เปิดโผ "3" สมเด็จ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ทิกเกอร์_ทิกเกอร์, 27 ตุลาคม 2013.

  1. ทิกเกอร์_ทิกเกอร์

    ทิกเกอร์_ทิกเกอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +914
    [​IMG]

    สมณศักดิ์พัดยศ พระสงฆ์ไทย พุทธศักราช 2557

    พลันที่ข่าวการสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้กระจายไปในตอนกลางดึกของวันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา นอกจากความโศกเศร้าอาลัยจะท่วมทับประเทศไทยแล้ว ในทางการปกครองของคณะสงฆ์ ก็เริ่มพูดคุยกันถึงเรื่องตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ต่อไป ซึ่งก็คือ พระองค์ที่ 20 นี่มิใช่เรื่องที่จะ "มิบังควรพูด" ในท่ามกลางบรรยากาศอันโศกสลดดังที่เห็นแต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องที่ "สมควรพูดอย่างยิ่ง" เพราะ "อภิเษกกษัตริย์ กำจัดศัตรู เรียนรู้วิชา แสวงหาทรัพย์ ระงับป่วยไข้" เป็นเรื่องด่วนที่สุดทั้งในส่วนตัวและประเทศชาติบ้านเมือง เพราะประเทศชาติบ้านเมืองจะขาดผู้นำไม่ได้แม้แต่นาทีเดียว เดี๋ยวเกิดสงครามปึงปังขึ้นมาจะหาคนบัญชาการยาก



    วันนี้ อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ จะนำเสนอเรื่องสำคัญในรอบ 30 ปี ของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งก็คือเรื่องนี้แหละ และคิดว่าท่านผู้อ่านแฟนานุแฟนอะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ก็คงสนใจไม่แพ้เราทีเดียว



    พูดเป็นสำนวนก็ต้องบอกว่า "โผเจ้าคุณ ปี 56" ต้องถูกเบียดจนตกขอบ-ชิดซ้าย หรือกลายเป็นเรื่อง "ชิลๆ-เด็กๆ" ไปเลยทีเดียว เมื่อเจอ "โผสามสมเด็จ" ในวันนี้ อ๋อแน่นอนว่า เรื่องนี้ต้องขยาย



    ก่อนอื่นต้องขอเริ่มที่ชื่อของ "โผสามสมเด็จ" ว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร ก็คือว่า ก่อนที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จะสิ้นพระชนม์ลงไปนั้น สมณศักดิ์ชั้นสุพรรณบัฎหรือสมเด็จพระราชาคณะได้ว่างลงก่อนแล้ว 1 ตำแหน่ง เนื่องเพราะการมรณภาพของ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ " (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งก็ยังมิได้พระราชทานเพลิงศพ ยังคงบำเพ็ญบุญอย่างต่อเนื่อง ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์ลงไปอีกในวันนี้ จึงมีพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏว่างลงพร้อมกันถึง 2 ตำแหน่งซ้อน พร้อมๆ กับตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" ซึ่งถือว่าเป็นที่สุดของที่สุด ซึ่งตำแหน่งนี้กว่าจะว่างลงก็ต้องใช้เวลานานถึง 24 ปีทีเดียว


    ดังนั้น บัดนี้จึงมีตำแหน่งระดับท็อปของคณะสงฆ์ไทยว่างลงพร้อมกันถึง 3 ตำแหน่ง ได้แก่



    1. สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    2. สมเด็จพระพุฒาจารย์

    3. สมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งจะว่างแทนในตำแหน่งที่สมเด็จพระราชาคณะจะได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20




    ตำแหน่งที่ 3 นี้ ต้องขยายความก่อนว่า โดยปรกตินั้น ตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" จะทรงตั้งหรือสถาปนาจากสมเด็จพระราชาคณะที่มีอยู่ทั้งสิ้น 8 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็นฝ่ายมหานิกาย 4 รูป ฝ่ายธรรมยุติกนิกายอีก 4 รูป เมื่อรวมกับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแล้ว คณะสงฆ์ไทยก็จะมีตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะทั้งสิ้น 9 รูป 9 ตำแหน่งด้วยกัน



    โดยตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" นั้น ถือว่าเป็นตำแหน่งพิเศษ เป็นองค์พระประมุขของคณะสงฆ์ไทยทุกนิกาย แต่ถึงกระนั้น เมื่อสมเด็จพระราชาคณะในนิกายใดได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระสังฆราช พระสงฆ์นิกายนั้นก็จะมีเสียงเพิ่มเป็น 5 ต่อ 4 ไปโดยปริยาย เช่น พ.ศ.2532 สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.9) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงทำให้อัตราสมเด็จพระราชาคณะในฝ่ายธรรมยุตมีจำนวน 5 รูป ขณะที่ฝ่ายมหานิกาย มีเพียง 4 รูป



    ทีนี้ ถ้าสมมุติว่า สมเด็จพระราชาคณะในฝ่ายมหานิกายได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชบ้าง อัตราส่วนก็ต้องเปลี่ยนไป คือกลับข้างมาเป็นฝ่ายมหานิกาย 5 ส่วนธรรมยุตก็จะเหลือแค่ 4 หรือเขียนให้ดูง่ายๆ ว่า 5/4 นี่คือสูตรมาตรฐานการเมืองเรื่องคณะสงฆ์ไทยในระดับสุดยอด



    และทีนี้ว่า ถ้าสมเด็จพระราชาคณะองค์ใด ไม่ว่าในนิกายไหน ได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ก็จะต้องละทิ้ง "ฐานันดร" เดิม ไปรับเพียงตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" ซึ่งสูงสุด เพียงตำแหน่งเดียว และเมื่อนั้นฐานันดรเดิมก็จะว่างลง ส่งผลให้เกิดเป็นการ "ว่างพร้อมกัน" ถึง 3 ตำแหน่ง และเราได้ตั้งชื่อว่า "โผสามสมเด็จ" ในวันนี้



    และต่อไป เราก็จะวิเคราะห์หาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งองค์พระประมุขของคณะสงฆ์ไทย คือเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบต่อจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



    ว่าโดยธรรมเนียมการสถาปนาพระราชาคณะทั่วไปนั้น จะทรงโปรดเกล้าฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี แต่สำหรับการสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" นั้น ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ จะไม่ทรงรอให้ถึงวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ดังกรณี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน ป.ธ.4) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2531 ซึ่งได้มีการสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2532 ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นการสถาปนาตามฤกษ์ที่โหรหลวงได้คำนวณขึ้นถวาย ดังนั้น การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษ



    หลักการง่ายๆ ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชก็คือ ทรงเลือกจากสมเด็จพระราชาคณะ จำนวน 8 รูป หรือเท่าที่มี คือโดยปรกตินั้น จะมีสมเด็จพระราชาคณะจำนวน 8 รูป แต่บางช่วง มีสมเด็จพระราชาคณะบางรูปมรณภาพลง และยังไม่ทันได้ทรงโปรดสถาปนา เช่นกรณีสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพลงไปในวันนี้ ทำให้จำนวนสมเด็จพระราชาคณะมีเพียง 7 รูป คือฝ่ายธรรมยุตมี 4 รูป (เต็มอัตรา) ส่วนฝ่ายมหานิกายเหลือเพียง 3 รูป ก็จะทรงโปรดเลือกจากสมเด็จพระราชาคณะเท่าที่มี คือ 7 รูป

    สมเด็จพระราชาคณะทั้ง 7 รูปเหล่านั้น เรียงลำดับตามอาวุโสในการสถาปนาดังนี้


    สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
    (มหานิกาย)
    1. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ แม่กองบาลีสนามหลวง เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม และดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2556 สมเด็จวัดปากน้ำเกิดวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2468 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมีอายุย่าง 89 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2538 ปัจจุบันถือว่ามีอาวุโสสูงสุดในบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้ง 7 รูปที่เหลืออยู่

