เตรียมรับภัยพิบัติด้วย "วิชาชีวิต" ณ วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 14 พฤศจิกายน 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    จิ๊กซอว์ตัวที่หายไปของการเตือนภัยพิบัติ

    อีกครั้งหนึ่งของชีวิตที่มีเรื่องเข้ามาทดสอบ
    เมื่อถึงคราวถูกทดสอบ ผู้ออกข้อสอบก็โจมตีด้วยกิเลสในส่วนที่เป็นจุดอ่อนที่สุด
    ผมเหนื่อยล้าเกินกว่าที่จะมีจิตใจคิดช่วยเหลือใครอีกต่อไป
    เพราะกำลังกลายเป็นผู้ประสบอุทกภัย...ด้วยมีน้ำท่วมขังและเอ่อล้นอยู่เต็มสองตา
    ผมตั้งใจว่าจะหยุดการเขียนบทความและกระทู้การเตือนภัยพิบัติต่าง ๆ

    จากนั้นจึงเิริ่มเดินทางไปเชียงใหม่โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ ' วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม '
    ผมรู้เพียงเลา ๆ ว่าผมจะได้เจออะไรที่นั่น แต่ผมไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
    มีเพียงประโยคว่า " การเตรียมพร้อม รับมือภัยพิบัติ และสำรองปัจจัย 4 "
    และประโยคที่ว่า " การสร้างฝายทำให้มีน้ำไหลตลอดปี "
    เพียงสองประโยคนี้ที่เป็นแรงผลักดัน

    ก่อนที่ทางวัดจะรับผมเข้าร่วมโครงการ “วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง” ณ ดอยผาส้ม
    ผมต้องตอบคำถาม 4 - 5 ข้อ และคำถามหนึ่งที่ทุกคนที่สมัครเข้าร่วมโครงการต้องตอบคือ

    " อะไรคือความหมายของชีวิต "

    ผมตอบโดยไม่ได้คิดมาก เพราะได้ผ่านการคิดเรื่องนี้มานานแล้ว
    ชีวิตสำหรับผมแล้วมันไม่มีความหมายอะไร
    เพราะที่สุดของชีวิตคือความตาย เราเป็นผู้ไม่มีอะไร และไม่มีอะไรจะเหลือ
    เราทุกคนเกิดมาต้องตาย ตายทั้งหมด เกิดมาเท่าไหร่ก็ตายเท่านั้น ตายไม่มีเหลือ
    แต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์คือชืวิตที่ไม่มีความหมายเหล่านี้ กลับมีความหมายเมื่อเป็นชีวิตที่อยู่เพื่อผู้อื่น
    สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความหมายแต่เมื่ออยู่เพื่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่มีความหมาย กลับกลายเป็นชีวิตที่มีความหมาย

    ก่อนการเดินทางคำถามในใจของผมคือ ผมจะได้อะไรจากการเดินทางในครั้งนี้
    คำถามว่าได้อะไรนั้นไม่ใช่เพื่อตัวผม แต่หมายถึงผมจะได้อะไรกลับมาบอกเล่าแก่ผู้อื่น
    จะมีอะไรเป็นประโยชน์ในการเขียนบทความให้ความรู้ด้านการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติบ้าง
    และนั่นอาจเป็นบทความสุดท้าย และส่งท้ายจริงๆเสียทีก่อนที่ผมจะวางมือ

    ในวันที่ร่ำไห้ หัวใจแทบจะไร้เรี่ยวแรง หัวใจยังร่ำร้องหาอะไรบางอย่าง
    เหมือนมีหน้าที่อะไรสักอย่างที่จะต้องทำ มีอะไรบางอย่างติดค้างในใจ
    ตอนนั้นผมยังไม่รู้หรอกว่าอีกไม่กี่วันข้างหน้า ตนเองจะได้พบคำตอบที่ติดค้างอยู่ในใจ
    คือเมื่อได้อยู่ต่อหน้าพระบรมสารีริกธาตุ ณ ดอยผาส้ม นั้นเอง

    ในวันเดินทาง ผมมีนัดกับคนแปลกหน้าที่เข้าร่วมโครงการเดียวกัน
    เรานัดกันที่สถานีรถไฟสามเสน
    แต่การเดินทางสู่เชียงใหม่ของผมกลับเริ่มต้นขึ้น ณ สถานีรถไฟบางซื่อ
    ตลอดการเดินทางกว่า 12 ชั่วโมงกับคนแปลกหน้า เธอเป็นพี่สาวใจดีที่ช่างคุย
    เราพลัดกันคุยพลัดกันเล่าราวกับว่าเป็นคนคุ้นเคยกันมาก่อน ซึ่งผมเป็นคนรับฟังเสียมากกว่า
    แม้แนวปฏิบัติในทางธรรมเราจะต่างกัน แต่ศีลที่เสมอกันคือมาตรฐานรองรับการเดินทางในครั้งนี้

    ณ บริเวณสถานีรถไฟเชียงใหม่คือจุดรวมพลก่อนจะเหมารถเพื่อเดินทางไปหมู่บ้านอมลอง
    โปรแกรมถูกปรับเปลี่ยนเพราะการเดินทางนั้นช้ากว่าที่วางแผนไว้
    สถานที่ซึ่งเรียกว่า 'ห้วยบง' คือสถานที่ปฐมนิเทศก่อนเริ่มโครงการ
    พระอาจารย์สรยุทธ หรือพระอาจารย์โต้งท่านกล่าวกับเราเป็นการต้อนรับ
    แม้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เราก็รับรู้ได้ถึงความเมตตา
    และที่นั่นเองที่เราต้องฝากกระเป๋าสตางค์และเครื่องมือสื่อสาร เช่นโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือต่าง ๆ

    ท่านกล่าวว่า....สมมติว่าถ้าหนีภัยอะไรมาสักอย่าง ไม่มีเงินทองติดตัวมาเลย
    ระบบการสื่อสารก็ล้มเหลว ติดต่อญาติมิตรที่ไหนก็ไม่ได้
    ลองดูซิว่าเราจะอยู่ที่นี่กันได้ไหม อยู่เป็นลูกเป็นหลานของชาวบ้านที่นี่ได้ไหม

    ท่านยังกล่าวว่า ท่านสอนชาวบ้านที่นี่ว่าถ้ามีคนเขาหนีภัยอะไรมาสักอย่าง
    เราจะเลี้ยงเขาเหมือนลูกเหมือนหลานได้ไหม

    หลายคนอาจฟังผ่าน ๆ หรือบางคนก็อาจงงว่าท่านหมายถึงอะไร
    ภายหลังในคืนกิจกรรมรอบกองไฟ ผมจึงได้รู้ว่า
    คนที่เข้าร่วมโครงการนี้มีจุดประสงค์หรือที่มาต่างกัน
    บ้างก็มาเพราะมีจิตอาสาอยากสร้างฝายเพื่อสาธารณะประโยชน์
    บ้างก็มาเพื่อปฏิบัติธรรม
    บ้างก็มาเพราะบ้านที่กรุงเทพถูกน้ำท่วม
    บ้างก็มาเหมือนมีอะไรดลใจ
    บ้างก็มาเพราะอยากลองใช้ชีวิตแบบวิถีพอเพียง
    บ้างก็มาแบบงง ๆ เพราะเพื่อนชวนมา
    ขนาดบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมาทำไมก็ยังมี

    คงมีแต่ผมเท่านั้นที่ชัดเจนว่ามาเพราะเรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ




    (ยังไม่จบ)



    วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง

    “วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง” ณ ดอยผาส้ม
    สะเมิง.. เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น “สวิสแลนด์ภาคเหนือ สตอเบอรี่ขึ้นชื่อ” เป็นภาพที่สวยงาม แต่ทำไมแค่ “บ้านอมลอง” หมู่บ้านเดียวจึงเป็นหนี้หลานสิบล้าน… แล้วเมื่อชาวบ้านหันกลับมาทำแบบเศรษฐกิจพอเพียง จะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ไหม?
    มาดูการเตรียมพร้อม “รับมือภัยพิบัติ และสำรองปัจจัย 4″ ที่ใช้เวลาเตรียมการมากกว่า ๓ ปี
    การสร้างฝายชะลอน้ำ ทำให้ลำห้วยที่ไม่มีน้ำมา ๓๐ ปี กลับมามีน้ำไหลตลอดปีได้จริงหรือ?
    เมื่อเรามีป่าที่สมบูรณ์ เราก็มีน้ำ มีของกินของใช้ ที่อยู่อาศัยร่มเย็น (ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ตามแนวพระราชดำริ) เป็นอย่างไร..

    โปรแกรมเรียนรู้ชีวิตเรียบง่าย เศรษฐกิจพอเพียง และธรรมชาติ ท่ามกลางสายหมอกและขุนเขา แบบเย็นๆ ชิวๆ ท่ามกลางอากาศหนาวระดับ ๑๐ กว่าองศา



    <TABLE style="MARGIN: 10px 0pt" class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6><THEAD><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center" class=tcat colSpan=2>[ame="http://www.youtube.com/watch?v=QeWGS3pLTRw&feature=player_embedded"]โครงการวิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง.mpeg - YouTube[/ame] </TD></TR></THEAD><TBODY><TR><TD class=panelsurround align=middle>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    อากาศหนาวระดับ ๑๐ กว่าองศา
    …ขอเชิญมาเรียนวิชาชีวิต พิสูจน์ด้วยตนเอง ตลอด ๕ วัน ๔ คืนนี้
    …จัดโดย: กลุ่มสื่ออาสา และวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่​




    #กำหนดการ

    • ครั้งที่๑: ๑๐-๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ (Confirm แล้ว)
    #โปรแกรม ๕ วัน ๔ คืน
    วันที่๑..

    • เช้า: ทำภารกิจแรกคือ รวมตัวกันให้ได้ทุกคนแล้ว เดินทางไปที่ร้านอาหารเจบุญส่ง (หน้า รพ.หมอวงศ์)
    • ทานอาหารเช้า ก่อนจะเดินทางขึ้นวัด (ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชม.ครึ่ง)
    • ไหว้พระทันใจ, นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และช่วยกันทำความสะอาดบริเวณมณฑป
    • เดินชมธรรมชาติ เก็บผักพื้นบ้าน ทำอาหารร่วมกัน
    • ค่ำ: ปฐมนิเทศน์
    วันที่๒..

    • ทำวัตรเช้าพร้อมกัน (ตี๕)
    • เรียนรู้วิถีพอเพียง.. ฝากตัวเป็นลูกชาวบ้าน ๒ วัน ๒ คืน
    วันที่๓..

    • ใช้ชีวิตช้าๆ ช่วยพ่อ-แม่ ทำงานต่างๆ กินผัก จ่อมข้าวเหนียว ทานอาหารแบบเมืองๆ
    • ค่ำ: ประชุมในหมู่บ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
    วันที่๔..

    • ทำกิจกรรมร่วมกัน, เีรียนรู้วิธีการเอาชีวิตรอดในภาวะวิกฤติ หรือภัยธรรมชาติ (หลวงพ่อสังคม)
    • ค่ำ: ปัจฉิมนิเทศน์ (นอนวัด)
    วันที่๕..

