อารมณ์แบบสุกขวิปัสสโก...โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 21 กรกฎาคม 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน

    โดย

    พระมหาวีระ ถาวโร
    อัชฌาสัย





    ความต้องการของอารมณ์ เรียกว่า อุดมคติ หรือแบบที่ผู้ใหญ่โบราณสักหน่อย เรียกว่า อัชฌาสัย หรืออุดมคติ อัฌชาสัยในการปฏิบัติมีอยู่ 4 อย่าง ด้วยกันคือ<O:p</O:p

    ๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก <O:p</O:p

    บางคนชอบแบบสุกเอาเผากิน เรื่องความละเอียดเรียบร้อย การรู้เล็กรู้น้อยแสดงฤทธิ์ อวดเดชเดชาอะไรนั้น ไม่มีความต้องการ หวังอย่างเดียวคือความบรรลุผล ท่านประเภทนี้พระพุทธเจ้ามีแบบปฏิบัติไว้ให้เรียกว่า สุกขวิปัสสโก คือ ปฏิบัติแบบสบาย เริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เรื่องศีลนี้ นักปฏิบัติต้องสนใจเป็นพิเศษ ถ้าหวังผลในการปฏิบัติแล้ว อย่าให้ศีลบกพร่องเป็นอันขาด แม้แต่ด่างพร้อยก็อย่าให้มี ถ้าท่านเห็นว่าศีลเป็นของเล็กน้อย ปฏิบัติยังขาด ๆ เกิน ๆ แล้ว ท่านไม่มีหวังในมรรคผลแน่นอน เมื่อมีศีลครบถ้วนบริสุทธิ์ผุดผ่องดีแล้ว ท่านก็ให้เจริญสมาธิ ตอนสมาธินี้ ท่านฝ่ายสุกขวิปัสสโกท่านไม่เอาดีทางฌานสมาบัติ พอมีสมาธิเล็กน้อยก็เจริญวิปัสสนาญาณควบกันไปเลย คุมสมาธิบ้าง เจริญวิปัสสนาบ้าง พอสมาธิที่รวบรวมได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน วิปัสสนาก็มีกำลังตัดกิเลสได้ จะได้มรรคผลก็ตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน หากสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌานเพียงใด จะได้มรรคผลไม่ได้ นี้เป็นกฎตายตัว เพราะมรรคผลต้องมีฌานเป็นเครื่องรู้ ฌานนี้จะบังเกิดขึ้นเมื่อจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ คือเกือบถึงปฐมฌาน ห่างกันระหว่างปฐมฌานกับอุปจารฌานนั้น เพียงเส้นผมเดียวเท่านั้น จิตเมื่อตั้งมั่นในอุปจารสมาธิแล้ว ก็จะเกิดทิพยจักษุฌาน คือเห็นสิ่งที่เป็นทิพย์ และได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เพราะตามธรรมดาจิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้ว ที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์ <O:p</O:p
    คืออกุศลหุ้มห่อไว้ ได้แก่ความโลภอยากได้ไม่มีขอบเขต ความผูกโกรธคือพยาบาทจองล้างจองผลาญ ความง่วง เมื่อขณะปฏิบัติทำสมาธิ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึกสมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่าจะได้หรือ จะสำเร็จหรือ ทำอย่างนี้จะสำเร็จได้อย่างไร ความสงสัย ไม่แน่ใจอย่างนี้ เป็นนิวรณ์กั้นฌานไม่ให้เกิด รวมความ แล้ว ทั้งห้าอย่างนี้นั่นแหละ แม้เพียงอย่างเดียว ถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ฌานจะไม่เกิด จะคอยกีดกันไม่ให้ จิตผ่องใส มีอารมณ์เป็นทิพย์ตามสภาพปกติได้ จิตเมื่อถูกอกุศลห้าอย่างนี้หุ้มห่อก็มีอารมณ์มืดมนท์รู้สิ่งที่เป็น ทิพย์ไม่ได้เพราะอำนาจอกุศลคือนิวรณ์ห้านี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตทรงอารมณ์ของฌานไว้ได้เท่านั้น ถ้า จิตทรงอารมณ์ปฐมญานไม่ได้ จิตก็ต้องตกเป็นทาสของ นิวรณ์ อารมณ์ปฐมฌานนั้นมี ๕ เหมือนกัน คือ

