เรื่องเด่น อุเบกขาในฌาน (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 28 กันยายน 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    อ-เล็ก-พลังจิต-007.jpg

    อุเบกขาในฌาน


    ถาม : จริง ๆ ก็ตัวอุเบกขา ?
    ตอบ : นั่นเป็น อุเบกขาในฌาน

    มีตั้งแต่อุเบกขาในเมตตา รักหวังสงเคราะห์เขา แต่ยังทำไม่ได้ จึงต้องวางไว้ก่อน

    อุเบกขาในกรุณา สงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์แต่ยังทำไม่ได้ จึงต้องวางไว้ก่อน

    อุเบกขาในมุทิตา ถึงจะพลอยยินดีด้วยก็ตาม แต่ถ้าหากว่าสิ่งนั้นยังไม่ใช่เรื่องของธรรมของวินัยอย่างแท้จริง เราก็พยายามรักษาอารมณ์สงบใจของเราไว้

    อุเบกขาในอุเบกขา ถ้าหากว่าหมดทางจริง ๆ ก็จำเป็นต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม

    ถาม : อย่างนี้ ถ้าผมเดินไปเจอคนง่อยเปลี้ยเสียขา ผมก็แค่ให้เงินเขากินข้าว แค่นี้ถือว่าพอไหมครับ ?
    ตอบ : ก็เหลือเฟือแล้ว สงเคราะห์เขาในด้านที่เราทำได้ แต่ไม่ใช่ไปฝืนกฎของกรรม

    เขาขาดเสื้อผ้าให้เสื้อผ้าเขา เขาขาดอาหารให้อาหารเขา ขาดที่อยู่อาศัย ถ้าสามารถช่วยได้ ก็หาที่อยู่อาศัยให้เขา แต่ไม่ใช่ไปทำให้เขาหาย ยกเว้นเราจะรู้จริง ๆ ว่า วาระกรรมของคน ๆ นั้นหมดลงแล้ว ก็ทำให้หายวิ่งปร๋อเดี๋ยวนั้นเลยก็ได้

    พระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้ ในปฐมสมโพธิกถาบอกไว้ว่า คนตาบอดก็กลับเป็นคนตาดี คนง่อยเปลี้ยเสียขาก็กลายเป็นคนขาดี นักโทษที่โดนจองจำอยู่ก็หลุดจากเครื่องจองจำทั้งปวง ผลไม้ที่ไม่ใช่ฤดูก็ออกดอกออกผลกันหมด แสงสว่างไปทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ แม้กระทั่งอเวจีมหานรกที่มืดมิดอยู่ตลอด ก็ยังสว่างขึ้นมาวูบหนึ่ง ต้องระดับนั้น ต้องบารมีระดับสี่อสงไขยกับแสนมหากัปเป็นอย่างน้อย จึงเปลี่ยนทุกอย่างจากร้ายกลายเป็นดีได้

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕


    ที่มา วัดท่าขนุน
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    กิริยาทางจิต ก็คือ การรับรู้เฉยๆ
    อยู่ภายในอย่างนั้นนั่นหละครับ..
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จิตจะอุเบกขาอุเบกแขนจริงไม่จริงได้ไม่ได้ ต้องลงมือทำ ลองดูก็ได้ค่ำนี้ เบื้องต้นไม่เอามาก ลองทำให้จิตอยู่กับลมหายใจเข้า หายใจออก (เข้า-ออกๆๆๆๆๆๆๆๆๆ) สัก 10 วิ. อยู่กับมันได้ไหม

    ทำจิตให้อยู่กับอาการท้องพอง-ท้องยุบ (พอง-ยุบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ) สัก 10 วิ. ทำได้ไหม

    แล้วก็จะเข้าใจเองว่า พูดกับทำต่างกันเหมือนหน้ามือกับหลังมือ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ทำดูแล้วก็รู้ว่า ตำราท่านว่าเอาไว้ชัดจริง ตัดเอาแค่ที่เกี่ยวข้อง

    ๕. อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย หรือความมีใจเป็นกลาง หรือแปลให้เต็มว่า ความวางทีเฉยดูอยู่ หมายถึง การดูอย่างสงบ หรือดูตามเรื่องที่เกิด ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ในกรณีของฌาน คือไม่ติดข้างแม้แต่ในฌานที่มีความสุขอย่างยอด

