52.เดินกรุงเก่า เข้าวัดหลวง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 2 พฤศจิกายน 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    a.jpg


    ๕๒

    ...เดินกรุงเก่า เข้าวัดหลวง...


    วันอังคารที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ วันหยุดราชการ วันนี้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช และเป็นวันที่ตรงกับวันธรรมสวนะ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งใจจะแต่งกลอนเทิดพระเกียรติแต่แต่งไม่ออกเลยสักบทหนึ่ง เปิดอ่านกลอนของคนโน้นคนนี้ที่แต่งถวาย พอจะคิดบ้างก็คิดไม่ออก ช่วงหลังๆ มานี้ไม่ค่อยได้แต่งกลอนด้วยก็เลยฝืด....

    เมื่อวานก่อนวันหยุดคิดวางแผนจะไปไหว้พระ ก็เหมือนเดิม ชวนแมงปอฯ ไปไหว้พระที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแต่ไม่ได้กะว่าจะไปวัดไหน ที่คิดๆ ไว้ว่าจะไปวัดกษัตราธิราชวรวิหาร เพื่อไปถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์พระปิยมหาราชที่นั่น จากนั้นก็จะไปวัดที่ไม่เคยไป



    ..................................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2332195/[/MUSIC]

    ..................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    ออกจากบ้านแปดโมงกว่าๆ วันนี้ไม่รีบร้อน ไปถึงวัดกษัตราธิราชวรวิหารประมาณเก้าโมงกว่า ที่ลานจอดรถในวัดมีรถจอดอยู่ไม่กี่คัน จอดรถได้ก็เดินไปที่พระอุโบสถก่อน ที่บริเวณหน้าพระอุโบสถมีการทำหลังคาใหม่ และพระพุทธรูปทรงเครื่องที่อยู่ตรงหน้าโบสถ์ก็ดูแปลกตาไป วันนี้หลวงพ่อดูผ่องมากๆๆๆๆ


    เอ ทำไมเป็นอย่างนั้น อืมมม คิดทบทวนความจำเมื่อคราวที่มาครั้งสุดท้าย อ้อ หลวงพ่อถูกปิดทองใหม่แล้วขัดเงาก็เลยดูใหม่ งาม และผ่อง ถ้าเทียบกับก่อนปิดทอง จะดูหลวงพ่อเคร่งขรึมและน่าเกรงขาม... แล้วหลวงพ่อก่อนปิดทองกับหลวงพ่อปิดทองแล้วอย่างไหนให้ความรู้สึกดีกว่ากัน.... เป็นคำถามที่ขัดแย่งกันอยู่ในใจที่ชอบหลวงพ่อแบบเดิมมากกว่า.....

    [​IMG]

    หลวงพ่อก่อนปิดทอง


    เมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ก็ถูกน้ำท่วมเหมือนกัน ดูจากคราบน้ำที่ยังเกาะอยู่ตรงป้ายภายในวัดสูงประมาณหน้าอกถึงคอ(ไม่ได้เอาตัวเองไปเทียบระดับน้ำนะ กะด้วยสายตา แต่ที่แน่ๆ เกือบถึงหลังคารถเก๋ง VIOS เพราะเห็นจอดอยู่ตรงป้ายที่มีคราบน้ำ) ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็คงจะมีมากเหมือนกัน แต่ ณ วันนี้ ที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร คิดว่าได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว คงความสวยงามดังเดิม อาจจะมากกว่าเดิมด้วย ดูจากหลวงพ่อหน้าพระอุโบสถ พูดแต่เรื่องไม่มีสาระเยอะไปหน่อย มาเข้าข้อมูลหนักๆ กันบ้าง ก็ไปดึงมาจากหลายๆ แหล่ง มาตัด มาต่อ ลบออก ขยายความ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9176_1a.jpg
      IMG_9176_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      398.3 KB
      เปิดดู:
      1,470
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

    ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดกระษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” โดยความหมายของชื่อวัดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ ในตำบลที่ตั้งป้อมจำปาพลพระนครฝั่งตะวันตก ส่วนด้านหลังวัดมีทุ่งกว้างเรียกว่า “ทุ่งประเชต” ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพพม่าในการเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๒๓๑๐ นั้น วัดกษัตราธิราชเป็นบริเวณที่กองทัพพม่าใช้เป็นสถานที่ตั้งมั่นในการเข้าตีพระนคร ภายหลังวัดถูกทำลายลงไปมากและทิ้งร้างไปในที่สุด
    ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกดังนี้ว่า “วัดกุสิทาราม” ระบุว่าเป็น (วัดพระอารามหลวง) อันดับที่ ๔๑ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

    ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า ว่าด้วยแผนที่กรุงศรีอยุธยา กล่าวออกชื่อวัดกษัตราธิราชไว้ตอนหนึ่งมีความว่า “ด้านขื่อประจิมทิศ เรือจ้างบ้านชัยออกไป วัดไชยราม (วัดชัยวัฒนาราม) ๑ เรือจ้าง วังหลังข้ามออกไปวัดลอดฉอง (วัดลอดช่อง) ๑ เรือจ้าง ด่านข้ามออกไปกระษัตรา (วัดกษัตราธิราช) ๑ เรือจ้างออกไปธาระมา (วัดธรรมาราม) ๑ ด้านขื่อปัจจิมทิศมีเรือจ้างสี่ตำบล”

    จากการพิจารณาตามความดังกล่าวมาแล้วเข้าใจว่า เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา ณ บริเวณภูมิสถานที่ตั้งวัดกษัตราธิราช ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวังหลัง (วังสวนหลวง) คงเป็นท่าเรือจ้างที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งและคงมีประชาชนพลเมืองข้ามฟากไป – มา เป็นประจำ และมีความปรากฏต่อไปอีกว่า ณ บริเวณแถบนี้ มีตลาดย่านการค้าที่เป็นแหล่งชุมชนอยู่หลายแห่งด้วยกันเช่นตลาดกวนลอดช่อง ตลาดเรือจ้างวัดธาระมา (วัดธรรมาราม) ตลาดบ้านป้อมตรงขนอนปากคู ตลาด(หัว)แหลมคลองมหานาค ฯลฯ ทั้งกล่าวว่า บ้านวัดลอดฉอง (วัดลอดช่อง) แขกจามทอผ้าไหม ผ้าด้ายขาย บ้านหน้าวัดราชพลี (วัดลาดพลี) วัดธาระมา (วัดธรรมาราม) ขายโลงและเครื่องสำหรับศพ บ้านป้อมหัวพานขายนกอังชัน นกกระจาบตาย และเร่ขายนกสีชมภู นกปากตะกั่ว นกกระจาบ ให้ซื้อปล่อยเทศการตรุษสงกรานต์ แม่น้ำหัวแหลมหน้าวัดภูเขาทอง ใต้ศาลเจ้านางหินลอย จีนตั้งโรงสุราและเลี้ยงหมูขาย ฯลฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9218_1a.JPG
      IMG_9218_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      426.9 KB
      เปิดดู:
      1,969
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวออกชื่อวัดกษัตราธิราชเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๓ ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ความว่า
    “ครัน ณ เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ (ปีมะโรง โทศก จ.ศ. ๑๑๒๒ พ.ศ. ๒๓๐๓) พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา ยิงเข้าในกรุงพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงช้างต้นพลายแสนพลพ่ายไปทอดพระเนตรกำชับหน้าที่ ณ วัดสวนหลวงสพสวรรค์ และป้อมมหาชัย ครั้นเพลาเย็นพม่าเลิกทัพข้ามฟากไปข้างวัดภูเขาทอง......................”

