เพ่งภาพพระพุทธรูป เป็น กสิณอะไรครับ เพ่งนานๆสายตาจะเสียมั้ย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย alale, 14 มิถุนายน 2014.

  1. alale

    alale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +131
    คือ เกริ่นก่อน ผมเปิดดูภาพสามมิติเล่นๆแบบทำตาเบลอๆแล้วมันจะเห็นนั่นแหละครับ แล้วดูไปดูมารู้สึกว่าทำไมภาพมันสวยจังเลย ดูมันสดใสมีมิติอย่างบอกไม่ถูก (น่าจะมาจากสีสันการตกแต่งของรูปนั้น) ก็เลยนึกขึ้นได้ อย่างนั้นทำไมไม่ลองเพ่งรูปพระพุทธรูปดู ก็ไปหา ภาพ3มิติ ที่เป็นรูปพระพุทธเจ้ามาลองเพ่งดู รู้สึกว่าจิตมันชอบครับ ดูได้นานๆ เพ่งอย่างอื่น ลูกแก้วไฟอะไรพวกนี้ แป๊บเดียวก็เบื่อแล้ว พอเพ่งไปนานๆตามันก็หลับลงเอง แต่ภาพไม่ได้ติดตามานะครับ ก็มืดๆนั่นแหละ แต่ประเด็นมันเข้าสมาธิและทรงอยู่ได้นานมากกว่า นั่งแบบปกติเยอะ เลยอยากรู้ว่าทำถูกวิธีมั้ยครับ แล้วจะเป็นอันตรายต่อสายตามั้ย เพราะมันต้องทำตาเบลอๆแต่ตอนเพ่งไม่ได้รู้สึกอะไรเลยนะครับ รู้สึกว่าชอบอย่างเดียวจริงๆ คงถูกจริต แล้วผมก็ไม่ได้สนใจเรื่องเพ่งกสิณแล้วจะได้โน่นได้นี่อะไรด้วย แค่เป็นฐานให้ผมทรงสมาธิแล้วเดินปัญญาต่อไปได้ผมก็พอใจแล้วครับ

    ขอขอบคุณเจ้าของภาพนี้จากในเน็ตด้วยครับ
    ขอบคุณมากๆครับผม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 170765mo.jpg
      170765mo.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      2,811
  2. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ยังไม่มีท่านสมาชิกผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญประจำห้องอภิญญา xp เข้ามาเสนอข้อคิดเห็นให้กับเจ้าของกระทู้เลยนะครับ ถ้าอย่างนั้น ผมขออนุญาตเจ้าของกระทู้ เข้ามาคุยเป็นการคั่นเวลาไปพลางก่อน

    เจ้าของกระทู้เล่ามาว่าพอเพ่งภาพพระพุทธรูปแล้ว จากนั้นก็หลับตา แต่ภาพไม่ได้ติดตามา พอหลับตาแล้ว ก็มืดๆ แต่สามารถเข้าสมาธิได้และทรงอยู่ได้นานมาก ตรงนี้มีข้อสังเกตสักเล็กน้อยนะครับ

    ปกติการทำสมาธิ จะต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวให้จิตไปจรดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นๆ เรียกว่าเป็นอารมณ์ของสมาธิ โดยที่จิตจะไม่สอดส่ายไปหาสิ่งอื่นๆหรืออารมณ์อื่นๆ เมื่อจิตจรดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียวดังกล่าวมาแล้ว จึงจะเกิดความเป็นสมาธิของจิตขึ้นมาได้

    ทีนี้คุณเจ้าของกระทู้บอกว่าหลับตาลงแล้วก็มืดๆ ไม่ได้เห็นภาพอะไร แสดงว่าไม่ได้จับภาพพระเป็นอารมณ์ แต่ยังทำสมาธิต่อไปได้ ไม่ทราบว่าคุณเจ้าของกระทู้ปฏิบัติสมาธิด้วยกรรมฐานกองไหนและใช้สิ่งใดเป็นอารมณ์ ? ตรงนี้ถ้าระบุรายละเอียดมาด้วย ก็จะทำให้คุยกันได้สะดวกมากขึ้นนะครับ

    แต่ก็ไม่เป็นไร เรื่องนี้พักไว้ก่อน มากล่าวกันถึงเรื่องที่คุณเจ้าของกระทู้มีคำถามกันดีกว่า

    1.การเพ่งพระพุทธรูป เป็นกสิณอะไร? ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงเรื่องพื้นฐานของกสิณกันก่อนนะครับ ปกติตามหลักวิชาแล้ว การฝึกกสิณ ในกรรมฐาน 40 กอง ที่พระพุทธเจ้าได้แนะนำไว้ ในหมวดกสิณ จะแบ่งเป็น กสิณ 10 อย่าง ได้แก่ กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ กสิณสีแดง กสิณสีเขียว กสิณสีเหลือง กสิณสีขาว กสิณอากาศ และกสิณแสงสว่าง

