เมืองแก้ว บุรี อสังขตสถาน สถานที่ นิพพาน ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 20 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER>
    </PRE>

    <CENTER>๒. อโนตตัปปิสูตร</CENTER>
    </PRE>

    [๔๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    </PRE>สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปและท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่าอิสิปตน-*มฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๔๖๕] ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปดังนี้ว่า ท่านกัสสป ผมกล่าวดังนี้ว่า ผู้ไม่มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม
    ส่วนผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพานควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม
    ดูกรผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงจักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๔๖๖] ท่านพระมหากัสสปกล่าวว่า อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เรา จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลสโดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่ากุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่ากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ฯ

    [๔๖๗] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร ฯ ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศล-*ธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมที่ลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เราเมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่ากุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว
    เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ไม่ควรเพื่อพระนิพพานไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ฯ


    [๔๖๘] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลสอย่างไร ฯ ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ฯ

    [๔๖๙] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร ฯ ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เราเมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่ากุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้

    ควรเพื่อพระนิพพานควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้ ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๒</CENTER>
     
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>คารวสูตรที่ ๒ [๕๖๒] สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคมคาถาอีกว่า พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรม อยู่แล้ว ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตน หวังความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม ฯ</CENTER><CENTER><CENTER></CENTER>

    </CENTER>


    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>เถรคาถา มหานิบาต</CENTER><CENTER>๑. วังคีสเถรคาถา</CENTER><CENTER>คาถาสุภาษิตของพระวังคีสเถระ</CENTER>


    </PRE>


    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ ก็ชื่นชมยินดีพระพุทธ-
    *ภาษิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลด้วยอวสานคาถา ๓ คาถา ความว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีเยี่ยมกว่าฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์นี้ได้ฟัง
    พระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่ข้าพระองค์ทูลถาม
    แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์
    เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น
    ได้ตัดข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราช ผู้เจ้าเล่ห์มาก ได้เด็ดขาด

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
    ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
    หนอ ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้าพระองค์ขอนมัสการ
    ท่านพระนิโครธกัปปเถระผู้เป็นวิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาต-
    บุตรของพระองค์ มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ
    พระองค์ผู้ประเสริฐ.
    ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วยประการ
    ฉะนี้แล.



    <CENTER>จบ มหานิบาต


    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์เฉียบแหลมองค์เดียว
    ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๗๑ คาถา พระเถระ ๒๖๔ รูป ผู้พระ-
    พุทธบุตร ไม่มีอาสวะ บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากัน
    บันลือสิงหนาทประกาศคาถาไว้รวม ๑๓๖๐ คาถาแล้ว ก็พากันนิพพานไป
    เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล.