    ถ้าหากจะนับจาก พ.ศ. ๒๓๐๓ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๔) ก็เป็นเวลานาน ถึง ๒๔๑ ปี นับว่า วัดกษัตราธิราชเป็นวัดที่มีหลักฐานความเป็นมาอันยาวนานวัดหนึ่ง ส่วนตำบลที่ตั้งวัดที่มีชื่อว่า “ตำบลบ้านป้อม” นั้นก็เป็นชื่อที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกใต้ปากครองวัดลาดลงมาคือ ตรงที่ป้อมจำปาพล ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระมาหาจักรพรรดิ ทางราชการได้สร้างป้อมมีชื่อว่า “ป้อมจำพล” ซึ่งเป็นป้อมนอกพระนครด้านตะวันตกขึ้นไว้ ณ ตำบลนี้ ป้อมดังกล่าวนี้ตั้งอยู่เหนือวัดท่าการ้อง (วัดท่า – วัดการ้อง) ขึ้นไปที่ตรงข้าม ปากคลองวัดภูเขาทองซึ่งในปัจจุบันนี้ยังมีซากป้อมปรากฏอยู่บ้าง เพียงเล็กน้อย และวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณป้อมนั้นก็ยังเรียกชื่อว่า “วัดป้อม” อยู่ถึง ๒ วัด ด้วยกัน คือ วัดป้อมใหญ่ และวัดป้อมน้อย (วัดป้อมเหนือ วัดป้อมใต้ก็เรียก) ปัจจุบันเป็นวัดป้อมใหญ่ เฉพาะที่วัดท่าการ้อง (วัดท่า – วัดการ้อง) เคยเป็นที่ตั้งค่ายของพม่าค่ายหนึ่งก่อนเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. ๒๓๐๙ (บางแห่งว่า ตั้งค่ายที่วัดลอดช่องและวัดวรเชษฐด้วย) ส่วนด้านหลังของวัดกษัตราธิราชออกไปมีทุ่งกว้างอยู่ทุ่งหนึ่ง เรียกกันมาแต่โบราณว่า “ทุ่งประเชต” มีวัดวรเชษฐตั้งอยู่ชายทุ่งนี้ในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า เมื่อมังมหานรธายกเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา มาตั้งค่ายล้อมกรุงฯ ที่ตำบลต่าง ๆ ๘ แห่งทางทิศตะวันตกตั้งที่วัดนี้นอกจากนั้นเคยปรากฏว่า พม่าได้ยึดเอาที่นี้เป็นที่มั่น ตั้งกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้งดังปรากฏเรื่องราวอยู่ในพระราชพงศาวาดารแล้ว
    ตามหลักฐานต่าง ๆ ที่ปรากฏตามเอกสารดังกล่าวมา แสดงให้รู้ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดกษัตราธิราช จักต้องเป็นวัดที่มีชื่อเสียงและเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง

    วัดกษัตราธิราช คงจะถูกข้าศึกทำลายอย่างยับเยินเมื่อคราวเสียกรุงฯ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐ หรือก่อนหน้านั่นเนื่องจากที่ตั้งวัดอยู่ไม่ไกลกับวัดท่าการ้อง (วัดท่า – วัดการ้อง) วัดลอดช่องและวัดวรเชษฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งค่ายของพม่ามากนัก ผู้คนจึงพากันอพยพหลบหนีภัยสงคราม แม้พระสงฆ์ก็คงจะอยู่ไม่ได้ วัดจึงต้องร้างไปในที่สุด และคงจะตกเป็นวัดร้างมาเป็นเวลาหลายปี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9179_1a.jpg
      IMG_9179_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.9 KB
      เปิดดู:
      1,550
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดกษัตราธิราชนี้มีวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายวัด เช่น ทางด้านทิศเหนือมีวัดปาเสา (ร้าง) วัดธรรมาราม (วัดธาระมา) วัดท่าการ้อง (วัดท่า – วัดการ้อง) ทางด้านทิศใต้มีวัดราชพลี (วัดลาดพลีร้าง) วัดลอดช่อง วัดชัยวัฒนาราม (ร้าง) เป็นต้น ที่ใกล้เคียงที่วัดกษัตราธิราชมากที่สุด ก็คือวัดปาเสา (ร้าง) ปัจจุบันที่วัดนี่ยังมีพระเจดีย์องค์เล็กปรากฏอยู่องค์หนึ่ง

    เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข(กรมพระราชวังหลัง) พระโอรสองค์ที่หนึ่งของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งประสูติในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คงจะได้ทันทอดพระเนตรเห็นวัดกษัตราธิราช วัดสำคัญในสมัยนั้นถูกทำลายจนร้างไป จึงโปรดให้บูรณะโดยเริ่มบูรณะพร้อมกับวัดในกรุงเทพมหานคร เช่น วัดบพิตรภิมุขและวัดธรรมารามในอยุธยาด้วย ทำให้วัดกษัตราธิราชเป็นวัดที่มีพระสงฆ์กลับมาจำพรรษาตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ต้นราชสกุล อิศรางกูร พระเจ้าหลานเธอ ในรัชกาลที่ ๑ ทรงพระศรัทธาปฏิสังขรณ์ วัดกษัตราธิราชขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาสืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ แต่จะทรงปฏิสังขรณ์เมื่อใดไม่ปรากฏตามความสันนิษฐานน่าจะได้ทรงปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ ๒ ก่อน พ.ศ. ๒๓๖๑ ขึ้นไป ดังมีความปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๒ “ตอนเหตุการณ์เบ็ดเตล็ด” พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า
    “ปีขาล สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๘๐ พ.ศ. ๒๓๖๑ วันเสาร์เดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เวลาพลบเกิดพายุใหญ่ที่กรุงเก่า ฟ้าผ่ายอดพระเจดีย์วัดภูเขาทอง วัดเจ้าขรัว และพระปรางค์วัดกษัตรายอดหัก พระเจดีย์วัดภูเขาทองและวัดเจ้าขรัว ใครจะปฏิสังขรณ์หาปรากฏไม่ได้ความแต่ว่าวัดกระษัตรานั้น เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม”

    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระนามเดิมว่า เกศ เป็นพระโอรสองค์ที่ ๖ ในสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ และเจ้าขรัวเงิน ประสูติแต่ครั้งกรุงธนบุรี เมื่อ วันพุธ เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๑๖ ในรัชการที่ ๒ ได้ทรงกำกับกรมมหาดไทยต่อจากเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๗๓ พระชันษา ๕๘ ปี เป็นต้นราชสกุล “อิศรางกูร”
    จากหลักฐานขั้นต้นแสดงให้รู้ว่า ครั้งนั้นวัดกษัตราธิราชได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ทั้งพระอาราม กล่าวคือ พระอุโบสถ พระปรางค์ ตลอดทั้งเสนาสนะทั้งปวง ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยทั่วถึงกัน

    ส่วนนาม “วัดกษัตราธิราช” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ จ้ะเปลี่ยนมาจาก “วัดกษัตรา” เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่า คงจะมาเปลี่ยนเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ด้วยปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวัน พ.ศ. ๒๔๓๑ ครั้งเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้ในจดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวัน ดังกล่าวทรงพระราชนิพนธ์นามของวัดนี้ว่า “วัดกษัตราธิราช” จึงสันนิษฐานว่าวัดนี้คงจะได้เปลี่ยนนามมาแล้วตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๕ การบูรณปฏิสังขรณ์ วัดกษัตราธิราชในยุคพระอธิการฉิม และในยุคพระอุปัชฌาย์สน เป็นเจ้าอาวาสจะมีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์สิ่งใดบ้างไม่ปรากฏ


    [​IMG]

    ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในยุคพระอุปัชฌาย์มี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๒๒ ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นหนึ่งหลัง ศาลาการเปรียญหลังนี้ได้ถ่ายแบบอย่างมาจากวัดเชิงท่า ริมคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรีเดิม) ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธมฺมสิริโชติ) ขณะเป็นพระอันดับ พร้อมด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ (พระองค์เจ้าชายอุไร ในรัชกาลที่ ๓ ต้นราชสกุล อุไรพงศ์) เป็นผู้ช่วยเหลือดำเนินการการก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ รวมเป็นเวลา ๑๔ ปีเศษ เมื่อพระอุปัชฌาย์มี มรณภาพแล้ว พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธมฺมสิริโชติ) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชสืบต่อมา ในยุคนี้ ได้มีการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุหลายอย่างคือ ซ่อมพระอุโบสถและสร้างพระวิหารหน้าพระอุโบสถ ๒ หลัง พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง หลังพระวิหาร ๔ องค์ ศาลาสกัดด้านหลังศาลาการเปรียญรวม ๓ หลัง หอสวดมนต์ (หอประชุม) ๑ หลัง หอไตร ๑ หลัง หอระฆัง ๒ หลัง ศาลาท่าน้ำหน้าวัด ๑ หลัง กุฏิตึกแถวขนาด ๕ ห้อง ๕ หลัง กุฏิตึกเดี่ยว ๔ หลัง โรงเรียนประจำอำเภอ ๑ หลัง กับได้รับประทานตำหนักเครื่องไม้จากกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ (พระองค์เจ้าชายอุไร) มาปลูกเป็นกุฏิสำหรับเจ้าอาวาส ๑ หลัง พร้อมทั้งขยายกำแพงแก้วพระอุโบสถ และก่อซุ้มประตูด้านหน้าพระอุโบสถอีกด้วย


    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ทรงมีพระศรัทธาประทานเงินบำรุงพระอาราม เนื่องในการบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันประสูติ ๒๐๐ บาท


    ในสมัยที่พระครูวินยานุวัติคุณ (มาก อินฺทโชติ) เป็นเจ้าอาวาสได้บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ก่อสร้างค้างไว้ยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ซ่อมพระวิหารคู่ ๒ หลัง สิ้นเงิน ๗๐๐ บาท หอสวดมนต์ (หอประชุม) ๑ หลัง ถนนหน้าพระอุโบสถ ๑ สาย และได้จัดการเทคอนกรีตลานพระอุโบสถ กับเปลี่ยนชานศาลาสกัดด้านหลัง ศาลาการเปรียญ โดยเปลี่ยนจากไม้เป็นก่อนอิฐ


    ในยุคพระมหาสิน นฺนโท ป.ธ.๕ เป็นเจ้าอาวาส มีการซ่อมศาลาการเปรียญอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ นอกจากนั้น มิได้มีการบูรณะหรือปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุใด ๆ อีก เนื่องจากสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ยังบริบูรณ์มั่นคงไม่ชำรุดทรุดโทรมแต่ประการใด


    ในยุคพระครูไพจิตรวิหารการ (บัว สีลโสภโณ) เป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการซ่อมหลังคาพระอุโบสถและศาลาการเปรียญ ศาลาตรีมุขอีก กับได้สร้างกำแพงหน้าวัดพร้อมด้วยอนุสาวรีย์ (รูปพระยอดธงรบ) ขึ้น (กำแพงพระอนุสาวรีย์ดังกล่าวนี้ ได้รื้อออกเสียเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ ครั้งสร้างเขื่อนพิพิธวิหารการ) และสร้างโรงเรียนชั้นประถมศึกษาขึ้นหนึ่งหลัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นอาคารตึกชั้นเดียว ยาว ๒๘ เมตร กว้าง ๘ เมตร มีมุขยื่นออกมาข้างหน้า ๒ มุข ยาวมุขละ ๕ เมตร พร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์การศึกษาเช่น โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ สิ้นเงิน ๒๓๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่นบาทถ้วน) โรงเรียนหลังนี้ทางราชการได้ขนานนามว่า “ไพจิตรวิหารการบำรุง”


    ถึงยุคพระครูพิพิธวิหารการ (เทียม สิริปญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาสปรากฏว่าวัดกษัตราธิราชได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่งกล่าวคือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่เป็นปูชนียวัตถุก็ดี ถาวรสัตถุก็ดี เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมาถึงปัจจุบันต่างก็ชำรุดทรุดโทรมลงโดยลำดับ นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำการบูรณปฏิสังขรณ์อย่างรีบด่วนถ้าหากขืนปล่อยทิ้งไว้ก็จะต้องชำรุดผุพังไปอย่างน่าเสียดายจึงได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ตามขั้นตอนและตามลำดับของความสำคัญ คือ ซ่อมตำหนักอุไรพงศ์ และปฏิสังขรณ์พระอุโบสถเปลี่ยนช่อฟ้า ใบระกาและเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ กับซ่อมพระพุทธปฏิมาประธานและพระพุทธรูปต่าง ๆ ในพระอุโบสถรวม ๗ องค์ ขยายถนนสานหน้าพระอุโบสถถึงท่าน้ำอีก ๑ สาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ การปฏิสังขรณ์วัดกษัตราธิราชในยุคนี้ก็กระทำติดต่อกันตามลำดับโดยมิได้หยุดยั้ง หอสวดมนต์ (หอประชุม) หอรับรอง หอไตร หอระฆัง กุฏิได้รับปฏิสังขรณ์ทั้งหมด ที่นับว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญก็คือ การก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตหน้าวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๓๕ เมตร (ยาวตามแนวตลิ่ง) สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๘๗๖,๕๙๐.๐๐ บาท (แปดแสนเจ็ดหมื่นหกพันห้าร้อยเก้าสิบบาทถ้วน) ขนานนามว่า “เขือนพิพิธวิหารการ” พร้อมกับสร้างกำแพงหน้าวัด ศาลาท่าน้ำหนึ่งหลัง บูรณะศาลาท่าน้ำของเดิมอีก ๒ หลัง ต่อมาได้สร้างหอเก็บถังน้ำประปาสำหรับใช้ในวัด และโรงเลี้ยงอาหารเทคอนกรีตรอบพระอุโบสถซ่อมกำแพงแก้ว ซ่อมพระวิหารน้อย มุมกำแพงแก้วด้านตะวันตก และซ่อมฐานพระปรางค์ชั้นล่างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ นอกจากนี้ ยังมีท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดอีกหลายอย่าง คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ นายธงชัย นางวัชรี โตอุรวงศ์ ปฏิสังขรณ์วิหารน้อยด้านเหนือ พร้อมพระพุทธรูป ๑ องค์ และสร้างกุฏิ ๑ หลังสินเงิน ๑๗๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งแสนเจ็ดเหมื่นบาท) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ นายภิญโญ นางสมพร แตรตุลาการ ปฏิสังขรณ์พระวิหารหน้าอุโบสถ ๑ หลัง สินเงิน ๒๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองแสนบาท) ในการบูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งนี้ได้มีนายแพทย์สิริ นางวิไลวรรณ พัฒนกำจร ได้บริจาคเงินสมทบทุนปฏิสังขรณ์ซุ้มประตู และหน้าต่างพระวิหารทั้ง ๒ หลัง เป็นจำนวนเงิน ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งแสนาองหมื่นบาท) นายมณี ศุภวัฒน์ ได้บริจาคเงินค่าปรับปรุงแสงสว่างภายในบริเวณวัดอีก ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นบาท) และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางวัดได้จัดสร้างฌาปนสถาน ๑ หลัง กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สิ้นเงิน ๑,๒๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนห้าหมื่นบาท) และซ่อมชั้นล่างของกุฏิตึกผู้ช่วยเจ้าอาวาสให้เป็นสำนักงานชั่วคราวของโรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพ สิ้นเงิน ๕๕,๐๐๐.๐๐ บาท (ห้าหมื่นห้าพันบาท)


    เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางวัดได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารโรงเรียนศูนย์วิชาชีพซึ่งขณะนั้นดำเนินการก่อสร้าง

    บรรดาถาวรวัตถุภายในวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้นอกจากพระอุโบสถ และพระปรางค์แล้ว ปรากฏว่าได้สร้างขึ้นในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) เป็นส่วนมาก และเจ้าอาวาสองค์อื่น ๆ ต่อมาจนถึงองค์ปัจจุบันก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ติดต่อกันมาโดยลำดับ โดยที่วัดกษัตราธิราชวรวิหารเป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาแต่โบราณกาล จึงปรากฏว่าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้มีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้ อาทิเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เคยเสด็จมาประทับแรมเมื่อครั้นทรงผนวช ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงวัลยราชสมบัติแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดนี้พร้อมกับวัดอื่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยารวม ๕๐ วัดด้วยกัน ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้หลายครั้ง แต่ที่ปรากฏโดยหลักฐาน ๒ ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ครั้งหนึ่ง และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ อีกครั้งหนึ่ง และทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานหินอ่อนมาปูพื้นพระอุโบสถด้วย

    ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรวัดกษัตราธิราชเป็นการส่วนพระองค์เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ทรงบริจาคเงินบำรุงบูรณะวัด ๕๐๐ บาท (ห้าร้อยบาท)

    เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้พระราชทานเงินบำรุงวัด ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาท)

    เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้ พระราชทานเงินบำรุงวัด ๓๕,๐๐๐.๐๐ บาท (สามหมื่นห้าพันบาท)

    เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าพระวิหารคู่และทรงเททองหล่อพระพุทธลีลาจำลอง พระราชทานเงินบำรุงวัด ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นบาท)

    ทั้งนี้ นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ซึ่งจัดได้เป็นเกียรติประวัติแก่วัดกษัตราธิราชวรวิหารสืบต่อไปชั่วกาลนาน

    เนื่องจากวัดกษัตราธิราช เป็นวัดที่มีความสำคัญดังกล่าวแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นไป ตามแจ้งความกระทรวงศึกษาธิการเรื่องยกวัดราษฎร์ เป็นอารามหลวง ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๔ ตอนที่ ๒๓ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๐ หน้า ๑๒๖๑ นับเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ ๙ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในบรรดาพระอารามหลวงทั้งหมด ๑๓ วัดด้วยกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9219_1a.JPG
      IMG_9219_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      472.2 KB
      เปิดดู:
      2,051
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    สิ่งสำคัญภายในพระอาราม

    ปูชนียวัตถุ


    [​IMG]

    ๑. พระพุทธปฏิมาประธาน ภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น นั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ศิลปสมัยอยุธยา ๑ องค์ กับพระพุทธรูปปูนปั้นนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย รอบพระประธาน รวม ๖ องค์ โดยฝีมือช่างคนเดียวกัน ประดิษฐานอยู่เหนือแท่นไพที บนฐานชุกชีขนาดใหญ่เฉพาะแท่นของพระพุทธรูปเหล่านี้ มีผ้าทิพย์ปูนปั้นปิดทอง ลวดลายต่าง ๆ กัน ฝีมือประณีตงดงามลักษณะเป็นพระแท่นสิงหาสน์ รองรับรัตนบัลลังก์ (ประดับด้วยครุฑยุคนาคเรียงรายรอบ ๒ ชั้น) แท่นพระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะดังกล่าวนี้ กล่าวได้ว่า (มีที่วัดกษัตราธิราชเพียงแห่งเดียว) และปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้มาดูมาชมเป็นอย่างมาก พระพุทธรูปทั้งหมดนี้ ได้รับการซ่อมแซมมาครั้งหนึ่งเมื่อในรัชกาลที่ ๕ โดยกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติและได้รับการซ่อมในยุคนี้อีกครั้งหนึ่ง เฉพาะพระพุทธปฏิมาประธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระพุทธกษัตราธิราช”

    [​IMG]

    ๒. พระพุทธปฏิมาประธาน ในพระวิหารหลังเหนือ เป็นพระพุทธรูปยืน ปางถวายเนตร ๑ องค์ ปางประทานพร ๑ องค์ กล่าวกันว่า ทางวัดได้อัญเชิญมาแต่ซุ้มพระปรางค์วัดราชพลี (วัดลาดพลี – ร้าง) ในตำบลเดียวกัน

    ๓. พระพุทธปฏิมาประธาน ในพระวิหารหลังใต้ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปองค์นี้ พลโท พระยาสโมสรสรรพ – การ (ทัด สิริสัมพันธ์) อัญเชิญมาประดิษฐานไว้

    ๔. พระพุทธรูปปูนปั้นปางป่าเลไลยก์ มีพระเจดีย์ปูนปั้นประดับ ๒ ข้าง (เข้าใจว่าจะเป็นพระจุฬามณีเจดีย์) ประดิษฐานอยู่ในซุ้มมุขเด็ดหลังพระอุโบสถ ๑ องค์

    [​IMG]

    ๕. พระพุทธรูปหล่อปางลีลา สูง ๕ ศอก ประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ หล่อเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ พระพุทธรูป องค์นี้ คณะศิษยานุศิษย์วัดกษัตราธิราช มีพระสมุห์สำรวย ฐิญฺโญ น.ธ. เอก รองเจ้าอาวาสเป็นประธานดำเนินการสร้าง ในโอกาสที่พระครูพิพิธวิหารการ (เทียม) บำเพ็ญกุศลอายุครบ ๖ รอบ

    ๖. พระพุทธรูปประจำศาลาการเปรียญ หล่อเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ โดยฝีมือพระเทพรจนา (สินปฏิมาประกร) ช่างหล่อในรัชกาลที่ ๕

    ๗. พระพุทธรูปประจำวิหารน้อย ๑ องค์

    ๘. พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย (แท่นสมัยรัตนโกสินทร์) หน้าตัก ๙ นิ้วครึ่ง สูง ๑ ศอกเศษ มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก เดิมประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์หลังวิหารด้านใต้ หน้าพระอุโบสถได้ปรากฏองค์ (เจดีย์ระเบิด) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๒๐.๓๐ น.

    ๙. พระปรางค์ใหญ่ ๑ องค์ สูง ๒๒ เมตร ๖๐ เซนติเมตร จอมโมลีประดับลำภุชัน (สลัดได) ติดฝักเพกาสำริด ๑๒ กิ่ง ภายในซุ้มจตุรทิศขององค์พระปรางค์ เป็นผนังอุดมีพระเจดีย์ปูนปั้นประดิษฐานอยู่ซุ้มละ ๑ องค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรแล้วทรงมีพระราชกระแสรับสั่งด้วยฉงนพระทัยว่า “วัดนี้แปลก สร้างพระปรางค์ทำไมจึงมีเจดีย์ด้วย” จึงทรงสันนิษฐานว่า “ที่มีพระเจดีย์อยู่ในซุ้มจตุรทิศเช่นนี้ ชะรอยผู้สร้างประสงค์จะให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาในประเทศไทยรุ่งเรืองกว่าขอมนั้นเอง” พระปรางค์องค์นี้ถูกฟ้าผ่ายอดหัก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๖ ในรัชกาลที่ ๒ และได้รับการซ่อมในภายหลังต่อมาอีกหลายครั้งกล่าวกันว่า มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายในองค์พระปรางค์ด้วย มีคนเคยเห็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จปาฏิหาริย์ออกจากองค์พระปรางค์เสมอพระปรางค์องค์นี้อยู่หลังพระอุโบสถ เป็นหลักประธานของวัดมีมาแต่ดั้งเดิม

    ๑๐. พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง หลังวิหารคู่ หน้าพระอุโบสถสูงใหญ่เท่ากัน ๔ องค์ สร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) เป็นที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดนี้ด้วย

    ๑๑. พระเจดีย์เหลี่ยมขนาดย่อม มีครุฑยุนาค (ครุฑจับนาค) แบกเชิง ๑ องค์

    ๑๒. พระปรางค์ขนาดเล็ก ภายในซุ้มจตุรทิศประดับเจดีย์ลักษณะคล้ายพระปรางค์ขนาดใหญ่ ๑ องค์ พระปรางค์เล็กหน้าพระอุโบสถ ๑ องค์

    [​IMG]

    ๑๓. รอยพระพุทธบาทจำลอง หล่อด้วยโลหะปิดทองขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลังเหนือ ๑ รอย