    [​IMG]




    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    (ธรรมยุติกนิกาย)
    2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมเพียงตำแหน่งเดียว สมเด็จวัดเกาะ (ชื่อเก่าของวัดสัมพันธวงศ์) เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนจะแยกมาเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เกิดวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2460 ปัจจุบันมีอายุยืนถึง 97 ปี แต่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ถือว่ามีอาวุโสทางสมณศักดิ์เป็นอันดับที่ 2 รองจากสมเด็จวัดปากน้ำ
    [​IMG]





    สมเด็จพระมหามุนีวงศ์
    (ธรรมยุติกนิกาย)
    3. สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรรมการมหาเถรสมาคม และนายกสภามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) สมเด็จวัดราชบพิธเป็นชาวจังหวัดราชบุรี เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2470 ปัจจุบันมีอายุ 87 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2552 พร้อมกันกับสมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหมฺคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร แต่โปรดให้เข้ารับการสถาปนาก่อน ในทางสมณศักดิ์จึงถือว่ามีอาวุโสกว่าสมเด็จพระวันรัต และมีอาวุโสเป็นอันดับสามในบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้งหมด

    [​IMG]



    สมเด็จพระวันรัต
    (ธรรมยุติกนิกาย)
    4. สมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9) รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ธรรยุติกนิกาย สมเด็จพระวันรัต เป็นชาวจังหวัดตราด เกิดวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2479 ปัจจุบันมีอายุ 78 ปี เข้ารับพัดเป็นสมเด็จในวัดพระแก้วต่อจากสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552 จึงถือว่ามีอาวุโสเป็นอันดับ 4
    [​IMG]




    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    (มหานิกาย)
    5. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กรรมการมหาเถรสมาคม สมเด็จวัดสุทัศน์เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2473 ปัจจุบันอายุ 83 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2553 จึงมีอาวุโสเป็นอันดับ 5

    [​IMG]





    สมเด็จพระธีรญาณมุนี
    (ธรรมยุติกนิกาย)
    6. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะภาค 1-2-3-12-13 ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และกรรมการมหาเถรสมาคม สมเด็จวัดเทพศิรินทร์เป็นชาวจังหวัดนครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2490 ปัจจุบันมีอายุ 66 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะปีเดียวกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสุทัศน์ แต่พรรษาอ่อนกว่าจึงเข้ารับพัดทีหลัง ถือว่ามีอาวุโสเป็นอันดับที่ 6
    [​IMG]




    สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
    (มหานิกาย)
    7. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง สมเด็จวัดพิชัยญาติเป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484 ปัจจุบันมีอายุ 72 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 ถือว่ามีอาวุโสอ่อนสุดในบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้งปวงในปัจจุบัน

    [​IMG]



    หลักการง่ายๆ มีอยู่ว่า "สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ เป็นสมเด็จพระสังฆราช" แต่ยังมีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาอีกด้วยว่า



    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดที่ 2 (พระมหากษัตริย์) บัญญัติไว้ว่า

    มาตรา 11 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์


    และ

    2. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505/2535 หมวดที่ 1 (สมเด็จพระสังฆราช) บัญญัติไว้ว่า

    มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง


    ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช


    ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช




    ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้นถือว่าเป็นกฎหมายแม่บท ให้อำนาจแก่พระมหากษัตริย์ในการพระราชทานยศศักดิ์ให้แก่ใครก็ได้ ถือว่าเป็นสิทธิ์ขาด ส่วนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น ถือว่าเป็นกฎหมายลูก แต่กฎหมายลูกก็ตราขึ้นตามความในกฎหมายแม่ หมายถึงว่า เป็นการอธิบายความกฎหมายแม่ให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จึงต้องเป็นไปตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 คือนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม จะต้องเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้า เพื่อทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช จะเป็นอื่นใดไปไม่ได้



