เป็นไปได้ไหม ว่า นิพพาน ก็ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดแห่งการดับทุกข์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วรกันต์, 14 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    โลกนี้คือ หมู่สัตว์
    การที่สรรพสัตว์ในโลกดูมากมาย ดูเหมือนไม่จบสิ้น
    แม้จะมีองค์พระศรีสรรเพ็ชรเจ้ามาอุบัติมาแล้วมากมายในอดีต
    และจะมีอีกมากมายในอนาคตกาล
    และทุกพระองค์ก็ทรงขนเหล่าอริยชนไปสู่แดนพระนิพพานอันบรมสุขไปเสียมากมาย
    แถมที่ไปบังเกิด ณ สรวงสวรรค์ทุกชั้นแดนอีกมากมายนับไม่ถ้วน
    ทำไมเหล่าสัตว์ก็ยังดูเหมือนยังมากมายเช่นกัน
    และข้อหนึ่งของผู้ปฏิบัติตนในเส้นทางพระโพธิสัตว์
    คือ ปรารถนาจะขนหมู่สัตว์ให้หมดสิ้น

    ลองคิดดูสิ
    เราเอง เกิดมาชาติหนึ่ง
    มีกายกายหนึ่ง
    มีใจใจหนึ่ง ที่ยังอุดมไปด้วยกิเลส

    ลองมองเข้าไปกายตัวเองดู
    จะเห็นว่า กายเรานี้แหละ คือ โลกโลกหนึ่ง
    ที่อุดมไปด้วยสรรพสัตว์เช่นกัน
    เราคิดว่า กายนี้คือ กายของเรา
    แต่กายนี้ก็เต็มไปด้วย เชื้อโรค แบคทีเรีย
    เต็มไปด้วยเซลล์ที่มีชีวิตอยู่นับล้านเซลล์

    เมื่อถึงเวลาที่เราดับขันธ์ ถึงแก่กาล คือตายลง
    เราจากไปเพียงจิตที่ยังมีกิเลส
    ไปกำเนิดใหม่ ในภพภูมิใหม่ ที่เหมาะสมแก่กรรม
    แต่กายาที่ทิ้งไว้ในโลกเดิม
    กายาที่ประกอบจากธาตุ ๔

    วิชาวิทยาศาสตร์ บอกว่า พลังงานไม่สูญหาย
    แล้วเหล่าเซลล์ต่างๆ เชื้อโรคต่างๆ
    มันไม่ได้ติดตัวเราไปหลังตายด้วย มันหายไปไหน

    วิทยาสาตร์ บอกว่า ชีวิตเกิดขึ้นจากไฟและน้ำ
    แล้วเซลล์ต่างๆในร่างกายเรา ที่เติบโตจากเลือดของเรา
    ถูกอาบด้วยฮอร์โมนนานาชนิด ถูกกระแสไฟวิ่งผ่านไปมาทุกเศษเสี้ยววินาที
    เราจะบอกได้ไหมว่า มันก็มีชีวิตเช่นกัน

    และนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันสามารถโคลนนิ่งสิ่งมีชิวิตทุกสิ่งด้วยเซลล์เพียงไม่กี่เซลล์ให้เหมือนต้นฉบับ
    แม้ตัวต้นฉบับจะตายไปแล้วกี่ล้านปีก็ตาม
    หากสกัด DNA ได้ครบ เขาก็จะสามารถทำสำเนาขึ้นมาใหม่ได้
    (ไดโนเสาร์ เหล่ามัมมี่ อาจฟื้นคืนชีพได้ในสักวัน)

    DNA คือกรดอมิโนที่บรรจุข้อมูลแห่งชีวิต
    เซลล์ทุกเซลล์ล้วนมี DNA

    สิ่งที่มีชิวิต มีข้อมูล
    หากมีสภาวะที่เหมาะสม
    จะเติบโตได้ไหม


    โลกนี้จึงไม่เคยว่างจากหมู่สัตว์
     
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    แต่นิพพานตามความเข้าใจของคนสมัยนั้น<O:p</O:p
    คนละความหมายกับ นิพพาน ในความหมายของพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    เช่น ศาสนาพราหมณ์ หมายถึงการเข้าถึงหรือได้รับสิ่งที่น่าปรารถนาเหนือบุคคลธรรมดา มี ๕ ประการ คือ
    การได้ครอบครองกามคุณ ๕,การเข้าถึงปฐมฌาน,ทุติยฌาน,ตติยฌานและจตุตถฌาน
    ศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นนิพพาน<O:p</O:p
    (หาอ่านได้ในพรหมชาลสูตร ซึ่งกล่าวถึง ทิฏฐิ ๖๒ ประการ)

