เคล็ดลับการฝึกสมาธิ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <DD>สมาธินับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกคน คือ ถ้าเด็กมีสมาธิก็จะเรียนเก่ง มีความจำดีและคิดเก่ง ถ้าคนทำงานมีสมาธิก็จะทำให้ทำการงานได้ดี หรือแม้ นักวิปัสสนาถ้ามีสมาธิก็จะทำให้เกิดปัญญาขั้นเห็นแจ้งและดับทุกข์ได้ <DD> </DD><DD><DD>แต่ปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ที่ฝึกสมาธิไม่สามารถฝึกจิตให้เกิดสมาธิได้นั้นก็คือ “ความไม่เข้าใจว่าสมาธิคืออะไรและจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?” ถ้าผู้ฝึกสมาธิจะเข้าใจว่าสมาธิคืออะไร และจะเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว การฝึกสมาธิของเขาก็จะง่ายและเกิดขึ้นเร็วได้อีกด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่รู้ว่าสมาธินั้นแท้จริงเป็นอย่างไรและเคล็ดลับในการฝึกเป็นอย่างไรแล้ว การฝึกสมาธิก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จได้ ดังนั้นเราจะมาเรียนรู้เคล็ดลับในการฝึกสมาธิกันต่อไป <DD> <DD><DD>ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจคำว่า “สมาธิ”ก่อน คำว่า สมาธิ แปลว่า ตั้งมั่นอยู่เสมอ คือหมายถึง อาการที่จิตเพ่ง (หรือจดจ่อ หรือกำหนด หรือจับติด)อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลาได้นานๆอย่างต่อเนื่อง จนจิตเกิดความสงบ, ตั้งมั่น, ปลอดโปร่งแจ่มใส, อ่อนโยน, และเกิดความสุขที่สงบ หรือความเบาสบาย ไม่มีความทุกข์ใดๆขึ้นมา <DD> <DD></B><DD>เรามักเข้าใจกันว่าเมื่อจิตมีสมาธิแล้วจิตจะสงบนิ่งหรือตั้งมั่นโดยไม่มีความคิดใดๆเลยหรือไม่รับรู้สิ่งภายนอกเลย ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนั่นเป็นสมาธิที่สูงเกินความจำเป็น(คือใช้งานอะไรไม่ได้)และฝึกได้ยาก ดังนั้นเราจึงไม่ควรสนใจ ซึ่งสมาธิที่เป็นประโยชน์นั้นจะเป็นสมาธิที่ถูกต้อง คือเป็นการตั้งใจคิด หรือพูด หรือทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น ในการกำหนดรู้ถึงหายใจของร่างกาย หรือเพ่งอยู่ในการคิด ในการอ่าน การเขียน การฟัง การพูด หรือในการทำการงานที่ดีงามทั้งหลายเป็นต้น <DD> <DD><DD>สมาธิที่ถูกต้องจะมีลักษณะ ๓ อย่างให้สังเกตได้ คือ <DD> <DD><DD>๑. บริสุทธิ์ คือไม่มีกิเลส(ยินดี ยินร้าย ลังเลใจ) ไม่มีนิวรณ์(ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆหรือความหดหู่ เซื่องซึม เป็นต้นที่จัดเป็นพวกกิเลสอ่อนๆ) <DD>๒. ตั้งมั่น คือจิตจะสงบ มั่นคง เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอไปตามสิ่งที่มายั่วยวนให้ยินดีหรือยินร้ายหรือลังเลใจก็ตาม <DD>๓. อ่อนโยน คือจะควบคุมได้ง่าย จะให้คิดเรื่องอะไรก็ได้ เพราะไม่ดื้อรั้นเอาแต่ใจเหมือนตอนถูกกิเลสครอบงำ รวมทั้งจะมีสติที่สมบูรณ์อีกด้วย <DD> <DD><DD>เมื่อจิตบริสุทธิจากกิเลส ก็เท่ากับขณะนั้นจิตหลุดพ้นจากกิเลสจิตก็จะไม่เป็นทุกข์ เมื่อจิตไม่เป็นทุกข์มันก็ย่อมที่จะสงบเย็น ดังนั้นสมาธิจึงมีผลดีหรือมีประโยชน์อย่างยิ่งตรงที่มันช่วยดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้ตราบเท่าที่จิตยังมีสมาธิอยู่ และยังมีของแถมก็คือเมื่อจิตมีสมาธิมันก็จะมีความสุขที่สงบเกิดขึ้นมาด้วยเสมอ ซึ่งความสุขที่สงบนี้จะเหนือความสุขจากเรื่องกามารมณ์จนทำให้ผู้ที่มีสมาธิจะไม่ติดใจในกามสุขได้ <DD> <DD><DD>สมาธิจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? จิตจะเกิดสมาธิได้ จิตจะต้องตั้งใจเพ่ง(หรือจดจ่อ)อยู่แต่ในสิ่งที่เพ่งนั้นได้นานๆ ซึ่งการที่จะให้จิตเพ่งอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานๆนั้น