เล่าขานตำนานสยามตำนานเจดีย์๑๒นักษัตร ตอน พระบรมธาตุเจ้าจอมทองนักษัตรปีชวด

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 1 ธันวาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    เล่าขานตำนานสยามตำนานเจดีย์๑๒นักษัตร ตอน พระบรมธาตุเจ้าจอมทองนักษัตรปีชวด
    [​IMG]
    พระธาตุเจ้าศรีจอมทองมีประวัติอันยาวนานมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลซึ่งพอะสรุปได้ดังที่จะกล่าวต่อไป ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทอง สรุปใจความได้ว่าดอยจอมทอง หรือ ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และ มีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “ เมืองอังครัฏฐะ ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “ บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย ” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และ ทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา( พระทักษิณโมลี ) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้ ” แล้วเสด็จกลับส่วน พระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนม์มายุของพระองค์

    ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้.

    กาลหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จไปสู่ดอยจอมทอง และทรงได้สั่งขุดคูหาให้เป็นอุโมงค์ใต้พื้นดอยจอมทอง แล้วให้สร้างสถูปทองคำไว้ภายในคูหาและยังหล่อพระพุทธรูปทั้งเงินและทอง ตั้งไว้รอบสถูปนั้นแล้ว เอาพระบรมธาตุเจ้าที่อยู่ในสถูป ที่พระยาอังครัฏฐะ ให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปไว้ในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้ดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำคูหาเอาไว้ แล้วทรงอธิษฐานว่า “ ต่อไปข้างหน้า ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ผู้ชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา แล้วพระองค์จึงเสด็จกลับเมืองปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย

    ต่อมาหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปริพนิพพานแล้ว 813 ปี หรือเมื่อ พ . ศ .1994 สามีภรรยาคู่หนึ่งชื่อนายสอยและนางเม็ง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ดอยจอมทองและเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง สามีภรรยาทั้งคู่ได้แผ้วถางบริเวณยอดดอยพร้อมทั้งสร้างเจดีย์และพระพุทธรูป ๒ องค์ ไว้บนดอยจอมทองซึ่งผู้คนได้พบเห็นจึงเรียกว่า ” วัดศรีจอมทอง ” การสร้างวัดยังไม่เสร็จดี นายสร้อย นางเม็ง ก็ได้ถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๐๐๙ มีชายสองคน ชื่อ สิบเงิน และ สิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะก่อสร้างวัดศรีจอมทอง ให้เป็นรูปเป็นร่าง มีพระวิหารมุงด้วยคาหลังหนึ่ง และ ได้นิมนต์พระภิกษุชื่อ ” สริปุตต์เถระ ” มาเป็นเจ้าอาวาสและท่านเจ้าอาวาสก็ได้ปฎิสังขรณ์วิหารให้มั่นคงแข็งแรงใช้ไม้ระแนงและกระเบื้องมุงหลังคา จากนั้นหลังจากที่เจ้าอาวาสได้มรณภาพไป ต่อจากนั้นก็มีเจ้าอาวาสองค์ต่อๆมาได้สร้าง ปราสาทเฟื่อง และ ระเบียงหน้ามุขหลังวิหาร เพื่อเป็นที่ไว้พระพุทธรูป และ ยังก่อกำแพงรอบพระวิหารทั้ง 4 ด้าน พร้อมทั้งสร้างกุฎิเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ และ ก็ ช่วยบูรณะปฎิสังขรณ์วัดอยู่เสมอ

