อายตน โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย แดนโลกธาตุ, 8 กันยายน 2006.

  1. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    อายตนะ
    โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ได้ฟังธรรมกันมา ๒ วันแล้ว อธิบายเบื้องต้นเรื่อง ธาตุ ต่อมาเรื่อง ขันธ์ ก็วนเวียนอยู่ตามแถวนี้แหละ เพราะการปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น นอกจากทาง ธาตุ ขันธ์ อายตนะ แล้วก็ไม่มีทางอื่น ปฏิบัติวนเวียนอยู่แถวนี้ ไม่ใช่อื่นไกลที่ไหนหรอก ที่อบรมนี้ก็อบรมกันเฉพาะแนวปฏิบัติกัมมัฏฐาน ไม่ได้อบรมในฝ่ายปริยัติ ฝ่ายปริยัติพวกท่านทั้งหลายก็ได้ศึกษาอบรมกันมาพอสมควรแล้ว แม้แต่สำนวนโวหารที่แสดงออกไปก็ใช้สำนวนโวหารทางปฏิบัติโดยเฉพาะ อย่างที่พูดถึงเรื่องธาตุ โดยมากเขาไม่ค่อยจะพูดกัน แต่ว่าในแนวปฏิบัติของเรา จำเป็นจะต้องพูดถึง ธาตุ ขันธ์ อายตนะ หมายความว่า ธาตุ นั้น แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นตัวบท เป็นตัวประธานของสิ่งสารพัดทั้งปวงหมด<o:p></o:p>
    ถ้าจะอุปมาเปรียบ ธาตุ เหมือนกับ พยัญชนะ ขันธ์ เปรียบเหมือนสระ อายตนะ เปรียบเหมือน ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา บังคับถ้อยคำให้เป็นไปตามความหมาย ถ้ามีแต่ธาตุ คือ มีแต่พยัญชนะ ก็อ่านไม่ออกเช่น ก ข ค ง ฯ ก็ได้เพียงเท่านั้น มันมีความหมายเฉพาะตัวของมันเพียงแค่นั้น ธาตุก็เช่นเดียวกัน ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม มีความหมายเฉพาะตัวของมันเพียงแค่นั้น จะไปหมายไปใช้ในสิ่งอื่นไม่ได้ ส่วนขันธ์ก็เปรียบเหมือนสระ อะ อา อิ อี ฯ เพียงเท่านั้น<o:p></o:p>
    ขันธ์ ก็ต้องมาประยุกต์กับ ธาตุ อีก จึงจะมีประโยชน์มีความหมายกว้างขวางต่อไป ก็เหมือนกับสระเอามาประยุกต์กับพยัญชนะ เพื่อให้มีความหมายมากขึ้น เช่น ก กับสระอา เป็น กา คราวนี้อายตนะ ที่เปรียบเหมือน ไม้เอก โท ตรี จัตวา เป็นเครื่องบังคับเช่น กา หมายถึง ตัวกา ถ้าหากเติมไม้เอก เป็นก่า หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง ถ้าเติมไม้โท เป็นก้า ถ้ามีตัว ล เข้าไปกล้ำ เป็นกล้า ก็หมายถึง ความกล้า นี่มันกว้างออกไปอย่างนี้<o:p></o:p>
    สำนวนโวหารแบบนี้ใช้เฉพาะพวกนักปฏิบัติ เหตุนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพูดถึงเรื่อง ธาตุ ขันธ์ อายตนะ จึงจะเข้าใจธรรมะแท้จริง เพราะว่าธรรมมีอยู่ในนี้ทั้งหมด ที่พูดมาแล้วคือ ธาตุ กับ ขันธ์ คงจะพอจำกันได้ วันนี้พูดเสริมส่งกันเข้าไปอีก ประยุกต์กันเข้าอีก ถึงเรื่อง อายตนะ<o:p></o:p>
