อุบายธรรม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 20 ตุลาคม 2008.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
    พระราชวุฒาจารย์
    (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    (๒๔๓๑ - ๒๕๒๖)

    (i) คนเราทุกวันนี้ เป็นทุกข์เพราะความคิด

    (i) ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา

    (i) การฟังแต่ละครั้งนั้น ควรให้ได้อรรถรสของปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ จึงจะเป็นสาระแก่นสาร

    (i) การเริ่มต้นปฎิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเิริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฎิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน สงบแล้วคำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือ มีวิมุติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง

    (i) การศึกษาธรรมด้วยการอ่าน การฟัง สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำ) การศีกษาธรรมด้วยการลงมือปฎิบัติ สิ่งที่เป็นผลของการปฎิบัติคือ ภูมิธรรม

    (i) สิ่งอันประเสริฐที่มีอยู่เฉพาะหน้าแล้วไม่สนใจ กลับไปหวังไกลถึงสิ่งที่เป็นแต่เพียงการกล่าวถึง เป็นลักษณะของคนไม่เอาไหนเลย ก็ในเมื่อมรรคผลนิพพานในศาสนาสมณโคดมในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์ กลับเหลวไหลไม่สนใจ เมื่อถึงศาสนาพระศรีอาริย์ก็ิยิ่งเหลวไหลมากกว่านี้อีก

    (i) การปฎิบัติ ให้มุ่งปฎิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เืพื่อเห็นสวรรค์ วิมาน หรือแม้พระนิพพาน ก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฎิบัติำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฎิบัติไปจึงจะรู้เอง

    (i) ผู้ปฎิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลัง หรือนรกสวรรค์อะไรก็ได้ ให้ตั้งใจปฎิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญาอย่างแน่วแน่ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้น ตามตำรา ผู้ปฎิบัติดีแล้วก็ย่อมได้เลื่อนฐานะของตนได้โดยลำดับ หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฎิบัติดีแล้วในขณะนี้ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ

    (i) การไปหลายสำนักหลายอาจารย์ การปฎิบัติจะไม่ได้ผล เพราะการเดินหลายสำนักนี้ คล้ายกับการเริ่มต้นใหม่เรื่อย เราก็ไม่ได้หลักธรรมที่แน่นอน บางทีก็เกิดความลังเล จิตก็ไม่มั่นคง การปฎิบัติก็เสื่อม ไม่เจริญคืบหน้าต่อไป

    (i) หลักธรรมที่แท้จริงนั่นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2008
  2. 9gun

    9gun สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +2
    ถ้อยคำของครูบาอาจารย์ เป็นเข็มทิศอันประเสริฐในการเดินทาง อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...