เคล็ดปฏิบัติสมาธิ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พรายแสง, 9 พฤษภาคม 2005.

  1. พรายแสง

    พรายแสง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    833
    ค่าพลัง:
    +371
    [size=+1]<DD>นั่งสมาธิพึงพากันตั้งสติให้แน่วแน่อยู่ภายใน พยายามควบคุมจิตอย่าให้มันหลงคิดนึกไปในอารมณ์ที่มันเคยคิด เคยนึก เคยเกาะ เคยข้องมาแต่ก่อน ให้กำหนดลงเอาปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งเลยทีเดียว ชีวิตนี้จะอยู่เฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก อยู่ที่ปัจจุบัน ๆ นี้เท่านั้น ให้กำหนดจำกัดลงเลย เพราะว่าที่ล่วงมาแล้ว มันก็ล่วงมาแล้วนะชีวิต แล้วอนาคตก็ยังไม่ได้ไปถึง มันก็ยังไปไม่ถึง ไม่ต้องไปคำนึงหามัน การงานอะไรที่ทำล่วงมามาแล้วผิดหรือถูกมันก็ได้ล่วงมาแล้ว ไม่ต้องไปคำนึงหามัน

    <DD>เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจ ขอให้เตือนตนอย่างนี้ เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจในขณะนี้ เบื้องต้นนี้ ก็อยากคิด อยากรู้นั้น รู้นี้ เห็นนั่น เห็นนี้ ก่อนคือพยายามตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก อธิษฐานจิตถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกของตนแล้ว ก็พยายามประกอบจิตนี้ให้หยุดคิด หยุดนึก ให้กำหนดรู้เฉพาะแต่ลมหายใจเข้า หายใจออกเท่านี้ก่อน เพราะเวลานี้ให้เข้าใจว่าเราพักผ่อนจิตใจ คำว่าพักผ่อนคือหยุดคิด หยุดนึกในการงานต่าง ๆ เลย วางจิตลงให้สบาย สบาย ไม่ต้องกังวลข้างหน้า ข้างหลังอะไรเลย กำหนดรู้อยู่แต่ปัจจุบันนี้เท่านั้น เอาปัจจุบันนี้เป็นหลักเลย ชีวิตนี้ก็ให้กำหนดว่ามีอยู่แค่ปัจจุบัน ๆ นี้ เท่านั้นแหละ

    <DD>ในเบื้องต้นเราก็รู้ไม่ได้ว่าจะไปถึงไหน เบื้องหลังมันก็ล่วงมาแล้ว ดังนั้น เราต้องกำหนดรู้เฉพาะปัจจุบันเท่านั้นเอง คือการทำสมาธินี่ สำคัญอยู่ที่สตินั้นแหละ ขอให้ได้พากันจำเอาไว้ให้ดี สติแปลว่าความระลึกได้ คือระลึกเข้าไปในจิตเลยทีเดียว ระลึกให้หยั่งเข้าไปให้มันถึงจิต อย่าให้มันระลึกเฉไปทางอื่น จิตนี้ที่มันตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ก็เพราะมันขาดสติ สติไม่ได้เข้าไปควบคุมอยู่ใกล้ชิด สตินั้น จะระลึกออกไปทางอื่นห่างออกไปจากจิต เมื่อจิตนี้ปราศจากสติแล้วมันก็ว้าเหว่ เร่ร่อนหาอารมณ์อย่างอื่นคิดส่ายไปตามความชอบใจ มันเป็นอย่างนั้น แต่จิตนี้น่ะ ถ้าสติเป็นเครื่องสอนอยู่แล้ว ไม่ไปไหนเลย ไม่ไปไหนแล้ว ที่มันอยากคิดอะไรมาแต่ก่อนนั้น สติห้ามไว้แล้วทันก็หยุด

    <DD>ขอให้สติมันเข้มแข็งเสียอย่างเดียว หายใจเข้าก็กำหนดรู้ หายใจออกก็กำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันนั้นเลย อย่างนั้น ไม่ได้รู้สิ่งอื่น ๆ ใดทั้งหมด ถ้าหากใครสามารถที่จะเพ่งเข้าไปภายในให้เกิดแสงสว่างเหมือนอย่างเราฉายไฟเข้าไปในถ้ำมืด ๆ อย่างนี้ แสงไฟฉายนั้นมันจะเป็นลำ สว่างเข้าไปภายในจะมีอะไรอยู่ในนั้นก็มองเห็นได้เลย อันนี้ก็เหมือนกันแหละ ถ้าเราสามารถที่จะกำหนดตั้งสติแล้วเพ่งตามลมหายใจเข้าออก เข้าไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจ และก็มองเห็นอัตภาพร่างกาย อวัยวะ น้อยใหญ่ภายในร่างกายได้ยิ่งดีเลย ถ้าทำได้อย่างนี้ ตามลมหายใจเข้าออกไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจและก็มองเห็น