    (smile)<O:p</O:p
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย
    แต่ทรงสอนเน้นลงที่ ธรรมชาติของจิตของมนุษย์
    ที่เดิมประภัสสรผ่องใส แต่เศร้าหมองไปเพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจร

    เพราะจิตชอบแส่ออกไปหาอารมณ์(ธรรมทั้งปวง) ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต
    ทรงแจกแจงแสดงให้เห็นว่า ทุกข์(ที่เกิดที่จิต) คือ มูลแห่งธรรมทั้งปวง ( อ่านดูในมูลปริยายสูตร)
    อันมีรากเหง้ามาจากอวิชชาที่จิต คือ ความที่จิตไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตจึงมักแส่ออกไปรับอารมณ์ (ธรรมทั้งปวง) และแปรปรวนไปตามอารมณ์(ธรรมทั้งปวง)
    ทรงสอนให้ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ฝึกฝนจิตไม่ให้จิตแส่ออกไปรับอารมณ์
    ให้จิตสงบจากอุปกิเลสทั้งปวง

    เกิดวิชชาขึ้นที่จิต (อวิชชาไม่อาจครอบงำแล้ว)
    เพราะจิตรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ หนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์

    ขอเน้นย้ำว่า อวิชชา อันเป็นต้นกำเนิดแห่งทุกข์ ไม่ได้ลอยไปลอยมา แต่อยู่ที่จิต
    ดูวงปฏิจจสมุปบาทธรรม
    เพราะอวิชชา(ที่อยู่ที่จิต) เป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจจัยจึงเกิดวิญญาณ
    เพราะวิญญาณ ...ฯลฯ...จึงเกิดทุกข์(ขึ้นที่จิต)

    ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ( ปฏิบัติทางจิต)
    เพราะอวิชชา(ที่จิต)ดับ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ....ฯลฯ... ทุกข์จึงดับ(ไปจากจิต)

    ที่กล่าวว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย นั้น
    ถ้าจิตไม่ไปยึดถือ...ถึงสรรพสิ่งจะแปรปรวนอย่างไร
    จิตก็หาแปรปรวนตามสรรพสิ่งไม่ เพราะจิตไม่ทุกข์ไปตามการแปรปรวนนั้น

    (smile)
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    เคยมีคนกล่าวว่า ถ้ากล่าวเช่นนี้
    งั้นจับควายแช่น้ำ ควายก็นิพพานสิ...(ขออภัย อันนี้เป็นประโยคฮิตในห้องศาสนาอีกที่หนึ่ง)

    (smile)
     
  5. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    ถ้าควายตัวนั้นเผอิญจิต ณ ขณะนั้นรับรู้ความทุกข์จากไอแดด ความร้อน
    ความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน
    ริ้นไรที่คอยตอมกินเลือดจากตน

    ขณะที่ทรมานกายและใจด้วยทุกข์นั้น
    ทันใดนั้นได้รับรู้สภาพความเยือกเย็นจากน้ำคลอง
    ขับไล่ความรุ่มร้อนให้หมดสิ้น
    ปลักโคลนที่อยู่ใต้น้ำ
    นำมาเคลือบผิวกายให้พ้นจากความคันการกัดกินของริ้นไร

    จากความทุกข์ทรมานสู่ความเยือกเย็น
    ความพ้นทุกข์ในฉับพลัน
    เราควรจะเรียกมันว่าอะไรดี

    ควายนั้นควรค่าแก่การยกย่องในคุณความดีแก่ที่ทำแก่มนุษย์
    โดยเฉพาะคนไทย
    ความซื่อสัตย์ ความอดทน เป็นธรรมที่คู่ควรแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง
    มิใช่คนเท่านั้นที่ปฏิบัติธรรมได้

