เป็นกลางต่อทุกสิ่ง จะเรียกว่า ทางสายกลาง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nilakarn, 7 มีนาคม 2017.

  1. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    การที่เราฝึกทำให้ใจ ให้เป็นกลางต่อทุกสิ่ง ไม่เอนเอียง ไปใน กุศล หรือ อกุศล มากจนเกินพอดี อย่างนี้ จะเรียกว่า ทางสายกลาง แบบของเราเอง ของคนอื่นเป็นอย่างไร ลองชี้แนะมา เพื่อเป็นแนวปฏิบัติแก่ผู้มาใหม่ ต่อไป
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    มันขึ้นกับว่า คำว่า อกุศล นี่ รับรู้แบบไหน

    ถ้า อกุศล ที่เป็น โลภ โกรธ หลง แบบชาวบ้าน ก็รู้ได้
    อันนี้ ต้องติด " i " ยังต้องทำ วิทยานิพนท์ เพิ่ม
    หรือกลับไปแก้

    ถ้า อกุศล เป็น อะไรที่เรียกว่า " ขวางนิพพาน " ยกตัวอย่าง
    การ ทำฌาณ การถือศีล การถือวัตร บางอย่างขวางนิพพาน(ภาษาบาลี
    ใช้ เดรัจฉาน) นี่เห็น ทั่ว ถึง หรือเปล่า [ อภิธรรมเรียกว่า กุศลเป็นปัจจัยให้
    เกิดอกุศล ......จริงๆ จะมี อัพยากฤติ บางเหล่าอีก ]
     
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เป็นกลางของคุณยังไงนี่ผมไม่รู้นะ แต่ถ้าว่ามัชฌิมาปฏิปทาอันนี้พอนึกออก คือหมายถึงไม่เข้าไปเสพส่วนสุด สุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง หรือจะเรียกแบบบ้านๆ ว่า ไม่อิน (ไปทางใดทางหนึ่งก็คงจะได้) อย่างเช่น ตาเห็นรูป ไม่สักแต่ว่าเห็น ปรุงเป็นเรื่อง เป็นจริงเป็นจัง ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา แบบนี้เรียกว่า เผลอเสพส่วนสุดโต่งไปแล้ว ก็กลับมากำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ไป หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูไปแบบนี้ ยึดมั่นถือมั่น จริงจังมาก อยาก (มีตัณหา) พวกนี้สุดโต่งทั้งนั้น ก็เพียรรู้ทันตามความเป็นจริงไปครับ
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ทางสายกลางก็เอามรรคมีองค์ ๘
    เป็นเครื่องอ้างอิง
    จึงจะเป็นการสร้างเหตุแห่งทางเดินไปสู่ความหลุดพ้นตามคำสอนของพระพุทธ

    เริ่มต้นถูกทางมีโอกาสเดินต่อไปถูกทางได้ครับ
     
  5. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014


    มรรคมีองค์แปด คือ หลักธรรม
    แต่ การปล่องวาง คือ หลักใจ หรือ หลักของจิตใจ


    สุดท้าย เมื่อได้ หลักธรรมแล้ว ก็ปล่อยหลักธรรม ลง
    จนเหลือแต่ หลักใจ หรือ หลักปฏิบัติของใจ
    จึงเรียกว่า พบพระนิพพาน คือ
    ปล่อยวางแม้กระทั่ง ธรรม ในใจตน
    ปลดปล่อยคำสมมุติ ออกจากจิตใจตน
    ให้เหลือแต่ คำแท้ คือ ปล่อยวาง อย่างเดียว
    ท่านจะบรรลุธรรมด้วยการวาง ไม่ใช่ ถือไว้
     