    ทีนี้ถ้าจะกล่าวว่าการเพ่งพระพุทธรูปนั้นเป็นกสิณอะไร ก็ต้องมาพิจารณาว่าคุณเจ้าของกระทู้ นำพระพุทธรูปสีใดมาเพ่ง ถ้าเป็นพระพุทธรูปสีเหลืองก็เป็นกสิณสีเหลือง ถ้าเป็นพระพุทธรูปสีขาว ก็เป็นกสิณสีขาว ถ้าเป็นพระพุทธรูปสีเขียว ก็เป็นกสิณสีเขียวครับ ตรงนี้ แล้วแต่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปแบบใดก็เป็นกสิณสีนั้นๆ ไป

    2.การเพ่งกสิณ จัดเป็นกรรมฐานกลางๆ ใช้ปฏิบัติกันทั้งในการฝึกในหมวดสุกขวิปัสสโก เตวิชโชและฉฬภิญโญ เพียงแต่แบ่งรายละเอียดในการฝึกที่ต่างๆกันไป ดังนี้

    2.1 การฝึกในหมวดสุกขวิปัสสโก จะใช้การเพ่งกสิณเป็นอุบายให้เกิดเป็นความสงบของจิต เพื่อให้จิตเกิดสมาธิ และนำกำลังของจิตที่เป็นสมาธินั้น ไปฝึกอบรมจิตทางด้านสติเพื่อให้เกิดปัญญาต่อไป

    2.2 การฝึกในหมวดของเตวิชโชและฉฬภิญโญ จะใช้การเพ่งกสิณเป็นอุบายให้เกิดเป็นความสงบของจิต เพื่อให้จิตเกิดสมาธิ ในระดับฌาน เพื่อพัฒนาจิตนั้นให้เกิดกำลัง และนำกำลังของจิตที่เกิดมีขึ้นนั้น ไปฝึกอบรมให้เกิดเป็นวิชาพิเศษ อันได้แก่ทิพยจักขุญาณ ในหมวดของเตวิชโช หรือวิชาทางอิทธิวิธีและญาณต่างๆ ในหมวดของฉฬภิญโญ หลังจากที่ฝึกวิชาพิเศษต่างๆ เหล่านี้แล้ว ก็จะนำเอากำลังใจที่เกิดขึ้น ไปฝึกอบรมจิตทางด้านสติเพื่อให้เกิดปัญญาต่อไป

    จะเห็นว่า ไม่ว่าทั้งการฝึกในหมวดของสุกขวิปัสสโกหรือเตวิชโชหรือฉฬภิญโญ ตอนท้ายที่สุด ก็จะต้องมาฝึกทางด้านสติ เพื่อให้เกิดปัญญาเหมือนกันทั้งหมด อันนี้เป็นข้อสังเกตที่สำคัญนะครับ

    3.การปฏิบัติ หากจะทำให้ถูกวิธี ควรปรับเปลี่ยนวิธีการเล็กน้อยครับ คือเมื่อเพ่งภาพพระพุทธรูปแล้ว ควรจะต้องพยายามจดจำลักษณะของพระพุทธรูปนั้นไว้ให้ได้ พอหลับตาลงแล้ว ให้พยายามนึกภาพพระพุทธรูปนั้น ให้ปรากฏขึ้นมาในใจ หากตอนแรกหลับตาลงแล้ว นึกภาพไม่ออก มันมืดไปหมด ก็ไม่เป็นไร ให้ลืมตามองภาพพระพุทธรูปใหม่ พอจำลักษณะของพระพุทธรูปได้แล้ว ก็ให้หลับตาลง แล้วพยายามนึกภาพพระพุทธรูปให้ปรากฏขึ้นในใจ ทำซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งจิตมีความเคยชิน สามารถบังคับให้เกิดเป็นภาพพระพุทธรูปปรากฏชัดเจนขึ้นในใจเหมือนกับตาเห็น อย่างนี้ถือว่าใช้ได้ แสดงว่าจิตเกิดเป็นสมาธิในระดับดีแล้ว

    แบบนี้เรียกว่า การอาศัยภาพพระพุทธรูปเป็นอารมณ์ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้จิตมาจรดจ่อ ไม่สอดส่ายไปหาอารมณ์อื่นๆ และทำให้เกิดเป็นสมาธิขึ้นในที่สุด

