อารมณ์เฉยใช่อาหารของจิตอาหารของภพไหม(คุณนิวรณ์)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แค่พลัง, 26 กันยายน 2017.

  1. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    ถ้ามันลงไปแล้วเห็นตอ ก็พอได้
    แต่ถ้าลงแล้วไม่เห็นอะไร ว่างๆอยู่
    ออกมาพินานอกๆ แต่อย่าเกินกาย
    หยาบก็ได้ ไม่จำเป็นต้องละเอียด
    อย่าหยุด
     
  2. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ขอทักทายข้อความข้างบนนิดนึง สวัสดีครับคุณขาจอน:D:D

    Intro มีพระสูตรอยู่บทหนึ่ง พระอานนท์(มั้ง) ถามพระพุทธเจ้าว่าการบรรลุธรรม (หรืออินทรีย์ ไม่แน่ใจ)เร่งได้รัดได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าอุปมาว่า เปรียบเสมือนหว่านเมล็ดข้าวสารี ต่อให้ชาวนาใจร้อน เร่งปุ๋ย พรวนดิน บำรุงโคนต้นดีขนาดไหน ข้าวก็ไม่มีวันออกรวงให้เก็บเกี่ยวก่อนฤดูกาลได้ฉันใด การบ่มเพาะก็ต้องใช้ระยะเวลาฉันนั้น...........


    อุเบกขามีหลาย version ครับ(10 ver) แต่แบ่งลักษณะเด่นๆก็แบ่งเป็น 2 เวอร์ชั่น
    1. อุเบกขาในฌาน 2. สังขารุเปกขาญาณ
    อุเบกขาในฌาน ในทีนี้ขอแปลงสารเป็นอุเบกขาในสมาธิก็แล้วกัน เนื่องจากไม่ขอรับรองใครว่าได้ฌาน หรือไม่ได้ฌาน อุปจารสมาธิเมื่อถอนออกมาใหม่ๆ อารมณ์ที่ติดออกมาก็สามารถเป็น อุเบกขาในอุปจารสมาธิได้เหมือนกันถ้าเราสังเกตุดู
    อุเบกขาทั้ง 2 ประเภทมีความต่างกัน อุเบกขาในฌาน จะนิ่งๆ เฉยๆ ขาดด้วยปัญญา ประหารกิเลสนิวรณ์ได้ชั่วคราว เพราะจิตขาดความฟุ้งส่าย อุทธัจจะ อยู่ในอาการโดนมอมยา(ภาวนาเภสัช)จึงยังไม่มีแรงออกมาเพ่นพ่าน
    ดังนั้นคำถามที่ถามว่าข้ามโมหะ นักภาวนาจะเอาอะไรไปข้าม? ถ้าท่านคือพระอนาคามีที่ข้ามพ้นโมหะได้(กิเลส 3) แต่ถ้าไม่ใช่แล้วไซร้ยังข้ามมันไม่พ้นแน่นวล ล ล ....


