เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 11:34
    อังกฤษสั่งพลเมืองในกรีซพร้อมอพยพ
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    อังกฤษเตือนพลเมืองที่อยู่ในกรีซให้ไปขึ้นทะเบียนที่สถานกงสุล เตรียมพร้อมที่จะอพยพออกจากกรีซตลอดเวลาหลังเหตุประท้วงบานปลาย

    เว็บไซท์แท็บลอยด์ เดลีเมล ของอังกฤษ รายงานว่า ชาวอังกฤษที่อยู่ในประเทศกรีซ ได้รับการเตือนเมื่อวันอาทิตย์ว่า พวกเขาอาจจำเป็นต้องอพยพ และคำเตือนนี้ มีขึ้นในช่วงที่รัฐมนตรีคลังในกลุ่มยูโรโซน กำลังเตรียมตัดสินใจว่าจะอนุมัติเงิน 130,000 ล้านยูโร ภายใต้แพ็คเกจช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของกรีซหรือไม่

    นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า ได้เรียกร้องให้ชาวอังกฤษในกรีซ ไปขึ้นทะเบียนไว้ที่สถานกงศุล เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถแจ้งแผนการล่าสุด เกี่ยวกับการอพยพพลเมืองได้รายวัน ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ จากการที่มีเหตุจลาจลลุกลามไปทั่วประเทศ ท่ามกลางความวิตกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า กรีซอาจจะผิดนัดชำระหนี้ และกำลังถูกบีบออกจากกลุ่มยูโรโซน

    นายเฮก กล่าวว่า การให้เงินช่วยเหลือมีความสำคัญต่อทั้งกรีซและยูโรโซน แต่อังกฤษเตือนว่า ได้มีการเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าในกรณีที่จำเป็นต้องช่วยเหลือชาวอังกฤษ ด้านนายอลิสแตร์ เบิร์ท รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ได้เรียกร้องให้ชาวอังกฤษที่อยู่ในกรีซ ไปขึ้นทะเบียนไว้ที่สถานกงสุล เพื่อจะได้ง่ายต่อการตามตัวในกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

    โอกาสที่จะเกิดความระส่ำระสายในกรีซ ทวีความเป็นไปได้ขึ้นมาอีก เมื่อเยอรมนี ถูกกล่าวหาว่า พยายามทำลายประชาธิปไตยในกรีซ โดยคณะรัฐมนตรีคลังในกลุ่มยูโร ที่กำลังอยู่ระหว่างการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ จะพิจารณาข้อเสนอของเยอรมนี ที่จะไม่ให้อนุมัติเงินช่วยเหลือแก่กรีซ เว้นแต่ว่า กรีซ จะเลื่อนการเลือกตั้ง ที่กำหนดจะมีขึ้นในเดือนเมษายนออกไปก่อน

    นายวูลฟ์กัง ชอยเบิล รัฐมนตรีคลังของเยอรมนี ต้องการให้รัฐบาลกรีซชุดปัจจุบัน ทำหน้าที่ต่อไป เพื่อเป็นหลักประกันว่า มาตรการรัดเข็มขัดจะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งภายใต้แผนการนี้ เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมาธิการยุโรป (อียู) ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี)และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)จะตั้งสำนักงานถาวรในกรุงเอเธนส์ เพื่อตรวจสอบการควบคุมการใช้จ่ายแบบรายวัน

    แต่ก็ถูกประนามจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เช่น นายปีเตอร์ โบน ส.ส.พรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษ ระบุว่า กรีซ เป็นถิ่นกำเนิดของประชาธิปไตย แต่ตอนนี้ กลับมีสภาพเหมือนถูกขอให้สละอำนาจอธิปไตย เพื่อไม่ให้ถดถอยลงไปมากกว่านี้ แต่นี่คือสูตรสำเร็จของความหายนะ
    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20120220/437126/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%9E.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2012
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 13:55
    สหรัฐปรามอิสราเอลอย่ารีบร้อนโจมตีอิหร่าน
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    สหรัฐปรามอิสราเอลไม่ให้รีบร้อนโจมตีอิหร่านในเวลานี้ ท่ามกลางกระแสความวิตกว่าอิสราเอลจะชิงลงมือก่อน

    เว็บไซท์หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ของอังกฤษ รายงานว่า สหรัฐกำลังเพิ่มความพยายามที่จะโน้มน้าว ไม่ให้อิสราเอลโจมตีที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อีกทั้งเสียงเตือนอย่างแข็งกร้าวจากพลเอกมาร์ติน เดมซีย์ ประธานเสนาธิการทหารร่วม ที่ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ว่า การโจมตีอิหร่านในเวลานี้ ถือเป็นความไม่รอบคอบและจะยิ่งทำลายเสถียรภาพ

    ความเห็นของพลเอกเดมซีย์ ยิ่งทำให้เกิดการคาดการณ์ที่เข้มข้นยิ่งขึ้นเกี่ยวกับแผนการทางทหารของอิสราเอล แต่เขากล่าวว่า เขาไม่ได้สันนิษฐานในเรื่องนี้ เพียงแต่ต้องการโน้มน้าวให้อิสราเอลคล้อยตามว่าความเห็นของสหรัฐนั้นถูกต้อง ซึ่งสหรัฐและอิสราเอลกำลังอยู่ระหว่างการหารือกันอย่างตรงไปตรงมา

    นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ขานรับความวิตกของพลเอกเดมซีย์ โดยกล่าวว่า ยังไม่เหมาะที่อิสราเอลจะใช้ปฏิบัติการทางทหารต่ออิหร่านในเวลานี้ โดยในโอกาสที่เขาให้สัมภาษณ์ทั้งหนังสือพิมพ์และรายการของบีบีซี ที่มีนายแอนดรูว์ มาร์ เป็นพิธีกรว่า เขาคิดว่า อิราเอลก็เหมือนคนอื่น ๆ ในโลก ที่ควรจะเลือกโอกาสที่มีอยู่มาใช้ ทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วง และการกดดันทางการทูต และความพร้อมที่จะเปิดการเจรจากับอิหร่าน

    นายเฮก ยังกล่าวถึงกรณีที่มีชาวอิหร่านพยายามโจมตีเป้าหมายที่เป็นชาวอิสราเอลในกรุงนิวเดลี ของอินเดีย กรุงทบิลิซี ของจอร์เจียและกรุงเทพฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่แสดงให้เห็นว่า อิหร่านกำลังหันไปเคลื่อนไหวดำเนินการที่ผิดกฎหมายอย่างสุดกู่ในพื้นที่หลายส่วนของโลก

    อิหร่าน เพิ่งจะประกาศตัดการส่งออกน้ำมันไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส หลังจากเตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า อาจจะตัดการส่งออกน้ำมันไปยังเนเธอร์แลนด์ กรีซ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน และอิตาลี เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ( ไอเออีเอ ) มีกำหนดเดินทางถึงกรุงเตหะรานในวันนี้ เพื่อเจรจารอบล่าสุด เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน หลังจากถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปยังที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์และพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ของอิหร่านระหว่างการเยือนเมื่อเดือนที่แล้ว

    ประธานเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐ ทราบดีว่า อิสราเอล เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ปฏิบัติการทางทหาร ต่อที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ก่อนที่อิหร่านจะย้ายหนีลงไปใต้ดิน ที่นายเอฮุด บารัค รัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอล ซึ่งเชื่อว่าต้องการให้ปฏิบัติการโจมตีทางทหาร ได้เรียกที่ซ่อนนิวเคลียร์ของอิหร่านว่า " เขตคุ้มกัน "

    พลเอกเดมซีย์ ที่ไปเยือนอิสราเอลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อเตือนให้อิสราเอลใช้ความอดกลั้น โดยระบุว่า การใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของประชาคมนานาชาติ และการกดดันทางการทูต กำลังเริ่มจะได้ผล แต่เมื่อถูกถามว่า เขาจะขอร้องไม่ให้อิสราเอล โจมตีอิหร่านหรือไม่ พลเอกเดมซีย์ตอบว่า เขาไม่ใช่คนที่ชอบขอร้องใคร