    เมื่อกำหนดภาพพระพุทธรูปในใจได้ชัดเจนแล้ว ถือว่าจิตมีความเป็นสมาธิแล้ว ต่อไปจะนำเอากำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น ไปใช้ทำอะไรต่อไป เช่นจะนำเอาไปใช้ในการฝึกสติเพื่อให้เกิดปัญญา หรือจะเอาไปใช้ในการฝึกวิชาพิเศษต่างๆ ก็ขึ้นกับเจ้าของกระทู้จะพิจารณาเลือกเอาตามใจชอบได้ต่อไปครับ

    4.สำหรับที่สงสัยว่า จะเป็นอันตรายต่อสายตาหรือไม่ ก็อาจจะมีผลกระทบบ้าง ตรงที่ต้องทำตาเบลอๆ นี่ล่ะครับ การฝึกเพ่งภาพพระพุทธรูป ต้องใช้สายตามาก เพราะต้องเพ่งกันหลายครั้ง เสนอว่าครั้งต่อไป หาภาพพระพุทธรูปแบบธรรมดา ที่ไม่ใช่เป็นแบบภาพ 3 มิติ มาเพ่งจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องทำตาเบลอๆ ให้มองภาพอย่างตาปกติธรรมดา จะดีกว่า สายตาจะได้ไม่ล้ามากเกินไป จนทำให้สายตามีปัญหาในที่สุดนะครับ

    ทั้งหมดนี้ ก็เป็นการอธิบายในประเด็นของกระทู้นะครับ ผมคนความรู้น้อย ด้อยปัญญา ก็ขอเข้ามาคุยกับเจ้าของกระทู้เป็นการคั่นเวลาไปก่อน เพื่อรอท่านสมาชิกผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญประจำห้องอภิญญา xp ที่จะได้เข้ามาให้ความเห็นกับกระทู้ต่อไปนะครับ
     
  3. alale

    alale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +131
    ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณมากๆครับผม

    จากที่อ่านมาแล้ว ผมคิดว่าผมเข้าใจผิดในเรื่องกสิณมากกว่า คิดว่าเพ่งแล้ว คือการฝึกกสิณ แต่ตอนนี้ ผมประเมิณ ตัวเอง แล้ว ผมเพ่งรูปพระ โดยไม่ละสายตา ได้นานๆ โดยไม่มีความอยาก หรือจะพยายาม จำภาพพระ ซึ่งผมไม่ได้ฝึกกสิณอยู่ แต่ผม เอาภาพพระเป็นอารมณ์กรรมฐานต่างหาก เมื่อจิตสงบจึงหลับตาลงเอง แล้วจึงทรงอยู่ในสมาธิ อุปมาเหมือน ท่องพุทธโธ แล้วพุทธโธหายนั่นเอง ส่วนเรื่องเพ่งรูปพระธรรมดา ลองดูแล้ว จิตมันไม่เอาครับ จ้องไม่กี่วินาที ก็เบลอ ต้องตั้งใจมาเพ่งอีกถึงจะชัด เป็นอย่างนี้ ตลอด ทุกครั้งที่เพ่งใหม่ จิตก็ส่าย ไม่สงบสักที ไม่เหมือนมองภาพ3มิติ เมื่อมององค์พระชัดแล้ว ก็จะชัดค้างอยู่อย่างนั้น มีเบลอบ้าง นานๆครั้ง แต่ก็กลับมาชัดเองโดยเป็น ธรรมชาติ ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าเพราะอะไร

    ขอบคุณอีกครั้งครับผม
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    เด่วขออนุญาตช่วยเสริมแล้วกันครับ..เอารูปที่คุณเอามาลงก่อนนะครับ..
    พวกรูปคล้ายๆสามมิติ มีมิติในตัว บางรูปก็เคลื่อนไหวได้นั้น.เป็นรูปภาพ
    ที่เค้าใช้ดูกระตุ้นในส่วนการรับรู้พวกคลื่นความถี่ต่างๆ.เป็นการไปกระตุ้น
    ในส่วนของจักระ คือถ้าเรามองภาพพวกนี้แล้วจักระบริเวณระหว่างคิ้ว
    มันจะทำงาน.และให้คุณลองสังเกตุดูดีๆว่าพอคุณมองไปนานๆแล้ว
    จักระตรงท้องคุณมันจะรู้สึกร้อนๆร่วมด้วย.ตรงนี้เป็นจุดที่เค้าจะใช้
    ในกรณีที่ต้องการทำสมาธิครับ..คุณจึงรู้สึกว่าเราทำสมาธิได้ดีขึ้น..
    ส่วนการมองภาพพระนั้น..ส่วนตัวเรียกว่ากสิณพระครับ.สามารถฝึกได้
    ทั้งหลับตาและลืมตา...แต่ก่อนจะไปฝึกแบบลืมตาเราควรจะต้องสะสม
    กำลังสมาธิมาในระดับหนึ่งพอสมควรก่อนครับ.เราถึงจะลืมตามองได้
    โดยไม่ต้องกระพริบตา..ส่วนการหลับตาฝึกหลักการคล้ายๆในตำรา
    ลองอ่านเรื่องวิธีการฝึกกสิณ ในห้องอภิญญาสมาธิดูได้..แต่ไม่ว่าจะฝึก
    หลับตาหรือลืมตา..ข้อดีอีกอย่างก็คือ จิตเราจะเกาะกับพระตลอด.
    ส่งผลให้เราระลึกอยุ่ในความดีได้ในช่วงที่เราระลึกถึง.
    แต่ภาพเกี่ยวกับสามมิติโดยรวมมันจะฝึกง่ายกว่า..แต่พอในระดับหนึ่ง
    ที่จิตเราสัมผัสกับเรื่องคลื่นพลังงานได้ดี ..หากกำลังสติและสมาธิไม่มาก
    พอมันจะอันตรายมากครับ เพราะอาจจะโดนควบคุมจากพลังงานภายนอก
    ที่กำลังจิตสุงกว่าได้..ถ้าโดนควบคุมโอกาสกลับตัวค่อนข้างยากครับ..
    เพราะฉนั้นหากชอบแนวคลื่นจริงๆ ควรฝึกเจริญสติและสมาธิควบคู่กันไปด้วยครับ
     
