เก็บเงินหล่น บาปหรือไม่บาปครับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย makcloud, 24 พฤศจิกายน 2011.

  1. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    มันมีอยู่สองประเด็น คือ
    ๑.ทรัพย์นั้น มีมูลค่าน้อยเกินไป จนเจ้าของไม่สนใจจะติดตามอาคืน
    เราเก็บทรัพย์เช่นนั้น ไม่บาป เพราะถือเป็นของเก็บได้ ไม่มีเจ้าของ

    ๒.ทรัพย์นั้นมีค่ามาก พอสมควร และเจ้าของก็กำลังติดตามเอาคืน
    ถ้าเรารู้ว่า เจ้าของเขากำลังติตามหาเพื่อจะเอาคืน แต่เรากลับเก็บไว้
    ซ่อนไว้ ไม่ให้เจ้าของเขารู้ เพื่อที่จะเอาเป็นของตัวเอง เราย่อมเข้าข่ายเป็นขโมย
    ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ได้ ผิดศีล และเป็นบาป

    ดังนั้น วิธีที่ถูกต้องคือ เมื่อเก็บทรัพย์สินที่ตกหล่นได้
    และของนั้นมีราคามากพอควร คาดว่าเจ้าของเขาคงกำลังตามหาอยู่
    เราก็ควรเก็บไว้ แล้วประกาศหาเจ้าของ เพื่อคืนให้เขา
    ถ้าเราไม่อยากมีปัญหา ต้องรับผิดชอบ เช่น เราไม่รู้ว่า คนที่มารับของนั้นคืน
    ใช่เจ้าของจริงๆไหม หรือเป็นแค่คนที่แอบอ้าง เราก็ควรมอบให้กับตำรวจ
    ก็เป็นอันพ้นภาระรับผิดชอบของเราไป
    หรือท่าไม่อยากมีปัญหาจริงๆ ก็อย่าไปยุ่งด้วยเป็นดีที่สุด

    พบของที่ตกอยู่ในที่อยู่อาศัย ควรเก็บไว้ให้เจ้าของเขา
    ถ้าไม่เก็บ แล้วมีคนอื่นมาเก็บไป เราอาจกลายเป็นผู้ต้องสงสัยในภายหลังได้
     
  2. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ทีนี้ ทรัพย์มีราคาเท่าไร ที่จะซื้อคุณงามความดีของคุณได้ ? (หมายถึง เงินทองจำนวน
    มากเท่าไร ถึงจะทำให้คุณตัดสินใจยอมละเมิดศีล และเสี่ยงต่อกฏหมายข้อหาลักทรัพย์ โดยเก็บได้แล้วไม่ยอมคืนให้เจ้าของเขา)

    คำถามนี้หมายถึง การเก็บได้ ไม่ใช่การไปปล้น หรือไปขโมยของเขา

    หลายปีก่อน มันเคยมีข่าว ที่คนเก็บถุงเงิน ของรถขนเงินได้
    มีเงินอยู่ในถุุงจำนวน ๙ ล้านบาท
    พอเก็บได้แล้วก็นำไปซ่อนไว้
    นำออกมาใช้จ่ายบางส่วน
    ซื้อของบ้าง แบ่งให้เพื่อนบ้าง
    แล้วยังนำไปใส่บาตรพระอีกสองหมื่นบาท
    แต่ผลสุดท้ายตำรวจก็ตามตัวเจอ และยึดเงินกลับทั้งหมด(รวมทั้งส่วนที่นำไปทำบุญกับพระด้วย)

    ผมเชื่อว่าด้วยอานิสงส์ที่เขาทำบุญด้วยเงินที่เก็บได้
    เกิดชาติหน้าเขาก็คงจะเก็บได้เงินแบบนี้อีก แต่ก็คงอยู่ได้ไม่นานก็คงถูกจับอีกเหมือนเดิม
    เพราะเงินที่นำไปทำบุญนั้น ไม่ใช่เงินของตน แต่เป็นเงินที่เก็บได้
     