    • ร่ำราวิถีชีวิตแบบธรรมชาติ, นั่งรถเข้าเวียง กลับบ้าน
    *ปล. โปรแกรมกิจกรรม อาจมีการปรับเปลี่ยนไปได้ ตามความเหมาะสม โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

    #ค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบเอง

    • ค่าเดินไป-กลับ เชียงใหม่
    • ค่ารถสองแถว (โดยประมาณ) จากขนส่ง-วัดฯผาส้ม ๑๕๐ บ., จากวัดฯผาส้ม-ขนส่ง ๑๕๐ บ.
    #วิธีสมัคร

    • เขียนเรียงความขนาดพอประมาณเรื่อง “ความหมายของชีวิต” พร้อมเขียนแนะนำตัว พอให้เรารู้จัก เข้าไปกรอกแบบฟอร์ม: https://docs.google.com/spreadsheet/...bmFQeW1EdUE6MQ
    • กิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีการเรี่ยราย ยกเว้นค่าเดินทางที่ผู้มาร่วมต้องจ่ายเอง
    • ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาใบสมัคร ก่อนรับเข้าร่วมกิจกรรม
    • สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ทีมงาน.. อลงกรณ์(กร) ๐๘๑-๔๔๙๕๘๓๖
    #อ่านเพิ่มเติม





    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
    รูปสวยๆที่ดอยผาส้ม ฝีมือเมย์ (สื่ออาสา): Facebook
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2012
  2. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ภูมิทัศน์วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=o5co89YsPAY&feature=related"]ภูมิทัศน์วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่ - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  3. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ทำวัตรเช้า บิณฑบาตรในหมู่บ้าน


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=NaaNo1BRexk&feature=related"]วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม - YouTube[/ame]
     
  4. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    'เศรษฐกิจพอเพียง' ชุมชนพึ่งตนเอง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=dc1lQ2Dr3NM&feature=mfu_in_order&list=UL]วัดพระบรมธาตุดอยผาส้มตอน1 - YouTube[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Vn3xGMdjusY&feature=related]วัดพระบรมธาตุดอยผาส้มตอน2 - YouTube[/ame]
     
  5. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ทริปเดินทางไปวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม เชียงใหม่

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=6dUNQPupICk&feature=related]วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม.wmv - YouTube[/ame]
     
  6. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    วิชาชีวิตฯ ครั้งที่ ๒ จะจัดวันที่ ๑๘-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เปิดรับสมัครแล้ว
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    หลายปีก่อน


    ก่อนที่พระเจดีย์เก่าแก่บนวัดดอยผาส้มจะได้รับการบูรณะ

    ทุกวันพระใหญ่ ชาวบ้านจะเห็็นดวงไฟพระธาตุลอยเข้าออกที่พระเจดีย์ประจำ

    ( ตอนนั้นบนดอยไม่มีอะไร มีแต่องค์พระธาตุสีขาวที่ชำรุด และต้นไม้ )



    บริเวณ อ.สะเมิง ยังเป็นป่ามากอยู่ ผมเคยได้ขวานฟ้าที่มากับสายฟ้าตอนฟ้าผ่าบนดอย

    พ่อหนานในหมู่บ้าน ที่เอาขวานมาให้ ท่านบอกว่า เทวดาให้เอามาให้ผม

    ตอนนี้ ฝังไว้ในเจดีย์กลางป่าที่แม่ฮ่องสอน สร้างโดย
    พระอาจารย์รัตน์ และ กลุ่มศรัทธา เสร็จโดยมหัศจรรย์ภายใน2เดือน
    เพราะเจดีย์นั้นจะเป็นที่ส่งพลังช่วยชีวิตอื่น
    ในยามภัยพิบัติใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

    หลังจากได้สร้างเสร็จก่อนปี 1999 ที่มีแกนครอส และ ทำให้ภัยใหญ่ครั้งนั้น เปลี่ยนแปลงไปมาก


    ...............


    ยังมีซากวัดโบราณเก่าๆอีกมากที่สะเมิง ซึ่งป็นพื้นที่รอยต่อกับแม่ฮ่องสอน รอคนดีไปพบและพัฒนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ธันวาคม 2011
  8. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    โปรดติดตามประสบการณ์จริงจากผู้เข้าร่วมโครงการแรก วันที่ 10 - 14 ธันวาคม 2554

    (วิชาชีวิตฯ ครั้งที่ ๒ จะจัดวันที่ ๑๘-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เปิดรับสมัครแล้ว)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2011
  9. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    รวมลิงก์ วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ณ ดอยผาส้ม


    ส่งใบสมัคร: https://docs.google.com/spreadsheet...mkey=dGZTVUI4YUl1NHI0S3htbmFQeW1EdUE6MQ#gid=0
    (สมัครได้ล่วงหน้า ๒ เดือน)

    ยืนยันการเข้าร่วม: https://docs.google.com/spreadsheet...mkey=dGczTTNiNG5LVkc3MzlDQ1BCV0pCUmc6MQ#gid=0
    (๑๕ วันก่อนวันงาน)


    ส่งการบ้าน: https://docs.google.com/spreadsheet...mkey=dHdjanl1QW40Vkl0RmRkT3lLTC1PS0E6MQ#gid=0
    (ส่งหลังจากจบค่าย)
     
  10. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ประสบการณ์จริงจากผู้เข้าร่วมโครงการแรก วันที่ 10 - 14 ธันวาคม 2554

    เดินทางและบันทึกโดย 'กาขาว'



    จิ๊กซอว์ตัวที่หายไปของการเตือนภัยพิบัติ
    (1)

    อีกครั้งหนึ่งของชีวิตที่มีเรื่องเข้ามาทดสอบ
    เมื่อถึงคราวถูกทดสอบ ผู้ออกข้อสอบก็โจมตีด้วยกิเลสในส่วนที่เป็นจุดอ่อนที่สุด
    ผมเหนื่อยล้าเกินกว่าที่จะมีจิตใจคิดช่วยเหลือใครอีกต่อไป
    เพราะกำลังกลายเป็นผู้ประสบอุทกภัย...ด้วยมีน้ำท่วมขังและเอ่อล้นอยู่เต็มสองตา
    ผมตั้งใจว่าจะหยุดการเขียนบทความและกระทู้การเตือนภัยพิบัติต่าง ๆ

    จากนั้นจึงเิริ่มเดินทางไปเชียงใหม่โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ ' วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม '
    ผมรู้เพียงเลา ๆ ว่าผมจะได้เจออะไรที่นั่น แต่ผมไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
    มีเพียงประโยคว่า " การเตรียมพร้อม รับมือภัยพิบัติ และสำรองปัจจัย 4 "
    และประโยคที่ว่า " การสร้างฝายทำให้มีน้ำไหลตลอดปี "
    เพียงสองประโยคนี้ที่เป็นแรงผลักดัน

    ก่อนที่ทางวัดจะรับผมเข้าร่วมโครงการ “วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง” ณ ดอยผาส้ม
    ผมต้องตอบคำถาม 4 - 5 ข้อ และคำถามหนึ่งที่ทุกคนที่สมัครเข้าร่วมโครงการต้องตอบคือ

    " อะไรคือความหมายของชีวิต "


    ผมตอบโดยไม่ได้คิดมาก เพราะได้ผ่านการคิดเรื่องนี้มานานแล้ว
    ชีวิตสำหรับผมแล้วมันไม่มีความหมายอะไร
    เพราะที่สุดของชีวิตคือความตาย เราเป็นผู้ไม่มีอะไร และไม่มีอะไรจะเหลือ
    เราทุกคนเกิดมาต้องตาย ตายทั้งหมด เกิดมาเท่าไหร่ก็ตายเท่านั้น ตายไม่มีเหลือ
    แต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์คือชืวิตที่ไม่มีความหมายเหล่านี้ กลับมีความหมายเมื่อเป็นชีวิตที่อยู่เพื่อผู้อื่น
    สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความหมายแต่เมื่ออยู่เพื่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่มีความหมาย กลับกลายเป็นชีวิตที่มีความหมาย

    ก่อนการเดินทางคำถามในใจของผมคือ ผมจะได้อะไรจากการเดินทางในครั้งนี้
    คำถามว่าได้อะไรนั้นไม่ใช่เพื่อตัวผม แต่หมายถึงผมจะได้อะไรกลับมาบอกเล่าแก่ผู้อื่น
    จะมีอะไรเป็นประโยชน์ในการเขียนบทความให้ความรู้ด้านการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติบ้าง
    และนั่นอาจเป็นบทความสุดท้าย และส่งท้ายจริงๆเสียทีก่อนที่ผมจะวางมือ

    ในวันที่ร่ำไห้ หัวใจแทบจะไร้เรี่ยวแรง หัวใจยังร่ำร้องหาอะไรบางอย่าง
    เหมือนมีหน้าที่อะไรสักอย่างที่จะต้องทำ มีอะไรบางอย่างติดค้างในใจ
    ตอนนั้นผมยังไม่รู้หรอกว่าอีกไม่กี่วันข้างหน้า ตนเองจะได้พบคำตอบที่ติดค้างอยู่ในใจ
    คือเมื่อได้อยู่ต่อหน้าพระบรมสารีริกธาตุ ณ ดอยผาส้ม นั้นเอง

    ในวันเดินทาง ผมมีนัดกับคนแปลกหน้าที่เข้าร่วมโครงการเดียวกัน
    เรานัดกันที่สถานีรถไฟสามเสน
    แต่การเดินทางสู่เชียงใหม่ของผมกลับเริ่มต้นขึ้น ณ สถานีรถไฟบางซื่อ
    ตลอดการเดินทางกว่า 12 ชั่วโมงกับคนแปลกหน้า เธอเป็นพี่สาวใจดีที่ช่างคุย
    เราพลัดกันคุยพลัดกันเล่าราวกับว่าเป็นคนคุ้นเคยกันมาก่อน ซึ่งผมเป็นคนรับฟังเสียมากกว่า
    แม้แนวปฏิบัติในทางธรรมเราจะต่างกัน แต่ศีลที่เสมอกันคือมาตรฐานรองรับการเดินทางในครั้งนี้

    ณ บริเวณสถานีรถไฟเชียงใหม่คือจุดรวมพลก่อนจะเหมารถเพื่อเดินทางไปหมู่บ้านอมลอง
    โปรแกรมถูกปรับเปลี่ยนเพราะการเดินทางนั้นช้ากว่าที่วางแผนไว้
    สถานที่ซึ่งเรียกว่า 'ห้วยบง' คือสถานที่ปฐมนิเทศก่อนเริ่มโครงการ
    พระอาจารย์สรยุทธ หรือพระอาจารย์โต้งท่านกล่าวกับเราเป็นการต้อนรับ
    แม้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เราก็รับรู้ได้ถึงความเมตตา
    และที่นั่นเองที่เราต้องฝากกระเป๋าสตางค์และเครื่องมือสื่อสาร เช่นโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือต่าง ๆ

    ท่านกล่าวว่า....สมมติว่าถ้าหนีภัยอะไรมาสักอย่าง ไม่มีเงินทองติดตัวมาเลย
    ระบบการสื่อสารก็ล้มเหลว ติดต่อญาติมิตรที่ไหนก็ไม่ได้

    ลองดูซิว่าเราจะอยู่ที่นี่กันได้ไหม อยู่เป็นลูกเป็นหลานของชาวบ้านที่นี่ได้ไหม


    ท่านยังกล่าวว่า ท่านสอนชาวบ้านที่นี่ว่าถ้ามีคนเขาหนีภัยอะไรมาสักอย่าง
    เราจะเลี้ยงเขาเหมือนลูกเหมือนหลานได้ไหม

    หลายคนอาจฟังผ่าน ๆ หรือบางคนก็อาจงงว่าท่านหมายถึงอะไร
    ภายหลังในคืนกิจกรรมรอบกองไฟ ผมจึงได้รู้ว่า
    คนที่เข้าร่วมโครงการนี้มีจุดประสงค์หรือที่มาต่างกัน
    บ้างก็มาเพราะมีจิตอาสาอยากสร้างฝายเพื่อสาธารณะประโยชน์
    บ้างก็มาเพื่อปฏิบัติธรรม
    บ้างก็มาเพราะบ้านที่กรุงเทพถูกน้ำท่วม
    บ้างก็มาเหมือนมีอะไรดลใจ
    บ้างก็มาเพราะอยากลองใช้ชีวิตแบบวิถีพอเพียง
    บ้างก็มาแบบงง ๆ เพราะเพื่อนชวนมา
    ขนาดบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมาทำไมก็ยังมี

