เรื่องเล่าจากศิษย์ใกล้ชิดพระสังฆราช

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย tng55555, 25 ตุลาคม 2013.

  1. tng55555

    tng55555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +380
    เรื่องเล่าจากศิษย์ใกล้ชิดพระสังฆราช

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาในด้านการศึกษาพระธรรม พระเมตตาที่มีให้แก่ทุกชนชั้น ซึ่งยังความปลาบปลื้มใจให้บรรดาลูกศิษย์ใกล้ชิด



    พระเมตตาแก่ชนทุกระดับ

    [​IMG]

    อภัย จันทนจุลกะ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และอดีต รมว.แรงงาน กล่าวว่า สัมผัสวัตรปฏิบัติของสมเด็จพระสังฆราช มาตั้งแต่ปี 2502 ตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนวัดบวรฯ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2516 ก็ได้บวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

    “ขณะนั้นพระองค์ท่านก็ 60 พรรษา และถือเป็นพระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง แต่ได้มาสอนพระใหม่ ด้วยการฝึกจิต ฝึกสมาธิ เป็นประจำ ท่านให้ความสำคัญกับพระใหม่เสมอ และทรงมีเมตตากับคนทุกระดับ ปี พ.ศ. 2539 ผมดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ทรงบันทึกเสียงประทานพระวรธรรมคติ ให้กับผู้ต้องขังที่เตรียมพ้นโทษเป็นประจำทุกเดือน ทรงปรารภเสมอว่าเพื่อต้องการให้ผู้ต้องขังทุกคนออกไปแล้วยึดพระธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ประพฤติตนเป็นคนดี”

    ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ อภัย บอกว่า สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานทุนแก่ผู้แทนโรงพยาบาล 17 แห่ง ซึ่งทรงบริจาคเงินสร้างตึกผู้ป่วย แห่งละ 19 ทุน ทุนละ 5,000 บาท เป็นจำนวนเงินกว่า 1,615,000 บาท สำหรับผู้ป่วยในตึกพระองค์ทรงสร้าง

    “ท่านบำเพ็ญกิจตลอดเวลา ไม่เคยมีวันหยุด ทรงเรียบง่าย แม้กระทั่งเป็นพระผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังลงอุโบสถ ถ่ายทอดความรู้ให้กับพระใหม่และฆราวาสอยู่เสมอ ขณะเดียวกันยังทรงพระนิพนธ์ตำราและพระธรรมเทศนาจำนวนมาก ผมอยากให้คนไทยได้อ่านพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชมากๆ เช่นเดียวกัน”อภัย กล่าว

    ทรงอ่อนน้อมและมัธยัสถ์

    [​IMG]

    พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช หรือปิยโสภณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กล่าวถึงความประทับใจในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ว่า จริงๆ แล้วมีความประทับใจในพระองค์ท่านหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความประหยัดมัธยัสถ์ที่พระองค์ทรงใช้ดินสอจนหมดแท่ง ใช้ผ้าเก่าๆ เรียกได้ว่าการใช้สอยอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย จนกว่าของชิ้นนั้นๆ จะหมดสภาพจนใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว และรู้จักใช้ เห็นคุณค่าในสิ่งของ การใช้ดินสอของท่านเสมือนคำสอนที่กล่อมเกลาจิตใจ เป็นแบบอย่างของความประหยัด ซึ่งน่าชื่นชมและนำไปปฏิบัติอย่างแน่แน่ว เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นดังตัวอย่างแห่งความดี

    พระองค์ท่านจะทรงพระอักษรตลอดเวลา จะมีหนังสือไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยและอังกฤษไว้ข้างกายตลอด ไม่ว่าจะต้องเสด็จไปต่างจังหวัดก็ตาม ทรงสนพระทัยในเรื่องของภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี สันสกฤต เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เพราะพระองค์ท่านเชื่อว่าภาษาคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถรอบรู้ทัดเทียมกับนานาประเทศได้อย่างดี จึงไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ยังคงศึกษาฝึกฝนจนเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนิชำนาญจนเก่งภาษาต่างๆ น่าชื่นชมและนำไปปฏิบัติอย่างยิ่ง

    นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังทรงเป็นผู้ที่มีความเกรงใจ รับสั่งน้อยและสงบนิ่ง ทำอะไรก็จะทรงทำด้วยพระองค์เอง อีกทั้งมีความอ่อนน้อม ไม่โอ้อวด เป็นสิ่งที่ทำให้อาตมานำไปประยุกต์ใช้กับตัวเองจนทุกวันนี้ นำมาชำระใจเราเอง เพราะบางครั้งการสั่งหรือออกคำสั่งไม่จำเป็นต้องพูดหรืออธิบายมากมายและไม่โอ้อวดจนเกินความจริง แต่ในตัวพระองค์ท่านสมเด็จไม่เคยมีกิริยาหรือความประพฤติในด้านเสียหายแก่พุทธศาสนาเลย ขณะเดียวกันพระองค์ท่านยังทรงเป็นผู้ที่มีใจเมตตา ใครมารอเข้าเฝ้าก็เปิดโอกาสให้เข้าพบเสมอไม่เลือกชนชั้น ให้ความเท่าเทียมกับทุกคนที่ต้องการพบ

