อ๋อ พุทธแท้ เป็นเช่นนี้เอง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เพลงเพลิง, 31 มกราคม 2009.

  1. เพลงเพลิง

    เพลงเพลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +476
    โดย เอกชัย จุละจาริตต์
    ประเทศไทยได้ชื่อว่า เป็นเมืองพุทธ เพราะมีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ววิถีชีวิตที่สืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนา และคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน

    ถึงแม้จะเป็นเมืองพุทธ แต่ก็เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ขณะนี้ ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะของวิกฤตทางคุณธรรมอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง.<O:p></O:p>

    วิกฤตทางคุณธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้น สืบเนื่องมาจากการแตกแยกทางความคิด จนถึงขั้นคิดไม่ดี พูดไม่ดี และทำไม่ดีกับตนเองและหรือผู้อื่นอย่างรุนแรง จึงเป็นเหตุให้แตกแยก ไม่มีความรักและสามัคคีกัน ทั้งในครอบครัว องค์กร สังคม และประเทศชาติ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติอย่างมากมาย จนขาดคุณสมบัติของความเป็นเมืองพุทธและชาวพุทธแท้ไปโดยปริยาย.<O:p></O:p>

    นอกจากปัญหาทางการเมืองแล้ว ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายที่เกิดจากการเบียดเบียนตนเองและหรือผู้อื่นในรูปแบบต่าง ๆ อย่างรุนแรง จนเรือนจำไม่เพียงพอสำหรับนักโทษที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจากการทำผิดกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด รีดไถ ปล้นจี้ เล่นการพนัน หลอกลวง ปั่นหุ้น ต้มตุ๋น โกงภาษี คอร์รับชั่น ฉ้อโกง ข่มขู่ ปิดถนน อุบัติเหตุ ข่มขืน ค้าประเวณี ทำร้ายหรือฆ่าตนเองและหรือผู้อื่น เป็นต้น. ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากความตกต่ำทางคุณธรรมอย่างมากมาย เพราะปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้เป็นชาวพุทธแท้.<O:p></O:p>

    ถ้าสอบถามผู้ที่สร้างปัญหาต่าง ๆ ดังที่กล่าวแล้วว่า เป็นคนที่นับถือศาสนาใด ? ส่วนใหญ่ก็คงจะตอบได้ทันทีว่า นับถือศาสนาพุทธ.<O:p></O:p>