    คงมีแต่ผมเท่านั้นที่ชัดเจนว่ามาเพราะเรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ




    (ยังไม่จบ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2011
  11. รจเรข

    รจเรข Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +42
    อยากไปนะคะ แต่พอดีว่าตอนนั้นมีธุระ พอรู้ไหมคะว่าจะมีจัดกิจกรรมอีกไหม
     
  12. รจเรข

    รจเรข Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +42
    ยิ่งอ่าน ยิ่งอยากไปสัมผัส
     
  13. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    น่าสนใจมากเลยค่ะพี่ karan บางที diya อาจเริ่มต้นการเรียนรู้ ณ ที่แห่งนี้ ขออนุโมทนาสำหรับข้อมูลค่ะ
     
  14. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,358
    ค่าพลัง:
    +1,088
    มันมีจริงด้วยหรือแบบนี้ เคยเห็นแต่ในหนังจักรๆวงศ์ๆ แบบว่าขวานฟ้าหน้าดำ:cool::cool::cool:
     
  15. aetipp

    aetipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    797
    ค่าพลัง:
    +1,505
    ที่เหนือมีเป็นประจำในสถานที่ศักสิทธ์ครับผม เขาเรียกแก้วเล่น หรือแล้วแต่ท้องถิ่นใหนจะเรียกแบบใหนครับผม
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [​IMG]


    เป็นของมีจริง ที่ผมได้มาตอนนั้นคล้ายแบบนี้ครับ มีกลิ่นหอมด้วย
    คนเก่าๆ และพระธุดงค์ เคยได้พบเห็นตรงต้นไม้หรือจุดที่ฟ้าผ่าในป่า
    (เอาแค่นี้ก่อน พอหอมปากหอมคอ เดี๋ยวผิดวัตถุประสงค์ของกระทู้ครับ)
    ส่วนแสงจากพระธาตุที่ลอยไปหากัน ต้องให้ชาวบ้านเก่าๆ ยืนยัน
    หรือเห็นเองครับ
    ..เจตนาคือ ต้องการบอกว่า ในเขตอ.สะเมิง ยังมีความบริสุทธิ์ และสิ่งดีๆอยู่มาก....
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อนุโมทนากับท่านเจ้าของกระทู้ ที่มองเพิ่มเติมและต่อยอดจากการตื่นกลัวเรื่องภัยพิบัติต่างๆ


    นั่นคือ การค้นพบ ความพอเพียงของใจ กลับสู่ความสอดคล้องกับธรรมชาติ

    ขอให้ท่านและเหล่าสหธรรมิค ได้เจริญในธรรมและทางโลกยิ่งๆขึ้นไปครับ<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  18. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ประสบการณ์จริงจากผู้เข้าร่วมโครงการแรก วันที่ 10 - 14 ธันวาคม 2554


    สะกิดใจ ให้พอเพียง
    โดย จุ๋งจิ๋ง

    “เอ๊ะ ภาพนี้คุ้นเคยจังเลย เหมือนเคยไปยืนอยู่ ณ ที่แห่งนั้น”
    ...ยินเสียงภายในใจ<wbr> พูดกับภาพ ๆ นั้น ซึ่งภาพนั้น คือ ป้ายชื่อของวัดพระบรมธาตุดอยผาส<wbr>้มนั่นเอง...
    เป็นชื่อที่ฉันไม่เ<wbr>คยได้ยินมาก่อน ไม่ทราบแน่แท้ว่า อยู่ส่วนไหนของจังหวัดทางภาคเหน<wbr>ือ

    “พี่จิ๋งไปสร้างฝายที่วัดพระบรม<wbr>ธาตุดอยผาส้มกันไหม”
    เอ๊ะ ทำไมชื่อคุ้นเคยจังเลย...ดอยผาส<wbr>้มกลับมาอยู่ในความคิดของฉันอีก<wbr>ครั้ง
    และครั้งนี้ฉันได้เข้าไปในเวปไซ<wbr>ด์ของวัด เพื่อศึกษารายละเอียดอย่างแท้จร<wbr>ิง
    ความรู้สึกศรัทธาเกิดขึ้น ณ นาทีที่ดูเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
    และยินเสียงหัวใจร่ำร้องอยากจะไ<wbr>ป ณ ที่แห่งนั่น
    ฉันเชื่อในพลังของแรงอธิษฐาน ที่สามารถขับเคลื่อนให้ร่างกาย
    พ<wbr>าเราก้าวเดินไปตามหัวใจที่ปรารถ<wbr>นา...
    ฉันจึงกำหนดจิตอธิษฐาน เพื่อสักครั้งหนึ่งในชีวิต
    ได้ไปก้มกราบ “พระบรมสารีริกธาตุ” ณ ดินแดนที่ฉันแสนจะคุ้นเคยมานานแ
    <wbr>สนนาน...

    หากทุกคนได้ศึกษาถึงแก่นของพุทธ<wbr>ศาสนาอย่างลึกซึ้ง จะเข้าใจได้ว่า
    ความบังเอิญ ไม่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ มีเพียงเหตุและปัจจัยให้เกื้อหน<wbr>ุนนำทาง
    ไปสู่ทิศและองศาที่กาลเวลาได้กำ<wbr>หนดไว้...
    และแรงอธิษฐานสามารถขั<wbr>บเคลื่อนความปรารถนาที่อยู่ภายใ<wbr>นหัวใจได้สำเร็จ
    เมื่อสายตาของฉันแลเห็น โครงการ “วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง”

    ฉันเขียนใบสมัครเข้าโครงการนี้ด<wbr>้วยหัวใจ
    และหวังอย่างยิ่งยวดว่า ฉันสามารถผ่านการคัดเลือกเข้าไป<wbr>ใช้ชีวิตช้า ๆ กับชาวบ้านได้สำเร็จ...
    และแล้วน<wbr>้ำตาแห่งความปลื้มปีติรินไหลอาบ<wbr>สองแก้ม
    เมื่อเห็นเมล์ของการตอบรับเข้าร<wbr>่วมโครงการ
    ฉันไม่รีรอแต่อย่างใด เตรียมกายเตรียมใจขึ้นสู่ยอดดอย<wbr>ตามโสตเสียงที่แว่วมาแต่ไกล

    เริ่มต้นกับการเดินทางกับหนุ่มน<wbr>้อยแปลกหน้านายหนึ่ง ที่จับพลัดจับพลูต้องใช้ชีวิตร่<wbr>วมกันบนรถไฟ
    ฉันไม่รู้จักเขาและเขาก็ไม่รู้จ<wbr>ักฉัน แต่เราเดินทางไปร่วมโครงการเดีย<wbr>วกัน...
    อาจต่างกันที่เป้าหมาย แต่ฉันเชื่อว่า เรามาด้วยใจที่บริสุทธิ์
    ที่มีพื้นฐานของศีลเป็นมาตรฐานร<wbr>องรับ

    การรวมพลเดินทางสู่ยอดดอยเริ่มข<wbr>ึ้น
    ฉันตื่นเต้นที่ได้เจอะเจอกับสมา<wbr>ชิกพี่ ๆ น้อง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการนี้ เหมือนคนที่คุ้นเคยกัน
    ทั้งที่ไม่เคยเจอกันเลย พวกเราพูดคุย ทำความรู้จัก และสนิทสนมกันอย่างรวดเร็ว
    ไม่มีช่องว่างระหว่างวัย มีแต่เยื่อใยที่โยงเข้าหากันและ<wbr>กัน...ทำให้อบอุ่นและคุ้นเคยยิ่<wbr>งนัก

    และแล้วการเดินทางก็สิ้นสุดลง ฉันได้สัมผัสรอยยิ้มอันอบอุ่นขอ<wbr>งเจ้าของบ้าน
    ที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยอาหารท<wbr>ี่แสนจะธรรมดา ๆ
    แต่ลิ้นและโสตประสาทของฉันได้สั<wbr>มผัสความอร่อยเข้าไปถึงหัวใจ
    เมื่ออิ่มกายอิ่มใจ พวกเรามารวมตัวกันอีกครั้ง
    เพื่อเริ่มโครงการ “วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง”
    เป็นการเริ่มต้นที่สว่างไสว และหัวใจเต็มไปด้วยรอยยิ้ม
    เมื่อฉันเห็น “พระอาจารย์โต้ง” ท่านเป็นพระที่มีความเมตตาสูงมา<wbr>ก
    บอกไม่ได้ว่า ทำไมน้ำตาแห่งความปีติรื้น ๆ อยู่รอบดวงตา
    ความสุขในหัวใจฟูฟ่องออกมาทางใบ<wbr>หน้า จนยินเสียงท่านพูดว่า ทำไมมีความสุขจัง...
    ฉันก็ตอบไม่<wbr>ได้ว่า ทำไม? รู้เพียงว่า คงมาจากความเมตตาสูงของท่าน

    ท่านได้อธิบายความเป็นมาของโครง<wbr>การให้ฟังอย่างเข้าใจ
    และเน้นย้ำในประเด็นหลักว่า เงินทองคือ มายา ข้าวปลาคือ ของจริง
    เมื่อเป็นดังนี้แล้วพวกเราต้องก
    <wbr>ำจัดสิ่งที่เรียกว่า มายาออกจากร่างกาย
    และสิ่งเหล่านั้นคือ กระเป๋าสตางค์และอุปกรณ์การสื่อ
    <wbr>สารทุกชนิด...
    ฉันรู้สึกโล่งใจอย
    <wbr>่างบอกไม่ถูก เมื่อได้ปลดปล่อยพันธการที่เคยร<wbr>้อยรัดอยู่ออกจากร่างกาย
    จากนี้ไปเราจะไม่ใช้เงินและโทรศ
    <wbr>ัพท์มือถืออีกแล้ว

    จากนั้นมีการเลือกกลุ่มที่จะเข้<wbr>าไปใช้ชีวิตอยู่กับ “พ่อและแม่” ที่สมมติเสมือนดั่งค<wbr>วามเป็นจริง
    ฉันและน้องบัวยกมือขึ้นทันทีที่<wbr>เสียงคำว่า บ้านดิน สิ้นสุดลง
    ฉันอยากจะสร้างบ้านดิน อยากเรียนรู้สมุนไพร และการปลูกผัก...
    เราได้เดินทางไ<wbr>ปสู่บ้านของพ่อและแม่

    บ้านไม้ชั้นเดียวที่อยู่บนเนิน เป็นบ้านที่ฉันและน้องบัวต้องใช<wbr>้ชีวิตอยู่ร่วมกัน 3 วัน
    สมาชิกในบ้านมีพ่ออุ๊ยบุญมา แม่อุ๊ยคำเอื้อย น้องแพท และน้องเคน...
    สี่ชีวิตที่คุ้นเค<wbr>ยกับบ้านหลังนี้มานานแล้ว
    และอีกสองชีวิตที่เพิ่งจะเข้าร่<wbr>วมเป็นครอบครัวเดียวกัน...
    พวกเร<wbr>าร่วมล้อมวงทานอาหารมื้อเย็น เป็นครั้งแรกของการใช้ชีวิตร่วม<wbr>กัน
    ไม่มีใครแปลกใจ ในความแปลกหน้าของกันและกัน
    มีแต่แววตาที่แสนจะอบอุ่นโยงใยเ<wbr>ข้าหากัน
    และจากวินาทีนี้ต่อไป ฉันได้เรียนรู้ความเป็นอยู่แบบว<wbr>ิถีคนเมืองอย่างแท้จริง
    และจริงใ<wbr>จจากบ้านน้อยหลังนี้