    ส่วนที่ 2 สังขารุเปกขาญาณ เป็นญาณที่เป็นส่วนของปัญญา ขั้นปลายๆ จวนเจียนจะบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งมะรอมมะร่อ นักภาวนาไม่ควรอ่านพิจารณาในส่วนนี้มากจนทำให้เก็บเอาไปฝัน ควรอ่านแค่ผ่านๆให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติว่าไม่หลงทาง หรือปรึกษาครูบาอาจารย์ก็พอ เพราะถ้าเก็บเอาไปฝันมากๆ จะกลายเป็นสํญญา เอาไปบวกกับอุเบกขาในข้อที่ 1 เสียเวลาตามแก้ เดือดร้อนครูบาอาจารย์
    ลักษณะของอุเบกขาประเภทนี้ คือเป็นลักษณะของ "ผัสสะ" กระทบแล้ววาง กระทบแล้วเฉย กระทบแล้วนิ่ง กระทบแล้วจิตเยาะกิเลส ที่แตกต่างจากอุเบกขาประเภทที่หนึ่ง คือลักษณะของอุเบกขาประเภทนี้จะมี"ปัญญา" เป็น Auto pilot ไม่ต้องพยายามนึกคิดปรุงแต่งใดๆ กระทบปุ๊ป ปัญญามันพิจารณาจากปากซอยไปถึงท้ายซอยทันทีภายในชั่วเสี้ยววินาที เร็วกว่าความเร็ว NextG 1 Gbps ของ AIS เรื่องที่ปัญญาจักพิจารณาก็คือไตรลักษณ์ ปล่อยวางสุขเวทนา ยอมรับความเป็นจริงของทุกขเวทนา ๆลๆ ปัญญาในอุเบกขาประเภทนี้ฉลาดมาก คมกริบ ลูกธนูยิ่งทะลุผ่านไม้แผ่น 100 แผ่น ก็ยังไม่เท่าความคมของปัญญาประเภทนี้
    ดังนั้น พระโยคาวาจร จะรู้เอง เป็นปัจจตัง โดยที่ไม่มี วิจิกิจฉา ใดๆเลย ครูบาอาจารย์นั่งอยู่เฉยๆก็ยิ้มแป้น เพราะพระโยคาวจร จะไม่มีคำถามอีกต่อไป
    สรุปข้อนี้คือ พิจารณา ไตรลักษณ์ เช่นถ้าแก้วแตก ถ้ารถยนต์ของเราถ้าถอดแยกล้อจะเหลืออะไร ถ้าความตายของเรามาเย็นนี้ ๆลๆ ตามแต่จริต โยนิโส ย้อนไปย้อนกลับ ถ้าจะข้ามโมหะ ก็ขอให้โยนิโส โมหะ แทนที่จะข้ามมันไป
    การรู้อยู่เฉยๆ ไม่ช่วยอะไรด้านปัญญานัก อุปมาว่าข้อสอบวิชาปัญญา ว่าครูคงให้ 1 เต็ม 10 ถ้าตอบแค่รู้เฉยๆ อย่าลืมว่าอาการเฉย เป็นอาการปกติสามัญในมนุษย์ทุกคน แม้นคนนอกศาสนา แม้นคนไม่เคยได้ยินได้ฟังคำตถาคต แม้นอาการเฉยๆจะเกิดขึ้นทุกวันแต่ก็ไม่สามารถทำให้ใครมี"ปัญญา"จนบรรลุธรรมนอกศาสนาได้



    พิจารณาไตรลักษณะ ปล่อยความยึดมั่นถือมั่นในตัว(กู)ตน เช่นทำมือถือตกแตก แว๊บแรกอาจจะโมโห แว๊บสองอาจจะเสียดายเครื่องละตั้ง 2 หมื่น แว๊บสามก็พิจารณาไตรลักษณะ เมื่อเห็นว่ามันไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ปล่อยวางลงได้ ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนก็จะถูกขัดเกลา เบาบางลง (แน่นอนว่าถ้าไม่ทำสมาธิช่วย อาจมีเขวี้ยงสาก เขวี้ยงครก ใส่ผู้ทำตกได้การทำสมาธิจึงมีประโยชน์ช่วยขัดเกลากิเลส(โทสะ ความใจร้อน) ออกไปได้มาก ช่วยหนุนเรื่องปัญญาดีนักแลแม่ชะเอม)
    เมื่อความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนถูกเกลาออกไป ศีลพตปรามาส ก็จะค่อยๆหายไปเอง
    เพราะไม่ได้ถือศีลพรต แบบลูบคลำอีกแล้ว ไม่ได้หวังทำสมาธิแค่หวังชั้นพรหม(กิเลส) ทำบุญหวังสวรรค์(กิเลส) ศีลพรตข้อนี้ ผกผันกับ สักกายทิฐิ โดยตรง ยิ่งมีสักกายทิฐิแรง จะยิ่งทำให้ศีลพรต แตกเป็นเสี่ยงๆเอาได้ง่ายๆ