    กาลล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๐๔๒ สมัยนี้ พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้มีตาปะขาวคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่วัดนั้นเกิดนิมิตฝันว่า เทวดาได้มาบอกว่าใต้พื้นวิหารบนยอดดอยที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า และ พระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการะบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันนั้นให้แก่เจ้าอาวาสฟัง เจ้าอาวาสจึงได้ทำการอธิษฐานจิตว่า “ ถ้ามีจริงดังความฝันนั้น ขอให้พระบรมธาตุจงได้เสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงได้ไหว้สักการบุชาพระบรมธาตุนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้เห็นและได้สักการบูชาแล้ว ขออย่าให้ข้าพเจ้าสิ้นชีวิตไปเสียก่อนเลย ” ครั้นอธิษฐานแล้ว จนล่วงมาถึงปีจุลศักราช 861 ปีพ.ศ. 2042 เดือน 4 ขึ้น 14 ค่ำ พระบรมธาตุเจ้า ก็เสด็จออกจากพระสถูปทองคำ ซึ่งก็แสดง ปฎิหาริย์ เป็นมหัศจรรย์ต่าง ให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แล้วในวันรุ่งขึ้นพระธมมปัญโญเถระกับตาปะขาวก็ได้พบพระบรมธาตุเจ้าอยู่ในรูพระเกศโมลีของพระพุทธรูป ซึ่งตั้ง ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารนั้น จึงได้เก็บรักษากันไว้โดยเงียบ ๆ และ รู้กันเพียงแค่ตาปะขาวและเจ้าอาวาสเท่านั้น.

    เมื่อพระบรมธาตุเสด็จออกมาจากคูหา ปรากฏแก่คนภายนอกแล้ว พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาส ได้เก็บพระธาตุรักษาไว้ในช่องพระโมลีพระพุทธรูป หลังจากนั้นก็มีพระอานันโทเป็นเจ้าอาวาสองค์ถัดมา และก็มี พระเหมปัญโญ พระญาณมงคล พระพุทะเตชะ พระอรัญวาสี พระธัมมรักขิต พระไอยกัปปกะ กาลล่วงมาถึง พ.ศ. 2057 สมัยของพระมหาสีลปัญโญเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจอมทอง มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระมหาพุทธญาโณ ท่านไปยังเมืองพุกามและได้ตำนานพระบรมธาตุมาจากเมืองพุกาม และ ได้พิจารณาจากตำนานจึงคาดคะเนว่าพระบรมธาตุน่าจะตั้งอยู่ที่วัดศรีจอมทองแน่ จึงได้สั่งให้พระอานันทะ และ ปะขาวนักบุญทั้งหลาย ให้ไปที่วัดศรีจอมทอง และ หากไปถึงวัดให้ทุกคนทำการสักการบูชาดอกไม้ธูปเทียนและให้ตั้งสัตยาธิษฐาน หากว่าพระบรมธาตุตั้งอยู่ในที่นั้นจริงดังตำนานกล่าว ขอพระบรมธาตุจงแสดงปฎิหาริย์เป็นอัศจรรย์ต่างๆให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วยเทอญ เมื่อพระอานันทะได้ไปถึงวัดศรีจอมทองแล้วก็ได้ทำการเคารพสักการบูชา และ ตั้งสัตยาธิษฐานตามที่พระพระพุทธญาโณสั่งทุกประการ ซึ่ง ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญ เจ้าอาวาสเมื่อได้เห็นอาการของคนเหล่านั้นเช่นนั้นจึงได้นำเอาพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษากันต่อมานั้นออกมาแสดงให้พระอานันทะและปะขาวนักบุญทั้งหลายเหล่านั้นได้เคารพสักการบูชา แล..

