เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
    ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมจะส่งผลในชาตินี้ได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ
    ๑. ต้องไม่มีอุปสรรคเบียดเบียน
    ๒. ต้องได้รับการเกื้อหนุนเป็นพิเศษ
    ๓. ต้องมีเจตนาตั้งใจอย่างแรงกล้า
    ๔. ผู้ได้รับหรือผู้ถูกกระทำต้องเป็นผู้มีคุณวิเศษ

    ๑. ต้องไม่มีอุปสรรคเบียดเบียน
    ถ้าเป็น กุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมดีจะให้ผล)
    จะต้องไม่ถูกเบียดเบียนจากอกุศลกรรม (กรรมชั่ว)
    และ ต้องมีปัจจัยพิเศษสนับสนุน (สิ่งสนับสนุน)
    คือ กรรมฝ่ายดี และ กรรมฝ่ายชั่ว

    ๒. ต้องได้รับการเกื้อหนุนเป็นพิเศษ
    ฝ่ายดี ถ้าเปรียบเทียบกุศลกับการปลูกพืช
    พืชจะเจริญงอกงามได้ดี ก็ต้องอาศัยดินดี ปุ๋ยดี น้ำ แสงแดด
    เช่นเดียวกันกับผลบุญจะสำเร็จเป็นกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
    จะต้องประกอบด้วย สัมปัตติ ๔ ได้แก่
    ๑. คติสัมปัตติ คือ ต้องเกิดในสุคติภูมิ เป็น มนุษย์ หรือ เทวดา
    ๒. กาลสัมปัตติ คือ ต้องเกิดในสมัยที่มีพระศาสนา พระราชาเป็นสัมมาทิฏฐิ
    ๓. อุปธิสัมปัตติ คือ ต้องเกิดมามีอาการครบ ๓๒ ประการ มีความพร้อมทางร่างกาย
    ๔. ปโยคสัมปัตติ คือ ต้องเพียรประกอบแต่สุจริตกรรม

    ฝ่ายไม่ดี ถ้าจะสำเร็จเป็น อกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม จะต้องประกอบด้วย วิปัตติ ๔ ได้แก่
    ๑. คติวิปัตติ คือ ต้องเกิดในทุคติภูมิ เป็นภูมิที่เหมาะที่จะรอรับผลทุกข์
    ๒. กาลวิปัตติ คือ ต้องเกิดในสมัยที่ไม่มีพระศาสนา และพระราชาเป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ๓. อุปธิวิปัตติ คือ เกิดมามีอวัยวะไม่ครบ ๓๒ ประการ
    ๔. ปโยควิปัตติ คือ เพียรประกอบในทางทุจริตกรรมเนือง ๆ ทำบาปอยู่เสมอ

    ๓. ต้องมีเจตนาตั้งใจอย่างแรงกล้า
    การกระทำความดีหรือความชั่วนั้น ก่อนที่จะกระทำสำเร็จล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา
    ต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองก่อน ถ้ามีเจตนาที่มีกำลังแรงกล้าอย่างมาก
    บุญหรือบาปที่กระทำสำเร็จด้วยเจตนาที่แรงกล้านี้ก็จะส่งผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
    คือ ให้ผลในปัจจุบันได้ เจตนาอย่างแรงกล้านี้อยู่ในชวนะดวงที่ ๑

    ๔. ผู้ได้รับหรือผู้ถูกกระทำ ต้องเป็นผู้มีคุณวิเศษ
    ผู้ที่จะกระทำความดีหรือความชั่วนั้น จะต้องกระทำกับผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษ
    มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี เป็นต้น
    ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์อยู่นั้น บรรดาพวกเดียรถีย์ทั้งหลาย
    ต่างก็เสื่อมลาภลงเป็นอันมาก ขาดความยอมรับนับถือ จากประชาชนโดยทั่วไป
    จึงหาหนทางที่จะกลั่นแกล้งพระพุทธเจ้า ให้เสื่อมศรัทธาจากประชาชน พวกเดียรถีย์เหล่านั้น
    จึงไปว่าจ้าง นางจิณจมานวิกา ปริพาชิกาซึ่งเป็นสาวิกาสาวสวย ให้ไปทำลายชื่อเสียงของพระพุทธเจ้า