    อย่าคิดอย่างนั้นเลยขอรับแม่ชะเอม หากแม่จักรอไปอีก 1 พุทธันดร เพื่อรอให้พระพุทธเจ้ามาโปรดสอนเรื่อง"ปัญญา"แล้วไซร์ มันจักเป็นการรอที่เนิ่นนานหลายเพ-ลาเลยนะขอรับ คุณพระว่าเอาไว้ จักยาวนานนับเป็นกัปๆเป็นแน่แท้ หากแม้นแม่ชะเอม แน่วแน่ว่าไม่รีบหวังที่จักพิชิตธงชัยภายในขอบขัณฑสีมาในบวรพุทธศาสนา หากแม่รอได้ ในช่วงสุญญกัป จักยังไร้ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จลงไปอุบัติโปรดสัตว์ แม่ชะเอมจักพอใจเสพเสนาสนะอยู่ตามชายป่า แล้วตรึกตรองแบบนี้ไปเรื่อยๆก็จักมิมีใครห้าม

    วิริยะ ศรัทธา นั้นถูกต้องตามโพชฌงค์แล้วไซร้ เสียอย่างเดียวเกินมาข้อนึง "ปัญญาไม่ต้องมาก" ก็ฝากแม่ชะเอมให้ตรองดูให้ดีเถิด


    ทิดศิษย์โง่จักขอลา




    อนึ่ง ทำความเพียรไปเรื่อยๆ ประดุจโปรยเมล็ดข้าวสาลีลงในนา รอแค่วันผลิดอกออกผล วันใดวันหนึ่ง
    อสอง อ่านเอาเพลินๆพอนะครับ ไม่ได้คิดว่าจะตรงจริต หรือตรงซะทีเดียวกับผู้ปฏิบัติ
    อสาม ต่อจาก อสอง ผู้อ่านก็ยังได้ความบันเทิง อย่าดราม่ากันเด้อ พี่น้อง
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ถึงคุณ แมว อวิชาเป็นตัวใหญ่ ให้กำเหนิด สังขารเป็นตัวปรุงแต่งจิต จิตที่คิดว่าตัวเป็นสังขารจึงเกิดอาการตามอวิชามากมายทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ จนไม่รู้ว่าอวิชานั้นจรมาบดบังจิตดั้งเดิมจนจิตยึดเอาสังขารมาเป็นจิต สังขารปรุงแต่งมากมายจนเกิดภพเกิดชาติตามมาเละสุดที่มรณะ ไปเองด้วยตัวสังขารเองไม่เที่ยง อวิชาสร้างโลก แต่อวิชานั้นไม่คงทน จึงเกิดดับๆๆ นับไม่ถ้วนสานต่อกันเป็นสันตติ อวิชาสร้างกองแห่งทุขให้เกิดขึ้น กองแห่งทุขนั้นคือตัวขันธ์ จิตถูกอวิชาบดบังชักนำจึงคิดว่าขันธ์นั้นเป็นตัวเป็นตน เป็นของๆตนทั้งอารมทั้งความคิด ความคิดเกิดอย่างไรไห้ผลอย่างไรตัดสินอย่างไรก้ยังเป็นของๆโลกของๆอวิชา ท่าเห็นได้ว่ากองเหล่านี้ทั้งรูปและนามขันไม่ใช่ของๆตนแล้ว ผลของโลกก้ยังคงเกิดขึ้นเมื่อมีขัน แต่ไม่จริงเละไม่เป็นจริงต่อจิต วันก่อนคุณแมวเคยถามว่า เวทนาเป็นของเราหรือไม่ งูๆปลาๆเคยได้ตอบไปแล้ว วันนี้งูๆปลาๆขอถามบ้างว่าคุณแมวเห็นสังขารเป็นจิตเป็นตัวเราเป็นของๆเราหรือไม่ งูๆปลาๆว่าขันธ์นั้นคือกองแห่งทุข และตัวอวิชานั้นคือสมุทัย จิตที่หลุดพ้นเป็นวิมุติ หรือนิโรธ และหนทางในการถอดถอนอวิชานั้นคือมรรค เรื่องของกระบวนการถอดถอนนั้นเราคงได้คุยกันในวาระถัดๆไป งูๆปลาๆขอยกเอา เจตสิกหรือจิตที่ปรุงแต่งแล้วมาไห้พจารณาด้วย