    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20120220/437164/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2012
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    โอบามาเชิญนายกฯ ยิวเยือนทำเนียบขาวถกประเด็นปัญหาร่วมกัน 5 มี.ค.นี้
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กุมภาพันธ์ 2555 09:12 น.
    [​IMG]
    นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอล

    เอเอฟพี - ทำเนียบขาวเผย ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ เชิญนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลเยือนทำเนียบขาว เพื่อเจรจาหารือกันในวันที่ 5 มีนาคมนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดกับอิหร่านที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

    คำเชิญดังกล่าวมาจากทอม โดนิลอน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ในระหว่างเดินทางเยือนอิสราเอลเป็นเวลา 3 วัน เพื่อร่วมเจรจากับนายกฯ เนทันยาฮู รัฐมนตรีกลาโหมเอฮุด บารัก และเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆ ของอิสราเอล

    ทำเนียบขาวแถลงว่า โดนิลอนถ่ายทอดกับผู้นำอิสราเอลว่า ประธานาธิบดีโอบามาหวังที่จะพบปะหารือกับเขาที่ทำเนียบขาวในวันที่ 5 มีนาคมนี้

    เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สำนักนายกฯ อิสราเอลเผยว่า ผู้นำจะเดินทางเยือนสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนมีนาคม แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการระบุวันที่แน่นอน และการยืนยันการเจรจากับผู้นำสหรัฐฯ

    สำหรับการเดินทางเยือนทำเนียบขาวของผู้นำยิวจะมีขึ้นหลังจากการเจรจาแบบหยั่งเชิงหลายรอบระหว่างผู้แทนเจรจาของอิสราเอล และปาเลสไตน์ รวมทั้งเกิดขึ้นท่ามกลางการคาดการณ์ว่าอิสราเอลมีแผนโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน

    ในระหว่างเยือนกรุงวอชิงตันนั้น เนทันยาฮูยังจะกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมคณะกรรมาธิการด้านประเด็นสาธารณะอเมริกัน-อิสราเอลประจำปี (AIPAC) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม โดยประธานาธิบดีชิมอน เปเรซของอิสราเอลก็จะพูดในที่ประชุมดังกล่าวเช่นกัน

    การเดินทางเยือนสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดของเนทันยาฮูคือเมื่อปลายเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมา เมื่อเขาเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ขณะที่ปาเลสไตน์ยื่นขอเป็นสมาชิกยูเอ็น ซึ่งรัฐยิว และวอชิงตันคัดค้าน โดยผู้นำอิสราเอลได้หารือกับโอบามานอกรอบการประชุมดังกล่าวด้วย
    Around the World - Manager Online -
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ศาล รธน.ลงมติ 2 พ.ร.ก.กู้เงินไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
    [​IMG]


    ตุลาการศาล รธน.มีมติเป็นเอกฉันท์ การออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ ของรัฐบาลไม่ขัด รธน. มาตรา 184 วรรค 1 และ วรรค 2 ส่วน พ.ร.ก.เงินกู้ช่วยกองทุนฟื้นฟูฯ มีมติ 7 ต่อ 2 ไม่ขัด รธน.เช่นกัน

    เมื่อเวลา 14.00 น.คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยการออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 เป็นกรณีเร่งด่วนและเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า การออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 ของรัฐบาลเป็นเรื่องเร่งด่วน และมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรค 1 และ วรรค 2

    ส่วน พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลัง กู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 มีความจำเป็นเร่งด่วน เพราะต้องใช้ให้สอดคล้องกันกับ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 จึงมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน และจำเป็น จึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ 148 วรรค 1 และ วรรค 2

    Politics - Manager Online -
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 07:02
    ทรอยกาวิเคราะห์กรีซจ่ายคืนหนี้ลำบาก
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    ทรอยกาวิเคราะห์ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ของกรีซค่อนข้างยากลำบากและอาจลดภาระหนี้ของประเทศลงเหลือ120%ของจีดีพีไม่ได้ตามเป้า

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) และคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ได้จัดทำบทวิเคราะห์ภาระหนี้ของกรีซ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลกรีซจะประสบความยากลำบากในการลดภาระหนี้ลงสู่ระดับ 120 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2563 ตามเป้าหมาย

    บทวิเคราะห์ ความยาว 9 หน้า จัดทำเมื่อวันพุธที่ 15 ก.พ. และได้ยื่นต่อที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป)เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า จะลงนามในมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 สำหรับกรีซหรือไม่ ระบุถึง สถานการณ์พื้นฐาน ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต คือการที่กรีซปรับลดภาระหนี้ลงสู่ระดับ 129 % ของจีดีพีภายในปี 2563 แต่กรีซจะทำได้ ก็ต่อเมื่อ มีการปฏิบัติตามมาตรการปฏิรูปโครงสร้าง ภาระผูกพันทางการคลัง และโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

    ความกังวลที่สำคัญคือ โครงการเหล่านี้ อาจไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความล่าช้า ในการปฏิรูปโครงสร้างและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จะส่งผลให้เศรษฐกิจกรีซ ถดถอยลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้หนี้สินพุ่งสูงขึ้นมาก และทำให้กรีซ มีภาระหนี้ในสัดส่วนราว 160 % ของจีดีพีในปี 2563 รายงานยังระบุด้วยว่า เมื่อพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆแล้ว มาตรการช่วยเหลือกรีซ จึงยังคงมีแนวโน้มที่จะประสบกับอุบัติเหตุ และมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความยั่งยืนของโครงการ

    นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ของกรีซอาจต้องใช้ทุนเพิ่มเติมจำนวน 5 หมื่นล้านยูโร ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ครั้งก่อนราว 1 หมื่นล้านยูโร โดยรายงานวิเคราะห์หลายฉบับของหน่วยงานภายนอกบ่งชี้ว่า สถานการณ์จะอยู่ในภาวะเลวร้ายกว่าที่คาด

    รายงานระบุว่า ถ้าหากกรีซสามารถปรับลดหนี้ลงสู่ 120 % ของจีดีพี ภายในปี 2563 กรีซก็จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากภาคเอกชน และภาครัฐบาล โดยการลดภาระหนี้ลงต่อไปสามารถกระทำได้ 4 วิธีด้วยกันคือ ปรับโครงสร้างดอกเบี้ยค้างรับของพันธบัตรใหม่ที่จะนำมาใช้ ในโครงการแลกเปลี่ยนพันธบัตร การทำเช่นนี้จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีลดลงไปอีก 1.5 % และทำให้ภาระในการจ่ายเงินช่วยเหลือของรัฐบาลลดลง 5 พันล้านยูโร

    ลดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ปล่อยให้แก่กรีซภายใต้โครงการ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบแรกในเดือนพ.ค. 2553 ซึ่งถ้าหากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลดลงสู่ 2.10 % ก็จะช่วยลดภาระหนี้ลงได้อีก 1.5 % ภายในปี 2563

    ธนาคารกลางของประเทศสมาชิกยูโรโซนที่ถือครองพันธบัตรกรีซ เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้างหนี้เหมือนกับเจ้าหนี้เอกชน จะช่วยลดภาระหนี้ลงได้ราว 3.5 % หลังจากมีการปรับตัวเลขตามจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในการเพิ่มทุนธนาคารกลางกรีซ

    อีซีบี โอนผลกำไรที่ได้รับจากการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ไปให้แก่ธนาคารกลางของประเทศประเทศสมาชิกยูโรโซน และมีการนำผลกำไรดังกล่าว ไปหักลบกับภาระหนี้ของกรีซ จะส่งผลให้ภาระหนี้ของกรีซลดลงไปอีก 5.5 % ภายในปี 2563 และภาระในการจ่ายเงินช่วยเหลือของรัฐบาลลดลงราว 5 พันล้านยูโร

    โดยรวมแล้ว ทรอยกา มองว่า ทางการกรีซ อาจจะไม่สามารถปฏิรูปโครงสร้างและปรับนโยบายได้เร็วเท่าที่คาดการณ์ไว้ในสถานการณ์พื้นฐาน และแนวโน้มหนี้กรีซ ในอนาคต อาจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากความล่าช้าในโครงการ