    เริ่มต้นของแสงแห่งวันแรกด้วยกา<wbr>รใส่บาตรกับ “พระผู้ให้”
    ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บสัมผัสทา<wbr>งกาย หากแต่ทางใจแล้วฉันอบอุ่นเป็นยิ<wbr>่งนัก
    เห็นภาพทุ่งหญ้าป่าเขาไกลสุดสาย<wbr>ตา กับการใช้ชีวิตอย่างช้า ๆ ของผู้คน...
    และภาพที่ฉันเก็บบัน<wbr>ทึกไว้ในหัวใจไม่อาจจะลืมเลือนค<wbr>ือ
    ภาพเด็กผู้ชายอายุประมาณ 5-6 ขวบ ยืนใส่บาตรและก้มกราบพระด้วยควา<wbr>มอ่อนน้อม
    มันเคยเป็นภาพที่ฉันเคยกระทำตอน<wbr>เด็ก ๆ และซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่<wbr>รู้ตัว...
    เด็กคนนี้มีบุญยิ่งนัก<wbr> ที่ได้มีโอกาสสะสมบุญตั้งแต่เล็<wbr>กแต่น้อย

    กิจกรรมแรกที่เริ่มต้นของการเรี<wbr>ยนรู้ นั่นคือ การเผาถ่าน
    ฉันถือว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านท<wbr>ี่มีศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีว<wbr>ิต
    ที่เริ่มต้นด้วยการหุงหาอาหารด้<wbr>วยถ่านที่มีคุณภาพ
    การเผาถ่านทำให้ฉันเรียนรู้ว่า การสุมไฟให้พอดี เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
    กิจกรรมต่อมาคือ การปลูกผัก
    ฉันได้เรียนรู้การปลูกผักแบบใช้<wbr>ฟางและแกลบคลุมหน้าดินเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน
    และเรียนรู้ว่า น้ำเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุ<wbr>ดของการเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตข<wbr>องพืชผัก
    หากขาดน้ำแล้ว ก็ขาดการเจริญเติบโต ขาดกลไกของการสานต่อของธรรมชาติ<wbr>
    “น้ำ”จึงเป็นที่มาของการ “สร้างฝาย”

    การสร้าง “บ้านดิน” สำหรับฉันแล้ว เป็นงานที่หนักและไกลเกินตัวมาก<wbr>
    ฉันได้แต่นั่งมองและส่งกำลังใจใ<wbr>ห้น้องแพทและน้องบัว
    ช่วยกันบรรจงสร้างสรรค์บ้านน้อย<wbr>แบบธรรมชาติหลังนี้ ด้วยความชื่นชม

    กิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละบ้าน ได้ถ่ายทอดร่วมกันอีกครั้ง
    ณ คืนที่สาม คืนที่มีการก่อรอบกองไฟ เพื่อกระชับมิตรภาพ
    และรับฟังเรื่องราวของแต่ละครอบ<wbr>ครัว สำหรับฉันแล้ว ประทับใจทุกบ้าน
    ทุกครัวเรือน ที่มี “พ่อและแม่” มาร่วมล้อมถักทอสายใยให้กระชับแ<wbr>ละอบอุ่น
    ในค่ำคืนที่เหน็บหนาว...
    มีเสียง<wbr>หัวเราะ และรอยยิ้ม สลับกันกับเรื่องราวแห่งความประ<wbr>ทับใจ
    ผ่านพ้นโมงยามไปอย่างรวดเร็ว ฉันหลับไหลพร้อมกับรอยยิ้มในหัว<wbr>ใจที่อบอุ่น...

    วันที่สี่เป็นวันที่พวกเราต้องจ<wbr>ากครอบ ครัว เพื่อไปสร้างฝาย
    ฉันไม่เคยรับรู้มาก่อนว่า การสร้างฝายเป็นอย่างไร
    แต่เมื่อมาฟัง “พระอาจารย์สังคม” อธิบายรายละเอียดต่างๆ
    ฉันถึงเข้าใจกระจ่างแจ้ง และสำนึกในพระปรีชาสามารถของ “พระราชา” ผู้ยิ่งใหญ่
    ที่พระองค์รักและห่วงใยแผ่นดินไ<wbr>ทย และคนไทยทั้งประเทศ
    พระองค์ทรงสร้างทฤษฎี อันเป็นที่มาของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”
    ที่ต้องการให้ทุกคนดำเนินชีวิตอ<wbr>ย่างมีคุณธรรมสูงสุด

    และขณะที่ฟังการอธิบาย “พระอาจารย์สังคม” อยู่นั้น
    ฉันได้สัมผัสความเป็นพระผู้ให้ข<wbr>องท่าน โดยเฉพาะ “ใจ”ที่ยิ่งใหญ่มาก

    (วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม มีพระอาศัยอยู่เพียงสองรูปเท่าน<wbr>ั้น
    คือ พระอาจารย์โต้ง และพระอาจารย์สังคม
    สำหรับวิธีการสอนของสองพระอาจาร<wbr>ย์ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
    พระอาจารย์โต้งจะนำเสนอรูปแบบแล<wbr>ะวิธีการทางบุ๋น
    ส่วนพระอาจารย์สังคม เป็นแบบอย่างทางบู๊)

    และฉันชอบทั้งสองวิธีการ เพราะได้รับความมีเมตตาสูงเฉกเช<wbr>่นเดียวกัน
    การเข้าไปสร้างฝายในป่าเริ่มขึ้<wbr>น ฉันเริ่มตระหนักถึงความหนักของง<wbr>าน
    เพราะร่างกายของฉันไม่พร้อมสำหร<wbr>ับงานหนัก ที่มีการลำเลียงของปูน เพื่อก่อสร้างฝาย
    ฉันพยายามหางานที่เหมาะสมกับตัว<wbr>เอง
    ขณะที่ก้มลงหยิบยกสังกะสีจากที่<wbr>หนึ่ง ไปสู่อีกที่หนึ่ง
    ฉันท่องอยู่ภายในหัวใจเสมอว่า ขอตอบแทนพระคุณแผ่นดิน
    และพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยแรงกายเท่าที่มีให้สุดพลัง

    แม้ว่าการสร้างฝาย ที่ฉันมีส่วนร่วมแรงร่วมกายอันน<wbr>้อยนิด
    แต่สำหรับจิตใจแล้ว ฉันเบิกบานยิ่งนัก
    ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ อย่างฉัน มีส่วนทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีความ<wbr>สมบูรณ์ของน้ำ ไม่มากก็น้อย...
    และขอสัญญาว่า จะกลับมาตอบแทนพระคุณแผ่นดินอีก<wbr> ครั้งแล้วครั้งเล่า
    ขอสัญญาด้วยหัวใจที่รักแผ่นดินไ<wbr>ทย
    และเทิดทูนพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ นามว่า ภูมิพล ที่แปลว่า แผ่นดินเช่นเดียวกัน...

    และค่ำคืนสุดท้าย มีการเดินทางด้วยตัวเองผ่านภูเข<wbr>า ขึ้นสู่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม
    สำหรับฉันแล้ว ถือเป็นการจาริกบุญอย่างหนึ่ง ฉันก้าวเดินไปพร้อมหัวใจที่เบิก<wbr>บาน
    เดินขึ้นสู่ยอดดอยที่เปี่ยมล้นด<wbr>้วยพลังกาย
    ที่มีอุณหภูมิเย็นสบายรอคอยการม<wbr>าเยี่ยมเยือนของพวกเรา

    เมื่อถึงยอดดอย สิ่งแรกของการปฏิบัติคือ
    ฉันก้มลงกราบ “พระบรมสารีริกธาตุ” ด้วยความปีติและตื้นตันใจยิ่ง
    ขอขอบคุณสำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์<wbr>ที่ช่วยคุ้มครอง ให้สามารถมาถึง ณ ที่แห่งนี้ได้อย่างปลอดภัย
    และที่ ๆ ยังคงเป็นปริศนาแห่งหัวใจกับฉัน<wbr>ว่า ทำไมหัวใจร่ำร้องอยากมายิ่งนัก
    คงจะเป็นค่ำคืนนี้ที่ฉันกระจ่าง<wbr>แจ้งในคำตอบของการมาเยือน ณ ดินแดนแห่งนี้

    “พระอาจารย์โต้ง” เมตตาอธิบายความเป็นมาของวัดพระ<wbr>บรมธาตุดอยผาส้ม
    ที่เชื่อมโยงกับชาวบ้านด้วย “ขบวนการแห่งบุญ” และ “ศาสตร์แห่งพระราชา”
    ฉันเข้าใจและซาบซึ้งในความอัจฉร<wbr>ิยะของท่าน
    ฉันเป็นหนึ่งเสียงที่ร่วมสนับสน<wbr>ุนผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน
    เพื่อลดทอนกลไกของระบบทุนนิยม
    และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้อยู่อ<wbr>ย่างพอเพียง
    เพื่อประโยชน์สุขทั้งตนเองและผู<wbr>้อื่นด้วยการไร้ซึ่งความเบียดเบ<wbr>ียนกันและกัน...

    “ปริศนาแห่งหัวใจ” ได้ไขกระจ่างจากคำพูดของพระอาจา<wbr>รย์โต้งว่า
    พวกเรามาทำไมที่นี่ ทุกอย่างไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

    เป็นเรื่องของการเสียสละอันยิ่ง<wbr>ใหญ่ ที่ซ่อนตัวอยู่ในตนเองมานานแสนน<wbr>านแล้ว
    จะปรากฏชัดเจนด้วยแรงกระตุ้นของ
    <wbr>มิติแห่งกาลเวลา...
    และเพื่อให้แ<wbr>น่ใจในการแก้ปริศนาที่ค้างคาใจอ<wbr>ีกครั้ง
    ขอให้อธิษฐานจิต ณ เบื้องหน้าของพระบรมสารีริกธาตุ
    <wbr>อันศักดิ์สิทธิ์
    เพื่อขอคำตอบอย่างแท้จริง และแล้วรอยยิ้มเกิดขึ้นกับคำตอบ
    <wbr>ที่แน่ชัดในหัวใจ...

    “หน้าที่เรา ตอบแทนพระคุณแผ่นดิน”
    ฉันเข้าใจถึงคำตอบแล้ว การทำงานเพื่อแผ่นดิน
    เสมอเหมือนการทำงานเพื่อ “พ่อ”...พ่อ คือ พระราชาผู้ยิ่งใหญ่...
    จะขอเดินต<wbr>ามรอยเท้าของ “พ่อ” ด้วยหัวใจที่พอเพียง...
    ฉันเชื่อว่า หากเราสะกิดหัวใจตัวเอง ให้พอและเพียงกับสิ่งที่เป็นอยู<wbr>่
    แล้วมีชีวิตเพื่อรับใช้ผืนแผ่นด<wbr>ิน คืนชีวิตความเป็นปกติให้แก่ธรรม<wbr>ชาติ
    ไม่ว่าภัยพิบัติจะเกิดขึ้นอย่างไร เราจะปลอดภัย
    เพราะแผ่นดินจะโอบอุ้มคุ้มครองเ
    <wbr>ราไว้ คืนชีวิตแก่เราเฉกเช่นเดียวกัน.<wbr>..