  3. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,286
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ผมไม่แน่ใจครับ แต่ที่แน่ ๆ เอาแบบที่เราทําแล้วสบายใจเลย ก็นําเงินที่เราเก็บได้ไปบริจาคครับ อันนี้ไม่มีข้อเสียอย่างแน่นอน
     
  4. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    สมมุติว่าผมทำเงินตก แล้วคุณเก็บได้แล้วเอาไปบริจาค
    ถ้าหากผมรู้ ผมก็เอาเรื่องคุณอยู่ดี เพราะเงินนั้นมันของผม และผมยังไม่ได้อนุญาต
    ดังนั้น การอ้างว่านำไปบริจาคจึงไม่ช่วยให้พ้นผิดขึ้นมาได้
    ความสำคัญที่เราจะพ้นภาระรับผิดชอบจึงไม่ได้อยู่ว่าเก็บไปแล้วจะเอาไปทำอะไร
    แต่อยู่ที่
    ๑. เจ้าของเดิมเขาสละสิทธิ์ ไม่เอาแล้ว
    ๒.เจ้าของเดิมเขาอนุญาต คือยกให้
    ๓.เราไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับตัวเงินนั้น
     
  5. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,171
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ก็อย่างตัวอย่างข่าวที่เล่าให้ฟังนั่นแหละ
    คนเก็บเงินของรถขนเงินธนาคารได้ แล้วเก็บซ่อนไว้
    นำส่วนหนึ่งมาใช้เอง แบ่งส่วนหนึ่งให้คนรู้จักหรือเพื่อน
    เอาไปทำบุญกับพระอีกสองหมื่น
    ผลสุดท้ายคือ ตำรวจจับได้ และตามไปยึดเงินคืนทั้งหมด
    ไม่เว้นแม้แต่สองหมื่นที่นำไปทำบุญกับพระ
    ทางธนาคารเองเขาก็ไม่ได้ยกเว้นในส่วนที่นำไปทำบุญกับพระ
    ก็แสดงว่า ถึงเก็บได้แล้วนำไปบริจาค แต่ถ้าเจ้าของเขาเอาเรื่อง
    ก็คงไม่พ้นผิดอยู่ดี
    แต่ที่ไม่มีความผิดก็คือ จำนวนเงินเล็กน้อยเกินไปจนเจ้าของเงินไม่ติดใจเอาความ
    ก็เท่ากับเขาเสียสละ ไม่คิดจะได้คืน
     
  6. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    การกระทำผิดศีลข้อ ๒ คือ การลักทรัพย์ มีองค์วินิจฉัยคือ
    การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
    ๑. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๒. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
    ๔. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
    ๕. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

    การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
    ๑. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
    ๒. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
    ๓. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

    ***จำนวนเงิน ๑ - ๑๐๐ บาท***
    ***ข้อนี้ไปเกี่ยวข้องกับกฏหมาย ถ้าเก็บทรัพย์สินที่มีค่าได้ ไม่ควรเก็บไว้กับตัวเกิน ๓ ปี, ถ้าเจ้าของแจ้งความว่าหาย ถ้าจับได้ว่าเป็นเราจะมีความผิดฐานลักทรัพย์
    ***ถ้าเราเก็บได้เรานำไปแจ้งความหาเจ้าของ ถ้าพบเจ้าของจะได้รับเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ (วงเงิน
    30,000 บาทลงมา) ถ้าเกิน ๑ ปี ไปไม่มีเจ้าของ ของตกเป็นของเรา