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...7556/ทรอยกาวิเคราะห์กรีซจ่ายคืนหนี้ลำบาก.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
    กาแฟดำ
    ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม หรือระเบิด... หัวใจคือเขาเชื่อมั่นฝีมือบริหารหรือไม่
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    ข่าวต่างประเทศอ้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงอิสราเอล ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย

    ระบุว่าอิหร่าน และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ในเลบานอน กำลังวางแผนโจมตีอิสราเอล ในต่างประเทศหนักหน่วงขึ้น แต่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงลงไปว่าประเทศไหนบ้างที่ตกเป็นเป้าหมาย

    นักวิเคราะห์ข่าวกรองประเมินจากการเก็บข้อมูล ที่สอบสวนเหตุระเบิดโจมตีนักการทูตอิสราเอลในอินเดีย และความพยายามโจมตีในจอร์เจียและไทยซึ่งล้มเหลว

    ทั้งสามเหตุการณ์นั้น อิสราเอลกล่าวหาว่าเป็นฝีมืออิหร่าน โดยคาดว่ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ลงมือในนามอิหร่าน

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า นักการทูตหญิงชาวตะวันตกที่ไม่ขอระบุชื่อและสัญชาติได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์เหตุระเบิดในประเทศไทย

    เธอบอกว่าที่กังวลเกี่ยวกับไทยก็เพราะเจ้าหน้าที่ไทยมักทำเป็นว่าสถานการณ์ไม่ร้ายแรง ดังนั้น "หากใครบางคนอยากก่อเหตุโจมตี ก็สามารถทำได้เลย ไม่ยุ่งยากอะไรที่จะก่อเหตุโจมตีระดับที่ใหญ่กว่าเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ด้วยซ้ำไป"

    น่าสนใจว่าความคิดเห็นจากข้างนอกเกี่ยวกับไทยนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณี "อภิมหาอุทกภัย" หรือ "ระเบิดกลางกรุงวันวาเลนไทน์" มีความละม้ายกันตรงที่ว่าเขาอยากเชื่ออย่างที่รัฐบาลไทยยืนยัน

    และเขาก็เชียร์ให้รัฐบาลไทยทำให้ได้ตามที่รับปากด้วย

    แต่ลึกๆ แล้ว เขามีคำถามมากมายว่า "ของจริง" จะทำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเขาถามไถ่เรียกร้องรายละเอียดของแผนงานการป้องกันและจัดการปัญหาเรื่องใหญ่ๆ อย่างนี้แล้ว ยังไม่มีอะไรที่สร้างความมั่นใจให้กับเขาได้

    "ความมั่นใจ" หรือ "ความเชื่อถือ" เป็นหัวใจของการสร้างความเชื่อมั่น ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ
    สำหรับคนไทยนั้นอาจจะแบ่งเป็นคนที่เชื่อรัฐบาล ไม่ว่าจะแถลงออกมาอย่างไร

    กับคนกลุ่มที่ไม่เชื่อรัฐบาล ไม่ว่าจะชี้แจงออกมาอย่างไร

    แต่ผมก็ยังเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่นั้นยังพร้อมจะให้โอกาสรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาใหญ่ๆ ที่กระทบความมั่นใจนักลงทุน นักท่องเที่ยว และผู้หวังดีกับบ้านเมือง

    แต่การ "พร้อมจะให้โอกาส" นั้น มีเงื่อนไขว่ารัฐบาลจะต้องตอบสนองด้วยการปฏิสัมพันธ์กับสาธารณชนอย่างตรงไปตรงมา และมีแผนงานระยะสั้น กลาง และยาวที่มีความชัดเจนโปร่งใส และสามารถวัดผลได้ในแต่ละขั้นตอน

    นักลงทุนต่างชาตินั้นส่วนใหญ่ก็คงอยากจะอยู่ในไทยต่อไปหากเขาสามารถยืนยันกับผู้บริหารที่สำนักงานใหญ่ว่ามีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าเรื่องร้ายๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติธรรมชาติหรือเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการแก่งแย่งอำนาจการเมืองในประเทศหรือการก่อการร้ายสากล) นั้น รัฐบาลไทยมีแผนแน่นอนที่จะเอาอยู่ให้ได้

    ถึงวันนี้ยังไม่อาจจะบอกได้ว่ารัฐบาลไทยสามารถจะสร้างความเชื่อมั่นเช่นนั้นได้

    ผมเจอนักหนังสือพิมพ์ต่างชาติ ในภูมิภาคนี้หลายคนวันก่อนระหว่างเดินทาง...นักข่าวญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ยืนยันกับผมว่านักลงทุนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่ง เตรียมย้ายฐานการผลิตจากไทยไปอินโดนีเซียและเวียดนามแล้ว

    ไม่ว่ารัฐบาลไทยจะยืนยันมั่นเหมาะเพียงใด หากไม่สามารถพิสูจน์ในทางปฏิบัติได้อย่างจริงจัง พวกเขาก็จะ "กระจายความเสี่ยง" ที่จะไม่ให้การลงทุนมากระจุกที่ไทยแต่เพียงจุดเดียวอีกต่อไป

    ประเด็นความเป็นห่วงเรื่องการก่อเหตุร้ายในไทยก็ทำนองเดียวกัน...นักการทูตและแวดวงข่าวกรองระหว่างประเทศอยากจะให้รัฐบาลไทยมีแผนการป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ชัดเจนด้วยการยอมรับความจริงว่าเรื่องอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้อีกหากไม่มีมาตรการที่แน่นอนชัดเจน

    ถึงวันนี้ นักการทูตเหล่านี้ก็ยังมีคำถามว่าหากทางการไทยพยายามบอกว่านี่เป็นแค่การ "ก่อวินาศกรรม" ที่พุ่งเป้าไปที่ตัวบุคคล ไม่ใช่การ "ก่อการร้ายสากล" จะแปลว่ามาตรการที่จะนำมาใช้จะไม่ขึงขังเข้มข้นเพียงพอสำหรับคนข้างนอกที่ต้องการมาทำกิจกรรมในไทยหรือไม่

    เป็นหน้าที่ของไทยที่จะต้องเผชิญกับ "ของจริง" และตั้งหลักตั้งรับให้เข้มข้นเสียตั้งแต่วันนี้

    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วมหรือระเบิดหรืออะไรอื่นที่เกี่ยวกับ "ความเชื่อมั่น" ในทุกๆ ด้าน

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...…-หัวใจคือเขาเชื่อมั่นฝีมือบริหารหรือไม่.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อิหร่านพร้อมช่วยเหลือไทยระบุตัวผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดในกทม.
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กุมภาพันธ์ 2555 22:15 น.
    [​IMG]
    รามิน เมห์มันปาราสต์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน


    เอเอฟพี - เตหะรานเมื่อวันพุธ(22) แถลงพร้อมให้ความช่วยเหลือระบุตัวผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดหลายจุดในไทยเมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา อันนำมาซึ่งการจับกุมผู้ต้องสงสัยชาวอิหร่านหลายคน

    "อิหร่านพร้อมให้ความช่วยเหลือระบุตัวผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดและนำตัวพวกเขาไปแสดงต่อประชาคมนานาชาติในสัญญาณแห่งความสุจริตใจของเรา" รามิน เมห์มันปาราสต์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไออาร์เอ็นเอ

    โฆษกรายนี้ชี้แจงต่อว่าคำกล่าวอ้างของอิสราเอลที่กล่าวหาอิหร่านอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ บิดเบือนความจริงทุกประการและข้อหล่าวหาเหล่านั้นเป็นการจัดฉากของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและอิสราเอล

    ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของไทยออกหมายจับผู้ต้องสงสัยชาวอิหร่านรายที่ 5 ซึ่งพัวพันกับเหตุระเบิดหลายจุดที่สันนิษฐานว่าเป็นแผนลอบสังหารนักการทูตอิสราเอล โดยผู้ต้องสงสัยวัย 57 ปีรายนี้ถูกตั้งข้อหาครอบครองและผลิตวัตถุระเบิด