    ด้วยสรรพสิ่งล้วนมีจิตแห่งพุทธะ
    เพียงแต่เวลาเบ่งบานไม่เหมือนกัน

    โพธิสัตว์ย่อมไม่เกิดเล็กกว่านกกระจาบ และไม่โตไม่กว่าช้าง
    เมื่อมีโคนันทวิศาล
    ทำไมจะมีควายโพธิสัตว์ไม่ได้บ้าง

    คนสมัยก่อน
    การหุงข้าวด้วยขั้นตอนอันหลากหลาย
    ต้องเทน้ำข้าวก่อน แล้วหุงต่อจนเสร็จ
    ทุกกระบวนการ เราต้องใช้มือยกหม้อดินขึ้นลงจากเตา(หรือก้อนเส้า)หลายครั้ง
    จนเสร็จขั้นตอน
    เมื่อหุงข้าวจนเป็นตัว
    ต้องยกมาพักไว้
    เพื่อให้ข้าวเรียงตัวอีก

    เพราะเราเองต้องเป็นผู้คอยควบคุมอุณหภูมิ
    คนเราเป็นคนเข้าไปสัมผัสความร้อน ความเย็นที่เกิดขึ้น

    สมัยก่อนใช้ก้อนเส้า 3 ก้อนก่อขึ้นเป็นเตา
    เค้าจึงเปรียบกิเลสคนเราเหมือนไฟ 3 กอง

    หม้อดินคือกายนี้
    สิ่งที่อยู่ภายในหม้อดินคือใจ

    ไฟแห่งกิเลสที่คอยเผาไหม้อยู่ใต้หม้อ
    แต่สิ่งที่เดือดร้อนคือสิ่งที่อยู่ภายใน อันได้แก่จิตใจ
    หม้อหรือกายคือภาชนะเท่านั้น
    ตราบใดที่เราไม่รู้ว่าไฟแห่งโลกได้เผาผลาญเราอยู่
    สังสารวัฏก็จะดำเนินต่อไป
    เปรียบดุจคนที่ยังมีตัณหา และอุปาทาน มีอวิชชาคอยปกปิดความจริงไว้

    แต่เมื่อหุงข้าวเสร็จ ทิ้งไว้สักพัก ความร้อนก็จะค่อยๆ หายไป
    จนเย็นสนิท แม้ใช้มือเปล่าจับก็ไม่เป็นไร

    เปรียบดังคนที่ได้ปฏิบัติธรรม
    ได้พบกับความเย็นและความสุขที่แท้จริง
    จะเข้าใจว่าจิตที่ร้อน กับจิตที่เย็นต่างกันเช่นไร

    เพราะคนสมัยก่อนเคยชินกับคำว่าธรรมะ และคำว่านิพพาน
    ทุกคำเป็นสิ่งธรรมดา ที่ทุกคนเข้าใจได้ทั่วไป
    พอถึงช่วงชีวิตที่สมควรปฏิบติธรรม
    เค้าก็จะแสวงหาคุรุ ผู้ที่น่าเคารพ น่าเลื่อมใส
    เข้าไปถามไถ่ถึงความหมายของธรรมะ และหนทางบรรลุโมกษะ หรือ นิรวาณ
    คุรุผู้นั้นก็จะบอกความหมายตามความเข้าใจของตน

    หนทางบรรลุก็แสนง่าย
    ด้วยรู้ว่า
    ธรรมะนั้นล้วนมีอยู่รอบกาย
    แม้ใบไม้ร่วงหล่น ผมหงอกแซม ผ้าเปื้อนธุลี ก็บรรลุธรรม

    แต่ในปัจจุบัน
    ธรรมะเป็นของสูงส่ง
    นิพพานเป็นของไกลเกินเอื้อม
    ต้องบากบั้น ต้องค้นหา ณ ที่แสนไกล
    ปฏิบัติต่างกับตนก็ไม่ใช่พวกเรา
    รู้ไม่เหมือนกับตนก็ไม่ใช่

    คำพูดที่กล่าวถึงหม้อดิน
    เป็นครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งที่ผมนับถือกล่าวไว้
    เพียงแต่ผมไม่รู้ว่าท่านจะอธิบายความหมายไว้เช่นใด
    เป็นความอาจเอื้อมของผมเอง หากอธิบายผิด