    ขอขอบ(พระ)คุณทุกท่านที่เกี่ยวข<wbr>้อง :
    ขอขอบพระคุณ “พระอาจารย์โต้ง” และ “พระอาจารย์สังคม”
    ที่เมตตาสอนการใช้ชีวิตให้เสียส<wbr>ละและทำตัวให้มีคุณค่าแก่แผ่นดิ<wbr>น...
    อยากเรียนท่านว่า ฉันอยากกอดต้นไม้ทุกต้นในป่าเช่<wbr>นเดียวกันค่ะ

    ขอขอบคุณ “โครงการวิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง”
    ที่ทำให้ฉันได้สะกิดหัวใจตัวเอง<wbr> ให้พอและเพียงในการดำรงชีวิต
    และอุทิศตัวเองให้เสียสละเวลาที<wbr>่เหลืออยู่ในการตอบแทนพระคุณแผ่<wbr>นดิน
    และถือเป็นทริปที่ดีที่สุดในชีว<wbr>ิตทริปหนึ่ง

    ขอขอบพระคุณ “ครอบครัวอุปภัมถ์” ที่ทำให้ฉันได้เรียนรู้กับชีวิต<wbr>พอเพียงอย่างมีคุณค่า
    ถึงแม้ว่า ไม่ได้มีการอำลาอย่างเป็นทางการ<wbr>
    แต่ฉันขอบคุณครอบครัวนี้อยู่ภาย<wbr>ในหัวใจเสมอ
    สายตาแม่อุ๊ยที่มีความเมตตาสอนว<wbr>ิถีชีวิตคนเมืองให้ฉันหลายสิ่งห<wbr>ลายอย่าง
    ฉันขอจดจารไว้ เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตอย่า<wbr>งปลอดภัย
    ขอขอบคุณด้วยหัวใจที่เคารพยิ่ง

    ขอบคุณ พี่ ๆ น้อง ๆ ผู้ร่วมโครงการทุกท่าน เหมือนคนที่ไม่เคยรู้จักกัน
    แต่ผูกพันด้วยหัวใจที่เสียสละเช<wbr>่นเดียวกัน ฉันดีใจที่ได้คุยกับทุกท่าน
    และทุกท่านก็ยินดีแบ่งปันประสบก<wbr>ารณ์กันและกัน ไม่ว่าทั้งทางโลกและทางธรรม

    และท้ายสุดนี้ ขอขอบคุณพี่เลี้ยงจิตอาสาทุกท่า<wbr>น ที่คอยเสียสละเวลา
    คอยดูแลอำนวยความสะดวก และสอนเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราได้เรียนรู้อย่างจริงใจ..<wbr>.

    ขอบคุณค่ะ
    วิชาชีวิตฯ ครั้งที่ ๒ จะจัดวันที่ ๑๘-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เปิดรับสมัครแล้ว


    รวมลิงก์ วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ณ ดอยผาส้ม

    ส่งใบสมัคร: https://docs.google.com/spreadsheet/...1EdUE6MQ#gid=0
    (สมัครได้ล่วงหน้า ๒ เดือน)

    ยืนยันการเข้าร่วม: https://docs.google.com/spreadsheet/...pCUmc6MQ#gid=0
    (๑๕ วันก่อนวันงาน)

    ส่งการบ้าน: https://docs.google.com/spreadsheet/...1PS0E6MQ#gid=0
    (ส่งหลังจากจบค่าย)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2011
  19. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    เรื่องเล่าในเว่อร์ชั่นนี้ค่อนข้าง Hard Core
    จัดหนัก จัดเต็ม เพราะเป็นเรื่องราวของหนุ่มจิตอาสา (บ้าพลัง)


    อย่างที่เคยเล่าไว้ครับว่าแต่ละคนมาดอยผาส้มครั้งนี้ด้วยจุดหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
    อีกทั้งการเข้าไปเป็นลูกหลานในครอบครัวที่ต่างกันก็ทำให้มีกิจกรรมเรียนรู้ที่ต่างกันออกไป

    เนื้อหาอาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการเตือนภัยพิบัติ
    แต่ผมเชื่อว่ามันจะสามารถเป็นจิ๊กซอว์อีกตัว
    ที่ช่วยทำให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพของการเตรียมตัวเพื่อรับภัยพิบัติ
    ที่มีมากไปกว่าการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์


    ขอให้ติดตามต่อไปนะครับ
    ผมและเพื่อน ๆ อาสาจะนำจิ๊กซอว์ตัวที่หายไปมานำเสนอผู้อ่านทุกท่าน






    ประสบการณ์จริงจากผู้เข้าร่วมโครงการแรก วันที่ 10 - 14 ธันวาคม 2554
    4 วัน 5 คืน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม


    โดย Note Utamavibul ใน วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ณ ดอยผาส้ม



    มันเริ่มจากตรงที่เห็นโพสประกาศรับสมัครจิตอาสาเข้าร่วม
    โครงการวิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ณ วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม
    ก็สนใจทันที เพราะใกล้วันเดินทางมากๆแล้ว เลยสมัครทันที
    ตอนเห็นใบสมัครออนไลน์มีให้แต่งเรียงความหลายข้อเลยแฮะ
    และที่สำคัญที่สุดคงจะเป็น "ชีวิตคืออะไร"
    ดูเหมือนจะง่าย แต่ก็ต้องคิดออกมาในหัวก่อนเลยว่าจะเขียนออกมายังไง
    แล้วก็ใช้เวลาเขียนอยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เป็นเรียงความที่ภูมิใจอยู่ในระดับหนึ่ง
    เพราะเขียนในช่วงที่เห็นความหมายของชีวิตในอีกมุมหนึ่งอย่างชัดเจน

    ขอยอมรับว่าไม่ได้ดูคลิปที่อยู่ในประกาศรับสมัครทุกคลิป
    ได้แต่อ่านบทความและคำเกริ่นเชิญชวนให้สมัคร
    มันสะกิดใจตรงที่ว่า จากหมู่บ้านที่ชาวบ้านเป็นหนี้จากการทำเกษตรเป็นแสนเป็นล้าน เขาทำยังไง
    คิดอะไรถึงกลับมาทำเศรษฐกิจพอเพียง สร้างฝาย ปลูกป่า มันเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงยังไงนะ
    ยิ่งได้อ่านแล้วรู้ว่ามีผู้นำเป็นพระภิกษุ ยิ่งทำให้เกิดศรัทธาผลักดันให้อยากมา "ศึกษา"
    ต้องเน้นคำว่าศึกษาเพราะว่าด้วยกรอบความคิดแคบๆ
    ทำให้ตีความไปว่าอะไรที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า"วิชา"ก็คงจะเป็นการเรียนรู้เฉยๆ
    เข้าไปสังเกตุการณ์เฉยๆ และลืมนึกถึงคำว่า"ปฏิบัติ"ไปเสียสนิท


    และเป็นโชคดีมากข้อหนึ่งที่ได้ไปอาศัยกับพ่อแม่อุปถัมภ์ที่เป็นผู้นำศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้
    เพราะตามชื่อโครงการแล้ว เราก็ตั้งใจมาเพื่อสิ่งนี้
    แต่ก็ตะหงิดๆอยู่นิดหนึ่งตอนที่พระอาจารย์สรยุทธ (เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอย ผาส้ม)
    บอกว่าบ้านนี้ต้องการลูกชาย 3 คนที่แข็งแรง กำยำ (เอ๊ะ มันเกี่ยวอะไรกับการเรียนนะ)
    มีพี่ร่วมบ้านอีก 2 คน คือ พี่วัฒน์ และพี่หล่ง
    รวมเป็น "3 ทหารเสือ" ฉายาที่พระอาจารย์สังคม (รองเจ้าอาวาสพระบรมธาตุดอยผาส้ม) เรียกเรา
    (เราภูมิใจกับฉายานี้จัง แม้ว่าอาจจะเป็นฉายาที่เกินจริงไปสักนิด
    เพราะเราคิดว่าที่เราทำ เราคงจะเป็นทหารเสือที่อ่อนด้อยที่สุดในสามคน
    และคงจะเป็นทหารเสือที่ไม่ค่อยจะมีกำลังวังชาอะไรในการช่วยพระอาจารย์และพ่อดร แม่เอ้ย)

    ตั้งแต่วันแรกที่ไปถึงคนอื่นได้ไปทำปุ๋ย
    แต่ของบ้านเรา พระอาจารย์เรียกขึ้นรถไปที่ฝายเลย
    คำว่า "ฝาย" ในความคิดเราก็คงจะเป็นไม้ไผ่
    หรือก้อนหินมาวางขวางทางน้ำแบบที่เห็นตามสื่อต่างๆที่โหม CSR กันไป
    แต่พอไปเห็นจริงๆ ความคิดนั้นก็ถูกทำลายไปสิ้น
    อันนี้ที่กำลังทำอยู่มันเรียกว่า "เขื่อน" หรือ Check Dam นั่นเอง

    ใหญ่โตกว่าที่คิดเยอะมาก นั่นคงเป็นเหตุผลที่ให้เรามาขนปูนสิบกว่าลูกทันทีสินะ
    ก็มันไม่มีคนจะขนน่ะสิ พ่อๆที่ทำกันอยู่ก็คงจะไม่มีแรงแบกเป็นแน่
    ขนาดเราแบกกันสองคนช่วยกันแบกแต่ละลูกยังหลังแทบหัก
    วันแรกที่ทำก็ประมาณนี้ พี่สองคนไปช่วยผูกเหล็กด้วย แต่เราไม่ได้ปีนลงไป ขอโทษครับ T^T

    สิ่งที่สะกิดใจอีกอย่างหนึ่งคือตอนที่กลับมาที่บ้านแล้วพบว่าบ้านเราไม่มี ไฟฟ้า
    ตอนแรกไม่ทันได้สังเกตุเพราะยังสว่างอยู่
    สิ่งที่คิดอยู่อย่างเดียว คือ แล้วตอนกลางคืนจะไปเข้าห้องน้ำยังไง ไฟฉายก็ไม่มี
    และจากที่ตั้งใจตั้งแต่ก่อนมาว่าจะมาดูจันทรุปราคา (กบกินเดือน ที่ชาวบ้านเรียกกัน) ก็ต้องเปลี่ยนความคิด
    เพราะหลับตั้งแต่สองทุ่มครึ่ง หลังจากนั่งผิงไฟกันสักพัก
    แม่ม่อนก็ชวนไปสวดมนต์ก่อนนอน+เล่าเรื่องจิปาถะให้ฟัง พอหัวถึงหมอนก็หลับเป็นตาย
    (กลางดึกคืนนั้น เราก็เป็นคนเดียวที่ต้องลุกเดินไปเข้าห้องน้ำตามคาด
    ลุกขึ้นมาตอนตีหนึ่ง มืดสนิท จะลงไปยังไงดีล่ะ ไม่มีไฟฉาย
    พอดีพี่หล่งรู้สึกตัวนิดนึง เลยยืมไฟฉายพี่หล่งเดินลงไปคนเดียว
    พอลงไปแล้วก็ไม่รู้สึกว่ามืด เพราะเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง
    เลยไม่ได้ใช้ไฟฉายตอนเดินลงมาถึงข้างล่าง
    แต่ก็หลอนๆเหมือนกันที่ต้องมาเดินลัดพงไม้ไปเข้าห้องน้ำ มีเสียงอะไรในพงลึกๆก็กลัว ไม่รู้จะกลัวทำไมสินะ)
    เป็นตายจริงๆเพราะจากที่ตั้งใจว่าจะไปเดินเป็นเด็กวัดตามพระอาจารย์บิณฑบาตร ก็ต้องตกไป เพราะตื่นกันเจ็ดโมง
    (ก็เราไม่มีนาฬิกาปลุกกันนี่ เครื่องมือสื่อสารโดนยึดตั้งแต่วันแรกแล้ว)