    พลเมืองอิหร่าน 2 คน หนึ่งในนั้นสูญเสียขาทั้งสองข้างหลังพลาดทำระเบิดร่วงใส่ตนเองขณะพยายามปาใส่ตำรวจ ถูกควบคุมตัวในไทยและโดนตั้งข้อหาแล้วเช่นกัน ส่วนชายชาวอิหร่านอีกคนถูกตำรวจมาเลเซียจับกุมตัวหลังบินหลบหนีไปยังกัวลาลัมเปอร์

    ด้านสตรีชาวอิหร่านซึ่งเป็นผู้เช่าบ้านซึ่งคาดว่าเหล่าผู้ต้องสงสัยใช้เป็นสถานที่เก็บระเบิด เชื่อว่าน่าจะหลบหนีกลับไปยิงอิหร่านแล้ว

    ตำรวจไทยบอกว่านักการทูตอิสราเอลคือเป้าหมายของแผนโจมตีนี้ และโยงเหตุระเบิดในไทยกับความพยายามลอบสังหารนักการทูตอิสราเอลด้วยระเบิดในอินเดียและจอร์เจีย อย่างไรก็ตามเตหะรานปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

    Around the World - Manager Online -
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
    กาแฟดำ
    คนนอกมาช่วยปรองดองไม่ง่าย... กรณีไทย ‘ปราบเซียน’ มาเยอะแล้ว
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    อดีตเลขาฯ สหประชาชาติ โคฟี อันนัน กับอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ มาร์ตี อาติซารี

    มาเมืองไทยเมื่อสัปดาห์ก่อน พยายามจะศึกษาปัญหาความขัดแย้งของไทย เพื่อเสนอทาง “ปรองดอง” ผ่าน คอป. ที่มี ดร. คณิต ณ นคร เป็นประธาน นักข่าวซักว่าจากประสบการณ์ทั่วโลกที่ผ่านมา ท่านทั้งสองมีคำแนะนำสำหรับประเทศไทยอย่างไร ท่านตอบว่า “ต้องเริ่มที่ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจะต้องถามตัวเองว่าตัวเองจะทำอะไรเพื่อประเทศชาติได้บ้าง” โดยยกตัวอย่างเนลสัน แมนเดลา แห่งแอฟริกาใต้ ที่ยอมเสียสละความรู้สึกส่วนตน เลิกเคียดแค้นชิงชัง และเป็นผู้นำในการสร้างสมานฉันท์ ทั้งๆ ที่ตนติดคุกยาวนานถึง 27 ปีและถูกกลั่นแกล้ง คุกคามอย่างหนักหนาสากรรจ์ตลอด

    ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านที่ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วยกันทั้งคู่ คงเห็นที่อื่นซึ่งเจอปัญหาหน่วงหนักและยาวนานกว่าของไทยมาแล้ว จึงไม่น่าที่ปัญหาของไทยจะยากเย็นเกินเยียวยา แต่เอาเข้าจริงๆ ผมก็หวั่นๆ อยู่เหมือนกันว่ากรณีของไทยเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นเรื่อง “ปราบเซียน” ในระดับสากลก็ได้ เพราะแม้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่ลุกลามไปในส่วนต่างๆ ของสังคมไทยนั้นจะกินเวลามาไม่กี่ปี แต่เพราะความเปราะบางของโครงสร้างสังคมไทย และแนวโน้มที่จะใช้ความ “รู้สึก” มากกว่า “ความรู้” และใช้ “อารมณ์” มากกว่า “ปัญญา” ดังนั้น การแก้ไขเพื่อให้ลุล่วง ให้ก้าวพ้นจากความบาดหมางอย่างฝังลึกจึงอาจจะยากกว่าที่เคยเจอมา เพราะต่างฝ่ายต่างคิดว่าตนต้องยึดเอาอำนาจมาไว้กับตนก่อนที่จะยอมประนีประนอม กระบวนการปรองดองจึงยากยิ่ง...และถึงวันนี้ ก็ยังเป็นเพียงแค่วาทกรรมมากกว่าการกระทำอย่างจริงจังในทางปฏิบัติ

    การที่เราต้องพึ่งพา “ผู้เชี่ยวชาญ” จากข้างนอกในเรื่องนี้ก็สะท้อนแล้วว่าคนไทยกันเองไม่สามารถนั่งลงวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง ไม่อาจจะใช้ “ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติ” ของคนไทยเองในการที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงได้ คนไทยเราเป็นคนแปลก เราภูมิใจเสมอว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร สามารถรักษาเอกราชมาตลอดขณะที่เพื่อนบ้านกลายเป็นเหยื่อของการล่าอาณานิคมเกือบทุกประเทศ แต่พอเกิดปัญหาในประเทศ คนไทยเองกลับใช้ความเป็นอิสรเสรีที่ดิ้นรนต่อสู้มาตลอดนั้นแก้ปัญหาตัวเองไม่ได้ กลับเชื่อว่าต้องหา “คนกลางที่เป็นคนนอก” มาช่วยเป็น “กรรมการ” ในการแก้ปัญหาของเราเอง และแม้เมื่อเรามองหาคนข้างนอกมาช่วยเป็นที่ปรึกษา วิเคราะห์เราในฐานะคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย เอาเข้าจริงๆ ก็อาจจะไม่เกิดผลอะไร เพราะเราก็จะอ้างว่าประเทศไทยเรามีเอกลักษณ์ของเราสูง ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน

    ดังนั้น ความขัดแย้งครั้งนี้แม้ว่าเราจะเชิญคนอื่นเข้ามาให้คำแนะนำบนพื้นฐานของประสบการณ์จากทั่วโลก ก็จะแก้ไขไม่ได้หากคนไทยเองไม่ยอมรับความจริงที่ว่า ไม่มีใครช่วยเราแก้ปัญหาของเราได้ นอกจากตัวเราเอง เพราะไม่มีใครรู้ปัญหาดีเท่ากับเรา ไม่มีใครรู้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วนั้นหนักหน่วงเพียงใด และการวิเคราะห์สาเหตุแห่งความขัดแย้งของเรานั้นไม่มีใครรู้ดีเท่ากับเรา

    อยู่ที่ว่าเราจะตอบคำถามของเขาได้หรือเปล่าว่า “แต่ละฝ่ายในความขัดแย้งจะถามตัวเองว่าจะทำอะไรให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติได้บ้าง”

    ชี้นิ้วทั้งห้ามาที่ตัวเอง ไม่ใช่โยนคำถามนี้ไปถามคู่กรณี เพราะเชื่อว่าตัวเองถูกและอีกฝ่ายหนึ่งผิดมาตลอด

    ผมเชื่ออย่างสุจริตใจว่าหากทุกฝ่ายในความขัดแย้งถามตัวเองง่ายๆ ว่ามีเรื่องจะ “สารภาพผิด” อะไรบ้าง และพร้อมที่จะ “แก้ไขในสิ่งผิด” ที่ตนเองหรือฝ่ายตนได้ทำแล้ว กระบวนการปรองดองจึงจะสามารถเริ่มขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องมี “กรรมการ” มาคอยห้ามมวยไม่ว่าจะเป็นคนไทยกันเองหรือต่างชาติแต่ประการใดทั้งสิ้น
    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20120223/437776/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2...-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E2%80%98%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E2%80%99-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7.html
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 05:58
    ฟิทช์หั่นเครดิตกรีซเหตุเสี่ยงสูงผิดนัดชำระหนี้
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    ฟิทช์ เรตติงส์ ลดอันดับความน่าเชื่อถือกรีซสู่ระดับ C เพราะมองว่ามีโอกาสสูงที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้

    ฟิทช์ เรตติงส์ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซจาก "CCC" สู่ระดับ "C" โดยให้เหตุผลว่า มีโอกาสสูงที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งการลดเครดิตกรีซครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่มีการประกาศรายละเอียดของข้อตกลงสว็อปหนี้กรีซกับเจ้าหนี้เอกชน โดยข้อตกลงระบุว่า ธนาคารและเจ้าหนี้เอกชน ยอมรับการปรับลดมูลค่าหนี้กรีซที่ถือครองอยู่ 1.07 แสนล้านยูโร (1.41 แสนล้านดอลลาร์)

    ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซน ได้บรรลุข้อตกลงในการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรแล้ว โดยมีเป้าหมาย ที่จะช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ และลดหนี้สินของกรีซลงเหลือ 121% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2563

    ขณะที่ นักลงทุนภาคเอกชน ที่ถือครองพันธบัตรของกรีซ เห็นพ้องต้องกันว่า จะยอมรับการขาดทุน เพื่อให้ความช่วยเหลือกรีซ ด้วยการยอมรับเงื่อนไขการปรับลดมูลค่าหน้าตั๋วพันธบัตรของรัฐบาลกรีซลง 53.5% ซึ่งมากกว่าการลดมูลค่าพันธบัตร 50% ที่ตกลงกันไว้ในการประชุมสุดยอดเมื่อเดือนต.ค.