  5. alale

    alale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +131
    ขอบคุณมากๆครับผม ก็เป็นอย่างที่บอกครับ ตรงระหว่างคิ้ว มันจะเหมือนมีอะไรมากระตุ้นจริงๆ แล้ว ก็ ปกติผมจะมีอาการเนื่อเต้นในปากอยู่บอ่ยๆมันเกิดขึ้นเอง เวลาว่าง ในชีวิตประจำวันก็นั่งดูอาการนี้ไป เหมือนทำสมาธิ บางที มันก็วิ่งไปตรงโน้น ตรงนี้ ทั้งหัวเลย ส่วนเรื่องฝึกไปนานๆแล้ว กำลังเราไม่พอ จะอันตราย แล้วผมจะรู้ได้ยังไงว่าพอไม่พอครับ ผมก็เริ่มปฎิบัติมา7-8ปีแล้ว เน้น ดูเวทนา กับดูจิตเป็นหลัก 3ปีหลังนี่ นั่งสมาธิก่อนนอนทุกคืน ไม่เคยขาดสักวัน แต่ว่า ไม่ได้กำหนดเวลา ถึงเวลาก็นั่ง พอถึงเวลามันก็จะถอนออกมาเอง เวลาปฏิบัติ ก็ขออำนาจ พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ ให้ช่วยมาสั่งสอน คุ้มครองครับ ขอบคุณครับผม
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    อืมๆ คืองี้ครับ..ในส่วนการปฏิบัติสำหรับเรื่องสมาธิดูแล้ว
    คงไม่มีปัญญาอะไรครับ..
    แต่ที่ได้เตือนๆประเด็นปัญหามันจะเริ่มเกิดเมื่อเราฝึกสมาธิมาระดับหนึ่ง
    แล้วเริ่มสัมผัสกับพวกคลื่นพลังงานภายนอกครับ..วิธีตรวจสอบง่ายๆก็คือ
    เวลาไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆเรามีอาการตึงๆศรีษะหรือไม่ มีอาการ
    เวียนศรีษะหรือไม่ หรือมีอาการ
    ตัวเซหรือไม่..หรือว่ามีอาการควบคุมอวัยะร่างกายบางส่วน
    เช่น มือ หรือ แขน ไม่ได้หรือไม่ หรือไปสถานที่ต่างๆเหล่านี้มาแล้ว
    มีอาการตึงๆผิวเป็นบางส่วนคงค้างอยู่หรือไม่คือมันออกร้อน
    แต่ว่าไม่ค่อยแสบ.. ส่วนพวกอาการที่คล้ายเนื้อเต้นๆ

    ดันๆ.หรือที่ดันๆจากภายในร่างกายออกมาตามส่วนต่างๆของร่างกาย
    เนี่ยถือว่าเป็นปกติครับ..ที่คุณเข้าใจว่ามันวิ่งๆไปทั่วร่างกายนั้นหละครับ
    ถือว่าไม่มีอะไร..แต่จะว่าไปคือ.คุณดันมีจริตไปทางที่จะสัมผัสกับพวก
    พลังงานภายนอกได้ด้วยนี่หละครับ คุณถึงรู้สึกว่าสัมผัสกับพวกภาพต่างๆ
    เหล่านี้ที่กระตุ้นความรู้สึกต่างๆได้ดีกว่า และก็รู้สึกว่าทำสมาธิได้ดีกว่า..
    การแก้ปัญหาไม่ยากครับ ถ้าหากเป็นนะครับ..ควรเปลี่ยนมาสร้างจิต
    ให้มีกำลังจิต.จากกรรมฐานอะไรก็ได้ครับ..ที่ให้จิตสร้างภาพขึ้นมาแล้ว
    สามารถบังคับภาพให้ขยาย หรือ เคลื่อนไหวให้ได้..ก็จะปลอดภัยเพียงพอ
    สำหรับการไปรับรู้พวกพลังงานภายนอกต่างๆได้ครับ..