    ตื่นมาปุ๊ป ล้างหน้าล้างตา แปรงฟันแล้วพ่อดรก็มอบงานให้ทำทันที
    ย้ายของในโรงเก็บของที่นึง ไปไว้ที่ห้องเก็บของตรงโรงปุ๋ย
    ย้ายกันอยู่เกือบสองชั่วโมงค่อยได้ไปกินข้าวเช้า
    เสร็จแล้วก็ไปทำหน้าที่ทหารเสือของพระอาจารย์สังคม ไปช่วยงานชุมชน
    พึ่งจะเข้าใจความหมายของคำว่า "หักร้างถางพง" แบบชัดเจนก็คราวนี้เอง
    เพราะงานที่เราไปทำตลอดเช้านั้นคือไปถางพงหญ้าที่รกร้าง
    เพื่อจะเอาดินไปลงทำคันดินให้สูงขึ้นเพื่อให้กักน้ำได้<wbr>มากขึ้น
    ใช้มีดกับจอบถางกันจนเหงื่อตก เสื้อหนาวที่เอามาได้ใช้แค่ตอนนอนจริงๆ
    เพราะตื่นมาออกกำลังก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ให้ความอบอุ่นแล้ว
    พื้นที่ที่เราหักร้างถางพงนั้นก็ไม่กว้างไม่ใหญ่อะไรมาก แค่ประมาณครึ่งสนามบอลเอง
    แต่มันเหนื่อยนัก กว่าจะเสร็จก็ได้เวลากินข้างเที่ยงแล้ว กลับไปกินที่บ้าน
    แล้วพ่อดรก็พาไปในป่า พาไปสำรวจท่อน้ำที่แตกอยู่ เพื่อจะซ่อมท่อนั้น
    เข้าไปก็เจอว่าแตกจริงๆ แต่ไม่ได้ซ่อมกันง่ายๆ ต้องขุดดินหาช่วงที่ท่อแตก
    แทบจะต้องถล่มเนินเขากันลงมาเลย
    เพราะตอนวางท่อ เขาวางเสร็จแล้วเอารถแบคโฮตักดินมากลบไว้
    ต้องค่อยๆถอดหินออกมาทีละชั้น อย่างกับเล่น puzzle เลยทีเดียว
    พอเห็นส่วนที่แตกแล้ว ก็พยายามจะขุดไปให้ถึงข้อต่อท่อ
    แต่เกินกำลังจริงๆ พ่อดรเลยตัดท่อแล้วเอาท่อใหม่มาสวมต่อไปเลย
    (ท่อที่แตกก็แตกเพราะเป็นท่อเก่า และคงโดนหินแหลมกดทับตอนเอาดินกลบนั่นแหละ)
    เสร็จแล้วก็ไปช่วยเก็บหินจากดินที่ตักมาปูถนน เพื่อเอาหินพวกนี้ไปสร้างฝายต่อไป
    เรียกว่าใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าทุกทางจริงๆ

    ตลอดบ่ายนั้นที่ทำก็คือ เก็บหินไว้ข้างทาง เก็บหินที่เก็บไว้ข้างทางขึ้นรถกระบะ
    แล้วก็ไปเก็บกองไม้ขนาดใหญ่ที่ใช้รถแบคโฮโค่นต้นไม้ที่ยืนต้นตายขวางทางคันดิน
    เอากลับไปไว้ที่บ้านเพื่อทำฟืน หมดไปอีกวัน
    ด้วยความเหนื่อยกายแต่ไม่เหนื่อยใจ คืนนี้พี่หล่งขึ้นไปนอนบนวัด เพราะจะกลับก่อน
    และกลัวจะไม่ได้นอนบนวัด พี่วัฒน์กับเราเลยลงมานอนกันที่ศาลาข้างล่าง
    เพราะกลัวว่าจะไม่เห็นเดือนไม่เห็นตะวันแล้วตื่นไม่ทันไปเป็นเด็กวัดอีก
    ก่อนนอนคืนนั้นก็ผิงไฟทำข้าวหลามกินกันที่บ้าน และคุยกับพ่อดรแม่เอ้ยอีก

    ครั้งนี้เราได้รู้ประวัติศาสตร์ก่อนที่พ่อดรจะเปลี่ยนทางมาทำเศรษฐกิจพอเพียง
    เป็นประวัติศาสตร์ที่มีแต่ความอดสูและน้ำตาจริงๆ
    จากไร่สตรอเบอรี่ที่ประโคมซื้อยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี
    เพื่อหวังจะให้ผลผลิตออกมาสวยงามตามที่ผู้บริโภคต้องการ
    นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราสัญญากับตัวเองในใจว่าแต่นี้ต่อไปเบื้องหน้า
    เราจะไม่ฆ่าตัวตาย (ทางอ้อม) โดยการก
    <wbr>ินสตรอเบอรี่อีกแล้ว สารเคมีตกค้างมากมายแน่นอน
    ก็เล่นพ่นยาฆ่าแมลงกันตอนเย็นและเก็บผลผลิตกันตอนเที่ยงคืนตีหนึ่ง
    ยาฆ่าแมลงที่ไหนจะสลายตัวทันนะ
    ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรยากจนลงอีกต่างหาก


    ตื่นเช้ามาอีกวัน จากที่คิดว่าหนาวจนทนไม่ไหว ก็ไม่อะไรขนาดนั้นนะ
    ตื่นเช้ามาเดินออกไปประมาณกิโลนึงเพื่อนรอรถของพระอาจารย์ลงมา
    แต่รอไปรอมาครึ่งชั่วโมงก็แล้วก็ไม่มีวี่แววเลยแฮะ เลยตัดสินใจเดินไปทางไปหมู่บ้าน
    เป็น morning walk ที่ได้รับอากาศบริสุทธิ์เต็มๆ
    เดินไปเกินครึ่งทางแล้วรถพระอาจารย์ก็มาพอดี เลยได้นั่งต่อไปในหมู่บ้าน
    แล้วที่เราคิดมาตลอดว่าในหมู่บ้านก็คงไม่มีไฟฟ้าใช้เหมือนบ้านเราก็ปรากฎตอนนั้นเองว่าเราคิดผิด
    บ้านในหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
    ในมโนภาพของเราก่อนหน้านั้นก็คิดว่าหมู่บ้านที่ว่าคงจะเป็นหมู่บ้านที่เป็นดินลูกรังทั้งหมู่บ้าน
    (เหมือนหมู่บ้านในจังหวัดมหาสารคามที่เราเคยไป)
    และด้วยความที่เราไม่ได้ดูคลิปพื้นที่ชีวิตว่าทำไมเด็กวัดจะต้องถอดรองเท้าตอนเดินตามพระบิณฑบาตร
    เราเลยไม่ได้ถอด ทำให้ไม่รู้ถึงทุกข์ที่ต้องเดินเท้าเปล่าบนพื้นที่มีทั้งเรียบ ทั้งขรุขระ ทั้งแห้ง ทั้งแฉะ
    ก็เดินชิวๆ หิ้วเข่งพลาสติกไป (โดยที่พี่วัฒน์กับพี่หล่งถอดรองเท้าเดิน เราก็ไม่ได้สนใจจะทำตาม Y^Y)
    เดินไปซักพักก็มีคนมาร่วมเดินไปอีกคนและมาเป็นสมาชิกชั่วคราวที่บ้านพ่อดรทั้งวัน (พี่ยกนั่นเอง)

    วันนี้เป็นวันแรกที่เราได้ช่วยงานที่บ้านทั้งวันหลังจากภวายภัตตาหารเช้า
    และเรากินข้าวเช้าเรียบร้อย กิจกรรมแรกที่ได้ทำคือการฟาดข้าว
    เราไปฟาดกันกลางนาล้อมวงฟาดใส่ตะกร้ายักษ์
    กองข้าวกองโตก็ค่อยๆลดลงไปทีละนิดๆ
    แต่เราคิดว่าพวกเราคงทำได้ไม่ดีเท่าที่พ่อแม่เราทำแน่ๆเลย
    คงจะเป็นการฟาดข้าวที่เสียข้าวไปมากมายแน่ๆเลย พ่อดรฟาดข้าวแต่ละฟ่อน
    เราแทบจะไม่เห็นเมล็ดข้าวหลงอยู่ในฟ่อนนั้นเลย
    แต่ตอนเราทำเห็นติดอยู่มากมาย จนต้องเอาไม้มาตีให้ข้าวร่วงออกให้หมด
    เป็นโชคดีของเราที่วันนี้แดดอ่อนมาก
    แล้วที่ชาวนาต้องฟาดข้าวกันกลางแดดทุกปีๆ เค้าจะเหนื่อยหนักขนาดไหนนะ
    (เราขอไม่พูดถึงเทคโนโลยีทุ่นแรงทั้งหลาย ทั้งรถเกี่ยวข้าวที่เกี่ยวขึ้นมาแล้วก็ได้ออกมาเป็นเมล็ดข้าวเปลือกเลย)
    จบการฟาดข้าวเราก็นึกว่าจะจบแล้ว แต่ไม่ใช่เลย ยังมีการวีข้าวอีก
    (การวีข้าวเป็นการเอาพัดกลมๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ฟุตมาพัดข้าวลม
    (ข้าวที่ไม่มีเมล็ดข้าวข้างใน) ออกจากกองข้าวดี)
    ตอนแรกก็เก้ๆกังๆ แต่ทำไปเรื่อยๆก็สนุกดีแฮะ แต่เสียดายที่บ้านเรามีวีแค่อันเดียว
    เพราะพ่อดรบอกว่าปกติใช้สองอัน และมองจากไกลๆท่าทางการวีจะสวยเหมือนรำอยู่เลย
    อย่างไรก็ดีการวีข้าวเราว่ามีประโยชน์และสนุกกว่าเล่นเกมส์วีเป็นไหนๆ
    รวมแล้วข้าวที่เราช่วยกันฟาด ช่วยกันวีทั้งกองก็รวมแล้วได้สี่ถุงปุ๋ยเลย :)

    (ต้องขอขอบคุณพี่เล่ พี่กรณ์ และน้องเบนซ์ด้วยที่มาช่วยเราทำ ไม่งั้นเราคงใช้เวลาทำกันนานกว่านี้แน่)
    แค่ได้สัมผัสกระบวนการเดียวในการทำนา ก็ทำให้เรารู้ซึ้งถึงพระคุณของชาวนาแล้ว
    และเราก็ภูมิใจมากที่เรากินข้าวไม่เคยเหลือในจาน
    ข้าวในนาหนึ่งแปลงจะกลายมาเป็นข้าวสวยให้เราได้กินสักกี่จานนะ
    ไหนจะหลุดไปตอนเกี่ยวข้าว ตอนฟาดข้าว วีข้าว สีข้าว ซาวข้าว ตักข้าวใส่จานก็ต้องมีหกกันบ้าง
    เราคนไทยควรจะกินข้าวในจานให้หมดเพื่อแสดงความเคารพกับชาวนาผู้เป็นกระดูก สันหลังของชาติตัวจริง

    หลังจากกินข้าวเที่ยงแล้ว เราก็มีงานหนักต้องลุยกันต่อ
    คือการโละโรงเก็บของที่เราช่วยกันย้ายของออกไป ตั้งแต่เช้าเมื่อวาน
    ต้องระดมค้อน สิ่ว มีดมาเต็มอัตรา
    ตอนแรกพ่อดรบอกว่าให้รื้อผนังสองด้าน แต่พวกเรา 4-5 คนบ้าพลังทำกันจนผนังหายไปทั้งหมดสี่ด้านเลย
    เหลือแต่เสาบ้าน 12 ต้นกับหลังคา ภายใน 3-4 ชั่วโมงเท่านั้นเอง
    วันนี้เราได้อาบน้ำอาบท่า กินข้าวกินปลา (จริงไม่มีปลานะครับ บ้านนี้เน้นมังสวิรัติ) เร็วกว่าปกติเพราะเย็นนี้เรามีนัดกันที่ในหมู่บ้าน
    เพราะมีกิจกรรมรอบกองไฟกันในกลุ่มจิตอาสานี้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
    เราได้ฟังแต่ละบ้านเล่ากิจกรรมของบ้านตัวเองแล้วเราก็รู้สึกว่าเราอยากมี โอกาสไปเรียนรู้กิจกรรมของแต่ละบ้านจั<wbr>งเลย
    ถึงตอนเราต้องพูดเราก็เรียบเรียงไม่ถูกว่าจะพูดอะไรยังไง
    ก็ไม่ค่อยกล้าจะพูดต่อหน้าที่ชุมนุมชนนี่นะ แล้วกิจกรรมนี้ก็จบลงไปด้วยดี
    กว่าจะได้นอนก็สี่ทุ่มแล้ว แล้วต้องตื่นเช้ามาเป็นเด็กวัดอีก
    ราตรีสวัสดิ์ห้วยบงอีกคืน เวลาที่จะอยู่ที่นี่น้อยลงเรื่อยๆแล้วนะ