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...ั่นเครดิตกรีซเหตุเสี่ยงสูงผิดนัดชำระหนี้.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  10. tobetruly

    tobetruly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2009
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +427
    ผมกลับมาติดตามอ่านต่อครับจากปีที่แล้วครับ

    ขอบคุณมาก ที่รวบรวมและคัดเลือกข้อมูลมาลงให้ศึกษาครับ
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    คำนูญ เผย ใต้กรุงเทพ มีน้ำมันมหาศาล แฉต่างชาติเตรียมขุดเจาะ


    [​IMG]
    รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ทราบหรือไม่ว่าใน กทม.มีน้ำมันจำนวนมหาศาล ซึ่งในขณะนี้ได้มีบริษัทต่างชาติแห่งหนึ่งได้รับสัมปทานสำรวจแหล่งปิโตรเลียม บริเวณริมถนนพุทธมณฑล สาย 2 เขตทวีวัฒนา

    โดยก่อนหน้านี้จากการสำรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าพบว่ามีน้ำมันจริง และได้ทำการล้อมรั้ว ปรับพื้นที่ ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร และเตรียมขุดเจาะเร็วๆ นี้ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่หลังบ้านตนไปนิดเดียว

    ” ถ้าปริมาณมีมากพอในเชิงพาณิชย์ อะไรจะเกิดขึ้นกับ กทม.โดยรวม อะไรจะเกิดขึ้นกับประชาชนเขตทวีวัฒนา พุทธมณฑล สาย 2 สาย 3 และสาย 4 เขตพื้นที่สีเขียวมีหลักการอย่างไรในการอนุญาตให้มีการสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียม และมีการเตรียมการแก้ไขปัญหาหรือดำเนินการขั้นตอนต่อไปอย่างไร ทั้งในระหว่างการขุดเจาะ ซึ่งทราบว่าจะรู้ผลว่าจะมีมากในเชิงพาณิชย์หรือไม่ภายในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม นี้ จึงขอฝากไปยังรัฐบาลช่วยชี้แจงต่อพี่น้องประชาชน ไม่ใช่เฉพาะเขตทวีวัฒนา แต่ต่อพี่น้องประชาชนใน กทม.โดยรวมด้วย ซึ่งตนจะตั้งกระทู้ถามด่วนต่อ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” นายคำนูณระบุ

    Mthai News<!-- google_ad_section_end -->
    เครดิต http://palungjit.org/threads/war-ro...เพื่อรองรับสถานการณ์ปี-2012-a.288866/page-899
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    S&P หั่นเครดิตกรีซเหลือ “ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน” แม้ยูโรโซนอนุมัติเงินกู้ก้อนใหม่
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กุมภาพันธ์ 2555 08:55 น.

    [​IMG]
    ผู้ชุมนุมประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดหน้ารัฐสภากรีซ


    เอเอฟพี - บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส ปรับลดเครดิตเรตติ้งของกรีซลงอีกครั้งในวันจันทร์ (27) เป็นระดับ SD หรือ “ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน” หลังธนาคารเอกชนยอมลดหนี้ให้เอเธนส์ลงมากกว่าครึ่ง ตามข้อตกลงเงินช่วยเหลือก้อนที่ 2 ของอียู

    เรตติ้งดังกล่าวนั้นต่ำกว่าระดับที่เอสแอนด์พีเคยจัดให้กรีซไว้ก่อนหน้านี้ที่ CC ซึ่งเป็นระดับขยะ ในขณะที่รัฐบาลพยายามหาทางหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ก้อนมหาศาลทั้งหมด ด้วยการเจรจาแลกเปลี่ยนหนี้โดยสมัครใจกับบรรดาเจ้าหนี้ภาคเอกชน

    อย่างไรก็ตาม เอสแอนด์พีชี้ว่า ข้อตกลงที่ไม่แน่นอนระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ ซึ่งจะมีการลดหนี้ลงถึง 53% ในวันอังคาร (21) ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้ต้องปรับลดความน่าเชื่อถือในครั้งนี้

    “เราปรับเครดิตเรตติ้งของกรีซลงเหลือ SD หลังการแทรกแซงมาตรการต่อรอง collective action clauses (CACs) ซึ่งมีผลย้อนหลังของรัฐบาลกรีก ในเอกสารหนี้สาธารณะหลายชุดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2012” สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกระบุ

    เอสแอนด์พีเสริมว่า การแทรกแซงมาตรการซีเอซีซึ่งมีผลย้อนหลังของกรีซนั้นทำให้ข้อตกลงหนี้ดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ที่น่ากังวล ซึ่งจะลดอำนาจในการต่อรองของผู้ถือตราสารหนี้ในอนาคต

    ทั้งนี้ 2 วันหลังบรรลุข้อตกลงในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัฐสภากรีซก็เห็นชอบกฎหมายตัดลดหนี้ครั้งประวัติศาสตร์กับเจ้าหนี้เอกชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในแผนเงินกู้ช่วยเหลือก้อนใหม่จากกลุ่มยูโรโซน

    รัฐบาลหวังว่า เจ้าหนี้ภาคเอกชนเกือบทั้งหมดจะลงนามในข้อตกลงแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ ซึ่งจะทำให้เอเธนส์สามารถวางมาตรการบีบให้เจ้าหนี้ที่เหลือให้ยอมรับข้อแลกเปลี่ยน และการขาดทุนไปด้วยได้

    Around the World - Manager Online - S&P
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
    กาแฟดำ
    จากกรุงเทพฯ สู่ ‘ย่างกุ้ง’ มุ่งเมืองหลวงลี้ลับ ‘เนปิดอว์’ ทะลวง ‘ปรากฏการณ์เมียนมาร์’
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    ผมเพิ่งกลับมาจากตระเวนพม่าหลายวัน นัดพบปะกับคนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครองของเขาหลายท่าน

    ทั้งที่ย่างกุ้ง เหมืองหลวงเก่า และเนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ที่เคยได้รับสมญาว่าเป็น “เมืองลี้ลับ”

    เป็นการเปิดหูเปิดตาต่อทิศทางการ “เปิดประเทศ” ครั้งสำคัญสำหรับผมที่ถูกรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าห้ามเข้าประเทศมา 12 ปีหลังจากที่ได้สัมภาษณ์ อองซาน ซูจี คราวที่เธอถูกปล่อยตัวจากการกักบริเวณสั้นๆ

    วันก่อนผมกลับไปนั่งสนทนากับแกนสำคัญของการเรียกร้องประชาธิปไตยที่บ้านพักบ้านเลขที่ 54 บน University Road อีกครั้งหนึ่งภายใต้บรรยากาศการเมืองที่ปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยอันสำคัญยิ่งสำหรับประเทศเพื่อนบ้านตะวันตกที่ตกอยู่ใต้ระบอบการปกครองรวมศูนย์มาหลายสิบปีแห่งนี้

    เมื่อผมบอกเธอว่าสถานทูตพม่าที่กรุงเทพฯ ไม่ยอมออกวีซ่าให้ผมมากว่าสิบปีหลังจากที่สัมภาษณ์เธอ อองซาน ซูจี ยิ้มและบอกว่า

    "นั่นคือ วิธีการให้เกียรติต่อการทำงานเป็นสื่ออาชีพของคุณ"