  6. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ทางสายกลาง จะต้องรู้จักธรรมอันมีสภาวะ ตรงกันข้าม จึงจะทราบกลางได้ถูก
    เช่น มีโลภ มีทาน มีโกรธ มีเมตตา มีหลง มีปัญญา
    โดยธรรมชาติแล้ว คนเราจะมีอวิชชา ก็มักจะประพฤติปฏิบัติ สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง
    โดยไม่ได้มีสติยั้งคิดถึงอีกทาง เช่น อยากได้เงิน จนลืมให้ หรือ ให้จนลืมความพอดี โกรธจนลืมพิจารณาเมตตา อภัยผู้ที่เราโกรธ หรือ บ้างก็เมตตาจนลืมนึกถึงว่าตนเองจะลำบาก
    เมื่อสุดโต่งจนเป็นประจำแล้ว ย่อมจะเกิดเป็นนิสัย เป็น อนุสัย เป็นการถือข้อปฏิบัติแบบผิดๆไปตามทางของอวิชชาที่ตนเคยชิน
    เมื่อศึกษา มหาสติปัฎฐาน 4 แล้ว ย่อมมีปัญญา พิจารณาแยบคาย เห็นทางสุดโต่ง ที่ตนประพฤติปฏิบัติ อันนำไปสู่การปล่อยวางในสภาวะทั้งปวง
     
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    กลางในความหมายที่ว่าไม่สุดขั้วทั้งสอง คือเชื่อว่าทางพ้นทุกข์คือการหนีทุกข์แล้วแสวงหากาม กับอีกขั้วหนึ่งเชื่อว่าทางพ้นทุกข์คือการวิ่งเข้าหาทุกข์เลยไม่หนีทุกข์ กลางน่าจะหมายถึงสิ่งนี้ส่วนวิธิปฏิบัติอยู่ในมรรคมีองค์ 8 อย่างเห็นชอบ มีความเข้าใจในอริยสัจ 4 ความดำริชอบก็คิดออกจาก กาม จากพยาบาท ความเพียรชอบ ก็เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดหรือเจริญขึ้นไป ละอกุศลธรรมต่าง การระลึกชอบ สมาธิชอบ อาจทำสติปัฏฐาน 4
     
  8. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    มัชฌิมากิเลส มัชฌิมาธรรม
    หลวงตามหาบัวได้แสดงไว้แล้วครับ
    ไปหาฟังดูเน้อ
     
  9. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014



    คุณจะต้องหาทางสายกลางของตนเองให้ได้
    แล้วก็ฝึกทำให้ได้อย่างนั้น บ่อยๆ
    จึงจะเรียกว่า เจอ มรรค คือ ทางสายกลาง
    อย่าคิดว่า ทางสายกลาง ไม่สำคัญเด็ดขาด
    ถ้าคิดเช่นนั้น ก็แสดงว่า คุณยังพลาดไป
     
  10. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ขอบคุณที่เป็นห่วงนะครับ
     
  11. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ครับ ในบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนาครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ (ซึ่งตอนนั้นยังลังเลในปฏิปทาของพระพุทธองค์) ทรงตรัสเรื่องมัชฌิมาปฏิปทานี้เป็นอันดับแรกเลย พอได้ฟังความจริง ความเชื่ออย่างสุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่งที่มักคอยปิดกั้นการเห็นตามความเป็นจริง เป็นความหลงในความเชื่ออย่างฝังรากลึก (แบบไม่รู้ตัว) เหล่านั้นมันคลายลง พอคลายลง มันก็เหมือนคนได้สติ เมื่อสติมา รู้ตามความเป็นจริงได้ ปัญญามันก็เกิด เห็นแจ้งในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไปโดยลำดับตามเหตุปัจจัย มัชฌิมาปฏิปทานี้พอย้อนพิจารณาดูจริงๆ กลับพบว่า เป็นเรื่องพ้นเจตนาจริงๆ คือถ้ายังมีเจตนาอยู่มันยังไม่พ้นความเชื่อฝั่งใดฝั่งหนึ่งอยู่ดี คือยังไม่กลางจริง แต่ก็เพียรทำความเห็นให้ตรง กระทำไว้ในใจโดยแยบคายไป เหตุปัจจัยถึงพร้อมเมื่อไรก็เมื่อนั้น พระธรรมของพระพุทธองค์เป็นอกาลิโกครับ
     
  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ทางสายกลาง
    เวลาผัสสะทางอายตนะทั้งหก
    ไม่เข้าไป พอใจ ไม่พอใจ สักแต่ว่ารับรู้ รู้แล้ววาง นี้ทางสายกลางผม
     
  13. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    เป็นกลาง กิริยามันคือจิต
    ไม่ชี้ชัด ว่านั่นต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
    ไม่แยกแยะ ว่าเป็นพวกเขา พวกเรา
    ไม่ตัดสิน ว่าดีหรือไม่ดี...
    กลางในที่นี้ คือ ไม่ยึดอะไร

