อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ถ้ารู้ลมเข้าลมออกอยู่เป็นปกติ อารมณ์แห่ง
    ความหลงในกามคุณ ๕ มันก็ไม่มี อารมณ์มัน
    มีความหลงไปในเรื่องของความโลภมันก็ไม่มี
    จะหลงอยู่ในความโกรธความหลงมันก็ไม่มี
    เพราะว่าจิตมันติดงาน คือรู้ลมหายใจเข้าลม
    หายใจออก


    โดยหลวงพ่อฤาษี วัดจันทาราม (ท่าซุง)


    [​IMG]
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    จงเห็นทุกข์ แต่อย่าเป็นทุกข์ +++ ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    การปฏิบัติเพื่อเอาดีจริง ๆ การเริ่มต้นของการปฏิบัตินอกจากศีลบริสุทธิ์แล้ว ก่อนที่จะภาวนา ให้ใช้ปัญญาพิจารณาความเป็นจริงของร่างกายเสียก่อน คิดว่าการเกิดของเราแต่ละชาติเป็นทุกข์
    เรื่องทุกข์นี่ให้มองดูกันเองนะ เพราะเห็นทุกข์กันอยู่ทุกวัน คนไม่เห็นทุกข์ นั่นหมายถึงว่า ตั้งหน้าตั้งตาลงนรก เพราะจิตมันไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง
    เราต้องมองเห็นและพิจารณาว่า การเกิดนี่มันเป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ป่วยไข้ไม่สบายก็ทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ตายก็ทุกข์




    [​IMG]
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ปัณฑรสฤาษี ถามว่าในอนาคต
    ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร
    พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบ
    ดูก่อนปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังจงจำคำของอาตมาให้ดี ถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมากจักเป็น คนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณเท่านี้ หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่าง ๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา
    ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพกันและกัน
    ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลวโวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ
    มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษคนอื่น ไม่
    ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแต่การทะเลาะวิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระอริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด เหลาะแหละ ใช้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสีงา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาด เป็นของไม่น่าเกลียดพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาว ๆ
    จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม
    เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉาชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหาราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์เที่ยวไป
    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาวมิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย
    บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่งในอนาคตกาล ภิกษุเหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะจักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย บริโภคผ้ากาสาวะเมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียง
    โอดครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ได้เห็นผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราวนั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย
    ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมายว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคงประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ
    มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือนไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะอย่างไร
    อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่
    ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟังพวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือนอย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อนายเพระอุปัชฌายาจารย์ จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.



    ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้นในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าว คาถา ๓ คาถา ความว่า
    .......


    ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน

    ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย
    จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย มีความเคารพกันและกัน
    มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน
    จงสำรวมในศีล
    ปรารภความเพียร
    มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์

    ขอท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัยและจงเห็นความไม่ประมาท

    โดยความเป็นของปลอดภัยแล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะ
    บรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.




    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔




    [​IMG]
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐี สมติวิชฺฌติ
    เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ.
    ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด ,
    ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น.

    พุทธศาสนสุภาษิต




    ภาพโดย หญิงนักปรัชญา กับวิชานักกฎหมาย



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ศีลเย็นสงบเข้าไปถึงจิตใจ

    "แสงจันทร์ไม่เย็นเท่าศีล เพราะแสงจันทร์ได้แค่เย็นตา แต่ศีลเย็นสงบเข้าไปถึงจิตใจ"

    ...หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    บันทึกธรรมพระราชพรหมยาน /



    เรื่อง "อุปกิเลสของบุคคลผู้มีตบะ"

    .... อีกตอนหนึ่งท่านกล่าวตอนนี้ว่าด้วยเรื่องของ "อุปกิเลสของบุคคลผู้มีตบะ" นั่นก็หมายความว่าผู้มีตบะ คือมีความเพียรเป็นเครื่องเผาบาปถูกต้อง แต่ว่ากำลังใจเสีย

    ทำถูกแต่กำลังใจเสีย ต่อไปใช้ไม่ได้อีก

    นิโคธปริพาชกทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อุปกิเลสมากอย่าง มีการหน่ายบาปและตบะที่บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ เป็นอย่างไรพระเจ้าค่ะ นั่นก็หมายความเขาถามต่อนะ ว่าคนที่ปฏิบัติในตบะ คือความเพียรเป็นเครื่องเผาผลาญบาป คือตัดกิเลสจริงๆ ทำถูกจุดแต่ทำไมกลับใช้ไม่ได้