    โดยเสแสร้งว่าได้ตั้งท้องกับพระพุทธองค์ นางได้ประกาศในที่ประชุม
    ขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา อยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทำให้ท้าวสักกเทวราชร้อนใจ
    จึงส่งเทวดาให้แปลงเป็นหนู ไปกัดโครงไม้ที่สานผูกติดไว้ที่ท้องหล่นลงมา
    ทำให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมทราบความจริง จึงได้ทำประชาทัณฑ์แก่สาวิกา
    นางได้หนีออกจากที่นั้นไป พอพ้นเขตพระเชตวันมหาวิหาร
    ก็ถูกธรณีสูบทันที นับเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล ซึ่งได้กระทำกับผู้ทรงคุณอันประเสริฐ

    ในสมัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุรุษเข็ญใจชื่อ นายกากวฬิยะ
    มีชีวิตเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบากตลอดวัน วันหนึ่งภรรยาก็เตรียมต้มข้าวกับใบผักกาดดอง
    เป็นข้าวยาคูเปรี้ยว ที่จะให้สามีไปกินตามประสาของคนยากจน
    ขณะนั้น พระกัสสปเถระเจ้า ออกจากนิโรธสมาบัติพอดี มีความปรารถนาที่จะอนุเคราะห์คนเข็ญใจ
    จึงถือบาตรไปยืนอยู่หน้าประตูเรือนของนายกากวฬิยะนั้น
    ภรรยาเห็นก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง เกิดปีติซาบซ่านขึ้นมาในใจ
    ได้ทำข้าวยาคูเปรี้ยวถวายแก่พระเถระนั้นด้วยความเลื่อมใส
    พระกัสสปเถระได้นำข้าวยาคูเปรี้ยวไปถวายแก่พระพุทธเจ้าอีกต่อหนึ่ง
    พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า “ดูกร กัสสปะ นับแต่วันนี้ได้ ๗ วัน
    กากวฬิยบุรุษผู้นี้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเศรษฐี
    จากพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดี” เมื่อครบ ๗ วัน ดังพุทธพยากรณ์
    นายกากวฬิยะคนยากไร้กับภรรยาผู้ยากจน ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเศรษฐี
    ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจของกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 สิงหาคม 2012
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
    อปราปริยภพ คือ คือ ภพที่ ๓ เป็นต้นไป ตลอดถึงพระนิพพาน อปราปริยกรรมได้แก่ เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๖ คือ ชวนะที่ตรงกลาง ๕ ดวง (ดูในภาพ) เมื่อโอกาสส่งผลแล้วย่อมส่งผลได้เรื่อยไปๆ ไม่มีการอโหสิกรรม จนกว่าผู้นั้นจะถึงซึ่งนิพพาน จึงจะเป็นอโหสิกรรมไป เพราะไม่มีที่ๆจะส่งผล
    การส่งผลในอปราปริยเวทนียกรรมนี้ ย่อมส่งผลได้ทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล ปัญหาที่ว่า อปราปริยเวทนียกรรม ได้แก่ ชวนะ ๕ ดวงนั้น การส่งผลในปวัตติกาลนั้น จะส่งผลให้เกิดขึ้น ๕ ครั้งหรือไม่ แก้ว่าเจตนาในชวนะ ๕ดวงนั้น ถ้ามีโอกาสส่งผลในปฏิสนธิกาลแล้ว ก็ย่อมส่งผลได้เพียงครั้งเดียว คือให้ผลครั้งเดียวเท่านั้น สำหรับส่งผลในปวัตติกาลนั้นไม่จำกัด คือสามารถส่งผลได้หลายภพ หลายชาติ ถ้ามีโอกาส
    โปรดติดตามต่อไปเรื่องของกรรมมีความละเอียดมาก การจะให้เข้าใจต้องใช้วิถีจิต อธิบายควบคู่ไปด้วยเป็นเรื่องค่อนข้างยาก มีรายละเอียดมาก ถ้าจะให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ควรมาฟังการบรรยายในห้องเรียน ขอเชิญมาฟังในวันเสาร์ที่อาคารสำนักงานมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม เลขที่ 5/108 ซอยอุดมทรัพย์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (ใกล้กับห้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า)
    หรือวัดมหาธาตุทีติดกับสนามหลวง หรือวัดสามพยา หรืออีกหลายๆวัดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2012
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE id=pid955 cellSpacing=0 summary=pid955 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=plc><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_955 class=t_f>
    [​IMG]