    โดยหลักการแล้ว คนที่เบียดเบียนตนเองและหรือผู้อื่นอย่างรุนแรง ไม่ใช่ชาวพุทธแท้ เพราะชาวพุทธแท้จะต้องพยายามมีสติปฏิบัติตนตามโอวาทปาฏิโมกข์ คือ ละความชั่ว มุ่งทำแต่ความดี และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใสอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นผู้ที่มีสติคิดดี พูดดี ทำดี และรู้รักสามัคคีตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.<O:p></O:p>
    ประเทศไทยจะเป็นเมืองพุทธแท้ได้ ก็เพราะคนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธแท้ และเมื่อคนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธแท้ วิกฤตทางคุณธรรมก็จะลดลง ความรุนแรงก็จะลดลงหรือหมดไปได้.<O:p></O:p>
    เนื่องจากพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ถูกปลูกฝังอยู่ในจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่มาตั้งแต่เกิด. ดังนั้น การจะฟื้นฟูและเพิ่มพูนความรู้และความสามารถทางธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงให้กับคนไทย จึงน่าจะเป็นช่องทางแรกที่จะทำให้คุณธรรมในจิตใจกลับฟื้นคืนมาหรือเพิ่มพูนมากขึ้น.<O:p></O:p>
    จากการศึกษาพุทธประวัติ จะพบว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนอริยสัจ ๔ เป็นหลัก ผู้ที่ได้ฟังธรรมเรื่องอริยสัจ ๔ จากพระพุทธเจ้าโดยตรง และฟังด้วยความเข้าใจ รวมทั้งสามารถจดจำไว้ได้ตามสมควร ย่อมรู้แจ้งชัดตามความเป็นจริงในเรื่องอริยสัจ ๔ ในเบื้องต้น.<O:p></O:p>
    โดยหลักการแล้ว ชาวพุทธแท้ต้องมีความรู้และความสามารถขั้นพื้นฐานหรือเบื้องต้นตามหลักธรรมที่เรียกว่า อริยสัจ ๔ รวมทั้งสามารถประเมินผลของการศึกษาและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันของตนเองอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ก็จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมและเริ่มเข้าสู่กระแสของความดับทุกข์หรือนิพพานนั่นเอง.<O:p></O:p>
    ผู้เขียนสนใจศึกษาและฝึกปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่เด็ก กว่าจะเข้าใจเรื่องอริยสัจ ๔ ก็เมื่ออายุ ๕๘ ปี. ครั้นเข้าใจได้บ้างแล้ว ก็พยายามทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยการนำเสนอมุมมองหรือแนวคิดอย่างง่าย ๆ จากประสบการณ์ตรง เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ข้อมูลธรรมเบื้องต้น ซึ่งอาจเป็นผลให้บางท่านสามารถเข้าถึงแก่นธรรมได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลามากมายเช่นผู้เขียน.<O:p></O:p>
    เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ จะแทรกวิธีฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิต ประจำวันอย่างง่าย ๆ ตั้งแต่บทแรก ๆ. ดังนั้น จึงขอได้โปรดฝึกปฏิบัติธรรมตั้งแต่แรกไปด้วย ไม่ใช่อ่านจบแล้วจึงฝึก. ทั้งนี้ ก็เพื่อที่ท่านจะได้ตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งได้รับผลจากการฝึกปฏิบัติธรรมไปด้วย.<O:p></O:p>
    ขอให้กำลังใจว่า ทุกวินาทีที่ท่านฝึกปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง ท่านก็จะสามารถเข้าถึงภาวะของจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส และพ้นจากความทุกข์ทางจิตใจได้ทันที ซึ่งเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัว.<O:p></O:p>
    ชาวพุทธทุกคนควรอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะจะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ความเป็นชาวพุทธแท้ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? และทำอย่างไรจึงจะมีคุณสมบัติของความเป็นชาวพุทธแท้ ? เพื่อจะได้สามารถดำเนินชีวิตตามรูปแบบของชาวพุทธแท้ได้อย่างถูกต้อง.<O:p></O:p>
    ในการอ่านหนังสือเล่มนี้ ขอให้พิจารณาอย่างละเอียด พร้อมทั้งตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยไม่หลงเชื่อ จึงจะทำให้เกิดความรู้หรือปัญญาทางธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง.<O:p></O:p>
    เมื่อท่านได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้บ้างแล้ว ก็ขอได้โปรดพิจารณาเผยแพร่ต่อไปตามเหตุปัจจัย และถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขอได้โปรดให้อภัยแก่ผู้เขียนด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง.<O:p></O:p>
    นายเอกชัย จุละจาริตต์ กรกฎาคม 2551<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    สารบัญ<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>
    คำนำ ๓<O:p></O:p>
    บทที่ ๑ บทนำ: อ๋อ! พุทธแท้เป็นเช่นนี้เอง ๙<O:p></O:p>
    ภาคปฏิบัติ: วิธีฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ตอนที่ ๑ ๑๙<O:p></O:p>
    บทที่ ๒ ทุกข์ ๒๐<O:p></O:p>
    บทที่ ๓ สมุทัย ๒๗<O:p></O:p>
    ภาคปฏิบัติ: วิธีฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ตอนที่ ๒ ๕๐<O:p></O:p>
    บทที่ ๔ นิโรธ ๕๑บทที่ ๕ มรรค ตอน: วิธีฝึกเจริญสติ ๗๑<O:p></O:p>
    บทที่ ๖ มรรค ตอน: วิธีฝึกเจริญสมาธิ ๑๒๑<O:p></O:p>
    บทที่ ๗ มรรค ตอน: มรรคมีองค์ ๘ ๑๔๖<O:p></O:p>
    บทที่ ๘ สรุป ๑๖๔<O:p></O:p>
    บันทึกท้ายเล่ม ๑๖๗<O:p></O:p>
    รายการบรรยายธรรมสำหรับประชาขน ๑๗๑<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>

    คำบูชาพระรัตนตรัย<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,<O:p></O:p>
    พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;<O:p></O:p>
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.<O:p></O:p>
    ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.<O:p></O:p>