    ๑. เป็นเงินที่หล่นแล้วเก็บได้ (จำนวน ๑ - ๑๐๐ บาท)
    .....กรณีแรก เจ้าของยังไม่วางใจ คือ ยังเสียดาย ยังต้องการอยากได้ทรัพย์คืนมาอยู่ เพราะอาจมีความจำเป็นต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นได้ แสดงว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน และอาจไปแจ้งความไว้
    ......กรณีที่สอง เจ้าของเขาวางใจแล้ว คือ ไม่เสียดาย ไม่ต้องการแล้ว คือ ในใจคิดสละออกไป
    เขาอาจคิดว่าเกิดจากความประมาทของตัวเองไม่ระวัง หรือจากบุพกรรม ก็ตามแต่ แต่ว่าทรัพย์นั้นเราไม่ต้องการแล้ว แสดงว่าทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ
    ๒. คนที่เก็บได้ควรทำอย่างไร (๑ - ๑๐๐ บาท)
    ......ถ้าเป็นกรณีแรก ถือว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของ เพราะเขายังต้องการอยู่และยังไม่วางใจสละออก
    เราเก็บได้นำไปใช้ถือว่าลักทรัพย์ (ทางกฏหมาย) เก็บไว้ต้องให้เกิน ๓ ปี ,ไม่ผิดศีล เพราะไม่ครอบองค์ ๕ แต่ขาดจริยธรรมคุณธรรมในใจ ธรรมดาเก็บของได้ ซึ่งไม่ใช่ของ ๆ เรา เราควรนำส่งคืนเจ้าของไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม
    ......ถ้าเป็นกรณีที่สอง เรานำเงินที่เก็บได้ไปใช้ไม่ผิดศีลแน่นอน(และคงไม่แจ้งความไว้ว่าของหาย) แต่ขาดจริยธรรมคุณธรรมในใจ และถ้าเรานำไปประกาศหาเจ้าของ (อาจคิดว่าทรัพย์นั้นมีความสำคัญ) และไม่รู้ว่าเจ้าของเขาวางใจแล้ว อาจได้รับคำชมเชยหรือได้รับทรัพย์กลับคืนมาอีกเป็นได้

    ****อนุโมทนาบุญ****
     
  7. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    บาปและบุญ อาศัยอะไรเป็นเครื่องตัดสิน


    บาปและบุญ อาศัยกรรม ที่เกิดที่เจตนากระทำลงไป อันเป็นการเจตนาไปเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน

    ทรัพย์ที่ตกหล่น โดยไม่ทราบว่าเจ้าของเป็นใคร เราไม่เจตนาไปเบียดเบียนเขา เราเก็บทรัพย์นั้น
    เพื่อทำประโยชน์ ย่อมไม่ถือว่าเป็นการทำบาป ด้วย ทรัพย์ที่ตกหล่นนั้น มีความยากในการตามหาเจ้าของ หรือคืนให้เขาไม่ได้หรือได้ยาก เพราะไม่ทราบไม่รู้

    และด้วยเจตนาไม่อยากได้หรือละโมบโลภมาก แต่ควรเก็บไปเพื่อทำประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นบุญเป็นกุศล เพราะเจตนาดีงาม และก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

    แต่กรณีที่ทรัพย์ที่ตกหล่นดังกล่าว เราทราบเจ้าของ อันนี้ต้องคืนเขา ห้ามนำมาเป็นของตนเอง เพราะเราทราบแน่ชัดว่าเป็นทรัพย์ของเขา เมื่อทราบแล้วต้องคืน การถือเอามาครอบครองย่อมเป็นบาปปรากฏในจิตเราทันที

    ส่วนข้อวินัยของพระ อันนั้น เนื่องจากพระสงฆ์คือบรรชิต พระองค์จึงตั้งวินัยไว้อย่างนั้น เพื่อตัดขาดจากกรรมที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ จึงห้าม เพราะเมื่อเป็นบรรชิตแล้ว เงินทอง เป็นของฆารวาสไม่ใช่ของสงฆ์ แล้วนั่นเอง พระสงฆ์ต้องอยู่อย่างสันโดษ ไม่ยึดติดในเงินทองและลาภสักการะทั้งปวง อันมีเหตุและผลชัดเจนครับ
     
  8. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,324
    ค่าพลัง:
    +4,774
    ผมก็เคยเก็บตังส์ได้นะ ถ้าหาเจ้าของไม่เจอ ผมก็จะเอา แต่ผมเอาไปบริจาคในตู้ทำบุญ พร้อม อฐิษฐาน ยกกุศลให้เจ้าของทรัพย์ไปเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...