สิ่งที่เพ่งนั้นจะต้องเพ่งแล้วเกิดความสุขที่สงบ ถ้าเพ่งแล้วไม่เกิดความสุขที่สงบ หรือเพ่งแล้วเกิดความทุกข์ จิตก็จะไม่เกิดสมาธิ <DD> <DD><DD>แล้วอะไรคือสิ่งที่เพ่งแล้วทำให้จิตเกิดความสุขที่สงบ? ซึ่งคำตอบก็คือ “สิ่งที่ดีงามและจิตชอบ” ซึ่งสิ่งที่ดีงามก็คือสิ่งเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น รวมทั้งไม่เป็นโทษด้วย ส่วนสิ่งที่จิตชอบนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจิตของใครจะชอบอะไร ถ้าใครชอบอะไรที่เป็นประโยชน์ก็ให้เลือกเพ่งสิ่งนั้นจิตจึงจะเกิดสมาธิได้ง่าย แต่ถ้าให้ไปเพ่งสิ่งที่แม้จะเป็นประโยชน์ แต่ว่าจิตไม่ชอบมันก็เป็นสมาธิได้ยาก เพราะมันฝืนจิตใจ ซึ่งนี่คือเคล็ดลับของการฝึกให้จิตเกิดสมาธิได้ง่ายและเร็ว <DD> <DD><DD>บางคนชอบการอ่านหนังสือ ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบการเรียน ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบการเขียนก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบคิดค้น ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบพูด ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ บางคนชอบทำงาน ก็ทำให้เกิดสมาธิได้ คือใครชอบอะไรที่ไม่เป็นโทษและเป็นประโยชน์ก็เอาสิ่งนั้นมาตั้งใจกำหนดรู้หรือเพ่งให้ต่อเนื่อง คือทำให้ติดต่อกันเป็นสายไม่ขาดตอนตลอดเวลา ก็จะทำให้การกำหนดรู้หรือเพ่งนั้นทำให้จิตเกิดสมาธิขึ้นมาได้โดยง่าย <DD> <DD><DD>เด็กสมัยนี้ส่วนมากมีสมาธิสั้นก็เพราะเขาไม่ได้รับการฝึกให้คิด หรือพูด หรือทำในสิ่งที่เกิดประโยชน์และเขาชอบมาก่อนอย่างเพียงพอ เราปล่อยให้เด็กเล่นสนุกตามใจชอบอย่างไร้สาระมากเกินไป จนเด็กเคยชินและติดจนกลายเป็นนิสัยที่เลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ยากไปในที่สุด และเมื่อมีสมาธิสั้น มันก็ส่งผลถึงการเรียนและพฤติกรรมของเด็ก แล้วก็สร้างปัญหาให้กับตัวเด็กเองและสังคมไปในที่สุด แต่ถ้าเราจะมาสนใจฝึกให้เด็กมีสมาธิกันตั้งแต่ยังเล็กๆอย่างถูกต้อง ต่อไปเด็กก็จะโตขึ้นเป็นเด็กที่มีสมาธิมากและก็จะส่งผลทำให้เป็นเด็กที่เรียนเก่งและเป็นคนดีของสังคมได้โดยง่าย <DD> <DD><DD>ถ้าเราจะฝึกสมาธิหรือจะฝึกให้เด็กมีสมาธิ เราก็ต้องหาอะไรที่ดีงามหรือเป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกชอบด้วยมาฝึกทำด้วยความตั้งใจ ซึ่งก็อาจจะเป็นการเล่นเกมส์อะไรที่ใช้ความคิด หรือการเล่นอะไรที่ต้องใช้สมอง หรือแม้การฝึกให้เด็กแสดงออก เช่นการพูด การร้องเพลง การเขียน การวาดรูป การปลูกต้นไม้ การประดิษฐ์คิดค้น เป็นต้น หรือแม้การฝึกให้เด็กได้ทำงานที่เด็กพอจะทำได้ก็ซึ่งถ้าจะให้ดีที่สุดก็ต้องฝึกกันมาตั้งแต่เด็กยังเล็กเลยจะดีที่สุด เพราะเมื่อจิตของเด็กยังว่างอยู่ ถ้าจิตของเด็กจะได้รับอะไรมาในครั้งแรก จิตของเด็กก็จะรับเอาสิ่งนั้นมาพัฒนาให้เจริญงอกงามจนเต็มจิตใจ และยากที่สิ่งอื่นที่ตรงข้ามจะเจริญขึ้นมาแทนที่ได้ <DD> <DD><DD>การฝึกพูดหรือบรรยายนับเป็นการฝึกที่สมาธิที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะการพูดนั้นก็ต้องใช้สมาธิในการพูดมากและยังต้องใช้ความรู้จากการอ่านมา หรือฟังมา หรือคิดมาเพื่อมาใช้พูดอีก การพูดจึงนับเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอย่างมากที่ทุกคนควรฝึกพูดให้ได้ เพราะเป็นทั้งการฝึกสมาธิและสร้างปัญญาไปพร้อมกัน เราจึงควรส่งเสริมให้เด็กฝึกพูดเพื่อเสริมสร้างสมาธิและปัญญาให้กับเด็กด้วยอีกวิธีหนึ่ง <DD> <DD><DD>การฝึกสมาธิที่สอนให้นั่งหลับตาและกำหนดลมหายใจพร้อมทั้งให้หยุดความคิดนั้นเป็นการฝึกที่ยาก