    ความเป็นมาแห่งพระบรมธาตุเจ้าในกาลต่อมา

    พระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อได้ทราบความที่ พระมหาพุทฺธญาโณว่า “ พระบรมธาตุเจ้าได้เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ภายในอาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์เช่นนั้นแล้ว ” ก็มีพระทัยยินดีปิติปราโมทย์เป็นกำลัง จึงรับคำสั่งแก่พระมหาพุทฺธาญาโณเถระว่า “ ขอพระคุณเจ้าจงไปจัดการเรื่มปฏิสังขรณ์ปลูกสร้างพระวิหารหลังหนึ่ง ให้เป็น ๔ มุขเหมือนวิหารวัดชัยศรีภูมิ แล้วได้ก่อปราสาทหลังหนึ่งให้เหมือนปราสาทอันมีอยู่ในพระอุโบสถวัดมหาโพธิ์หลวง ( วัดเจ็ดยอด) ไว้ภายในท่ามกลางพระวิหารนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า ให้เป็นอัครสถานอันประเสริฐต่อไป ” ดังนี้ แล้วทรงประทานเงินหมื่นหนึ่งเพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ในการก่อสร้าง พระเถระเจ้ารับคำพร้อมด้วยปะขาวนักบุญ และนายช่างทั้งหลายไปสู่วัดพระธาตุศรีจอมทอง แล้วร่วมกับเจ้าอาวาสเริ่มการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาท ในปีชวดอัฏฐศก พ.ศ. ๒๐๖๐ ตามแบบที่พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครสั่งนั้นทุกประการ เมื่อการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาทสำเร็จบริบูรณ์แล้ว พระเถระจึงไปทูลถวายพระพรให้เจ้าผู้ครองนคร ทรงทราบ พระเมืองแก้วเจ้าผู้ครองนครมีใจยินดีมากนัก จึงรับสั่งให้สุวรรณช่างทองสร้างโกศทองคำน้ำหนักได้ ๕๖๐ คำ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุและพร้อมด้วยเถรานุเถระ เสนาอำมาตย์ชาวบ้านชาวเมืองออกไปทำมหกรรมฉลองเป็นมหาปางใหญ่ แล้วเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าไว้ในโกศทองคำตั้งไว้ภายในปราสาทนั้นแล้ว ทรงโปรดพระราชทานวัตถุไทยทานและเครื่องแห่ไว้กับพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก และถวายข้าคนไร่นาตามเขตป่า ที่ดิน ย่านน้ำ ไว้สำหรับให้ปฏิบัติรักษาทำนุบำรุงพระบรมธาตุให้เจริญถาวรสืบต่อไปตลอด ๕๐๐๐ พระวัสสา ส่วนพระมหาสีลปัญดญเถระ ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองได้อยู่อุปฐากรักษาทำนะบำรุงพระธาตุเจ้าได้ 15 พรรษาก็มรณภาพไป ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชา ได้มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ 36 พรรษา ก็มรณภาพไป ต่อจากนั้นพระสังฆราชาญาณมังคละมาเป็นเจ้าอาวาสได้ 12 พรรษา ต่าอจากนั้นพระมหาสังฆราชาชวนปํญโญโสภิตชิตินทริยวโสจากวัดหัวครั้งหลวงมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ 10 พรรษาก็มรณภาพไป และพระมหาสามิคณาจิตตะผู้เป็นศิษย์ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสแทนต่อมา ปีพ.ศ.2100 ปีมะโรงเดือน 4 ทายกทายิกาศรัทธาทั้งหลาย ได้ไปนิมนต์พระมหาสังฆราชาญาณมงคละอยู่แคว้นทุ่งตุ๋มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ในสมัยพระนางมหาเทวีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พร้อมด้วยพระอัครพระราชมารดา ( พระแม่ราชวงศ์มังรายที่ 15 ) มีจิตศรัทธานิมนต์พระบรมธาตุจอมทองเข้าไปในเมืองเชียงใหม่มีความเลื่อมใสยินดีในพระบรมธาตุเจ้ายิ่งนักจึงถวายไทยทานเป็นอันมาก จึงมีรับสั่งแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง 4 คือพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้าน พระยาเด็กชาย ว่าต่อแต่นี้ไป บรรดาข้าพระธาตุเจ้าจอมทองให้ยกเว้นอย่าได้ใช้สอยเก็บส่วย และ เกณฑ์ไปทำการบ้านเมืองเข้าอยู่อุปัฎฐากพระบรมธาตุเจ้าทุกวันคืนอย่าได้ขาดดังที่ พระรัตนราชหากได้ประธานไว้นั้นทุกประการ