    <CENTER>จบ เถรคาถา


    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>

     
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค </BIG><CENTER class=D>พรหมนิมันตนิกสูตร ว่าด้วยพกพรหมมีทิฏฐิอันลามก</CENTER></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาพรหมนิมันตนิกสูตร </CENTER>
    แต่พระศาสดาเป็นผู้ฉลาดยิ่งกว่าพกพรหมนั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า พระองค์จึงได้ทรงยกเอานิพพานขึ้นมาแสดงเพื่อให้เห็นว่า สิ่งที่ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลมเป็นต้นนั้น ได้แก่ นิพพานฯ
    ก็นิพพานนั้นเป็นของควรรู้ แต่ไม่มีใครเห็นด้วยจักษุวิญญานเป็นของไม่มีที่สุด เพราะปราศจากความเกิด และความสิ้นไปฯ
    ข้อนี้สมกับที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วทั้งหลาย ต้องมีที่สุดทั้งนั้น ส่วนสิ่งที่ไม่เกิด
    ไม่มีที่สุด. ผู้ที่เกิดแล้วย่อมไม่ปรากฎในที่สุด นักปราชญ์ได้
    ประกาศที่สุดไว้ในผู้ที่เกิดแล้ว ดังนี้ฯ
    คำว่า มีรัศมีโดยประการทั้งปวง นั้นหมายความว่า นิพพานนั้นมีรัศมียิ่งกว่าสิ่งอื่น รุ่งเรืองยิ่งกว่าสิ่งอื่น บริสุทธิ์ยิ่งกว่าสิ่งอื่น ขาวผ่องยิ่งกว่าสิ่งอื่นฯ
    อีกอย่างหนึ่ง นิพพานนั้น ใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า มีอยู่ในทิศนั้น ทิศนี้ฯ
    อีกอย่างหนึ่ง นิพพานมีทางไปได้หลายทาง กล่าวคือกรรมฐาน ๓๘ ประการ เหมือนกับมหา<WBR>สมุทร<WBR>ซึ่ง<WBR>มี<WBR>ทาง<WBR>ลง<WBR>เป็น<WBR>อัน<WBR>มาก<WBR>ฉะนั้นฯ
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สิ่งที่ควรรู้ แต่ไม่เห็นด้วยตา ไม่มีที่สุด มีรัศมีโดยประการทั้งปวงนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า ธรรมในภูมิ ๓ ทั้งสิ้นเป็นวิสัยแห่งมาร ส่วนนิพพานนั้นไม่เป็นวิสัยแห่งมาร ดังนี้ฯ
    ____________________________

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๔ - ๑๐๒๘๖. หน้าที่ ๔๑๗ - ๔๒๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=10134&Z=10286&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=551
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต</BIG> <CENTER class=D>ตติยวรรค มิจฉาทิฐิสูตร</CENTER></CENTER>

    <CENTER>ติกนิบาตวรรณนา
    วรรควรรณนาที่ ๓

    อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตร </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>บทว่า อิมสฺมึ อิธ ชีวิเต ความว่า ในชีวิตอันนิดหน่อย ในโลกนี้คือมนุษยโลก.
    สมดังที่ตรัสไว้ว่า ผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้นาน ก็อยู่ได้เพียงร้อยปี หรือเกินไปเล็กน้อย.<SUP>๓-</SUP>
    และตรัสว่า มนุษย์ทั้งหลายมีอายุน้อย เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นพหูสูต มีปัญญา เร่งรีบทำบุญ แล้วจะได้ไปสวรรค์
    หรือดำรงอยู่ในพระนิพพาน.
    ส่วนผู้ใดศึกษาน้อย ไม่บำเพ็ญบุญ ผู้นั้นจะเป็นคนมีปัญญาทราม เข้าถึงนรกเพราะกายแตกสลายไป.
    ____________________________

    <SUP>๓-</SUP> ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๕๕ สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๔๔๐ <CENTER>
    จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑

    ----------------------------------- </CENTER>
    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ตติยวรรค มิจฉาทิฐิสูตร จบ.


    </CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ไม่มี
    ในผัสสาหาร ... ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ... ไม่มีในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณ
    ก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในอาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงาม ในที่นั้น
    ย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น
    ย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใด ไม่มีความเจริญแห่งสังขาร
    ทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมไม่มีความเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใด ไม่มีความเกิด
    ในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป
    ในที่ใดไม่มีชาติชรา
    มรณะต่อไป
    ภิกษุทั้งหลายเราเรียกที่นั้น ว่า ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความ
    คับแค้น ฯ
    [๒๔๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรือนยอด
    [ปราสาท] หรือศาลามีสองยอด หน้าต่างด้านทิศตะวันออก อันบุคคลเปิดไปทาง

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๔.