    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ คือมีความเพียร เพราะบาปที่เร่าร้อนในโลกนี้ ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นคนผู้ใจดี มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะ แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ มีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้นนั่นแล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ นี่ก็หมายความว่า ทำนะถูกแล้ว เต็มใจทำ แต่ว่าไปปักจุดอย่างเดียวว่า "เราทำอย่างนี้จึงบรรลุมรรคผล" เป็นว่าจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเมื่อบุคคลมาแนะนำ หรือไม่ยอมพลิกแพลง
    แล้วถ้าบังเอิญตบะคือ ความเพียรเป็นเครื่องเผาบาป ทำลายกิเลสนั้น "มันเป็นกำลังใจที่อ่อน" ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ กิเลสก็เลยไม่หมดไป อย่างนี้ถือว่า "ทนงตนเกินไป หลงตนเกินไปใช้ไม่ได้" เป็นอุปกิเลส ข้อต่อไปท่านตรัสว่าดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ ยกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้นแล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ
    นั่นก็หมายความว่าการทนงตน ตนประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส แต่ว่ายังเผาหมดหรือไม่หมดก็ไม่ทราบ แต่กลับทะนงตนข่มขู่ผู้อื่นว่า "คนอื่นน่ะดีสู้ฉันไม่ได้" อย่างเวลาในปัจจุบันนี่เราก็เห็น เห็นมีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เวลาไปพูดที่ไหนก็ด่าคนนู้นบ้าง ไปบริพาทคนนี้บ้าง คนโน้นไม่ดี คนนี้ไม่ดีบ้าง ใครไหว้เทวดา ไหว้หมาดีกว่าบ้าง อะไรพวกนี้เป็นต้น ไอ้นี่น่ะเขาถือว่า "เป็นการทนงตน ถือตัว ถือตบะข่มขู่คนอื่น"
    รวมความว่าผมเห็นว่าข้อนี้ "เป็นกิเลสที่หยาบที่สุด" ไม่ใช่กิเลสเล็กน้อยเลย พูดกันต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือตบะ ถือมั่นในตบะ เขาให้ลาภสักการะด้วย ความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ดีใจมีความดำริบริบูรณ์ ด้วยลาภสักการะสรรเสริญ แม้ข้อที่ผู้มีตบะมีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและสรรเสริญนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสอย่างหนึ่ง ไอ้นี่ก็เห็นชัดที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส "นี่เป็นการติดในโลกธรรม"
    "บุคคลที่จะละกิเลสจริงๆ เขาต้องละโลกธรรม" ลาภก็ดี สรรเสริญก็ดี ถ้าเราไปติดก็ถือว่าเป็นผู้มีกิเลสท่วมตัว ผมก็อยากจะพูดว่ามีกิเลสเลยหัว ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าโลภะความโลภ มันก็เป็นของไม่ดี เราติดในลาภกิเลส มันก็จม มันก็เต็มปลักในร่างกาย ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นโลกธรรม ถ้าเราติดมันก็มีความทุกข์ ลาภที่เรามีมาได้แล้ว มันก็เสื่อมหมดไปได้ ถ้าเรายินดีในการได้ลาภ ไม่ช้ากำลังใจก็ต้องเสียใจ สลดใจ เมื่อลาภหมดไป คำสรรเสริญก็เช่นเดียวกัน คำสรรเสริญไม่ใช่ของดี ถ้าเราติดในคำสรรเสริญ เราก็จะมีแต่ความทุกข์ เพราะว่าเขาไม่มีใครมานั่งตั้งตานั่งสรรเสริญอยู่ตลอดวัน "คนที่เขาสรรเสริญเราได้ เขาก็ด่าเราได้" ฉะนั้นจงจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "นินทาปสังสา เป็นธรรมดาของชาวโลก" ชาวโลกทั้งหมดที่กล่าวมาต้องพบทั้งนินทาและสรรเสริญ นี่ท่านมาติดลาภ ติดสรรเสริญ ก็ถือว่าเป็นอุปกิเลสอย่างหนัก เดี๋ยวนี้คงจะพอมีแหละมั้ง พอมีไหม ฟังๆ ตามวิทยุคงจะพอได้ยินบ้างแหละมั้ง
    พระองค์ทรงตรัสต่อไปว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ เขาให้ลาภสักการะและสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมยกตนข่มคนอื่นด้วยลาภสักการะด้วยความสรรเสริญนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะยังลาภสักการะและสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วย ตบะนั้นยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและสรรเสริญอย่างนี้ ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ
    นั่นหมายความว่า ทั้งลาภ ทั้งยศ ทั้งสรรเสริญ สุข มีความเพียร หรือพูดกันง่ายๆ ว่าบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา หรือท่านที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐานที่ใดที่หนึ่งก็ตาม ทำแล้วคนเขามีความเคารพนับถือ เขาให้ลาภมาก เขาสรรเสริญมาก สมัยนี้ก็ต้องมียศด้วย มียศฐาบรรดาศักดิ์ แล้วไอ้ลาภก็ดี คำสรรเสริญก็ดี ยศก็ดี ไปข่มขู่คนอื่น ว่าเธอนะสู้ฉันไม่ได้นะ ฉันเป็นพระครูนะ ฉันเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม ชั้นกรม ชั้นสมเด็จ หรือเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    อันนี้ไม่ได้ปรามาสนะ ถ้าท่านมีความรู้สึกว่า "เด่นกว่าบุคคลอื่นด้วยเรื่องนี้ ถือว่าเป็นกิเลส" แล้วก็บางท่านคิดว่าฉันน่ะลาภสักการะเยอะ ใครก็ให้ฉันมาก ใครๆ สู้ฉันไม่ได้ข่มด้วยลาภสักการะ เอาลาภสักการะไปข่มขู่คนอื่น ว่าท่านหากินไม่ได้ ทำไม่ถูกใจ คุณสู้ผมไม่ได้ เอาไปเบ่งทับคนอื่นเขา แล้วคำสรรเสริญเยินยอ ถ้ามีคนเขาเคารพนับถือมาก เอาคำสรรเสริญเยินยอไปข่มขู่ ว่าใครที่ไหน คนที่คุยกับผมเนี่ยมีลูกศิษย์ลูกหามากเท่าผมไหม ผมมีลูกศิษย์ลูกหามากกว่า
    ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เป็นกิเลสอย่างหนัก" ต่อไปก็ทรงตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือตบะ เขาให้ลาภสักการะ ความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมเมาย่อมลืมสติ ย่อมถือความเมาเอาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น แม้ผู้ที่มีตบะมั่น ยังลาภสักการะและสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เมาลืมสติ ถึงความเมาด้วยลาภสักการะสรรเสริญนั้นด้วยแล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่ผู้มีตบะ
    สำหรับพวกนี้ก็เหมือนกัน เป็นผู้เมา ลาภก็ดี สักการะก็ดี สรรเสริญก็ดี ยศฐาบรรดาศักดิ์ก็ดี ครึ้ม มีความรู้สึกยังไม่ไปข่มคนอื่น "แต่มีความรู้สึกในใจว่าฉันนี่แน่" ฉันมีลาภเยอะ มีคนชอบใจมาก สรรเสริญเยินยอเยอะ ฉันมียศฐาบรรดาศักดิ์สูง อย่างนี้ก็ตกอยู่ในโลกธรรม จมปลัก แทนที่กิเลสจะหมดไป กิเลสมันเลยหัวเป็นไหนๆ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ข้อนี้เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ทั้งหมด ที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตกล่าวว่า "เป็นอุปกิเลส"
    อุป แปลว่า "เข้าไปใกล้มั่น" กิเลส หมายถึง "ความเศร้าหมอง" รวมความว่า เราเดินเข้าไปหาความสกปรกของจิต ฉะนั้นขอสาวกขององค์สมเด็จพระธรรมสามิสรทุกท่าน จงละอารมณ์นี้จากใจ ถ้ามันละไม่ได้จริงๆ ให้มันขังอยู่แค่ในใจ แย่ให้ไหลมาถึงปาก ไหลมาถึงกาย ถ้าเราทรมานมันอย่างนี้ไม่ช้า ไม่นานเท่าไหร่ มันก็หมดไปจากใจเอง สำหรับวันนี้ เวลานี้ก็หมดเวลาแล้ว ขอลาก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่ท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี ..

    หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี




    [​IMG]
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    "อย่าเอากิเลสมาอวดกัน
    ให้เอาธรรมดวงอัศจรรย์มาอวดกันดีกว่า
    จิตบริสุทธิ์ คำพูดสะอาด
    จิตขาดธรรม คำพูดเป็นพิษ
    เพราะความไม่สะอาดของจิตเป็นพิษอยู่ตลอด"


    หลวงปู่สาย





    [​IMG]
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    หลวงพ่อฤๅษี ตอบปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    ผู้ถาม:- “เมื่อจิตสงบแล้วเป็นเอกัคคตารมณ์ เราจะพิจารณาตอนนี้ หรือว่าต้องถอนจิตมาพิจารณาครับ?”
    หลวงพ่อ:- “ไม่ต้องถึงอย่างนั้นหรอกโยม เรื่องพิจารณานี่เราจะเริ่มตั้งแต่ตอนต้นได้เลย คือว่าวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ เขาทำกันแบบนี้นะ คือว่าในตอนนั้นหรือจุดเริ่มต้นน่ะ เราพอใจในอะไร ถ้ามันกระสับกระส่ายก็ใช้อานาปาเข้าควบคุมให้จิตสงบเสียก่อน เมื่อจิตสงบดีแล้ว ก็ถอยมาสู่อุปจารสมาธิมาพิจารณาขันธ์ ๕ ไม่ใช่พิจารณาเฉยๆ ต้องเอาสังโยชน์เข้ามาคุมเป็นพื้นฐานด้วยว่า เราจะตัดจุดไหนกันแน่ พอพิจารณาไปอารมณ์มันจะซ่านออก พอซ่านออกต้องทิ้งการพิจารณาเสีย แล้วมาจับอานาปาใหม่ ให้จิตทรงตัวดีแล้วมีอารมณ์เป็นสุข จิตมันทรงตัวดีก็ไปพิจารณาใหม่ สลับกันไปสลับกันมาแบบนี้นะ นี่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ
    บางท่านก็พิจารณาได้ดี พอเริ่มต้นพิจารณาอยู่ในขอบเขตได้ดี ตัวพิจารณานี่เป็นตัวตัดกิเลสตรง ถ้าหากว่าใครพิจารณาได้ตลอด โดยไม่ภาวนาเลยยิ่งดีใหญ่ เพราะการพิจารณานี่เป็นตัวปัญญา เป็นตัวตัด อารมณ์ทรงมีจิตเป็นสุข พิจารณาเฉยๆ สบายๆ จนกระทั่งตัดกังวลทั้งหมด กังวลที่ตัด ก็คือร่างกายของเรา เรียกว่าขันธ์ ๕ ถ้าเราตัดตัวเราได้ ก็ตัดคนอื่นได้ ใช่ไหม…ดีไม่ดี เราตัดคนอื่นได้ แต่เราตัดตัวเราไม่ได้ เพราะยังเกาะ
    ฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านให้ตัดจุดเดียว คือ สักกายทิฏฐิ ใน สังโยชน์ ๑๐ น่ะ ตัดสักกายทิฏฐิจุดเดียว ถ้าอารมณ์มันเบาลงไปหน่อยก็เป็นพระโสดาบัน เบามากไปอีกนิดก็เป็นสกิทาคามี เบามากขึ้นไปก็เป็นพระอนาคามี ตัดได้หมดเป็นพระอรหันต์”
    ผู้ถาม:- “ถ้าผู้ฝึกมโนมยิทธิแล้ว จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้เร็วไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ความจริงพวกที่ได้มโนมยิทธินี่ตัดง่าย เป็นกำไร เพราะว่าพวกที่ได้ทิพจักขุญาณอย่างหนึ่ง และพวกที่ได้มโนมยิทธิอย่างหนึ่ง ท่านมีขอบเขต ท่านบอกว่าคนพวกนี้
    ถ้ามีบารมีแก่กล้า ก็จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน
    ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน
    ถ้ามีบารมีอ่อน จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ ปี
    ท่านไม่ได้บอกว่าไม่ได้เลย ถ้าอ่อนก็ภายใน ๗ ปี อาจจะเป็น ๑ ปีก็ได้”
    .
    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๒-๖๔ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)




