เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ..........[​IMG]
    ผัสสะ. เวทนา. สัญญา. เจตนา. เอกัคคตา. ชีวิตินทรีย์. มนสิการ.
    วิตก. วิจาร. อธิโมกข์. วิริยะ. ปีติ. ฉันทะ.

    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ. ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.
    สัทธา. สติ. หิริ. โอตตัปปะ. อโลภะ. อโทสะ. .......ตัตรมัชฌัตตตา.
    ........................................... .................กายปัสสัทธิ. ......จิตตปัสสัทธิ
    สัมมาวาจา. สัมมากัมมันตะ. สัมมาอาชีวะ................กายลหุตา.......... จิตตลหุตา.
    .............................................................กายมุทุตา...........จิตตมุทุตา
    กรุณา. มุทิตา.............................................กายกัมมัญญตา....จิตตกัมมัญตา​
    .............................................................กายปาคุญญตา....จิตตปาคุญญตา
    ปัญญา.....................................................กายุชุกตา. ..........จิตตอุชุกตา..
    ...
    ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่ต้องประหาร
    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ. ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.

     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ. ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.
    <!-- google_ad_section_end -->
    ธรรมเหล่านี้พระโสดาบันเป็นผู้ประหารได้ ๒ อย่างคือ ทิฏฐิ และ วิจิกิจฉา
    ที่เหลือนอกนั้นละเพียงทำให้เบาบางลง
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ. ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.
    <!-- google_ad_section_end -->
    ธรรมเหล่านี้ที่เหลือจากพระโสดาบันประหารไปแล้ว
    พระสกทาคามีทำให้เบาบางลงเท่านั้น
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ.
    ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.

    พระอนาคามีประหารธรรมเหล่านี้ได้อีก ๔ ดวงคือ ๑. โทสะ ๒. อิสสา. ๓. มัจฉริยะ ๔. กุกกุจจะ


    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    สวัสดีครับคุณลุงครับ เค้าประหารกันอย่างไรครับ แล้วน้ำท่วมอยุธยาคุณลุงทุกข์ไหมครับ
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เขาประหารกันด้วยองค์มรรค ๘
    ท่วมอยุธยาไม่ทุกข์ ถ้าท่วมบ้านผมเมื่อไหร่ก็เป็นทุกข์ครับ
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหะ. อหิริกะ. อโนตตัปปะ . อุทธัจจะ.
    โลภะ.ทิฏฐิ. มานะ
    โทสะ. อิสสา. มัจฉริยะ. กุกกุจจะ..
    ถีนะ. มิทธะ.
    วิจิกิจฉา.

    พระอรหันต์ละที่เหลือทั้งหมด
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ประโยชน์ที่แท้ และผลจำกัดของสมาธิ
    สมาธิ เป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งก็จริง แต่ก็มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า
    สมาธิมีความจำเป็นแค่ไหนเพียงใด ในกระบวนการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงวิมุตติ
    อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม ขอบเขตความสำคัญนี้ อาจสรุปดังนี้

    ๑. ประโยชน์แท้ของสมาธิ ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น
    อยู่ที่ทำให้จิตเหมาะแก่งาน ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลดีที่สุด
    และสมาธิที่ใช้เพื่อการนี้ก็ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นสูงสุด
    ในทางตรง ข้าม ลำพังสมาธิอย่างเดียว แม้จะเจริญถึงขั้นฌานสูงสุด
    หากไม่ก้าวไปสู่ขั้นการใช้ปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้เป็นอันขาด

    ๒.ฌาน ต่างๆ ทั้ง ๘ ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง
    แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่าสมถะอย่างเดียว
    ก็ยังเป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น จะนำไปปะปนกับจุดหมายของพุทธธรรมหาได้ไม่

    ๓.หลุด พ้นได้ชั่วคราว กล่าวคือ ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น
    กิเลสต่างๆ สงบระงับไป จึงเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นเหมือนกัน
    แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะนั้นเท่านั้น
    และถอยกลับสู่สภาพเดิมได้ ไม่ยั่งยืนแน่นอน
    ท่านจึงเรียกความหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกิยวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์)
    และกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบ คือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้)
    และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะกำลังสมาธิข่มไว้
    เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่)
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดีแล้ว
    ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข
    ไม่ต้องมามั่วเนียนๆด้วย
    ................................

    ขอเติมอีกคำนะลุง


     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
    พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดีแล้ว

    ก็หมายความว่า
    ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข
    ไม่ต้องมามั่วเนียนๆด้วย
    ไม่ต้องเอาเข้าไปยัดเยียด ไม่เอาไปเสียดสีถากถาง เข้าไปเบี่ยงเบน

    ขึ้นซื่อว่าพุทธบุตรย่อมต้องรักษามรดกของพระพุทธองค์
    เหมือนบุตรที่ดีย่อมรักษาทรัพย์ของวงค์ตระกูลมิให้ศูนย์ไปฉะนั้น

