เตือน24จังหวัด รับมือฝนถล่ม อิทธิพลฮาโตะ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 24 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a1e0b8b7e0b8ade0b89de0b899e0b896.jpg
    พายุฮาโตะฟาดหางมาถึงไทย อุตุฯ เตือนภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวม 24 จังหวัดรับมือน้ำท่วมฉับพลัน เมืองจันท์เริ่มเสียหายหลังฝนตกข้ามคืน ขณะที่นครพนมประสบภัยซ้ำ นาล่ม 2 แสนไร่

    กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมนี้ เรื่องพายุ “ฮาโตะ (HATO)” ว่าเมื่อเวลา 10.00 น. วันเดียวกัน พายุโซนร้อนฮาโตะ มีศูนย์กลางอยู่ทางตอนบนของประเทศเวียดนาม มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 30 กม./ชม. มีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน เคลื่อนที่ผ่านประเทศลาวตอนบน และเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาตามลำดับ

    จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนฮาโตะ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชลบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ขอให้ประชาชนที่อาศัยในที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขา ระวังอันตรายที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิดต่อไป

    จันทบุรี ผู้สื่อข่าวได้ติดตามความคืบหน้าสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนักข้ามคืนในเขตพื้นที่อำเภอมะขาม ขยายวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อราษฎรในพื้นที่รวม 5 ตำบล ประกอบด้วย ต.ปัถวี ฉมัน อ่างคีรี มะขาม และวังแซ้ม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรีเตรียมประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือตามระเบียบราชการ ขณะที่หน่วยงานราชการ อาสาสมัครกู้ภัยสว่างกตัญญูธรรมสถาน สมาคมสันนิบาตเทศบาลจันทบุรี เร่งเข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ 28 หมู่บ้าน ประมาณ 1,180 ครัวเรือน อย่างเต็มความสามารถ มีการอพยพผู้ป่วย ผู้สูงอายุ คนชรา เด็ก ไปยังศูนย์อพยพ 2 แห่ง คือที่เทศบาลตำบลปัถวี และที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอมะขาม

    นครพนม ฝนตกหนักตั้งแต่คืนวันพุธต่อเนื่องถึงวันพฤหัสบดี จากอิทธิพลพายุฮาโตะที่อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน โดยทางสถานีอุตุนิยมวิทยานครพนมได้ประกาศเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันอีกครั้ง เนื่องจากระดับน้ำโขงยังผันผวน เพิ่มขึ้นอีกวันละประมาณ 20-30 เซนติเมตร ล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 9 เมตร ห่างจากจุดวิกฤติ 4 เมตร จากการตรวจวัดปริมานน้ำฝนคืนที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่ อ.นาทม ฝนตกหนักสุด ปริมาณมากถึง 96 มิลลิเมตร รองลงมาคือ อ.ท่าอุเทน ปริมาณ 78 มิลลิเมตร

    นอกจากเกิดพายุฝนตกหนักแล้ว ยังมีลมกระโชกแรงในเขตพื้นที่ อ.ท่าอุเทน และ อ.เมือง ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2032 สายบ้านท่าดอกแก้ว-ศรีสงคราม ช่วงกิโลเมตรที่ 4 ระหว่างบ้านท่าดอกแก้ว-บ้านภูกระแต ถูกลมพัดหักหลายต้น ล้มทับเส้นทางดังกล่าว รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรผ่านไป-มาได้ เจ้าหน้าที่ระดมเครื่องจักรเข้าตัดต้นไม้ขนาดใหญ่และเคลื่อนย้ายออก เพื่อให้รถสามารถสัญจรได้อย่างเร่งด่วน จนถึงรุ่งเช้าสถานการณ์จึงคลี่คลาย ส่วนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ต้นไม้ด้านหน้าและภายในจวนผู้ว่าราชการจังหวัดได้หักโค่นลงมา

    ในส่วนของพื้นที่ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ยังคงมีปัญหาน้ำเอ่อท่วมขังพื้นที่การเกษตรใน อ.นาหว้า, ศรีสงคราม, นาทม และโพนสวรรค์ ทำให้นาข้าวเสียหายเพิ่มมากขึ้น เพราะน้ำท่วมขังนานกว่า 1 เดือน คาดว่าจะมีพื้นที่นาข้าวเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 แสนไร่ ล่าสุดจังหวัดนครพนมได้ประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมรวม 11 อำเภอ เหลือ อ.บ้านแพง เท่านั้นที่ยังไม่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัย เบื้องต้นตรวจพบนาข้าวเสียหายไม่ต่ำกว่า 2 แสนไร่

    อ่างทอง สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สถานีชลมาตร C7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อยู่ที่ระดับ 7.23 เมตร จากระดับตลิ่ง 9.32 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,493 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นายไพบูลย์ ศุภบุญ นายอำเภอป่าโมก เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจุดตรวจอำเภอป่าโมก อยู่ที่ 6.54 เมตร สูงกว่าระดับวิกฤติ 0.04 เมตร ทางเจ้าหน้าที่ได้เสริมกระสอบทรายบริเวณแนวเขื่อนกั้นน้ำ ตามจุดเสี่ยง ชุมชน แหล่งเศรษฐกิจของอำเภอป่าโมก และจุดที่เริ่มมีน้ำซึมริมกำแพงแม่น้ำเจ้าพระยา ทางจังหวัดแจ้งเตือนชาวบ้านให้ติดตามสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวังระดับน้ำที่อาจล้นทะลักเข้าท่วมตลอด 24 ชั่วโมง

    พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำออกมามาก ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยมีน้ำเพิ่มขึ้น เอ่อท่วมชุมชนริมฝั่งหมู่ 4 ต.หัวเวียง ระดับน้ำ 50 เซนติเมตร ส่วนที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเกือบ 1 เมตร ชาวบ้านบางครัวเรือนต้องย้ายไปพักชั่วคราวบนถนนคันคลองชลประทาน พร้อมเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ ทั้งนี้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำแล้ว 6 อำเภอ ได้แก่ ผักไห่ เสนา บางบาล บางไทร พระนครศรีอยุธยา และบางปะอิน กว่า 10,000 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรประเภทสวนกล้วยหอม กล้วยไข่ และสวนผัก ประมาณ 5,000 ไร่.

    ขอบคุณที่มา
    http://www.thaipost.net/?q=node/34455
     

แชร์หน้านี้

Loading...