    และเราต่างก็หัวเราะก่อนที่จะนั่งซักถามประเด็นต่างๆ ที่กำลังร้อนแรงในประเทศและความคาดหวังต่อการปฏิรูปทางการเมืองที่กำลังเร่งฝีเท้าจนเกิดความตื่นตัวกันขนานใหญ่

    วันนี้ถนนทุกสายมุ่งสู่ย่างกุ้งที่กำลังประกาศกับชาวโลกว่าเขาสร้างความปรองดองกันอย่างเป็นกิจจะลักษณะระหว่างฝ่ายทหาร ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยและกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ต่ำกว่า 10 กลุ่มที่ติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลกลางมาหลายสิบปี

    ถามเธอว่าเชื่อแน่แค่ไหนว่าเส้นทางแห่งการเปิดประเทศสู่ประชาธิปไตยจะไม่หันหัวกลับ อองซาน ซูจี ตอบอย่างฉาดฉาน

    "จะว่าไปแล้วดิฉันก็ยังไม่รู้แน่นอนว่ากองทัพพม่าสนับสนุนการปฏิรูปคราวนี้อย่างแน่วแน่แค่ไหน และตราบเท่าที่ยังไม่แน่นอนสมบูรณ์ ดิฉันก็ไม่อาจจะบอกได้ว่าแนวทางนี้จะไม่หันหัวกลับได้... แต่ดิฉันมีความเชื่อในความจริงใจของท่านประธานาธิบดีเต็งเส่ง..."

    นักข่าวทีวีจากอาเซียนห้าชาติ (รวมทั้งของไทย) ไปพบปะกับอองซาน ซูจี วันที่ คุณสุรินทร์ พิศสุวรรณ ในฐานะเลขาธิการอาเซียนไปสนทนาด้วย (หลังจากไปเมืองหลวงเนปิดอว์เพื่อพบประธานาธิบดีเต็งเส่งก่อนตามมารยาทการทูต) เพื่อซักถามประเด็นของพม่ากับอาเซียนและทิศทางการปรับใหญ่ของประเทศ

    ผมร่วมตั้งคำถามเธอแล้วก็ได้นั่งลงสนทนากับสองต่อสอง เพื่อถามความในใจว่าการปรับบทบาทจาก “ผู้ต่อต้าน” มาเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจการเมืองนั้นมีความยุ่งยากมากน้อยเพียงใด จากนั้นผมก็ตระเวนไปนั่งซักถามคนที่ใกล้ชิดประธานาธิบดีเต็งเส่ง..."โก โก ไหล่" (Ko Ko Hlaing) ซึ่งมีตำแหน่งเป็น “หัวหน้าที่ปรึกษาทางการเมือง” ของผู้นำกว่าหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้เขายืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นเรื่องจริงจังหรือไม่เพียงใด

    และถามเขาตรงๆ ว่านายพลอาวุโส “ตันฉ่วย” ที่เคยเป็นผู้นำเผด็จการทหารแต่เพียงผู้เดียวนั้น มีบทบาทในการสั่งการจากข้างหลังมากน้อยเพียงใด

    นอกจากนั้น ผมก็ได้เจอกับเจ้าหน้าที่ระดับอธิบดีของกระทรวงข่าวสาร กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงไฟฟ้า กระทรวงขนส่งรถไฟ และกระทรวงวัฒนธรรมในวันเดียวกัน

    เป็นที่ชัดเจนว่ามีคำสั่งจากระดับสูงของรัฐบาลพม่าให้พบปะและตอบคำถามของสื่อจากต่างประเทศอย่างผมอย่างไม่ต้องเหนียมอายหรืออ้ำอึ้งเป็นครั้งแรกในหลายสิบปี

    และที่พลาดไม่ได้ คือ การไปนั่งซักถามแกนสำคัญของกลุ่มอดีตนักศึกษา 88 Generation ที่เคยลุกขึ้นประท้วงเผด็จการทหารจนถูกจับติดคุกคนละหลายปีและเพิ่งได้รับการปล่อยตัวออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว

    พวกเขาเชื่อใน “เสรีภาพ” ใหม่มากน้อยแค่ไหน บทบาทของอดีตนักศึกษาและแกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยจะคึกคักเพียงใด

    อีกทั้งยังไปเจอกับคนเขียน blog ที่ถูกจับติดคุกเพราะแสดงความคิดเห็นผ่าน social media และเพิ่งได้รับอิสระเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนเหมือนกัน

    ที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผม คือ การได้นั่งจับเข่าสนทนากับ Ludu Sein Win นักเขียนอาวุโสวัย 72 ปี ที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ของประชาชน” ของพม่า เคยติดคุก 13 ปีและวันนี้ยังเขียนบทความให้หนังสือพิมพ์พม่าหลายฉบับวิพากษ์วิจารณ์ทั้งทหาร อองซาน ซูจี และทุกอย่างที่เขาเชื่อว่าเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น

    จากวันนี้ไป ผมจะพาท่านผู้อ่านไปตะลุยพม่ากับผมเพื่อฟังความเห็นหลากหลาย แนวทางวิเคราะห์และความในใจของทุกฝ่ายในปรากฏการณ์ใหม่ของพม่าวันนี้อย่างรอบด้านและน่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง

    รถไฟพม่าขบวนนี้กำลังออกจากสถานี...ใครขึ้นไม่ทันก็โทษกันไม่ได้
    http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20120228/438742/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E2%80%98%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E2%80%99-%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E2%80%98%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E2%80%99-%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E2%80%98%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E2%80%99.html
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2555

    “คำนูณ” แฉ งุบงิบ ให้บริษัทต่างชาติ สัมปทานขุดเจาะน้ำมัน เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ เนื้อที่ 20 ตารางกิโลเมตร

    หวั่น กระทบพื้นที่สีเขียว แปลกใจกรุงเทพฯ มีน้ำมันดิบ เตรียมตั้งกระทู้ถาม รมว.ทรัพย์ฯ

    วันนี้ (27 ก.พ.) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ ที่มี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในการประชุม

    โดยในช่วงหารือ ก่อนที่จะเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ทราบหรือไม่ว่าใน กทม.มีน้ำมันจำนวนมหาศาล

    ปรากฏว่า ในขณะนี้ ได้มีบริษัทต่างชาติแห่งหนึ่ง ได้รับสัมปทาน สำรวจแหล่งปิโตรเลียมใต้พื้นดิน กทม.บนแปลงบริเวณริมถนนพุทธมณฑล สาย 2 เขตทวีวัฒนา

    จากการสำรวจด้วยคลื่นไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นไปก่อนหน้านี้ พบว่า มีน้ำมันจริง ขณะนี้ ได้ทำการล้อมรั้วเรียบร้อย ปรับพื้นที่ และเตรียมขุดเจาะเร็วๆ นี้

    ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว จะกินบริเวณพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตรรอบๆ บริเวณหลุมขุดเจาะ ซึ่งอยู่หลังบ้านตนไปนิดเดียว

    [​IMG]

    “ถ้าปริมาณมีมากพอในเชิงพาณิชย์ อะไรจะเกิดขึ้นกับ กทม.โดยรวม อะไรจะเกิดขึ้น กับประชาชนเขตทวีวัฒนา พุทธมณฑล สาย 2 สาย 3 และสาย 4 เขตพื้นที่สีเขียว

    มีหลักการอย่างไร ในการอนุญาตให้มีการสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียม และมีการเตรียมการแก้ไขปัญหาหรือดำเนินการ ขั้นตอนต่อไปอย่างไร ทั้งในระหว่างการขุดเจาะ

    ซึ่งทราบว่า จะรู้ผลว่าจะมีมากในเชิงพาณิชย์หรือไม่ภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ จึงขอฝากไปยังรัฐบาล ช่วยชี้แจงต่อพี่น้องประชาชน

    ไม่ใช่เฉพาะเขตทวีวัฒนา แต่ต่อพี่น้องประชาชนใน กทม.โดยรวมด้วย ซึ่งตนจะตั้งกระทู้ถามด่วนต่อ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” นายคำนูณระบุ

    [​IMG]

    [​IMG]

