เปิดความในใจ ‘เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์’ กับการถวายงานใต้เบื้องพระยุคลบาท

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    ศิลปะ หากใช้ “ดวงตา” กับ “สมอง” ทำงานประสานกันจะทำให้เกิดการรับรู้ทั่วไป แต่สิ่งที่เห็นตรงหน้าจะสื่อความหมายได้นับแสนนับล้าน เพียงแค่ใช้ “หัวใจ” มอง

    ในบรรดาสุดยอดศิลปินด้านทัศนศิลป์ระดับประเทศ ต้องมีชื่อ “อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” อยู่อย่างแน่นอน ด้วยผลงานทุกชิ้นที่นำเสนอออกมาให้ทุกคนประจักษ์ถึงความหมายสุดลึกล้ำ และความงดงามของศิลปะอย่างแท้จริง และครั้งนี้กับการสร้างสรรค์ผลงานปกพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ในการจัดทำหนังสือพิมพ์ไทยรัฐโครงการพิเศษ “ไทยรัฐร่วมพสกนิกรไทย ส่งใจสู่ฟ้าอาลัยพ่อ” ซึ่งผลงานพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของอาจารย์เฉลิมชัย “พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย” ก็เป็นหนึ่งในโครงการนี้ด้วย

    ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสพูดคุยกับ “อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2554 ถึงเรื่องราวการถวายงานรับใช้ ในหลวง รัชกาลที่ 9 และการรังสรรค์ภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ “พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย” ที่สามารถกล่าวได้ว่า เขียนภาพนี้ทั้งน้ำตา

    ถวายงานรับใช้พระองค์ท่านมานานหรือยัง

    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 งานแรกที่ทำถวายคือ งานพระมหาชนก ร่วมกับศิลปิน 8 ท่าน แต่พระองค์ท่านทรงรู้จักผมตั้งแต่เขียนรูปที่วัดพุทธปทีปแล้ว วันที่ผมเข้าเฝ้าฯ วันแรก พระองค์ท่านก็รับสั่งถามว่า “ใครเขียนรูปที่วัดพุทธปทีป ที่กรุงลอนดอน” ผมก็ตอบพระพุทธเจ้าข้า ท่านก็ทรงชมว่าดีมากนะ นั่นน่ะเป็นงานสมัยใหม่ งานนี้มีสิ่งที่เราอยากได้คือ พระมหาชนก อยากได้เป็นรูปไทยแต่สมัยใหม่ อย่าลอกจิตรกรรมฝาผนังนะ ห้ามลอกยุคสมัยอื่น นั่นคือสิ่งที่รับสั่ง

    ความรู้สึกครั้งแรกเมื่อได้ทำงานรับใช้พระองค์

    ตื่นเต้นมากๆ ที่ได้เข้าเฝ้าฯ ในหลวง รัชกาลที่ 9 แต่ตื่นเต้นที่สุดคือเรื่องวัดพุทธปทีป ใจเรารู้สึกพระองค์ท่านสูงส่งขนาดนั้นแต่ทำไมถึงสนพระราชหฤทัยงานของเรา เรารู้แต่พระองค์ท่านมีพระอัจฉริยภาพด้านจิตรกรรม สนพระราชหฤทัยในงานศิลปะของชาติบ้านเมือง มีพระราชประสงค์ให้งานศิลปะพัฒนา ฉะนั้นนี้คือความยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่านในสายงานของผม

    เขียนรูปพระองค์ท่านเยอะไหม

    2 งานเท่านั้นเอง รูปแรกตอนพระองค์ท่านครองราชย์ครบ 50 ปี อีกภาพหนึ่งตอนเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา จากนั้นก็ไม่ได้วาดอีกเลย และก็มาเขียนรูปนี้ เขียนไม่เหมือน 2 รูปนั้นนะ ตอนนั้นเราเขียนด้วยความเบิกบาน ความสุข แต่รูปนี้เขียนด้วยความอาลัย บรรยากาศมืดๆ ตี 2 ตี 3 ใช้เวลาเขียน 9 เดือน

    b8a7e0b8b2e0b8a1e0b983e0b899e0b983e0b888-e0b980e0b889e0b8a5e0b8b4e0b8a1e0b88ae0b8b1e0b8a2-e0b982.jpg