    ผลงานของพระองค์ท่านมีประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนามากมาย ทรงดำริที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ จึงทรงก่อตั้งสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) ขณะนี้ได้ขยายไปยังทั่วทุกทวีป



    พระอัจฉริยะอธิบายธรรมให้เข้าใจง่าย

    [​IMG]

    รศ.ดร.สุเชาวน์ พลอยชุม อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษสอนศาสนาและปรัชญา ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในฐานะศิษย์ใกล้ชิดบวชเณรที่วัดบวรนิเวศวิหารมาตั้งแต่อายุ 13 ปี กระทั่งบวชพระ สมเด็จพระสังฆราชยังทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ให้อีก เล่าว่า พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ทรงนิ่ง สุขุม เยือกเย็นมาก พูดน้อย แต่เวลาพูดน้ำเสียงจะมีความนุ่มนวลและเปี่ยมด้วยพระเมตตา นอกจากนี้คำพูดก็มีความคมคายในเรื่องของการให้แง่คิดที่ดีอยู่เสมอ รู้ว่าอันไหนควรพูดไม่ควรพูดและควรพูดในเวลาไหน ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะทรงมีระเบียบแบบแผน ไม่มีเรื่องสุกเอาเผากิน ทุกอย่างต้องเรียบร้อยเสมอ แม้กระทั่งการครองผ้าก็ไม่ได้ละเลย จะทรงครองเป็นปริมณฑลตลอด

    “ที่สำคัญพระองค์เป็นพระที่มีความสำรวมระวังอย่างยิ่งยวดทั้งในคำพูดและการกระทำ คือทรงมีสังวร ได้แก่ความสำรวมระวังและเคารพในพระธรรมวินัย ซึ่งเปรียบเสมือนพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ทรงประพฤติพระองค์เหมาะสมกับกาลเทศะเป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนและเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ที่ดี

    ในด้านของการทรงงานก็เช่นกัน พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ (สติ) รอบรู้และรู้จริงในสิ่งที่ทำเสมอ ( ปัญญา) เวลาทำก็ทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและใช้สมาธิสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่เคยทรงลืมที่จะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความถูกต้องเป็นหลัก เพราะทรงถือคติว่าถ้าอะไรไม่ถูกต้องตามหลัก ตามพระธรรมวินัย หรือตามระเบียบแบบแผนแล้วถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นงานที่พระองค์ทรงทำจึงไม่มีความบกพร่องผิดพลาดเกิดขึ้นในภายหลัง

    “พระปรีชาสามารถที่ถือเป็นพระอัจฉริยภาพ ซึ่งผมประทับใจก็คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ธรรมะ การย่อยธรรมะ คำสอนที่ยากและสลับซับซ้อนให้ง่ายต่อการเข้าใจ เหมือนเปิดของที่คว่ำให้หงายขึ้น ผู้ใดจะเข้าถึงอัจฉริยภาพด้านนี้ได้ผู้นั้นจะต้องศึกษางาน ศึกษาพระนิพนธ์ของพระองค์ให้เข้าใจจึงจะเห็น ลำพังผู้ที่ไม่เคยศึกษางานของพระองค์ไม่อาจที่จะเข้าถึงได้” รศ.ดร.สุเชาวน์ สะท้อนพระอัจฉริยภาพที่เขาเห็นประจักษ์ในสมเด็จพระสังฆราช

    " พระป่า"ที่อยู่ในเมือง

    [​IMG]

    นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ สว.สรรหา อดีตผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระที่พิเศษมาก เนื่องจากทรงเป็น “พระป่า” ที่อยู่ในเมือง เพราะแม้พระองค์จะทรงจำวัดอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่วัตรปฏิบัติของพระองค์ท่าน ไม่ต่างจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงตามหาบัว หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท เพราะท่านเน้นในเรื่องฝึกปฏิบัติ ฝึกวิปัสสนา และทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ต่างจากพระในเมือง ที่มักจะนั่งโซฟา เก้าอี้หลุยส์ หรือนั่งรถเบนซ์ ที่ญาติโยมถวาย แต่สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยมี ทำให้พระป่านับถือสมเด็จพระสังฆราช ทุกรูป สังเกตได้จากเวลาที่พระป่าชั้นผู้ใหญ่ทุกรูป จะมากราบท่านทุกครั้งที่เข้ามากรุงเทพ นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระที่สงบมาก โดยพระองค์ท่านจะนิ่ง ไม่เหลียวมอง ทอดพระเนตรต่ำ และเดินช้า ซึ่งเป็นจุดเด่นของพระปฏิบัติ ต่างจากพระในเมืองหลายรูปที่เป็นพระ “โซเชียล” ที่เห็นนักการเมืองหรือข้าราชการผู้ใหญ่ก็จะดินเข้าหาทันที

    นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังทรงนิพนธ์หนังสือมากมาย ไม่ว่าจะภาษาไทย จีน หรือภาษาอังกฤษ ซึ่งหลายเล่ม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ก็ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่หลักธรรมไปยังชาวต่างชาติที่สนใจ และหลายเล่มก็นำมาเป็นหนังสือนอกเวลาให้เยาวชนอ่านเช่น เรื่อง “ศีล5” หรือเรื่อง “พระพุทธเจ้าสอนอะไร”โดยหากนำพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชมาวางเรียงกันจะเห็นว่ามีจำนวนมาก สะท้อนถึงความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของพระองค์ท่านซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด

    นพ.จักรธรรม เล่าให้ฟังอีกว่า สมัยที่รับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ได้รับประสานงานจากสมเด็จพระสังฆราช ให้สร้างอาคารสกลมหาสังฆปรินายก ในโรงพยาบาล 19 แห่ง เพื่อช่วยผู้ป่วย โดยใช้งบประมาณกว่า 200 ล้าน โดยเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช สร้างในโรงพยาบาล 19 แห่ง เพราะ ทรงตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อทำบุญถวายให้สมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อนๆ ซึ่งมีจำนวน 18 องค์ รวมพระองค์ท่านด้วยเป็น 19 รูป โดยงบประมาณที่ใช้เป็นเงินส่วนพระองค์ ที่เป็นเงินบริจาค และที่ญาติโยมถวายให้ทั้งสิ้น ไม่ได้เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน

    “มีเกร็ดเล็กน้อยว่า ตอนก่อสร้างแล้วเสร็จ งบประมาณไม่พอ สมเด็จพระสังฆราช ต้องไปหยิบยืมจากมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยไปจ่ายค่าก่อสร้างก่อน ทำให้พระองค์ท่านต้องเก็บสะสมเงินเพิ่ม ซึ่งเมื่อพระองค์ท่านได้เงินครบ ท่านก็รีบหาเงินไปใช้คืนทันที การสร้างอาคารเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าทรงมีพระเมตตาสูงมาก”

    “ขณะที่ผมดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้รับทราบว่า พระตำหนักของพระสังฆราชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรุดโทรมมาก จึงได้เข้าไปดู จึงเห็นว่าพระตำหนักของพระองค์ท่าน เป็นเพียงกุฏิเล็กๆ แออัดไปด้วยโต๊ะหมู่บูชา และตำราทุกภาษา ขณะที่บางห้องก็ไม่มีแอร์ ส่วนโต๊ะหมู่บูชา บางโต๊ะก็ถูกปลวกกิน ไม่มีใครเข้าไปดู จึงได้นำความไปเล่าให้คุณจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ฟัง คุณจิรายุจึงได้นำความไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ปรับปรุงกุฏิใหม่ทั้งหมด โดยทรงติดลิฟท์ในพระตำหนัก 2 ชั้น เพื่อให้วีลแชร์ขึ้นได้และมีห้องพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งทราบว่า สมเด็จพระสังฆราชได้กลับมาประทับที่พระตำหนักเป็นเวลาสั้นๆ ครั้งหนึ่ง เรื่องนี้สะท้อนความผูกพันระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระสังฆราชเป็นอย่างดี”

    เล่าให้ฟังว่า อยากให้คนไทยจดจำสมเด็จพระสังฆราช ในฐานะพระชั้นผู้ใญ่ที่เน้นปฏิบัติ มักน้อย สันโดษ ถ่อมตน ใฝ่รู้ และทรงเป็นพระที่กตัญญู รู้คุณ โดยคนไทยควรภาคภูมิใจมากๆ ที่ทรงเป็นสกลมหาสังฆปรินายก ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำสงฆ์ทั่วโลก เป็นองค์แรกของประเทศไทย

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.2 KB
      เปิดดู:
      680
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.6 KB
      เปิดดู:
      699
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.8 KB
      เปิดดู:
      268
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2013
  2. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,612
    พระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา และบารมีสูงยิ่งนัก ขอน้อมสักการะดวงพระวิญญาณท่านสู่นิพพานด้วยเทอญ
     
  3. tng55555

    tng55555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +380
    (ต่อ) ธรรมะ-พระจริยาของสมเด็จพระสังฆราช

    [​IMG]

    หากจะถามว่าในบรรดาสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งหมด 19 พระองค์ สมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษาถึง 100 ปี มีกี่พระองค์ คำตอบ มีเพียง “หนึ่งพระองค์” เท่านั้น คือ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราช องค์ที่ 19

    พระจริยวัตรของพระองค์โสภณะงดงามและน่าเลื่อมใสยิ่ง พระเกียรติคุณทั้งก่อนจะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และตลอด 25 ปีในตำแหน่งประมุขสงฆ์ไทยได้ผรณาการแผ่ไพศาลทั้งในและต่างประเทศ ทว่าพระจริยาและพระเกียรติคุณมีอเนกอนันต์ มิอาจพรรณนาหมดสิ้น หลายเรื่องเป็นที่ปรากฏ แต่ก็มีหลายเรื่องที่ชาวไทยและพุทธศาสนิกชนอาจไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน และเพื่อเทิดพระเกียรติ จึงขอถ่ายทอดพระจริยาและพระเกียรติคุณจากปากของผู้ที่ถวายงานและเคยถวายงานใกล้ชิด