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88.3906/page-1378
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    การกลับมาของสงครามครูเสด
    สมัยที่นบีมุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่อิสลามในราว ค.ศ. 610 อาณาจักรไบแซนตินและอาณาจักรเปอร์เซียเป็น 2 มหาอำนาจที่ต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่กันในโลก สมัยนั้นศาสนาคริสต์ฉบับของปอลแห่งทาร์ซุสเป็นศาสนาทางการของอาณาจักรไบแซนติน (โรมันตะวันออก) ส่วนศาสนาของอาณาจักรเปอร์เซียคือศาสนาโซโรแอสเตอร์หรือศาสนาบูชาไฟ2 มหาอาณาจักรคู่แข่งนี้ไม่เพียงแต่จะมีอิทธิพลอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลเหนือประเทศรอบแผ่นดินอาหรับด้วย ในเวลานั้นเอธิโอเปียอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนติน ในขณะที่เยเมนตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรเปอร์เซีย
    ชาวอาหรับเองก็มีใจฝักใฝ่ในอำนาจของ 2 อาณาจักรต่างกันตามความเชื่อ เมื่อ 2 มหาอำนาจทำสงครามกัน ชาวอาหรับที่นับถืออิสลามจะเอาใจช่วยอาณาจักรไบแซนตินเพราะมีความศรัทธาคล้ายๆกัน แต่ชาวอาหรับส่วนใหญ่ที่บูชารูปปั้นจะเอาใจช่วยอาณาจักรเปอร์เซียเพราะชาวเปอร์เซียในเวลานั้นบูชาไฟ
    แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดสามารถสถาปนาอิสลามเป็นศาสนาของชาวอาหรับได้ประมาณ 20 ปี ดินแดนส่วนใหญ่ของอาณาจักรไบแซนตินในซีเรียและอาณาจักรเปอร์เซียก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิสลามโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่หันมาเป็นมุสลิม
    หลังจากนั้นไม่นาน มุสลิมก็นำอิสลามข้ามช่องแคบยิบรอลตาเข้าไปปกครองสเปนเป็นเวลานับร้อยปีโดยเรียกสเปนว่า “อันดาลุส” ต่อมาพวกเติร์กที่หันมารับอิสลามก็สามารถพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมืองหลวงของอาณาจักรไบแซนตินได้และใช้เมืองนี้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมาน โดยเปลี่ยนชื่อเมืองคอนแสตนติโนเปิลเป็น “อิสตันบูล”
    ในตอนที่อาณาจักรโรมันรุ่งเรืองถึงขีดสุดนั้น “ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม” หมายความว่าความมั่งคั่งจากทั่วโลกได้ถูกส่งมาที่กรุงโรม แต่เมื่ออำนาจของมุสลิมแผ่ขยายกว้างออกไป อิทธิพลของมุสลิมได้ปิดถนนที่นำความมั่งคั่งสู่กรุงโรม ด้วยเหตุนี้การต่อสู้เพื่อช่วงชิงถนนที่นำความมั่งคั่งกลับคืนมาจึงเกิดขึ้นในรูปของสงครามครูเสด
    ความจริงแล้วสงครามครูเสดมิใช่สงครามศาสนา แต่เนื่องจากศาสนามีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คนในเวลานั้น โป๊ปซึ่งมีอิทธิพลทั้งทางด้านการปกครองและจิตวิญญาณของชาวคริสเตียนจึงนำความเชื่อทางศาสนามาใช้ในการปลุกระดมชาวยุโรปในประเทศต่างๆให้ร่วมกันทำสงครามต่อต้านมุสลิมซึ่งก็ได้ผล
    แรงจูงใจทางศาสนาที่โป๊ปนำมาใช้ในการปลุกระดมชาวยุโรปในการทำสงครามครูเสดเวลานั้นก็คือการยึดเมืองเยรูซาเลมซึ่งชาวคริสเตียนถือว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาจากมุสลิม ทั้งนี้เพราะเมืองเยรูซาเลมเป็นที่ตั้งของมหาวิหารสำคัญ แต่ในเวลานั้นเยรูซาเลมตั้งอยู่ในปาเลสไตน์ที่เป็นส่วนหนึ่งของซีเรีย
    สงครามครูเสดเกิดขึ้นนับสิบครั้งเป็นเวลานับร้อยปีบนแผ่นดินของมุสลิม ศาสนิกของทั้งสองฝ่ายล้มตายไปเป็นจำนวนมาก แต่กองทัพคริสเตียนจากยุโรปต้องล่าถอยกลับไปทุกครั้ง
    ประวัติศาสตร์บอกเราให้รู้ว่าความเข้มแข็งของศัตรูภายนอกไม่อันตรายร้ายแรงเท่ากับความอ่อนแอภายใน และสิ่งหนึ่งที่ทำให้ทุกอาณาจักรอ่อนแอก็คือความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยของชนชั้นปกครอง
    อาณาจักรออตโตมานที่มีอาณาเขตแผ่ไพศาลในสามทวีปภายใต้การปกครองของมุสลิมมาเป็นเวลาห้าร้อยปีมีความเสื่อมถอยเพราะเหตุผลดังกล่าว หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาณาจักออตโตมานพ่ายแพ้สงครามและถูกฉีกออกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติตะวันตก
    กระนั้นก็ตาม ความรู้สึกนึกคิดในเรื่องอิสลามก็มิได้หมดไปจากมุสลิม แม้ประเทศจะมิได้ปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม แต่ชุมชนชาวมุสลิมในประเทศต่างๆก็ยังคงรักษาอิสลามไว้และพยายามที่จะฟื้นฟูอิสลามขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ล่มสลายไปและลัทธิทุนนิยมกำลังจะพังทลาย และที่สำคัญก็คือประเทศมุสลิมส่วนใหญ่อุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมันที่เป็นพลังงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของชาติมหาอำนาจตะวันตก
    อิหร่านเป็นตัวอย่างล่าสุดของหนึ่งในหลายประเทศที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกถือว่ากำลังปิดถนนไปสู่ความมั่งคั่งของตน เดิมทีอิหร่านเป็นประเทศมุสลิม แต่สหรัฐได้เปลี่ยนอิหร่านให้เป็นประเทศทันสมัยเพื่อส่งน้ำมันให้ตะวันตกและบริโภคสินค้าตะวันตก เมื่อชาวอิหร่านไม่พอใจวัฒนธรรมตะวันตกและร่วมกันปฏิวัติเพื่อนำอิสลามกลับมาปกครองอีกครั้งหนึ่ง สหรัฐก็ใช้ทหารอิรักทำสงครามกับอิหร่านเป็นเวลา 8 ปี แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
    ขณะนี้สหรัฐและชาติยุโรปที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขบวนการไซออนิสต์กำลังจะทำสงครามรุกรานอิหร่านครั้งใหม่ โดยอ้างว่าอิหร่านกำลังพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ที่เป็นภัยต่อสันติภาพของโลก แต่ในความจริง นั่นเป็นการโกหกหลอกลวงชาวโลกเหมือนกับที่สหรัฐเคยทำกับอัฟกานิสถาน อิรัก และลิเบีย เหตุผลที่แท้จริงคือ อิหร่านมีน้ำมันและอิหร่านไม่ต้องการซื้อขายน้ำมันของตนด้วยเศษกระดาษที่เรียกว่า “ดอลลาร์” ต่างหาก
    การโจมตีอิหร่านหลังจากโจมตีชาติมุสลิมเล็กๆก่อนหน้านี้ จึงไม่ต่างอะไรไปจากสงครามครูเสดสมัยใหม่ แต่ในยุคโลกาภิวัฒน์ ความเดือดร้อนจากสงครามครูเสดครั้งนี้จะแผ่ขยายวงกว้างกว่าสงครามครูเสดครั้งก่อนหลายเท่า


    นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 7 ฉบับที่ 348 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม พ.ศ. 2555 หน้า 28 คอลัมน์ สันติธรรม โดย บรรจง บินกาซัน
    2012-02-24