    เว้นเสียแต่ว่า สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์นั้น มิสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทางรัฐบาลก็จะมีคำกราบบังคมทูลกำกับขึ้นไปด้วย ว่าเหตุผลใดจึงไม่นำเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์เพื่อทรงโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เห็นไหมว่ามิใช่นึกจะเสนอใครก็ได้นะ



    และทีนี้ เมื่อพิจารณาบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้ง 7 รูปข้างต้นแล้ว ก็จะพบว่า "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" วัดปากน้ำ มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ที่สำคัญก็คือ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่ง "ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" อยู่อีกด้วย แม้ว่าสมเด็จวัดปากน้ำจะมีอายุพรรษาสูงถึง 89 ปี แต่ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เมื่อวันยังเดินทางไปเป็นประธานเชิญพระศพสมเด็จพระสังฆราช จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลับสู่วัดบวรได้อย่างดียิ่ง


    คลิกอ่านต่อที่นี่ http://www.alittlebuddha.com/
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    โห....พึ่งอ่านจากที่อลิตเตอลบุดด้าจบ ....ไม่คิดว่าจะมีใครเอามาตั้งที่นี่ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครอยากกล่าวถึงกันมากนักในตอนนี้.....

    อย่างไรขึ้นแล้วก็ขึ้นให้จบเลยดีกว่าครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2013
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    [​IMG]

    ณ นาทีนี้ แคนดิเดทในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จึงหนีไม่พ้น "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน

    ในอดีตนั้น ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จะมาจาก 2 ตำแหน่งหลัก คือ สมเด็จพระวันรัต และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แต่เมื่อมีการใช้ระบบ "อาวุโสทางสมณศักดิ์" เข้ามาทดแทน ประเพณีที่เคยปฏิบัติก็เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่ราชทินนามที่ "สมเด็จพระญาณสังวร" ก็ถือว่าเป็นราชทินนามพิเศษเช่นกัน

    ดังนั้น การที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ จะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็จึงไม่แปลกประหลาดอันใดเช่นกัน

    ตัวเต็งมีอยู่เพียงเท่านั้น นาทีนี้จึงไม่สามารถจะวิจารณ์ข้ามไปถึงสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นๆ ได้


    ฟันธงลงไปเลยว่า "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" ได้เป็น "สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" แน่นอน​





    แต่ที่อยากจะนำเสนอเสมือนการ "มองข้ามช็อต" ต่อไปก็คือ แคนดิเดทสมเด็จพระราชาคณะที่ว่างลงอีก 2 ตำแหน่ง คือแทนในตำแหน่งสมเด็จพระพุฒาจารย์และแทนในตำแหน่งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์นั้น เป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกาย หมายถึงว่า การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชก็ดี สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะอีกที่ว่างลงมากมายถึง 3 ตำแหน่ง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าภายในปี พ.ศ.2557 นี้ จะเป็นการแต่งตั้ง-สถาปนาในฝ่ายมหานิกายทั้งหมด ส่วนฝ่ายธรรมยุตนั้นไม่ว่าง

    และยังมีสูตรสำเร็จอีกว่า "สถาปนารองสมเด็จพระราชาคณะขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ" นั่นหมายถึงว่า ถ้าหากสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระราชาคณะว่างลง การพิจารณาก็จะมาจาก "รองสมเด็จ" เท่านั้น ซึ่งรองสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสสูงสุดในฝ่ายมหานิกายในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 รูป ได้แก่

    [​IMG]

    พระพรหมเวที



    1. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และกรรมการมหาเถรสมาคม พระพรหมเวทีเป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2485 อายุ 71 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ปัจจุบันมีอาวุโสสูงสุดในบรรดา "รอง" สมเด็จพระราชาคณะทั้งปวง


    [​IMG]