    เหนือหรือทางใต้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแสงสว่างส่องเข้าไปทางหน้าต่าง จะพึง
    ตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาด้านตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึง
    ตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
    ภิ. ที่แผ่นดิน พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแผ่นดินไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ
    ที่ไหน ฯ
    ภิ. ที่น้ำ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
    ภิ. ไม่ตั้งอยู่เลย พระเจ้าข้า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน
    ความทะยานอยาก ไม่มีอยู่ในกวฬิงการาหารไซร้ ... ในผัสสาหารไซร้ ... ในมโนสัญ-
    *เจตนาหารไซร้ ... ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในวิญญาณา-
    *หารนั้น ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมไม่มีการหยั่งลง
    แห่งนามรูป ในที่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมไม่มีความเจริญ
    แห่งสังขารทั้งหลาย
    ในที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
    ในที่นั้น ย่อม
    ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
    ในที่ใด ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
    ในที่นั้น
    ย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด ไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า
    ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น ฯ
    จบสูตรที่ ๔
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๖๙๗ - ๒๗๗๙. หน้าที่ ๑๑๑ - ๑๑๔. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=2697&Z=2779&pagebreak=1
     
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
    [​IMG]
    [​IMG]
    ๒. สารีปุตตเถรคาถา
    ภาษิตของพระสารีบุตรเถระ

    [๙๙๐] ส่วนภิกษุใดละธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
    ยินดีแล้วในทางแห่งธรรมซึ่งเป็นเหตุไม่ให้เนิ่นช้า
    ภิกษุนั้นบรรลุนิพพาน
    ซึ่งเป็น"แดนเกษม"จากโยคะอันยอดเยี่ยม
    http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=26&siri=396
     
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    บทว่า อวสฺสชฺชิ
    ความว่า พระมุนี คือพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาโดยนัยเป็นต้นว่า
    """ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง.."""

    การดับขันธ์ ๕ คือ...
    "'''พระนิพพาน""""" เที่ยง""'
    ทรงเห็นเป็นโทษในภพ และอานิสงส์ในพระนิพพาน
    ทรงสละกรรมเครื่องปรุงแต่งภพอันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลาย
    ด้วยอริยมรรคอันกระทำความสิ้นกรรม
    ดังกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมดังนี้.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=167
     
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    บทว่า อวสฺสชฺชิ
    ความว่า พระมุนี คือพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาโดยนัยเป็นต้นว่า
    """ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง.."""

    การดับขันธ์ ๕ คือ...
    "'''พระนิพพาน""""" เที่ยง""'
    ทรงเห็นเป็นโทษในภพ และอานิสงส์ในพระนิพพาน
    ทรงสละกรรมเครื่องปรุงแต่งภพอันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลาย
    ด้วยอริยมรรคอันกระทำความสิ้นกรรม
    ดังกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมดังนี้.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=167
     
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    โมกข์ แปลว่า หลุดพ้น,นิพพาน
    บุรี แปลว่า เมือง

    โมกขบุรี แปลว่า เมืองนิพพาน

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
    [​IMG]

    กัจจายวรรคที่ ๕๔
    มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑
    ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหากัจจายนเถระ

    เราชื่อกัจจานะ เป็นผู้มีผิวกายงาม เราอันพระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไป
    เพื่อพิจารณาพระพุทธเจ้า
    ได้พบพระผู้นำซึ่งเป็นประตูของโมกขบุรี
    เป็นที่สั่งสมคุณ และได้สดับพระพุทธภาษิตอันปราศจากมลทิน
    เป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติ จึงได้บรรลุอมตธรรมอันสงบ
    ระงับ พร้อมกับบุรุษ ๗ คนที่เหลือ เราเป็นผู้อธิบายในพระมติ
    อันใหญ่ของพระสุคตเจ้าได้แจ้งชัด และพระศาสดาทรงตั้งไว้ใน
    ตำแหน่งเอตทัคคะ เราเป็นผู้มีความปรารถนาสำเร็จด้วยดีแล้ว เรา
    เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบ มหากัจจายนเถราปทาน.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๒๗๑๓-๒๗๖๖ หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๒. http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=2713&Z=2766&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S__32038920.jpg
      S__32038920.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.4 KB
      เปิดดู:
      153

แชร์หน้านี้

Loading...