เศรฐกิจพอเพียง แนวคิด-ประสบการณ์การปฏิบัติ กับพลวัตแห่งสุขภาพกาย จิต ศาสนา สังคม

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย Attawat_Rx, 2 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เรื่องเล่าจากบ้าน "พ่อ" ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>9 เมษายน 2550 09:25 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>ปัญญา ปุลิเวคินทร์ หัวหน้าศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นเรศศักดิ์ เชื้อคนแข็ง หรือ “กิ” ขณะบรรยายเศรษฐกิจพอเพียงให้เด็กๆ ฟัง </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ลูกในบ้านพ่อบางส่วนที่มาทำงานตั้งแต่เริ่มบุกเบิก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>สำรวย เพิ่มสำราญ เซียนสมุนไพร</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>“...เศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้พอเพียง ถ้าไม่พอเพียงไปไม่ได้ แต่ถ้าพอเพียงสามารถนำพาประเทศได้ดี ไปได้ดี...”
    กระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


    ทุกพื้นที่ในผืนแผ่นดินไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเหยียบย่างไปอย่างทั่วถึง แม้ว่าในบางพื้นที่จะเป็นแหล่งทุรกันดาร แต่หากมีพสกนิกรของพระองค์พำนักอาศัยอยู่ไม่ว่าจะห่างไกล หรือต้องเดินทางด้วยความยากลำบากเช่นไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิเคยทรงทอดทิ้งประชาชนของพระองค์

    นับเป็นเวลาหลาย 10 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรชาวไทยอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ด้วยทรงมีพระประสงค์ให้ประชาชนไทยยึดหลัก “พอเพียง” ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

    “ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ” เป็นอีกหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 โดยความร่วมมือของสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิชัยพัฒนา

    ปัญญา ปุลิเวคินทร์ หัวหน้าศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นผู้ลงแรง ลงใจบุกเบิกศูนย์แห่งนี้ เล่าให้ฟังว่า ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านท่าด่าน ต.หินตั้ง อ.เมือง จ.นครนายก เนื้อที่รวมทั้งสิ้น 14 ไร่

    “ที่ดิน 14 ไร่ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ภูมิรักษ์ฯ เป็นที่ดินของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อเอาไว้ ด้วยพระองค์เห็นว่า จ.นครนายกเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะ ประกอบกับมีการก่อสร้างเขื่อนขุนด่านปราการชล หรือเขื่อนคลองท่าดาน ซึ่งเป็นพระราชดำริของในหลวงอีกเช่นกันอยู่ใกล้กับที่ดินผืนนี้เพียง 200 เมตร พระองค์จึงทรงซื้อเอาไว้ โดยมีพระประสงค์ให้อนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวไว้ เพราะต่อไปในอนาคตพื้นที่รอบๆ เขื่อนขุนด่านฯ จะกลายเป็นรีสอร์ตเสียหมด”

    สมาคมศิษย์เก่าวชิราวุธฯ จึงได้ขออนุญาตจากมูลนิธิชัยพัฒนา ใช้ที่ดิน 14 ไร่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดสร้างเป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลแนวพระราชดำริและทฤษฎีการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ทรงมีพระราชานุญาตพระราชทานตามที่เสนอ ในปี 2545 ซึ่งต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานชื่อโครงการดังกล่าวว่า “ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ”

    สำหรับพื้นที่ในศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ทั้ง 14 ไร่ จัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อแสดงแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาตนเองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งอยู่ในอาคารจัดแสดงด้วยระบบแสง สี เสียง เกี่ยวกับแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ในหลวงทรงบำเพ็ญตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาทิ การจัดการป่าต้นน้ำ การทำฝนหลวง หรือการบริหารชุมชนโดยยึดหลัก “บวร” เป็นต้น

    “ก่อนจะเข้าไปภายในพิพิธภัณฑ์ ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์จะมีรูปหล่อของในหลวงขนาดเท่าพระองค์จริง ให้ทุกคนได้”มอง”พระองค์ท่าน เราต้องการให้ทุกคน 'มอง' ไม่ใช่แค่ 'เห็น' ทำไมพระองค์สวมรองพระบาทผ้าใบ ทำไมพระองค์ใช้ดินสอในการจดบันทึก ทำไมพระองค์จึงต้องสะพายกล้องตลอดเวลา และทำไมพระองค์จึงมีสมุดจดบันทึกอยู่ในมือตลอดเวลา พระจริยวัตรของพระองค์ สะท้อนแนวพระราชดำริของพระองค์ เราต้องการให้ทุกคนมองพระองค์เพื่อซึมซับอย่างเข้าใจ และนำไปปฏิบัติตาม” อ.ปัญญาอธิบาย

    ส่วนที่ 2 เป็นการจัดนิทรรศการบริเวณใกล้เคียงกับอาคารพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมศูนย์ฯ เข้าใจแนวพระราชดำริได้อย่างชัดเจน อาทิ การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ การใช้หญ้าแฝกยึดหน้าดิน หรือแนวพระราชดำริ “แกล้งดิน” และ "แก้มลิง" รวมถึงการบำบัดน้ำเสียด้วยกังหันน้ำชัยพัฒนา หรือแม้แต่การกำจัดของเสียที่ออกจากร่างกายคน ก็ใช้แนวพระราชดำริในการจัดการ

    “ภายในศูนย์ฯ เรานำเอาแนวพระราชดำริของพระองค์มาใช้ทั้งหมด ซึ่งเราสามารถใช้บริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ อย่างได้ผลจริงๆ คิดดูแล้วกัน แม้แต่เรื่องขี้ เยี่ยว พวกเรายังต้องให้ในหลวงมาคิดแก้ปัญหาให้ ในหลวงคิดไว้ตั้งแต่ปี 2522 ช่วงนั้นคนขยายจากกรุงเทพมหานครไปอยู่ จ.นนทบุรีเยอะ ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องขี้เยี่ยวกันได้ ในหลวงต้องไปคิดแก้ให้ เอามาหมักไว้ในถังปลอดเชื้อ 15 วันหมดกลิ่น 28 วันปลอดเชื้อ เอาไปใช้รดต้นไม้”

    สำหรับส่วนที่ 3 เป็นแปลงสาธิตภายนอกอาคาร จำลองป่าและภูมิประเทศ 4 ภาค สอดแทรกแนวคิดในการพัฒนา “ดิน น้ำ ป่า”รวมถึงการจัดแสดงเกษตรทฤษฎีใหม่ และชีวิตที่พอเพียงตามแนววิถีไทย ซึ่งในส่วนนี้จะเน้นให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ได้ “Play and Learn” ในจุดต่างๆ ไปพร้อมกับการบรรยายถึงแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ให้เข้าใจไปพร้อมๆ กัน

    “ศูนย์ฯ แห่งนี้ มีจุดมุ่งหมายหลัก คือการสร้าง 'คน' เราจึงมีหลักสูตรที่รับจัดอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยหลักสูตรของศูนย์ฯ จะให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแนวคิดของพระองค์ท่านให้เรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติทำอย่างไร ให้พบกับคนที่ประสบความสำเร็จจากเศรษฐกิจพอเพียง จากทุกวงการ เพราะแนวคิดของพระองค์สามารถใช้ได้กับคนทุกวงการ บางคนพลิกกลับจากความล้มเหลวในระบอบทุนนิยม 360 องศา แล้วสามารถประสบความสำเร็จได้ เอาประสบการณ์มาถ่ายทอดให้ฟัง เพราะสิ่งที่ดีที่สุดที่จะให้คนนำไปใช้คือ การสร้างตัวอย่างของความสำเร็จ

    "นอกจากนั้นเราจะฝึกให้พึ่งตนเอง อะไรที่เคยซื้อก็ให้ทำเอง และไม่ใช่ทำเองแบบผลิตภัณฑ์ธรรมชาติล้าสมัย แต่เราเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมเติมด้วยวิทยาการสมัยใหม่ เช่น การทำน้ำยาล้างจาน ยาสระผม เราสู้ท้องตลาดได้ สุดท้ายคือ บันได 5 ขั้นสู่เศรษฐกิจพอเพียง"

    ปัจจุบัน “ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ” ดำเนินการไปเกือบ 100% โดยมีกำหนดส่งมอบศูนย์ฯ ให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนาในเดือนเมษายนนี้ โดย อ.ปัญญา เปิดเผยว่า หลังการส่งมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนา ในเบื้องต้นคงต้องขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากมูลนิธิฯ เป็นค่าจ้างบุคลากร และค่าบริหารจัดการระยะหนึ่งก่อน แต่หลังจากนั้น 1 ปี เชื่อว่าศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติจะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตัวเอง และนำเงินทูลเกล้าฯ ถวายคืนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ จากการจัดอบรมให้บุคคลต่างๆ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตของศูนย์ฯ เอง

    “ผมต้องการให้ทุกคนเกิดความตระหนักและตื่นตัว เพราะทุกคนควรจะรู้ว่าอนาคตของโลกมันสั้นลง โลกมันร้อนเพราะมนุษย์มันผลาญทรัพยากรหมด พระองค์ทรงงานหนักขนาดนี้ เราจะนิ่งเฉยกันอยู่หรือ จะปล่อยให้พระองค์ทรงงานหนักอีกสักกี่ปี”

    “...ทฤษฎีใหม่...ยืนยันว่าการทำเกษตรกรรมต้องยืดหยุ่น เหมือนชีวิตของคนเราทุกคนต้องมียืดหยุ่น...”
    กระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    การก่อสร้างศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ ได้รับงบประมาณจากสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ โดยผู้ที่เข้ามาดูแลเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินการนั้น “ปัญญา ปุลิเวคินทร์” คือผู้ที่มีส่วนผลักดันให้ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต

    ปัจจุบันคนทั่วไปรู้จัก อ.ปัญญา ในฐานะ “หัวหน้าศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ” แต่เจ้าตัวบอกว่า ไม่มีตำแหน่งใดต่อท้ายชื่อ เพราะขณะนี้ศูนย์ฯ ยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา เขาจึงเป็นเพียงคนทำงานที่อยู่ในศูนย์เท่านั้น หลังการส่งมอบแล้ว จึงจะถือเป็นคนของมูลนิธิฯ

    เมื่อถูกถามว่าเข้ามาทำงานที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้อย่างไร อ.ปัญญาย้อนความหลังกลับไปด้วยรอยยิ้มให้ฟัง

    “แต่ก่อนผมทำงานอยู่ที่ธนาคารแห่งหนึ่ง ตอนนั้นช่วงประมาณปี 2539 เริ่มรู้สึกอยากลาออกจากงาน เพราะว่าธนาคารผุดโครงการต่างๆ ให้เกษตรกรกู้มากมาย เรารู้สึกว่าทำแบบนี้เกษตรกรเจ๊งแน่ๆ เพราะธนาคารสนใจแต่จะปล่อยกู้ แต่ไม่ได้มองว่ามันทำลายชีวิตของเกษตรกรอย่างไร เกษตรกรก็ไม่คิด เขียนหนังสือไม่ได้แปะโป้งกู้ก็เอา เราไม่อยากจะทำงานตรงนั้น เริ่มเบื่อ และรู้สึกว่าเราโกหกประชาชน”

    อ.ปัญญา บอกว่า แม้อยากจะลาออก แต่ก็คิดหนักเพราะด้วยอายุที่มากแล้ว หากลาออกจากงานการหางานใหม่คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ระหว่างนั้น อ.ปัญญาได้ศึกษาแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

    “เหมือนคนจนตรอกไม่มีที่ไป อยากลาออกจากงานก็กลัว แต่ผมไปอ่านเจอพระราชดำรัสของในหลวงที่ตรัสว่า การที่เราจะทำงานกับชาวบ้านนั้น เราต้องคิดว่าชาวบ้านเป็นครูแล้วเราไปเรียนรู้จากชาวบ้าน ความคิดผมเลยเปลี่ยน อยากลงไปเรียนรู้กับชาวบ้านให้มากขึ้น จึงขอย้ายสายงาน ไม่เอาแล้วตำแหน่งผู้จัดการธนาคาร ขอไปทำงานในสายพัฒนาชนบท ส่งเสริมอาชีพชุมชน โดยผมศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง และนำเอาไปเผยแพร่ให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ ขณะเดียวกันผมก็สนุกกับการได้เรียนรู้จากชาวบ้านไปด้วย”

    ที่สุดความอึดอัดในการทำงานอยู่ในธนาคารก็ถึงจุดสิ้นสุด ในปี 2546 เมื่อได้ทราบว่าสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ กำลังดำเนินการศูนย์ภูมิรักษ์ฯ โดย อ.ปัญญา สนใจจะมาร่วมทำงานด้วย จึงตัดสินใจยื่นใบลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่

    “ลาออกแล้วก็ยังมีเรื่องกังวลอีก เพราะผมไม่รู้จะบอกกับแม่อย่างไรดี ตอนนั้นผมมีเงินเดือน 5 หมื่นกว่า ส่งให้แม่ทุกเดือน เดือนละ 2 หมื่น โบนัสออกทีก็ให้แม่เป็นก้อนใหญ่ๆ ลาออกจากงานแล้วผมก็ยังส่งเงินให้แม่เหมือนเดิมอยู่หลายเดือน คิดหาทางที่จะบอกว่าเราลาออกจากงานแล้ว

    "จนวันหนึ่งผมสบโอกาสจึงบอกกับแม่ ผมลาออกจากงานแล้วนะ แม่ฟังก็ยังเฉยๆ คงคิดว่าผมได้งานใหม่เงินเดือนเยอะกว่าเดิม ท่านก็ถามผมว่า แล้วหางานใหม่ได้หรือยัง ผมก็บอกแม่ไปว่า ได้แล้วแม่ แม่ก็ถามอีกว่า เงินเดือนเท่าไหร่ล่ะ พอผมบอกไม่มีเงินเดือน เท่านั้นแหละ แม่ด่าผมเป็นชุดเลย โตจนอายุ 50 กว่าแล้ว ทำอะไรไม่รู้จักคิด แก่ไปจะทำอย่างไร งานเก่าก็ดีอยู่แล้ว เรียกว่าทุกถ้อยคำถาโถมใส่ผมเป็นชุดๆ

    "ผมลงไปกราบที่ตักแม่ บอกกับท่านว่า งานที่ผมไปทำ ผมทำถวายในหลวง ทำให้มูลนิธิชัยพัฒนา แม่หยุดว่าผมเลย...ท่านเงียบ แล้วก็ยกมือขึ้นมาลูบหัวผม บอกกับผมว่า แม่มีลูกชาย 4 คน ถ้าจะให้ลูกชายของแม่ไปทำงานช่วยพระองค์สักคน คงไม่เป็นไรหรอก”

    นับจากวันนั้น อ.ปัญญา ทำงานทุกอย่างในศูนย์ฯ ทั้งลงแรงขุดดินถางหญ้า ปลูกต้นไม้ และเป็นวิทยากรกระพือแนวพระราชดำริให้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมศูนย์ฯ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ความรู้สึกหนึ่ง คือ “ศรัทธา” ของตนเองที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนอีกความรู้สึกหนึ่งที่ผลักดันให้มีกำลังใจทำงานอย่างเหลือเฟือ คือ “ศรัทธาของแม่” ที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัว

    ไม่เพียงเท่านั้น เนื่องจากงบประมาณของสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ตั้งไว้สำหรับการก่อสร้าง แต่ไม่ได้ถูกจัดสรรไว้สำหรับการดำเนินงานที่ต้องว่าจ้างคนงานเข้ามาดูแลพื้นที่ นอกเหนือจากการก่อสร้าง อ.ปัญญา ก็เอาทุนทรัพย์ส่วนตัวมาจ่ายให้กับคนงานที่ทำงานอยู่ในศูนย์ฯ ด้วย