    [​IMG]

    แม้สุขภาพกายไม่ดี...แต่ทรงอายุยืน

    หากใครที่เคยอ่านพระประวัติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จะทราบว่าพระองค์มีพระสุขภาพไม่ค่อยดีตั้งแต่ทรงพระเยาว์ด้วยมีโรคประจำตัว แต่ใครจะคิดว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติศาสนกิจโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและยังเจริญด้วยอายุถึง 100 ปี ทรงมีเคล็ดลับหรือทรงปฏิบัติพระองค์อย่างไร

    พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย หนึ่งในผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และผู้ถวายการปรนนิบัติสมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่ตัวเองยังเป็นสามเณรอายุ 14 ปี เล่าว่า จริงอยู่ในแง่พระสุขภาพนั้นไม่ดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะมีโรคประจำตัว แต่พระองค์ไม่เคยคิดว่าพระวรกายเป็นปัญหา ไม่ย่อท้อต่อโรค ทรงมีพระทัยมุ่งมั่นกอปรด้วยพระวิริยอุตสาหะในการฟันฝ่าอุปสรรคนับครั้งไม่ถ้วน ที่สำคัญทรงใช้สมาธิในการดูแลพระวรกายไปพร้อมกับการรักษาของหมอ

    “ท่านไม่เคยย่อท้อต่อโรคที่เกิดแต่พระวรกาย เช่น ในคราวสอบเปรียญธรรม 4 ประโยคต้องเอาผ้าสบงรัดหน้าอกให้อุ่นแล้วไปสอบ หลายครั้งพระกำลังแม้จะอ่อนแรงแต่พระเมตตาไม่เคยอ่อนตาม ครั้งหนึ่งหมอเช็กอาการประชวรและแนะนำให้งดศาสนกิจ แต่ว่าก่อนเข้าโรงพยาบาลทรงรับงานไว้งานหนึ่งที่ต่างจังหวัด ท่านจึงขออนุญาตหมอไปเพราะกลัวงานนั้นจะเสีย อีกครั้งหนึ่งหมอขอประทานพระอนุญาตเพื่อจะผ่าตัดติ่งในน้ำดี ก็ทรงบอกว่าช่วงนี้มีภารกิจและศาสนกิจที่รับไว้เยอะเดี๋ยวจะลองดูเองก่อน แล้วก็ทรงใช้สมาธิในการบำบัดควบคู่ไปกับการดูแลรักษาของหมอ”

    ผู้ช่วยเลขานุการฯ เล่าต่อว่า สมเด็จฯ ทรงใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อาหารเสวยก็จะเป็นอาหารแบบคนโบราณบ้านนอกกินกัน เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด เห็ดยำเมืองกาญจน์ ไม่ใช่อาหารเลิศหรู และที่สำคัญจะไม่เสวยสัตว์ปีก และสัตว์ใหญ่ แต่อาจมีปลาบ้างเป็นบางครั้ง

    [​IMG]

    ทรงเคารพในระเบียบแบบแผน

    พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล ป.ธ.5) เจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชรูปแรก เล่าถึงสมเด็จฯ ว่า ทรงเป็นผู้ที่เคารพในกฎระเบียบต่างๆ อย่างเคร่งครัดไม่ว่าจะทรงทำอะไร ส่วนหนึ่งด้วยพระนิสัย และอีกส่วนเพราะไม่ต้องการให้ใครมองว่าทรงมีอำนาจแล้วจะใช้อำนาจอะไรก็ได้

    “หลังจากที่พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วได้มีพระดำริในการสร้างวัดในจังหวัดต่างๆ เช่น ชลบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เชียงราย และอาตมาได้รับมอบหมายให้ดูการสร้างวัด พระองค์ได้ประทานนโยบายว่า การจะสร้างวัดในที่ใดๆ จะต้องมีชาวบ้านในที่นั้นๆ และต้องไม่ไปเรี่ยไรหรือบอกบุญ เพราะจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน แต่ถ้าชาวบ้านอยากร่วมบุญก็ไม่ขัดข้อง”

    อดีตพระเลขานุการฯ เล่าต่อว่า สมเด็จฯ จะรับสั่งเสมอว่าต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นไปตามระเบียบของการสร้างวัด ไม่ให้ข้ามขั้นตอน เช่น ที่ที่จะสร้างวัดต้องมีเนื้อที่ตามกฎหมายกำหนด 6 ไร่ขึ้นไป ไม่เป็นป่าอนุรักษ์ เป็นต้น และทรงย้ำว่าอย่าถือว่าเป็นวัดที่สังฆราชไปสร้าง เพราะถ้าไปทำในส่วนที่ผิดก็จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่วัดทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่อยากจะสร้างวัดในอนาคตที่มักจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

    [​IMG]