เพราะจิตมันไม่ชอบให้บังคับมัน มันจะรู้สึกทรมานหรืออึดอัดมากเมื่อถูกบังคับให้ขาดอิสรภาพ มันจึงมักจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก จนผู้ฝึกท้อถอยเอาได้ง่ายๆ ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก คือต้องอดทนฝึกไปนานๆจิตจึงจะอ่อนลงและเกิดสมาธิขึ้นมาได้ การฝึกเช่นนี้จึงไม่ค่อยจะได้ผลคือทั้งไม่เกิดสมาธิและผู้คนเบื่อหน่ายไม่สนใจจะฝึก <DD> <DD><DD>สำหรับผู้ที่ทนฝึกสมาธิวิธีเก่าๆมาจนท้อแท้แล้วก็มาลองใช้วิธีการฝึกพูดหรือบรรยายความรู้ที่ตนเองมีให้คนอื่นฟังดู โดยอาจจะฝึกพูดคนเดียวแต่ก็พูดให้เหมือนกับว่ามีคนจำนวนมากฟังอยู่จริงๆก็ได้ ซึ่งการพูดก็ต้องตั้งใจพูดอย่างที่สุด และพูดช้าๆด้วยประโยคสั้นๆ โดยอาจจะพูดเฉพาะขณะที่หายใจออก แต่พอหายใจเข้าจะหยุดพูดก็ได้ (ถ้าพูดเร็วและติดต่อกันอาจจะทำให้เสียสมาธิได้ง่ายถ้ายังไม่ชำนาญ) ถ้าฝึกพูดคนเดียวได้สักพักจิตก็จะสงบ ตั้งมั่น เบาสบาย สดชื่น แจ่มใส เย็นใจ และมีความอิ่มเอมใจรวมทั้งมีความสุขที่ประณีตเกิดขึ้นมาทันที ซึ่งนั่นแสดงว่าจิตเกิดสมาธิขั้นต้นขึ้นมาแล้วอย่างแท้จริง และถ้าฝึกต่อไปเรื่อยๆจิตก็จะเกิดสมาธิที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆของมันเอง (คือจิตจะสงบตั้งมั่นมากขึ้น โดยความอิ่มเอมใจกับความสุขที่ประณีตก็จะค่อยๆหายไป จะเหลืออยู่แต่จิตที่ตั้งมั่นอยู่กับความสงบเย็นเท่านั้น) ส่วนอิริยาบถในการฝึกนั้นอาจจะเดินไปพูดไป หรือนั่งหรือยืนพูดก็ได้ตามสะดวก <DD> <DD><DD>สำหรับนักวิปัสสนานั้นเรื่องที่ใช้พูดก็ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดับทุกข์ คือเรื่องอนิจจัง(ความไม่เที่ยง) ทุกขัง(สภาพที่ต้องทนอยู่)และอนัตตา(สภาวะที่ไม่มีตัวตนที่แท้จริง) ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า ลองทำดูแล้วจะพบว่านอกจากจะทำให้จิตเกิดสมาธิได้ง่ายแล้วยังทำให้เกิดปัญญาแตกฉานขึ้นอีกด้วย (แต่การพูดคนเดียวก็ต้องระวังว่าถ้ามีคนอื่นมาพบเข้าเขาก็จะหาว่าเราบ้าเอาได้ แต่ก็อย่าไปสนใจเพราะคนบ้าจะมีสุขบ้างทุกข์บ้าง แต่เรามีแต่ความสุข ดังนั้นคนที่มาว่าเราบ้านั่นเองที่กลับเป็นคนบ้าเสียเอง) <DD> <DD><DD>พื้นฐานสำคัญของการฝึกสมาธิก็คือ ต้องมีศีล ซึ่งศีลก็คือการเป็นคนดีทั้งทางกายและวาจา คือ ไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในเรื่องกามารมณ์ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียดหรือยุยงให้แตกความสามัคคี และไม่พูดเรื่องเพ้อเจ้อไร้สาระ ถ้าใครปรกติเป็นคนดีอยู่แล้วก็ฝึกให้เกิดสมาธิได้ง่าย ส่วนใครที่ปรกติไม่ค่อยจะมีศีลก็หันมาตั้งในรักษาศีลเอาเองได้ <DD> <DD><DD>ส่วนนักวิปัสสนานั้นจำเป็นที่จะต้องมีปัญญามาเป็นพื้นฐานอีกด้วย ซึ่งปัญญาก็คือความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ถ้าใครมีความรู้นี้อย่างถูกต้องแล้วก็จะสามารถเอาเรื่องอริยสัจ ๔ นี้มาฝึกคิด หรือฝึกพูดให้เกิดสมาธิได้ทันที แต่ถ้าใครยังไม่มีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ นี้อย่างถูกต้อง ก็ต้องไปศึกษามาก่อนให้เข้าใจ (สามารถศึกษาได้จาก www.whatami.8m.com หรือ www.whatami.5u.com ) <DD> <DD><DD>การฝึกสมาธินี้จะต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ คือเราสามารถปฏิบัติหรือฝึกสมาธิไปพร้อมๆกับการเรียน หรือการทำหน้าที่การงานของเราได้ตลอดเวลาถ้าชำนาญแล้ว แต่ถ้ายังไม่ชำนาญก็ต้องหาสถานที่และเวลาเพื่อฝึกฝนก่อน เมื่อชำนาญแล้วก็สามารถปฏิบัติกิจวัตรของเราไปพร้อมๆกับมีสมาธิไปด้วยได้ แล้วก็มีความสุขสงบและความสงบเย็นพร้อมกับไม่มีทุกข์ไปด้วย