    แสดงว่านี่คืองานที่ใช้เวลาเขียนนานที่สุด

    นานสิ เขียนตั้งแต่กลางคืนยันตี 2 กลางวันแทบไม่ได้แตะเลย เพราะว่าวุ่นวาย ไม่อยากไปยุ่ง ไปเขียนตอนกลางคืน ถึงได้ใช้เวลานาน กลางวันก็ทำงานวัดทำอะไรไป

    ร้องไห้ไหม

    ไม่อยากบอก มันเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วของการได้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดพระองค์ขนาดนั้น นั่งมองรูปบางทีเขียนไม่ออก วางพู่กันนั่งมองอย่างเดียว มันเหมือนคนหัวใจสลาย

    ก่อนเขียนรูปอาจารย์มีนิมิตว่าอะไร

    ผมฝันว่า อยากส่งเสด็จเหมือนประชาชนทุกคน แต่พวกเราไม่รู้จะทำยังไง แค่ไปวางดอกไม้จันทน์มันยังไม่พอ ผมเป็นศิลปินก็เลยอยากส่งเสด็จจริงๆผ่านการเขียนรูป ทำนามธรรมไปสู่รูปธรรม ด้วยการส่งเสด็จด้วยตัวเองเขียนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รูปนี้

    สำหรับภาพ “พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย” อาจารย์รู้สึกอย่างไร

    รูปนี้เป็นในหลวง รัชกาลที่ 9 อยู่ในเลข 9 ค่อยๆ ขยับลอยขึ้นไป เป็นความฝันของตัวเองผ่านครุฑทั้งหมด 4 ตน ซึ่งแทนพรหมวิหาร 4 ผ่านสวรรค์ขึ้นไป 10 ชั้น แทนทศพิธราชธรรม ลายไทยที่เป็นกระหนกพลิ้วไหวแทน ประชาชนที่ต้องก้าวหน้าต่อไป ตามที่พระองค์ท่านตรัสไว้ว่า ประชาชนต้องก้าวข้ามประเทศไปข้างหน้า และสีเขียว เป็นน้ำ พระองค์ท่านโปรดเรื่องน้ำ น้ำคือชีวิตเพราะฉะนั้นก็เขียนเรื่องน้ำ เรื่องสีเขียว ป่าไม้ธรรมชาติที่พระองค์โปรด ปลายทางไปสู่พระนิพพาน ผมเขียนไปสู่พานสวรรค์เลย ไปสู่พระนิพพาน เพราะผมรู้สึกว่าในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีธรรมะสูงส่ง ผมอยากให้คนที่ดูรูปนี้มองด้วยใจ ยืนดูภาพน้ำตาไหลและเข้าใจสิ่งที่ผมสื่อออกมา

    a7e0b8b2e0b8a1e0b983e0b899e0b983e0b888-e0b980e0b889e0b8a5e0b8b4e0b8a1e0b88ae0b8b1e0b8a2-e0b982-1.jpg

    อะไรคือสิ่งยึดเหนี่ยวในวันที่พระองค์ท่านทรงไม่อยู่แล้ว

    ก็ยึดคำสอนที่พระองค์ท่านสอนไว้ มองประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก นำแนวปฏิบัติที่พระองค์ทรงทำไว้เป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตต่อไป ผมเปลี่ยนตัวเองหมดเลยนะ จากที่เคยเที่ยวกลางคืน แสวงหาความสุขส่วนตัว รักแต่ตัวเอง ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นแบบอย่างในการทำงาน ผมเห็นในทีวีว่าพระองค์ท่านทรงงานเหนื่อยมากนะ ทำงานตลอดเวลา ทำงานกลางดินกินกลางทราย แล้วเราเป็นใคร เรายังหาความสุขใส่ตัวอยู่เลย ก็เลยเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่นั้น