    "อโหสิกมฺมํ นาโหสิ กมฺมวิปาโก. อโหสิกมฺมํ นตฺถิ กมฺมวิปาโก. อโหสิกมฺมํ น ภวิสฺสติ กมฺมํวิปาโก"
    " สำหรับกรรมนั้นสำเร็จแล้ว แต่ผลของกรรมนั้นหาใช่เกิดแล้วไม่ กรรมนั้นสำเร็จแล้ว
    แต่ผลของกรรมนั้นไม่ใช่กำลังเกิด กรรมนั้นสำเร็จแล้ว แต่ผลของกรรมนั้นไม่เกิด"

    อธิบายว่า อโหสิกรรมนี้ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉาะ
    คือเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๑ ที่ชื่อว่าทิฎฐธัมมเวทนียกรรม
    เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ ๗ ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม
    และเจตนาที่อยู่ในชวนะตรงกลาง ๕ ดวง ที่ชื่อว่าอปราปริยเวทนียกรรมเหล่านี้แหละ
    เมื่อล่วงเวลาของตนๆที่กำหนดไว้โดยที่ยังไม่ได้ส่งผลแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นอโหสิกรรมไป

    ดังมีแสดงไว้ในญาณวิภังค์แห่งสัมโมหวิโนทนีอรรถกถา
    ในบรรดากรรมที่ได้สร้างสมไว้หลายอย่างมีทิฎฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้นนั้น
    ทิฎฐธัมมเวทนียกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมส่งผล
    ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่เหลือนอกนั้นก็ไม่ได้ส่งผล เพราะเกินกำหนดที่จะส่งผล จึงเป็นอโหสิกรรมไป ฯ

    อุปปัชชเวทนียกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่นำปฏิสนธิให้เกิดขึ้นแล้ว
    อุปปัชชเวทนียกรรมที่เหลือนอกนั้นก็ไม่ได้ส่งผลจึงเป็นอโหสิกรรมไป ฯ
    โดยอาศัยอนันตริกรรมที่เหลือนอกนั้นก็ไม่ได้ส่งผลจึงเป็นอโหสิกรรมไป
    โดยอาศัยฌานสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสมาบัติ ๘ ส่งผลให้เกิดพรหมโลกแล้ว
    ฌาณสมาบัติที่เหลือนอกนั้น ก็เป็นอโหสิกรรมไป ฯ พระสารีบุตรมุ่งหมายเอากรรมชนิดนี้แล้ว
    จึงกล่าวว่า "นาโหสิ กมฺม วิปาโก" (ผลของกรรมนั้นหาใช่เกิดแล้วไม่)

    ผู้ใดผู้หนึ่งในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ได้สร้างกรรมต่างๆ ที่สามารถส่งผลให้เกิดในปัจจุบันภพได้
    ในบรรดากรรมเหล่านั้นถ้ากรรมอย่างใดอย่างหนึ่งส่งผลให้ปรากฎแล้ว ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมที่เหลือ
    ก็ไม่มีโอกาสส่งผลจึงเป็นอโหสิกรรมไปอย่างหนึ่ง เพราะหมดเวลาการให้ผล