    ส่วนการการปล่อยวาง เป็นการคลายการยึดซึ่ง
    เป็นอุบายให้จิตเป็นกลางได้นั่นเอง..
    แต่จิตที่เป็นกลาง มันยังไม่รู้อะไรนะครับ
    อย่าไปเข้าใจว่า เป็นกลางแล้วจะบรรลุอะไรได้
    หรือจะเข้านิพพานได้นะครับ ไม่งั้นซวยแน่ๆ
    เพียงแต่สภาวะที่จิตเป็นกลาง
    มันเอื้อให้จิตใช้เริ่มเดินปัญญาได้ครับ
    แค่พึ่งเริ่มเดินปัญญาได้นะครับ
    ซึ่งจะเพียงพอที่จะตัดเรื่องราวต่างๆได้เท่านั้น
    แต่ยังไม่เพียงพอ ที่จะทำให้จิตคลายตัวเองได้นะครับ
    ซึ่งการคลายตัวได้ ต้องเป็นจิตที่มีปัญญามากพอ
    หรือตัวปัญญาญานที่จะรู้เหตุรู้ผลแห่งการเกิด
    หรือที่เราเรียกเท่ห์ๆว่า รู้เหตุแห่งกองทุกข์
    หรือรู้เท่าทันกองสังขารครับ...

    ปล. จิตเป็นกลางได้ แค่การเริ่มต้นสำหรับเดินปัญญาครับ
    ไม่ใช่จิตที่มีปัญญานะครับ ระวังดีๆนะครับ
    อย่าหลงสภาวะนะครับ...เด่วจะเข้าใจไปว่าตัวเอง
    บรรลุโน้นนี่นั้น หรือ เป็นกลางแล้วจะเข้านิพพานได้นะครับ
    อีกหลายสเตปอยู่ครับ...กว่าจะถึงปลายทาง
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าจะกล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ จิตที่มีกามวิตก (เพลิน อร่อย พึงพอใจ) หรือ พยาบาทวิตก (ใจร้อน รีบรวดลัดผลักไส) หรือ วิหิงสาวิตก (ตั้งธงดำเนินการ ด้วยหวังฉวยสภาวะบางอย่างที่คาดหวังไว้แต่แรกมาเป็นตน) อยู่ ณ เวลานั้น ต้องกล่าวว่า ยังไม่เป็นกลาง ตรงนี้ละเอียด การเห็นเหล่านี้เป็นการย้อนเห็นเองด้วยปัญญา ดังนั้นจึงว่า การจงใจเจตนายังไงก็ไม่ใช่ ต่อเมื่อพ้นเจตนาจึงใช่ แต่ก็ให้สมาทานทำความเห็นให้ถูกตรงอย่างนี้แหละเข้ามาก่อน แยบคายไปเรื่อยๆ หมั่นสังเกตความหลงมีความอยาก มีกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาในตนไป สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุแห่งการหลงกระทำทั้งสิ้นทั้งมวล ไม่ต้องคาดหวังอะไรทั้งนั้น

    เมื่อเหตุปัจจัยถึงพร้อม การรู้ตามความเป็นจริงไม่ถูกมลทินใดๆ บดบังเสียก่อนแล้ว ก็ย่อมจะมีโอกาสเห็นแจ้งตามความเป็นจริงได้ และจักเกิดปัญญาเห็นแจ้งในทุกข์ได้เอง แต่นั่นก็เป็นเพียงการเริ่มต้น เพียงแต่ว่า ได้รู้แล้วว่า อสังขตธรรมจริงๆ นั้นคืออย่างไร อะไรคือความหลง แยกสมมุติกับวิมุติออก เห็นส่วนที่ข้องในวัฏฏะและไม่ข้องในวัฏฏะมีอยู่ ความเข้มในการรู้ชัดตรงนี้จะมากขึ้นไปโดยลำดับ อันเนื่องมาจาก มีปฏิปทาสมาทานการทำความเห็นแจ้งให้ปรากฏอยู่เสมอ สมาทานการทำความเห็นให้ถูกตรงอยู่เป็นปกติ มีการสมาทานความไม่หลงยึดมั่นถือมั่น หลงยึดหยิบจับฉวยเอาสิ่งใดมาเป็นตนอันเป็นเหตุให้มีอัตตาตัวตนเวียนวนเป็นผู้แบกทุกข์ไม่รู้จักจบจักสิ้น