    ทุกวันนี้ประสบความสำเร็จแล้ว อะไรคือความสุขของอาจารย์เฉลิมชัย?
    มันมากมายเหลือเกิน ความสุขของผมคือการถวายงานรับใช้ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ตามโจทย์ที่ผมต้องการ ทำสิ่งที่ตั้งใจ สาบานในใจไม่กล้าบอกตรงๆ แต่ว่าในใจของผมสาบานว่า กูจะถวายงานให้พระเจ้าอยู่หัวไปจนวันตาย วัดร่องขุ่นจะต้องยิ่งใหญ่ กูจะสู้จนวันตายเพื่อพระเจ้าอยู่หัวนั้น คือสิ่งที่ผมพูดเลยตั้งแต่ถวายงานรับใช้ ทำเหรียญทำอะไรให้พระองค์ท่านและกับวัด

    จากนี้จะทำอะไรต่อ

    ทำจนตัวตาย จะทำวัดร่องขุ่นให้ดีที่สุด แล้วก็สร้างคนรุ่นใหม่มาสานต่อ ดังนั้นผมไม่ได้เอาตัวรอดคนเดียวนะ เสร็จแล้ว ผมตายแล้ว ทุกอย่างจบ ไม่ใช่ ผมจะสร้างคนขึ้นมารองรับ เพื่อสืบสาน บำรุงรักษาแล้วก็ตกแต่งไปเรื่อยๆ เพื่อให้งานศิลปะประจำรัชกาลที่ 9 ยิ่งใหญ่และยิ่งใหญ่มากขึ้นไป ไม่ใช่ในหลวง รัชกาลที่ 9 สวรรคต ทุกอย่างจะจบ ไม่ใช่วันสุดท้ายของผม ไม่ใช่รูปสุดท้ายสำหรับผม ทำงานในหลวง รัชกาลที่ 9 ไปจนตาย และสานต่อไปยังลูกศิษย์ของผม

    ถ้าบอกอะไรกับพระองค์ท่านได้ อยากจะบอกว่าอะไร?

    ผมคงบอกพระองค์ท่านว่า ลูกได้ทำทุกอย่างสำเร็จแล้วตามที่พระองค์ท่านทอดพระเนตร ได้ทำสำเร็จแล้วและจะทำต่อไปให้ดีขึ้น นั้นคือสิ่งที่คิดว่าพระองค์ท่านทรงรับรู้

    สุดท้ายอยากจะบอกอะไรกับคนไทยบ้าง
    ผมจะบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงรักคนไทยมาก ทรงรักประเทศมาก พระเจ้าอยู่หัวทรงอยากเห็นประเทศไปสู่ความก้าวหน้า อยากเห็นคนไทยไม่มีความทุกข์ ไม่มีคนเจ็บ อยู่ดีกินดี ไม่ทะเลาะกัน รักสามัคคีกัน และนำชาติไปสู่ความอยู่ดีกินดี นั่นคือสิ่งที่ผมรู้สึก ผมก็อยากจะบอกไปสู่ประชาชนว่า ขอให้เรารักบ้านเมืองของเรา สักครึ่งเดียวของพระเจ้าอยู่หัว เอาแค่ครึ่งเดียว เราก็มากมายแล้ว บ้านเมืองก็เจริญมากมายแล้ว

    a7e0b8b2e0b8a1e0b983e0b899e0b983e0b888-e0b980e0b889e0b8a5e0b8b4e0b8a1e0b88ae0b8b1e0b8a2-e0b982-2.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1096979
     

แชร์หน้านี้

Loading...