    อุปปัชชเวทนียกรรมต่างๆ ที่สร้างสมไว้นั้น ถ้ากรรมอย่างใดอย่างหนึ่งส่งผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ แล้ว
    อุปปัชชเวทนียกรรมที่เหลือก็ไม่มีโอกาสส่งผลในปวัตติกาลคือในภพที่ ๒ แล้ว ก็จึงเป็นอโหสิกรรมไป
    อย่างหนึ่งเพราะหมดโอกาสจะให้ผลในกำหนดเวลาของตน

    ผู้ที่ได้กระทำบาปอนันตริกรรมทั้ง ๕ ไว้ เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว
    สังฆเภทกรรมซึ่งเป็นกรรมหนักที่สุด ย่อมส่งผลปฏิสนธิในภพที่ ๒ ส่วนอนันตริกรรมที่เหลือนั้นก็เป็นอโหสิกรรมไป
    ผู้ที่ได้ฌานสมาบัติทั้ง ๘ รูปฌาน อรูปฌานทั้งหมด ผู้นั้นเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว
    ฌานอันใดอันหนึ่งแล้วแต่นิกันติตัณหาของฌานลาภีบุคคลนั้นส่งผลปฏิสนธิในพรหมโลกแล้ว
    ฌานที่เหลือนอกนั้นก็เป็นอโหสิกรรมไป เจตนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลกรรมที่ไม่มีโอกาสส่งผล
    เป็นอโหสิกรรมมีอีกมากมาย ที่เป็นไปในทำนองเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE>






    </TD></TR><TR><TD class="plc plm"></TD></TR><TR><TD class=pls></TD><TD class=plc>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2012
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การแก้ไขอกุศลกรรมให้เป็นอโหสิกรรม

    <HR class=l>ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้น ย่อมแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
    ใครทำดีย่อมได้รับผลดี ใครทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว บาปกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำแล้ว ย่อมไม่อาจลบล้างได้
    แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีหนทางที่แก้ไขให้อกุศลกรรมที่ตนทำไปแล้ว กลายเป็นอโหสิกรรมได้

    พุทธศาสนิกชน ผู้ได้ศึกษาธรรม ย่อมมีความเชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรมเป็นส่วนมาก
    แต่บางครั้งด้วยอำนาจของกิเลสต่างๆ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
    ทำให้กระทำบาปลงไป มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น และเมื่อกระทำลงไปแล้ว รู้สึกตัว

    กลัวจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำอกุศลกรรมนั้น ทำให้เสียใจกลุ้มใจยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้อกุศลกรรมเพิ่มขึ้น
    ด้วยอปรเจตนามีกำลังขึ้น จนสามารถส่งผลได้แน่นอน ทั้งภพนี้และภพหน้า ตลอดจนภพต่อๆไป ไม่มีโอกาสจะกลายเป็นอโหสิกรรมได้
    อย่างไรก็ตาม ในพุทธศาสนานี้ ก็แนะวิธีแก้ไขอกุศลกรรมที่ตนได้ทำไว้ให้กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้ คือ

    เมื่อได้กระทำอกุศลกรรมไปแล้ว และมีความรู้สึกผิดชอบเกิดขึ้นต้องทำการอธิษฐานใจตนเองว่า จะไม่ทำทุจริตกรรมอย่างนี้อีกต่อไป
    แล้วไม่ต้องหวนกลับไปคิดถึงเรื่องนั้นอีก พยายามสร้างกุศลอาจิณนกรรมให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยการเรียนการสอนปริยัติธรรม
    สวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญตักบาตร แผ่เมตตารักษาศีล เจริญภาวนาอยู่เสมอๆ เช่นนี้ อกุศลทิฎฐธรรมเวทนียกรรม
    ย่อมไม่มีโอกาสส่งผลกลายเป็นอโหสิกรรมไปได้