    ทีนี้ถ้าถามความเห็นส่วนตัว ถ้าสมมุติมีใครมาปรักปรำว่าหลง คิดว่าตัวเองสำเร็จธรรมโน่นนี่นั่นจะเฉยๆ เพราะรู้แล้วอยู่ว่า กิจยังมีอยู่ และถ้าจะมุ่งว่าสำเร็จอะไร มุ่งจุดเดียวคือความสิ้นทุกข์จบกิจบริบูรณ์สถานเดียวเท่านั้น ตราบใดยังไม่จบกิจก็คือยังไม่สำเร็จยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็มีเท่านั้น เรื่องหลงเป็นโน่นเป็นนี่เป็นเรื่องของคนไม่เข้าใจ ยังหลงอัตตา ใครจะโง่ก็โง่ไป ทีนี้หากจะใครจะมาบอกว่า ไม่เห็นมีเทวดามารุมล้อมโมทนา ก็เรื่องของเทวดาเขาสิครับ เกี่ยวอะไรกับเราจะปฏิบัติเพื่ออกจากทุกข์ ยังจะมัวติดลาภยศสรรเสริญสุขก็ไม่ต้องไปไหนกันล่ะ อันนี้แค่ให้ข้อคิดกัน บางทีอาจจะยังไม่รู้ในเจตนาการมุ่งออกจากทุกข์กันว่า เขาจริงจังเต็มที่กันขนาดไหน ขออภัยถ้าล่วงเกินใครไปนะครับ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พูดกับทำน่าจะมีความต่างกันเยอะอยู่พอสมควร

    วิธีวัดความเป็นกลางของจิตใจก็คือ

    ลงนั่งกำหนดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งสัก 1 ชม. แล้วทุกขเวทนาเกิดขึ้น ใช้สภาวทุกขเวทนานี่วัดใจ ว่ามันเอียง ไม่เอียง ไปทางกุศล หรืออกุศล ตนเองจะได้คำตอบให้ตัวเองก็ตอนนี้แหละ
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ขออนุญาตคุณมาจากดินแสดงความเห็นสักเล็กน้อยนะครับ ผมมองว่า ไม่ควรเสียเวลามานั่งวัดความเป็นกลาง ว่าตอนนี้เป็นกลางหรือยัง นั่นเป็นความเข้าใจผิดไปครับ จริงๆ คือเมื่อหลงก็รู้ว่าหลง หลงไปทางไหน เอียงซ้ายเอียงขวา มีอคติ เกิดกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกแล้ว ก็รู้ทันไป บางทีรู้ช้ารู้ไม่ทัน มารู้เอาทีหลังก็ให้รู้ว่าหลงไปแล้ว ตำหนิ หงุดหงิดก็รู้ ดังนั้นความสำคัญอยู่ตรงที่ การมีสติ และมีความแยบคายในการภาวนา รู้ทันอากัปกิริยาจิตเกิด หลงกระทำไปตามอำนาจกิเลสตัณหาให้ดีก็พอครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2017
  17. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    อันนี้ก็ต้องว่ากันไปตามการเห็นของแต่ละคนธรรมภายใน ธรรมภายนอก ต้องรู้ชัด ธรรมภายนอกอิงอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง ใช้อุบายในการวางจิตเข้าไปเห็น การตรึกนึกคิด ยังพอเห็นได้ แต่ธรรมภายในไม่สามารถเห็นได้ด้วยการวางจิต หรือการตรึกนึกคิด แต่ก็ต้องอาศัยการวางจิต การตรึกนึกคิดนี้แหละ จึงจะเข้าไปเห็นธรรมภายในอันไม่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ ฟังดูยอกย้อนไหมละ ธรรมมันจึงลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่ว่าวางจิตไว้ตรงแล้วจะจบกิจได้ มันแค่ก้าวแรกเท่านั้น
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ย้ำอีกทีว่า พูด กับ ทำ ต่างกันอยู่หลายกิโลขีด