    [​IMG]
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    "รอยแตกบนแก้ว"
    ธรรมะจากหลวงปู่ชา สุภัทโท เล่าโดยท่านพรหมวังโส



    .......................................................................................

    หลวงพ่อชา ยกแก้ว แล้วถามอาจารย์พรหมว่า “เธอเห็นรอยแตกในแก้วใบนี้ไม๊ พรหมวังโส?”
    อาจารย์พรหมคิดว่า “แก้วก็ดูปรกติ ไม่มีร้อยราว”
    ... หลวงพ่อชาพูดต่อว่า “ดูให้ดีๆ ซิ มันมีรอยแตกเล็กๆ บนแก้วใบนี้ สักวันแก้วใบนี้มันต้องแตก”
    ในตัวเราทุกคน ล้วนแต่มีรอยแตกเล็กๆ นับตั้งแต่เราเกิด มันบอกให้เรารู้ว่า สักวัน ชีวิตของเราทุกคนต้องจบสิ้น มันจะจบแน่นอน
    เรารู้ดี แต่เพราะเราโดนอวิชชาครอบงำเอาไว้ ทำให้เราไม่ได้คิดถึงมัน
    สักวันเราต้องจากกัน
    ความจริงข้อนี้ ที่พระบอกให้เราตระหนัก มิได้ให้เรากลัว
    หรือ คิดว่าฉันจะไม่รักใครอีกแล้ว!! ฉันจะได้ไม่ต้องเสียใจ ตอนฉันต้องสูญเสียเขา หรือจากเขาไป
    แต่ท่านบอกเพื่อที่ว่า
    ‪#‎เราจะได้รู้เท่าทันความเป็นจริงของโลก‬
    ‪#‎และชีวิตว่าทุกสิ่งที่อยู่ตอนนี้‬
    ‪#‎มันไม่เที่ยง‬ มันจะเปลี่ยนแปลง
    เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ว่า สิ่งที่เรามีเราอยู่ มันจะไม่อยู่กับเราชั่วนิรันดร์ เวลาของเรามีจำกัด ‪#‎เราจะได้มีท่าทีที่ถูกต้องกับสิ่งที่เรามีอยู่‬ ณ เวลานี้ ‪#‎เราจะมีเมตตาต่อคนที่อยู่ด้วยในทุกวันนี้มากขึ้น‬ ‪#‎เพราะเรารู้ว่า‬ เราอยู่ด้วยกันแค่ช่วงเวลาสั้นๆ
    เราจะหยุดความใจร้าย หยุดทำร้าย หยุดความเอาชนะ หยุดการกดดัน หรือบังคับให้ทุกอย่างเป็นดั่งใจของเรา เราจะผ่อนปรน เราจะใจเย็นและรับฟังมากขึ้น เราจะเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ และ ให้อภัยมากขึ้น
    เพราะเรารู้ว่า เวลาที่เราจะอยู่ด้วยกัน มันหมดลงไปทุกวัน
    เวลาติดปีกบิน และพรุ่งนี้อาจจะไม่มีอีกแล้วสำหรับเรา
    เมื่อถึงวันที่เราต้องจากกัน เราจะไม่ต้องเสียใจว่า ทำไมเราถึงไม่ทำดีกับเขา
    เราจะเก็บความทรงจำที่ดีต่อกัน เหลือไว้ให้คิดถึง ยามเมื่อเขา หรือ เรา ไม่มีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้แล้ว
    ในวันสุดท้าย เราจะเช็ดน้ำตา และพูดกับตัวเองว่า
    “ฉันรู้อยู่แล้ว ว่าวันนี้ต้องมาถึง
    เพราะฉันเห็นรอยแตกเล็กๆ ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว.....”
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]