    พระพรหมวชิรญาณ

    2. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.3) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม พรหมวชิรญาณเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี เกิดวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2480 อายุ 76 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะปีเดียวกับพระพรหมเวที แต่ได้รับการสถาปนาทีหลัง จึงมีอาวุโสเป็นอันดับสองรองจากพระพรหมเวที

    เมื่อมีสมณศักดิ์ชั้นสุพรรณบัฏว่างลงพร้อมกันถึง 2 ตำแหน่งเช่นนี้ ก็ทำให้ต้องมีการสถาปนาพร้อมกันถึง 2 รูปด้วยเช่นกัน และเมื่อนั้น พระพรหมเวทีและพระพรหมวชิรญาณจึงถูกคาดการณ์ว่า จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะพร้อมกัน ในวันที 5 ธันวาคม พ.ศ.2557 ทั้งนี้เพราะมหาเถรสมาคมได้ผ่านบัญชีพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม ปีนี้แล้วว่า "จะไม่มีการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ" ทำให้สมณศักดิ์ที่สมเด็จพระราชาคณะต้องว่างลงพร้อมกันถึง 2 ตำแหน่งดังกล่าว

    ใช่แต่เท่านั้น เมื่อตั้งพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะพร้อมกันถึง 3 รูป ก็จะส่งผลให้ตำแหน่ง "รองสมเด็จ" ว่างลงอีก 3 รูป ไล่ระนาดลงไปในเบื้องล่าง ตามสมการฐานพระสุเมรุหรือสูตรกินรวบที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทีนี้พระราชาคณะชั้นธรรมฝ่ายมหานิกายก็จะพาเหรดเลื่อนชั้นขึ้นเป็นรองสมเด็จฯอย่างมากมาย กลายเป็นมหากรรมเลื่อนสมณศักดิ์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบร้อยปีของคณะสงฆ์ไทย ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

    และนี่คือที่มาของ "โผสามสมเด็จ" เป็นกรณีพิเศษ ของอะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม ในวันนี้


    อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน

    26 ตุลาคม 2556
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2013
  4. ทิกเกอร์_ทิกเกอร์

    ทิกเกอร์_ทิกเกอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +914
    ขอบคุณจ้า..ที่เอามาเติม

    คือจริงๆแล้วตั้งแต่เกิดจนป่านนี้ ยังไม่รู้เลยว่าเค้ามีวิธีการเลือก พระสังฆราชกันยังไง
    อ่านแล้ว ก็เออ น่าสนใจดีเลยเอามาลง มันก็เป็นเรื่องควรรู้ของคนไทย
    ส่วนพระรูปไหน จะได้ตำแหน่ง จะมีข่าวแง่ไม่ดี มีใช้ตำแหน่งเส้นสาย โน่น นี่ นั่น
    ก็เป็นเรื่องของ เถรสมาคม .. อย่างน้อยก็ได้รู้ว่า มีใครบ้างประวัติย่อๆสั้นๆ เป็นที่เข้าใจ

    บังเอิญว่าเวปนี้เค้า บอกรายละเอียดที่น่าสนใจ ทำให้เรารู้ด้วย ว่าการแต่งตั้งยังไง กี่ตำแหน่ง ตำแหน่งอะไรบ้าง ถึงรู้ไม่เยอะก็ ดีกว่าไม่รู้เลย

    ถ้าให้ไปหาข้อมูลเอง คงเรียบเรียงตามเนื้อความกฎหมายไม่ถูก
     
  5. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ถ้าเป็นไปตามอาวุโสสูงสุด สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ก็ต้องเป็นพระสังฆราชองค์ต่อไปอย่างแน่นอน ถ้าเป็นเช่นนี้ ชาวธรรมกาย ก็เฮ
     
  6. ทิกเกอร์_ทิกเกอร์

    ทิกเกอร์_ทิกเกอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +914


    :boo:

    จ๊ากกกกกกกกกกกก!!!!!
    ไม่อยากนึกภาพตามเลย....
     

แชร์หน้านี้

Loading...