    ปัจจุบันรายได้จากการจัดอบรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในศูนย์ฯ สามารถหมุนเวียนนำมาจ่ายค่าแรงให้กับคนงานได้แล้ว แต่ในช่วงแรกของการก่อตั้งศูนย์ฯ เป็นเวลานับปีที่คนงานร่วม 10 ชีวิตที่เข้ามาทำงานเป็นประจำที่ศูนย์ฯ ไม่ได้รับค่าแรง แต่กลับไม่มีใครหนีหายไปไหน ยังคงเข้ามาทำงานตามปกติแม้ไม่มีผลตอบแทนก็ตามที

    สำรวย เพิ่มสำราญ อายุ 47 ปี ซึ่งถือเป็นเซียนสมุนไพรประจำศูนย์ฯ เล่าให้ฟังว่า คนงานที่เข้ามาทำงานที่ศูนย์ฯ ล้วนเป็นคนในพื้นที่ แรกๆ เข้ามาได้รับค่าจ้างรายวันตามปกติ แต่ต่อมาไม่มีค่าจ้าง แต่ทุกคนก็ยังมาทำงาน ใครทำอะไรได้ก็ทำ ปลูกต้นไม้ ขุดดิน ถางหญ้า ทุกคนจะช่วยกันทำด้วยความเต็มใจ

    “พวกเราที่มาทำงานที่ศูนย์ส่วนหนึ่งเพราะใจรัก ตอนนั้นเราก็คิดว่าทำให้พ่อจะเป็นไร ก็ที่นี่เป็นบ้านของพ่อ และเราเองก็อยากทำให้พ่อ คิดดูว่าโอกาสที่จะได้ทำงานถวายพระองค์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อมีโอกาสก็อยากจะทำอย่างเต็มที่ แล้วทำไปแล้วที่ดินตรงนี้ก็ยังอยู่ให้ลูกให้หลานรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษา”

    ส่วนเรื่องค่าตอบแทนที่ไม่มีในระหว่างนั้น สำรวย บอกว่า หากยึดตามแนวพระราชดำริในหลวง ก็ไม่เดือดร้อนอะไร พืช ผัก ผลไม้ที่ปลูกไว้ในศูนย์ฯ อ.ปัญญา อนุญาตให้คนงานเก็บเอาไปกิน เหลือแล้วเอาไปขายเอาเงินมาแบ่งกันได้ ขณะเดียวกันก็รวมกลุ่มกันซื้อผลไม้ในพื้นที่มาแปรรูป เช่น มะดันแช่อิ่ม มะม่วงแช่อิ่ม จำหน่ายในราคาย่อมเยาให้กับคนที่มาเยี่ยมชมที่ศูนย์ฯ เป็นรายได้พออยู่พอกิน

    “ผมถือเป็นโอกาสในชีวิตผม ที่จะได้ทำงานให้พ่อ ในบ้านของพ่อ และถ้าในชีวิตผมได้เห็นพระองค์สักครั้งคงเป็นความรู้สึกต้องจดจำไปชั่วชีวิต”

    ขณะที่ นเรศศักดิ์ เชื้อคนแข็ง หรือ “กิ” บัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งหลังการส่งมอบศูนย์ฯ เขาจะเป็นหนึ่งในพนักงานของมูลนิธิชัยพัฒนา เล่าว่า ในระหว่างฝึกปฏิบัติงานนอกพื้นที่ ตามหลักสูตรส่งเสริมการเกษตร ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พบกับ อ.ปัญญา ต่อมา อ.ปัญญาชักชวนให้มาทำงานที่ศูนย์ฯ จึงตกลงใจมาทำงานทันที

    “ผมยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า จะได้รับเงินเดือนเท่าไหร่ตอนตกลงมาทำงานที่ศูนย์ฯ แต่เป็นความใฝ่ฝันของผมที่อยากจะทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ได้ทำงานอยู่ในที่ของพระองค์ก็เหมือนได้ใกล้ชิดกับพระองค์ วันนี้ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้ทำงานในบริษัทใหญ่ เงินเดือนไม่สูง แต่ทุกคนในครอบครัวรู้สึกภูมิใจ และไม่เคยมีใครบ่นผมเลยที่เลือกมาทำงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา”

    ***************

    เรื่อง - คีตฌาณ์ ลอยเลิศ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>Ref. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000040452</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    บางทีเราเองก็ไม่รู้นะว่าตอนนี้เราตามหาอะไรอยู่.... เรากำลังวิ่งไล่ตามจับลมอยู่กระนั้นหรือ ..... ในขณะที่เราทำงาน หาเงิน เราบอกว่าเงินทำให้เรามีความสุขได้... แต่เมื่อเราหามันอย่างเอาเป็นเอาตาย มันกลับไม่ได้ช่วยให้เรามีความสุขขึ้นมาจริง ๆ เลย......จนเมื่อไม่นานมานี้ เราพบว่า รายได้อย่างพอเพียง ซึ่งบางทีมันก็หมายถึงรายได้เดือนชนเดือน งานที่พอกำลัง ลีลาการใช้ชีวิตที่สมดุลต่างหาก ที่มันช่วยให้ความสุขกับเราได้อย่างแท้จริง ทุกวันนี้เรามีเวลามากขึ้น เราสวดมนต์ศึกษาธรรมมะอย่างพอประมาณ กินอยู่อย่างพอประมาณ ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ แสวงหาอย่างพอประมาณ หยุดนิ่งอย่างพอประมาณ เราพบว่าสุดยอดธรรมะแห่งวิถีลีลาการดำเนินชีวิตก็คือ การพอประมาณ นั่นเอง ...........................
     
  3. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,107
    ค่าพลัง:
    +2,695
    เข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับที่
    http://www.pp-gen.com
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
    “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง คือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก หากเรายึดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาวิกฤติต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น เราจะนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไร

    แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง

    [​IMG]


    "มีคนหนึ่งพูด เป็นด๊อกเตอร์ เขาพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี่ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร แหมคันปากอยากจะพูด ที่จริงที่คันปากจะพูดเพราะว่าตอบแล้ว อย่างที่เห็นในทีวีรายการใหญ่ เขาพูดถามโน่นถามนี่เราดูแล้วรำคาญ เพราะว่าตอบแล้ว ตอบเสร็จแล้วก็ถามใหม่ เมื่อตอบอีกก็บอกว่าทำไมพูด คราวนี้เราฟังเขา แล้วเขาถามว่าอังกฤษภาษาจะแปลเศรษฐกิจพอเพียงว่าอย่างไร ก็อยากตอบว่า มีแล้วในหนังสือ ในหนังสือไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจในหนังสือพระราชดำรัส ที่อุตส่าห์พิมพ์และนำมาปรับปรุงดูให้ฟังได้ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะว่าคนที่ฟังภาษาไทย บางทีไม่เข้าใจภาษาไทย ก็ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่าเศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ เสร็จแล้วเข้าก็มาบอกว่า คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นตำราใหม่ ถ้ามีอยู่ในตำราก็หมายความว่าเราก๊อปปี้มา เราลอกเขามา เราไม่ได้ลอกไม่อยู่ในตำราเศรษฐกิจ เป็นเกียรติที่เขาพูด อย่างที่เขาพูดอย่างนี้ว่า Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา การที่พูดว่าไม่มีในตำรานี่ ที่ว่าเป็นเกียรตินั้นก็หมายความว่า เรามีความคิดใหม่ โดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะคิดอะไรได้ จะถูกจะผิดก็ช่าง แต่ว่าเขาสนใจ เขาก็สามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น"

    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    23 ธันวาคม 2542



    ผมเข้าใจว่าผู้อ่านหลายท่าน คงจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับผม ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาต่างประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทย เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 ในปีนั้น ผมได้เห็นความทุกข์ยากของคนไทย ที่ได้ติดหลุมกับดักมหาโหด ของประเทศลัทธิทุนนิยมต่างๆ ที่เป็นผู้เขียนกติกา และทฤษฎีต่างๆ หลอก และล้างสมอง ให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายเดินตาม ทั้งๆ ที่ลักษณะนิสัย เศรษฐกิจพื้นฐาน สภาพสังคม วิธีคิด ของประเทศกำลังพัฒนา กับประเทศทุนนิยมเหล่านั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ของเราทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นที่กระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ได้ไปร่ำเรียนที่ประเทศเหล่านั้น ก็แน่นอนครับว่าจะนั่งคิดนอนคิดยังไง ก็ต้องคิดตามหลุมกับดักของพวกนั้นเป็นอย่างดี เค๊าเข้ามาบอกให้เปิดประเทศด้านเศรษฐกิจ กู้เงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก ฯลฯ เชื่อมั๊ยครับว่าถ้าไปดูตัวเลขการเป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ธนาคารโลก หรือ IMF ประเทศกำลังพัฒนามีแต่จนลงๆ และจนลงเรื่อยมา ยิ่งทำตามกติกาการค้าเสรีที่ฝรั่งเป็นคนเขียนก็ยิ่งแย่หนักไปอีก สงสัยมั๊ยครับทำไมเวลามีปัญหาเศรษฐกิจ คนจน คนรากหญ้า เด็กนักเรียนจะโดนผลกระทบก่อนทุกครั้ง ว่างๆ จะเล่าให้ฟังครับ

    [​IMG]


    จริงๆ แล้ว ผมได้ศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ต่างๆ มานานหลายปีแล้วครับ จนปัจจุบันผมกล้าฟันธงว่า “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง นั้นคือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกครับ ซึ่งหากเรายึดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ปัญหาวิกฤติต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นครับ

    แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า ยังมีคนไทยอีกเป็นจำนวนมากยังไม่เข้าใจ และนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเรา หลายคนยังนึกว่าทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง คือการไม่ทำอุตสาหกรรม และถอยกลับไปทำการเกษตรทั้งประเทศ บางคนก็นึกว่าให้ทุกคนปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์กินเอง และทำของใช้เองในครอบครัว บางคนก็นึกไปโน่น ว่าให้ประหยัดไว้เยอะๆ ไม่ใช้เงิน หรือไม่ก็ปิดประเทศ ฯลฯ นักเศรษฐศาสตร์ไทยแต่ทาสความคิดฝรั่งบางคน ก็ออกมาบอกว่า แนวคิดไม่สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์ และการค้าของโลก ทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร

    [​IMG]



    กฎเบื้องต้นของเศรษฐศาสตร์ก็คือ เราเชื่อว่าทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกมีอยู่จำกัด แต่มนุษย์เรามีความต้องการที่ไม่จำกัด ดังนั้นเศรษฐศาสตร์ ก็คือศาสตร์ ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า และสอดคล้องตามความต้องการของมนุษย์ให้มากที่สุด แต่ปัจจุบัน โลกมันวุ่นวาย เพราะมีบางกลุ่มบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีประชากรแค่ 200 ล้านคน แต่ใช้ทรัพยากรของโลก ไปเกิน 95% เป็นต้น ส่วนประเทศไทยนั้น เดินไปติดกับของทุนนิยมเข้าเต็มเปา เลยต้องมานั่งแก้ปัญหาไปวันๆ แบบนี้ ว่าทำไมเงินไม่พอใช้สักที

    กลับมาที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าคืออะไรครับ อธิบายสั้นๆ ก็คือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างพอดี ไม่น้อย หรือไม่มากเกินไป ไม่เกินตัว ทรัพยากรที่พูดถึงคืออะไรครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ และใกล้ตัวเราที่สุดก็คือเงินไงครับ คือให้ใช้เงินให้เป็น และรู้จักออม ถ้านำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับการใช้เงินของเราเพื่อช่วยเหลือชาติแบบง่ายๆ ก็จะทำได้ดังนี้ครับ ....


    แนวทางปฏิบัติในแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="3" cellspacing="2" height="1728" width="550"><tbody><tr><td>รู้จักใช้เงินในการเลือกรับประทานอาหารในราคาที่ควรจะเป็น เช่น ไก่ทอด KFC กับไก่ทอดของไทยตามร้านทั่วๆ ไป จริงอยู่ครับว่ามันเป็นไก่ทอดเหมือนกัน ขนาดก็เท่ากัน แต่ราคามันห่างกันลิบ ทานไก่ KFC แล้วทำให้เงินมันเหลือน้อยกว่าทานไก่ทอดธรรมดา ทำให้เหลือเงินไปซื้อของใช้จำเป็นอื่นๆ น้อยลงไปอีก เหลือเงินออมน้อยลง เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาชีวิตก็ลำบาก และเป็นทุกข์ ในและมีผลกระทบในภาพรวมคือถ้าทุกคนกินแต่ไก่ KFC เงินออมของทั้งระบบก็จะน้อยลง ทำให้การขยายการลงทุนในประเทศก็จะทำได้ยาก
    เนื่องจากเงินออมในธนาคารมีน้อยไม่พอให้ระดมทุน ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาอีก ประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี อีกอย่างครับกินไก่ KFC 100 บาท เงินเข้าคนไทย 30 บาท เข้ากระเป๋าฝรั่งไป 70 บาท ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ เงินไหลออกนอกประเทศอีก

    [​IMG]


    เลือกใช้ของที่ต้องการในราคาพอเหมาะ เช่น รถยนต์ เป็นตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดครับ ระหว่างรถเบนซ์กับรถญี่ปุ่นที่ผลิตในประเทศไทยซึ่งเป็นรถยนต์เหมือนกัน วิ่งได้เหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่อยากจะเลือกรถเบนซ์เพราะแสดงสถานะทางสังคมว่าเรามีเงิน แต่หลายคนคงจะทราบว่ารถยนต์เป็นสินทรัพย์ที่เสื่อมมูลค่าลงทุกวันตามสัดส่วนเวลา และมีอายุการใช้งาน ดังนั้น ณ วันที่เราขายรถยนต์ ราคาของรถยนต์ราคาแพงก็จะมีมูลค่าลดลงมากกว่า ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อม ที่หลายคนใช้รถแพงๆ ตระกูลยุโรปก็โดนศูนย์บริการปล้นแบบไม่ปราณี เพราะช่างซ่อมชาวบ้านทั่วไปก็ซ่อมไม่ได้ ต้องเข้าศูนย์เฉพาะเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ผลิตในต่างประเทศเท่านั้น หลายคนยังคงไม่ทราบว่าประชาชนในประเทศที่เราเห่อรถแพงๆ ของเค๊า เค๊ากลับไม่เห็นความสำคัญของการแสดงสถานะทางสังคมด้วยรถยนต์เท่ากับบ้านเรา แต่เลือกใช้รถยนต์ที่คุ้มค่าในราคาเหมาะสม ผลกระทบอื่นๆ ก็จะคล้ายๆ
    กับข้อ 1 ท่านก็ลองคิดนะครับว่าซื้อรถเบนซ์มาขับกับซื้อรถผลิตในประเทศแล้ว โดยภาพรวมคนไทยจะได้ประโยชน์จากเงินที่ท่านจ่ายมากน้อยต่างกันเพียงใด สินค้าหลายอย่างมันแพงเกินราคาก็เพราะเราจ่ายค่าทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่าลิขสิทธิ์มากกว่าต้นทุนของสินค้าเองซะอีก


