเป็นผลบันดาลที่เกิดจากการสวดมนต์นั้น ก็เป็นเพราะแรงแห่งความเชื่อความศรัทธาที่ก่อให้เกิดเป็นอำนาจแห่งความปิติของจิต(หากกล่าวไปมากกว่านี้ก็จะทำให้สับสนมึนงงก็ขอหยุดเรื่องอำนาจแห่งจิตไว้ก่อน). ยกตัวอย่างเช่น ท่านทั้งหลายพิจารณาหรือไม่ว่าทำไมหนอ? ในสมัยพุทธกาลเหล่าปัจจัควัคคีทั้ง๕ มีพระโกทัญญะนั้นได้ฟังบทพระธรรมจักรแล้วจึงเกิดดวงตาเห็นธรรม และหลังจากนั้นก็สำเร็จพระอรหันต์ตามมาเป็นลำดับ นั่นก็เพราะว่าองค์พระโกทัญญะนั้นเข้าใจในพระอริยะสัจทั้ง๔ คือ ทุกข์ สมุตทัย นิโรท และมรรค พระโกทัญญะจึงพิจารณาแล้วจึงละนิวรณ์ทั้ง๕ลงได้ ท่านจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์. แล้วทำไมหนอในสมัยกาลนี้อ่านพระไตรปิฎกร์ก็แล้ว สวดพระไตรปิฎกร์ก็แล้ว ฟังบทพระธรรมจักร๑๐๐ หนก็แล้ว สวดบทพระธรรมจักร ๑๐๐หนก็แล้ว แล้วทำไมยังไม่สำเร็จพระอรหันต์เสียที นั่นก็เพราะว่ายังไม่เข้าใจในความหมายของบทธรรมจักรอย่างถ่องแท้ไง เมื่อยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเหตุนี้ก็จะเกิดปัญญารู้แจ้งได้อย่างไร เมื่อไม่เกิดปัญญารู้แจ้งแล้วอย่างนี้จะฝึกตัดนิวรณ์ได้อย่างไร เมื่อยังไม่รู้วิธีการตัดนิวรณ์แล้วอย่างนี้ก็จะบำเพ็ญเพียรอย่างไร .....ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ การสวดภาวนาโดยไม่สามารถที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จึงได้อานิสงน์แค่การฝึกสติให้เกิดสมาธิ การฝึกจิตเพื่อให้เกิดความสงบให้ผ่องใส การฝึกกายเพื่อให้เกิดความสำรวม จึงทำให้เป็นผู้ที่มาสติจิตใจสงบ สุขุมเยือกเย็น มีความสำรวมกายวาจา มีผิวพรรณผ่องใสหน้าตายิ้มแย้ม จิตใจชื่นบาน ด้วยความสุขจากการภาวนา แต่สิ่งที่ขาดหายไปก็คือปัญญาที่จะไปสู่มรรคผลนิพาน.
    .....แต่มื่อใด การสวดภาวนาสามารถที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จ อานิสงน์จึงเกิดการฝึกสติให้เกิดสมาธิ การฝึกจิตเพื่อให้เกิดความสงบให้ผ่องใส การฝึกกายเพื่อให้เกิดความสำรวม จึงทำให้เป็นผู้ที่มาสติจิตใจสงบ สุขุมเยือกเย็น มีความสำรวมกายวาจา มีผิวพรรณผ่องใสหน้าตายิ้มแย้ม จิตใจชื่นบาน ด้วยความสุขจากการภาวนา และปัญญาที่จะสามารถฝึกปฏิบัติเป็นแนวทางให้ตนเองนั้นสามารถกระทำตามเพื่อไปสู่มรรคผลนิพานได้.
    *****ฉะนั้นเราจึงขอสรุปไว้ว่า อานิสงน์ของการสวดมนต์สำหรับผู้ที่สวดภาวนาแต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จึงได้อานิสงน์ของการสวดมนต์ คือ
    ๑.เป็นผู้มี กาย กิริยาสำรวมในระดับหนึ่ง
    ๒.เป็นผู้มี วาจา สำรวมในระดับหนึ่ง
    ๓.เป็นผู้มี จิตใจ สำรวมในระดับหนึ่ง
    ๔.เป็นผู้ที่มี สติ สำรวมในระดับหนึ่ง
    ๕.เป็นผู้ที่มีผิวพรรณรัศมีงามผุดผ่องแห่งบารมี
    ๖.เป็นผู้ที่เป็นที่รักในหมู่ มนุษย์ สัตว์ เทวดา มาร และพรหม

    *****และอานิสงน์แห่งการสวดมนต์ สำหรับผู้ที่สามารถเข้าใจความหมายแห่งบทสวดมนต์ และสามารถนำเอาคำสอนในบทสวดมนต์ไปใช้เป็นแนวทางได้ ก็คือ.
    ๑.เป็นผู้มี กาย กิริยาสำรวมที่ดีแล้ว
    ๒.เป็นผู้มี วาจา สำรวมที่ดีแล้ว
    ๓.เป็นผู้มี จิตใจ สำรวมที่ดีแล้ว
    ๔.เป็นผู้ที่มี สติ สำรวมที่ดีแล้ว
    ๕.เป็นผู้ที่มีผิวพรรณรัศมีงามผุดผ่องแห่งบารมี
    ๖.เป็นผู้ที่เป็นที่รัก และสรรเสริญในหมู่ มนุษย์ สัตว์ เทวดา มาร และพรหม
    ๗.เป็นผู้ที่สามารถจะเข้าสู่มรรคผลนิพานตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ในกาลต่อไป.
    .....จากการสาธยาย บรรยายมานี้ก็เพียงชี้เพื่อแลกเปลี่ยนธรรมในบางส่วนของอานิสงน์นั้น แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะพิจารณาดูเองเถิด อันเราของอนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2012
  11. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    อนุโมทนา ในธรรทานของท่านเนตรอิศวร ด้วยครับ
    ผมขออนุญาตนำไป แทรกในโพสต์แรก เพื่อให้ท่าน
    ผุ้สนใจได้อ่านและพิจารณา ในสาระที่เป็นประโยชน์
    สาธุ ครับ ..นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...