    (กราบ)<O:p></O:p>​


    <O:p> </O:p>​

    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,<O:p></O:p>
    พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว;<O:p></O:p>
    ธัมมัง นะมัสสามิ.<O:p></O:p>
    ข้าพเจ้ามนัสการพระธรรม.<O:p></O:p>

    (กราบ)<O:p></O:p>​

    <O:p> </O:p>
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,<O:p></O:p>
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว;<O:p></O:p>
    สังฆัง นะมามิ.<O:p></O:p>
    ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.<O:p></O:p>

    (กราบ)<O:p></O:p>​


    <O:p> </O:p>


    อ๋อ! พุทธแท้<O:p></O:p>


    เป็นเช่นนี้เอง<O:p></O:p>


    <O:p></O:p>


    บทที่ ๑<O:p></O:p>


    บทนำ<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>
    อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมทางด้านจิตใจของมนุษย์ที่ง่ายแก่การเรียนรู้ เข้าใจ และเมื่อนำไปปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ย่อมจะได้รับประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง คือ ทำให้สามารถละความชั่วทั้งปวง มุ่งทำแต่ความดี และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นบุคคลที่ประเสริฐ ปราศจากความทุกข์ที่เกิดจากความชั่วทั้งปวง พร้อมทั้งสามารถมีสติในการทำกิจต่าง ๆ และดำเนินชีวิตได้อย่างดีงาม มีประสิทธิภาพ มีคุณค่า บริสุทธิ์ ยุติธรรม ก่อให้เกิดความเจริญ ความมั่นคง และความผาสุกอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นผลดีต่อตนเอง ผู้อื่น ครอบครัว องค์กร สังคม สัตว์ สิ่งแววดล้อม ธรรมชาติ และประเทศชาติ.<O:p></O:p>
    ผู้ที่มีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมในอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง ตามความเป็นจริง และมีครบถ้วนตามสมควร หรือมีอย่างเพียงพอ ครั้นลงมือปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ก็จะได้รับประโยชน์ดังกล่าวแล้วในทันที โดยไม่ต้องรอที่ชาติหน้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติของชาวพุทธแท้.<O:p></O:p>
    ชาวพุทธที่ยังไม่มีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมในอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง หรือยังมีไม่ครบถ้วน หรือยังมีไม่เพียงพอ จึงยังไม่เป็นชาวพุทธแท้.<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    วิชาอริยสัจ ๔ เกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาในการค้นคว้าวิจัย(ธัมมวิจัย)ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานานถึง ๖ ปี.<O:p></O:p>
    ในที่สุด พระองค์ทรงค้นพบความจริงหรือสัจธรรมทางด้านจิตใจของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการละชั่ว มุ่งทำแต่ความดี และทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งเป็นผลให้จิตใจมีความประเสริฐ มีความสุขสงบ รวมทั้งพ้นจากความทุกข์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดจากความชั่วทั้งปวง.<O:p></O:p>

    การตรัสรู้สัจธรรมของพระพุทธเจ้าในด้านจิตใจของมนุษย์ดังกล่าวแล้ว คือ การตรัสรู้เรื่องอริยสัจ ๔ นั่นเอง. ดังนั้น อริยสัจ ๔ จึงเป็นแก่นธรรมของวิชาพุทธศาสตร์หรือของพระพุทธศาสนา.<O:p></O:p>
    หลังจากการตรัสรู้เรื่องอริยสัจ ๔ แล้ว พระองค์ทรงเผยแพร่โดยการเสด็จไปแสดงธรรม ณ สถานที่ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามที่ทรงตรัสรู้เป็นหลัก.<O:p></O:p>
    ผู้ที่ได้เรียนรู้เรื่องอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามความเป็นจริง ด้วยการฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า หรือจากพระอรหันต์โดยตรง หรือผู้ที่รู้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีความรู้หรือมีปัญญาเห็นธรรมหรือมีดวงตาเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และตรัสสอนนั่นเอง.<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>
    อริยสัจ ๔ เป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัว<O:p></O:p>
    ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการหรืออริยสัจ ๔ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และตรัสสอนนั้น เป็นเรื่องที่ง่าย เปิดเผย แจ้งชัด ไม่มีเงื่อนงำใด ๆ ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนและถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า
     
  2. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    ขออนุโทนาด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...