    ในความหมายที่สูงขึ้นไปอีก อุเบกขา หมายถึง วางทีดูเฉยยู่ ในเมื่ออะไรทุกอย่างเข้าที่ดำเนินไปด้วยดี หรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเจ้ากี้เจ้าการ โดยเฉพาะในฌานที่ ๔ คือบริสุทธิ์หมดจดจากธรรมที่เป็นข้าศึกเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องขวนขวายที่จะกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกษานั้นอีก จัดเป็นองค์ฌานโดยเฉพาะของฌานที่ ๔ (ที่ ๕ ของปัญจกนัย)


    ความจริง อุเบกขามีในฌานทุกขั้น แต่ในขั้นต้นๆ ไม่เด่นชัด ยังถูกธรรมที่เป็นข้าศึก เช่น วิตก วิจาร และสุขเวทนา เป็นต้น ข่มไว้ เหมือนดวงจันทร์ในเวลากลางวัน ไม่กระจ่าง ไม่แจ่ม เพราะถูกแสงอาทิตย์ข่มไว้

    ครั้นถึงฌานที่ ๔ ธรรมที่เป็นข้าศึกระงับไปหมด และได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุข) หนุน * ก็บริสุทธิ์ ผุดผ่อง แจ่มชัด และพาให้ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบอยู่ด้วย เช่น สติ พลอยแจ่มชัดบริสุทธิ์ไปด้วย

    ๖. เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง มีในฌานทุกขั้น


    อนึ่งคำว่า องค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบร่วมอยู่เป็นประจำในฌานขั้นนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกัน ให้รู้ว่า ในกรณีนั้น เป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น มิใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น

    ความจริง ในฌาน องค์ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึงเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกเป็นอันมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น* (ดู ม.อุ.๑๔/๑๕๕-๑๖๑/๑๖๖-๑๒๐)


    แม้แต่ในคำบรรยายฌานแต่ละขั้น ในพระสูตร ก็ยังระบุธรรมที่เน้นพิเศษไว้อีก เช่น ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นเดียวกัน และในจตุตตถฌาน ย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุเบกขาที่แจ่มชัดบริสุทธิ์ เป็นเครื่องหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆ ก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน * (วิสุทธิ.๑/๒๐๗/๒๑๔)

    ความที่กล่าวมานี้ เป็นเครื่องป้องกัน ไม่ให้เอาฌานไปสับสนปนเป กับภาวะที่จิตลืมตัว หมดความรู้สึก ถูกกลืนเลือนหายเข้าไปในอะไรๆ หรือเข้าไปรวมกับอะไรๆ


    คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ อ้างคัมภีร์เปฏโกปเทส ว่า องค์ฌาน ๕ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ได้อัปปนาสมาธิ และบรรลุฌานทีแรกนั้น เป็นปฏิปักษ์กันกับ นิวรณ์ ๕ ที่ละได้แล้วด้วย โดยเป็นศัตรูกันเป็นคู่ๆ
    คือ
    - วิตก เป็นปฏิปักษ์ของ ถีนมิทธะ

    - วิจาร เป็นปฏิปักษ์ของ วิจิกิจฉา

    - ปีติ เป็นปฏิปักษ์ของ พยาบาท

    - สุข เป็นปฏิปักษ์ของ อุทธัจจกุกกุจจะ

    - สมาธิ/เอกัคคตา เป็นปฏิปักษ์ของ กามฉันทะ

    เมื่อธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ก็ย่อมกำจัดนิวรณ์ให้หมดไป และเมื่อธรรมเหล่านี้อยู่ นิวรณ์ก็เข้ามาไม่ได้ แต่ในทางตรงข้าม ถ้านิวรณ์ครอบงำใจอยู่ ธรรมเหล่านี้ก็ทำหน้าที่ไม่ได้
    …….
    ที่อ้างอิง *

    * พึงระวังความสับสน ระหว่าง อุเบกขา ที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา คือภาวะเป็นกลาง อันเป็นกุศลธรรมอยู่ในหมวดสังขารขันธ์ กับ อุเบกขา ที่เป็นเวทนา คือความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา แปลว่า ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นของไม่ดีไม่ชั่ว ในฌานที่ ๔ อุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน มีอุเบกขาเวทนาประกอบร่วมด้วย คือมาทั้งสองอย่าง

     

แชร์หน้านี้

Loading...