    บริโภคสินค้าด้วยเงินออม เราจะเห็นว่าคนในบ้านเรากลับไปบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้ เช่น กู้เงินไปซื้อโทรทัศน์ มือถือ กระเป๋าหลุยส์ ฯลฯ แล้วสิ้นเดือนก็ต้องมาเป็นทุกข์ผ่อนชำระกันศีรษะโตเป็นแถบ ลักษณะนิสัยแบบนี้เรียกว่าใช้เงินกันเกินตัว ซึ่งกำลังเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นมะเร็งร้าย ที่กำลังจะลามทำให้เศรษฐกิจอเมริกา ระเบิดในอีกไม่ช้านี้ หลักการคือเราต้องเข้าใจก่อนว่า การบริโภคกับการลงทุนนั้นต่างกัน เช่น ถ้าท่านซื้อมือถือมา เพื่อมาใช้ในวิชาชีพแล้ว มันจะทำเงินกลับมาให้ท่าน นั่นเรียกว่าเป็นการลงทุน แต่ถ้าท่านไม่มีกิจอันใดที่จะใช้ แต่ซื้อมาเพราะว่าคนอื่นเค๊าก็มีกัน อันนั้นก็เรียกว่าการบริโภค อะไรที่เป็นการลงทุน มันย่อมมีผลตอบแทนคืนมา (แม้ว่าจะสินค้านั้นจะมีมูลค่าเสื่อมถอยทุกวัน) แต่การบริโภคนั้น สินค้าที่ท่านซื้อมาบริโภคมันก็จะมีค่าเสื่อมถอยลงทุกวัน โดยไม่มีผลตอบแทนคืนมา ถ้าท่านบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้กันเยอะๆ
    ทั้งประเทศมันก็จะมีผลกระทบ ทำให้ท่านไม่สามารถจะมีเงินไปลงทุนได้ เพราะเงินกู้ของท่าน ที่สามารถจะกู้ไปลงทุน ได้ถูกจัดลงในโควต้าของเงิน ที่ท่านกู้ออกมาบริโภคไปแล้ว ท้ายสุด ก็ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เข้ามาอีก ประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี


    [​IMG]

    ใช้เงินในสิ่งที่มีประโยชน์เป็นรูปธรรมเท่านั้น ตัวอย่างที่ผมจะยกตัวอย่างได้ง่ายๆ คือ การส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์ต่างๆ เท่าที่ผมทราบ มีแต่ประเทศกำลังพัฒนา และประชาชนไม่มีความคิดเท่านั้น ที่จะนิยมส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์ มากมายแบบประเทศไทย อย่างผมนั่งดูโทรทัศน์ ผมก็สงสัยว่าคนที่ส่ง SMS เข้าไปจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง สรุปก็คือได้แต่ความสะใจ ไม่มีประโยชน์ในทางรูปธรรมอะไรเลย บางคนส่ง SMS เดือนนึงหลายหมื่นบาท แต่ไม่รู้ว่าส่งไปทำไม ซึ่งเป็นการใช้เงินที่ควรจะออมอย่างไม่ถูกเรื่องเท่าไหร่นัก ซึ่งจริงๆ ผมคิดว่า คณะกรรมการ กสช. ควรจะเข้ามากำกับดูแลในส่วนนี้อย่างจริงจัง เพื่อผลประโยชน์ของคนในชาติ
    </td>

    </tr></tbody></table>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประเทศไทยเราโชคดีจริงๆ ที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอัจฉริยะภาพ

    + ส่งเสริมการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งคนไทยเราอาจจะมีจิตสำนึก ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อยไปบ้าง หากท่านสังเกตุว่าทำไมหลายๆ ชาติที่เจริญ มักจะเป็นชาติที่มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน ทั้งนี้ เนื่องมาจากสินค้าแบบเดียวกัน คนในชาตินั้นจะเลือกซื้อสินค้า ที่ผลิตในประเทศของเขาก่อน ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศ ได้มีโอกาสทดลองตลาด ปรับปรุงสินค้า และสะสมเงินทุน ไปทำเรื่อง R&D ต่อยอดไปได้ แต่ถ้าคนไทย เรานิยมซื้อของต่างชาติ มากกว่าของที่ผลิตในประเทศ เงินก็จะไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เหมือนน้ำที่แห้งเหือดไปจากสระน้ำ แทนที่คนไทยจะได้ประโยชน์จาก Multiplier Effect หรือตัวคูณของการใช้เงินต่อไปเป็นทอดๆ ในระบบเศรษฐกิจของเราเอง แต่เงินกลับไหลออกนอกประเทศ คนไทยก็ได้แต่ค่าแรงในการขายของเท่านั้น สินค้ายี่ห้อดังๆ ของโลก เช่น LG, Samsung, Haier, TCL, Huawei ก็โตมาจากตลาดในประเทศก่อนทั้งนั้น
    ไม่มีใครกระโดดออกไปนอกประเทศแล้วโตเลย อย่างของไทยสมัยก่อนก็มีโทรทัศน์ยี่ห้อธานินทร์ แต่ตอนนี้ก็หายไปจากตลาดแล้ว เพราะคนไทยไม่สนับสนุน


    + งดอบายมุข อันนี้ง่ายที่สุดครับ แต่เป็นปัญหาที่ฝังลงรากลึกสุดของสังคมไทย เพราะหวยทั้งบนดิน ใต้ดิน มันโผล่ออกมยุบยับมาก ขนาดจะดูฟุตบอลโลก หนังสือพิมพ์บ้านเราก็ยังมีราคาต่อรองให้อีก คือไม่ว่าจะเป็นอบายมุขประเภทไหน ก็ทำให้เราไม่มีเงินออมทั้งนั้นครับ พอไม่มีเงินออม ท้ายสุดก็ต้องพึ่งเงินกู้มาบริโภคกันอีก

    + รู้จักลงทุนในสิ่งที่มีประโยชน์ และได้ความรู้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามให้เราไม่ใช้เงินนะครับ เพียงแต่ว่าใช้เงินให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม การลงทุนเพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้น จากการซื้อหนังสือที่มีประโยชน์มาอ่าน ไปฟังสัมมนา ไปทัศนาจร ไปดูงาน ฯลฯ

    กล่าวโดยสรุปนะครับ การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา จะทำให้เราสามารถใช้เงินอย่างคุ้มค่า มีเงินออม เหลือเก็บไว้ใช้ในการบริโภคสิ่งที่จำเป็น ไม่มีภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น เงินออมทั้งระบบ ก็จะเพียงพอต่อการระดมทุน เพื่อการลงทุนในประเทศ ไม่ต้องพึ่งพิงเงินตราต่างประเทศ ที่เข้าเร็วออกเร็ว แบบที่เราเรียกว่า Hot Money ประเทศก็จะมีเงิน ไม่ต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกันบักโกรกแบบสมัยฟองสบู่ ค่าเงินบาทก็จะไม่อ่อน เศรษฐกิจในประเทศก็จะแข็งแกร่ง ไม่ต้องมาปวดหัวเถียงกันเรื่องจะขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะอเมริกาจะขึ้นดอกเบี้ย และกลัวเงินจะเฟ้อ

    คือยังงี้นะครับ คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นหมายถึงความพอดีด้วยนะครับ ไม่ได้ห้ามกู้หนี้มาลงทุนแต่อย่างใดนะครับ ตราบใดที่กู้หนี้ยืมสินแล้วมาลงทุน แต่การลงทุนนั้นยังสามารถให้ผลตอบแทนที่มีความเป็นไปได้ว่าจะชำระหนี้ได้ก็ถือว่าพอเพียงนะครับ

    แต่ถ้าสมมติว่าผมไปกู้ธนาคารมาทำโปรเจ็กแบบสมัยก่อนประเทศไทยเกิดวิกฤติปี 2540 แล้วมีการจ่ายเงินปากถุงให้กับทีมวิเคราะห์ของธนาคาร (สมมตินะครับสมมติ) เพื่อให้ตีมูลค่าโปรเจ็กมากๆ แล้วให้ปล่อยกู้เงินมากๆ เกินกว่าที่ผลตอบแทนการลงทุนจะได้ ท้ายสุดถ้าในความเป็นจริงมันไม่เวิร์ค โปรเจ็กก็ล่ม ธนาคารก็มี NPL คนฝากเงินก็รับเคราะห์ รัฐบาลต้องเข้ามากู้เรือล่ม ก็เดือดร้อนเงินภาษีของเราอีก

    ซึ่งจากข้างต้นคำว่าพอเพียงกับความต้องการประสบความสำเร็จมันคงเป็นคนละเรื่องกันครับ สมมติว่าผมต้องการประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ และมีความทะเยอทะยาน ผมก็ต้องดำเนินการแบบพอเพียง คือไม่ใช้วิธีแบบทำธุรกิจเกินตัว แล้วเราไม่สามารถใช้หนี้ได้ ซึ่งโดยสรุปเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้นจะหมายถึงวิธีการ และแนวคิดอันที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ว่ามันเกินตัว และถูกต้องตามครรลองหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Incentive ที่จะลงทุนแต่อย่างใด จะลงทุนมากน้อยก็อยู่ที่วิธีการว่าเป็นการดำเนินการที่เกินตัวหรือไม่ครับ

    ดร. อ๊อฟ ก็ถามผมเมื่อสักครู่ว่าถ้าใครยึดหลักพอเพียงเค๊าก็เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวอย่างเดียวไม่ดีกว่าเหรอ ไม่ต้องลงทุนเปิดบริษัทใหญ่โต คำตอบก็จะอยู่ในข้อความข้างต้นครับ ตราบใดที่ ดร. อ๊อฟ พอใจกับร้านก๋วยเตี๋ยว แล้วมันพอเพียงที่จะเลี้ยงครอบครัว และน้อง Happy ได้ ก็เข้าข่ายเศรษฐกิจพอเพียงครับ แต่ถ้า ดร. อ๊อฟ ไปเปิดบริษัท ทั้งๆ ที่ไม่แน่ใจ หรือมั่นใจว่าจะไปรอดมั๊ย ซึ่งแบบนี้ก็เข้าข่ายเกินตัวครับ

    [​IMG]


    ประเทศไทยเราโชคดีจริงๆ ครับที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอัจฉริยะภาพ พระราชทานแนวคิด การใช้ชีวิต ที่เป็นทางสายกลางให้กับพวกเราทุกคน และเป็นกุญแจ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ทุกยุคทุกสมัย ซึ่งรัฐบาล ควรจะขยายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เข้าสู่หลักคิดของคนในชาติ ให้มากที่สุด

    ยิ่งถ้าทุกคนในโลกยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะไม่มีการเบียดเบียนทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เอารัดเอาเปรียบ คนหรือประเทศที่ด้อยกว่าแบบทุกวันนี้

    เกี่ยวกับผู้เขียน <table cellspacing="3"><tbody><tr><td valign="top">[​IMG]</td><td>ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกสาขา Computational Mechanics จาก Imperial College of Science, Technology and Medicine มหาวิทยาลัยลอนดอน ปัจจุบันเป็น CEO บริษัท InfinityIT Corporation จำกัด คร่ำหวอดอยู่ในวงการธุรกิจเทคโนโลยี เป็นนักวิชาการอิสระ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวด้านนี้ได้อย่างน่าฟัง จากประสบการณ์จริง ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษหลักสูตร MBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วิทยาลัยนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ เป็นอีกหนึ่งท่าน ที่ขอเป็นอีกแรง ช่วยผลักดัน การเผยแพร่เรื่องราววิทยาศาสตร์ดีๆ สู่ประเทศไทย ผ่านวิชาการ.คอม </td></tr></tbody></table>


    ที่มาของข้อมูล

    http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=332&page=3
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    Paradox of Thrift
    ออมหนึ่งส่วน ใช้สามส่วน

    ผู้อ่านหลายท่านอาจจะเคยได้ยินโฆษณา “ออมหนึ่งส่วน ใช้สามส่วน” กันมาอย่างคุ้นหูหลายเดือนก่อนหน้านี้หลังจากที่วินัยการใช้เงิน และออมเงินของประฃาชนในประเทศเริ่มมีปัญหา จนรัฐบาลต้องออกมากระตุ้นเรื่องการออมมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการออมมากๆ แต่เพียงด้านเดียวอาจจะก่อให้เกิดปัญหาทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศซึมยาว ซึ่งผู้อ่านหลายท่านบอกว่าฟังดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าการออมเงินเป็นสิ่งที่ดี[​IMG]

    ปัจจัยในการเติบโตของเศรษฐกิจ
    ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตปูพื้นกันก่อนสำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจหลักการพื้นฐาว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะถูกวัดด้วยตัวชี้วัดที่เรียกว่าผลผลิตมวลรวมในประเทศ หรือ Gross Domestic Productivity (GDP) ซึ่งถ้าปีไหน GDP ของประเทศมีค่ามาก ก็แปลว่าเศรษฐกิจเติบโตมาก ซึ่ง GDP ของประเทศนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

    1. การใช้จ่ายของประชาชนในประเทศ (Consumption) ซึ่งถ้าประชาชนใช้จ่ายมาก ก็จะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมาก เงินก็จะหมุนไป จากบริษัทที่เราทำงาน ผ่านมือของเรา ไปผ่านมือแม่ค้าขายไก่ทอด แม่ค้าขายไก่ทอดก็มีเงินไปซื้อไก่มาทอดขาย ผู้เลี้ยงไก่ก็จะได้เงินจากพ่อค้าไปซื้ออาหารไก่ คนขายอาหารไก่ก็จะได้เงินไปซื้อของใช้จากบริษัทเรา หมุนไปเรื่อยๆ ถ้าคนใช้จ่ายน้อยก็แปลว่าเงินจะผ่านมือคนน้อยต่อหนึ่งหน่วยเวลา เศรษฐกิจก็ฟุบ เพราะเงินฝืด
    2. การใช้จ่ายของภาครัฐ (Government Spending) ถ้ารัฐใช้จ่ายมากก็แปลว่ามีการลงทุนของงภาครัฐสูงในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เช่น สร้างอาคารเรียน สร้างถนน สร้างสนามบิน ฯลฯ ก็จะมีการจ้างงานมาก ซื้อของมาก คนที่รับจ้างทำงานหรือเกี่ยวกับโครงการของภาครัฐก็จะมีเงินมาใช้จ่าย และหมุนไปตามระบบเศรษฐกิจตามข้อ 1
    3. การลงทุนของภาคเอกชน (Investment) ยิ่งถ้าเอกชนมีการลงทุนมาก ก็แปลว่ามีการจ้างงานมาก ซื้อของมาก คนก็มีเงินในมือมากขึ้น เงินก็หมุนเวียนไปใช้จ่ายตามข้อ 1 อีก
    4. ผลต่างของการส่งออกนำเข้า (Export - Import) ถ้าประเทศของเรามีการส่งออกมากกว่านำเข้าก็แปลว่าเราจะมีเงินดอลล่าห์เข้าประเทศมากกว่านำเงินไปใช้จ่ายในต่างประเทศ แต่เงินดอลล่าห์เอามาใช้ตรงๆ ในประเทศไม่ได้ ต้องแลกเป็นเงินบาท ก็จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศต้องเพิ่มปริมาณเงินบาทมากขึ้นเพื่อให้พอแลก ก็จะมีเงินบาทมากขึ้นในระบบ คนก็มีเงินไปใช้จ่ายตามข้อ 1 อีก[​IMG][​IMG]
    ใช้เงิน หรือออมเงิน
    จากข้างต้น เราสามารถฟันธงได้ทันทีว่าเศรษฐกิจจะโตหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ ถ้าเงินหมุนเวียนมาก หมายถึงหมุนไปเรื่อยๆ (ผ่านมือคนมากๆ) ก็แปลว่าเศรษฐกิจโตแน่นอน ถ้าเป็นแบบนี้ก็แปลว่าการออมไม่ดีใช่มั๊ยครับ อย่าเพิ่งด่วนสรุปนะครับ