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88.3906/page-1378
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ตร.อังกฤษนำกำลังไล่ที่ผู้ประท้วง “อ็อกคิวพาย” ตั้งแต่ไก่ยังไม่โห่
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กุมภาพันธ์ 2555 14:23 น.
    [​IMG]
    แคมป์ของกลุ่ม “อ็อกคิวพาย เดอะ ลอนดอน สต็อก เอ็กซ์เชนจ์” บริเวณหน้ามหาวิหารเซนต์พอล ถูกรื้อถอนเมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา


    เอเอฟพี - ตำรวจอังกฤษนำเจ้าหน้าที่บังคับคดีเข้ารื้อถอนเต็นท์ที่พักของผู้ประท้วงต่อต้านทุนนิยม ตามแบบอ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท ช่วงเช้ามืดวันนี้ (28) หลังจากกลุ่มดังกล่าวปักหลักค้างแรมในลานด้านหน้ามหาวิหารเซนต์พอล กลางกรุงลอนดอน ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ฝ่ายปกครองนครหลวงลอนดอนเปิดเผย

    ผู้ประท้วง “อ็อกคิวพาย เดอะ ลอนดอน สต็อก เอ็กซ์เชนจ์” (แอลเอสเอกซ์) หรือตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ได้นำลังไม้มาทำเป็นแนวกั้น และใช้ระเบิดควันหวังขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่บังคับคดีก็สามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวเหล่านี้ได้โดยไม่ยากเย็น ในความพยายามขัดขืนคำสั่ง กลุ่มผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งยังประสานมือกันเป็นกำแพงมนุษย์ปกป้องสิ่งปลูกสร้างจากไม้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกรื้อถอนจนเหลือแต่กองที่นอนและเต็นท์เก่าๆ ภายในเวลา 2 ชั่วโมง

    “วันนี้ฝ่ายบริหารนครหลวงลอนดอนได้เริ่มบังคับใช้คำสั่งศาลสูง เข้ารื้อถอนเต็นท์และอุปกรณ์ต่างๆ ภายนอกมหาวิหารเซนต์พอล” คำแถลงของฝ่ายบริหารกรุงลอนดอนระบุ “เจ้าหน้าที่บังคับคดีได้เข้ารื้อถอนตามคำสั่งศาล โดยมีตำรวจคอยดูแลความปลอดภัย ... เราได้ร้องขอให้ผู้ประท้วงเคลื่อนย้ายโดยสงบแล้ว”

    ระหว่างตำรวจนำกำลังเข้ารื้อถอน มีผู้ประท้วงพักอยู่ประมาณ 50-60 คน โดยเวลาประมาณ 00.05 น. ตามเวลาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ประกาศเตือนให้ผู้ประท้วงเริ่มเคลื่อนย้าย ก่อนเข้ารื้อถอนในอีก 5 นาที ต่อมา

    คลิปวิดีโอการปะทะเล็กๆ ระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกลุ่ม แต่บรรยากาศโดยรวมเป็นไปด้วยความสงบ อย่างไรก็ตาม มีผู้โพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์ของอ็อกคิวพาย ว่า ตำรวจข่มขู่จะจับกุมคนที่ไม่ยอมออกจากบริเวณมหาวิหารเซนต์พอล ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติเกินคำสั่งศาลที่อนุมัติการรื้อถอนเต็นท์เท่านั้น และไม่มีคำสั่งเคลื่อนย้ายผู้ประท้วง

    กลุ่มอ็อกคิวพาย แอลเอสเอกซ์ ซึ่งเริ่มชุมนุมวันที่ 15 ตุลาคม ตามแบบฉบับของอ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท ถูกฝ่ายปกครองลอนดอนฟ้องร้องกรณีการตั้งแคมป์ค้างแรม ว่า เป็นบ่อเกิดของอาชญากรรม ทำให้ธุรกิจในท้องที่เสียหาย และก่อความไม่สะดวกต่อคริสต์ศาสนิกชนที่เดินทางไปโบสถ์

    ช่วงเดือนตุลาคม มีผู้ประท้วงตั้งเต็นท์สูงสุดประมาณ 200 คน แต่จำนวนก็ค่อยๆ ลดลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่สองเดือนก่อนหน้านี้ ตำรวจสหรัฐฯ ก็ได้บุกรื้อถอนที่พักของกลุ่มอ็อกคิวพาย วอลล์สตรีท แล้วเช่นกัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพการชุมนุมตั้งเต็นท์ของอ็อกคิวพาย แอลเอสเอกซ์ ก่อนถูกรื้อถอน

    Around the World - Manager Online -
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ECB ประกาศ “พันธบัตรกรีซ” สูญเสียสถานะหลักทรัพย์ค้ำประกันชั่วคราวหลัง S&P ลดเรตติ้ง
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กุมภาพันธ์ 2555 16:14 น.

    [​IMG]

    ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี)


    เอเอฟพี - ธนาคารกลางแห่งยุโรป(อีซีบี) ประกาศระงับสถานะหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ของพันธบัตรกรีซเป็นการชั่วคราว หลังบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดเรตติ้งกรีซลงเหลือ “ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน” (selective default) วานนี้(27)

    “สภาบริหารธนาคารกลางแห่งยุโรป ตัดสินใจระงับคุณสมบัติของพันธบัตรที่ออกหรือรับรองโดยสาธารณรัฐเฮลเลนิก เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในปฏิบัติการเชิงนโยบายการเงินของระบบยูโร” อีซีบี ระบุในถ้อยแถลง

    “คำสั่งดังกล่าวเป็นผลมาจากการพิจารณาระดับความน่าเชื่อถือของสาธารณรัฐเฮลเลนิก หลังจากมีการเจรจาแลกเปลี่ยนหนี้โดยสมัครใจกับภาคเอกชน”

    บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ประกาศลดเรตติ้งกรีซเหลือเพียง “ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน” วานนี้(27) หลังธนาคารเอกชนยอมลดหนี้ให้กรุงเอเธนส์ลงมากกว่าครึ่ง ตามเงื่อนไขแพ็กเกจเงินช่วยเหลือก้อนที่ 2 ของสหภาพยุโรป

    เรตติ้งดังกล่าวต่ำกว่าระดับที่ เอสแอนด์พี เคยจัดให้กรีซก่อนหน้านี้ที่ “ซีซี” ซึ่งถือเป็นระดับขยะ

    อีซีบี ระบุว่า ธนาคารกลาง 17 ประเทศในกลุ่มยูโรโซนพร้อมมอบความช่วยเหลือเพื่อเสริมสภาพคล่องในกรณีฉุกเฉิน หลังจากพันธบัตรกรีซถูกระงับคุณสมบัติดังกล่าว

    ทั้งนี้ คาดว่าพันธบัตรกรีซจะได้สถานะหลักทรัพย์ค้ำประกันคืนภายในกลางเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะเป็นช่วงที่แผนแลกเปลี่ยนหนี้กับเจ้าหนี้ภาคเอกชนดำเนินการเสร็จสิ้นสมบูรณ์

    Around the World - Manager Online - ECB
     
  18. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เจาะซะกลางเมืองเลย

    คมชัดลึกเขาบอก อีก 20 วันรู้ผล
    http://www.komchadluek.net/detail/20120228/124167/20วันรู้ผลเจาะหาน้ำมันทวีวัฒนา.html
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=8eqGliZBJjw&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&index=1&feature=plcp]Anyone's a Terrorist: Fear-mongering machine takes over US - YouTube[/ame]

    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 28 ก.พ. 2012
    Presidential authorisation for the military to detain terror suspects without charge or trial has left Americans wary. Washington says it's beefing up national security as part of the war on terror. But critics say fear-mongering is dividing, not uniting the nation. RT's Marina Portnaya reports.
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=dxG7v-Yqiao&feature=BFa&list=UUpwvZwUam-URkxB7g4USKpg&lf=plcp]Danger on Doorstep: Israel's Iran hysteria fogs real foes - YouTube[/ame]


    อัปโหลดโดย RussiaToday เมื่อ 28 ก.พ. 2012
    Israel says it won't warn the US if it decides to launch a strike on Iranian nuclear facilities. Israel - which believes Tehran is a threat - has been ramping up belligerent rhetoric in recent weeks, despite warnings from Washington. But, as RT's Irina Galushko reports, other - more immediate threats - may be dangerously overlooked.
     

แชร์หน้านี้

Loading...