    ส่วนการดูจิตหรือเวทนา ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ..แต่สัมผัสคุณมันเลยกรรมฐาน
    ทั้ง ๒ กองนี้ไปแล้วครับ..เนื่องจาก ๒ กองจะได้กำลังสมาธิสะสมกับกำลัง
    สติทางธรรมระดับหนึ่ง..และก็พอจะมีปัญญาทางธรรมแล้ว..แต่เนื่องด้วยพัฒนา
    การของเราที่มันก้าวข้ามมาเราจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ
    เพื่อที่จะได้ไม่ส่งผลต่อร่างกายตัวเอง.และการต่อยอดการปฏิบัติของตนเองครับ..
    ของคุณ สร้างจิตให้มีกำลังจิตอย่างเดียวตอนนี้ อย่างอื่นๆไม่ค่อยมีอะไรน่าห่วงครับ
    เอาไว้หากสัมผัสพลังงานได้ดีกว่านี้ไว้มีปัญหาก็ลองมาถามต่อก็ไม่มีปัญหาอะไร
    เพราะทุกวิธีมันก็มีแนวทางการฝึกไปพร้อมกับการอยุ่ร่วมกับสภาพสังคมและ
    เดินทางตามถนนสายหลักและเป้าหมายปลายทางเดียวกันทั้งนั้นครับ
     
  7. alale

    alale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +131
    ขอบคุณอีกครั้งครับ
    อาการต่างๆที่ว่ามา คิดว่าไม่มีนะครับ เคยนั่งสมาธิเล่นๆ ตอน มัธยมปลาย แล้ว มันออกแนวเหมือน จะรำ คือประมาณ เหมือนคนทรงประมาณนั้น ซึ่งผม ไม่ชอบแนวนั้น แต่นั่งกี่ครั้ง ก็เป็นอย่างนั้น สรุป ก็เลยหยุดนั่งไป แต่ กลับมาเริ่มนั่งสมาธิอีกที ตอนบวชพระ และก็ปฏิบัติมาเรื่อยๆ ก็ไม่มีอาการทางกายนั้นอีก แต่ตอนบวช นอนในกุฎิไม่ได้ รู้สึกมันกดดัน ไปหมด เหมือนมีใครมองอยู่ สรุปว่ากลัวผีขนหันหัวลุกนั่นแหละครับ นอนอยู่ได้ ไม่กี่คืน เลยต้องหนีไปนอนที่ศาลาแทน กับอีกอาการ คือเวลาไปวัดต่างๆ ตอนที่ครูบาอาจารย์ ท่านยังอยู่ กับตอนที่ครูบาอาจารย์ ไม่อยู่แล้ว ความรู้สึกมันต่างกันมากๆครับ ไม่รู้ว่าใช่อาการเหล่านี้ หรือเปล่า

    ส่วนเรื่องลองจำภาพแล้ว ขยายเล็กใหญ่ ตอนนี้ ลองดูเล่นๆ ก็คิดว่าเห็นภาพได้ ทั้งลืมตาและหลับตานะครับ แต่จะออกเทาๆ คือ ชัดน้อยกว่าดำๆ แต่ก็คิดว่าเกิดจากคิดเอาครับ ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาเอง แต่ขยายเล็กใหญ่ ยังไม่ได้