    คราวนี้เรามาพูดถึงในมุมของการออมกันบ้าง ทำไมเราต้องออมเงินกันเรากลับไปดูปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจโตกันก่อน มีอยู่ข้อหนึ่งที่บอกว่าปัจจัยด้านการลงทุนของภาคเอกชน (Investment) มีผลกับการเติบโตของเศรษฐกิจ หลายท่านคงจะทราบว่าเอกชนเอาเงินจากไหนมาลงทุน ถูกต้องแล้วครับ ก็กู้เอามาจากธนาคารในวงเงินที่มีความสามารถจะใช้หนี้คืนได้นั่นแหละครับ แล้วธนาคาจะเอาเงินจากไหนมาให้กู้ ก็เอาเงินมาจากเงินฝากของพวกเรานั่นแหละ ถ้าเงินฝากภายในประเทศของเรามีน้อย เพราะเราเอาไปใช้จ่ายให้เศรษฐกิจมันหมุนตามย่อหน้าก่อนหน้านี้ไปแล้ว ธนาคารก็ต้องระดมเงินฝากจากพวกเราเพื่อเอามาปล่อยกู้ต่อ ซึ่งการระดมเงินฝากก็แปลว่าธนาคารต้องขึ้นดอกเบี้ยงามๆ เพื่อจูงใจให้ราเอาเงินไปฝากเยอะๆ การขึ้นดอกเบี้ยงามๆ ก็แปลว่าอัตราเงินกู้ก็ต้องสูงไปด้วย เพราะธนาคารไม่มีทางให้ดอกเงินฝากแพง แล้วปล่อยต่ำกว่าต้นทุนอยู่แล้วครับ อัตราดอกเบี้ยยิ่งสูงก็ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงไปด้วย หรือมิเช่นนั้นก็ต้องไปแย่งชาวบ้านกู้มาจากต่างประเทศ ก็จะทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นเหมือนกัน สรุปคือถ้าเราไม่ออมเงินกัน ก็จะทำให้การลงทุนของภาคเอกชนไม่เกิด เพราะเงินไม่พอให้กู้ ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยสูง ไม่อยากจะลงทุนกัน ถ้าเป็นแบบนี้ก็แปลว่าเราต้องออมกันเยอะๆ ใช่มั๊ยครับ[​IMG]
    ทางสายกลาง แบบเศรษฐกิจพอเพียง

    จากสองเหตุผลข้างต้น หลายท่านอาจจะสงสัยว่าตกลงจะให้ท่านใช้เงิน หรือจะให้ออมเงินกันแน่ งงไปหมดแล้วครับท่าน สองเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างมา เราเรียกว่า ปรากฎการณ์ Paradox of Thrift ก็แปลว่าปรากฎการขัดแย้งของการมัธยัส

    ในภาวะความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำอันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองไม่แน่นอนแบบนี้ ไม่มีใครอยากจะใช้เงิน เพราะไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น ม๊อบจะมาอีกเมื่อไหร่ หรือมีระเบิดเมื่อไหร่ ทุกคนกำลังจะกำเงินสดในมือแน่น เก็บทุกเม็ด (ยกเว้นบางวัยรุ่นหรือวัยทำงานบางคนที่ไม่รู้จักคำว่าคุณค่าของเงินก็ใช้เงินแบบเทกระจาดกัน ซึ่งผมเห็นบางคนในวัยทำงานตั้งแก๊งเที่ยว แดนซ์ ดื่มสุราทุกคืน) ดังนั้นเรากำลังจะเห็นว่าภาวะเงินฝืดใกล้มาเยือนเราแล้ว แต่ถ้าเราไม่ใช้เงินก็แปลว่าเศรษฐกิจทั้งประเทศจะถดถอยแบบญี่ปุ่น ที่แม้ดอกเบี้ยติดลบคนยังไม่กล้าใช้เงินกัน แต่ถ้าใช้เงินกันเยอะก็จะมีปัญหาเรื่องวินัยการออมอีกทำให้เงินลงทุนในประเทศไม่พอ คำตอบของปัญหาที่เราคุยกันคือ[​IMG]

    1. การสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ และการเมือง ให้กลับมาโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นยาที่ฉีดเข้าไปถูกโรคแน่นอน เพราะคนจะหันมาใช้เงินกันอีกครั้งหนึ่ง แต่ผมขออนุญาตละแนวทางไว้ให้ผู้เกี่ยวข้องไปแก้ไขกันเองครับ
    2. ข้อนี้เกี่ยวกับการใช้เงินของเราโดยตรง ประเด็นคือเราต้องวางแผนการใช้เงินแต่ที่จำเป็น ตามปัจจัยสี่ (หรือห้า สำหรับบางคน) อะไรที่เกินปัจจัยสี่ (หรือห้า) ก็พยายามลดละ เช่น เราก็ต้องพิจารณาตามความจำเป็นในการบริโภคของ ไก่ทอดป้านวล กับไก่ทอด KFC ก็ไก่ทอดเหมือนกัน แต่ราคาต่างกันหลายเท่า กาแฟ Star Buck กับกาแฟชงเอง หรืออาแปะชง รสชาติต่างกัน แต่ราคาต่างกันหลายเท่า แต่วัตถุประสงค์เดียวกันคือทำให้สมองตื่น ส่วนที่เหลือจากการใช้เงินประจำเดือนก็เอาไปออมซะ พยายามตั้งเป้าออมให้ได้ 25% ของรายได้
    3. ไม่ใช้จ่าย หรือไม่ลงทุนเกินตัว ให้แน่ใจว่าการใช้จ่ายเงินทุกบาทมีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนได้ อย่าเป็นหนี้เสีย หรือใช้เงินกับสิ่งไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีใครได้อะไรจากตรงนี้
    4. เงินแต่ละบาทที่ใช้ ก็ให้พยายามเน้นๆ ให้แน่ใจว่า ใช้ออกไปแล้วเงินจะตกอยู่ในมือของคนไทยให้มากที่สุด โดยการซื้อของที่ทำในประเทศ หรืออะไรก็ได้ที่ไม่ต้องเสียค่าแบรนด์ไปต่างประเทศ เพราะถ้าเงินได้ถูกใช้ถูกที่แล้ว ก็แปลว่าเงินจะถูกผ่านมือคนไทยด้วยกันเป็นทอดๆ มากที่สุดครับ คนก็จะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นไปอีก

    วิธีง่ายๆ ข้างต้นก็จะทำให้เรามีเงินออมในประเทศเพียงพอ และมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพียงพอแน่นอนครับ ซึ่งจริงๆ แล้วแนวคิดข้างต้นก็ได้คิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเองครับ[​IMG]

    ขอขบคุณดีดีมีสาระจาก

    http://www.vcharkarn.com

    ผู้เขียน: ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์
    อยู่ในส่วน: เศรษฐศาสตร์, เศรษฐกิจพอเพียง, ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
    ปรับปรุงล่าสุด: 23:34 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550
     
  7. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    โมทนาครับ จะเข้าไปนำข้อมูลมาใส่ไว้ที่นี่นะครับ
     
  8. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=863 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=77 rowSpan=7></TD><TD vAlign=top width=728 bgColor=#fee239 height=33>[​IMG]</TD><TD vAlign=top noWrap width=58 rowSpan=7></TD></TR><TR><TD vAlign=center align=right height=27>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center height=230></TD></TR><TR><TD vAlign=top height=348>
    เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พวกเราชาวไทยมานานกว่า
    30 ปี และภายหลังที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2007
  9. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    ช่วงนี้ฝนเริ่มลงแล้ว และมีทีท่าว่าจะตกต่อเนื่อง นั่นคือ ที่อุดรหมดฤดูแล้งแล้ว ก็เป็นไปตามที่ตรวจดูตามรูปการ เห็นที่ใคร ๆว่าจะแล้งหนัก ก็ไม่เชื่อมานานแล้ว เกรงจะท่วมด้วยซ้ำไป

    ทางผมเองจึงได้ปรับพื้นที่มาตั้งแต่มีนาคม โพสต่อๆไปจะเก็บรูปสวนหลังบ้านมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ที่แล้ว ๆมาเป็นข้อมูลทางทฤษฏี ต่อไปผมจะขอลงทางการปฏิบัติบ้าง ให้เห็นจริงว่าทำได้ ไม่เพ้อฝัน และถ้าทำตามแนวพระราชดำริแล้ว ความสุขบริบูรณ์ก็จะเกิดขึ้นจริง ๆ ทำได้ทุกครัวเรือนด้วย ขอเพียงมีใจที่จะทำเท่านั้น........
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เศรษฐกิจพอเพียง... เศรษฐกิจที่ประกอบด้วย สติ และ ปัญญา



    ทศพล กฤตยพิสิฐ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    “เศรษฐกิจพอเพียง” (SUFFICIENCY ECONOMY) กลายเป็นเรื่องราวที่ได้รับความสนใจไม่เฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น หลังจากที่เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้เดินทางมาทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเดียวกับที่มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสครองราชย์ครบ 60 พรรษา จากนั้นได้มีการขอพระราชทานพระราชานุญาตนำแนวคิดว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ไปเผยแพร่ให้แก่ประเทศต่างๆ ซึ่งถือเป็นการน้อมรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับนานาชาติ โดยมอบหมายให้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNITED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME : UNDP) ดำเนินการขยายผลต่อไป
    ปรัชญา แนวคิด จุดมุ่งหมาย หลักการ และรายละเอียดต่างๆ ของเศรษฐกิจพอเพียง คงเป็นที่เข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป อย่างชัดเจนมากขึ้น ภายหลังจากที่หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน รวมทั้งนำแนวคิดนี้ไปใช้จัดโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่แนวคิดโดยตรง หรือเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
    สิ่งที่เกิดขึ้นจากการน้อมรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีมากขึ้น นัยหนึ่งส่งผลให้คำว่า “ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ” (GROSS DOMESTIC PRODUCT : GDP) กลายเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญลดน้อยลง เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยได้นำตัวเลขจากค่า GDP มาใช้ในการอ้างอิงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายของประเทศ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการเร่งรัดดำเนินการต่างๆ ในอันที่จะทำให้ตัวเลข GDP มีค่าที่สูงมากขึ้น
    ทั้งนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมา ตัวเลข GDP ของประเทศไทย มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มากบ้างน้อยบ้างสลับกันไปในแต่ละปี แต่ทั้งที่ตัวเลขมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี้ กลับยิ่งทำให้สิ่งที่เรียกว่า “คุณภาพชีวิต” (QUALITY OF LIFE) ของประชาชนถดถอยต่ำลงเรื่อยๆ อย่างสวนทางกัน ในขณะเดียวกันก็ปรากฏว่าช่องว่าง (GAP) ระหว่างคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกันทั้งสองขั้ว กลับยิ่งทวีความแตกต่างมากยิ่งขึ้น จนทำให้สังคมไทยตกอยู่ในสภาวะวิกฤติ (CRISIS) อย่างที่นักวิชาการหลายท่านได้เคยกล่าวไว้
    อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังเห็นว่า GDP ยังมีคุณค่าและประโยชน์ในตัวเองอยู่ไม่มากก็น้อย ที่ผ่านมาเราหยิบยก GDP มาใช้อย่างไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ขาดการพิจารณาถึงรายละเอียดและเหตุผลต่างๆ อย่างถี่ถ้วนและชัดเจนเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับบริบทของสังคมไทยที่มีความแตกต่างจากสังคมอื่น เราจึงมองเห็นตัวเลข GDP ที่ปรากฏออกมาเป็นเสมือน “เทพเจ้า” ที่จะสามารถดลบันดาลสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้
    ดังนั้นหากตัวเลข GDP ที่ปรากฏออกมาให้เห็นว่ามีการเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงมีความเป็นไปได้ที่สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ควรจะปรากฏออกมาในทิศทางที่สอดคล้องกับตัวเลข GDP ซึ่งเกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นไปตามกลไกของตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
    เช่นนี้แล้วอาจกล่าวได้ว่า สังคมไทยขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในการนำตัวเลขทางเศรษฐกิจมาใช้ ประการสำคัญยังแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยไม่ได้นำ “สติ” และ “ปัญญา” มาใช้ร่วมกับตัวเลขทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด
    เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่เล็งเห็นถึง “สติ” และ “ปัญญา” ที่สามารถนำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลขที่ปรากฏออกมามากมายอย่างที่เคยเป็นมา แต่พิจารณาถึง “สภาพความเป็นจริงในสังคม” ที่เกิดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับ “ความพอเพียง” ซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ
    ประการแรก คือ “ความพอประมาณ” กล่าวคือ ให้เป็นไปอย่างสมดุลบนพื้นฐานความพอดี ระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเอง กับความสามารถในการแข่งขัน โดยให้ความสำคัญกับการอยู่ได้ ด้วยศักยภาพของตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีการเตรียมการจัดการความเสี่ยงด้วย “ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี” ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญประการต่อมา
    ประการสุดท้ายคือ “ความมีเหตุผล” ในการคิดวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ รู้ว่าเรามีจุดแข็งและจุดอ่อนในเรื่องใดบ้าง และรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้รู้จักเลือก และใช้ในสิ่งที่มีความเหมาะสม รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอก
    เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงครอบครัวขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า “ครอบครัวเดี่ยว” ที่พบเห็นอยู่ทั่วไปในสังคมเมืองปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวของผู้มีฐานะระดับสูงหรือระดับกลาง ที่พ่อแม่ทุ่มเทให้กับงาน โดยมุ่งความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จนละเลยการให้ความอบอุ่นที่เพียงพอแก่บุตร ครอบครัวนั้นอาจจะหาเงินทองได้มากมายพอที่จะส่งเสียเลี้ยงดูบุตรได้เป็นอย่างดี แต่ภายหลังมักจะพบว่าเงินที่หาได้มากนี้ กลับไม่สามารถทดแทนเวลาที่จะให้ความอบอุ่นแก่บุตรได้
    เช่นนี้จึงทำให้บุตรขาดการเอาใจใส่จากพ่อแม่ การเลือกตัดสินใจจึงเป็นไปตามที่ตนเองคิดพิจารณาตามวุฒิภาวะของตน โดยขาดการพูดคุยปรึกษาหารือกับพ่อแม่ โอกาสที่จะเลือกตัดสินใจผิดพลาดก็เป็นไปได้มาก ซึ่งหากการตัดสินใจนั้นๆ มีผลให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาแล้ว ครอบครัวนั้นแม้จะมีเงินทองมากมายเพียงใด ก็ไม่อาจนำมาชดเชยกับความเสียหายที่เกิดขึ้นได้แต่อย่างใด
    เช่นเดียวกับตัวเลข GDP ที่เพิ่มขึ้นจากการทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น แต่ไม่อาจชดเชยสิ่งที่ประเทศต้องสูญเสียไป อย่างเรียกกลับคืนมาได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากที่ไม่อาจฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้ง่าย ยิ่งกว่านั้นยังส่งผลร้ายต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นที่มาของการเกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างที่คาดไม่ถึง หากเราได้พิจารณาถึงบางอย่างที่สังคมต้องสูญเสียไป เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งใหม่ที่ได้รับ ผลที่ได้อาจไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไปอีกด้วย
    ดังนั้นการที่ประชาชนร่วมกันตอบรับแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” และหลายฝ่ายน้อมรับมาใช้ เพื่อให้ปรากฏผลออกมาเป็นรูปธรรม จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับสังคมไทย ที่เราจะได้ “สติ” และ “ปัญญา” กลับคืนสู่สังคมไทย
    ... หลังจากสิ่งที่ว่านี้ได้สูญหายไปจากสังคมไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา


    ที่มา กรุงเทพฯธุรกิจ
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    คำสอนของพ่อเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”

    เรื่องโดย อมรรัตน์ ล้อถิรธร
    จาก...ผู้จัดการออนไลน์ 21 ก.ย. 48



    ทุกครั้งที่บ้านเมืองประสบภาวะวิกฤต
    ทุกคนจะคิดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ด้วยพระองค์ได้ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรมาโดยตลอด
    ยามนี้กระแสสังคมมีการพูดถึงพระราชดำรัสเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
    ที่พระองค์ได้เคยพระราชทานแก่รัฐบาลชุดต่างๆ และคณะบุคคลที่ได้เข้าเฝ้าฯ

    ผู้จัดการออนไลน์ ขอน้อมนำบางส่วนของพระราชดำรัสในเรื่องดังกล่าว
    มาเผยแพร่ส่งผ่านถึงประชาชนคนไทยทุกคน
    ด้วยคิดว่าเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ทันสมัยอยู่เสมอ
    และสอดคล้องเหมาะควรกับประเทศไทยและคนไทยทุกยุคทุกสมัย
    ต่อไปนี้คือบางส่วนของพระราชดำรัสที่พระองค์ได้พระราชทาน
    แก่รัฐบาลและคณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายพระพร
    เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540