    ทรงพระเมตตาต่อคนและสัตว์โลก

    พระธรรมบัณฑิต กล่าวต่อว่า พระเกียรติคุณหนึ่งที่เห็นตลอดเวลาที่ถวายงาน คือ ทรงมีพระเมตตาสูงทั้งต่อคนและสัตว์ ทุกครั้งที่เสด็จไปต่างจังหวัด เมื่อเห็นญาติโยมจะทรงสนทนาพูดคุยแบบเป็นกันเอง เพื่อให้สร้างความคุ้นเคย โดยครั้งหนึ่งไปเจอคนแก่นั่งกินหมากก็เข้าไปทักทายและมีรับสั่งถามว่า กินหมากมานานหรือยัง โยมแม่ของอาตมาก็กินเหมือนกัน แต่เหตุการณ์ที่เห็นแล้วประทับใจ ก็คือครั้งที่ทรงเผชิญหน้ากับควายขณะออกบิณฑบาตผ่านทุ่งนา

    “ครั้งหนึ่งสมเด็จฯ เสด็จไปสกลนคร วัดท่านอาจารย์วัน (ปกติจะทรงบิณฑบาตทุกวัน) ตอนเช้าจึงเสด็จออกบิณฑบาตผ่านทุ่งนา โดยอาตมาเดินตามและพระอีกจำนวนหนึ่ง พอเดินไปได้ 2 กิโลเมตร ก็ไปเจอควาย ซึ่งควายจะไม่ถูกกับพระอยู่แล้ว เพราะสีจีวรมันขัดกับตาของมัน พอมันเห็นก็ไม่พอใจ จะวิ่งเข้าใส่ สมเด็จฯ ไม่หยุด เดินไปเรื่อยๆ ประมาณ 3 เมตรก็หยุด ทรงยืนนิ่ง 34 นาที อาตมาอยู่ด้านหลังใจเต้นตุบๆ แต่สักพักควายก็ยกหัวขึ้นแล้ววิ่งหนีไป พอควายไปแล้ว ก็ทูลถามว่าทรงว่าคาถาอะไร ก็รับสั่งว่าแผ่เมตตาให้เขา ต่างคนต่างมีหน้าที่ปฏิบัติทางใครทางมัน”

    อดีตพระเลขานุการฯ เล่าต่อว่า ช่วงที่ควายวิ่งเข้ามานั้นพระองค์ไม่ได้รับสั่งกับพระที่ติดตามว่าให้ระวัง ทั้งที่โดยทั่วไปถ้าใครเจอเหตุการณ์แบบนี้ก็จะต้องบอกทุกคนให้ระวัง แต่วันนั้นไม่รับสั่งอะไร กลับทรงยืนนิ่งประจันหน้ากับควาย

    [​IMG]

    แสดงธรรมเข้าใจง่าย ไม่อ้างอาจารย์

    อดีตพระเลขานุการฯ เล่าพระจริยาอย่างหนึ่งของสมเด็จพระสังฆราชว่า ทุกครั้งที่แสดงธรรมจะทรงแสดงธรรมแบบง่ายๆ เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจและไม่ทรงอ้างเรื่องอภินิหาร แต่สิ่งหนึ่งที่แปลกกว่าอาจารย์ทั้งหลายและน่าจะเป็นแบบอย่างสำหรับพระสงฆ์ทั้งหลายในการที่จะเทศน์สอนชาวบ้านในปัจจุบัน คือ จะทรงอ้างพระพุทธเจ้าตลอด ไม่อ้างธรรมของพระอาจารย์ท่านนั้นท่านนี้

    “เวลาที่พระเทศน์หรือแสดงธรรมมักจะอ้างว่าเป็นธรรมะของพระอาจารย์รูปนั้นรูปนี้ แต่สมเด็จฯ ไม่ทรงใช้ ทรงใช้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว แม้ว่าจะไปฟังจากอาจารย์ทั้งหลายที่สอนอย่างโน้นอย่างนี้ โดยเฉพาะเรื่องศีล สมาธิ ภาวนา ก็จะสอนว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ขณะที่ธรรมะที่ทรงแสดงก็จะรับสั่งแบบที่เข้าใจง่าย เช่น เรื่องสติปัฏฐาน 4 เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยาก แต่ถ้าใครฟังที่ท่านเทศน์ก็อดพูดไม่ได้ว่าช่างเข้าใจง่ายแท้”

    เจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เล่าต่อว่า เรื่องสติปัฏฐาน 4 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้าหน้าที่วิทยุ อส. มาบันทึกเทปที่วัดบวรนิเวศวิหารในปี พ.ศ. 2514 โดยสมเด็จฯ ได้เทศน์สอนพระนวกะและญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งต่อมาทางวัดบวรฯ ได้ทำเรื่องขอทางสำนักราชเลขาธิการเพื่อขอก๊อบปี้ต้นฉบับมาทำเป็นซีดีแจกในคราวที่สมเด็จฯ ทรงเจริญพระชันษา 90 ปี

    [​IMG]

    [​IMG]




    ความดีที่สมเด็จท่านทรงกระทำจะอยู่ในหัวใจของข้าพเจ้าและคนไทยตลอดไป ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.7 KB
      เปิดดู:
      484
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.7 KB
      เปิดดู:
      125
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.7 KB
      เปิดดู:
      167
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67 KB
      เปิดดู:
      148
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.2 KB
      เปิดดู:
      378
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.5 KB
      เปิดดู:
      123
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.2 KB
      เปิดดู:
      172
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2013
  4. thexjeab

    thexjeab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +685
    กราบนมัสการ พระองค์ท่านครับ
     