    เจตสิก แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ

    เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ) สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง) เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต )

    เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ

    1. เกิดพร้อมกับจิต
    2. ดับพร้อมกับจิต
    3. มีอารมณ์เดียวกับจิต
    4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต
    จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

    1. ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
    2. กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
    3. ผลงานของเจตสิกคือ เป็นอารมณ์ของจิต
    4. เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต
    เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน

    จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก

    การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์ แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่างๆ

    การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงรู้นิพพานอารมณ์

    เจตสิกจัดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎกซึ่งมี 4 เรื่องคือ จิตรูป นิพพาน และจัดเป็นเรื่องสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งด้วย

    เจตสิก๕๒
    การที่จิตและเจตสิกจะประกอบกันได้จำต้องมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน จึงอยู่ในที่เดียวกันได้ เช่น โลภะเจตสิก จะต้องประกอบได้กับโลภะมูลจิตเท่านั้น เมื่อประกอบกันแล้วโลภะจิตดวงนี้จึงจะสามารถแสดงอำนาจความอยากได้ออกมา โทสะเจตสิกก็ต้องประกอบกับโทสะมูลจิตเท่านั้น โทสะเจตสิกจะ ประกอบกับโลภะจิตไม่ได้ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ตรงข้ามกัน คือ โลภะเจตสิกมีสภาพติดใจในอารมณ์ ส่วนโทสะเจตสิกมีสภาพประทุษร้ายทำลายอารมณ์ จึงเข้ากันไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน เจตสิกฝ่ายอกุศล ก็จะเข้ากับโสภณเจตสิกก็ไม่ได้เช่นกัน

    กล่าวโดยสรุป ธรรมชาติของเจตสิกนั้นเกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ เมื่อประกอบแล้ว ทำให้จิตเป็นบุญ(กุศล) หรือเป็นบาป(อกุศล) ตามการเข้าประกอบ เจตสิกแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ เจตสิกฝ่ายกลาง เข้าได้กับจิตทุกกลุ่ม เรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก มี 13 ดวง กลุ่มที่ 2 คือ เจตสิกฝ่ายอกุศลได้แก่ อกุศลเจตสิกมี 14 ดวง เข้าได้กับ กลุ่มอกุศลจิตเท่านั้น กลุ่มสุดท้ายคือเจตสิกฝ่ายดีงาม เข้าได้กับกลุ่มโสภณจิตเท่านั้น โสภณเจตสิกมี 25 ดวง แยกโดยละเอียดแล้วมี 52 ประการ จัดเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ 3 หมวด คือ

    อัญญสมานาเจตสิก๑๓
    อัญญสมานาเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ที่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้ ทั้งกลุ่มกุศลจิต กลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มจิตที่ไม่ใช่กุศล / อกุศล (อัพยากตะจิต)

    อัญญสมานาเจตสิกมี 13 ดวง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่



    สัพพจิตตสาธารณะ๗
    หมายถึงเจตสิกที่เกิดกับจิตทั้งปวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตทั่วไปทุกดวง (89 หรือ121ดวง) เจตสิกกลุ่มนี้เวลาเข้าประกอบ จะเข้าพร้อมกันทั้ง 7 ดวง แยกจากกันไม่ได้ จึงเรียกเจตสิกกลุ่มนี้ว่า สัพพสาธารณะเจตสิก 7