    แต่หากว่าผมเป็นควาย
    ภูมิธรรมไม่สูงส่ง ไม่ถูกต้อง
    ผมขอยอมรับครับว่าเป็น ครูบาอาจารย์ท่านก็ด่าบ่อยๆเช่นกัน

    ด้วยความจริงใจ
    ด้วยความยินดียิ่ง ผมรู้สึกดีดีนะที่มีผู้ตักเตือน
    ขอขอบพระคุณครับในการตักเตือนในครั้งนี้
    เพราะผู้ที่ตักเตือนเราคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
    ว่าถึงเวลาให้เราต้องดูใจแห่งตน เป็นผู้รู้แห่งจิตตนเท่านั้น
    ว่าใจเราจะหวั่นไหว
    จะอ่อนน้อม หรือแข็งกร้าว

    เมื่อสิ่งใดปรากฏขึ้น ที่เป็นเพียงของจร ไม่เป็นสิ่งสมควรแห่งใจ
    จงเป็นผู้ดูเท่านั้น จนมันจบสิ้นไป

    รอจนกว่าความจริงจะปรากฏ
    และเมื่อถึงเวลา
    ความจริงจะเผยโฉมมันออกมาเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2009
  6. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  7. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    พึ่งจะรู้ว่า นิพพาน คือ ความรู้สึกจากร้อนไปเย็น....

    ยังงี้ช่วงเที่ยงๆ ก็ไปยืนตากแดด พออยากจะเข้านิพพานก็เดินเข้าไปหลบในที่ร่ม เป็นอันว่าเข้าถึงนิพพานกันทุกคนใช่มั่ยครับ ?? อืมม ง่ายดี ยังงี้ ศีล,สมาธิ,ปัญญา การเจริญวิปัสสนา ฯลฯ ก็คงไม่จำเป็นด้วยสินะครับ


    อะไรแปลกๆ ก็เกิดขึ้นได้ เสมอ หุๆๆ
     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขอชื่นชมในความพยายามที่แก้ต่างแทนควาย 55+ขออภัย
    แถมคิดว่า ทำไมจะมีควายโพธิสัตว์ไม่ได้บ้าง
    ก็น่าจะได้นะ ถ้าควายนั่งสมาธิเป็น >_<

    (smile)
     
  9. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้นคุณมีตัวรู้อยู่กับจิตแห่งตนหรือไม่
    ตัวรู้ไม่ได้เกิดจากความคิดว่าร้อน คิดว่าเย็น
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดมาจากความคิด
    มันออกมาจากใจเท่านั้น
    ตัวรู้มันจะบอกคุณเองว่า นี่คือความร้อน นี่คือความเย็น
    ความร้อนมีผลแก่จิตเช่นใด
    ความเย็นมีผลเช่นใด

    ยามตากแดด
    ร้อนคือรูป ทุกข์คือเวทนา จิตหวั่นไหว กระสับกระส่าย คือจิต
    ความไม่รู้ว่าร้อนคือธรรมชาติ(โมหะ) ความทุกข์ทรมานอยากดิ้นรนให้พ้นไป(โทสะ) คือธรรม

    ยามอยู่ในที่ร่มเงา
    เย็นคือรูป สุขคือเวทนา จิตสงบลง กระสับกระส่ายน้อยลง คือจิต
    ความไม่รู้ว่าเย็นก็คือธรรมชาติเช่นกัน(โมหะ) ความสุขในการพ้นความร้อนพบความเย็น(ราคะ)คือธรรม

    แต่ถ้าเมื่อไหร่
    คุณรู้ว่า

    สักแต่ว่าเห็น ว่าสัมผัสฯลฯคือรูป วางเฉยคือเวทนา ว่างปรากฏไว้แต่ผู้ดูคือจิต
    ความรู้ว่าร้อนและเป็นเพียงสภาวะธรรมชาติ(ปัญญา) ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น จึงวางเฉย ไม่สนใจ(อุเบกขา)คือธรรม

    ศีลยังให้สมาธิตั้งมั่น สมาธิเป็นฐานให้ปัญญารุ่งเรือง
    แต่สติ ยังให้ ศีล สมาธิ และ ปัญญา สมบูรณ์
     