    ส่วนประเด็นสุดท้าย ที่บอกว่าผมเลยจากกรรมฐาน2กองนั้นไปแล้ว อันนี้ ผมไม่เข้าใจจริงๆครับ เพราะปัญญาผมยังน้อยอยู่ แล้ว ก็รู้สึกว่าผมเองยังปฏิบัติ ได้ไม่ถึงไหนด้วยซ้ำ อีกอย่างผมก็เคยอ่านเจอครูบาอาจารย์ ท่านบอกไว้ว่า ธรรมะ 8400 พระธรรมขันธ์ เป็นอุบาย ให้มาดูจิต แล้วอย่างนี้ผมจะปฏิบัติเลยไปได้ยังไง คือผมสนใจแต่ทางหลุดพ้นครับ แต่ ที่ต้องมาถาม เรื่อง กสิณ คือรู้สึกเหมือนมันจะมาทางนี้ได้ ก็เลยอยากจะใช้ ประโยชน์ ทางนี้ ไปต่อยอดปัญญา ครับ ด้วยความเคารพ ขอบคุณมากๆครับผม
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ครับ..อาการก็เล่าให้ฟังไว้เพื่อเป็นหลักสังเกตุครับ..ที่บอกว่าเลยกรรมฐาน
    ๒ กองไปแล้วก็คือ ณ เวลานี้ควรมาวิปัสสนาด้วยกำลังสมาธิระดับสูงให้ได้ครับ
    ยิ่งเน้นเรื่องการหลุดพ้นจริงๆ.ก็ควรจะทำให้ได้ครับ..คือ การฝึกพวกกสิณต่างๆ
    ตรงนี้.ถ้าทำถึงจุดที่บังคับปฏิภาคนิมิตรได้แล้ว..กำลังสมาธิเราจะสามารถเข้า
    สู่สมาธิระดับสูงได้ คือในระดับกำลังฌาน ๔ ในระดับที่สามารถบังคับและควบคุม
    จิตให้อยู่ในร่างกายให้ได้..มาถึงตรงจุดนี้นี่หละครับ..ถ้าหากว่าเราสามารถยกเรื่อง
    กิเลสละเอียดต่างๆที่เรารู้ของเราเอง จากผลการดูจิตที่ผ่านมานะครับ..แล้ววาง
    อารมย์กิเลสเรื่องนี้ไว้ระหว่างวัน..พอถึงอารมย์นี้ เรื่องกิเลสตัวนี้จะสามารถยกขึ้น
    มาวิปัสสนาได้..ถ้าตอนนั้นจิตสามารถยกขึ้นวิปัสสนาได้นะครับ จิตมันจะเลิกคบ
    กิเลสตัวนั้นไปเลย..จะไม่เหมือนแบบที่เราดุจิตปัจจุบันนี้ แม้ว่าเราพิจารณาได้
    แต่สังเกตุได้ว่า พอเวลาผ่านไปเรื่องนั้นๆมันก็ยังผุดขึ้นมาได้อีกนั้นหละครับ.
    ถ้าเรามีพื้นฐานสมาธิมาตั้งหลายปีขนาดนี้.ฝึกทางเวทนาด้วย ก็แสดงว่ากำลังสมาธิ
    สะสมเราน่าจะมีพื้นฐานใช้ได้แล้ว.เพียงแต่มันก็ยังไม่ข้ามเวทนาถึงขั้นกายกับจิต
    มันแยกกายแล้วสามารถวิปัสสนาเรื่องกิเลสได้(ประเด็นนี้คาดว่านะครับ).ไม่งั้นถ้า
    ทำได้เราจะเกิดเครื่องรู้หรือว่าภูมิธรรมพอสมควรครับ..ก็เลยเห็นว่าน่าจะเปลี่ยน
    มาทางสร้างรูปแล้วละรูป จากกรรมฐานกสิณต่างๆ น่าจะมีประโยชน์กว่าและทำให้
    เข้าสู่โหมดวิปัสสนาได้ดีกว่าครับ...ประมาณนี้
    ยังไงลองพิจารณาดูก่อนครับ ยังสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ครับ
     
  9. alale

    alale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +131
    ขอบคุณครับ เอาแค่พอประมาณดีกว่าครับ ถามมากมันยิ่งฟุ้งซ่าน ได้แนวทางแล้ว จะลองไปปฏิบัติดูครับ ขอบคุณครับผม
     
  10. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    คุณอาราเร่บอย หากมีจุดมุ่งหมายในใจว่าจะเดินทางไปสู่ปัญญาแล้ว ก็สามารถกระทำได้ทันที เป็นไปตามขั้นตอน คือ ต้องมีศีลในเบื้องต้น และมีกำลังของสมาธิเป็นปัจจัยส่งให้เกิดเป็นปัญญาขึ้นในที่สุด

    ในส่วนของกสิณนั้น สามารถเป็นได้ทั้งสมถะกรรมฐานเพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้มีสมาธิและสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการเป็นอุบายในส่วนของวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญาได้อย่างดีอีกด้วย อยู่ที่การเลือกใช้เป็นสำคัญครับ

    สุดท้ายนี้ ก็ต้องอยู่ที่คุณเจ้าของกระทู้ ว่าจะเลือกหนทางเดินอย่างไร ต่อไป
     
  11. alale

    alale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +131
    ขอบคุณมากๆครับผม จะปฏิบัติจนกว่าจะหลุดพ้นครับ
     
  12. babae

    babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    ใครเค้าเพ่งกัน เค้าจำเอามาไว้ในใจ นึกไม่ออกก็ลืมตาดูใหม่ สายตาจะเสียอย่างไร ผิดวิธีละนะ วิธีทรงก็จำภาพนั่นให้ได้ คิดถึงรูปมาเลยมาปั๊บ รวดเร็ว ผมเพียงผ่านมา ไม่โกรธกันนะ อิอิ
     