  5. Naka99

    Naka99 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +20
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบนมัสการ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  6. tng55555

    tng55555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +380
    (ต่อ1) ธรรมะ-พระจริยาของสมเด็จพระสังฆราช

    [​IMG]

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ

    เนื่องจากทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี จึงทรงศึกษาหาความรู้สมัยใหม่ด้วยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นเหตุให้ทรงมีทัศนะกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ทรงนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาได้อย่างสมสมัย เหมาะแก่บุคคลและสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน และทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    ใน ด้านการศึกษา ได้ทรงมีพระดำริทางการศึกษาที่กว้างไกล ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย คือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่ต้น ทรงริเริ่มให้มีสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ

    ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ได้ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่าง เป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่าง ประเทศเป็นรูปแรก เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรป คือวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงนำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก โดยการสร้างวัดพุทธรังษีขึ้น ณ นครซิดนีย์ ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาลเป็นครั้งแรก ทำให้ประเพณีการบวชฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเนปาลยุคปัจจุบัน ทรงเจริญศาสนไมตรีกับองค์ทะไล ลามะ กระทั่งเป็นที่ทรงคุ้นเคยและได้วิสาสะกันหลายครั้ง และทรงเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรพระองค์แรกที่ได้รับทูลเชิญให้เสด็จเยือน สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในประวัติศาสตร์จีน

    [​IMG]

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ

    เนื่องจากทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี จึงทรงศึกษาหาความรู้สมัยใหม่ด้วยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นเหตุให้ทรงมีทัศนะกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ทรงนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาได้อย่างสมสมัย เหมาะแก่บุคคลและสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน และทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    ใน ด้านการศึกษา ได้ทรงมีพระดำริทางการศึกษาที่กว้างไกล ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย คือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่ต้น ทรงริเริ่มให้มีสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ

    ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ได้ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่าง เป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่าง ประเทศเป็นรูปแรก เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรป คือวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงนำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก โดยการสร้างวัดพุทธรังษีขึ้น ณ นครซิดนีย์ ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาลเป็นครั้งแรก ทำให้ประเพณีการบวชฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเนปาลยุคปัจจุบัน ทรงเจริญศาสนไมตรีกับองค์ทะไล ลามะ กระทั่งเป็นที่ทรงคุ้นเคยและได้วิสาสะกันหลายครั้ง และทรงเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรพระองค์แรกที่ได้รับทูลเชิญให้เสด็จเยือน สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในประวัติศาสตร์จีน

    [​IMG]

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2013
  7. tng55555

    tng55555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +380
    ปฏิปทาแบบอย่าง

    [​IMG]

    การกล่าวถึงพระคุณธรรมในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ข้างต้นนั้น เป็นการมองชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในภาพรวมเช่นกับชีวิตของคนทั่วไปว่า ทรงมีอะไรบ้าง ทรงทำอะไรบ้าง แต่ถ้ามองชีวิตของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง ก็จะเห็นแบบอย่างของชีวิตในทางธรรมที่ชัดเจนอีกภาพหนึ่ง นั่นคือ ปฏิปทาแบบอย่าง สำหรับพระสงฆ์ทั่วไป พระปฏิปทาอันเป็นแบบอย่างดังกล่าวก็คือ

    ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ
    ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย
    ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ

    พระปฏิปทาประการแรกคือ ทรงเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงสำเร็จภูมิเปรียญธรรม 9 ประโยค อันเป็นชั้นสูงสุดของหลักสูตรการศึกษาด้านปริยัติของคณะสงฆ์ นอกจากจะทรงสำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดแล้ว ยังทรงใฝ่แสวงหาความรู้ทางพระพุทธศาสนา และความรู้ด้านอื่น ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ทางพระพุทธศาสนาหรือความรู้ทางธรรม นั้นพระองค์ทรงใช้การพิจารณาไตร่ตรอง เพื่อความแจ่มแจ้งในธรรมอยู่เสมอ ไม่ทรงถือพระองค์ว่า เป็นผู้รู้แล้ว แต่ทรงถือพระองค์ว่าเป็นผู้กำลังศึกษา ดังที่มักทรงกลา่ วในเวลาทรงสอนธรรม แกคนทั้งหลายด้วยความถ่อมพระองค์ว่า “ในฐานะผู้ร่วมศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยกัน”