    <hr> วิกฤต...อะไรที่ควรทำ อะไรที่ควรเว้น

    ในระยะนี้ที่บอกว่าเป็นระยะวิกฤตก็ต้องพิจารณาอยู่เสมอว่า
    “อะไรที่ควรจะทำ อะไรที่ควรจะเว้น”
    ที่ท่านเห็นอยู่บนเวทีนี้คงแปลกใจ
    ทำไมจะมาตี “กลองยาว” หรืออย่างไร
    แต่ว่าข้อสำคัญหีบที่ใส่กลองยาวนี้เห็นได้ชัดว่า
    เขียนว่า “เมดอินไทยแลนด์”

    เมดอินไทยแลนด์นี่จะเป็นประโยชน์
    ถ้าเรามาใช้ของไทย ซื้อของไทย เที่ยวเมืองไทย กินข้าวไทย
    อันนี้จะได้ประโยชน์ แต่ว่าก็ไม่แก้ปัญหา
    ปัญหามีอยู่ว่า เมื่อผู้ที่ทำกลองนี้เขาเป็นบริษัท
    เป็นร้านที่นำเข้าสินค้าที่เขาขาย เขาบอกแย่
    เพราะเขานำเข้ามา ก็ต้องเสียเงินแพง
    และต้องขายในราคาเดิมที่มีการตกลงว่าจะขาย
    เขาบอกขาดทุน แต่เขามีความคิดอยู่
    เขาสามารถที่จะผลิตกลองนี้และส่งนอก
    ส่งไปที่อเมริกาส่วนหนึ่ง ส่งไปที่ยุโรปส่วนหนึ่ง
    และเขาทำงานหนัก ก็เพิ่งได้ส่งไป
    หมายความว่า เขาถัวกับที่เขาสั่งเข้า
    เขาถัวไปก็ยังพอไปได้ ถ้ากลองนี้เป็นที่นิยมมาก
    ก็สามารถที่จะมีกำไรและประเทศชาติก็จะมีกำไรไปด้วย

    หมายความว่า การสั่งของจากต่างประเทศ
    มีความจำเป็นบ้างในบางกรณีแต่ก็สามารถที่จะส่งออกนอก
    ซึ่งผลิตที่ทำในเมืองไทย ไม้ที่ใช้ก็เป็นไม้ที่มีในเมืองไทย
    คือเป็นไม้ที่โดยมากก็ไม่ค่อยได้ใช้ ไม่ใช่ไม้ต้องห้าม
    อย่างที่เขาห้ามตัดป่าไม้ ไม่ใช่ไม้ที่เป็นป่าไม้
    เป็นไม้ยางพารา ไม้ยางพาราที่ต้องเปลี่ยนเพื่อให้มีผลผลิตยางให้ดี
    เขาก็เปลี่ยน เขาก็ตัดยางเก่าเอามา
    โดยมากก็ไม่ได้ใช้มากนัก มาตอนหลังเขาใช้ทำเครื่องเรือน
    แต่สำหรับในกรณีนี้เขาลงไปภาคใต้ไปซื้อไม้ยางพารา
    มาด้วยตนเองแล้วมาทำกลองนี้
    มีกลองแบบกลองยาวและมีกลองเล็กๆ ใช้ไม้ในเมืองไทย
    และที่ขึงหนังบนกลองก็เป็นสิ่งที่ผลิตในเมืองไทยเหมือนกัน
    เพราะฉะนั้นสามารถทำให้มีการส่งออกสิ่งของ
    ที่ทำด้วยวัตถุดิบในเมืองไทยและทำด้วยแรงงานของคนไทย
    อันนี้เป็นการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตอย่างดี
    เป็นของเอกชน เขาทำเอง
    แต่ก็ต้องเหน็ดเหนื่อย เขาบอกเหนื่อยมากจะเป็นโรคประสาท
    เพราะว่าทำไม่ทันที่จะส่ง แต่เมื่อส่งแล้ว
    เขาก็มาพบและมามอบผลิตผลของเขา
    และบอกว่าสบายใจขึ้น อันนี้เป็นวิธีแก้ไข
    ที่เห็นเป็นประจักษ์ว่า ทำได้ แต่ต้องมีความเพียร ต้องมีความอดทน

    ดังนี้ ทำให้ได้คิดว่า ทำไมวิกฤตการณ์เกิดขึ้นได้
    เราเป็นเมืองอุดมสมบูรณ์ และเราได้ชื่อว่ากำลังก้าวหน้า
    ไปสู่เมืองที่เป็นมหาอำนาจทางการค้า
    ทำไมเกิดวิกฤตการณ์

    ความจริงวิกฤตการณ์นี้เห็นมาแล้ว
    แต่ไม่รู้ตัวมา 40 กว่าปี
    เมื่อ 40 กว่าปี มีผู้หนึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยมาขอเงิน
    ที่จริงเคยได้ให้เงินเขาเล็กๆ น้อยๆ
    เขาบอกไม่พอ เขาก็ขอยืมเงิน ขอกู้เงิน ก็บอกเอ้าให้
    แต่ขอให้เขาทำบัญชี บัญชีรายรับ บัญชีรายจ่าย
    รายรับคือเงินเดือนของเขา และรายรับที่อุดหนุนเขา
    ส่วนรายจ่ายก็เป็นของที่ใช้ในครอบครัว
    แต่มีสิ่งหนึ่งที่ครั้งนั้นไม่เข้าใจ ไม่เคยเห็น ไม่เคยทราบ
    คือมีรายการหนึ่งบอกว่า “ค่าแชร์”
    แล้วอีกตอนหนึ่งก็มีค่าแชร์อีก

    ก็ถามเขาว่า “แชร์” คืออะไร ?
    เขาก็อธิบายว่า เป็นเงินที่จ่ายให้เจ้ามือทุกเดือน
    และเมื่อเดือดร้อนก็ขอประมูลแชร์ได้
    แต่ประมูลนี้หมายความว่า สมมติแชร์ 100 บาท
    เขาจะได้รับคล้ายๆ เป็นเงินกู้
    เงินควรจะเป็นเงิน 1,200 บาทในปีหนึ่งก็ควรจะดี
    แต่ว่าเขาไม่ได้ 1,200 บาท เขาได้ 800 บาท หรือ 700 บาท
    แล้วแต่ประมูลได้ แล้วคนที่มีเงินเขาไม่ประมูล
    เขาทิ้งไว้ในแชร์นั้น พอถึงเวลาเขา
    ก็ได้กลับคืนเงินมาเต็มเม็ดเต็มหน่วย

    อย่างนี้ถามเขาว่า สามารถจะหมุนเงินนี้ได้หรือเปล่า ?
    ถามว่าทำไมแชร์แล้วยังซ้ำแชร์อีก
    เขาบอกว่า สำหรับจ่ายแชร์เดือนนั้น
    ต้องทำแชร์สัปดาห์ 7 วันนี้ เขาเปียแชร์มาเพื่อไปใช้ค่าแชร์เดือน
    เขานึกว่าเขาฉลาดและความจริงแชร์นี้ไม่ใช่เฉพาะคนนี้ทำ
    แต่ทั่วไปทุกแห่ง ทั้งราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็มี
    ทุกบริษัททุกส่วน แม้เอกชนก็มีแชร์
    เลยบอกให้เขาเลิกแชร์และให้ทำบัญชีมา
    ทีหลังเขาทำบัญชีมา เขาไม่ขาดทุนแล้ว
    เขาสามารถที่จะมีเงินพอใช้
    เพราะว่าบอกเขาว่า เรามีเงินเดือนเท่าไร
    จะต้องใช้ภายในเงินเดือนของเรา
    เพราะการทำแชร์เท่ากับเป็นการกู้เงิน
    กู้เงินนำมาใช้ในสิ่งที่ไม่มีรายได้ อันนี้เป็นข้อสำคัญ
    เพราะว่าถ้ากู้เงินและทำให้มีรายได้ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้
    ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ

    มีอีกรายหนึ่งในระยะนั้นเมื่อ 40 ปีมาแล้ว
    เขาขอกู้เงิน 30,000 บาท เอาไปซื้อเครื่องมือ
    สำหรับตัดเย็บผ้าให้ภรรยาทำร้านก็ตกลงให้เขา
    ในที่สุดเมื่อเขาตั้งร้านแล้ว เขาก็เอาเงินมาคืน
    ทุกเดือนสม่ำเสมอ จนกระทั่งหมดจำนวนที่ได้ให้กู้
    ด้วยความฉลาด ด้วยความซื่อสัตย์ของเขา
    รู้ว่ากิจการนี้จะทำให้มีกำไรได้
    สามารถที่จะคืนเงินมาให้ครบจำนวนที่กู้
    ต่อไปเป็นกำไรทั้งนั้นก็ชมเขาว่าดี
    คนนี้เขาเป็นคนซื่อสัตย์
    ในที่สุดมาเป็นคนที่ช่วยในด้านช่างฝีมือ
    และได้รับใช้อย่างซื่อสัตย์จนกระทั่งถึงสิ้นอายุ

    มีอีกรายหนึ่ง เขาเอาหัวเข็มขัดมาให้
    เราถามว่าหัวเข็มขัดนี้เอามาให้ทำไม
    ในที่สุดทราบว่าเขาขอกู้เงิน
    อันนี้เป็นสิ่งที่ประหลาดเพราะว่าเขาไม่มีเงินใช้
    ทำไมไปซื้อหัวเข็มขัดซึ่งก็ราคาไม่ใช่ถูก
    แล้วเอามาให้ เลยบอกเขาว่าไม่ให้
    เพราะทราบดีว่าถ้าให้เขา เขาจะไม่มีเอามาใช้เรา
    กู้เงินจะให้เขาก็มี แต่ว่าถ้าให้เงินเขาแล้วก็ไม่มีผล
    คือเขาเอาไปใช้อีลุ่ยฉุยแฉก
    และไม่มีผลอย่างผู้ที่ขอกู้สำหรับทำอาชีพ
    จะกลายเป็นการทำให้คนเขายิ่งเสียใหญ่
    อันนี้เป็นสิ่งที่จะต้องสอน กู้เงิน
    เงินนั้นจะต้องให้เกิดประโยชน์
    มิใช่กู้สำหรับไปเล่นไปทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์

    อันนี้มีอีกคนหนึ่ง เขาจะแต่งงานและขอกู้เงิน
    เลยนึกว่าคนนั้นเขาทำงานมาดี
    น่าจะให้เหมือนเป็นรางวัลเขา
    ก็ให้เงินเขา 10,000 บาท สมัยโน้น 10,000 บาทมิใช่น้อย
    10,000 บาทเพื่อไปจัดงานแต่งงานของเขา
    เขาก็ตกลงแต่งงานและยังไม่ได้คืนเงิน
    ไม่ค่อยถืออะไร เพราะว่าเขาแต่งงาน เขามีความสุขก็ดีไป
    เขาทำงานได้ดี แต่หารู้ไม่สักปีสองปีให้หลัง
    เขามาขอเงิน 30,000 บาท ก็บอกเอ๊ะ ! 30,000 บาท
    เอาไปทำอะไร เขาบอกว่า เมื่อแต่งงาน เงินเขาไม่พอ
    เลยไปกู้เงินที่อื่นมา แต่ใช้คืนไม่ได้เลยต้องเสียดอกเบี้ย
    จนกระทั่งใช้คืนเงินต้นหมดแล้ว
    ต้องใช้ดอกเบี้ยจำนวนนั้นด้วยคือ 30,000 บาท
    ไม่นับ 10,000 บาทที่เราให้เขาไปแล้ว
    หมายความว่า ไปติดนุงนัง
    หนี้ไม่สามารถที่จะใช้ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

    ได้รู้อีกว่า ถ้าไม่ได้อย่างนี้เขาจะฆ่าตัวตาย
    เพราะว่าไม่มีทางออก เงินเดือนเขาไม่พอจะใช้หนี้
    ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
    เพราะว่าต้องติดอีกต่อไปทบต้น
    ก็เห็นว่าครั้งแรกเขายืมเงินสำหรับแต่งงานน่าจะมีความสุข
    กลับมีความทุกข์ เลยไหนๆ ให้ไป 10,000 บาท
    แล้วก็ให้ไปให้ครบที่จะไปใช้หนี้ได้
    ลงท้ายเขาสามารถที่จะมีชีวิตต่อไปและทำงานได้
    แต่คงเป็นบทเรียนที่ดี อันนี้หมายความว่า
    เขาขอเราก็ให้ เราจะได้ช่วยชีวิตเขา

    มีอีกรายหนึ่งเป็นคนข้างนอกมาบอกว่า
    ลูกของเขาเจ็บตา ถ้าไม่ทำอะไรตาจะบอด
    เราก็สงสารเขา ให้เงินเขา 30,000 บาทเหมือนกัน
    ลงท้ายไม่ทราบว่าลูกเขาได้ไปผ่าตัดตาได้ผลดีอย่างไร
    แต่วันหนึ่งโผล่มาอีกทีบอกว่า รักษาตาลูกเรียบร้อยแล้ว
    แต่ขอบ้านอยู่ และบ้านนั้นเขาไปสืบเสร็จว่าบ้านนั้นว่าง
    แล้วมาขออยู่ฟรี เลยเลิกเลย
    เพราะเขาควรจะมีฐานะพอสมควรที่จะมีบ้านอยู่
    บ้านที่ขอนี้นับว่าเป็นบ้านใหญ่
    ถ้าขอบ้าน ถ้าให้บ้าน เขาก็ต้องมาขอค่าใช้จ่ายสำหรับบ้านอีก
    เมื่อบ้านใหญ่คงมีญาติมีเพื่อนมาอาศัยบ้านก็ต้องเสียเงินอีก
    เลยบอกว่าไม่ให้ ที่พูดว่าไม่ให้นั้น
    เรียกว่ามีความเดือดร้อนเหมือนกันที่จะพูดอย่างนั้น
    จะว่าสงสารก็สงสาร เวลาใครมาขออะไร
    แล้วไม่สามารถที่จะให้มันก็ไม่ค่อยสบายใจ
    ในที่สุดก็เงียบไป ข้อเหล่านี้ที่เล่าให้ฟัง
    เพราะว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทำอย่างเหมาะสมกับอัตภาพ

    ขอเล่านิทานอีกเรื่อง คือ
    ไปทางชลบุรีครั้งหนึ่งก็หลายสิบปีแล้ว
    มีพ่อค้าคนหนึ่งเขาบอกว่า เขาทำโรงงานสับปะรดกระป๋อง
    เขาลงทุนเป็นล้าน จำไม่ได้ว่ากี่ล้านเพื่อสร้างโรงงาน
    การลงทุนมากอย่างนั้นเลยบอกให้เขาทราบว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
    เพราะว่าเคยทำโรงงานเล็กๆ ที่ทางภาคเหนือใช้เงิน 300,000 บาท
    เพื่อที่จะเอาผลิตผลของชาวบ้านชาวเขามาใส่กระป๋องแล้วขาย
    ก็ได้ผลเพราะเป็นโรงงานเล็กๆ
    แต่โรงงานเขาเองลงทุนเป็นล้านรู้สึกว่าเสี่ยง
    เขาบอกว่า ต้องทำอย่างนั้น เขาก็ลงทุน
    ทำไปทำมาสับปะรดที่อำเภอบ้านบึงและที่ชลบุรีก็มีไม่พอ
    ต้องไปสั่งสับปะรดมาจากปราณบุรี ต้องขนส่งมา
    ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทำไปทำมาโรงงานก็ล้ม
    อย่างนี้แสดงให้เห็นว่า ทำโครงการอะไร
    ต้องให้นึกถึงขนาดที่เหมาะสมกับที่เรียกว่า
    อัตภาพหรือกับสิ่งแวดล้อม