    <DD>
    <DD> <DD> <DD> เตชปญฺโญ ภิกขุ
    อาศรมพุทธบุตร เกาะสีชัง ชลบุรี
    ๒๕ สิหาคม ๒๕๕๐​


    <CENTER></CENTER><DD><CENTER>*********************
    </CENTER>
    </DD>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การฝึกสมาธิทำให้คนเรามีความสุข และสมองดีขึ้นได้อย่างไร
    <SUP></SUP>
    การฝึกสมาธิมีส่วนทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้น สมรรถภาพในการทำงานดีขึ้น และมีสมองเปลี่ยนไปในทางที่ดี
    <TABLE class=blog_center_data border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    ...
    การฝึกสมาธิมีส่วนทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้น สมรรถภาพในการทำงานดีขึ้น และมีสมองเปลี่ยนไปในทางที่ดี
    สำนักข่าว BBC ทำสารคดีเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ ซึ่งสำนักงานสุขภาพแห่งชาติสหราชอาณาจักร (NHS ของหมู่เกาะอังกฤษ) นำมาใช้เป็นวิธีการรักษาทางเลือกแล้ว ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
    ...
    หลังจากสามีของคุณแครอล แคทท์เลย์เสียชีวิต... อาการซึมเศร้าของเธอก็กลับมากำเริบซ้ำอีก หลังจากที่เป็นครั้งแรกสมัยเป็นวัยรุ่น และหายไปนานหลายสิบปี
    คราวนี้เธออยากตาย จึงต้องไปปรึกษาหมอ... คุณหมอแนะนำให้รักษาด้วยยา และพฤติกรรมบำบัด (cognitive behavioral therapy)
    ...
    ทว่า... เธอต้องการการรักษาแผนใหม่ ซึ่งมีทางเลือกให้ฝึกสมาธิ และวิธีนี้สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (NHS) สหราชอาณาจักรรับรองให้นำมาใช้ในการรักษาได้
    การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการฝึกสมาธิร่วมกับพฤติกรรมบำบัดเรียกว่า 'MBCT (mindfulness based cognitive therapy)' หรือ การฝึกสมาธิแบบ "กำหนดรู้"
    ...
    ภาพที่ 1: ภาพคนนั่งสมาธิที่พระมหาเจดีย์สวยัมภูนาถ เมืองกาฎมัณฑุ เนปาล[ ไม่ใช่ผลงานของผู้เขียน ภาพจาก BBC - picture from BBC ]
    [​IMG]
    ...
    ศาสตราจารย์มาร์ค วิลเลียมส์ หนึ่งในผู้นำด้านการรักษาด้วยสมาธิ กล่าวว่า วิธีการรักษาด้วยสมาธิของท่านใช้เวลา 8 สัปดาห์ โดยแบ่งการรักษาเป็นแบบ '80-20' ได้แก่
    • 80% เน้นทำสมาธิ
    • 20% เสริมด้วยการทำพฤติกรรมบำบัดให้กำหนดรู้สภาพซึมเศร้า (cognitive therapy)
    ...
    [ ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความคัดลอก ]
    He said: "It teaches a way of looking at problems, observing them clearly but not necessarily trying to fix them or solve them.
    "It suggests to people that they begin to see all their thoughts as just thoughts, whether they are positive, negative or neutral."
    [ จบข้อความคัดลอก ]
    ...
    อาจารย์วิลเลียมส์กล่าวว่า "วิธีนี้สอนให้คนเรา "กำหนดรู้"... รู้จักมองปัญหา สังเกตมันอย่างชัดเจน แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปจัดการ หรือแก้ไขมัน"
    "วิธีนี้สอนให้คนเราเริ่มหัดมองความคิดอย่างที่มันเป็น ไม่ว่าจะเป็นความคิดเชิงบวก(ด้านดี) เชิงลบ(ด้านร้าย) หรือกลางๆ (ไม่ดีและไม่ร้าย)"
    ...
    แน่นอนว่า วิธีการฝึกเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา... ท่านอาจารย์วิลเลียมส์กล่าวว่า
    การศึกษาเบื้องต้นพบว่า คนไข้โรคซึมเศร้ามีอาการซึมเศร้าลดลงมากกว่า 50% อย่างไรก็ตาม... นี่เป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป
    ...
    ภาพที่ 2: ภาพคนนั่งนับประคำกันทั้งครอบครัวที่พระมหาเจดีย์ชเวซิกอง พุกาม พม่า (มิถุนายน 2548)...
    • คนพม่านิยมบริกรรมสรรเสริญพระพุทธคุณคล้ายๆ ที่คนไทยสวด "พุทโธ" หรือฝึกสมาธิไปด้วย นับลูกประคำไปด้วย ทางวัดหรือพระเจดีย์ในพม่ามักจะมีลูกประคำ และหนังสือสวดมนต์ตั้งไว้ให้ยืม
    • ฝรั่งนิยมไปเรียนกรรมฐาน หรือสมาธิในพม่ามาก เนื่องจากพระพม่าพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก สำนักปฏิบัติธรรมในพม่ามักจะมีล่ามอาสาสมัครหลายภาษา
    • หมอพม่านิยมไปปฏิบัติธรรมตามสำนักต่างๆ มาก... จนมีคำกล่าวในพม่าว่า ใครมีลูกสาวเป็นหมอจะกลัวลูกสาวบวชชีมาก ล่ามพม่าหรือแม่ชีในสำนักส่วนหนึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นหมอเสียมากต่อมากทีเดียว
    [​IMG]
    ...