    ..ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติจะมีความโดดเด่นในวิธีทำสมาธิความสงบ และชำนาญในการเข้าฌานสมาบัติแต่ในขั้นตอนสุดท้าย ก็ต้องมาทำสมาธิตั้งใจมั่นอันประกอบด้วยปัญญาอยู่นั่นเอง ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในที่ไหนว่า เมื่อจิตลงสู่สมาธิความสงบแล้วให้ใช้ปัญญาพิจารณา การสอนอย่างนี้ผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นอย่างมาก
    ..หลักเดิม พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบแล้ว ให้จิตอยู่ในความสงบจนอิ่มตัว อย่าไปบังคับให้ถอนอย่าไปทำความกดดัน เมื่อความสงบอิ่มตัวแล้วก็จะค่อยๆถอนตัวออกมาเอง ให้มีสติรู้ว่าสมาธิกำลังถอนตัว มีสติยับยั้งเอาไว้ในขั้นอุปจาระสมาธิ เรียกว่าสมาธิตั้งใจมั่น แล้วน้อมเข้าสู่ปัญญาหรือเจริญวิปัสนาต่อไป นี้เป็นหลักเดิมที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ขอให้ท่านทั้งหลายที่สนใจในวิธีทำสมาธิต้องเข้าใจตามนี้..ฯลฯ..
    ..ปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติ มีอยู่ในคนเดียวกัน แต่ที่ต่างกันเป็นเพราะนิสัยที่ได้บำเพ็ญมาไม่เหมือนกัน ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ ได้แก่ ผู้ที่บำเพ็ญบารมีเหมือนพวกดาบสฤาษีที่ได้บำเพ็ญสมาธิความสงบ บำเพ็ญฌาณมาแล้วอย่างสมบูรณ์ เมื่อท่านเหล่านี้ได้มาเกิดในชาตินี้ การปฏิบัติก็ต้องเริ่มตันจากการบำเพ็ญฌาณทำสมาธิให้มีความสงบไปก่อน เมื่อจิตมีความสงบแล้ว จะถอนตัวออกมาอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ ที่เรียกว่า สมาธิความตั้งใจมั่น แล้วน้อมไปสู่ปัญญา พิจารณาในสัจจธรรมตามความเป็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งตามบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา ถ้าเป็นในลักษณะนี้ จึงได้ชื่อว่าผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ
    ..ผู้มีนิสัยในปัญญาวิมุติ ในชาติก่อนเคยได้บำเพ็ญในทางปัญญาบารมีมาแล้ว เมื่อมาเกิดใหม่ ได้ปฏิบัติภาวนา จะทำได้เพียงสมาธิความตั้งใจมั่นเท่านั้น แต่จะมีความโดดเด่นในทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อสมาธิความตั้งใจมั่นจับคู่กับปัญญามีความสมบูรณ์พร้อมแล้ว หากพิจารณาในสัจธรรมใด ก็จะมีความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในสัจธรรมนั้น และได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งตามบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ ขอให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจตามนี้ ..ฯลฯ..เพราะในยุคนี้มีผู้ตีความในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแตกต่างกันไป แต่ใครจะตีความในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ถูกต้องที่สุดนั้น ก็เป็นความเห็นของท่านผู้นั้น
    ..ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติ เมื่อศึกษารู้วิธีแล้วนำมาปฏิบัติ จะเป็นของง่ายสำหรับท่านผู้นั้น อุบายในการปฏิบัติไม่มีความสลับซับซ้อนที่ยุ่งยาก ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้มีนิสัยเป็นปัญญาวิมุติ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า หรือได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งในขณะนั้นเป็นจำนวนมาก หรือยังไม่สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าในขณะนั้น แต่ได้นำเอาอุบายธรรมที่ได้รู้อยู่แล้วไปปฏิบัติ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้เช่นกัน จะไปถามท่านเหล่านั้นว่าสมาธิความสงบเป็นอย่างไร ฌานนั้นฌานนี้ เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นจะไม่รู้ เพราะท่านเหล่านั้นเป็นนิสัยปัญญาวิมุติ เพียงทำสมาธิตั้งใจมั่นได้แล้ว ใช้ปัญญาพิจารณาสัจธรรม มีความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมก็ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าเท่านั้น
    ..ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติในสมัยครั้งพุทธกาลมีจำนวนมากถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ การปฏิบัติของผู้มีปัญญาวิมุติ ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่มีพิธี ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อยู่ในที่ไหนก็ใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมได้ จะ ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบท ก็จะใช้ปัญญาพิจารณาได้ทุกเมื่อ แม้ทำงานอะไรอยู่ ก็น้อมเอางานที่เราทำ มาเป็นอุบายในทางปัญญาได้ อุบายธรรมที่จะนำมาเป็นองค์ประกอบทางปัญญามีมากมาย ถ้าเราเข้าใจในหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในทุกสถานที่ มีสัจธรรมเต็มไปหมด ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำ บนบก หรือสถานที่แห่งใดในโลกนี้ แม้เอาปลายเข็มเจาะแทงลงไปที่ไหน จะถูกสัจธรรมความจริงในที่แห่งนั้น
    ..ธุระของผู้ปฏิบัติมี ๒ อย่าง คือ
    ..๑. คันถธุระ คือ ธุระในภาคการศึกษา
    ..๒. วิปัสสนาธุระ คือ ธุระในการใช้ปัญญาพิจารณา
    ..ธุระทั้งสองนี้ ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาให้เข้าใจ แล้วใช้ปัญญามาพิจารณา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ ภาคการศึกษาจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ไม่ว่างานทางโลก หรืองานทางธรรม ต้องศึกษาให้รู้ก่อนทั้งนั้น เพราะโลกกับธรรมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ถ้าไม่รู้จักธรรมก็จะมองเป็นโลกไปเสียทั้งหมดถ้าผู้รู้จักธรรม ก็สามารถใช้ปัญญาพิจารณาโลกให้เป็นธรรมได้ และสามารถตีความหมายให้แยกธรรมออกจากโลกได้อย่างชัดเจน
    ..เปรียบได้กับน้ำฝน เป็นน้ำที่ใสสะอาดจืดสนิทโดยธรรมชาติ หากน้ำฝนนั้นตกลงสู่มหาสมุทร รวมอยู่ในน้ำทะเลก็จะเค็มไปด้วยกัน จะตักมาอม มาแตะปลายลิ้นเพื่อแยกแยะหาน้ำจืดนั้นจะไม่รู้เลย การแยกน้ำเค็มและน้ำจืดออกจากกันได้ ต้องมีเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้าไปกลั่นกรอง จึงแยกน้ำจืดออกจากน้ำเค็มได้ นี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น การจะแยกจิตอันบริสุทธิ์ออกจากกิเลสตัณหาอวิชชาได้ ไม่ใช่เพียงนั่งหลับตานั่งสมาธิให้ใจมีความสงบ หรือเข้าฌานนั้นฌานนี้ได้ กิเลสตัณหาอวิชชาจะเหือดแห้งไปด้วย วิธีเช่นนี้หาใช่ไม่ ดังคำบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    ปัญญายะ ปริสุฌฺชติ (จิตจะมีความบริสุทธิ์ได้เพราะปัญญา)
    ..ไม่มีใครบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ เพราะสมาธิความสงบในฌานแต่อย่างใด ให้เราเปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ ไม่เช่นนั้นจะไปหลงในสมาธิความสงบ หลงอยู่ในฌานตลอดไปชั่วกาลนาน..


    หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ..
    https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]







    การทำความดีแต่ละครั้งนั้น ไม่ใช่ว่าผู้ทำจะได้รับผลดีด้วยตัวเองเท่านั้น แต่ย่อมเกิดแก่ผู้อื่นด้วย

    ทุกคนที่เป็นปุถุชนย่อมยังต้องการกำลังใจ คือต้องการความสนับสนุนจากผู้อื่น เป็นการยากนักที่จะมีผู้ไม่แยแสความสนับสนุนจากภายนอก เพื่อให้มีความมั่นใจตัวเองเพียงพอ ดังนั้น จึงต้องมีการยกย่องสนับสนุนคนทำดี เพื่อให้กำลังใจทำความดีให้ยิ่งขึ้นต่อไป

    เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งทำความดี ควรแสดงความรับรู้อย่างชื่นชมให้เขาได้รู้เห็น

    เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งทำความดี ได้รู้ได้เห็นเข้า
    อย่างน้อยควรแสดงความรับรู้อย่างชื่นชม ให้ผู้ทำความดีนั้นรู้เห็น เพื่อเป็นกำลังใจส่งเสริมให้ไม่ท้อแท้เหนื่อยหน่าย ต่อการที่จะกระทำความดีต่อไป

    อย่างมากก็ให้เกิดความซาบซึ้งชื่นชมในความดีของผู้อื่นอย่างจริงจัง
    และที่ไม่ควรยกเว้นก็คือ ให้คิดว่าผู้ทำความดีนั้น ไม่ได้ทำเพื่อตัวเขาเองเท่านั้น แต่เขาทำเพื่อเราด้วย


    จากหนังสือแสงส่องใจ

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]



    อาตมาเคยมีเมียมีลูกแล้ว
    ได้ลาครอบครัวออกบวช
    เพราะได้ "ลิ้มรสความรัก" แล้วเห็นว่า ...

    ความรัก ... เป็น "ความทุกข์"...อันแสบเผ็ดร้ายกาจ เป็นพิษร้ายแก่ชีวิตจิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น

    "ความสุข" ... ที่เกิดจาก "ความรักความเสน่หา"
    เป็นความสุข ... เหมือนได้กินส้มตำ
    แสบเผ็ด เอร็ดอร่อย
    แต่ผสม "ยาพิษ" เข้าไปด้วย ทำให้เกิดอาการอึดอัด ท้องไส้ปั่นป่วน
    ... ทุกข์ทรมานในภายหลัง

    คนเรา ใครๆก็ปรารถนา
    ... "ความสมหวังในชีวิตรัก"
    แต่เมื่อรักกัน อยู่ด้วยกันแล้ว
    "ความรัก" ไม่เคยให้ความสมปรารถนาแก่ใคร
    ถึงครึ่งหนึ่ง ... แห่งความปรารถนาเลย
    เพราะความรักนั้น เป็นธาตุที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีสุขน้อย ... แต่มีทุกข์มาก!