    ๑๔. รูปหล่อสมเด็จพระพนรัต หล่อด้วยโลหะปิดทอง ถอดได้ครึ่งองค์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหน้าพระอุโบสถ (เดิมประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ หลังพระประธาน) กล่าวกันว่า สมเด็จพระพนรัตรูปนี้ เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สถิต ณ วัดป่าแก้ว (วัดเจ้าฟ้าแก้ว หรือ วัดแก้วฟ้าก็เรียก) อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์ ตำบลสำเภาล่ม บางท่านว่าวัดป่าแก้ว (วัดเจ้าฟ้าพระยาไทย) ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อแก่” ต่างเคารพและนับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนจำนวนมากมากราบไหว้บูชา อธิษฐานขอพรได้ตามความประสงค์ของแต่ละท่าน ถ้าปีใดฝนแล้งก็อาราธนาแห่แหน ฝนก็ตก

    [​IMG]

    ๑๕. รูปหล่ออดีตเจ้าอาวาส ๓ องค์ คือ รูปหล่อพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธมฺมสิริโชติ) และรูปหล่อพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก อนฺทโชติ) พร้อมด้วยรูปหล่อพระวิสุทธาจารเถร (เทียม สิริปญฺโญ) รูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสทั้ง ๓ องค์นี้ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลังใต้ ปัจจุบันทางวัดกษัตราธิราชวรวิหารโดยพระครูวิสุทธิธรรมากร เจ้าอาวาส ได้เปิดพระวิหารให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้ากราบไหว้บูชากันทุกวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9181_1a.jpg
      IMG_9181_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      409.1 KB
      เปิดดู:
      2,123
    • IMG_9189_1a.jpg
      IMG_9189_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      287.8 KB
      เปิดดู:
      1,807
    • IMG_9191_1a.jpg
      IMG_9191_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      377.9 KB
      เปิดดู:
      3,494
    • IMG_9197_1a.jpg
      IMG_9197_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      523.1 KB
      เปิดดู:
      1,660
    • IMG_9206_1a.JPG
      IMG_9206_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      456.3 KB
      เปิดดู:
      1,463
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ถาวรวัตถุ

    ๑. พระอุโบสถ ยาว ๔๖ เมตร กว้าง ๒๒ เมตร มี ๙ ห้อง ด้านหลังเป็นมุขเล็ก มีประตูด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ ๒ ประตู มีบันไดซ้ายขวาข้างละ ๑ บันได ด้านหน้าก่อเป็นแท่นใหญ่ตั้งซุ้มบุษบกบัญชร (หน้าต่างบุษบก) ผนังเฉลียงด้านหน้าติดแผ่นศิลาลงยันต์ ๒ แผ่น ที่มุขเด็ดด้านหลังก่อเป็นซุ้มกั้นห้อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเลไลยก์ ๑ องค์ หน้าบันทั้งสองด้านสลักลายดอกไม้ปิดทองประดับกระจก ระหว่างเสาภายนอกมีสาหร่ายรวงผึ้ง หลังคาซ้อนเป็น ๒ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องกาบูดินเผาแบบโบราณชายคามีรูปเทพพนมช่อฟ้าหางหงส์ลำยองและคันทวยปิดทองประดับกระจก พื้นภายในพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี แบบเดียวกับที่พระอุโอสถวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร หินอ่อนดังกล่าวนี้เมื่อเหลือจากการก่อสร้างพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานแด่พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) มาปูพื้นพระอุโบสถหลังนี้เสาก่อเป็นเสากลมมีบัวหงายที่ปลายเสาเป็นสองแถว ๆ ละ ๖ ต้น ทุกต้นทาด้วยสีดินแดงหรือสีชาด เพดานล่องชาด เขียนลายราชวัตดอกกลมประดับดวงดาวและสลักเป็นดาวล้อมเดือน ชื่อเขียนลายกรวยชิงและลายดอกจันทร์ ระบายรอบสลักลายลูกฟักก้ามปูประดับดวงดาว เพดานเฉลียงล่องชาดเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ใบเทศปิดทองเจาะผนังเป็นช่อง ๆ แทนหน้าต่าง ลานรอบพระอุโบสถเทคอนกรีต มีใบสีมาคู่ ๘ คู่ ตั้งอยู่บนฐานก่อเป็นเท้าสิงห์ ภายในกำแพงแก้ว ทรวดทรงของพระอุโบสถหลังนี้ เหมือนกับพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยรับสั่งกับพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ว่า “ให้พยายามรักษารูปทรงของเก่าไว้อย่าได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันขาด” พระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ครั้งหลังสุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ สิ้นเงิน
    ๗๐,๐๐๐.๐๐ บาท (เจ็ดหมื่นบาท)

    ๒. พระวิหารคู่ หน้าพระอุโบสถ ๒ หลังยาว ๑๓ เมตร ๕๐ เซนติเมตร กว้าง ๖ เมตร เท่ากัน เป็นมุขลด ๓ ชั้น ด้านหน้าทำเป็นประตูซุ้มยอดมณฑปหน้าบันพระวิหารหลังเหนือสลักลายกนกเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หน้าบันพระวิหารหลังใต้ สลักเป็นภาพพราหมณ์อาลัมพายน์กำลังจับพญานาคภูมิทัตต์ในภูริทัตตชาดก หน้าบันด้านหลังประดับถ้วยชามกระเบื้องแบบจีน ช่อฟ้าลำยองหางหงส์และคันทวยปิดทองประดับกระจก มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง (ของเดิมมุงด้วยกระเบื้องกาบูอย่างเดียวกับพระอุโบสถ) ต่อมาพระวิหารคู่ชำรุดทรุดโทรมลง ได้มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งสองหลัง และเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าพระวิหารคู่ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙

    ๓. วิหารน้อย มุมกำแพงแก้วพระอุโบสถด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ๒ หลัง วิหารน้อยทาง
    ด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ๒ หลัง วิหารน้อยทางด้านตะวันออกได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ พร้อมด้วยพระพุทธรูปประจำวิหาร ๑ องค์ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗

    ๔. ศาลารายหน้าพระอุโบสถ มีช่อฟ้าใบระกา หลังคามุงกระเบื้องไทย ๒ หลัง นายบุญรอด นางอรุณ จุลโมกข์ เจ้าของห้างขายยาจุลโมกข์กรุงเทพมหานคร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘

    ๕. ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ยาว ๔๒ เมตร กว้าง ๒๔ เมตร ก่อเป็นตึก ๙ ห้อง มีมุขซ้อน หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองช่อฟ้าหางหงส์ลำยองปิดทองประดับกระจก หน้าบันด้านตะวันออก และด้านตะวันตก สลักลายดอกไม้ระหว่างเสามีสาหร่ายรวงผึ้ง พื้นภายในปูด้วยไม้สักและใช้เสาไม้สักกลม ๑๖ ต้น ทุก ๆ ต้นลงรักเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปิดทองเพดานล่องชาด เขียนลายดาวล้อมเดือน แขวนโคมแก้วระย้า
    ผนังเขียนภาพพุทธประวัติในปฐมสมโพธิกถา และภาพในทศชาติชาดกตลอด ๔ ด้าน โดยฝีมือช่างเขียนไม่ปรากฏนาม ต่อมา ภาพเขียนบางตอนลงเลือนไป ครูแขช่างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เขียนซ่อมอีกครั้งหนึ่ง (ครูแขผู้นี้เป็นช่างเขียนฝีมือดี ได้เขียนภาพพุทธประวัติ ไว้ที่ผนังศาลาการเปรียญวัดเชิงท่าอีกแห่งหนึ่ง) ศาลาการเปรียญหลังนี้ได้ถ่ายแบบอย่างมาจากวัดเชิงท่าริมคลองเมืองในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา สร้างในยุคพระอุปัชฌาย์มี เจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ศาลาการเปรียญหลังนี้ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาอีกหลายครั้ง ครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ สิ้นเงิน ๘๐,๐๐๐.๐๐ บาท (แปดหมื่นบาท) และทำพิธียกช่อฟ้า เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒

    ๖. ศาลาตรีมุข ๑ หลัง ยาว ๔๒ เมตร เท่าศาลาการเปรียญ กว้าง ๖ เมตร ก่อเป็นตึกชั้นเดียวไม่มีผนัง มีช่อฟ้าใบระกา และคันทวยปิดทองประดับกระจก หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง หน้าบันทั้งสามด้านจำหลักเป็นตราพระราชลัญจกรในรัชการที่ ๕ ศาลาหลังนี้สร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ และทำพิธียกช่อฟ้า เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒

    ๗. ศาลาสกัดด้านเหนือและด้านใต้ ๒ หลัง ยาว ๒๔ เมตร เท่าด้านกว้างของศาลาการเปรียญ ก่ออิฐถือปูน มี ๔ ห้อง เสาลงรักเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปิดทอง เพดานล่องชาดเขียนลายดาวล้อมเดือน มีช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุงกระเบื้องไทย สร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) โดยอุบาสิกาเทศอุบาสิกานุ้ยและขุนศรัทธา ธำรง (ดิษฐ์) บริจาคทรัพย์ช่วยเหลือในการก่อสร้าง

    ๘. ศาลาสกัดด้านหลัง ยาว ๒๔ เมตร เท่าศาลาการเปรียญกว้าง ๘ เมตร มี ๙ ห้อง มีช่อฟ้าใบระกา หลังคามุงด้วยกระเบื้องไทยสร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ปฏิสังขรณ์ครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ สิ้นเงิน ๓๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามหมื่นบาท)

    ๙. หอประชุมหรือหอสวดมนต์ เป็นตึก ๒ ชั้น กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๓๐ เมตร มีประตูหน้าต่าง มีช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุงด้วยกระเบื้องไทย สร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ทางวัดกำลังดัดแปลงเป็นห้องสมุดประจำวัด

    ๑๐. หอรับรอง ๑ หลัง หอหลังนี้เดิมเรียกกันว่า “กุฏิผู้ช่วย” (เข้าใจว่าคงจะหมายถึง กุฏิผู้ช่วยเจ้าอาวาสหรือรองเจ้าอาวาส) มีช่อฟ้า ใบระกาทำด้วยปูนปั้น หลังคามุงกระเบื้องไทยสร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) และได้รับการซ่อมมาหลายครั้งแล้ว

    ๑๑. ตำหนักอุไรพงศ์ ๑ หลัง เป็นจำหนักเครื่องไม้ ยาว ๕ ห้อง มีช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุงด้วยกระเบื้องไทย ยาว ๑๒ เมตร กว้าง ๖ เมตร ตำหนักหลังนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณะสมบัติ (พระองค์ เจ้าชายอุไร) ประทานมาปลูกเป็นกุฏิสำหรับเจ้าอาวาสในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) และประทานไปปลูกเป็นกุฏิ ณ วัดลอดช่องในตำบลเดียวกันอีก ๑ หลัง ที่ฝาผนังของตำหนักหลังนี้ เดิมมีภาพสีเป็นภาพเทพชุมนุมและภาพชาดกต่าง ๆ แต่ลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว ทางวัดได้ปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ สิ้นเงิน ๔๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สี่หมื่นบาท)

    ๑๒. หอไตร ๑ หลัง ยาว ๗ เมตร ๘๐ เซนติเมตร กว้าง ๓ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุงด้วยกระเบื้องไทยหน้าบันประดับด้วยดอกไม้ปูนปั้น

    ๑๓. กุฏิตึกสำหรับเจ้าอาวาส ๑ หลัง เป็นตึกแบบฝรั่งเศส เพดานประดับด้วยกระเบื้องอย่างสวยงาม พระยากลาโหมราชเสนา สร้างถวาย

    ๑๔. กุฏิตึกเดี่ยว ๒ หลัง เป็นกุฏิสำหรับเจ้าอาวาส ๑ หลัง สำหรับผู้ช่วยเจ้าอาวาส ๑ หลัง

    ๑๕. กุฏิตึกแถว ยาว ๕ ห้อง แบบกุฏิตึกในคณะตำหนัก วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ๕ หลัง

    ๑๖. ศาลาท่าน้ำ ๒ หลัง กว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร เท่ากัน มีช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีเหลือง หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังจำหลักเป็นตราพระราชลัญจกรมหามงกุฎในรัชกาลที่ ๔ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ๑ หลัง ด้านทิศตะวันตก ๑ หลัง สร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) สำหรับตราพระราชลัญจกรมหามงกุฎที่ทางวัดอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ศาลาท่าน้ำทั้งสองหลังนี้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ขณะทรงผนวช เคยเสด็จมาประทับแรม ณ วัดนี้ ศาลาทั้งสองหลังนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓

    ๑๗. ศาลาท่าน้ำตรีมุข ๑ หลัง กว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร มีช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ สิ้นเงิน ๑๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาท)

    ๑๘. หอระฆังซุ้มมงกฎ ๒ หลัง กว้าง ๒.๒๐ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร เท่ากันอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของศาลาตรีมุข ๑ หลัง ทางด้านทิศตะวันตกของศาลาตรีมุข ๑ หลัง สร้างในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง)

    ๑๙. หอถังน้ำสำหรับเก็บน้ำประปา ๑ หลัง

    ๒๐. โรงเลี้ยงอาหาร ๑ หลัง สำหรับโรงเลี้ยงอาหารนี้ ทางวัดได้จัดให้เป็นสถานที่อบรมลูกเสือชาวบ้าน “ค่ายอุไรพงศ์” มาหลายรุ่นแล้ว

    ๒๑. ถนนคอนกรีต จากศาลาท่าน้ำถึงกำแพงแก้วหน้าพระอุโบสถยาว ๑๐๐ เมตร กว้าง ๓ เมตร ๑ สาย จากศาลาท่าน้ำ ด้านตะวันตกถึงหน้ากุฏิรองเจ้าอาวาส ยาว ๖๐ เมตร กว้าง ๓ เมตร ๑ สาย

    ๒๒. ธรรมาสน์บุษบกหลังใหญ่ ตั้งประจำในศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ฝีมือประณีตงดงามมีผู้ถ่ายแบบอย่างไปสร้าง ณ ที่อื่นเสมอ เช่น วัดเกาะ ตำบลลาดงา อำเภอเสนา เป็นต้น กับมีธรรมาสน์บุษบกรอง หลังเล็กอีก ๑ หลัง

    ๒๓. เตียงสำหรับพระสงฆ์สวดรับเทศน์ ๑ เตียง

    ๒๔. สระน้ำเก่าแก่ ๑ สระ

    ๒๕. พ.ศ. ๒๕๒๗ ถึงปัจจุบันนี้ เรืออากาศโท ธรรมนูญ – คุณจิฤดา อังศุสิงห์ พร้อมด้วยคณะ ได้มีจิตศรัทธาบูรณะปิดทองพระประธานในพระอุโบสถ - ปิดทองพระพุทธรูปในพระอุโบสถ – บูรณะพระอุโบสถ - บูรณะพระวิหารคู่

    [​IMG]

    สิ่งของพระราชทาน

    ๑. ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกพร้อม ทั้งตู้ ๑ หลัง

    ๒. ในรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานธรรมาสน์ลายทอง เนื่องในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ๑ ธรรมาสน์ และพระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ ๕ ทรงเครื่องยศจอมพลทหารบก ๑ องค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9213_1a.JPG
      IMG_9213_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      275.4 KB
      เปิดดู:
      1,405
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    เมื่อขอพรไหว้พระในพระอุโบสถและพระวิหารทั้งสองข้างของพระอุโบสถแล้ว พวกเราก็เดินไปที่ศาลาตรีมุขประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ เพื่อกราบถวายบังคม... ข้างศาลานี้ก็จะมีศาลาการเปรียญปลูกขนานกันอยู่มีการสวดมนต์ทำวัตรกันของอุบาสกอุบาสิกา.... พวกเราก็เดินจากมาอย่างเงียบๆ แต่เสียงท้องร้องว่าหิวเริ่มจะไม่เงียบ ตั้งใจว่าจะออกไปหาอะไรกินกันก่อนที่จะไปวัดต่อไป ที่ค่อนข้างลำบากสักหน่อยคืออยู่ระหว่างการกินเจก็เลยต้องหาร้านเจ แต่บริเวณนอกเกาะเมืองนี้ร้านเจหายากงั้นก็ต้องพึ่งเซเว่น