    แต่ในขณะเดียวกัน เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็ทรงเอาพระทัยใส่ในการปฏิบัติด้วยกล่าวคือ ทรงปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพระองค์จะประทับอยู่ในพระอาราม ที่อยู่ท่ามกลางบ้านเมือง ที่เรียกว่า “คามวาสี” แต่พระองค์ก็ทรงปฏิบัติพระองค์ตามอย่างของ พระที่ประจำอยู่ในวัดท่ามกลางป่าเขา ที่เรียกว่า “อรัญวาสี” กล่าวคือ ในตอนกลางวันก็ศึกษาธรรม ปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ ตอนกลางคืน ก็ทรงไหว้พระสวดมนต์ประจำวันแล้วทำสมาธิกรรมฐานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้ว จึงบรรทม ทรงตื่นบรรทมเวลา 3 นาฬิกาครึ่ง (อย่างพระวัดป่าทั่วไป) หลังจากทำกิจส่วนพระองค์เรียบร้อยแล้ว ทรงทำวัตรสวดมนต์ประจำวันแล้ว ทรงสวดพระสูตรต่าง ๆ บ้าง ทรงทบทวนพระปาติโมกข์(เป็นตอน ๆ) บ้างแล้ว ทรงทำสมาธิกรรมฐานจนถึงรุ่งอรุณ จึงเสด็จออกบิณฑบาต แม้เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ยังเสด็จออกบิณฑบาต ยกเว้นวันที่มีศาสนกิจอื่นเพราะทรงถือว่าการเดินบิณฑบาตกิจวัตรของ พระและเป็นการออกกำลังไปพร้อมกันด้วยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงถือเป็นหน้าที่ที่ภิกษุสามเณรพึงปฏิบัติ ทรงแนะนำภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานนั้น เป็นการหางาน ให้ใจทำใจจะได้ไม่ว่าง หากใจว่าง ใจก็จะฟุ้งซ่านวุ่นวายไปในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ที่สำคัญคือ การ ปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน เป็นการรักษาใจให้สงบ ซึ่งจะช่วยให้ภิกษุสามเณรดำรงอยู่ในสมณเพศ อย่างเป็นสุข ภิกษุสามเณรที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิ กรรมฐานนั้น มักจะเป็นอยู่อย่างไม่เป็นสุข หรือที่สุดอยู่ไม่ได้ ก็ต้องลาสิกขาออกไป

    ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ ความเคร่งครัดในพระวินัยพระปฏิปทาข้อนี้ย่อมเป็นที่ปรากฏต่อสายตาของคนทั่ว ไปผู้ได้เคยพบเห็นเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นว่า ทรงเป็นผู้สงบนิ่ง พูดน้อย ไม่ว่าประทับในที่ใด ทรงอยู่ในพระอาการสำรวมเสมอความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่าย แม้ที่อยู่อาศัยก็ไม่โปรดให้ประดับตกแต่ง ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา”พระ ปฏิปทาข้อนี้ที่ปรากฏอย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ทรงสะสม วัตถุสิ่งของที่มีผู้ถวายมา ก็ทรงแจกจ่ายต่อไปตามโอกาส ครั้งหนึ่ง มีผู้แสดงความประสงค์จะถวายรถยนต์สำหรับทรง ใช้สอยประจำพระองค์ เพื่อความสะดวกในการที่จะเสด็จไปทรงปฏิบัติภารกิจในที่ต่าง ๆ ส่วนพระองค์พระองค์ก็ตอบเขาไปว่า “ไม่รู้จะเอาเก็บไว้ที่ไหน” จึงเป็นอันว่าไม่ทรงรับถวายในวโรกาสทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา หลวงพ่อคูน ปริสุทฺโธ ทูลถวายจตุปัจจัยร่วมบำเพ็ญพระกุศล 7 ล้านบาท เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงอนุโมทนา ขอบคุณหลวงพ่อคูนแล้วตรัสกับหลวงพ่อคูนว่า “ขอถวายคืนร่วมทำบุญกับหลวงพ่อ ด้วยก็แล้วกัน” ก็เป็นอันว่า ทรงรับถวายแล้วก็ถวายคือกลับไป

    เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “เป็นพระต้องจน” และไม่เพียง แต่ทรงสอนผู้อื่นเท่านั้น แม้พระองค์เองก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นพระที่จนเหมือนกัน ครั้งหนึ่ง หลังจากทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วไม่นานนักศิษย์ ใกล้ชิดคนหนึ่ง ากราบทูลว่า “ขณะนี้วัด………ที่เมืองกาญจน์กำลังสร้างสะพานข้ามแม้น้ำ เกือบจะเสร็จแล้ว ยังขาดเงินอีกราว 7-8 แสนบาท อยากกราบทูลใต้ฝ่าพระบาทเสด็จไปโปรดสักครั้ง สะพาน จะได้เสร็จเร็ว ๆ ไม่ทราบว่าใต้าพระบาทจะพอมีเวลาเสด็จได้หรือไม่ กระหม่อม” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตรัสตอบว่า “เวลาน่ะพอมีแต่เงินตั้งแสนจะเอาที่ไหน เพราะพระไม่มีอาชีพการงานไม่มี รายได้เหมือนชาวบ้าน แล้วแต่เขาจะให้”พระปฏิปทาของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในฐานะที่ทรงเป็นพระรูปหนึ่ง จึงเป็นที่น่าประทับใจเป็นพระปฏิปทาที่ควรแก่การยึดถือเป็นแบบอย่าง

    [​IMG] [​IMG]

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2013
  8. CITYNAVYMAN

    CITYNAVYMAN Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +97
    กราบนมัสการสมเด็จเจ้าพระคุณ และกราบอนุโมทนาสาธุด้วยครับ
     