    ****************
    ความสำคัญของคำสอน
    กว่าที่พระองค์จะได้มาตรัสรู้นั้นนานถึง ๒๐ อสงไขย แสนกัปป์
    เพื่อบัญญัติเป็นคำสอน ๘๔.๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพื่อตรัสสอนแก่เวไนยสัตว์ที่พอจะรู้ตามได้
    ปริยัติศาสนาย่อมเป็นส่วนสำคัญยิ่งประการหนึ่ง
    ในอันที่จรรย์โลงพระพุทธศาสนาให้สถิตเสถียรถาวร
    เจริยรุ่งเรืองยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตกาล
    นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นต้นมา
    ถ้าพระเถรานุเถระทั้งหลายไม่สนใจในการศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นพุทธวจนะ และอรรถกถาสืบต่อกันมาแล้ว
    พระพุทธศาสนาก็ไม่อาจสืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้
    ถ้าการณ์ ? ดังนั้นแล้ว บรรดาประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในภายหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วมา
    ก็ไม่อาจรู้จักพระพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมะในพระพุทธศาสนา
    เมื่อไม่ได้ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ย่อมจะหันไปนิยมนับถือลัทธิต่างๆ
    อันมิใช่พระพุทธศาสนา
    ซึ่งจะกระทำให้วัฏฏะของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นไม่มีที่สิ้นสุด
    อันเป็นที่น่าสงสารน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
    ฉะนั้น
    การศึกษาเล่าเรียน อันได้แก่ปริยัติศาสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งนัก และการศึกษาเล่าเรียนนี้
    ถ้าหากจะมีการศึกษาเล่าเรียนกันเฉพาะแต่การท่องจำภาษาบาลีล้วนๆ
    ไม่ได้ทำการแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถา
    ให้เป็นภาษาพื้นเมืองอย่างสมบูรณ์แล้ว ปริยัติศาสนาก็ไม่อาจขยายให้กว้างขวางออกไปได้
    การศึกษาเล่าเรียนนั้น
    ก็ย่อมเป็นที่รู้กันโดยเฉพาะแต่ในคนหมู่หนึ่ง ซึ่งจะยั่งยืนอยู่ได้ก็เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น
    แล้วก็จะเสื่อมสิ้นสูญไป
    ความหวังที่จะให้พุทธศาสนาได้แผ่ขยายให้กว้างออกไป และให้เจริญยั่งยืนอยู่ตลอดกาลนาน
    เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังๆนั้น ก็ย่อมเป็นความหวังที่ยากจะสำเร็จได้ แต่ถ้าได้รจนาปกรณ์ต่างๆ
    จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาออกมาเป็นภาษาพื้นเมืองโดยถูกต้องสมบูรณ์
    เพื่อให้ได้ศึกษากันในหมู่ชุมนุมชนโดยทั่วไปแล้วการศึกษาเล่าเรียนก็ย่อมจะขยายวงกว้างออกไปทุกที่
    กระทำให้ประชาชนทั้งหลาย ได้ทราบถึงธรรมรสและอรรถรสในพระพุทธศาสนาแพร่หลายยิ่งขึ้น
    ซึ่งจะมั่นใจได้ว่า
    พระพุทธจะเจริญยั่งยืนถาวรอยู่ตลอดกาลนาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กันยายน 2012
  12. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318


    เหอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆบอสMVP
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กันยายน 2012
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้เป็นเรื่องประเสริฐแท้
    การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปกอดกองไฟ
    มีแต่ความเร่าร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ
    กับคนจน ๆ ดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน

    นี่เป็นข้อยืนยันว่า ความสุขนั้น...อยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ
    อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้
    ก็รู้สึกมีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่า
    แน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นมิใช่คนใหญ่คนโต
    แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุข สงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย”
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับเลยย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน
    ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว ย่อมรู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว
    แต่สังสารวัฏฏ์ คือ การเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้พระสัทธรรมยังยาวนานกว่านั้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! สังสารวัฎฎ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ”....

    การเกิดใด ๆ นั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือความชรา
    ความเจ็บปวดทรมาน และความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
    ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นจากดิน และนำดินติดขึ้นมาด้วย
    หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียนแล้วจะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง
    สัตว์โลกเมื่อเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วยตราบที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก
    ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว”
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่งรักษายาก ห้ามได้ยาก
    ผู้มีปัญญาจึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรนให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น

    ภิกษุทั้งหลาย! จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ
    เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ
    ผู้มีปัญญาจึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณให้ละบ่วงมารเสีย”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งที่ดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน

    ”ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือ จิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุด
    และควรแก่การสรรเสริญนั้น คือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้
    ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่า เป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย”
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มรรคมีองค์แปด นี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่
    เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปด นี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้
    เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป
    ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น
    เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ
    ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหา คือ ความทะยานอยากดิ้นรน
    ซึ่งมีลักษณะเป็นสาม คือ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกว่า กามตัณหา อย่างหนึ่ง
    ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียก ภวตัณหา อย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นแล้ว เรียก วิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แล
    คือ สาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน

    ภิกษุทั้งหลาย การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่าง ๆ ดับตัณหา
    คลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่า นิโรธ คือ ความดับทุกข์ได้"
     

แชร์หน้านี้

Loading...