    ๑. วิตก คำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกตลอดเวลา
    ๒. วิจาร ใคร่ครวญกำหนดรู้ตามในองค์กรรมฐานนั้น ๆ ไม่ให้บกพร่องตรวจตราพิจารณาให้ครบถ้วนอยู่เสมอๆ
    ๓. ปีติ มีความเอิบอิ่มรื่นเริงหรรษา ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    ๔. สุข เกิดความ สุขสันต์หรรษาทางกายอย่างไม่เคยปรากฏมาในกาลก่อนมีความสุขสดชื่นบอกไม่ถูก
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์มั่นคงในองค์กรรมฐาน จิตกำหนดตั้งมั่นไม่คลาดจากองค์กรรมฐานนั้นๆ

    ทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน เมื่อเข้าถึงตอนนี้จิตก็เป็นทิพย์มาก สามารถกำหนดจิตรู้ในสิ่งที่เป็น ทิพย์ได ้ก็ผลของวิปัสสนา คือมรรคผลนั้น การที่จะบรรลุถึงได้ต้องอาศัยทิพยจักษุญาณเป็นเครื่องชี้ ตามที่ท่าน กล่าวไว้ว่าเมื่อภิกษุบรรลุแล้วก็มีญาณบอกว่ารู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็ทรงหมายเอาญาณที่เป็นทิพย จักษุญาณนี้ถ้าบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนวิสุทธิ วิมุตติแปลว่า หลุดพ้น ญาณ แปลว่า รู้ ทัสสนะ แปลว่า เห็น วิสุทธิ แปลว่า หมดจดอย่างวิเศษ คือ หมดไม่เหลือ หรือสะอาดที่สุด ไม่มีอะไรสกปรก (บอก ไว้เพื่อรู้)
    ฉะนั้น ท่านสุกขวิปัสสโก ถึงแม้ท่านจะรีบปฏิบัติแบบรวบรัดอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องอาศัยฌานในสมถะจนได้ แต่ได้เพียงฌานเด็กๆ คือปฐมฌาน เป็นฌานกระจุ๋มกระจิ๋มเอาดีเอาเด่นในเรื่องฌานไม่แน่นอนนัก กล่าวโดยย่อ ก็คือ<O:p</O:p
    ๑. ท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ ชนิดไม่ทำเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีในเมื่อคนอื่นทำบาป
    ๒. ท่านเจริญสมาธิควบกับวิปัสสนา จนสมาธิรวมตัวถึงปฐมฌานแล้ว ท่านจึงจะได้สำเร็จมรรคผล
    ท่านสุกขวิปัสสโก มีกฏปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านจึงเรียกว่า สุกขวิปัสสโก แปลว่า บรรลุแบบง่ายๆ ท่านไม่มี ฌานสูง ท่านไม่มีญาณพิเศษอย่างท่านวิชชาสาม ท่านไม่มีฤทธิ์ ท่านไม่มีความรู้พิเศษอะไรทั้งสิ้น เป็นพระ อรหันต์ประเภทรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ไม่มีคุณพิเศษอื่นนอกจากบรรลุมรรคผล<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2008
  2. civil60

    civil60 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +60
    นิพพานนังปรมังสุขขัง
     
  3. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
    หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ
    ผู้ถาม :แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?
    หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?
    ท่านอนุรุทธก็บอกว่า ไม่ยุบ
    แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์"


    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ

    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    <!-- / message -->​

    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...