อารมณ์พระอนาคามี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย mahaasia, 17 มกราคม 2008.

  1. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||)

    <CENTER><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=5 width="100%" bgColor=#ffa600 border=3><TBODY><TR><TD borderColor=black width="90%" background=../bgthai1.gif>
    <CENTER><TABLE borderColor=#0000ff cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>อารมณ์พระอนาคามี</TD></TR><TR><TD align=left> อารมณ์พระอนาคามี
    ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรดาพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย สำหรับเวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐาน สมาทานศีลแล้ว วันนี้จะได้ศึกษาในเรื่องของ อนาคามีผล
    สำหรับวันก่อนได้น้อมนำเอาอารมณ์ตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระโสดาบันก็ตั้งแต่สัตตักขัตตุง โกลังโกละ เอกพิชี และสกิทาคามีมาพูด สำหรับวันนี้จะนำเอา อารมณ์ของพระอนาคามี มาพูด แต่ก่อนที่จะพูดอารมณ์ของพระอนาคามี ความจริงถ้าอารมณ์จิตของบรรดาท่านทั้งหลายเข้าถึงพระสกิทาคามีแล้ว การทรงอารมณ์ของพระอนาคามีผลเป็นของไม่ยาก เพราะว่าเป็นการศึกษามาตามลำดับ
    ก่อนที่จะพูดในอารมณ์ของพระอนาคามี ก็จะขอน้อมนำเอาไปปฏิบัติ ที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์สอนไว้มาแนะนำกันเสียก่อน แต่ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกหลัก ไม่ถูกเกณฑ์ ไม่ถูกแผน ผลแห่งการบรรลุมันก็ไม่มี วิธีปฏิบัติที่ปฏิบัติกันมา จะต้องทำแบบนี้ ไปดูในวิปัสสนาญาณ 9 ข้อที่ 8 ท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าข้อที่ 9 นั้นท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ คำว่า สัจจานุโลกมิกญาณ นั้น ไม่มีญาณเฉพาะสำหรับตน เป็นการปฏิบัติ คือ คำนึงจิตและพิจารณาย้อนไปย้อนมา
    สมมุติว่าท่านทั้งหลายกำลังเจริญสมาธิจิต เริ่มตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือว่าถือนิมิตในกสิณ เช่นเราเคยเจริญอานาปานุสสติหรืออนุสสติมาก่อน แล้วไปจับพุทธานุสสติ และไปจับธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ หรือว่าเล่นกสิณกองใดกองหนึ่ง
    วิธีปฏิบัติเขาทำแบบนี้ พอเริ่มต้นเข้ามาเขาต้องจับอารมณ์ต้นก่อน เช่น เจริญอานาปานุสสติก่อน ก็ต้องจับอานาปานุสสติให้มีอารมณ์ถึงที่สุดที่เราได้มาแล้ว แล้วก็ปล่อยอารมณ์จิตให้มันทรงตัวอยู่ในอารมณ์นั้นให้สบาย เมื่อจิตมีความสบายถึงที่สุด ทรงอารมณ์ถึงที่สุดแล้วก็เคลื่อนไปจับกองที่ 2 กองที่ 3 กองที่ 4 กองที่ 5 ตามลำดับ แต่ละกองนั้น ๆ ก่อนที่จะเคลื่อนไป ให้จิตเข้าถึงจุดสูงสุดตามกรรมฐานกองต้นเสียก่อน เมื่อจับไปตามลำดับถึงที่สุดแล้ว จึงค่อยทำต่อกองทีทำต่อใหม่ กองที่ทำต่อใหม่นั้น เราจะใช้เวลาเพียงนิดเดียว อารมณ์ก็จะทรงตัว
    ทั้งนี้เพราะว่ากรรมฐานทั้ง 40 กองก็ดี มหาสติปัฏฐานสูตรก็ดี มีอารมณ์เหมือนกัน เช่นเราทรงสมาธิจิตในด้านอานาปานุสสติถึงฌาน 4 หรือว่าฌาน 1 หรือว่าฌาน 2 หรือว่าฌาน 3 ก็ตาม เริ่มต้นเราก็จับอานาปานุสสติให้เข้าทรงฌานถึงที่สุดตามที่เราจะพึงทำได้ในวันนั้น เราปล่อยจิตให้ทรงอยู่ให้อารมณ์สบาย เมื่อจิตเป็นสุขดีแล้ว ขยับเข้าไปกองที่ 2 หรือ กองที่ 3 แต่ละกองจะใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที อารมณ์ก็จะทรงตัวตามนั้น
    เป็นอันว่าถ้าทำอย่างนั้น ก็ชื่อว่าเราใช้วิธี สัจจานุโลมิกญาณ อนุโลมคือเดินตั้งแต่ต้นเข้าไปถึงปลาย บางทีก็จับตั้งแต่ปลายเข้ามาหาต้น จิตทรงอารมณ์ได้ตามปกติ สม่ำเสมอกันทุกจุดอย่างนี้ จะมีอารมณ์ไม่เคลื่อนจากสมาธิทุกกอง ไม่ใช่ทำกองนี้ได้ ไปกองหน้าทิ้งกองหลัง อันนี้ใช้ไม่ได้ เขาต้องเก็บไปตั้งแต่ต้น