    เมื่อออกจากวัดกษัตราธิราช พวกเราก็ไปทางถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เห็นเซ่เว่นอยู่ใกล้ พอขับมาถึงเซเว่นดันปิดปรับปรุง ต้องแขวนท้องไปก่อน เมื่อกางแผนที่ดูเส้นทางนี้จะนำไปสู่วัดไชยวัฒนาราม เมื่อคราวมาสำรวจเส้นทางครั้งแรกก็เคยมาทางนี้และผ่านวัดไชยวัฒนารามแต่ครั้งนั้นไม่ได้แวะ งั้นคราวนี้ลองไปดูกัน พอมาถึงวัดไชยวัฒนาราม จอดรถเสร็จเดินลงดู เห็นคนไม่เยอะ นึกในใจว่าคงจะเดินสบาย แต่ที่ไหนได้ เขาล้อมเชือกห้ามเข้ากำลังปรับปรุงและเป็นเขตอันตรายผลเนื่องมาจากน้ำท่วมที่ผ่านมา และวัดไชยวัฒนารามก็จมน้ำด้วย จากภาพข่าวที่เห็นมีกำแพงด้านหนึ่งเกิดทรุดตัวและพังลงมา ส่วนโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่เช่นพระปรางค์ประธานดูๆ แล้วรู้สึกเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าจะเกิดทรุดตัวแต่ทั้งนี้ทางกรมศิลปากรคงไม่ปล่อยให้เป็นอย่างนั้นมั้ง...ได้แต่เดินๆ อยู่ภายนอกตามแนวเขตกั้น มาดูประวัติของวัดกันดีกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9252_1a.JPG
      IMG_9252_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      374.5 KB
      เปิดดู:
      1,398
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    วัดไชยวัฒนาราม
    ตั้งอยู่ที่ ถนนอู่ทอง ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    วัดไชยวัฒนารามบางครั้งเรียกว่า “วัดไชยยาราม” และ “วัดไชยชนะทาราม” เป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นวัดอรัญวาสี ณ บริเวณที่ดินซึ่งเป็นนิวาสสถานของพระราชชนนีในปีที่ขึ้นครองราชย์ คือปีมะเมีย พ.ศ.๒๑๗๓ สันนิษฐานว่าเป็นวัดประจำรัชกาลด้วยต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ใช้วัดนี้ในฐานะเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีสำหรับพระราชทานเพลิงศพของพระราชวงศ์และขุนนางผู้สูงศักดิ์

    ในปี พ.ศ.๒๒๙๙ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ถูกกล่าวโทษว่าเสด็จเข้ามาทำชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ในพระราชวังหลายครั้ง สืบสวนได้ความเป็นสัตย์จริง จึงลงพระราชอาญาเฆี่ยนทั้งสองพระองค์จนดับสูญแล้วนำศพไปฝังไว้ ณ วัดไชยวัฒนารามทั้งสองพระองค์

    เมื่อครั้งสงครามพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๐ วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาวัดไชยวัฒนาราม จึงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง ผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาสืบมาจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๕
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9232_1a.JPG
      IMG_9232_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      377.3 KB
      เปิดดู:
      1,524
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    สิ่งที่น่าสนใจ

    พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นปรางค์ประธาน ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นที่สื่อแทนเขาพระสุเมรุ ฐานประทักษิณซึ่งฐานประทักษิณได้ยกสูงขึ้นมาจากพื้น ๑.๕ เมตร มีลักษณะเป็นปรางค์จัตุรมุข (มีมุขยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน) ในส่วนของมุขด้านตะวันออกจะเจาะมุขทะลุเข้าสู่เรือนธาตุ ซึ่งภายในจะประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง (ปัจจุบันไม่พบแล้ว) ยอดขององค์ปรางค์ทำเป็นรัดประคดซ้อนกัน ๗ ชั้น แต่ละชั้นเป็นลวดลายใบขนุนกลีบขนุน ส่วนบนสุดเป็นทรงดอกบัวตูม ปรางค์แบบนี้มีลักษณะเหมือนปรางค์ในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่งวัดไชยวัฒนารามนั้นสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำเอาพระปรางค์ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้างอีกครั้งหนึ่ง การที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดเช่น การสร้างปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะเนื่องจากพระองค์ทรงได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจจึงมีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปรางค์อีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือประเทศเขมร โดยตั้งใจจำลองแบบปราสาทนครวัดมาก่อสร้าง ข้างปรางค์ประธานล้อมรอบด้วยปรางค์บริวารทั้งสี่ สื่อแทนทวีปที่มีอยู่ทั้งสี่ โดยตั้งอยู่บนลานประทักษิณเดียวกัน ปรางค์บริวารเป็นปรางค์องค์เล็กลงมาที่อยู่รายล้อมปรางค์ประธาน มีทั้งหมด ๔ องค์ ลักษณะจะเพรียวกว่า ปรางค์ประธาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9230_1a.JPG
      IMG_9230_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      403.6 KB
      เปิดดู:
      1,321
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    เมรุทิศ เมรุราย เป็นเมรุทรงปราสาท คือเป็นเรือนหรืออาคารซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๗ ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ทำอย่างยอดปรางค์ การเรียกชื่อสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่าเมรุ สื่อถึงจักรวาลอื่นๆ ตั้งอยู่ล้อมรอบปรางค์ประธาน อยู่รายรอบระเบียงคด ทั้ง ๘ ทิศ เมรุทิศตั้งอยู่บริเวณมุม ส่วนเมรุรายตั้งกึ่งกลางระหว่างเมรุทิศ เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงคด ภายในคูหาจะประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย เอาไว้ที่เมรุทิศ เมรุละ ๑ องค์ เมรุราย เมรุละ ๒ องค์ ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝ้าเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายและดาวเพดานลงรัก ปิดทองเช่นกัน ผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนกปัจจุบันได้เลือนลางไป ผนังด้านนอกของเมรุทั้ง ๘ องค์มีภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติ จำนวน ๑๒ ภาพ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9235_1a.JPG
      IMG_9235_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      473.8 KB
      เปิดดู:
      1,298
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    ระเบียงคด คือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเมรุแต่ละเมรุเอาไว้โดยรอบฐานประทักษิณรอบปรางค์ประธานซึ่งแต่เดิมจะมีหลังคารอบๆ ผนังก่ออิฐถือปูนมีลูกกรงหลอกเป็นรูปลายกุดั่น ที่บริเวณระเบียงคดนี้จะมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่รวมทั้งหมด ๑๒๐ องค์ แกนในทำจากไม้พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วน ส่วนนิ้วใช้โลหะสำริดดัดขึ้นรูป ปัจจุบันเหลือที่ยังมีพระเศียรอยู่ ๒ องค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9237_1a.JPG
      IMG_9237_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      455.7 KB
      เปิดดู:
      1,542
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    พระอุโบสถ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกนอกระเบียงคด มีซากพระประธานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทรายประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี สภาพปัจจุบันเหลือเพียงฐานเสาอุโบสถ และรอยฐานเสมา ใบเสมาของพระอุโบสถทำด้วยหินสีค่อนข้างเขียว จำหลักเป็นลายประจำยามและลายก้านขด และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทางด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ ๒ องค์ ฐานกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๒ เมตร ซึ่งถือเป็นศิลปะที่เริ่มมีแพร่หลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ ที่มีด้วยกัน ๒ องค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่บรรจุพระอัฐิพระราชมารดาและพระราชบิดาของพระเจ้าปราสาทอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9236_1a.JPG
      IMG_9236_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      413.7 KB
      เปิดดู:
      1,475
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    เจดีย์เจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) ตั้งอยู่ด้านข้างระเบียงคด เป็นเจดีย์ทรงระฆังภายในบรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้ากุ้ง