  10. solitary&lonely

    solitary&lonely สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +5
    ถ้าคุณพูดเช่นนี้ก็แบบว่าให้เดาสภาพนั้นนะเป็นเมือง
    เป็นดินแดนที่ใครเป็นจ้าของไม่ทราบ
    แต่ว่าครัยปล่อยวางได้ก็จะได้ไปอยู่ที่นั้น(มั้ง)
    ถ้าใครปล่อยวางไม่ได้ก็จะไปที่มีแต่สิ่งที่ปล่อยวางไม่ได้
    การไปนิพพานนั้นไม่ควรอยากไปหรือไม่อยากไปเพราะอะไร
    เราควรวางเป็นกลางไม่มีความอยากและมีความไม่อยาก
    ทำอะไรกลางๆอย่าไปยึดว่าต้องได้ไป
    อยากไปยึดดว่าฉันไม่อยากไป
    กลางนั้นดีแท้ถึงจะว่าดีเราก็ไม่ควรไปบังคับง่าดีหรือไปบัคับว่ามันไม่ดี
    กลางก็อย่าไปยึดว่ากลาง
    ปล่อยวางเราก็อย่าไปนึกว่าปล่อยวางหรือไม่ปล่อยวาง
    สรุปเอาเองมันอยู่ที่ตัวของเรา

    ปล.บทความนี้ไม่ได้นำมาจากที่ไหนผมคิดเองมะกี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2009
  11. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    คุณ ธรรมะสวนัง ครับ
    สมาธิคืออะไรครับ
    สมาธิคือความตั้งมั่นของใจ
    ขณิกสมาธิ หรือ สมาธิแค่ชั่วครู่ชั่วยาม ไม่ใช่สมาธิหรือครับ

    การที่คุณสามารถ
    ทำทุกสิ่งได้เสร็จสิ้นตามที่ต้องการ
    เคยตั้งใจตอนอ่านหนังสือไหมครับ
    เคยตั้งใจตอนทำงานไหมครับ
    นั่นไม่ได้แสดงว่าคุณมีสมาธิอยู่กับตัวแล้วหรือครับ

    ธรรมทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์
    ล้วนอยู่ในใจคุณอยู่แล้ว
    ธรรมะที่จะทำให้คุณถึงซึ่งพระนิพพาน สำเร็จเป็นพระอรหันตเจ้า
    แม้กระทั่งคุณจะปรารถนาเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลข้างหน้า
    ธรรมทั้งหลาย บารมี 10 โพธิปักขิยธรรม ก็ล้วนอยู่ในใจคุณอยู่แล้ว
    และก็ล้วนอยู่ในใจทุกทุกคน ทุกทุกดวงจิต

    หน้าที่ของเราคือเข้าไปค้นหาธรรมทั้งหลายที่เรามีอยู่แล้ว
    มาพัฒนาขึ้น
    เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่ตน

    คุณมักกล่าวถึงควาย
    ซึ่งเป็นเพียงรูปกายภายนอก เป็นเพียงมายา
    แต่จิตภายใจหาใช่ไม่

    แม้คนเองก็ตาม กายภายนอกอาจเป็นคน
    แต่ภายในอาจไม่ใช่คนก็ได้

    อย่ากล่าวสิ่งใดแม้เพียงรูปกายภายนอก
    อันมีเพียงหนังหุ้มอยู่เท่านั้น

    จงกล่าวถึงแต่จิต อันเป็นตัวกำเนิดกรรม กำเนิดภพ กำเนิดชาติ
    กำเนิดวัฏสงสาร

    ธรรมทั้งหลายไม่มีสัตว์ บุรุษ บุคคล เรา เขา
    ไม่มีควายมาตั้งแต่ต้น
    มีแต่จิตของคุณที่อยากจะทดสอบอะไรบางอย่างเท่านั้น

    ความผิดความถูกทั้งหลาย หาได้อยู่ที่ผมจะเขียนสิ่งใด
    ถูกต้อง ชอบใจคุณหรือไม่

    หากอยู่ในใจคุณเท่านั้นที่จะชี้ถูกชี้ผิด ชอบใจหรือไม่ชอบใจ

    สมาธิเองก็ไม่ใช่นิพพาน
    สมาธิคือความตั้งมั่น
    นิพพานคือ ความหลุดพ้น ความเป็นอิสระจากสิ่งร้อยรัดทั้งปวง
     