    ถ้าหากว่าสมมุติว่าทุกท่านทรงกรรมฐานทั้งหมดได้ 40 กอง เวลาเราจับตั้งแต่ต้น 1 ถึง 40 มิต้องใช้เวลาตลอดคืนหรือ ผมก็จะขอตอบให้ท่านทราบว่าอย่างช้าที่สุดกรรมฐาน 40 กองนี่ เราจะเรียงตามลำดับให้ทรงฌานถึงที่สุดไม่เกิน 15 นาที แต่ผมว่ามันไม่ถึงนา ผมไม่เคยทำถึงนี่ เมื่อกองแรกเราคล่อง กองอื่นมันก็เหมือนกัน
    กรรมฐาน 40 กอง ถ้าจะเปรียบกับเรากินข้าว ถ้าเราเคยกินข้าวด้วยมือ เขามาให้กินข้าวด้วยช้อน มันก็เป็นของไม่ยาก ถ้าเคยกินข้าวด้วยช้อนสังกะสี เปลี่ยนมาเป็นช้อนส้อมมันก็ไม่หนัก มันจะเกะกะอยู่นิดเดียว ข้อนี้ฉันใด แม้การเจริญพระกรรมฐานซึ่งมีการเปลี่ยนอารมณ์ก็เหมือนกัน การเปลี่ยนอารมณ์เข้าไปหาอารมณ์แต่ละกอง แต่ทว่าอารมณ์จริง ๆ คือ สมาธิ มันอันเดียวกัน นี่จุดหนึ่งนะครับ
    และอีกจุดหนึ่งถ้าเราจะเดินด้านวิปัสสนาญาณ เวลานี้จะพูดกันถึงพระอนาคามี แต่ทว่าก่อนที่เราจะใช้อารมณ์จับพระอนาคามี แต่ทว่าก่อนที่เราจะใช้อารมณ์จับพระอนาคามีในเวลาสงัด หรือ เวลาไหนก็ตาม เราก็ต้องนั่งไล่เบี้ยมาตั้งแต่พระโสดาบันก่อน คำว่าไล่เบี้ยมานี่เป็นการสอบสวนอารมณ์จิตของเรา ว่าอารมณ์จิตเดิมที่เราไล่เบี้ยมานี่เป็นการสอบสวนอารมณ์จิตของเรา ว่าอารมณ์จิตเดิมที่เราไล่เบี้ยตั้งแต่พระโสดาบันน่ะ มันทรงตัวแล้วหรือเปล่า ถ้าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามียังไม่ทรงตัว เราก็อย่าพึ่งไปยุ่งกับอนาคามีผลหรือว่าจะเป็นอนาคามีมรรค ต้องจับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปตามขั้นตามระยะ มีอารมณ์ทรงตัวเห็นว่าจิตทรงแน่แล้ว จึงจะก้าวเข้าไปสู่ข้อหน้าต่อไป เท่านี้เราก็ใช้วิธีสัจจานุโลมิกญาณ
    อันดับแรกเริ่มต้นเมื่อหาที่สงัดได้ คำว่าสงัดมันจะสงัดเสียง หรือ ไม่สงัดก็ช่าง แต่ทำใจของเราให้สงัดในนิวรณ์ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า บรรดาพระสมณะอยู่ที่ไหน ที่นั่นย่อมสงัด คือ มีพราหมณ์ถามพระพุทธเจ้าว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายต้องการที่สงัดใช่ไหม คือ ต้องอยู่ในป่าชัฏ ต้องการอยู่ในป่าช้า ต้องการอยู่ในเขา ต้องการอยู่ในบ้านที่ปราศจากผู้คน แต่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดากลับทรงตรัสว่า
    "พราหมณะ ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยเจ้าจะอยู่ในป่าก็ดี อยู่บนยอดเขาก็ดี อยู่ในถ้ำก็ดี อยู่ป่าชัฏก็ดี อยู่บ้านว่างจากคนก็ดี หรือว่าอยู่ในบ้านก็ดี อยู่บ้านว่างจากคนก็ดี พระอริยเจ้าทั้งหมดนี้ย่อมมีอารมณ์สงัด ไม่ว่าที่ใดก็สงัดหมด เพราะว่าอารมณ์ของทุกท่านสงัดจากกิเลสเสียแล้ว
    นี่เป็นอันว่า คำว่าสถานที่สงัด คือ เราใช้อารมณ์สงัดจะไปนั่งคิดว่าที่นั้นต้องไม่มีเสียง ที่นี่ต้องไม่มีเสียง เราคิดหรือว่า เวลาที่เราจะตายน่ะเราจะหาที่สงัดได้ เราต้องพร้อมใจไว้เสมอว่า เวลาที่เราจะตาย อาจจะมีเสียงเครื่องขยายเสียงทั้งด้านข้าง ด้านซ้าย และด้านขวา ใกล้ ๆ เราอาจจะมีใครกำลังทะเลาะกันอยู่ก็ได้ หรือ อาจจะมีใครเขามานั่งด่าเราอยู่ใกล้ ๆ ก็ได้ เราต้องเตรียมใจไว้ ถ้าอาการอย่างนั้นมันปรากฏ เราจะไม่เอาจิตของเราเข้าไปยุ่งกับเสียงกับอารมณ์ต่าง ๆ ทำจิตของเราให้สงัดจากเสียง เรื่องของเขาก็เรื่องของเขา เรื่องของเราก็เรื่องของเรา
    นี่เป็นอันว่าที่สงัดของเราไม่ใช่หมายความว่าสงัดเสียง ไม่ใช่หมายความสงัดจากอาการกายกรรม คือ การทำงานต่าง ๆ ที่สงัดของเรา คือ ใช้อารมณ์จิตสงัดจากนิวรณ์ 5 ประการและก็สงัดจากกิเลสด้วย
    จำให้ดีนะครับ ต้องถอยหน้าถอยหลัง เล่นกันไปแบบนี้ให้มันช่ำมันชอง ตอนนี้เราจะก้าวเข้าไปสู่ พระอนาคามีผล เราก็มานั่งนึกดูตอนต้นว่า โอ้หนอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...