    ขอแก้ไข ไปหาข้อมูลแล้ว ไม่ใช่เจดีย์ที่เห็นอยู่หล่ะ จะเป็นอีกองค์นึงทรงระฆัง กลมๆ เอาไว้่จะไปเก็บภาพใหม่..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9251_3a.JPG
      IMG_9251_3a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      360.5 KB
      เปิดดู:
      1,711
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    ปรางค์เจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ เป็นปรางค์องค์เล็ก มีบันไดสู่ซุ้มเรือนธาตุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9229_1a.JPG
      IMG_9229_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      320.6 KB
      เปิดดู:
      2,186
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    จากแผนผังและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวัดไชยวัฒนาราม แสดงให้เห็นถึงต้นแบบที่น่าจะนำมาจากเมรุพระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่ง คือปรางค์ประธานหมายถึงพระเมรุมาศแวดล้อมด้วยเมรุทิศ เมรุราย ดังนั้นหากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนำอัฐบุพการีของพระองค์ใส่ไว้ในปรางค์ประธานหรือที่ใดที่หนึ่งก็ตามย่อมหมายถึงการถวายพระเกียรติสูงสุดต่อบุพการีของพระองค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9226_1a.JPG
      IMG_9226_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      352.1 KB
      เปิดดู:
      1,765
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    ที่นี่มีโมเดลจำลองวัดไชยวัฒนารามให้ดูทำให้นึกย้อนกลับไปถึงวันเวลาที่วัดยังคงสมบูรณ์อยู่ ขนาดปัจจุบันเหลือแต่ซากปรักหักพังแต่ยังคงความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และงดงามขนาดนี้ เสียดายวันนี้ไม่ได้เข้า เดี๋ยวให้บูรณะเสร็จก่อนแล้วจะมาเก็บภาพใหม่.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9234_1a.JPG
      IMG_9234_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      394.8 KB
      เปิดดู:
      3,336
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    ออกจากวัดไชยวัฒนารามได้ พวกเราก็ย้อนกลับทางเก่ามุ่งหน้าสู่เกาะเมือง ได้ขับรถผ่านหน้าโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา กางแผนที่ดูทางไปด้วย เคยเห็นว่ามีพระนอนอยู่ที่วัดโลกยสุทธารามแต่ไม่เคยไปแผนที่ก็ไม่ละเอียดเสียด้วย ขับมั่วๆ ไปเรื่อยมาทางถนนด้านหลังวิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตรอยู่ทางขวามือเส้นนี้ไม่เคยมาเลยและผ่านด้านหลังของวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์กับพระราชวังหลวง ส่วนฝั่งซ้ายมือมีคลองกั้นและมีถนนขนานกันอยู่และเห็นพระนอนอยู่ฝั่งตรงข้ามแต่ยังไม่มีถนนข้ามไปได้ ขับรถไปๆ มาๆ มาโผล่แถวๆ วัดตึก วัดนี้เคยมาแล้วเมื่อมาสำรวจเส้นทางครั้งแรกตอนนั้นพาคุณพ่อกับคุณแม่มาไหว้พระด้วย ซึ่งมาก่อนที่จะเกิดกระทู้เมื่อสาว สาวพลังจิตเที่ยวอยุธยา ก็เลยไม่มีข้อมูลในกระทู้ จำได้ว่าวัดตึกมีพระอุโบสถที่เป็นแบบโบสถ์มหาอุตม์ และที่วัดนี้เป็นคลังเก็บสรรพาวุธในสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วย พวกเราออกมาตามถนนอู่ทอง เห็นร้านเซเว่นอยู่สองร้านติดๆ กันด้านขวามือ ขอจอดซื้อเสบียงก่อน แต่ปรากฏว่าอาหารเจที่เป็นข้าวกล่องไม่มีแล้ว เด็กๆ หน้าร้านบอกว่าไม่ได้สั่งเข้ามาในสต๊อกร้านอีกเพราะเหลือแค่วันนี้วันเดียวกลัวขายไม่หมด เหลือแต่ขนมปังเจ จึงต้องซื้อมาลองท้องก่อน เซเว่นพึ่งไม่ได้เสียแล้ว

    ซื้อของเสร็จพวกเราตั้งใจจะไปไหว้พระนอนให้ได้แต่ไปไม่ถูกรู้ว่าอยู่แถวๆ นี้แหล่ะ ขับไปขับมาก็เลยเจดีย์ศรีสุริโยทัยกำลังจะถึงสะพานที่เราข้ามมายังเกาะเมือง และเห็นซอยทางด้านซ้ายมือไม่รู้ว่าซอยอะไร เลยเลี้ยวเข้าไปเลย อ้าวกลายเป็นถนนเล็กๆ ผ่านในหมู่บ้านเสียนี่ ขับมั่วไปหมดเลี้ยวซ้ายทีขวาที จำไม่ได้แล้วว่าที่ผ่านมาเลี้ยวแยกไหนบ้าง สุดท้ายเห็นสามแยกทางออกอยู่ข้างหน้า พอเลยสามแยกตรงหน้าคือพระนอนที่พวกเราตามหา โห ขับได้มั่วสุดยอดหรือว่าหลวงพ่อช่วยนำทางมาก็ไม่รู้.... หาที่จอดรถได้นั่งพับดอกบัวที่ซื้อมาเมื่อวานอยู่ในรถรอทัวร์ฝรั่งกับทั่วญี่ปุ่นจางก่อน

    ระหว่างพับก็เห็นคนไปซื้อดอกบัวบูชาพระที่ซุ้มร้านแถวๆ นั้น เมื่อไหว้เสร็จเขาก็ไปที่อื่นกันต่อ สักพักก็เห็นคนมาเก็บดอกบัวที่ไหว้มาขายเวียนอีก อย่างนี้แหล่ะถึงต้องซื้อมาเองดีกว่า... ดอกบัวก็พับเสร็จแล้วแต่ทัวร์ยังไม่จางเสียที ไม่คอยแล้วหล่ะ ไปไหว้เลยก็แล้วกัน วันนี้แดดดีมากเมฆน้อย ลมพัดเอื่อยๆ พอให้เย็นได้หน่อย ด้วยพระพุทธไสยาสน์ขณะนี้อยู่กลางแจ้ง(แต่สังเกตจากรากฐานและเสาแล้ว เมื่อก่อนน่าจะอยู่ในอาคาร) ใครสวมหมวกอยู่ขณะไหว้พระขอให้ถอดหมวกก่อน เห็นคนไทยหลายๆ คนไม่ถอดหมวก วัฒนธรรมเริ่มลืมกันหมดแล้ว...

    ขณะไหว้พระก็มีฝรั่งบางคนมาถ่ายรูปใกล้องค์พระบ้าง แต่ส่วนมากยืนอยู่ไกลๆ นอกขอบรั้วเหล็ก อาจจะเนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่จึงยืนอยู่ไกลๆ ถึงจะเก็บภาพได้หมด แต่ไม่ค่อยเห็นฝรั่งมายืนใกล้ๆ พระนอนนะ หรือเขาแค่มาดูแล้วก็ผ่านไปก็ไม่รู้... สนใจคนอื่นมากไปก็วุ่นวายใจเปล่าๆ มาอ่านข้อมูลหนักๆ ให้ปวดศีรษะดีกว่า พอดีไปเจอข้อมูลที่ผู้อื่นเขียนไว้ละเอียดดีมากก็เลยยกมาให้อ่านทั้งหมดเว็ปเพจ(ไม่ใช่ทั้งหมดเว็ปไซด์นะ) แล้วก็ผนวกกับของผู้เขียนท่านอื่นเข้าไปอีกนิดหน่อยให้สมบูรณ์ขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9270_1a.JPG
      IMG_9270_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      455.2 KB
      เปิดดู:
      1,450
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,825
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ขอบคุณจ้า...

    แต่เรื่องยังไม่จบนะ ยังมีต่ออีกหลายวัด.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...