    เช้าวันที่ 4 เราตื่นสายกว่าเมื่อวานครึ่งชั่วโมง
    เพราะเมื่อวานเราตื่นเช้าเกินไป แต่อย่างนั้นก็เถอะ
    เราเดินออกไปจนถึงหมู่บ้านแล้ว รถพระอาจารย์ค่อยมาถึง
    วันนี้เป็นพระอาจารย์สรยุทธ (เมื่อวานเป็นพระอาจารย์สังคม)
    วันนี้เราตั้งใจว่าเราจะถอดรองเท้าเดิน เพื่อให้ได้รสของเด็กวัดที่แท้จริง
    แล้วสัจธรรมก็บังเกิด เดินแต่ละก้าวย่างมีอะไรสอนใจเราได้ทุกก้าว
    จะให้ชีวิตราบเรียบตลอดไปก็คงไม่ได้ ต้องมีอุปสรรคบ้าง
    ความสะดวกสบายบ้าง แต่เราก็ต้องเดินต่อไปให้ได้
    เรานับถือพระอาจารย์จริงๆ เพราะท่านเดินได้อย่างเร็ว และไม่แสดงอาการเจ็บหรืออะไรออกมาเลย
    เร็วจนบางทีเราเดินไม่ทัน หาไม่เจอว่าท่านเดินไปทางไหน =_="
    เราก็พยายามจะทำแบบท่านบ้างเพื่อฝึกขันติ
    จากก้าวแรกที่เดินแล้วก็ต้องร้องโอ๊ย ก็ค่อยๆเงียบลง และเดินตามพระอาจารย์ไปด้วยความสงบ
    (หลังจากกลับมาที่บ้านแล้ว พี่หล่งก็ลากลับกรุงเทพไป ทำให้บ้านเราเหลือแค่พี่วัฒน์กับเราสองคน)

    วันนี้พวกจิตอาสามีกิจกรรมทำฝายร่วมกันและต้องห่อข้าวเที่ยงเข้าไปกินที่ฝายด้วย
    (เราบอกแม่เอ้ยไป แม่เอ้ยบอกว่าไม่ต้องหรอก เดี๋ยวแม่เอาไปให้
    เรารู้สึกตื้นตันขึ้นมาทันทีกับความเอื้ออาทรของแม่เอ้ย)
    ตอนเช้าก็มีการเคารพธงชาติ และฟังบรรยายจากพระอาจารย์สังคม
    เกี่ยวกับการสร้างฝาย และสภาพพื้นที่ทั้งหลายจนถึงสิบโมงกว่าก็เข้าไปที่ฝาย
    แต่บ้านเรายังอยู่ช่วยพ่อดรรื้อบ้านกันต่อ
    เพราะถ้าเราไม่อยู่ช่วย ลำพังพ่อดรก็คงจะไม่ได้ทำอะไรต่อแน่ๆ
    เราช่วยกันรื้อหลังคา รื้อคานกันออกมาจนเหลือแต่เสาที่ไม่สามารถขุดขึ้นมาได้จริงๆ
    (ขอโทษพี่วัฒน์ด้วยที่เกือบทำไม้ตกใส่ ห่างไปแค่สิบเซนต์ ไม่ได้ตั้งใจจริงๆ)
    เสร็จแล้วเราก็กินข้าวเที่ยงพร้อมหน้ากัน
    (ครั้งแรกจริงๆ จากที่หลายๆมื้อที่ผ่านมาเรากินก่อนพ่อแม่ตลอด)
    กว่าจะได้เข้าไปที่ฝายกันก็เกือบสามโมงแล้ว
    เพราะเราแวะไปตักทรายขึ้นรถเพื่อเอาไปที่จุดสร้างฝาย (เอาไปผสมปูน)
    ช่วยเก็บเศษหญ้านิดหน่อย เพราะล้าไม่ไหวแล้ว
    พอสี่โมงก็ลงมาอาบน้ำอาบท่า เตรียมตัวเดินขึ้นวัดพระธาตุดอยผาส้ม ที่พวกเราอยากขึ้นไปกันนักหนา

    ระหว่างทางก็เดินผ่านฝายเล็กฝายน้อยที่สร้างกันไว้แล้ว
    เห็นแล้วชุ่มชื่นใจจริงๆ เราใช้เวลาเดินกันนานพอสมควรทีเดียวด้วยอุปสรรคทั้งความมืด และทางเดินที่ลาดชัน
    แต่พอขึ้นไปถึงได้ความเหนื่อยก็มลายไปสิ้นเมื่อได้ไปกราบพระธาตุดอยผาส้ม
    นั่งพักกันสักพัก กินข้าวกันจนอิ่มแล้วก็ไปสวดมนต์เย็น
    ได้มีโอกาสเป็นตัวแทนกลุ่มพูดสรุปสิ่งที่ได้จากค่ายนี้อีกครั้ง
    คิดว่าทำได้ดีพอสมควรเลยทีเดียว
    และดูวีดีโอที่พระอาจารย์สรยุทธเปิดให้ดูเพื่อแนะนำชุมชนทั้งหลายที่อยู่ใน เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงของท่าน
    เห็นแล้วยิ่งนับถือเลื่อมใสท่านขึ้นไปใหญ่
    จากนั้นก็มีสนทนาธรรม และเรื่องต่างๆมากมาย แนะนำสินค้าที่ผลิตขายในชุมชน
    (ในขณะนั้นเราก็เหลือบไปเห็นดีวีดีหนังสารคดีชื่อ "เด็กโต๋" ที่เราเคยดูที่ โรงลิโดไปเมื่อหลายปีมาแล้ว
    อยากดูอีกจังบ้านโต๋เป็นหนึ่งในโครงข่ายด้วย เราพึ่งรู้ตอนนั้นเอง
    ใครยังไม่ได้เคยดู อยากให้ไปหามาดูด้วย หนังดีมากๆ)

    คืนนั้นกว่าจะได้นอนกันก็เที่ยงคืนได้แล้ว ต้องตื่นเช้ามาทำวัตรเช้าด้วย
    วันสุดท้ายแล้วสินะ ตื่นมาตอนตีสี่ครึ่ง ทำวัตรเช้าพร้อมพระอาจารย์
    และมีคุยกับพระอาจารย์อีกนิดหน่อยก่อนกลับลงมาเก็บของกลับบ้าน
    เช้านั้นเราได้เห็นทะเลหมอกที่ดอยผาส้มด้วย วิวสวยมากๆเลยทีเดียว
    และได้แวะกราบพระเจ้าทันใจองค์โต :)

    ก่อนกลับเข้าเมืองก็ได้แวะซื้อข้าว 2 กิโล กับกล้วยทอดกิโลครึ่ง
    ช่วยชาวบ้าน :D เป็นการทำจิตอาสาที่ประทับใจไม่รู้ลืม
    และตั้งใจมั่นว่าจะกลับไปเยือนห้วยบงอีกแน่นอน
    เพราะแค่ออกมาไม่ถึงวันก็อยากกลับขึ้นไปแล้ว

    ขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นำให้เราได้ไปในที่ที่ถูกที่ควร ให้เราได้เปิดตาเปิดใจ
    ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่ห้วยบงที่สอนการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงแต่ยิ่งใหญ่
    ขอบคุณพ่อดรแม่เอ้ยที่ยอมรับคนแปลกหน้าเข้าไปร่วมพักอาศัย
    ขอบคุณที่บ้านพ่อดรแม่เอ้ยไม่มีไฟฟ้า ทำให้เราฝึกใช้ชีวิตโดยปราศจากสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย
    ทำให้เรารู้ว่าสิ่งลวงตาเหล่านั้นไม่ได้มีค่าไปกว่าการกินอิ่มนอนหลับ

    ประโยคที่จำได้ขึ้นใจจากพ่อดรคือ "อยู่ที่นี่ไม่มีวันหยุด"
    ช่างเป็นคำสัจที่งดงามจริงๆ เขาเหล่านี้แหละที่เป็นสันหลังของชาติตัวจริง
    ไม่ใช่นักธุรกิจ พนักงานออฟฟิศอะไรทั้งหลายนั้นหรอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2011
  20. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ประสบการณ์จริงจากผู้เข้าร่วมโครงการแรก วันที่ 10 - 14 ธันวาคม 2554

    เดินทางและบันทึกโดย 'กาขาว'



    จิ๊กซอว์ตัวที่หายไปของการเตือนภัยพิบัติ (2)


    ในวันที่เราเลิกกัน สิ่งที่เธอบอกกับผมคือ
    เธอไม่เข้าใจว่า ถ้ามีภัยพิบัติ...ทำไมถึงไม่ยอมตายไปพร้อมกับเธอ
    ทำไมผมต้องเลือกจะเป็นคนที่รอดชีวิต

    วันนั้นผมไม่ได้ตอบอะไรเพราะผมรู้สึกเสียใจและสับสนไปหมดกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
    แม้หลายวันต่อมาผมจะตอบเธอ แต่มันก็เป็นคำตอบที่ไม่ชัดเจน
    ผมบอกเธอไปว่า ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม เหมือนมีอะไรติดค้างที่ต้องทำ
    และคำถามนั้นเองยังคงติดตามผมไปไกลถึงดอยผาส้ม....
    และที่นั่นเองที่ผมได้นำคำถามไปทิ้งไว้และนำคำตอบกลับมา

    ย้อนหลังกลับไป 1 ปี.....
    วันที่ 19 ธันวาคม 2553
    วันนั้นผมกับแฟนเดินทางไปร่วมงาน "เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด"
    ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
    แฟนผมเธอไม่ได้เชื่อเรื่องภัยพิบัติ แต่เธอก็ยังคงติดตามมาและรับฟังแบบผ่าน ๆ
    ก่อนที่จะขอตัวออกมาจากงานก่อนจบการสัมมนา
    เธอไม่ได้ตำหนิผม แต่ลึก ๆ ผมคิดว่าเธอคงอาจมองผมว่าเป็น ' พวกคลั่งลัทธิกลัวโลกแตก '
    เธอไม่ใช่คนเลวร้ายอะไร เพียงแต่เราอาจมีความเชื่อที่ต่างกัน

    ในวันนั้นมีคุณป้าคนหนึ่ง อายุคงราว ๆ 60 ปี
    คุณป้าเพิ่งเดินทางมาถึงหลังจากที่งานสัมมนาในช่วงเช้าเริ่มไปนานแล้ว
    ภาพของคุณป้าคนนั้นไม่แจ่มชัดในความทรงจำของผมเท่ากับคำถามที่คุณป้าหันมาถามผมว่า

    " แล้วเราจะต้องหนีไปที่ไหน ? "

    ก่อนที่ผมจะทันคิดคำตอบได้ คุณป้าก็หันไปถามผู้ชายวัยกลางคนที่อยู่ติดกันอีกด้าน
    คุณป้ามีอาการตื่นกลัวนิด ๆ แสดงถึงความเชื่อเรื่องภัยพิบัติ
    ผู้ชายคนนั้นตอบไปมีใจความว่า เขายังไม่ได้บอกให้หนีไปที่ไหน
    เขาเพียงแต่บอกว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

    ผมดูจากการแต่งตัวของคุณป้า ท่านแต่งตัวค่อนข้างเป็นชาวบ้าน ๆ
    ขออภัยนะครับ คุณป้าท่านดูจะเป็นตัวแทนของชาวบ้านที่ไม่ได้มีการศึกษาสูงนัก
    ฐานะทางการเงินก็คงจัดว่าค่อนข้างขัดสน
    และท่านคงใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไม่ได้

    วันนั้นผมได้มอบเอกสารเล่มหนึ่งที่ผมเรียบเรียงขึ้นมาเองให้กับคุณป้า
    เนื้อหาทั้งหมดผมรวบรวมจากในอินเทอร์เน็ตและเรียบเรียงเป็นรูปเล่ม
    คู่มือเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ (download ไฟล์ pdf)
    ผมนำติดตัวไปโดยคิดว่าอาจจะได้พบกับใครสักคนที่สมควรได้รับเอกสารของผม
    ผมยื่นเอกสารนั้นให้คุณป้าโดยที่ผมไม่ได้พูดแนะนำอะไรมาก

    " แล้วเราจะต้องหนีไปที่ไหน ? "
    นี่คือจิ๊กซอว์ตัวท้าย ๆ ในบรรดาหลาย ๆ ตัวที่ขาดหายไปของการเตือนภัยพิบัติ
    ผมแน่ใจว่าวันนั้นหลังงานสัมมนา คุณป้าก็คงเดินออกมาพร้อมกับยังคงสงสัยว่าจะต้องหนีไปไหน

    หลังจากงานสัมมนา "เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด" ครั้งนั้น
    ผมได้เริ่มเขียนบทความและกระทู้เพื่อแบ่งปันความเข้าใจและเพื่อเตือนภัย
    แต่ก็ยังมีบางเรื่องที่แม้แต่ตัวผมเองซึ่งคอยเตือนคนอื่นก็ยังหาคำตอบไม่ได้

    ...............