    การฝึกสมาธิที่นิยมในโลกตะวันตกได้แก่
    1. การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา (buddhist meditation)
    2. การฝึกกำหนดรู้ หรือเจริญสติ (mindfulness meditation) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา
    3. การฝึกสมาธิแบบ "ที.เอ็ม." (trancendental meditaion) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากโยคีในอินเดีย เน้นบริกรรมมันตรา หรือคำที่ไม่มีความหมาย 2 พยางค์ เช่น อาอึม อาอีม อาเอม (คำสมมติ) ฯลฯ
    4. การฝึกสมาธิแบบเซ็น (Zen meditation) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายเซน ญี่ปุ่น
    ...
    ดอกเตอร์ซารา ลาซาร์ และคณะนักวิจัยจากบอสทัน แมสซาชูเซทท์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาด้วยเครื่องตรวจสแกนสนามแม่เหล็ก-วิทยุ (MRI) เปรียบเทียบคนที่ฝึกสมาธิเป็นประจำนานหลายๆ ปีกับคนที่ไม่เคยฝึกสมาธิเลย
    ผลการศึกษาพบว่า สมองส่วนนอก (cerebral cortex) หลายส่วนของคนที่ฝึกสมาธิ ซึ่งรวมทั้งส่วนที่ควบคุมอารมณ์มีความหนามากกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกสมาธิ ซึ่งมีแนวโน้มจะเสื่อม และบางลงตามอายุที่มากขึ้น
    ...
    ดอกเตอร์ริเชิร์ด เดวิดซัน และคณะนักวิจัยจากแมดิซัน วิสคอนซิน ทำการศึกษาสมองของพระในพระพุทธศาสนาที่ฝึกสมาธิเป็นประจำนานหลายๆ ปี
    ผลการศึกษาพบว่า คนที่ฝึกสมาธิเป็นประจำมีความสุขมากกว่า จดจ่อกับงานหรือมีสมาธิดีกว่า นอกจากนั้นสมองส่วนที่ควบคุมความรู้สึกและสมาธิก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
    ...
    การศึกษาอีกรายงานหนึ่งเปรียบเทียบคนทำงานสำนักงาน (office workers) ที่ฝึกสมาธิและฝึกเทคนิคคลายเครียด เช่น ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายทีละส่วนช้าๆ ฯลฯ เป็นประจำ
    ผลการศึกษาพบว่า สมองมีการทำงานตอบสนองไปในทางที่มีความสุขมากขึ้น และใฝ่รู้ (enthusiasm) มากขึ้น
    ...
    กลไกในด้านดีของการฝึกสมาธินั้น... ผู้เขียนขออนุญาตคัดลอกคำกล่าวของศาสตราจารย์วิลเลียมส์มาดังต่อไปนี้
    [ ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความคัดลอก ]
    "It involves dealing with expectations, with constantly judging ourselves - feeling we're not good enough," he said.
    ...
    "And, that is something which is so widespread in our communities.
    "All of these things are just thoughts. And, they will come up in meditation and learning to recognize what they are as thoughts, and let them go, can be enormously empowering for anybody."
    [ จบข้อความคัดลอก ]
    ...
    ต่อไปจะขอแปลคำกล่าวของท่านอาจารย์วิลเลียมส์เป็นไทย "การฝึกสมาธิช่วยให้คนเราเรียนรู้เกี่ยวกับ "ความคาดหวัง"...
    ปกติคนเราจะชอบตัดสิน หรือพิพากษาตัวเอง ทำให้เกิดความรู้สึกผิดแบบที่กล่าวได้ว่า "เรา(ผิดเพราะ...)ยังดีไม่พอ" , "เรามันไม่ดีเอง" หรือตำหนิตัวเองซ้ำๆ ซากๆ
    ...
    โรค "คาดหวังมากเกิน" ระบาดไปทั่วสังคมของเรา(ทำให้เครียด ท้อแท้ ซึมเศร้า - ผู้แปล) เมื่อฝึกสมาธิ และกำหนดรู้... เราจะพบว่า ความคิดก็เป็นเพียงความคิด เป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งควรรู้จัก กำหนดรู้
    การฝึกสมาธิแบบนี้ช่วยให้คนเราเข้าใจชีวิตมากขึ้น"
    ...
    ทุกวันนี้มีการนำการฝึกสมาธิกำหนดลมหายใจมาใช้ในการป้องกัน และควบคุมโรคความดันเลือดสูงแล้ว
    ฝรั่งเขาทำเครื่องมือฝึกหายใจราคาแพงออกมาจำหน่าย เราฝึกเองได้โดยการหายใจช้าๆ เบาๆ ไม่เกิน 10 ครั้งต่อนาที วันละ 15 นาทีขึ้นไปทุกวัน เช่น หายใจเข้าช้าๆ นับ "1-2-3" หายใจออกช้าๆ นับ "4-5-6-7"
    ...
    ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
    ...
    [​IMG]
    ที่มา
    • Thank BBC > Naomi Law > Scientist probe meditation secrets > [ Click ] > March 31, 2008.
    • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
    • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
    • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT > สนับสนุนเทคนิค iT.
    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 1 เมษายน 2551 > 23 กันยายน 2551.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]



    ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา

    ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ

    สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้
    วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา ก็ได้
    ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา


    ภาวนาอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรง หักล้างความไม่มีเหตุผลของตนได้ดี

    ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผล อันจะเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังมิได้รับการอบรมจากภาวนา จึงเปรียบเหมือนสัตว์ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด ยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร จำต้องฝึกหัดให้ทำประโยชน์ถึงจะได้รับประโยชน์ตามควร

    ใจจึงควรได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของตัว จะเป็นผู้ควรแก่การงานทั้งหลาย ทั้งส่วนเล็กส่วนใหญ่ ภายนอกภายใน ผู้มีภาวนาเป็นหลักใจ จะทำอะไรชอบใช้ความอ่านเสมอไม่เสี่ยงและไม่เกิดความเสียหายแก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้อง การภาวนาจึงเป็นงานเพื่อผลในปัจจุบันและอนาคต การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของผู้มีภาวนาจะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญ เล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผลถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่เปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากดั้งเดิมเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหาซึ่ง
    ไม่เคยสนใจต่อความผิด ถูก ดี ชั่ว พาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย ถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลย แล้วของเก่าก็เสียไป ของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันฟื้นคืนตัวได้ ฉะนั้นการภาวนา จึงเป็นเครื่องหักล้างความไม่มีเหตุผลของตนได้ดี วิธีภาวนานั้นลำบากอยู่บ้างเพราะเป็นวิธีบังคับใจ

    วิธีภาวนา คือ การสังเกตจิตที่อยู่ไม่เป็นสุข ด้วยสติตามรู้การเคลื่อนไหวของจิต โดยบริกรรมธรรมบทที่ให้ผลดี

    วิธีภาวนา ก็คือ วิธีสังเกตตัวเอง สังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิก ไม่อยู่เป็นปกติสุขด้วยมีสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุขในขณะภาวนา ที่ให้ผลดีก็มีอานาปานสติ คือ กำหนดจิตตามลมหายใจเข้าออกด้วยคำภาวนา “พุทโธ” พยายามบังคับใจให้อยู่กับอารมณ์แห่งธรรมบทที่นำมาบริกรรมขณะภาวนา พยายามทำอย่างนี้เสมอด้วยความไม่ลดละความเพียร จิตที่เคยทำบาป หาบทุกข์อยู่เสมอจะค่อยรู้สึกตัว และปล่อยวางไปเป็นลำดับ มีความสนใจหนักแน่นในหน้าที่ของตนเป็นประจำ จิตที่สงบตัวลงเป็นสมาธิเป็นจิตที่มีความสุขเย็นใจมาก และจำไม่ลืม ปลุกใจให้ตื่นตัวและตื่นใจได้อย่างน่าประหลาด

    การภาวนาแก้ไขปัญหาใจทุกประเภท ผู้เป็นหัวหน้างานหรือมีภารกิจมากควรหันมาฝึกใจอย่างยิ่ง