    แต่สำหรับอกุศลครุกรรมนั้นไม่อาจแก้ไขได้ เพราะต้องให้ผลแน่นอนในลำดับแห่งจุติ
    ส่วนอกุศลอปราปริยเวทนียกรรม แม้จะไม่กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้ก็จริง แต่การส่งผลของกรรมชนิดนี้
    ย่อมถูกทำให้เบาบางลงไปด้วยอำนาจกุศลอาจิณนกรรมนั่นเอง รวมความว่า กรรมทั้ง 4 อย่างมีทิฏฐิธรรมเวทนียกรรมเป็นต้น
    ที่กล่าวโดยเวลาแห่งกาลให้ผลกรรมนั้นย่อมปรากฎ กรรม 4 อย่างนี้อยู่ในวิถีจิตเดียวกันนั่นเอง
    คือเจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ 1 เป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ 7 เป็นอุปัชชเวทนียกรรม.
    เจตนาที่อยู่ในชวนะดวงที่ 2-6 เป็นอปราปริยเวทนียกรรม. เจตนาที่อยู่ในชวนะทั้ง 7 ดวงที่ล่วงเลยกำหนดเวลาแห่งกาลให้ผลของตน ๆ ไปแล้ว
    ก็เป็นอโหสิกรรมไป<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ............................................ขันธ์ 5


    [​IMG]...........................[​IMG]..............................[​IMG]
    รูป 28 ได้แก่ รูปขันธ์ 1.................................. เจตสิก 52 ...............................จิต 89 เป็น วิญญาณขันธ์ 1
    .........................................................เวทนา เป็น เวทนาขันธ์ 1
    .........................................................สัญญา เป็น สัญญาขันธ์ 1
    .................................................เจตสิที่เหลืออีก 50 ดวงเป็นสังขารขันธ์ 1​


    ..........................................................................นิพพานเป็นขันธวิมุตต์​
    .................................................*********************************************

    [​IMG]
    ขันธ์ ๕ องค์ธรรม​


    ๑.รูปขันธ์ รูป ๒๘
    ๒.เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาเจตสิก ๑
    ๓.สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาเจตสิก ๑
    ๔.สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนา,สัญญา)
    ๕.วิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิต ๘๙​
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    .....................................................................................................................อายตนะ 12


    [​IMG]........................................[​IMG]..............................[​IMG]
    รูป 28 ได้ อายตนะ 11 .......................................เจตสิก 52 เป็น ธัมมายตนะ........................จิต 89 เป็น มนายตนะ


    1. จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ
    2. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ
    3. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ
    4. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ
    5. กายปสาท เป็น กายายตนะ
    6. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ
    7. สัททารมณ์ เป็น สัทธายตนะ
    8. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ
    9. รสารมณ์ เป็น รสายตนะ
    10. โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ
    11. ที่เหลือ เป็นธัมมายตนะ​
    ...............​


    นิพพาน เป็น ธัมมายตนะ


    [​IMG]
    อายตนะ ๑๒ องค์ธรรม​


    ๑.จักขายตนะ = จักขุปสาท
    ๒.โสตายตนะ = โสตปสาท
    ๓.ฆานายตนะ = ฆานปสาท
    ๔.ชิวหายตนะ = ชิวหาปสาท
    ๕.กายายตนะ = กายปสาท​
    ๖.รูปายตนะ = รูปารมณ์

    ๗.สัททายตนะ = สัททารมณ์
    ๘.คันธายตนะ = คันธารมณ์
    ๙.รสายตนะ = รสารมณ์
    ๑๐.โผฏฐัพพายตนะ = โผฏฐัพพารมณ์​
    ๑๑.มนายตนะ = จิต ๘๙

    ๑๒.ธัมมายตนะ = เจตสิก ๕๒,สุขุมรูป ๑๖ ,นิพพาน​
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ธาตุ 18


    ..............[​IMG]..........................................[​IMG]......................[​IMG]