    • เอกกัคคตา ประคองจิตให้มีอารมณ์เดียว
    • ชีวิตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการหล่อเลี้ยงนามธรรม คือจิตและเจตสิกทั้งหลาย
    • มนสิการ กระทำไว้ในใจ (มโน)
    • เวทนา
    • สัญญา
    • เจตนา
    • ผัสสะ อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะ
    ปกิณณกเจตสิก๖
    หมายถึงเจตสิกที่เรี่ยรายทั่วไป ไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่เข้าประกอบได้กับจิตทั่วไปเช่นกัน แต่เวลาเข้า ประกอบ จะเข้าไม่พร้อมกัน แยกกันประกอบตามลำดับ เจตสิกกลุ่มนี้เรียกว่า ปกิณณกะเจตสิก 6

    • วิตก การนึก
    • วิจาร การคิด
    • อธิโมกข์ จูงจิตให้เชื่อ(ตามที่คิด)
    • ฉันทะ ความชอบใจในสิ่งที่เชื่อ
    • วิริยะ ความพยายามตามความเชื่อนั้น
    • ปีติ ความอิ่มใจ เมื่อรับผลจากความพยายามนั้น
    อกุศลเจตสิก๑๔
    อกุศลเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายอกุศล เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น กลุ่มอกุศลจิต มี 14 ดวง

    โลภะ๓
    โทสะ๔
    โมหะ๔
    ถีทุกะ 2
    แยกเป็น2กลุ่ม คือ ทำให้ท้อแท้หดหู่(ถีนะมิททะ)

    โสภณเจตสิก๒๕
    โสภณเจตสิก หมายถึง กลุ่มเจตสิกฝ่ายดีงาม เป็นกลุ่มที่ประกอบได้กับโสภณจิต (ยกเว้นกลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มอเหตุกจิตแล้ว จิตที่เหลือชื่อว่าโสภณะจิต) โสภณเจตสิกมี 25 ดวง แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

    สาธารณะ๑๙
    ที่เหลือจัดเป็น๖คู่ คือการบังคับควบคุมกายและจิตที่ดี คือ

    • กายลหุตา จิตตลหุตา (ทำกายจิตเบา)
    • กายมุทุตา จิตตมุทุตา (ทำกายจิตอ่อน)
    • กายกัมมัญญัตตา จิตตกัมมัญญัตตา (ทำกายจิตควรแก่การงาน คือพอประมาณ)
    • กายอุชุตา จิตตอุชุตา (ทำกายจิตให้ตรง คือแม่นยำ ถูกต้อง)
    • กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ (ทำกายจิตให้สงบ)
    • กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา (ทำกายจิตให้คล่องแคล่ว)
    วิรัตติ๓
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

    อัปปมัญญา๒
    กรุณา มุทิตา

    ปัญญา๑
    ปัญญา
     
  4. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    นามจิต มีทั้งกุศล เละอกุศล เราใช้เจตสิกที่เกิดขึ้นพิจารณาสัญญาด้วยปัญญา กิเลสมีทั้งหยาบ กลางเละละเอียด เรายังคงต้องใช้สังขารธรรมที่ไม่ใช่เรานี้ที่เกิดขึ้นเพื่อกำจัดกิเลสโดยคู่ปรับของธรรมดังนี้
    โพชฌงค์คู่ปรับกับอนุสัย
    1. สติเป็นคู่ปรับกับอวิชชา
    2. ธัมมวิจยะเป็นคู่ปรับกับทิฏฐิ(สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตปรามาส)
    3. วิริยะเป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา
    4. ปีติเป็นคู่ปรับกับปฏิฆะ
    5. ปัสสัทธิเป็นคู่ปรับกับกามราคะ
    6. สมาธิเป็นคู่ปรับกับภวราคะ(รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ)กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ(ภพที่ไม่สงบ))
    7. อุเบกขาเป็นคู่ปรับกับมานะ
    • ธัมมวิจยะและวิริยะทำลายทิฏฐิและวิจิกิจฉาอนุสัย บรรลุเป็นพระโสดาบันและหรือพระสกทาคามี
    • ปีติและปัสสัทธิทำลายปฏิฆะและกามราคะอนุสัย บรรลุเป็นพระอนาคามี
    • สมาธิ อุเบกขาและสติทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็นพระอรหันต์
     

แชร์หน้านี้

Loading...