    * หลวงปู่จันทา ถาวโร



    เครดิต : พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อริยสัจ ๔

    “...หลักความจริงอันเป็นหัวใจของพระศาสนาที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ อริยสัจธรรมทั้งสี่นี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.. การพิจารณาทุกข์ก็เป็นอริยสัจอันหนึ่ง เมื่อเห็นเรื่องของทุกข์แล้วเป็นเหตุให้คิดต่อไปว่าทุกข์นี้เกิดขึ้นเพราะอะไร เช่นเราเสียใจในขณะที่ประสบสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา.. เราพยายามพิจารณาหาต้นเหตุแห่งความเสียใจว่า เกิดขึ้นมาเพราะเหตุใด และจะมีทางแก้ไขความเสียใจด้วยวิธีใด ดังนี้ก็เรียกว่าเราพยายามจะถอนสมุทัยอยู่ในขณะเดียวกันนั้นแล้ว

    การไตร่ตรองหรือพิจารณาทุกข์ตั้งใจดูทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ตั้งสติดูทุกข์ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญาทั้งนั้น.. คือสติกับปัญญาไปโดยทำนองนี้ ก็เป็นการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธโดยลำดับในขณะเดียวกัน ..ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์มีอยู่ที่ตรงไหน มีอยู่ที่กายมีอยู่ที่ใจ สมุทัยมีอยู่ที่ไหน สมุทัยมีอยู่ที่ใจ.. สมุทัยได้แก่อะไรให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.. ทุกข์อยู่ที่ใจเป็นสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นจากสมุทัยเป็นผู้ผลิตขึ้นมา นิโรธ ดับทุกข์จะดับที่ไหน ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหนนิโรธก็ดับที่นั่น แล้วสาเหตุที่จะทำให้นิโรธดับทุกข์ได้มาจากไหน ก็มาจากมรรค ..

    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคก็ดี สติปัฏฐานสี่ก็ดี และไตรลักษณ์ก็ดี โปรดทราบว่ามีอยู่กับคนๆ เดียว มิได้มีอยู่ในที่ต่างกัน ผู้ปฏิบัติต่อธรรมทั้งสามนี้สายใดสายหนึ่งชื่อว่าปฏิบัติต่อตนเอง เพราะจุดความจริงคือตัวเราเป็นฐานรับรองธรรมทั้งสามประเภทนี้ ถ้าพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ให้ชัดเจนด้วยปัญญาแล้ว ทุกข์กับสมุทัยไม่จำต้องบังคับขู่เข็ญด้วยวิธีอื่นใด แต่จะหมดสิ้นไปเอง ตามหน้าที่ของเหตุซึ่งดำเนินโดยถูกต้อง ถ้าพิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ให้เห็นชัดว่า กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นไตรลักษณ์แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น การดำเนินสายอริยสัจก็ดี สายสติปัฏฐานก็ดี และสายไตรลักษณ์ก็ดี มันเป็นเรื่องของคนๆ เดียวกัน และเป็นทางสายเอกที่สามารถยังผู้ดำเนินตามให้ถึงธรรมอันเอกได้เช่นเดียวกัน…”


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน..



    [​IMG]
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]




    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า


    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น ๔ ประการ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน, ๔ ประการเท่านี้ พระพุทธศาสนามีปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่ ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส


    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ไปฉันในป่าหิมพานต์ พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง


    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์ สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้า จนกระทั่งมดดำแดง อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้ นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังจะแสดงต่อไป


    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ แปลว่า เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ๔ ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว จำไว้ให้มั่น จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๕๒ ดวง นี่ส่วนเจตสิก รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๒๘ รูป มหาภูตรูป ๔, อุปาทายรูป ๒๔ รวมเป็น ๒๘ นิพพานแยกออกไปเป็น ๓ คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น ๓ ดังนี้


    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ จิต ๘๙ ดวง หรือจิต ๑๒๑ ดวง ท่านจัดไว้ดังนี้ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง กามาวจรจิต ๒๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง และโลกุตตรจิต ๘ ดวง นี่เป็นจิต ๘๙ ดวง จำไว้เสียให้มั่น คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง ๑๘ กับ ๑๒ รวมกันเป็น ๓๐ กามาวจร ๒๔ รวมกันเข้าเป็น ๕๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ รวมกันเข้าเป็น ๖๙ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ รวมกันเข้า เป็น ๘๑ ดวง โลกุตตรจิต ๘ ดวง รวมเข้าเป็น ๘๙ ดวง ดังนี้ นี่โดยย่อ ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ คงเหลือจิต ๘๑ ดวง จิต ๘๙ ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง ๕ ขึ้นเป็นที่ตั้ง จิตเดินในฌานทั้ง ๕ นั้น ฌานละ ๘ ดวง คูณกับ ๕ เป็น ๔๐ ดวง จิต ๘๑ ดวงเป็นโลกิยจิต ยกเอาโลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มาบวกกันเข้า ๘ ก็รวมเป็นจิต ๑๒๑ ก็จิต ๘๑ ดวงนั่นเอง แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวง ออกเสีย ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง ๘ ดวง ก็เป็นจิต ๘๙ ดวง ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง ๕ ก็เป็น ๑๒๑ ดวง นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน



    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ จงตั้งอกตั้งใจฟัง ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของละเอียดด้วย ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ต้องมีกิเลสบาง ปัญญาละเอียดทีเดียว จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้ ถ้าจะเทียบละก้อ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี



    ในอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก โลภมูล ความโลภ มี ๘ ดวง โทสมูล ความโกรธมี ๒ ดวง โมหมูล ความหลงมี ๒ ดวง ๘ กับ ๔ รวมเป็น ๑๒ ดวง นี้อกุศลจิต อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้แหละ ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ ที่จะจัดนี้มีถึง ๑๒ ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น ๘ ดวง
    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง ๑
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง ๑ นี้ดวงที่ ๓
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง ๑ รวมเป็น ๔ ดวง
    จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๕
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๖
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง ๑ เป็น ๗ ดวง
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็น ๘ ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง ๘ ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น ๒ ดวง
    จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง ๑
    จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตหลง ก็มี ๒ ดวง
    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง ๑
    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง ๑

    รวมเป็น ๑๒ ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านี้

    ฟังยากไหมล่ะ

    ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว

    ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง อย่างนี้จริงไหม นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม ไม่มีเนื้อมีหนังเลย ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว เห็นไหมล่ะ แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง


    จิตดวงที่ ๑ ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย เราจะต้องพินิจพิจารณา หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น มีความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเขา ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา แต่มันอยากได้เหลือทน ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่ ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า ในที่ที่ควรจะได้ เจ้าของเผลอ พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้ ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร ถ้าใบละหมื่นก็ ๑๐ ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ ๑๐๐ ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เอาได้ เราก็รวย พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว เอาไปได้สำเร็จ สมเจตนาด้วย และไม่มีใครรู้เห็นด้วย ทำสนิททีเดียว นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า มันก็ผิดนะซี่ เกิดขึ้นตามลำพังของตัว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ สตางค์หนึ่งก็ดี สองสตางค์ก็ดี ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น ถือเอาของเขามาเช่นนั้น นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น เป็นอกุศลทีเดียว เราต้องไปนรกแน่ ต้องได้รับทุกข์แน่ เชื้อจิตดวงนี้ ต้องได้รับทุกข์แน่ รับบาปแน่ทีเดียว นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ มันปรากฏแก่ตนดังนี้ นี่ดวงหนึ่ง

    ดวงที่ ๒ ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว โดยเป็นของหลวงด้วย ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์ แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้ ไปเห็นเข้า หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ ไปเห็นเข้า รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ! ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่ อยู่ที่นั่นแน่ะ ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้


    ดวงที่ ๓ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่ เขาดูแลอยู่ เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้ เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้ ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้ ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย คิดตกลงในใจของตัวเอง เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ แต่ว่ามันจนเต็มที มันก็ต้องขอไปที ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน อกุศลอีกนั่นแหละ ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เห็นถูก นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ ๓


    ดวงที่ ๔ ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ แต่ยังไม่กล้า ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่ พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน นี้ต้องมีผู้กระตุ้น หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ ๔


    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น ๘ ดวง
    ดวงที่ ๕ จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน นี่เป็นจิตดวงที่ ๕

    ดวงที่ ๖ จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก ดวงก่อนยินดีมาก ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา นี้เป็นดวงที่ ๖

    ดวงที่ ๗ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ ๗
    ดวงที่ ๘ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ นี้เป็นดวงที่ ๘
    จิต ๔ ดวงก่อนกับ ๔ ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น เมื่อรู้จักจิต ๘ ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่ อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ

    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี ๒ ดวง

    จิตโทสะดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยลำพัง อ้ายนี่อกุศลจิต เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง อยู่ในบ้านก็ช่าง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีอะไรทั้งหมด ใจมันโกรธ จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว นั่นมันเรื่องอะไร ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย มันเกิดขึ้น มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง
    จิตโทสะดวงที่ ๒ มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง มีคนยั่วให้โกรธ เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่ นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น

    จิต ๒ ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน จิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง ๑ เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง ๑ จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก จิตโกรธนี่น่ะ

    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก จิตหลงมี ๒ ดวง

    จิตหลงดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ อ้ายนี่สำคัญอยู่ จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ในการครองเรือนของตนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ลังเล ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้ มันลังเลอยู่เช่นนี้ มันก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น ลังเลไม่ตกลงในใจ สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว พูดออกไปก็ดี ทำลงไปก็ดี มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น ถูกก็มี ผิดก็มี เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน เราลักเอาไป ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ เราจะรักษาศีลดี หรือรักชีวิตดี จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลงดวงที่ ๒ อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี ลูกเต้าใกล้เคียง เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ ทำโดยฟุ้งซ่าน ด้วยหลงเหมือนกัน เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลง ๒ ดวงนี้สำคัญมาก ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่ ไม่ให้ไปทางถูก ให้ไปทางผิดร่ำไป
    นี้จิต ๑๒ ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต ๑๒ ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วล่ะ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต ๑๒ ดวงนี่แหละ
    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง ๑๒ ดวง เวลาไม่เพียงพอ แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน ๔ อย่างนี้ให้ได้ เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน ๔ อย่างนี้ ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้ กำลังศึกษาอยู่ มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก ถามเจ๊งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด
    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้ คนนั้นทำดังนี้ พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


    จบเทศนา โดยหลวงปู่สดฯ เรื่อง พระปรมัตถปิฎก




    ............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 ธันวาคม 2016
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...