    อายตนะ ก็พากันเข้าใจดีแล้วว่า อายตนะภายนอก ๖ อายตนะภายใน ๖ สัมผัส ๖ เช่น ตา เห็น รูป รูปเรียก อายตนะภายนอก ตา เป็น อายตนะภายใน ตา กับ รูป สัมผัส กันเข้า เรียกว่า จักขุสัมผัส หู กับ เสียง สัมผัสกันเข้าเป็นโสตสัมผัส โดยลำดับ เมื่อสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว จะต้องมีเวทนาคือ ความสุข หรือ ความทุกข์เกิดขึ้นจากสัมผัสนั้น นี่แหละมันขยายกว้างออกไปอย่างนี้<o:p></o:p>
    ความเป็นจริงก็รูป กับ นาม อันมาจากธาตุ มาจาก ขันธ์นั่นแหละ เรียกว่า รูปธาตุ อายตนะภายนอกก็ธาตุ อายตนะภายในก็ธาตุ สัมผัสกันก็ธาตุสัมผัส เกิดวิญญาณ คือ ความรู้สึกขึ้น ซึ่งจะเรียกว่า ธาตุ ต่อไป จักขุ ก็เป็นธาตุ รูป ก็เป็น ธาตุ จักขุวิญญาณ ก็เป็น ธาตุ โสต ก็เป็น ธาตุ โสตวิญญาณ ก็เป็น ธาตุ นี่มันขยายออกไปอย่างนี้ บัญญัติกว้างขวางออกไปโดยลำดับ<o:p></o:p>
    หากเราจะมีปัญหาถามว่า ทำไมจึงต้องบัญญัติให้มากนักหนา? คนที่มีปัญญาสามารถฉลาด จะต้องวิพากษ์วิจารณ์สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ให้ละเอียดถี่ถ้วนลงไปโดยลำดับ จนกระทั่งเห็นเข้าถึงธาตุเดิม อย่างพวกนักวิทยาศาสตร์เขาวิจัยถึงเรื่อง ธาตุ ลงไปจนถึง อณู ปรมาณู จนกระทั่งไม่มีทางไปหมดถึงที่สุด ลงถึงธาตุของเก่า<o:p></o:p>
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาแล้วทรงบัญญัติ รูปกาย ดังอธิบายมาแล้ว มาแยกออกให้เป็น ธาตุ แยกออกให้เป็น ขันธ์ แยกออกให้เป็น อายตนะ แล้วก็มาแยกให้เป็น อินทรีย์ มาแยกออกให้เป็น ธาตุ อีก เป็น ธาตุ ๑๘ ในผลที่สุดทั้ง รูปธาตุ นามธาตุ หรือว่าที่สุดของธรรมะทั้งหลายที่เรียกว่า นิพพานธาตุ ถ้าจะเปรียบไปถึงอณู ปรมาณูของธาตุ ทางวิทยาศาสตร์ ทางพุทธศาสนาลงถึงนิพพานธาตุเลย ตกลงเป็น ธาตุ ทั้งนั้น นี่พูดสรุปรวมเรียกไว้เสียก่อน คราวนี้ย้อนกลับไปอธิบายเบื้องต้นที่ว่าอายตนะ อีก<o:p></o:p>
    อายตนะ แปลว่า เครื่องสืบต่อ หรือ บ่อเกิดของอารมณ์<o:p></o:p>
    พูดถึงบ่อเกิดของอายตนะเสียก่อน ตา เป็นบ่อเกิดของรูปทั้งหมด เพราะหูจะไปดูแทนตาไม่ได้ หู เป็นบ่อเกิดของเสียงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไร เสียงต่าง ๆ เกิดที่หูทั้งนั้น ไม่ได้เกิดที่ตา จมูก เป็นบ่อเกิดของ กลิ่น กลิ่นเหม็น กลิ่นหอม จะเอาลิ้นไปดมแทนไม่ได้ มันไม่ใช่เหม็นอยู่ที่ปลายลิ้น มันไปเหม็นที่จมูกต่างหาก ท่านจึงว่า บ่อเกิด<o:p></o:p>
    คำว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...