อุบาย..บรรเทาความโกรธ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ฟ้าเช้า, 31 กรกฎาคม 2007.

  1. ฟ้าเช้า

    ฟ้าเช้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2005
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +1,643
    [​IMG]

    ความโกรธ..เกิดขึ้นที่ใจได้มีหลายสาเหตุรวมแล้วก็หมายถึงความไม่ชอบใจในสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากสาเหตุอันใดเราจะเป็นผู้รู้ดีด้วยตัวเอง เพราะเหตุที่จะทำให้ใจเราโกรธมีมากมาย มีเหตุเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง จะรวบรวมเหตุให้เกิดความโกรธมาไว้ในหนังสือเล่มนี้คงไม่ได้ เพราะมีมากสาเหตุที่เกิดขึ้นของแต่ละคน ส่วนมากเมื่อความโกรธเกิดขึ้น,มักไม่เข้าใจในวิธีการแก้ไขให้ความโกรธลดลง จะเป็นตรงกันข้ามนั้นคือ..วิธีเพิ่มให้ใจเกิดความโกรธมากขึ้น

    คนกลุ่มนี้เป็นนิสัยที่มี อัตตาสูง ยอมคนอื่นไม่เป็น ไม่ยอมเสียศักดิ์ศรี
    ไม่ให้ใครๆมาตำหนิตัวเอง เป็นนิสัยไม่ยอมให้ตัวไปเข้าใจคนอื่น แต่ต้องการให้คนอื่นมาเข้าใจตัวเองเพียงฝ่ายเดียว ทำตัวเป็นผู้ถูก และทำตัวเป็นผู้ชนะต่อคนอื่นตลอดไป

    นิสัยอย่างนี้จะมีอยู่กับบุคคลที่เห็นแก่ตัว จะเป็นฆราวาสบ้างและเป็นอยู่ในเพศนักบวชบ้าง ส่วนพระจะไม่มีสิ่งเหล่านี้ในใจ เพราะพระท่านมีศีลมีธรรมอยู่ในใจของท่านอยุ่แล้ว จึงได้นามสมมุติว่าเป็นพระ พระแปลว่า ผู้ประเสริฐในศีลในธรรมไม่มีโทษมีภัยกับใครๆ ไม่ทำให้ใครๆเกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์ มีแต่ทำคุณประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในสังคมตลอดไป

    อุบายวิธีบรรเทาความโกรธทำดังนี้ สมมุติว่าใจเราโกรธขึ้นแล้วเนื่องจากสาเหตุอันใด ก็จะรู้ด้วยตัวท่านเองเกิดขึ้นจากเหตุอันนี้ อุบายวิธีนี้เราต้องหาสถานที่มีความสงบสงัดพอสมควร ให้ไปนั่ง แล้วใช้สติ..กำหนด ระลึกรู้เฉพาะอารมณ์แห่งความโกรธภายในใจโดยตรง ความโกรธ
     
  2. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    สาธุ อนุโมทนามิ

    จากประสบการณ์
    ได้ย้อนกลับมาสังเกตุดู อาการเกิดขึ้นและดับลงของความโกรธคือดูจิตเราเอง
    ได้สังเกตุ ความกระวนกระวายใจ ร้อนใจ คือดูเวทนา
    เมื่อภาวนาว่า โกรธหนอ ๆ ความโกรธจะลดลงเป็นลำดับ
    พบว่า เป็นเพราะจิตของเรานั่นเองที่มีการปรุงแต่ง (โดยสังขาร) ด้วยการไปยึดมั่นมีอุปาทาน คาดหวัง อยากได้/ไม่อยากได้,เมื่อไม่สมหวังก็เกิดทุกข์ขึ้นมา
    เป็นความไม่สบายใจบ้าง ความโกรธบ้าง
    หากเราไม่คาดหวัง มีความอยากตั้งแต่แรก ความทุกข์จะมีไม่มาก หรือมีก็อยู่ในระดับที่พอจะควบคุมได้เร็ว และไม่แสดงออกมาทางจิตเรา ให้รู้สึก,หรือแสดงออกมาทางกายให้คนอื่นรู้ว่าเราโกรธแล้ว
    บางทีได้ภาวนาคำว่า ปิเยหิ วิปโยโค ทุกโข, อปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข ก็ช่วยให้เรารู้เท่าทันจิตของเรา

    ทุกข์จึงล้วนแต่เกิดมาจากจิตเราเอง หาใช่มาจากภายนอกไม่ การแก้ไขจึงต้องพิจารณาจากภายใน
     

แชร์หน้านี้

Loading...