    จิต 89 ได้ 7 ธาตุ............................................เจตสิก 52 ได้ 1 ธาตุ เป็นธัมมธาตุ ............. ........รูป 28 ได้ 11 ธาตุ
    1. จักขุวิญญาณจิต 2 เป็นจักขุวิญญานธาตุ ...................................................... ................1.จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ
    2. โสตวิญญาณจิต 2 เป็นโสตวิญญาณธาตุ...................................................... ................2.โสตปสาท เป็น โสตธาตุ
    3. ฆานะวิญญานจิต 2 เป็นฆานะวิญญาณธาตุ .............................................. .....................3.ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ
    4. ชิวหาวิญญาณจิต 2 เป็นชิวหาวิญญาณธาตุ.............................................. .....................4.ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ
    5. กายะวิญญาณจิต 2 เป็นกายะวิญญาณธาตุ.................................................. ..................5.กายปสาท เป็น กายธาตุ
    6. สัมปฏิจฉนะจิต 2 ปัญจทวาราวัชชจิต 1 เป็นมโนธาตุ..................................... ....................6.รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ
    7. จิตที่เหลืออีก 76 เป็น มโนวิญญาณธาตุ...................................................... .................7.สัททารมณ์ เป็น สัททธาตุ
    .............................................................................................................. .......8.คันธารมณ์ เป็น คันธธาตุ
    ............................................................................................................ .........9.รสารมณ์ เป็น รสธาตุ
    .................................................................................................................... 10. โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ
    ........................................................................................................ .............11. รูปที่เหลือเป็นธัมมธาตุ

    .....................
    นิพพานเป็นธัมมธาตุ
    ..................................
    ปรมัตถธรรม 4 ได้ ธาตุ 18 ครับ​
    [​IMG]

    ธาตุ ๑๘ องค์ธรรม
    ๑. จักขุธาตุ = จักขุปสาท
    ๒. โสตธาตุ = โสตปสาท
    ๓. ฆานธาตุ = ฆานปสาท
    ๔. ชิวหาธาตุ = ชิวหาปสาท
    ๕. กายธาตุ = กายปสาท​
    ๖. รูปธาตุ = รูปารมณ์

    ๗. สัททาธาตุ = สัททารมณ์
    ๘. คันธธาตุ = คันธารมณ์
    ๙. รสธาตุ = รสารมณ์
    ๑๐.โผฏฐัพพธาตุ = โผฏฐัพพารมณ์​
    ๑๑.จักขุวิญญาณธาตุ = จักขุวิญญาณจิต๒

    ๑๒.โสตวิญญาณธาตุ = โสตวิญญาณจิต๒
    ๑๓.ฆานวิญญาณธาตุ = ฆานวิญญาณจิต๒
    ๑๔.ชิวหาวิญญาณธาตุ = ชิวหาวิญญาณจิต๒
    ๑๕.กายวิญญาณธาตุ = กายวิญญาณจิต๒​
    ๑๖.มโนธาตุ = ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒

    ๑๗.มโนวิญญาณธาตุ = จิต ๗๖ (เว้น ข้อ ๑๑. – ๑๖.)
    ๑๘.ธัมมธาตุ = เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน​
     
  8. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ช่วยยกตัวอย่างการกำหนดรู้ปัจจัยรูปนามให้หน่อยสิครับ
     
  9. super car

    super car เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +200
    ลุงหมานคะ
    สรุปคร่าวๆ เป็นแบบนี้หรือเปล่าคะ รบกวนบอกหน่อยค่ะ