    <hr> รอบคอบและอย่าตาโต

    นี่พูดไปพูดมายังคิดถึงอีกรายหนึ่งที่ลำพูน
    มีการตั้งโรงงานสำหรับแช่แข็งผลผลิตของชาวไร่ได้ไปเยี่ยม
    แล้วเขาบ่นว่า คุณภาพของข้าวโพดที่ใช้ใส่กระป๋องสำหรับแช่แข็ง
    คุณภาพไม่ค่อยดี เขาบอกว่าซื้อในราคาแพงไม่ได้
    ตอนนั้นไม่ทราบว่าเขาจะมีอันเป็นอย่างไร
    ได้บอกเขาว่าน่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด
    ให้ได้ข้าวโพดที่คุณภาพดี โรงงานจะเจริญ
    เขาบอกว่าให้ไม่ได้ เพราะว่าคุณภาพเขาไม่ดี
    อันนี้เป็นปัญหาโลกแตก ถ้าไม่ให้ราคาดี
    หรือไม่สนับสนุนเกษตรกรก็ทำให้ข้าวโพดคุณภาพดีไม่ได้

    เรื่องนี้ตอนแรกอาจจะดูเหมือนขาดทุน
    ดูจะไม่ได้ประโยชน์ จะไม่ได้คุณภาพ
    จะได้ข้าวโพดที่ฟันหลอ ซึ่งเขาบอกเขาต้องทิ้ง
    เพราะว่าเครื่องจักรของเขาต้องมีข้าวโพดที่มีขนาดที่เหมาะสม
    เมื่อเป็นอย่างนั้น ความจริงไม่ได้แช่งเขา
    แต่นึกในใจว่าโรงงานอยู่ไม่ได้ และในที่สุดก็จริงๆ ก็ล้ม
    อาคารอะไรต่างๆ ยังอยู่เดี๋ยวนี้ แต่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
    เกะกะอยู่อย่างนั้น ฉะนั้นการที่จะทำโครงการอะไร
    จะต้องทำด้วยความรอบคอบและอย่าตาโตเกินไป

    คือบางคนเขาเห็นว่า แม้มีโอกาสที่จะทำโครงการอย่างโน้นอย่างนี้
    และไม่ได้นึกถึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบ
    ปัจจัยคือ ขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถจะปฏิบัติได้
    แต่ข้อสำคัญที่สุด คือ วัตถุดิบ เอาวัตถุดิบมาแล้ว
    ไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนกับเกษตรกรที่นำวัตถุดิบมาส่ง
    ยิ่งถ้าวัตถุดิบสำหรับทำในโรงงานนั้นเป็นวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าก็ยิ่งยาก
    เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคาไม่สม่ำเสมอ
    บางปีวัตถุดิบนั้นบริบูรณ์ราคาอาจจะต่ำลงมา
    แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ทำที่ผลิตจากโรงงาน
    หรือจากกิจการก็ขายยากเหมือนกัน
    เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก อันนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องมี

    ข้อสำคัญอยากจะพูดถึงว่า ถ้าหากว่าเราทำโครงการที่เหมาะสม
    ขนาดที่เหมาะสม อาจจะไม่ดูหรูหรา แต่ว่าจะไม่ล้ม
    หรือถ้าล้มถ้ามีอันตรายไปก็ไม่เสียมาก
    เช่น โรงงานกระป๋องที่ริเริ่มทำที่อำเภอฝางนั้น
    วันหนึ่งเขาติดต่อมาบอกว่าน้ำท่วม
    น้ำจากเขาลงมาพัดโรงงานเสียหาย
    เลยบอกว่าไม่เป็นไรจะสนับสนุนเงินเพิ่มเติม
    เพราะที่ดินตรงนั้นซื้อแล้ว เครื่องมือเครื่องใช้ก็ไม่เสียหมด
    ก็สนับสนุนเขาอีก 400,000 ก็ตั้งขึ้นมาใหม่ต่อไป
    ก็ใช้งานได้มีกำไร อันนี้หลายปีมาแล้ว

    เศรษฐกิจแบบพอเพียง

    มาใหม่ๆ นี้ โครงการต่างๆ ก็เกิดขึ้น
    โรงงานก็เกิดขึ้นมาก จนกระทั่งคนเขานึกว่าประเทศไทย
    เป็นเสือตัวเล็กๆ และเป็นเสือตัวโตขึ้น
    เราไปเห่อว่าจะเป็นเสือ
    ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า
    การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ
    สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน
    และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน
    แบบพอมีพอกินหมายความว่า
    อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง
    อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า
    ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
    จะต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเองสำหรับครอบครัว อย่างนั้นมันเกินไป
    แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร
    บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้
    แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก

    อย่างนี้นักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย
    จริง...อาจจะล้าสมัย เพราะว่าคนอื่นเขา
    ก็ต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน
    เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง
    รู้สึกไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า
    การผลิตที่พอเพียงทำได้

    อย่างข้าวที่ปลูก เคยสนับสนุนให้ปลูกข้าวให้พอเพียงกับตัวเอง
    เก็บเอาไว้ในยุ้งเล็กๆ แต่ละครอบครัวเก็บและถ้ามีพอก็ขาย
    แต่คนอื่นกลับบอกว่าไม่สมควร โดยเฉพาะทางภาคอีสาน
    เขาบอกต้องปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อที่จะขาย
    อันนี้ถูกต้องข้าวหอมมะลิขายได้ดี
    แต่เมื่อขายแล้วของตัวเองจะบริโภคเองต้องซื้อ
    จะซื้อจากใคร ทุกคนปลูกข้าวหอมมะลิ ในภาคอีสาน
    ส่วนมากเขาชอบบริโภคข้าวเหนียว
    ซึ่งใครจะเป็นคนปลูกข้าวเหนียว
    เพราะว่าประกาศโฆษณาว่าคนที่ปลูกข้าวเหนียวเป็นคนโง่
    อันนี้ที่เป็นสิ่งสำคัญเลยสนับสนุนบอกว่า
    ให้เขาปลูกข้าวบริโภค เขาชอบข้าวเหนียวก็ปลูกข้าวเหนียว
    เขาชอบข้าวอะไรก็ตามให้เขาปลูกข้าวอย่างนั้น
    และเก็บไว้เพื่อใช้บริโภคตลอดปี
    ถ้ายังมีที่ที่จะทำนาปรังหรือมีที่มากพอสำหรับปลูกข้าว
    ก็ปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อที่จะขาย
    ที่พูดอย่างนี้เพราะว่า ข้าวที่ปลูกสำหรับบริโภคไม่ต้องเที่ยวรอบโลก
    ถ้าข้าวที่ซื้อมาต้องข้ามจังหวัด
    หรืออาจจะข้ามประเทศมา ค่าขนส่งนั้นก็บวกเข้าไปในราคาข้าว

    เขาบอก ขายข้าวหอมมะลิได้ราคาแพงซึ่งเป็นความจริง
    ตอนที่ขายผู้บริโภคในต่างประเทศ
    แต่ต้นทางไม่ได้ค่าตอบแทนมากนัก
    และยังต้องไปซื้อข้าวบริโภคซึ่งจะแพงกว่า
    เพราะว่าต้องขนส่งมา
    ข้อนี้ได้ทราบดีเพราะว่าเมื่อมีภัยธรรมชาติจะเป็นที่ไหนก็ตาม
    สมมติว่ามีอยู่ที่เชียงราย ทางเจ้าหน้าที่บอกว่า
    ออกไปสงเคราะห์และก็ขอข้าวที่จะไปแจก
    เราก็ซื้อข้าวในราคากรุงเทพฯ
    หมายความว่าข้าวนั้นมาจากเชียงราย
    เพราะเชียงรายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มาจากเชียงราย
    เสียค่าขนส่งเท่าไร แต่แท้จริงไปซื้อที่เชียงรายได้
    ซื้อที่กรุงเทพฯ แต่ให้เขาจ่ายที่เชียงราย
    ข้าวนั้นไม่ต้องเดินทาง แต่ว่าราคาเขาเดินทาง
    คือ พ่อค้าเขานำข้าวในนามในเอกสารนำเข้ากรุงเทพฯ
    เขาเอาค่าเดินทางของข้าวจากเชียงรายเข้ากรุงเทพฯ
    และบวกค่าเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย
    ลงท้ายต้องเสียเงินราคาข้าวแพง
    ผู้ที่บริโภคข้าวในภาคเหนือก็ต้องเสียแพงเช่นเดียวกับภาคใต้
    ถ้าใกล้หน่อยอย่างนราธิวาสก็ซื้อข้าวจากพัทลุง

    สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจแบบค้าขาย
    ภาษาฝรั่งเขาเรียก Trade Economy ไม่ใช่แบบพอเพียง
    ซึ่งฝรั่งเรียก Self-Sufficient Economy
    ถ้าเราทำแบบที่ไหนทำได้คือเศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง
    เราก็อยู่ได้ไม่ต้องเดือดร้อน

    พูดกลับไปกลับมาในเรื่องการค้า การบริโภค การผลิต
    และการขาย รู้ว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจในวิกฤตการณ์
    ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อยจนกระทั่งคนที่มีเงินมาก
    แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง
    ไม่ต้องทั้งหมด แม้จะไม่ถึงครึ่ง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่
    ก็จะสามารถที่จะอยู่ได้ การแก้ไขจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ
    โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน
    แต่ว่าท่านทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้

    ในเมืองไทยนี้มีที่ดินกว้างขวางพอสมควร
    แม้จะมีอัตราการเพิ่มของพลเมืองขึ้นมามาก
    แต่ก็ยังมีที่ดิน แต่ที่ดินส่วนมากเป็นที่ดินแร้นแค้น
    ที่ไม่ดี บางแห่งก็เปรี้ยว บางแห่งก็เป็นด่าง บางแห่งก็เค็ม
    หรือบางแห่งก็ไม่มีดินเลย อย่างเช่นที่ชะอำ
    เดินๆ ไปสงสัยว่าทำไมตรงนี้ดินมันแข็ง
    มันเป็นดาน ดานไม่มีดินเลย
    เดี๋ยวนี้กำลังหาวิธีซึ่งใช้ได้ผลไปส่วนหนึ่งแล้ว
    โดยใช้หญ้าแฝก หญ้าแฝกนั้นจะระเบิดหิน
    นึกว่าการค้นคว้าเหล่านี้อาจจะไม่ทันในสถานการณ์ปัจจุบันทันที
    แต่ก็มีหวังภายในปีสองปีนี้ก็สามารถทำให้คนมีที่ทำกินมากขึ้น
    และใช้วิทยาการสมัยใหม่สามารถที่จะให้ผลผลิตดีขึ้น

    เรื่องนี้จะต้องมีการลงทุนสำหรับการวิจัย
    จะต้องมีการลงทุนช่วยสำหรับผู้ที่จะเป็นเกษตรกร
    ดังนั้นเงินที่ยังเหลืออยู่เอาไปสนับสนุนในทางนี้
    ส่วนหนึ่งจะเป็นผลที่ดี จะเป็นผลช่วยประเทศไทย
    ให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยนี้
    จะสามารถพ้นวิกฤตการณ์ได้ดีกว่าหลายประเทศ
    เพราะว่าที่ดิน ภูมิประเทศยังให้ หมายความว่า
    ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้
    แต่ว่าความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัด
    และต้องไปในทางที่ถูกต้อง
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ต้องถอยหลัง เพื่อก้าวหน้า

    ที่วันนี้ได้พูดไปแล้วนั้นเป็นวิธีแก้ไขสถานการณ์วิกฤต
    ในปัจจุบันวิธีหนึ่ง เพราะในสมัยนี้เป็นสมัยที่พูดกันได้ว่า
    โลกาภิวัตน์ ซึ่งเราก็จะต้องทำตามประเทศอื่นด้วย
    เพราะว่าถ้าไม่ทำตามประเทศอื่นตามคำสัญญาที่มีไว้
    เขาอาจจะไม่พอใจ แต่ว่าทำไมเขาไม่พอใจ
    เพราะว่าของเขาเองก็มีวิกฤตการณ์เหมือนกัน
    การที่ประเทศใกล้เมืองไทยในภูมิภาคนี้มีวิกฤตการณ์ด้วย
    ก็ทำให้เราฟื้นจากวิกฤตการณ์นี้ยากขึ้น
    และไม่ใช่เฉพาะประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้
    แม้ประเทศที่ดูท่าทางเจริญรุ่งเรืองดี
    ก็ยังรู้สึกว่าก็กำลังจะเดือดร้อนขึ้น
    เพราะว่าถ้าไม่แก้ไขวิกฤตการณ์ในมุมไหนของโลก
    ส่วนอื่นของโลกก็จะต้องเดือดร้อนเหมือนกัน
    ฉะนั้นต้องดูว่าเราพยายามที่จะอุ้มชูประชาชนได้
    และให้ประชาชนได้ทำงานได้ มีรายได้
    ก็จะสามารถผ่านวิกฤต
    ถ้าจะทำแบบนี้ที่เคยมีนโยบาย คือ
    ผลิตสิ่งของทางอุตสาหกรรมมากเกินไป
    ในเมืองไทยตลาดก็น้อยลงเพราะว่าคนมีเงินน้อยลง
    แต่ข้อสำคัญเขาบอกว่า ให้ส่งออกไปยังประเทศอื่น
    ประเทศอื่นเขาก็เดือดร้อนเหมือนกัน เขาก็ไม่ซื้อ
    ถ้าผลิตเป็นผลิตผลทางอุตสาหกรรมและไม่มีผู้ซื้อ
    ก็เป็นหมันเหมือนกัน

    นี่ก็เป็นเรื่องของการแก้ไขวิกฤตการณ์
    แต่ว่าผู้ที่ชอบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่อาจจะไม่ค่อยพอใจ
    มันต้องถอยหลังเข้าคลอง มันจะต้องอยู่อย่างระมัดระวัง
    และต้องกลับไปทำกิจการที่อาจจะไม่ค่อยซับซ้อนนัก
    คือใช้เครื่องมือที่ไม่หรูหรา
    อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องถอยหลัง
    เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป
    และถ้าไม่ทำอย่างที่ว่าก็จะแก้วิกฤตการณ์นี้ยาก

    ใช้สติปัญญา ทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม

    ยังไม่ได้พูดถึงคำที่ทุกครั้งเคยพูดว่าต้องสามัคคีกัน
    ต้องอย่าปัดขากันมากเกินไป แต่ว่าไม่ได้หมายความว่า
    จะต้องมีการทำแบบที่บางคนนึกจะทำ
    คือจะต้องให้ทุกคนมีโอกาสทำงานตามหน้าที่
    และเมื่อทำงานตามหน้าที่แล้วก็หวังดีต่อผู้อื่น
    อันนี้เป็นหลักที่สำคัญ คือทำงานด้วยการเห็นอกเห็นใจกัน
    และทำด้วยความขยันหมั่นเพียร

    วันนี้ได้พูดเรื่องราวที่อาจจะน่าคิด
    และท่านเองเป็นผู้ที่มีความรู้ก็ต้องใช้ความรู้ความฉลาด
    ที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ ในการนี้ขอให้ทุกท่าน
    ซึ่งมีหน้าที่แต่ละท่านพยายามใช้สติปัญญา
    และกำลังให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
    ทั้งนี้ ประเทศชาติจะก้าวหน้าและมีความปลอดภัยต่อไป


    [​IMG]

    คำสอนของพ่อเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”