  9. ลุงแมว

    ลุงแมว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    4,687
    ค่าพลัง:
    +7,941
    [​IMG]

    ขอกราบนมัสการพระอริยสงฆ์ผู้เป็นที่พึ่งของเวไนยสัตว์ด้วยครับ
     
  10. jajakob9

    jajakob9 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +41
    ข้าพเจ้าขอกราบนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  11. ทิพย์ปทุโม

    ทิพย์ปทุโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +2,471
    สาธุ เป็นเพจที่มีแต่บุญกุศล ขออนุญาตเผยแพร่บุญกุศลนี้ให้เพื่อน ๆ ได้รับบุญไปด้วยค่ะ
     
  12. tng55555

    tng55555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +380
    ...............................................................................

    ด้วยความเต็มใจครับ โมทนาบุญกับท่าน และทุกท่านด้วยครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2013
  13. Talrae

    Talrae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +138
    กราบนมัสการค่ะ
     
  14. tng55555

    tng55555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +380
    ชีวิตแบบอย่าง

    [​IMG]

    ชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้นก็ไม่แตกต่างไปจากชีวิตของคนทั่ว ๆ ไป คือมีทั้งผิด หวังและสมหวัง มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว มีทั้งดีใจและเสียใจ แต่โดยที่ทรงมีคุณธรรม หลายประการที่โดดเด่นเป็นแกนหรือเป็นแก่นของชีวิต ชีวิตของพระองค์จึงมีความสมหวัง มากกว่าผิดหวัง มีความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว และมีความดีใจมากกว่าเสียใจกล่าวโดยรวมก็คือ ด้วยคุณธรรมอันเป็นแกนของชีวิตดังกล่าวพระองค์จึงทรงประสบความสำเร็จ หรือทรง เจริญก้าวหน้าไปตามครรลองของชีวิตจนถึงที่สุด ดังเป็นที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ หากวิเคราะห์ ตามที่ปรากฏในพระประวัติ ก็จะเห็นได้ว่า พระคุณธรรมที่โดดเด่นในชีวิตของพระองค์ ก็คือ

    อดทน
    ใฝ่รู้
    กตัญญู
    ถ่อมตน
    คารวธรรม

    พระคุณธรรมประการแรกที่ปรากฏเด่นชัดในชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก็คือ ความอดทน (ขันติ) เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงมีพระสุขภาพอ่อนแอไม่แข็งแรงมาตั้งเยาว์วัย และมีผลสืบเนื่องมา จนถึงเมื่อทรงบรรพชาเป็นสามเณร พระสุขภาพที่อ่อนแอนับเป็นอุปสรรคสำคัญของการศึกษาเล่าเรียน พระองค์ต้องทรงใช้ความอดทนอย่างหนักจึงสามารถผ่านพ้นอุปสรรคแต่ละขั้นตอนมา ได้ ทรงเล่าว่า บางครั้งเมื่อถึงเวลาสอบ ต้องทรงใช้ผ้าสักหลาดพันรอบอกหลายชั้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการหนาวสั่น ในเวลานั่งสอบ นอกจากจะต้องงอดทนต่อความไม่สมบูรณ์ของร่างกายแล้ว ยังต้องงอดทนต่อเสียง ค่อนแคะของเพื่อนร่วมสำนักอีกนานัปการ แต่สิ่งเหล่านี้แทนที่จะทำให้กำลังพระทัยลดน้อยลง แต่กลับทำให้ทรงรู้สึกว่าจะต้องมีความอดทนมากขึ้น

    [​IMG][​IMG]

    พระคุณธรรมที่โดดเด่นประการต่อมาก็คือ ความใฝ่รู้ (สิกขกามตา) เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้มาโดยตลอดแม้เมื่อทรงเป็นพระมหาเถระแล้ว พระอัธยาศัยใฝ่รู้ของพระองค์ ก็ไม่เคยจืดจาง ได้ทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอด้วยการทรงอ่านหนังสือ ทั้งที่เป็นหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หนังสือดีมีประโยชน์บางเรื่องที่ทรงอ่านแล้ว ยังทรงพระเมตตาแนะนำให้ ผู้ใกล้ชิดอ่านด้วย โดยมักมีรับสั่งว่า “เรื่องนี้เขาเขียนดี น่าอ่าน”

    [​IMG]

    พระคุณธรรมข้อกตัญญู ดังกล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงมี พระคุณธรรมข้อนี้อย่างเด่นชัด และทรงหาโอกาสสนองคุณของผู้ที่มีพระคุณต่อพระองค์ แม้เพียงเล็กน้อยอยู่เสมอ ดังเช่น เมื่อทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ก็ทรงรำลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) ที่ทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร เป็นรูปแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะหาก ไม่มีสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นรูปที่ ๑ ก็คงไม่มีสมเด็จพระญาณสังวร คือพระองค์เอง เป็นรูปที่ ๒ ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา จึงเสด็จไปถวายสักการะพระรูปสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ที่วัดราชสิทธารามเป็นประจำทุกปีตลอด

    [​IMG]

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...