    ถึงปีขาล เดือน 3 ใต้ เดือน 5 เหนือ พระยาสามล้านไชยสงครามได้มีจิตศรัทธามาใส่ช่อฟ้า บ้านลมวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง และสร้างถนนจากวัดไปถึงฝั่งน้ำปิงและถวายคนไว้เป็นข้าพระรัตนตรัย ลงอาญาหาบเงินตราหินไว้เป็นหลักฐาน

    ถึงปี พ.ศ. 2112 พระเจ้ามังธาเจ้าหงสาวดี พระเจ้าแผ่นดินพม่า ได้ยกทัพมาปราบลานนาไทยเชียงใหม่ใว้ในอำนาจ ได้ริบเอาทรัพย์ของพระศาสนาไปและ บ้านเมืองเชียงใหม่ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า

    ถึงพ.ศ. 2182พระเจ้าสุทโธธรรมราชา พระเจ้าแผ่นดินพม่าได้ตกแต่งเคริ่องวัตถุไทยทาน มาถวายบูชาพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง ตามเยี่ยงอย่างเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่หากได้เคยถวายทานมาแล้วแต่หนหลัง

    ถึง พ.ศ. 2314 ปีขาล โทศก เดือน 5 แรม 11 ค่ำ วันจันทร์ พระบรมธาตุเจ้าองค์ประเสริฐก็อันตรธานสูญหายไป นับแต่นั้นมาถึงปีมะแมศก จุลศักราชล่วงได้ 1136 พ.ศ. 2318 กษัตริย์เมืองอยุธยา ยกพลโยธา มารบกับพม่าที่เมืองนครเชียงใหม่ได้ชัยชนะแล้วยกพลไปสู่นครหริภุญ นมัสการพระธาตุหริภุญชัยแล้ว จึงแต่งตั้งให้พระยาจ่าบ้านเป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิเชียรปราการ เมืองเชียงใหม่จึงได้หลุดจากพม่ามาขึ้นกับไทยกลางส่วนใหญ่ตลอดมาจนทุกวันนี้

    ถึง พ.ศ. 2322 พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มาคำนึงถึงพระบรมธาตุเจ้าจอมทององค์ประเสริฐ อันได้สูญหายไปแต่ พ.ศ. 2314 นั้น จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อจะได้นำไปเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุเจ้า แล้วจึงรับสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย ไปทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าตามราณประเพณีเป็นครั้งแรกก่อน พระบรมธาตุก็ยงไม่เสด็จมา และ ได้อาราธนาอีก 2 ครั้ง จนถึงแรม 4 ค่ำเวลาก๋องงาย( 19.00 น)พระบรมธาตุเจ้า ก็ได้เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาท ตามคำอธิษฐาน จากนั้นพระยาวิเชียรปราการเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ ทำการสระสรง และ ถวายทานต่างๆ นาน 7 วัน 7 คืน แล้วจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม

    หลังจากนั้นก็มีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อีกหลายพระองค์ได้มาบูรณะปฎิสังขรณ์วัดพระธาตุศรีจอมทอง รวมไปถึง การสร้างโกศเงินโกศทอง เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ นอกจากนี้ยังมีการอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าไปในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านชาวเมืองได้สักการบูชา เสร็จแล้วก็อัญเชิญกลับมาที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม และ ในปีพ.ศ. 2465 เจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พร้อมด้วยพระชายา(เจ้าดารารัศมี)ได้รับสั่งพระนายกคณานุการให้จัดการ ปฎิสังขรณ์ พระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง ถึงเดือน 7 วันเพ็ญ จึงได้พร้อมกันทำบุญถวายทานฉลองพระวิหารเป็นมหาปางอันใหญ่ พร้อมทั้งสระสรงพระบรมธาตุเจ้าด้ยสันโธทกเป็นมโหฬารยิ่งในกาลนั้นแล..
    ที่มาhttp://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงถวายวัดกุฏีทอง-รับพระผงกริ่งนาคราช.557837/
     

แชร์หน้านี้

Loading...