    เรื่องโดย อมรรัตน์ ล้อถิรธร
    จาก...ผู้จัดการออนไลน์ 21 ก.ย. 48
     
  14. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ปราชญ์โป่งคำนำ "วิถีพอเพียง" ยึดหลักธรรมช่วยชาวบ้านพ้นความจน</TD></TR><TR><TD vAlign=top>15 เมษายน 2550 23:00 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] เจ้าอาวาสวัดโป่งคำใช้หลักธรรมะประสานแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถพลิกฟื้นชีวิตชาวบ้านพ้นความยากจน เปรียบ ศก.พอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต เสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคาร ก่อนที่ ส.ป.ก.นำมาต่อยอดจัดตั้งเป็นนิคม ศก.พอเพียงแห่งแรกของ จ.น่าน


    ในอดีตชุมชนบ้านโป่งคำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน ประชาชนมีแต่ความยากไร้ ที่ดินสภาพแวดล้อมก็มีแต่ถูกทำลายลงเรื่อยๆ ทั้งจากนายทุน ผู้มีอิทธิพลที่ลักลอบตัดไม้ถางป่า รวมถึงชาวบ้านขาดความรู้ความเข้าใจในการนำทรัพยากรไปใช้อย่างถูกต้องและมีประโยชน์มากที่สุด จนมีบุคคลที่ชาวบ้านเรียกกันว่าปราชญ์เกษตรแห่งบ้านโป่งคำนามว่า พระอาจารย์สมคิด จารณธมฺโม เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ ได้ร่วมมือกับชาวบ้านช่วยกันพัฒนาชุมชนแห่งนี้จนสามารถหลุดพ้นจากความยากไร้และพลิกฟื้นทรัพยากรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์อย่างทุกวันนี้
    พระอาจารย์สมคิด ย้อนอดีตให้ฟังว่าศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงวัดโป่งคำเริ่มจากการพัฒนาการฝึกอาชีพ เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำมาหากิน จากนั้นชาวบ้านได้พยายามพัฒนาชุมชนและสภาพแวดล้อมโดยเล็งเห็นความสำคัญของป่า เพราะป่าเป็นปัจจัย 4 ของคนเราที่พร้อมทุกอย่าง ถ้าเราไปทำลายมันแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร แล้วนำหลักการนี้ไปถ่ายทอดสู่ชาวบ้าน แล้วนำศาสนามายึดเหนี่ยวจิตใจคนในชุมชน เพราะการจะให้คนมาเข้าใจปฏิบัติตามนั้นต้องใช้ธรรมะมาเป็นหลักนำ
    "ชาวบ้านจะยึดพระราชดำรัสของพระองค์ท่านในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป โดยพระองค์ท่านก็ได้ให้คำจำกัดความของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงไว้ว่า "คำว่าพอเพียง ก็อยู่รอบๆ ตัวเรา มาจากสิ่งที่ง่ายๆ เน้นการเรียนรู้มากกว่าเลียนแบบ อยู่ที่ว่าเราจะรู้จักนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร"
    เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ กล่าวอีกว่า จากการพัฒนาของชุมชนทำให้ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ก้าวไปอย่างช้าๆ แต่มั่นคง จนถือว่าประสบความสำเร็จ จากนั้นสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จึงได้จัดตั้งเป็น "นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.สันติสุข จ.น่าน" ที่วัดแห่งนี้เพื่อเป็นสถานที่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร โดยใช้กระบวนการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรควบคู่กับการพัฒนาอาชีพในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    "ทางหน่วยงานของรัฐ อยากให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร เป็นศูนย์การเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่ต่อยอดและขยายผลให้มั่นคงและแน่นอนมากขึ้น มีการวางรากฐานให้แก่เด็กๆ ด้วย โดยตั้งโครงการยุวเกษตรกรขึ้นมา รวมทั้งดูแลเรื่องบัญชีครัวเรือนให้ประชาชน สนับสนุนอุปกรณ์ทางการเกษตร ที่สำคัญคือจะนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนป้อน "ร้านภูฟ้า" ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย เพื่อจะได้มีรายได้เข้าชุมชนอีกทางหนึ่ง" พระอาจารย์สมคิด เผย
    ลุงสม บังเมฆ เกษตรกรตัวอย่างวัย 54 ปี แห่งบ้านโป่งคำ ปราชญ์เกษตรอีกคนหนึ่งที่ยึดอาชีพปลูกผักปลอดสารเคมี เลี้ยงหมู ไก่ รวมถึงทำปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งทำงานใกล้ชิดพระอาจารย์สมคิดมาโดยตลอด บอกว่า นิคมแห่งนี้จะช่วยให้ชาวโป่งคำมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ศูนย์การเรียนรู้ที่พระอาจารย์ได้สร้างฐานขึ้นมาให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาวโป่งคำเป็นอย่างมาก
    ขณะที่ นายอาคม ระเบียบโลก เกษตรจังหวัดน่าน กล่าวว่า การจัดตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงของ อ.สันติสุขนั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลและสำนักงานเกษตรจังหวัดก็ดำเนินรอยตามร่วมกับ ส.ป.ก. และทางเรามีหน้าที่ในการเตรียมชุมชน ทำแผน รวมกลุ่มเกษตรกรเป็นหลัก วัตถุประสงค์สำคัญคือให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ดี พอมีพอกิน มีรายได้ที่มั่นคง
    "ที่ผ่านมาก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ บุคลากรไปให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเกษตรและอาชีพเสริมของชาวบ้านอย่างทั่วถึงและตรงต่อความต้องการ เพราะเราได้มีการทำเวทีชาวบ้านประชุมและสำรวจก่อนแล้วจะลงไปส่งเสริม ส่วนเงินทุน ก็ได้รับสนับสนุนจาก ส.ป.ก.เป็นหลักเพราะมีการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งให้เกษตรกรมากู้ได้ ในอนาคตนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้อำเภอละ 1 หมู่บ้าน โดยให้ อ.สันติสุขเป็นแบบอย่าง" นายอาคม กล่าว
    ด้าน นายอนันต์ ภู่สิทธิสกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ยอมรับว่าศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการพัตนาที่ดินทำกิน สภาพแวดล้อมและอาชีพของคนในชุมชน ทางภาครัฐเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้ก่อตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.สันติสุข จ.น่านขึ้นมา และหวังว่าจะสามารถทำให้เกิดความมั่นคงและแน่นอนมากขึ้นในชุมชนแห่งนี้
    "ในอนาคต ส.ป.ก.ได้มีการวางแผนไว้ว่าจะต้องมีศูนย์เรียนรู้ตำบลละ 40 แห่ง อำเภอ 60 แห่ง และจังหวัด 100 แห่ง มีเครือข่ายปราชญ์เกษตร เครือข่ายการศึกษาที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ตั้งศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตจังหวัดน่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน" เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าว จากผลงานทั้งหมดที่พระอาจารย์สมคิด จารณธมฺโม เจ้าอาวาสวัดโป่งคำเป็นผู้ริเริ่มจุดประกายให้แก่ชุมชนแห่งนี้ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและใช้ธรรมะมาเป็นหลักในการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน จนทำให้ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ชาวบ้านมีสภาพชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    -->
    เจ้าอาวาสวัดโป่งคำใช้หลักธรรมะประสานแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถพลิกฟื้นชีวิตชาวบ้านพ้นความยากจน เปรียบ ศก.พอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต เสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคาร ก่อนที่ ส.ป.ก.นำมาต่อยอดจัดตั้งเป็นนิคม ศก.พอเพียงแห่งแรกของ จ.น่าน
    ในอดีตชุมชนบ้านโป่งคำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน ประชาชนมีแต่ความยากไร้ ที่ดินสภาพแวดล้อมก็มีแต่ถูกทำลายลงเรื่อยๆ ทั้งจากนายทุน ผู้มีอิทธิพลที่ลักลอบตัดไม้ถางป่า รวมถึงชาวบ้านขาดความรู้ความเข้าใจในการนำทรัพยากรไปใช้อย่างถูกต้องและมีประโยชน์มากที่สุด จนมีบุคคลที่ชาวบ้านเรียกกันว่าปราชญ์เกษตรแห่งบ้านโป่งคำนามว่า พระอาจารย์สมคิด จารณธมฺโม เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ ได้ร่วมมือกับชาวบ้านช่วยกันพัฒนาชุมชนแห่งนี้จนสามารถหลุดพ้นจากความยากไร้และพลิกฟื้นทรัพยากรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์อย่างทุกวันนี้
    พระอาจารย์สมคิด ย้อนอดีตให้ฟังว่าศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงวัดโป่งคำเริ่มจากการพัฒนาการฝึกอาชีพ เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำมาหากิน จากนั้นชาวบ้านได้พยายามพัฒนาชุมชนและสภาพแวดล้อมโดยเล็งเห็นความสำคัญของป่า เพราะป่าเป็นปัจจัย 4 ของคนเราที่พร้อมทุกอย่าง ถ้าเราไปทำลายมันแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร แล้วนำหลักการนี้ไปถ่ายทอดสู่ชาวบ้าน แล้วนำศาสนามายึดเหนี่ยวจิตใจคนในชุมชน เพราะการจะให้คนมาเข้าใจปฏิบัติตามนั้นต้องใช้ธรรมะมาเป็นหลักนำ
    "ชาวบ้านจะยึดพระราชดำรัสของพระองค์ท่านในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป โดยพระองค์ท่านก็ได้ให้คำจำกัดความของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงไว้ว่า "คำว่าพอเพียง ก็อยู่รอบๆ ตัวเรา มาจากสิ่งที่ง่ายๆ เน้นการเรียนรู้มากกว่าเลียนแบบ อยู่ที่ว่าเราจะรู้จักนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร"
    เจ้าอาวาสวัดโป่งคำ กล่าวอีกว่า จากการพัฒนาของชุมชนทำให้ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ก้าวไปอย่างช้าๆ แต่มั่นคง จนถือว่าประสบความสำเร็จ จากนั้นสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จึงได้จัดตั้งเป็น "นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.สันติสุข จ.น่าน" ที่วัดแห่งนี้เพื่อเป็นสถานที่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร โดยใช้กระบวนการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรควบคู่กับการพัฒนาอาชีพในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    "ทางหน่วยงานของรัฐ อยากให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร เป็นศูนย์การเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่ต่อยอดและขยายผลให้มั่นคงและแน่นอนมากขึ้น มีการวางรากฐานให้แก่เด็กๆ ด้วย โดยตั้งโครงการยุวเกษตรกรขึ้นมา รวมทั้งดูแลเรื่องบัญชีครัวเรือนให้ประชาชน สนับสนุนอุปกรณ์ทางการเกษตร ที่สำคัญคือจะนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนป้อน "ร้านภูฟ้า" ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย เพื่อจะได้มีรายได้เข้าชุมชนอีกทางหนึ่ง" พระอาจารย์สมคิด เผย
    ลุงสม บังเมฆ เกษตรกรตัวอย่างวัย 54 ปี แห่งบ้านโป่งคำ ปราชญ์เกษตรอีกคนหนึ่งที่ยึดอาชีพปลูกผักปลอดสารเคมี เลี้ยงหมู ไก่ รวมถึงทำปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งทำงานใกล้ชิดพระอาจารย์สมคิดมาโดยตลอด บอกว่า นิคมแห่งนี้จะช่วยให้ชาวโป่งคำมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ศูนย์การเรียนรู้ที่พระอาจารย์ได้สร้างฐานขึ้นมาให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาวโป่งคำเป็นอย่างมาก
    ขณะที่ นายอาคม ระเบียบโลก เกษตรจังหวัดน่าน กล่าวว่า การจัดตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงของ อ.สันติสุขนั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลและสำนักงานเกษตรจังหวัดก็ดำเนินรอยตามร่วมกับ ส.ป.ก. และทางเรามีหน้าที่ในการเตรียมชุมชน ทำแผน รวมกลุ่มเกษตรกรเป็นหลัก วัตถุประสงค์สำคัญคือให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ดี พอมีพอกิน มีรายได้ที่มั่นคง
    "ที่ผ่านมาก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ บุคลากรไปให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเกษตรและอาชีพเสริมของชาวบ้านอย่างทั่วถึงและตรงต่อความต้องการ เพราะเราได้มีการทำเวทีชาวบ้านประชุมและสำรวจก่อนแล้วจะลงไปส่งเสริม ส่วนเงินทุน ก็ได้รับสนับสนุนจาก ส.ป.ก.เป็นหลักเพราะมีการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งให้เกษตรกรมากู้ได้ ในอนาคตนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้อำเภอละ 1 หมู่บ้าน โดยให้ อ.สันติสุขเป็นแบบอย่าง" นายอาคม กล่าว
    ด้าน นายอนันต์ ภู่สิทธิสกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ยอมรับว่าศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการพัตนาที่ดินทำกิน สภาพแวดล้อมและอาชีพของคนในชุมชน ทางภาครัฐเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้ก่อตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.สันติสุข จ.น่านขึ้นมา และหวังว่าจะสามารถทำให้เกิดความมั่นคงและแน่นอนมากขึ้นในชุมชนแห่งนี้ "ในอนาคต ส.ป.ก.ได้มีการวางแผนไว้ว่าจะต้องมีศูนย์เรียนรู้ตำบลละ 40 แห่ง อำเภอ 60 แห่ง และจังหวัด 100 แห่ง มีเครือข่ายปราชญ์เกษตร เครือข่ายการศึกษาที่ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ตั้งศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตจังหวัดน่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน" เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าว จากผลงานทั้งหมดที่พระอาจารย์สมคิด จารณธมฺโม เจ้าอาวาสวัดโป่งคำเป็นผู้ริเริ่มจุดประกายให้แก่ชุมชนแห่งนี้ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและใช้ธรรมะมาเป็นหลักในการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน จนทำให้ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ชาวบ้านมีสภาพชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    -------------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/04/16/a001_107841.php?news_id=107841

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [FONT=Tahoma,]เศรษฐกิจพอเพียงสไตล์สระแก้ว ฟื้นป่าต้นน้ำ-ปลูกอ้อยอินทรีย์ ผุด "ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" ผลิตบัณฑิตชุมชน

    [​IMG]วันนี้ จ.สระแก้ว ได้น้อมนำ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นธงสู่การปฏิบัติ ภายใต้การขับเคลื่อนของ 5 องค์กรหลัก คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันวิชาการ ภาคประชาสังคมและสื่อ ภาคประชาชน ภายใต้ชื่อว่า "เบญจภาคี" สู่จุดหมายเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ผลิตพลังงานทดแทน และผลิตบัณฑิตชุมชน หวังว่าจะเป็นการแก้ปัญหาวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดให้เป็นรูปธรรมทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นแห่งแรกของประเทศ

    โดยเมื่อเร็วๆ นี้ จ.สระแก้ว ได้จัดการสัมมนาวิชาการเรื่องดังกล่าวขึ้น นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ประธานที่ประชุม กล่าวว่า "รู้สึกชื่นชม จ.สระแก้ว ที่มีความสามารถทำให้เกิดองค์กรเบญจภาคี เพื่อรวมพลังกันแก้ไขปัญหาที่ยากอย่างมียุทธศาสตร์และยุทธวิถี บนหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผ่านมามักเชื่อว่าปัญหาของประเทศเราต้องนำความรู้จากต่างประเทศมาแก้ ซึ่งความจริงก็พิสูจน์ให้เห็นว่าความรู้เหล่านั้นเหมาะกับพื้นที่หนึ่ง แต่ไม่เหมาะและไม่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย จนก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ที่สุดก็ต้องแก้ปัญหาที่คน หรือการศึกษาระดับโครงสร้างทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ"

    นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของ จ.สระแก้ว มีวิกฤตเกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น เกิดภัยแล้งอย่างกว้างขวาง มีปัญหาชะล้างพังทลายของหน้าดินที่เกิดจากการไถพรวนผิดวิธี สารเคมีปนเปื้อนแหล่งน้ำจากการทำการเกษตรที่ผิดวิธี การตัดไม้ทำลายป่าอย่างยาวนานและรุนแรง สาเหตุเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาความแห้งแล้ง ความยากจน และขาดความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชนชาวสระแก้ว และกระทบต่อสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น คน ดิน น้ำ ป่า