    เวทนาขันธ์ 1 ดวง --> เป็น ธาตุที่ รู้สึก
    สัญญาขันธ์ 1 ดวง --> เป็น ธาตุที่รู้จำ
    สังขารขันธ์ 50 ดวง --> เป็น ธาตุที่ปรุงแต่ง
    วิญญาณขันธ์ 89 ดวง --> เป็นธาตุรู้ เป็นประธานใหญ่ ในการรู้เรื่องต่างๆ
    ทั้งปวง " ไม่มีตัวตน"
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    เช่น ขณะที่เราปวดท้อง เรามีสติกำหนดรู้ จิตรับรู้อาการปวด
    รูปนั้นปวดอยู่ จิตไม่ได้ปวด แต่จิตไปรับรู้อาการปวด ขณะนั้นจิตก็ทุกข์ไปด้วย
    จริงมั้ยคะ

    อันนี้ รูปเป็นปัจจัยให้นาม
    คือรูปที่มีการเจ็บปวด เป็นปัจจัยให้นามเกิดทุกขเวทนาตามไปด้วย


    ก่อนที่เราจะลุกขึ้นยืนนั้น ใครเป็นคนสั่ง? คำตอบคือ นาม
    อันนี้ก็ นามเป็นปัจจัยให้รูป

    แล้วอะไรที่เป็นตัวเรามีมั้ย ตอบว่า ไม่มี
    ทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    มีสติกำหนดรู้อะไรคือ นาม อะไรคือรูป ให้ได้ก่อนค่ะ
    แล้วอาการต่างๆ จะปรากฏออกมาเอง

    แหะๆๆ เป็นกำลังใจให้นะคะ เราก็ปฏิบัติอยู่ค่ะ
    และการศึกษาคัมภีร์ปัฏฐานจะสร้างปัญญาให้เราเข้าใจได้ดี
    เป็นแนวทางให้เราทราบในการปฏิบัติค่ะ

    อาศัยการเข้าใจคัมภีร์ปัฏฐาน จะเข้าใจดีขึ้นค่ะ ในเรื่องปัจจัย

    นามรูปปริจเฉทแล้วก็ต่อด้วยปัจจยปริคคหญาณ
    ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ข้ามญาณไม่ได้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2012
  11. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ขอบคุณครับ:cool:
     
  12. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741

    เก่งค่ะ
    รอลุงมาอธิบายเพิ่มเติมนะคะ
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704

    ธาตุ 18

    นี่แหละครับแยกรูปแยกนามไว้ชัดเจนแล้ว ดังในภาพ

    .......จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ เป็นนาม...................................เจตสิก ๕๒ เป็นนาม..............................รูป ๒๘ เป็น รูป

    ..............[​IMG]..........................................[​IMG]......................[​IMG]



    จิต 89 ได้ 7 ธาตุ............................................เจตสิก 52 ได้ 1 ธาตุ เป็นธัมมธาตุ ............. ........รูป 28 ได้ 11 ธาตุ
    1. จักขุวิญญาณจิต 2 เป็นจักขุวิญญานธาตุ ...................................................... ................1.จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ
    2. โสตวิญญาณจิต 2 เป็นโสตวิญญาณธาตุ...................................................... ................2.โสตปสาท เป็น โสตธาตุ
    3. ฆานะวิญญานจิต 2 เป็นฆานะวิญญาณธาตุ .............................................. .....................3.ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ
    4. ชิวหาวิญญาณจิต 2 เป็นชิวหาวิญญาณธาตุ.............................................. .....................4.ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ
    5. กายะวิญญาณจิต 2 เป็นกายะวิญญาณธาตุ.................................................. ..................5.กายปสาท เป็น กายธาตุ
    6. สัมปฏิจฉนะจิต 2 ปัญจทวาราวัชชจิต 1 เป็นมโนธาตุ..................................... ....................6.รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ
    7. จิตที่เหลืออีก 76 เป็น มโนวิญญาณธาตุ...................................................... .................7.สัททารมณ์ เป็น สัททธาตุ
    .............................................................................................................. .......8.คันธารมณ์ เป็น คันธธาตุ
    ............................................................................................................ .........9.รสารมณ์ เป็น รสธาตุ
    .................................................................................................................... 10. โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ
    ........................................................................................................ .............11. รูปที่เหลือเป็นธัมมธาตุ