  13. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154

    ถึง คุณอาราเร่บอย ครับ

    มาคุยกันต่อ ทราบว่าทางคุณเจ้าของกระทู้สนใจในแนวทางด้านปัญญาเป็นสำคัญ ก็ขออนุโมทนา ทีนี้มาถึงเรื่องที่ยังติดค้างไว้ก่อนหน้านี้ อ่านดูแต่ละการสนทนาในกระทู้นี้ ของคุณเจ้าของกระทู้แล้ว เหมือนจะยังเล่ารายละเอียดประจำตัวไปแค่บางส่วน ที่อาจจะมีส่วนที่ยังไม่ได้เผยให้ทราบก็ได้ รายละเอียดจึงคล้ายกับจะขาดเรื่องราวที่สำคัญบางส่วนไป

    สำหรับการเดินทางมุ่งสู่ปัญญานั้น ตามหลักการแล้ว จะต้องดำเนินไปตามขั้นตอนของเรื่องศีล สมาธิและปัญญา ดังนั้น การจะก่อให้เกิดปัญญาขึ้นมาได้ จำเป็นต้องมีสมาธิเป็นกำลังหนุนส่ง ซึ่งสมาธิก็จะมีรากฐานมาจากศีล

    เรื่องของสมาธิกับปัญญานั้น มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันอย่างมาก คือจะต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา และในทางกลับกัน ต้องมีปัญญาจึงจะมีสมาธิ ข้อนี้เห็นจะเป็นเพราะว่า การที่จะมีสมาธิให้เป็นสมาธิที่ยิ่งไปกว่าสมาธิตามธรรมชาติ จะเป็นเรื่องที่ต้องมีปัญญามาประกอบ กล่าวคือ อย่างน้อยต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับลักษณะอาการต่างๆของจิตว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้

    อย่างเช่นธรรมอันสำคัญอันหนึ่ง คือ มรรคมีองค์ 8 นั้น ได้ยกเอาสัมมาทิฏฐิไว้เป็นอย่างแรก สัมมาทิฏฐิคือปัญญาที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรตามที่เป็นจริง นั่นคือจะต้องมีสัมมาทิฏฐิเสียก่อน รู้ว่าสิ่งใดมีคุณอย่างไร สิ่งใดไม่ดี มีโทษอย่างไร จึงจะสามารถประพฤติปฏิบัติไปในทางแห่งความดีได้อย่างที่ตนเองต้องการ ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงจะสามารถเจริญสมาธิให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นได้ตามลำดับ เมื่อมีกำลังของสมาธิมากขึ้น ปัญญาก็ยิ่งมีกำลังมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งสองสิ่ง จัดว่ามีการส่งเสริมซึ่งกันและกันไปในตัว หรือที่เรียกขานกันว่า อัญญมัญญปัจจัย นั่นเอง

    ดังนั้น คงต้องย้อนมาถึงเรื่องที่คุณเจ้าของกระทู้ ได้เล่าให้อ่านกันว่า เริ่มปฏิบัติมาได้ 7-8 ปีแล้ว โดยเน้นดูเวทนากับดูจิต เป็นหลัก ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ การจะตามดูเวทนากับดูจิตให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยจิตที่มีกำลังจากสมาธิในการเฝ้าตามดู อย่างนี้ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิบัติที่พอจะหวังผลได้

    เรื่องการปฏิบัติสมาธิ เจ้าของกระทู้เล่าว่า ใช้วิธีการเพ่งภาพพระ 3 มิติ จากนั้นพอใจนิ่งแล้ว ตาจะหลับลงไปเอง แล้วจะอยู่กับสมาธิอย่างนั้น โดยพอหลับตาแล้ว ก็มืดไปหมด ไม่ได้มีภาพอะไรไว้ในใจให้เฝ้าเพ่งอีก นั้น

    เรื่องนี้เป็นประเด็นทีเดียว โดยปกติ การทำสมาธิจำเป็นต้องมีสิ่งที่ให้ใจไปจรดจ่อเพื่อยึดถือเป็นอารมณ์ ตอนลืมตาคุณเจ้าของกระทู้ยึดเอาภาพพระ 3 มิติ ใช้เพ่งจนสงบ แต่พอตาหลับลง ตอนนี้ใจเอาสิ่งใดเป็นอารมณ์ ให้ใจไปจรดจ่อเพื่อให้เกิดสมาธิล่ะครับ? เพราะบอกมาว่าหลับตาลงก็มืดไปหมด

