เรื่องสมาธิ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 19 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,718
    กระทู้เรื่องเด่น:
    58
    ค่าพลัง:
    +225,325
    IMG_20171205_151724.jpg

    เรื่อง สมาธิ


    มีคำถามว่า สมาธิแบ่งออกได้หลายแบบ หลายวิธีการ แต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าให้ถือกำหนดลมหายใจ บ้างก็ว่าให้คิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บ้างก็ว่าคือการมองเข้าไปในสิ่งที่เป็นอยู่จริง อยากทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว สมาธิคืออะไร และมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร และจะถือหลักใดในการปฏิบัติ

    เอ้อ สมาธิยกไปก่อน คุยถึงเรื่องกินก่อน คือคนกินข้าวนี่ กินข้าวก็อิ่มใช่ไหม กินก๋วยเตี๋ยวก็อิ่ม กินขนมปังก็อิ่ม กินกาแฟก็อิ่ม กินให้อิ่มเพื่อต้องการไม่ให้ร่างกายหิว ร่างกายมันหิวถึงกินใช่ไหม สมาธิก็เหมือนกัน ทำเพื่อต้องการให้จิตสงบ เพราะฉะนั้นจะจับภาพพระก็ดี จะภาวนา นะมะ พะธะ ก็ดี จะรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี เป็นอุบายอย่างหนึ่งให้จิตสงบ ฉะนั้น คนทุกคนนี่จริตไม่เหมือนกัน คือนิสัยของคนไม่เหมือนกัน บางคนก็ชอบสีเขียว บางคนก็ชอบสีแดง ใครพอใจสีไหนก็เอาสีนั้น ทีนี้การภาวนา ใครชอบอย่างใดก็เอาอย่างนั้น

    พระพุทธเจ้าจึงสอนกับคนทุกคนที่มีจริตทุกจริตได้หมด ฉะนั้นถึงแยกแยะการภาวนาให้ตรงกับนิสัยกับจริตของคน ภาวนาแบบไหนก็ไม่ผิด ขอให้จิตเป็นสมาธิก็แล้วกัน ถ้าภาวนาแบบไหนถ้าไม่มีสมาธิก็แสดงว่าผิดแล้ว ผิดทางเพราะสมาธินี่มีแค่ขณิกสมาธิ นี่จิตก็เริ่มสุขแล้ว ถ้าภาวนาไปจิตฟุ้งซ่านต้องหยุดหรือเครียดต้องหยุด แสดงว่าผิดทาง แค่เข้าไปถึงประตูนี่มันยังไม่เข้าทาง เข้าไปชิมหน่อยเดียวมันยังไม่สุข นี่แสดงว่าผิดแล้ว ผิดทาง ต้องหยุด กลับมาตั้งหลักใหม่

    อย่างอานาปานุสสติ อย่างนี้เป็นต้น อานาปาฯ คือรู้ลมหายใจเข้าออก รู้ลมหายใจนะ แต่เรากลัวมันจะไม่รู้ เอ๊ะ มันไม่รู้สักทีวะ สูดซะแรงๆ บางทีก็เกร็งลม คือรินลมน่ะ กลัวลมจะออกไม่เป็นธรรมชาติ รินออกรินเข้า เหนักเข้าเหนื่อย เหนื่อยก็เครียด แสดงว่าผิดแล้ว พระพุทธเจ้าให้รู้ลมหายใจเข้าออกเฉยๆ หรือภาวนาควบไปด้วย

    แต่คนเราถ้าฝึกใหม่ๆ คล้ายกับมันจะแน่นหน้าอกไปหมด ตึงประสาทไปหมด แสดงว่าผิด ค่อยๆ รู้เข้ารู้ออกก่อน หยาบสุดต้องรู้เข้ารู้ออกเฉยๆ ก่อน ถ้าต่อไปถึงจะรู้อ้อ มันเข้าไปถึงไหนแล้ว มันออกไปถึงไหนแล้ว ต่อไปมันจะรู้ มันเข้าไปถึงนั่นมันละเอียด อ้อ เห็นสายลมแล้ว จิตก็จะเริ่มเบา จิตก็จะสุขขึ้น สุขแสดงว่าถูกทางแล้ว ถ้าเครียดต้องหยุด

    การปฏิบัติธรรมนี่จะยากอยู่ช่วงสมาธิต้นๆ เท่านั้นเอง ฉะนั้นที่ถามว่า ภาวนาอย่างไร อะไรอย่างไร คือว่าให้พอกับจริตของคน ใครชอบอย่างไรให้เอาอย่างนั้นนะ หลวงพ่อสอนนะ แต่สำนักบางสำนักอื่นเขาสอนให้ภาวนาพุทโธก็ดี หรือภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ก็ภาวนาก็ไม่ผิด แต่ว่ามันเหมือนกับอะไรล่ะ อย่างวัดท่าซุง หรือหลวงพ่อของเรานี่มีแกง ๔๐ หม้อ เลือกกินเอา แต่วัดอื่นมีแกงหม้อเดียว เราจะเลือกกินเอาร้านไหนก็แล้วแต่ กินอิ่มเหมือนกันนี่ แต่เราไปเลือกเอา กรรมฐานคือกรรมฐาน ๔๐ ข้อ ชอบใจตัวไหนก็เอา