    วันที่ 10 ธันวาคม 2554
    โครงการ “วิชาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง” ณ ดอยผาส้ม
    เมื่อผมได้เดินทางมาถึงดอยผาส้มและได้มีชีวิตใหม่ที่หมู่บ้านอมลอง
    ในเช้าวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นเช้าวันแรกที่บ้านแม่เพ็ญ และพ่อรุ่งโรจน์ แม่พ่อคนที่สองในชีวิตของผม
    แม่เรียกผมมาใส่บาตร ทันทีที่ผมนึกจะทำบุญมือก็ควานหากระเป๋าสตางค์อย่างเคยชิน
    ผมลืมไปสนิท ชีวิตของผมไม่มีเงินอีกแล้ว
    เพราะฝากกระเป๋าสตางค์ไว้กับพระอาจารย์ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงที่นี่
    ผมนึกในใจ "นี่ละนะคนเมือง แม้จะทำบุญก็ต้องอาศัยเงิน"
    ผมใส่บาตรด้วยอาหารที่แม่เพ็ญเตรียมไว้ให้โดยไม่ต้องใช้เงิน
    แม้ต่อมาผมจะนึกได้ว่าในถุงอุปกรณ์ยังชีพชุดฉุกเฉิน Survival Kit ของผม
    จะมีเงินสดซ่อนอยู่นิดหน่อยแต่ผมก็ไม่ได้เอาออกมาใช้เพื่อไม่ให้เสียสัจจะ
    และเพราะต้องการจะพิสูจน์ว่าถ้าไม่มีเงินเราจะมีชีวิตอยู่ที่นี่ได้มั้ย
    ที่อมลองไม่ได้ห่างไกลความเจริญจนไม่มีการใช้เงินหรอกครับ
    แต่พระอาจารย์สรยุทธท่านกำลังสอนด้วยของจริง
    และในที่สุดพวกเราก็หมดข้อกังขา
    เชื่อแล้วว่า ' เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง ' ยิ่งกว่าอ่านจากตำราเล่มใด ๆ

    ในภัยพิบัติที่ผ่านมาเราซึ้งใจดีแล้วว่าแม้มีเงินแต่ก็ซื้ออาหารและน้ำดื่มไม่ได้
    ในคำว่า ' เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ' นั้น
    สำหรับคนกรุงเทพอาจเลือกกักตุนอาหารและน้ำดื่มไว้ในตู้กับข้าวและตู้เย็น

    คำถามคือเราจะต้องกักตุนอาหารและน้ำดื่มมากขนาดไหน
    หากในอนาคตเกิดภัยพิบัติและวิกฤตที่กินระยะเวลายาวนาน อาจนานต่อเนื่อง 5 - 6 ปี

    เมื่อคนกรุงคิดถึงอาหารเรานึกถึงตลาด
    โดยที่เราลืมไปว่าแล้วตลาดล่ะเอาอาหารจากไหนมาขายเรา
    การที่เรามี ดิน น้ำ ป่า ที่สมบูรณ์นั้นเป็นความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง

    ดังนั้นในคำถามที่ว่าหนีไปไหนของคุณป้า ยังมีคำถามที่แท้จริงคือ
    หากในอนาคตข้างหน้าโลกเกิดวิกฤตหรือภัยพิบัติ.....
    เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรในฐานะของคนพลัดถิ่น ต้องทิ้งบ้าน ทิ้งหน้าที่การงาน
    เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรเมื่อไม่มีคนรู้จัก ไม่มีญาติมิตร
    เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรในเมื่อตลอดชีวิตไม่เคยทำการเกษตร
    เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรในเมื่อไม่มีเงิน
    เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไรเมื่อขาดการติดต่อ มือถือก็ไม่มีสัญญาณ อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊คก็ไม่มี

    ในความคิดของผม ' เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ' นั้น
    ควรมีมากไปกว่าการเตรียมเป้ที่มีอุปกรณ์ยังชีพ การกักตุนอาหาร
    และคอยนั่งอ่านกระทู้เตือนภัยอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์

    สิ่งหนึ่งเราขาดคือการเตรียมรับภัยพิบัติภาคปฏิบัติ หรือการออกภาคสนาม
    โดยเฉพาะคนที่เคยแต่จับปากกา จับเมาส์และคีย์บอร์ด
    แล้วคิดว่าจะไปทำเกษตรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ขอให้ทำการบ้านสักหน่อย
    ภัยพิบัตินั้นไม่ได้มีแต่น้ำท่วม ยังมีเรื่องภัยแล้งและความอดอยาก
    เราจะหาแหล่งน้ำจากไหน ทำอย่างไรจึงจะมีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
    หากชุมชนไม่มีการเตรียมพร้อม เช่น การสร้างฝาย
    ในอนาคตย่อมมีการขัดแย้งแย่งชิงน้ำเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นที่นี่
    คือก่อนที่พระอาจารย์สรยุทธและพระอาจารย์สังคมจะเข้ามานำชาวบ้านสร้างฝายและปลูกป่า

    ที่ดอยผาส้มผมได้เรียนรู้ว่าแนวพระราชดำริ ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
    ป่าที่อุดมสมบูรณ์คือ ' การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง '
    ศาสตร์แห่งพระราชา คือศาสตร์ของการเตรียมรับมือวิกฤตอย่างฉลาดและยั่งยืน

    เมื่อผมต้องฝากกระเป๋าสตางค์และเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดไว้กับพระอาจารย์
    ระยะเวลาเพียง 4 วัน 5 คืนทำให้ผมเข้าใจอย่างแท้จริงว่า
    เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริงนั้นเป็นอย่างไร

    ถ้าใครสักคนคิดจะไปหลบภัยโดยการไปซื้อที่ดินแล้วคิดจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่พึ่งใคร
    ขอให้ลองหาข้อมูลดูใหม่ หรือลองไปเรียนวิชาชีวิตที่ดอยผาส้มดู
    ผมค้นพบว่าผมแทบจะกลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือเมื่ออยู่ที่ดอยผาส้ม
    ความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไม่มีความหมาย
    ทุกอย่างต้องให้พ่อแม่คอยบอกคอยสอนเกือบทุกอย่าง
    งานที่พอจะทำได้คืองานพวกใช้กำลังแบกหาม
    ดีที่ว่าผมมีความรู้ด้านการนวดแผนไทยเพราะทำงานด้านนี้มาก่อน
    จึงพอได้ตอบแทนแม่เพ็ญและพ่อรุ่งโรจน์ที่ให้ข้าวน้ำและที่อยู่
    แม่เพ็ญบอกกับผมว่าขอบคุณมากที่ทำให้พ่อรุ่งโรจน์หายปวดขาเดินเหินได้สะดวกขึ้น

    มีข้อมูลหลาย ๆ อย่างที่เราอาจไม่สามารถหาได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์
    เว้นเสียแต่เราจะ ' ลงมือทำจริง ' จนเห็นผล ' ตำตา '

    ในครั้งนี้ผมยังได้แนวคิดและพบข้อบกพร่องบางอย่างของการเตรียมเป้ยังชีพ
    ซึ่งจะได้นำมาปรับปรุงการจัดเตรียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริงในอนาคต

    คำที่สำคัญคำหนึ่งคือคำว่า ' ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง' และ ' ชุมชนที่เข้มแข็ง '
    และชุมชนจะเข้มแข็งได้ก็เพราะมีผู้นำที่มีคุณธรรมและเข้มแข็ง

    ผมไม่ทราบว่าชุมชนที่เข้มแข็งและเดินตามรอยเท้าพ่อนั้นมีอยู่ที่ใดอีกบ้าง
    แต่ถ้าจะถามจากความรู้สึกที่ได้สัมผัสมาด้วยตัวเอง ผมเชื่อว่า
    ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (บ.ว.ร)
    วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม (หนึ่งในเครือข่ายมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ)

    เป็นชุมชนตัวอย่างที่พิสูจน์ศาสตร์ของพระราชาด้วยการทำจริงจนเห็นผลตำตาอย่างเป็นรูปธรรม

    ในคืนสุดท้ายที่ดอยผาส้ม ขณะที่พระอาจารย์สรยุทธกำลังเทศนาธรรมและกล่าวถึงสาเหตุของภัยพิบัติ
    ผมคิดถึงวิกฤติน้ำท่วมในปี 2554 ที่เพิ่งผ่านไป และคิดต่อไปถึงวิกฤตที่อาจจะเกิดในอนาคต
    ที่ผ่านมามีหลักฐานชัดเจนถึงความไม่พร้อมในการรับมือต่อภัยพิบัติของส่วนราชการ
    ชีวิตของคนกรุงและสภาวะของการเป็นสังคมเมืองที่เป็นบริโภคนิยม
    ของทุกอย่างที่เรากินและใช้ดำรงชีวิตล้วนแต่ใช้เงินซื้อ
    ชีวิตที่พึ่งพาเงินเป็นหลักมันช่างเปราะบางเหลือเกินในยามวิกฤติ
    แค่เพียงน้ำประปาและไฟฟ้าถูกตัด การคมนาคมขนส่งสินค้าถูกตัดขาด
    เงินไม่สามารถซื้อสิ่งต่าง ๆ ที่เคยซื้อได้อีกต่อไป
    แม้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ทำให้หลายคนที่ไม่เคยเตรียมพร้อมต้องอดอยาก
    หลายคนประสบทุกข์จนต้องหลั่งน้ำตา

    ผมต้องใช้เวลาเกือบถึงหนึ่งปีเพื่อตามหาจิ๊กซอว์ตัวที่ขาดหาย
    ตอนนี้ผมอยากเจอคุณป้าคนนั้นอีกครั้ง....




    หมายเหตุ : เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดและไม่ให้เกิดการปรามาส
    บทความต่าง ๆ นั้นเป็นความเห็นส่วนตัวและความรับผิดชอบของผู้เขียน
    บทความเกิดจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้ไปสัมผัสมาและอยากนำสิ่งดีดีมาเผยแพร่
    ทางวัดพระบรมธาตุดอยผาส้มไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นในบทความต่าง ๆ


    รวมบทความและกระทู้โดย 'กาขาว'


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...