    เมื่อพูดถึงการภาวนา บางท่านรู้สึกเหงาหงอยน้อยใจว่า ตนมีวาสนาน้อยทำไม่ไหวเพื่อกิจการยุ่งยาก ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน ตลอดงานสังคมต่าง ๆ ที่ต้องเป็นธุระจะมานั่งหลับตาภาวนาอยู่เห็นจะไม่ทันกินกับโลกเขา ทำให้ไม่อยากทำประโยชน์ที่ควรได้จึงเลยผ่านไป ควรพยายามแก้ไขเสียบัดนี้

    แท้จริงการภาวนา คือ วิธีแก้ความยุ่งยากลำบากใจทุกประเภทที่เป็นภาระหนักให้เบาและหมดสิ้นไป ได้อุบายมาแก้ไขไล่ทุกข์ออกจากตัว การอบรมใจด้วยการภาวนาก็เป็นวิธีหนึ่งแห่งการรักษาตัว เป็นวิธีที่เกี่ยวกับจิตใจผู้เป็นหัวหน้างานทุกด้าน

    ใจ คือ นักต่อสู้จนไม่รู้จักตาย หากปล่อยไปโดยไม่มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้งคงไม่ได้รับความสุข แม้จะมีสมบัติก่ายกอง

    จิต จำต้องเป็นตัวการรับภาระแบกหาม โดยไม่คำนึงถึงความหนักเบาว่าชนิดใดพอยกไหวไหม จิตต้องรับภาระทันที ดี ชั่ว ผิด ถูก หนัก เบา เศร้าโศกเพียงใดบางเรื่องแทบเอาชีวิตไปด้วย ขณะนั้นจิตใจยังกล้าเอาตัวเข้าเสี่ยงแบกหาจนได้ มิหนำซ้ำยังหอบเอามาคิดเป็นการบ้านอีก จนนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ก็มี คำว่าหนักเกินไป ยกไม่ไหว เกินกำลังใจจะคิดและต้านทานนั้นไม่มี

    งานทางกาย ยังมีเวลาพักผ่อนนอนหลับ และยังรู้ประมาณว่า ควรหรือไม่ควรแก่กำลังของตนเพียงใด ส่วนงานทางใจไม่มีเวลาได้พักผ่อนเอาเลย พักได้เล็กน้อยขณะนอนหลับเท่านั้น แม้เช่นนั้นจิตยังอุตส่าห์ทำงานด้วยการละเมอเพ้อฝันต่อไปอีก ไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่าง ๆ นั้นควรแก่กำลังของใจเพียงใด เมื่อเกิดอะไรขึ้น ทราบแต่ว่าทุกข์เหลือทน ไม่ทราบว่าทุกข์เพราะงานหนัก และเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลังใจจะสู้ไหว

    ใจ คือ นักต่อสู้ ดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง สู้จนไม่รู้จักตาย หากปล่อยไปโดยไม่มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้ง คงไม่ได้รับความสุข แม้จะมีสมบัติก่ายกอง

    ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียวความอยากของใจจะพยายามมหาทรัพย์ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลกเศษเดนและกองสมบัติเดนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรแก้จิตใจแม้แต่นิด ความทุกข์ทรมาน ความอดทน ทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

    จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแลด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิตอันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะ ก็คือ ภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควรตรวจดูจิตว่ามีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต คือ นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่าคิดอะไรบ้าง ในวันและเวลาที่นั่ง ๆ มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิดถูกของตัวบ้างไหม

    พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารร่างกายมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดลงไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ตายแล้วจะเสียการ ให้ท่องอยู่ในใจเสมอว่าเรามีความแก่ เจ็บ ตายอยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน ป่าช้าอันเป็นที่เผาศพภายนอก และป่าช้าที่ฝังศพภายในคือตัวเราเอง เป็นป่าช้า ร้อยแปดพันเก้าแห่งศพที่นำมาฝังหรือบรรจุจะอยู่ในตัวเราตลอดเวลา ทั้งศพเก่าศพใหม่ทุกวัน

    พิจารณาธรรมสังเวช พิจารณาความตายเป็นอารมณ์ย่อมมีทางถอดถอน ความเผลอเย่อหยิ่งในวันในชีวิต และวิทยฐานะต่าง ๆ ออกได้ จะเห็นโทษแห่งความบกพร่องของตัวและพยายามแก้ไขได้เป็นลำดับ มากกว่าจะไปเห็นโทษของคนอื่นแล้วมานินทาเขา ซึ่งเป็นความไม่ดีใส่ตน

    นี่คือการภาวนา คือ วิธีเตือนตน สั่งสอนตน ตรวจตราดูความบกพร่องของตนว่าควรแก้ไขจุดใด ตรงไหนบ้าง ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่อย ๆ ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้างด้วยการรำพึงในอิริยาบถต่าง ๆ บ้าง ใจจะสงบเย็น ไม่ลำพองผยองตัวและความทุกข์มาเผาลนตัวเอง เป็นผู้รู้จักประมาณในหน้าที่การงานที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว ทั้งทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็นหายนะต่าง ๆ

    คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มีมากมายไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นได้

    ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้ มาอยู่ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติอย่างแท้จริง


    ประโยชน์ของการฝึกสมาธิภาวนา ตามหลักศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ คือ

    ๑. สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสุขในปัจจุบัน หรือเพื่อพักผ่อนจิต (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร)
    ๒. สมาธิภาวนาเพื่อการได้ญาณทัสสนะ คือการได้ญาณวิเศษเช่นมีหูทิพย์ ตาทิพย์เป็นต้น ยังถือเป็นขั้นต้นเท่านั้น
    ๓. สมาธิภาวนาเพื่อสติและสัมปชัญญะ คือเพื่อให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดว่าถูกต้องหรือไม่ ทำอะไรด้วยความรอบคอบและยั้งคิด
    ๔. สมาธิภาวนาเพื่อความสิ้นไปซึ่งอาสวะ นั่นก็คือดับกิเลสทั้งปวงได้หมด เพื่อบรรลุนิพพาน
    ประโยชน์ของการฝึกสมาธิภาวนา-ในภาษาชาวบ้าน
    ที่เห็นได้ชัดเจนในระดับแรกคือ ทำให้จิตใจที่เคยว้าวุ่น กลับมาเป็นสงบเยือกเย็น คนที่เคยเอาแต่ใจตัวเองเป็นคนอารมณ์ร้อนฉุนเฉียวมาก่อน ก็ทำให้เป็นคนหนักแน่นมีเหตุผลมากขึ้น ไม่โกรธง่ายและรู้จักระงับอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีจิตใจงาม ยังผลให้สภาพจิตโดยทั่วไปมีแต่ความปลอดโปร่ง ผ่องใส และบ่งบอกได้จากใบหน้าที่อิ่มเอิบ หรือจะว่าแก่ช้าลงก็ไม่ว่า เพราะว่าการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ดำเนินไปด้วยความมีระเบียบและทำงานช้าลง นั่นก็คือคนที่ฝึกสมาธิภาวนา จะมีผลพลอยได้ทำให้แลดูอ่อนกว่าไว

    ในระดับที่ดีขึ้นมาอีกนิดหนึ่งก็คือ ช่วยรักษาโรคภายในกายเราได้ และทำให้ร่างกายเราแข็งแรง เพราะการที่สภาพจิตที่ผ่านการฝึกสมาธิ จะทำให้กระแสคลื่นความถี่ในสมองมีระเบียบ ไม่กระจัดกระจาย เมื่อมีระเบียบก็มีพลังงานที่แรงกว่าคนปกติ ทำให้การใช้ความคิดในเรื่องใดๆ ก็ตาม สามารถขบปัญหาได้แตกและว่องไว ส่วนด้านการเดินพลังงานในจักรตามจุดต่างๆ ของร่างกายก็เป็นการทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง สุขภาพกายก็แข็งแรง โรคภัยก็ไม่ค่อยเบียดเบียน

    ในระดับที่สูงขึ้นไปก็คือ ทำให้ล่วงรู้ในอดีต อนาคต และเห็นความเป็นไปของสิ่งต่างๆ ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องแล้วแต่ความบริสุทธิ์ของระดับสมาธิภาวนา ที่เป็นเช่นนี้เพราะจิตเรานิ่งและว่าง สามารถใช้พลังของจิตเพ่งกำหนดรู้ไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะได้คำตอบในเรื่องนั้นๆเอง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อความหลุดพ้นก็ตาม และนั่นก็คือเป็นการขัดเกลากิเลส และทำให้เกิดปัญญาที่แท้จริงเข้าใจต่อสภาพของสิ่งต่างๆ ก่อนที่จะก้าวเข้าไปสู่ขั้นสูงสุด

    ในระดับที่สูงที่สุดก็คือ ช่วยเพิ่มบุญ หรือเรียกว่าเป็นการสั่งสมกรรมดีให้มีกระแสเพิ่มขึ้นในตัวเราเอง กรรมดีนี้จะส่งผลแรงได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับระดับของการทำสมาธิ ความจริงบุญที่เกิดจากสมาธินี้แม้ในระดับต้นๆ ที่จิตสงบก็เรียกว่าได้บุญแล้ว และกรรมดีนี่เองที่จะช่วยลดทอนแรงแห่งกระแสกรรมชั่วที่เราได้เคยทำไว้ในอดีตให้มีอำนาจน้อยลง หรือตามให้ผลไม่ทัน เพราะอำนาจกรรมดีที่เพิ่มขึ้นจะคอยเติมให้อยู่เสมอ แต่ถ้าทำได้จนถึงขั้นสูงสุดเรียกว่าบรรลุนิพพาน ก็คือหลุดพ้นจากอำนาจแห่งกรรมได้ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป


    http://community.buddhayan.com/index.php?topic=617.0

    --------------------------------------------------------------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...