    “เอาเป็นว่าตอบข้อหนึ่ง ก็คือ สมาธิคืออุบาย เครื่องสงบใจ ทำให้ให้สงบ ควรจะปฏิบัติอย่างไร ก็บอกว่ากรรมฐาน ๔๐ น่ะ ไปเลือกเอาเถอะ ทีนี้เขาถามว่า แล้วจะยึดหลักใดในการปฏิบัติ หรือว่าต้องให้ไปอ่านกรรมฐาน ๔๐ เสียก่อน แล้วค่อยมาคุยกันใหม่”

    คือพื้นฐานจริงๆ แล้วนี่ท่านให้เอาอานาปาฯ เป็นหลักไว้ อานาปาฯ นี่เป็นต้น ตัวนี้ทำให้สงบง่ายขึ้น ถ้าได้ตัวนี้แล้วตัวอื่นจะง่ายขึ้น อานาปาฯ นี่เป็นกรรมฐานที่ละเอียด แล้วก็เป็นหลักใหญ่ ถ้าจับกสิณแล้วอานาปาฯ ไม่ทรง ก็จะทรงตัวยาก ถ้าได้อานาปาฯ เสียแล้ว ตัวอื่นจะง่ายหมด

    ไอ้ตัวอานาปาฯ มันตัวลบคลื่น จะจับกสิณสีแดงก็ต้องมาลงที่ศูนย์อานาปาฯ นี่ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว สีอะไรได้ อานาปาฯ คล่องเสียมันก็เปลี่ยนง่าย อานาปาฯ คือลบอารมณ์ฟุ้งซ่าน

    “ทีนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยปรารภว่า ในกรรมฐาน ๔๐ หรือว่า ถ้ารวมมหาสติปัฏฐานสูตรเป็น ๔๑ นี่ เป็นกรรมฐานพิจารณาเสียตั้ง ๒๙ เป็นกรรมฐานภาวนาแค่ ๑๑ คือ อานาปาฯ กับกสิณ ๑๐ เป็นกรรมฐานภาวนา ในขณะที่อื่นๆ นี่ ไม่ว่าจะเป็นอนุสสติก็ดี จะเป็นพรหมวิหาร ๔ จะเป็นอะไรก็ตามแต่เถิด เป็นกรรมฐานพิจารณา ทีนี้แม้แต่กรรมฐานพิจารณาก็ต้องตั้งต้นที่อานาปาฯ ใช่ไหมครับ หรือว่าอย่างไรครับ”

    ใช่ๆ ท่านบอกว่าถ้าไม่มีอานาปาฯ อย่างอื่นไม่ทรงตัว

    “อย่างเช่นว่าจะเอาตัวเมตตาเป็นบทกรรมฐานอย่างนี้ จะพิจารณาเมตตาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตั้งต้นที่อานาปาฯ เสียก่อน พอกำลังใจนิ่งดีแล้ว ทีนี้ก็จะพิจารณาได้ทะลุปรุโปร่งใช่ไหมครับ”

    แต่บางอย่างท่านก็ให้คิดพิจารณาเสียก่อน พิจารณาจนจิตเย็นแล้ว อ่อนดีแล้ว อย่างเช่นหลวงปู่ปานสอนให้หลวงพ่อใช่ไหม หลวงพ่อชอบอิทธิฤทธิ์นี่ ชอบฤทธิ์ชอบเดช โอ๊ย...แกจะให้มีอภิญญาทรงตัวแกต้องพิจารณาเสียก่อนว่า เออ...ร่างกายนี่มันไม่เที่ยงนะ มันต้องตายนะ พิจารณาให้จิตยอมรับ หลวงพ่อก็เออ... จะให้มีฤทธิ์มีเดชใช่ไหม ก็ต้องพิจารณาตรงนี้ ที่แท้หลวงปู่ปานสอนวิปัสสนาญาณให้เสียจนชุ่มหมดแล้ว พอสมาธิทรงตัวมันก็ง่าย หลวงปู่ปานฉลาดกว่าหลวงพ่อ

    “เอ๊ะ แต่ได้ข่าวว่าท่านพระครูปลัดฯ ท่านเจ้าอาวาสนี่ท่านก็ชอบฤทธิ์ชอบเดชอยู่ไม่ใช่หรือครับ”

    ชอบ...โอ้โห ชอบจังเลย ชอบจนเขี้ยวเหี้ยนหมดเลย ไม่ได้สักอย่าง มันเป็นบุพกรรมต้องชอบสุกขวิปัสสโก คือตัวเองมันเกี่ยวกับกลัวจะตายเสียก่อน กลัวจะไม่ได้อะไรสักอย่างเลย คือมันเป็นคนคิดมากอยู่อย่างว่า ไอ้ที่เรารู้มันจริงหรือเปล่า บางทีมันก็จริงมั่ง บางทีก็ไม่จริงมั่ง เราก็ เอ๊ มันจะเสียเวลาเสียแล้ว

    “ชักจะมีมรณานุสสติ ว่าอย่างนั้นเถอะ”

    ใช่ กลัวจะเสียเวลาเกินไป สอง กลัวเราจะเสียพระเสียก่อน เลยต้องตัดออกไปให้หมด

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)


    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=194
     

แชร์หน้านี้

Loading...