อีกมุมจาก”ภูฏาน”อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 8 พฤศจิกายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b888e0b8b2e0b881e0b8a0e0b8b9e0b88fe0b8b2e0b899e0b8ade0b8b2e0b888e0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894.jpg




    ผู้ลี้ภัยชาวภูฏานที่โลกลืม กับดัชนีความสุขซึ่งอาจไม่ใช้ความสุขที่แท้จริง




    เมื่อกล่าวถึงราชอาณาจักรภูฏาน หลายคนคงนึกถึงทิวทัศน์อันสวยงามท่ามกลางเทือกเขาหิมาลัย แหล่งท่องเที่ยวเชิญนิเวศน์ ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และสิ่งที่หลายต่อหลายคนกล่าวถึงภูฏานคือเป็นดัชนีความสุขมวลรวมของประเทศที่ภูฏานแสนจะภูมิใจ แต่ก็มีชาวภูฏาน บางส่วนที่คงไม่เห็นด้วย พวกเขาโต้แย้งด้วยเหตุผลที่ว่า หากภูฏานเป็นประเทศที่มีความสุขแล้วเหตุใด ประชากรชาวภูฏานถึง 1 ใน 6 ต้องอพยพไปยังนอกประเทศในฐานะผู้ลี้ภัย

    แนวคิดดัชนีความสุขมวลรวมของประเทศ หรือ Gross National Happiness (GNH) เป็นไอเดียจากสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ภูฏาน ได้เสนอแนวคิด”ความสุขมวลรวมในประเทศมีความสำคัญมากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ” โดยหลักการสำคัญของแนวคิดแบบ GNH คือการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมสังคมอย่างยั่งยืนรวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและรักษาวัฒนธรรม นับตั้งแต่นั้นเป็นเวลาสามทศวรรษต่อมา ไอเดียดังกล่าวได้กลายเป็นโรดแมพในการวางแผนพัฒนาประเทศจนกระทั้งภายในปี 2008 แนวคิดดังกล่าวได้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ

    b888e0b8b2e0b881e0b8a0e0b8b9e0b88fe0b8b2e0b899e0b8ade0b8b2e0b888e0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894-1.jpg

    แนวคิดดังกล่าวได้นำไปสู่การที่ชนกลุ่มน้อยทางตอนใต้ของภูฏานที่เรียกกันว่าชาวโลตชัมปา “Lhotshampas” ซึ่งเป็นกลุ่มชาวภูฏานที่มีเชื้อสาย เนปาล ที่พูดภาษาภูฏานได้ ซึ่งมีอยู่หลายชนชาติพันธุ์ ตั้งแต่ชาว Kirat, Tamang, Magar, Brahman, Chhetri และ Gurung กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้อาศัยอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศ ถูกรัฐบาลภูฏานซึ่งใช้แนวคิดดัชนีดังกล่าวค่อยๆครอบงำทางชาติพันธุ์ ทั้งบังคับเครื่องแต่งกายแบบภูฏานทางเหนือจำกัดสิทธิของชุมชนชาวเนปาลทางตอนใต้ของประเทศในการเคลื่อนย้ายและถือครอง ทรัพย์สิน การจัดสรรที่ดินในเส้นทางเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวหลัก โดยกีดกันคนชาวโลตชัมปา เกิดความไม่พอใจขึ้นในหมู่ ชาวโลตชัมปาจึงตั้งพรรค Bhutan Peoples’ Party ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของตัวเองในการเข้าไปมีส่วนในการเมือง แต่ก็ยังถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐสภา อีกทั้งยังถูกกองทัพภูฏาน ปราบปรามอย่างหนักมีคนเสียชีวิตหลายร้อย และถูกจับอีกหลายพัน โดยอ้างว่าคนพวกนี้เป็นผู้ก่อการร้าย เป็นพวกคอมมิวนิสต์ มีอาวุธไว้ในครอบครอง จากนั้น รัฐบาลกรุงทิมพูได้ยัดเยียดภาษา, การแต่งกายและวัฒนธรรมของชาวทิเบตทางเหนือซึ่งเป็นวัตนธรรมหลักของชนชั้นปกครองภูฏาน แก่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีอยู่ถึงเกือบสองในสามของประชากรทั้งประเทศ ทำให้แนวคิดของ GNH นักวิจารณ์มองว่าเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อที่รัฐบาลภูฏานใช้เพื่อกวาดล้างกลุ่มชาติพันธฺ์และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

    b888e0b8b2e0b881e0b8a0e0b8b9e0b88fe0b8b2e0b899e0b8ade0b8b2e0b888e0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894-2.jpg