  12. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    คุณคิดได้ดีแล้วครับ ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นทางสายกลาง
    ไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่น
    ความคิดก่อให้เกิดการสร้างสรร
    ก่อให้เกิดการค้นหา ก่อให้เกิดความเพียร
    ความคิดของคุณไม่ได้ผิด ไม่ได้ถูก

    แต่คุณพร้อมที่จะพิสูจน์ความคิดของคุณหรือไม่

    คุณตั้งสมมติฐานของคุณเองขึ้นมาแล้ว
    ว่านิพพานเป็นเช่นใด
    ต่อไปคุณจะเตรียมการทดลองเช่นใด
    ต้องใช้วิธีการอย่างไร มีอุปกรณ์ใดบ้าง
    และคุณพร้อมจะไปนิพพานหรือยัง

    หากคุณเคยอกหักจากความรักมาบ้าง
    ทุกข์จากคนอื่นที่ไม่เข้าใจคุณ

    คุณวางความคิดต่างๆที่วุ่นวาย เป็นโทษได้อย่างไรครับ
    คุณหยุดความทุกข์ที่เกิดกับตัวคุณได้อย่างไร
    ใช้เวลานานหรือเปล่า

    มองเข้าไปในใจตน มองให้เห็นด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยตา
    รู้ด้วยใจ ไม่ใช่ความคิด
    นั่นล่ะครับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ของแท้

    คำถามครับ
    คุณเกิดมาทำไมครับ
    คุณมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรครับ
    ตายแล้วคุณจะไปไหนครับ
     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สมาธิที่พระพุทธองค์ทรงสอนสั่ง ประกอบด้วย
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ...เป็นสมาธิ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ...เป็นศีล
    สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ...เป็นปัญญา

    นี่คือ ธรรมที่ทรงสอนให้สาวกปฏิบัติตามเสด็จ
    ก็คือ อริยมรรค ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
    ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการปฏิบัติทางจิต
    เริ่มต้นโดย...นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
    หายใจเข้าสั้น..ยาว..ออกสั้น...ยาว...ก็รู้

    เคยตั้งใจตอนอ่านหนังสือไหมครับ
    เคยตั้งใจตอนทำงานไหมครับ
    นั่นไม่ได้แสดงว่าคุณมีสมาธิอยู่กับตัวแล้วหรือครับ

    อันนี้ คือ ความตั้งใจในการทำการงาน ไม่ใช่สมาธิ (สัมมาสมาธิ)ในความหมายของพระองค์
    เพราะจิตไม่ได้รับการอบรม จิตไม่มีพลังในการปล่อยวางอารมณ์ต่างๆออกไปได้

    ถ้าคิดว่า การตั้งใจอ่านหนังสือ การตั้งใจทำงาน เป็นสมาธิ
    งั้น คนที่ตั้งใจกินเหล้า ก็มีสมาธิสินะ ???
    พวกมิจฉาชีพ ก็มีสมาธิสินะ ตอนกำลังตั้งอกตั้งใจงัดบ้านเข้าไปขโมยของ ???


    (smile)
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    เรา คือ ใคร ???
    ตน คือ ใคร ???

    (smile)
     
  15. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
    บุคคลมีตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่บุคคลอื่นได้โดยยาก
    ( ธรรมบท )

    ต้องฝึกตนโดยการอบรมจิต เพื่อให้ ตนคือจิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส

    ปริโยท เปยฺย อตฺตานํ จิตฺตกิเลเสหิ ปณฺฑิโต
    บัณฑิตพึงชำระตน คือจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส
    ( ธรรมบท )

    โดยการปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘
    เมื่อจิตตั้งมั่นชอบเป็นสมาธิแล้ว ย่อมเกิดปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริง(รู้ด้วยตนเอง)
    คือ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังพุทธพจน์ที่มีมาว่า

    สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ตน(คือจิต)ย่อมเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง
    ตนรู้ด้วยตนเอง คือ จิตรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนี้คือ