    .....................
    นิพพานเป็นธัมมธาตุ
    ..................................
    ปรมัตถธรรม 4 ได้ ธาตุ 18 ครับ​
    [​IMG] ตรงนี้ เป็นคำตอบที่แยกรูปแยกนาม

    ธาตุ ๑๘ องค์ธรรม
    ๑. จักขุธาตุ = จักขุปสาท = เป็น รูป
    ๒. โสตธาตุ = โสตปสาท = เป็น รูป
    ๓. ฆานธาตุ = ฆานปสาท = เป็น รูป
    ๔. ชิวหาธาตุ = ชิวหาปสาท = เป็น รูป
    ๕. กายธาตุ = กายปสาท = เป็น รูป
    ๖. รูปธาตุ = รูปารมณ์ = เป็น รูป


    ๗. สัททาธาตุ = สัททารมณ์ = เป็น รูป
    ๘. คันธธาตุ = คันธารมณ์ = เป็น รูป
    ๙. รสธาตุ = รสารมณ์ = เป็น รูป
    ๑๐.โผฏฐัพพธาตุ = โผฏฐัพพารมณ์ = เป็น รูป

    ๑๑.จักขุวิญญาณธาตุ = จักขุวิญญาณจิต๒ = เป็น นาม
    ๑๒.โสตวิญญาณธาตุ = โสตวิญญาณจิต๒ = เป็น นาม
    ๑๓.ฆานวิญญาณธาตุ = ฆานวิญญาณจิต๒ = เป็น นาม
    ๑๔.ชิวหาวิญญาณธาตุ = ชิวหาวิญญาณจิต๒ = เป็น นาม
    ๑๕.กายวิญญาณธาตุ = กายวิญญาณจิต๒ = เป็น นาม
    ๑๖.มโนธาตุ = ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ = เป็น นาม


    ๑๗.มโนวิญญาณธาตุ = จิต ๗๖ (เว้น ข้อ ๑๑. – ๑๖.) = เป็น นาม
    ๑๘.ธัมมธาตุ = เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน = เป็น ทั้ง รูป และ นาม
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 สิงหาคม 2012
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ถูกต้องแล้วครับ...........
    ถ้าจะให้ดีน่าเอารูป ๒๘ มาด้วย
    จะได้ครบขันธ์ทั้ง ๕ เลย.......

    รูป ๒๘ เป็นสภาพธรรมที่เป็นธาตุที่ไม่รู้อะไรเลย มีสภาพธรรมที่เป็นธาตุที่แปรปรวนเสื่อมสิ้นสลายไป
     
  15. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ขอบคุณครับ
    เรื่องแยกรูปนามน่ะพอไหวครับ ผมเรียนอภิธรรมมัตถสังคหะมาบ้าง
    ถึงแม้จะแทงลง ธาตุ อายตนะ อริยสัจไม่ละเอียดละออทั้งหมด

    ปกติมักแอบอ่านหนังสือก่ิอนที่อาจารย์จะสอนน่ะครับ
    ยังไปไม่ถึงแต่อยากรู้แล้ว

    อยากฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ฟังน่ะครับ
    ช่วงนี้ศรัทธาพร่องๆอยู่
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ติดขัดตรงไหนถามได้ครับ
     
  17. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    กำลังจะขอถามอยู่พอดี:cool:
    ช่วยแยกขันธ์๕ ลงสัจจะ๔ให้หน่อยครับ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิต ๘๑ รูป ๒๘ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะเจตสิก ๑) เป็น ทุกขสัจจ์
    โลภะเจตสิก ๑ เป็น สมุทยสัจจ์
    นิพพาน เป็น นิโรธสัจจ์
    มรรค ๘ ที่ในมรรคจิตตุปบาท เป็น มัคคสัจจ์
     
  19. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ขอบคุณครับ :cool:
     
  20. super car

    super car เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +200

    ขอบพระคุณค่ะ เรียนรู้ไปเรื่อยๆค่ะ :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...