    <DD>ถ้าหากว่าไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ ก็ตั้งสติเพ่งเข้าไปหาความรู้อย่างเดียวเท่านั้นรู้อยู่ตรงไหน สติก็ให้หยั่งเข้าไปถึงนั่น ก็ใช้ได้เหมือนกัน เมื่อจิตมันสงบ มันคลายจากอารมณ์ต่าง ๆ ออกไปแล้ว มันปลอดโปร่ง ถึงแม้ว่าจะไม่สว่างไสวเต็มที่ แต่มันก็มีเงาแห่งความสว่างปรากฏอยู่ในจิตนั้นเองแหละ จิตไม่เศร้าหมอง หมายความว่า อย่างนั้นแหละเบิกบาน ถ้าหากมันคลายอารมณ์ต่าง ๆ ออกไปแล้วนะ ลักษณะอาการของจิตนี้จะเบิกบานผ่องแผ้วไม่มีกังวลใด ๆ อิ่มอยู่ภายใน ไม่ปรารถนาอยากจะคิดไปไหนมาไหนแล้วทีนี้ถ้าจิตมันคลายอารมณ์เก่าออกไปได้ ก็ต้องอาศัยสตินั่นแหละเข้าไปควบคุมจิตไม่ให้คิดไปในอารมณ์ต่าง ๆ

    <DD>อันเมื่อจิตนี้ไม่มีโอกาสจะได้คิดไปในอารมณ์ต่าง ๆ แล้วมันก็คลายทิ้งไปหมด อารมณ์ที่เราเก็บเอาไว้มันเป็นอย่างนั้นเพราะว่ามันไม่มีที่ต่อ มันก็คลายออกไปเท่านั้นเอง ดังนั้นอย่าไปเข้าใจวิธีอื่นเลย พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกนี่ เพ่งกำหนดรู้แต่ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ มันจะค่อยเบาไป ๆ หมดไปโดยลำดับ เพราะว่าจิตเราไม่ส่งเสริมมันแล้วนี่ จิตเรามาจ้องอยู่เฉพาะแต่ลมนี้ จิตนี้ไม่ส่งเสริมความคิดเสียแล้ว ทีนี้จะคิดดีคิดชั่วอย่างไรไม่เอา ในขณะนี้ปล่อยทิ้งไม่ใช่เวลาคิด เวลานี้ เวลาสงบ เวลาเพ่ง เวลากำหนดรู้ ไม่ใช่เวลาคิด ให้มีสติเตือนจิตอย่างนี้เสมอไป จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อย ๆ มันก็รู้ตัว รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก มันสำคัญ เรื่องสมาธินี่สำคัญมากทีเดียว เรื่องปัญหานั้นมันเกิดจากสมาธิ ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถจะทำ สมาธิให้บังเกิดได้ ปัญญามันก็เกิดไม่ได้ ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่เกิดจากสมาธิ ปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้เป็นปัญญาที่รู้แจ้งในธาตุสี่ ขันธ์ห้า ในนามในรูปไม่ปรารถนารู้อย่างอื่น

    <DD>ในการปฏิบัติสมาธิแรก ๆ อย่าไปสงสัยคลางแคลงใจว่า เอ๊ะ ทำไมเราจึงปฏิบัติไปไม่ได้ ทำไมใจจึงไม่สงบ ? กำหนดลมหายใจก็กำหนดแล้ว มันก็ยังไม่สงบอย่างนี้ อย่าไปสงสัยให้นึกว่า เราทำยังไม่พอก็แล้วกันแหละ เราทำยังไม่มากพอ คือว่าเรายังกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ ยังไม่พอ เราจะต้องทำอีก

    </DD>​
    (คัดลอกจากหนังสือเคล็ดปฏิบัติสมาธิ "หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ"
    [/size]
     

แชร์หน้านี้

Loading...