    ยกตัวอย่างคำพูดที่คุณพูดนั่นแหละว่า "เมื่อหลง ก็รู้ว่าหลง" มันหลงอารมณ์ไปแล้ว แล้วมารู้ทีหลัง

    ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น นาย ก. โทสะจิตเกิดเพราะแลเห็น นาย ข. ซึ่งกำลังจีบแฟนตนอยู่ วิบเดียวควักปืนยิงนาย ข. เสียชีวิต (ขณะหนึ่ง) ความโกรธ คือโทสะจิตดับ รู้ตัวคิดได้ ฯลฯ (นี่ขณะจิตหนึ่ง) กำลังโกรธ กับ หายโกรธ คนละขณะจิต คนละความคิดกัน ดังนั้น พูดกับทำจึงต่างกัน ที่คุณว่ามาเป็นสำนวนพูด ไม่ใช่สำนวนทำ
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อันนั้นมันเป็นการเอากิริยาชาวบ้านที่ยังไม่รู้จักการภาวนาหรือยังภาวนาไม่เป็นก้าว เอามาตั้งเป็นประเด็นในการจับผิด (ว่าพูดกับทำ มันแตกต่างกัน) นะครับ ซึ่งก็จะไม่เข้าในประเด็นนี้ที่เขาคุยกันมาแต่แรกเสียทีเดียว ที่เขาคุยกันอยู่นี้ หมายความว่า ควรจะต้องมีความแยบคายในการสังเกต ในการภาวนามาอยู่บ้างพอสมควรแล้ว กำลังการหักห้ามใจได้ควรมีพอสมควร สติต้องพอทันการณ์บ้างแล้ว

    ทีนี้ส่วนที่คุณกล่าวมานั่นก็กล่าวถูกของคุณ ถูกในระดับที่คุณทำคุณเห็นได้แบบนั้น และเมื่อคุณตระหนักได้ดังนั้นแล้วก็เป็นการดี คุณก็ควรทำให้มันได้ ปฏิบัติให้มันเข้าถึงความหย่าขาดแห่งอารมณ์อันแรงกล้านั้นบ่อยๆ บางทีคุณอาจจะได้เห็นความต่างบางอย่างชัดเจนขึ้น จะรู้จักคำว่าจิตเกิด/จิตไม่เกิดเป็นอย่างไร เห็นคุณเห็นโทษมากขึ้น คุณก็จะได้ตั้งตนอยู่บนความไม่ประมาทต่อไป
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    หลง รู้ว่าหลง

    หรือเผลอ รู้ว่าเผลอ

    จะเปนการแนะนำ เสวนากัน สำหรับคนที่เดิน มรรคจิต

    กำหนดรู้ปรมัตถ์ธรรม ซึ่งจิตจะเกิด ปิติ5
    หรืออีกแง่คือ มีจิตที่เฉียดเปนฌาณ ชนิดแทบ
    จะเหาะเหิน เดินอากาสได้

    ปิติจะขวางการภาวนา หากมันยังฉูดฉาด
    หวาดเสียว กรือยังกระเดิดให้มุ่งหวัง คาดเดา
    มรรคผล อิทธิวิธี เรียกว่า ยังหวังอามิสจาก
    ปิติ สุข อุเบกขา

    หลง จะทำให้จิตเคลือ่นไปใน โอภาส เกิด
    วิปัสนูปกิเลส ย้อมติดจิต จิตเคลื่อนไป ไม่
    อยู่ที่การประกอบเหตุ คือ สติปัฏฐาน

    หลงแล้วรู้ว่าหลง จิตจะกลับมาที่ กรรมฐาน
    มีจิตตั้งมั่น รู้อยู่ที่ฐาน กำหนดรู้สภาพแปร
    ปรวนของขันธ์ ไม่สำตัญเปนสัตว ตัวตน บุคคล
    เราเขา

    มาจากดิน ยกตัวอย่าง คนฆ่าคน ก้เปนเพียง
    การยกตัวอย่างของคนที่ไม่เคยภาวนา เอามา
    เปนโวหารปรักปรำกันอย่างไร้ประโยชน์ แค่
    อยากหัวเราะใส่นักภาวนา สำคัญตนว่าสว่าง
    กว่า โดยที่หลง แล้วไม่เคยกำหนดรู้ว่าหลง
     

แชร์หน้านี้

Loading...