    หากจะเปรียบกับการภาวนาพุทโธ แล้วคำภาวนาหายไป อย่างนี้ เมื่อคำภาวนาหายไป จิตนั้นยังคงจับเอาลมหายใจเป็นอารมณ์นะครับ (เรียกว่ายังคงมีสิ่งที่ให้ใจไปจรดจ่ออยู่) แต่ของคุณเจ้าของกระทู้ พอหลับตาลง ภาพพระหายไปแล้ว มีแต่ความมืด แล้วใจไปจับอะไรเป็นอารมณ์ ตรงจุดนี้ ถึงได้กล่าวว่า คุณเจ้าของกระทู้อาจจะยังเล่าเรื่องการปฏิบัติส่วนตัวได้ไม่ทั้งหมด จึงมีส่วนที่ขาดหายไปอยู่

    ถ้าจะกล่าวว่า หลับตาลงแล้วมีแต่ความมืด ภาพพระหายไปแล้ว อย่างนี้ เกรงว่าในระยะยาว ต่อๆไป คุณจะทรงสมาธิไม่อยู่เอานะครับ เพราะจิต ขาดสิ่งที่ยึดถือไว้ให้ไปจรดจ่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ เมื่อเป็นอย่างนี้ ตามที่เล่ามาว่าปฏิบัติมา 7-8 ปีแล้ว เน้นดูเวทนากับจิต ก็ไม่เป็นไร แต่ในส่วนของสมาธิ ผมเกรงว่าคุณเจ้าของกระทู้จะเสียเวลาไปเปล่าๆ

    ทางที่ควร ลองปรับอีกเล็กน้อยน่าจะดีกว่า เวลาหลับตา ควรจะหาอารมณ์ของสมาธิสัก 1 อย่าง ให้จิตเอาไว้เกาะเป็นอารมณ์บ้าง อย่างนี้จะทำให้ทรงสมาธิได้ดีกว่า และจะสามารถพัฒนาให้เกิดเป็นความชำนาญในการเข้าออกสมาธิได้มากขึ้น จนถึงขั้นมีความชำนาญในการกำหนดเวลาปฏิบัติได้ต่อไปนั่นเอง

    จากนั้น เมื่อปฏิบัติด้านสมาธิ จนใจนิ่งดีแล้ว ก็ถอนจากสมาธิออกมา สมาธิถอนออกมาแล้ว แต่ใจยังคงมีกำลังดีอยู่ ก็นำเอาใจที่มีกำลังนั้น ไปตามดูเวทนากับจิต เพื่อเดินไปในสายปัญญาต่อไปได้ตามสะดวกครับ

    ส่วนเวลาหลับตา ควรจะใช้อะไรเป็นหลักยึดให้กับจิตใจ ให้เกิดเป็นความแน่วแน่ของจิต เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาและสามารถทรงสมาธิได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ ขอยกเอาไว้ในการสนทนาครั้งต่อไปครับ
     
  14. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ขออนุญาตคุยด้วยนะครับ..วิธีการที่คุณแนะนำถือว่าถูกต้องครับ..
    เป็นวิธีการที่ค่อนข้างเป็นสากลด้วยครับ..การจำเอาไว้ในใจเป็น
    ส่วนหนึ่งของการรักษาอารมย์และเป็นวิธีการสร้างให้จิตเกิดภาพ
    ขึ้นมาได้ในเบื้องต้น.ส่วนใครจะต่อยอดอย่างไรก็แล้วแต่.และก็
    เป็นหนึ่งในหลายๆวิธีครับ.เค้าไม่ถือว่าวิธีการใดวิธีการหนึ่งถูกหรือ
    ว่าเหมาะสมที่สุดครับจะเริ่มยังไงก็ได้หมดครับ
    .แล้วการเพ่งแล้วละก็เป็นหลักการที่ถูกต้องวิธีการหนึ่งครับ.
    .และเป็นวิธีการสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่ๆ
    หรือผู้ฝึกที่ไม่มีของเก่าพวกกสิณต่างๆมาก่อนครับ.

    ยิ่งถ้าไม่รู้เคยฝึกอะไรมาเลยและไม่มีของเก่ามาก่อนก็ยัง
    ต้องอาศัยความจำครับ..ส่วนลืมตามองก็ทำได้ครับ.
    .แต่ว่าจะต้องสะสมสมาธิมาก่อนพอสมควร
    ถึงจะพอทำได้..ยังไงลองอ่านข้อความในกระทู้นี้
    ดูทั้งหมดก่อนก็ได้นะครับ..

    ปล.คงไม่มีใครเข้าโกรธคุณครับ..เพราะอ่านแล้วพอเข้าใจ
    ระดับที่คุณปฏิบัติได้ตอนนี้ครับ..หวังว่าจะพอเข้าใจนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...