    จนกระทั้งนำไปสู่การประท้วงใหญ่ของชาวภูฏานเชื้อสายเนปาลในช่วงทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลภูฏานได้ใช้มาตรการปราบปรามอย่างรุนแรง และมีการเปลี่ยนกฏหมายการถือสัญชาติในปี 1988 ส่งผลให้มีการผลักดันผู้ชาวภูฏานเชื้อสายเนปาลออกนอกประเทศ โดยรัฐบาลใช้นโยบายที่เรียกว่า One Country, One People เพื่อบังคับให้ชนกลุ่มน้อยซึมซับวัฒนธรรมและศาสนาแบบชาวภูฏาน

    ปัจจุบันตามรายงานของประเทศที่รับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานตั้งแต่ปี 2011-2017 พบว่ามีชาวภูฏานราว 227,000 รายที่อพยพลี้ภัยในต่างประเทศ ยังไม่รวมถึงผู้ลี้ภัยอีกเกือบแสนคนที่รอการส่งตัวไปยังประเทศที่สามซึ่งติดอยู่ตามค่ายผู้อพยพบริเวณชายแดนบังกลาเทศ และ บริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ผู้อพยพส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในค่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อยต้องอาศัยอยู่ในค่ายอพยพมาถึง 16 ปีแล้ว

    อย่างไรก็ดีภายหลังที่ภูฏานจัดการเลือกตั้งเมื่อปี2013ที่ผ่านมา ภูฏานก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือนายเซอริง ทบเกย์ อดีตผู้นำฝ่ายค้าน นายทบเกย์ได้ตั้งคำถามต่อปรัชญาความสุขมวลรวมประชาชาตินี้ นายทบเกย์กล่าวไว้ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งว่า รัฐบาลภูฏานให้ความสำคัญกับ GNH มากเกินไป ที่ผ่านมา นโยบายทุกอย่างถูกวางเพื่อนำไปสู่ GNH เช่น ประชาธิปไตยเพื่อความสุขมวลรวม สื่อเพื่อความสุขมวลรวม การศึกษาเพื่อความสุขมวลรวม การเกษตรอินทรีย์เพื่อความสุขมวลรวม และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความสุขมวลรวม

    b888e0b8b2e0b881e0b8a0e0b8b9e0b88fe0b8b2e0b899e0b8ade0b8b2e0b888e0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894-3.jpg

    นายกรัฐมนตรีทบเกย์ กล่าวว่า แม้ว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจจะไม่ใช่เป้าหมายเดียว และไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่การที่รัฐบาลภูฏานที่ผ่านๆ มาหมกมุ่นอยู่กับ GNH ทำให้ละเลยปัญหาคนตกงาน ปัญหาคอรัปชั่น และปัญหาหนี้สิน จนมันรุนแรงเรื้อรังถึงทุกวันนี้ นายทบเกย์กล่าวเสริมว่า รัฐบาลได้ตั้ง “ผู้เชี่ยวชาญ” จำนวนมากมาศึกษาว่า ความสุขคืออะไร และจะสอนประชาชนให้มีความสุขได้อย่างไร กลายเป็นว่า ความสุขไม่ใช่ความรู้สึกของปัจเจกบุคคล แต่กลับเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องได้รับการ “สอน” ให้รู้วิธีมีความสุข สิ่งที่นายทบเกย์พูด ชี้ให้เห็นความกลับตาลปัตรที่สำคัญ นั่นคือ แทนที่ประชาชนจะเป็นคนบอกรัฐบาลว่าความสุขของพวกเขาคืออะไร และรัฐบาลควรออกนโยบายอะไรมาเพื่อสร้างความสุขให้ กลับกลายเป็นว่า รัฐบาลเป็นผู้มาบอกประชาชนว่าควรมีความสุขกับอะไร และควรมีวิถีชีวิตแบบใดจึงจะมีความสุข

    ชาวภูฏานคนหนึ่งกล่าวว่า ทุกวันนี้ชาวภูฏานก็ยังยากจน ขาดสารอาหาร และคอรัปชั่นในวงราชการก็ยังสูงลิ่ว เขาถามว่า “ไหนล่ะคือความสุข?” เขากล่าวต่อว่า ในภูฏาน ความสุขนั้นผูกขาดโดยผู้มีอำนาจ พวกเขาขับรถหรู มีบ้านหลังใหญ่ เป็นเจ้าของร้านอาหารและโรงแรม กษัตริย์องค์ก่อนก็มีพระชายาถึง 5 พระองค์ ในขณะที่คน 1 ใน 6 ของประเทศต้องอพยพหนีความจนออกนอกประเทศ

    b888e0b8b2e0b881e0b8a0e0b8b9e0b88fe0b8b2e0b899e0b8ade0b8b2e0b888e0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894-4.jpg




    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/world/news/524011
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 พฤศจิกายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...