เทคนิค “ออกกำลังใจ” ในภาวะภัยพิบัติ..น้ำท่วม

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 5 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    เมื่อเกิดภาวะภัยพิบัติ โดยเฉพาะอุทกภัย ปัญหาสุขภาพจิตเป็นผลกระทบที่มักถูกมองข้าม จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า 42% ของคนที่ประสบกับภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ จะมีอัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิตรุนแรงสูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ประสบปัญหา โดยกลุ่มโรคทางสุขภาพจิตที่พบมาก คือ PTSD (post-traumatic stress disorder) หรือภาวะป่วยทางใจหลังประสบภัยในชีวิต ภาวะวิตกกังวล (anxiety) ความหวาดกลัว (panic) ภาวะซึมเศร้า (depress) และปัญหาอาการทางกาย (medically unexplain) นอกจากนี้ ยังพบอัตราการฆ่าตัวตายของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า กลุ่มเสี่ยงที่ควรจัดให้มีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะจะเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ง่าย คือ เพศหญิง ผู้สูงอายุ วัยรุ่น และโดยเฉพาะผู้ป่วยเก่าที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้ว

    b884-e0b8ade0b8ade0b881e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b983e0b888-e0b983e0b899e0b8a0e0b8b2e0b8a7.jpg

    Sylvia Tunstall และคณะ ได้ศึกษาผลกระทบจากภาวะอุทกภัยในประเทศอังกฤษและเวลส์ ในปี 2006 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้ประสบภัย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ


    1.ลักษณะของการเกิดน้ำท่วม เช่น ความลึก ระยะเวลาที่ท่วม ความถี่ของการเกิดน้ำท่วม และภาวะการปนเปื้อนของน้ำที่ท่วมขัง


    2.ตัวแปรทางสังคมและประชากร เช่น รายได้ ระดับชั้นในสังคม การพักอาศัยเพียงลำพังหรือครอบครัวที่มีเด็ก การเจ็บป่วยในระยะยาว ระยะเวลาที่พักอาศัย ภาวะการมีงานทำ ความเป็นเจ้าของรถที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย ความวิตกกังวลด้านความเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วม


    84-e0b8ade0b8ade0b881e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b983e0b888-e0b983e0b899e0b8a0e0b8b2e0b8a7-1.jpg

    3.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะฟื้นฟู การลดภาวะเครียด การซ่อมแซมบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง การประกันภัย การละทิ้งบ้าน และการได้รับความช่วยเหลือ มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณในแต่ละปัจจัยพบว่า ภาวะความเครียดสัมพันธ์กับประสบการณ์การสัมผัสกับช่วงเวลาที่เลวร้ายของการเกิดอุทกภัยด้วยเหตุดังกล่าว น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากพายุเซินกา ที่ศูนย์พักพิงโรงยิมศูนย์ราชการ อ.เมือง จ.สกลนคร พบว่า จากการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยน้ำท่วม พบผู้ประสบภัยมีภาวะเครียดรุนแรงประมาณ 2-4% ขณะที่ส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังและเตรียมแผนรับมือภาวะอาการทางจิตใจของผู้ประสบภัยที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลด เช่น อาการโรค PTSD อาการเครียดวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และภาวะติดสุราและสารเสพติด


    อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลว่า จากการประเมินสถานการณ์คาดว่า ในช่วงที่น้ำลดซึ่งเป็นระยะของการฟื้นฟู จำนวนผู้มีปัญหาสุขภาพจิตอาจจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเริ่มเห็นความเสียหายของทรัพย์สินปรากฏชัดเจนขึ้น รวมทั้งในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยโรคที่ส่งผลกระทบต่อภาวะทางจิต ได้แก่ โรคเครียด ภาวะซึมเศร้า บางรายอาจถึงขั้นทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตายได้ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย


    84-e0b8ade0b8ade0b881e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b983e0b888-e0b983e0b899e0b8a0e0b8b2e0b8a7-2.jpg

    น.ต.นพ.บุญเรือง บอกด้วยว่า ได้ส่งทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือทีม MCATT ประเมิน ผลกระทบ รวมทั้งดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยในกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคทางจิตเวช ใช้สารเสพติด ผู้สูญเสียบุคคลอัน เป็นที่รักและทรัพย์สิน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูง อายุ และเด็ก กลุ่มผู้ที่ต้องการบริการด้านสุขภาพจิต ตลอดจนช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต และผู้สูญหายทุกราย ซึ่งอาการทางจิตใจของผู้ประสบภัยอาจจะมีอาการต่างๆ เช่น ช็อก โกรธ สิ้นหวัง หวาดกลัว เศร้าโศก เสียใจ หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี สับสน ตำหนิตัวเอง วิตกกังวล บางรายอาจมีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ท้ายทอย ใจสั่น นอนไม่หลับ ตื่นเต้น ตกใจง่าย อาการเหล่านี้ถือเป็นการตอบสนองตามปกติที่เกิดขึ้นและจะค่อยๆลดลงจนหายเมื่อเวลาผ่านไป


    อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้ข้อแนะนำเพื่อจัดการความเครียดว่า ผู้ประสบภัยควรหากิจกรรมทำตามปกติ พูดคุยกับคนใกล้ชิดหรือเพื่อน เคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทำได้ ปรับเปลี่ยนตัวเองจากผู้รับความช่วยเหลือเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ จะเป็นส่วนสำคัญในการลดความเครียด และช่วยให้เผชิญภาวะวิกฤติได้ดีขึ้น ที่สำคัญ อย่าหมดกำลังใจ มีสติ ยิ้มสู้กับปัญหา


    84-e0b8ade0b8ade0b881e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b983e0b888-e0b983e0b899e0b8a0e0b8b2e0b8a7-3.jpg

    “อยากให้ทุกคนรู้สึกเหมือนกันว่า เราสามารถช่วยดูแลจิตใจกันและกันได้ ด้วยหลัก 3ส. คือ สอดส่องมองหา โดยการสังเกตพฤติกรรมของคนรอบข้างและคนใกล้ชิด เช่น เหม่อลอย ปลีกตัวจากผู้อื่น ไม่สดใสร่าเริงเหมือนเมื่อก่อน จากนั้น ใส่ใจรับฟัง ให้เขาระบายความในใจออกมา อาจสื่อสารด้วยภาษากาย การสัมผัส โอบกอด หากพฤติกรรม ยังไม่ดีขึ้น ให้ ส่งต่อเชื่อมโยง ไปยังผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ และรับการช่วย เหลืออย่างถูกวิธี”


    สำหรับการดูแลในระยะนี้ คุณหมอบุญเรือง บอกว่า จะเน้นไปที่การจัดบริการภายใต้ภาวะวิกฤติฉุกเฉิน โดยจัดบริการ ปฐมพยาบาลด้านจิตใจ ให้การปรึกษาเพื่อลดภาวะความเครียด แนะนำการฝึกผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง เช่น การนวดคลายเครียด การฝึกลมหายใจ ให้กำลังใจ สร้างแรงใจให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ในรายที่มีอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรง ท้อแท้ หรือเครียดมากๆ จนถึงขั้นกระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ อาจต้องให้ยาคลายความเศร้า หรือยาคลายความเครียดที่จะทำให้การนอนหลับดีขึ้นร่วมด้วย โดยจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องต่อไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงในระยะยาว.

    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1027154
     

แชร์หน้านี้

Loading...