    ตนรู้ว่า การที่ตน(คือจิต) หลงผิดยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน ทำให้ตน(คือจิต)เกิดทุกข์ขึ้น ( ทุกข์ )<O:p</O:p
    ตนรู้ว่า การที่ตน(คือจิต) หลงผิดยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน ที่ตน(คือจิต)จะไม่ทุกข์เป็นไม่มี ( สมุทัย เหตุแห่งทุกข์)<O:p</O:p

    ตนรู้ว่า เมื่อตน(คือจิต) ปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน ทุกข์ดับไปจากจิต (ตนไม่ทุกข์) (นิโรธ )<O:p</O:p
    ตนรู้ว่า การปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘ ทำให้ทุกข์ดับไปจากจิต (ตนไม่ทุกข์)( มรรค )


    (smile)

     
  16. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สรุป
    สมาธิในพระพุทธศาสนา เกิดได้จากการปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น
    เมื่อจิตตั้งมั่นชอบเป็นสมาธิ จะเกิดปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่มากระทบจิตออกไปได้

    การตั้งใจทำงาน ที่มักเรียกกันว่า มีสมาธิ จึงเป็นเรื่องของการใช้ภาษา...
    แต่ไม่หมายถึง สมาธิ ในความหมายของพระพุทธองค์แน่นอน

    (smile)
     
  17. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อย่ากังวลในการเขียนถึง ใจ กับ จิต มากเกินไป 55+ขออภัย

    มนุษย์ ประกอบไปด้วยธาตุ ๖ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ( จิต)
    เพราะมีจิตครอง มนุษย์จึงรู้อะไรได้
    (ต่างกับก้อนหินดินทราย ประกอบด้วยธาตุ ๔ ไม่มีจิตครอง จึงรู้อะไรไม่ได้)

    ร่างกายมนุษย์ มีอายตนะภายใน ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ )
    ดังที่กล่าวเพราะมีจิตมาถือครองในกาย เมื่อกล่าวถึง ใจ ก็มักเรียก จิตใจ

    (smile)
     
  18. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    55+ขออภัย
    ถ้าไม่มีสัตว์ บุรุษ บุคคล เรา เขา ไม่มีควายมาตั้งแต่ต้น
    แล้วจะไปทดสอบอะไรกับสิ่งที่กล่าวว่าไม่มีมาแต่ต้นเล่า ???
    เมื่อต้นไม่มี กลางจะมีได้อย่างไร และท้ายก็ต้องไม่ปรากฏ........

    ที่เป็นทุกข์เดือดร้อน ต้องเข้ามาอ่านกระทู้ที่ตอบไว้
    ต้องคิด word หาคำมาตอบโต้...
    ที่ทำอยู่นี่ จะว่า ไม่มีมาตั้งแต่ต้นได้อย่างไร ??? โปรดพิจารณา

    คัททูลสูตรที่ ๒
    สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง
    สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว

    เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า
    จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน

    มหาสติปัฏฐานสูตร
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔


    (smile) สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ก็คือ จิตที่ติดข้องในอารมณ์...
     
  19. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ธรรมะของพระพุทธองค์ ต้องลงมือปฏิบัติ(ทางจิต)เท่านั้น
    ต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘ หรือสติปัฏฐาน

    ไม่ใช่อ่านเอา แล้วเข้าใจได้ หลุดพ้นได้ หรือชี้ผิดชี้ถูกได้
    ปฏิบัติแล้วต้องเทียบเคียงกับพระสูตร ลงกับพระวินัยได้...

    ถ้าไม่ปฏิบัติสมาธิ(สัมมาสมาธิ) ก็คงไม่อาจถึงพระนิพพาน
    สมาธิ คือ จิตตั้งมั่นชอบ ตั้งมั่นโดยลำพังตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์

    ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นชอบ จะหลุดพ้นจากสิ่งร้อยรัด(อารมณ์)ทั้งปวงได้อย่างไร??? โปรดพิจารณา

    (smile)
     
  20. ZeusInw

    ZeusInw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +333
    ปัญหาโลกแตก ซึ่ง ก็ยังไม่เคยไป

    นิพพานคือสูญ แต่ก็ไม่สูญ


    อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...