    ดังนั้น จ.สระแก้ว จึงผนึกกำลังกับ เบญจภาคี เพื่อสร้างพลังร่วมในการแก้ปัญหา โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิด และนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

    "สุรพงษ์ จำจด" ผอ.ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสระแก้ว หนึ่งในผู้ประสานงานที่ทำให้เกิดองค์กรเบญจภาคี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้มาแล้ว 23 เวทีในทุกตำบลของ จ.สระแก้ว มีผู้ร่วมสัมมนากว่า 6,000 คน มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนำร่อง 300 คน ซึ่งคนเหล่านี้เป็นพวก “หัวไวใจสู้” ในอนาคตจะเป็นครูต้นแบบ โดยจะจัดทำฐานข้อมูลชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงในพื้นที่ของตนเอง ภายใต้การสนับสนุนของทุกฝ่าย

    โดยจะต้องแบ่งเนื้อที่ร้อยละ 30 ปลูกป่าตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างของในหลวงและทำแหล่งน้ำ ส่วนอีก 70% ปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงอ้อยอินทรีย์ ซึ่งบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด ได้ลงนามรับซื้ออ้อยจากเกษตรกรที่ร่วมโครงการแล้ว เพื่อนำไปผลิตเอทานอลแบบครบวงจรในพื้นที่ภายในปี 2551 ขณะนี้ได้เลือกบ้านบ่อลูกรัง ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว เป็นหมู่บ้านนำร่อง

    ผู้ใหญ่บ้านบ่อลูกรัง "แสงดาว สีลาน้ำเที่ยง" บอกว่า ได้ตั้งศูนย์ข้อมูลหมู่บ้านขึ้นเพื่อค้นหาตัวเองและเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา มีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ 40 หลังคาเรือน เนื้อที่ 600 กว่าไร่ แต่รอหน่วยงานต่างๆ ไม่ไหวเพราะถึงฤดูกาลปลูกอ้อยแล้ว วันนี้จึงเหลือแค่ 17 ราย โดยต้องเขียนผังการใช้พื้นที่ของตนเอง แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือแหล่งน้ำซึ่งคงต้องรอภาครัฐมาช่วย หากช้าไปอ้อยที่ปลูกไว้ก็จะตายหมด และไม่รู้ว่าจะปลูกป่าได้เมื่อไหร่

    สำหรับการพัฒนาคนนั้น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจะปฏิวัติการศึกษาด้วยการก่อตั้งมหาวิทยาลัยชุมชน หรือ "ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" ขึ้นเป็นแห่งแรก โดยการนำชาวบ้านฐานรากมาศึกษาเรียนรู้เรื่องคน ดิน น้ำ ป่า โดยมีปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นอาจารย์สอนในห้องเรียนธรรมชาติที่เป็นศูนย์การเรียนรู้จริงๆ

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ เย็นสบาย คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และประธานยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระบุว่าที่ผ่านมาลูกหลานไปเรียนต่อที่อื่นแล้วไม่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จึงอยากปฏิรูประบบการศึกษาใหม่ มองไปที่ฐานรากให้เด็กในหมู่บ้านไปเรียนด้านการเกษตร โดยจัดระเบียบการศึกษาใหม่ใช้ปราชญ์ชาวบ้านรวมกับหลักวิชาการ ภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคน "ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" หนึ่งในตัวละครในพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการให้การศึกษา โดยใช้ความรู้คู่ปัญญาเพื่อการอนุรักษ์พัฒนา เป็นการสร้างคนเพื่อแก้ไขวิกฤตในชุมชน เช่น สระแก้วมีปัญหาวิกฤตดิน น้ำ ป่า คน สิ่งแวดล้อม ก็จะต้องคิดหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อไปแก้ไขตรงนั้น

    ต่อไปนี้ไม่จำเป็นว่าเด็กรุ่นใหม่ๆ จะต้องเรียนจบปริญญา แต่ผู้มีความรู้นอกกรอบ ปราชญ์ชาวบ้านก็สามารถรับปริญญาได้ เช่นกัน ส่วนสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยจะใช้ที่ดินที่ได้รับบริจาคมากว่า 1 พันไร่ที่บ้านคลองเกลือ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว โดยจะไม่มีการสร้างตึกใหญ่โต แต่จะสร้างเป็นห้องเรียนธรรมชาติ เป็นศูนย์การเรียนรู้ และที่บ้านบ่อลูกรัง ก็จะเป็นแหล่งเรียนรู้อีกแห่งหนึ่ง คาดว่าจะเปิดได้ในเดือนมิถุนายน 2551

    นี่คือ จุดแรกเริ่มความร่วมมือขององค์กรเบญจภาคี จ.สระแก้ว ที่มุ่งมั่นนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาลงมือปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม

    http://www.matichon.co.th

    [/FONT]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หมู่บ้านพัฒนาป่าไม้ อ.อ.ป. แสนครอบครัวรักป่า-อยู่แบบพอเพียง



    [​IMG]ป่าเสื่อมโทรม...อันขยายพื้นที่ออกกว้างทุกๆที่เข็มวินาทีของนาฬิกากระดิก มักจะเกิดจากน้ำมือมนุษย์เข้าไปบุกรุกทำลาย แผ้วถางเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่ตนโดยไม่มีการควบคุมดูแลที่ดี... จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดปัญหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
    นักวิชาการป่าไม้ ได้เข้าไปสำรวจถึงผลกระทบพบว่า ใช่จะเพียงแค่ประชากรไม้เท่านั้นที่ถูกทำลาย ยังส่งผลกระทบต่อต้นน้ำลำธารต่างๆ อันเป็นสาขาของแหล่งน้ำหลายสายที่ลำเลียงสายน้ำสร้างความชุ่มชื้นแก่แผ่นดิน เป็นเวลาอันยาวนาน ปัจจุบันกำลังพลิกผันและมีแนวโน้มว่าจะเหือดแห้งลงไปในอนาคต...
    ก่อนที่สิ่งเลวร้ายทั้งหลายจะกระพือครอบคลุมไปทั่วพื้นที่ของแผ่นดิน หากต้องการสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กลับมา เพียงการแก้ที่ต้นเหตุอย่างง่ายๆและให้ได้ผลอย่างแน่นอน ด้วยการปลูกป่าขึ้นมาทดแทน ซึ่งใครๆก็รู้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่ออกมาปฏิบัติอย่างจริงๆจังๆให้เป็นรูปธรรม...
    [​IMG]...นายมนูญศักดิ์ ตันติวิวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยในเรื่องนี้ว่า...อ.อ.ป. มิใช่เพียงแค่เอาผลประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ อย่างที่ใครๆเข้าใจไม่ หน้าที่หลักที่สำคัญและเป็นหัวใจของหน่วยงาน คือการพลิกฟื้นผืนป่าเพื่อสร้างความสมดุลของธรรมชาติ...
    ในการที่จะเข้าปฏิบัติการสิ่งแรกต้องทำ ความเข้าใจกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมก่อน ให้รู้ว่าเรามาปลูกสร้างสวนป่าและท่านคือผู้ที่จะมาร่วมกันสร้างป่ากับเรา การปฏิบัติการจะได้มีส่วนร่วมและมีแนวที่จะประสบกับความสำเร็จ
    โดยภารกิจและบทบาทที่สำคัญ 3 อย่าง...อันดับแรกคือดำเนินการปลูกสร้างสวนป่า ภารกิจ รองลงมาทำหน้าที่เสริมสร้างเศรษฐกิจของ ประเทศชาติด้วยทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่นอกเขตอนุรักษ์ทั้งหลาย โดยดูแลพร้อมกับพัฒนาให้เป็นสวนป่าเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
    ...และภารกิจสุดท้ายคือการอนุรักษ์ช้างไทย ณ วันนี้ทั้ง 3 ภารกิจหลักทำได้หมดแล้ว...!
    ตอนนี้มีสวนป่าเศรษฐกิจที่ อ.อ.ป.ต้องดูแลกว่าแสนสองหมื่นไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในภาคเหนือกับตะวันตกจะเป็นสวนป่าไม้สักทอง ภาคอีสานเป็นสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสและภาคใต้เป็นสวนป่าไม้ยางพารา
    .....เกษตรกรจำนวนกว่า 100,000 ครอบครัวที่ยากไร้ ไม่มีที่ทำกินและเข้ามาทำงานกับ อ.อ.ป. มาตั้งถิ่นฐานที่อยู่ อาศัย เราได้จัดสาธารณูปโภคให้อย่างครบครัน
    [​IMG]...แล้ว รก.ผอ.อ.อ.ป. ก็พาสื่อมวลชนเข้าพื้นที่ป่าภาคตะวันตก พร้อมกับบอกว่า....ทุกครอบครัวอยู่กันอย่างมีความสุขพอสมควร ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    นายเชี่ยวชาญ พิบูลย์ หัวหน้าสวนป่าทองผาภูมิ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี บอกกับสื่อมวลชนขณะที่เข้าไปเยือนว่า...การจัดสวนป่าในพื้นที่ เริ่มจากการจัดหาพื้นที่พักอาศัย การจัดเงิน จัดบุคลากรมาเป็นกำลังสำคัญในการจัดหมู่บ้านจัดการปลูกสร้างสวนป่า โดยนักจัดการป่าไม้เข้าไปดำเนินการปลูกสร้างสวนป่า พัฒนารูปแบบและระบบหมู่บ้านพัฒนาป่าไม้ ควบคู่กับการยกระดับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งเรียกชุมชนในโครงการนี้ว่า.... หมู่บ้านพัฒนาป่าไม้
    และ ในพิกัดใดที่มีหมู่บ้านพัฒนาป่าไม้ ภัยต่างๆที่สร้างผลกระทบต่อป่าไม้มักจะไม่เกิด หรือถ้าเอาไม่อยู่จริงๆก็เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพราะมีการจัดการเรื่องไฟป่าอย่างถูกต้องอันเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ ความร้อน ออกซิเจน และเชื้อเพลิง ง่ายที่สุดคือจัดการเชื้อเพลิงก่อน ชิงเผาและสร้างเป็นแนวกันไฟก่อนหน้าแล้ง หากมีไฟลามมาก็คุ้มครองและป้องกันได้ทัน
    [​IMG]เมื่อเราบริการจัดการให้พวกเขา อยู่ในป่าอย่างมีความสุข ก็จะสร้างความตระหนักให้พวกเขา รู้จักรักษ์ ป่าด้วยจิตสำนึก...ซึ่งจะได้ผลกว่าติดอาวุธเข้าปราบ ปราม...หัวหน้าสวนป่าทองผาภูมิ บอกอย่างนั้น...!!!
    นายสงกรานต์ บุญแจ้ อายุ 38 ปี เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมทำงานกับอ.อ.ป.โดยตำแหน่ง หัวหน้าคนงานกรีดยางพารางานป่าไม้และงานปลูกป่าในสวนป่าทองผาภูมิ เผยว่า เมื่อได้เข้ามาอยู่อาศัยกับ อ.อ.ป.แล้ว มีอาชีพหลักคือกรีดยางพารา
    โดยทาง อ.อ.ป.แบ่งพื้นที่ปลูกต้นยางพาราให้ชาวบ้านไว้กรีดยางสร้างชีวิตคนละ 800-850 ต้น มีการจัดสรรแบ่งรายได้ให้คนกรีดยาง ในอัตราร้อยละ 40 ทำให้ มีรายได้ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน...
    และภารกิจที่เป็นอาชีพรองคือรับจ้าง ทำงานรายวันให้กับสวนป่า, ปลูกป่า, ถางหญ้า ก็เป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
    หมู่บ้านพัฒนาป่าไม้ก็มีสาธารณูปโภคเอื้ออำนวยอย่างครบวงจร ทั้งบริการความรู้ มีโรงเรียนตั้งแต่ อนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา มี สถานีอนามัย เพื่อคอยตรวจสุขภาพและรักษาให้กับชาวบ้าน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น...นั่นก็คือ ฟรีทุกโรค...!!!

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="780"><tbody><tr><td width="300">
    [​IMG]
    </td> <td width="519"> <iframe id="a7c92ede" name="a7c92ede" src="http://203.150.225.168/thairathads/adframe.php?n=a7c92ede&what=zone:19" framespacing="0" frameborder="no" height="60" scrolling="no" width="468">&lt;a href='http://203.150.225.168/thairathads/adclick.php?n=a7c92ede' target='_blank'&gt;&lt;img src='http://203.150.225.168/thairathads/adview.php?what=zone:19&amp;amp;n=a7c92ede' border='0' alt=''&gt;&lt;/a&gt;</iframe> <!--a href="http://www.thairath.co.th/ads.php" target="_blank">[​IMG]</a--></td> </tr> <tr> <td>
    ปีที่ 58 ฉบับที่ 17984 วันพุธ ที่ 18 เมษายน 2550​
    </td></tr></tbody></table>
     
  17. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    โอ้ โมทนา.... มีคนทำแล้วหรือนี่ .... รอคนทำมานานแล้ว ยอดเยี่ยม
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จ.นครพนม
    <table style="width: 480px;"><tbody><tr><td valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr><tr><td class="messageblack" align="center" height="20" valign="middle">
    </td></tr><tr><td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr><tr><td class="messageblack" align="center" height="20" valign="middle">
    </td></tr><tr><td align="center" valign="top">[​IMG]</td></tr><tr><td class="messageblack" align="center" height="20" valign="middle">
    </td></tr></tbody></table>
    </td> </tr> <tr> <td class="message-normal" style="height: 10px;" align="center" valign="top"> <script type="text/javascript"> // URLs of slides var slideurl = new Array('http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/4/20/124657_49235.jpg','http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/4/20/124657_49236.jpg','http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/agriculture/4/20/124657_49237.jpg') ; // Comments displayed below the slides var slidecomment = new Array('','',''); var picNo = new Array('0','1','2'); var i; var j; var picturecontent='' function poppic(ncId,NewsType,picNum){ window.open('../../html/popup_news/popup_news_popuppic.htm?' + slideurl[picNum] + '?Daily News Online : Agriculture','','resizable=1,HEIGHT=200,WIDTH=200'); } function createtable(){ picturecontent ='<table width=100% cellSpacing=5 cellPadding=0 border=0>' ; for (i=0;i<=(slideurl.length-1);i++) {picturecontent +='<tr>' ;picturecontent +='<td vAlign=top align=center>' ;picturecontent += '';picturecontent += '[​IMG]' ;picturecontent += '</td>' ;picturecontent +='</tr>' ;picturecontent +='<tr>' ;picturecontent += '<td class=messageblack vAlign=middle align=center height=20>' ;picturecontent+=slidecomment ;picturecontent +='</td>' ;picturecontent +='</tr>' ;}picturecontent+='</table>' ; document.getElementById("hlblTable").innerHTML=''+picturecontent+''; } createtable();</script>
    </td> </tr> </tbody></table> </td> <td valign="top"> รับราษฏรยากจนเข้าอยู่อาศัย
    นายสมพล พันธุ์มณี เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯเยี่ยมราษฎร ที่บ้านนาอุดม อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 พบว่า มีราษฎรหลายสิบครอบครัวยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ทำกิน ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ มีรายได้ทั้งปี ไม่ถึง 5,000 บาท จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดทำโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โครงการ 2) โดยมีพระราชดำรัส กับพลเอกณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ ให้หาพื้นที่สำหรับทำโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และมีพื้นที่สำหรับทำโครงการฟาร์มตัวอย่างควบคู่กันไปด้วย เพื่อเตรียมรองรับผลผลิตจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอีกทั้งให้เป็นแหล่งศึกษาดูงานและจ้างงานให้แก่ราษฎรที่ว่างงาน ให้มีงานทำโดยไม่ต้องไปหางานทำในต่างถิ่น พร้อมฝึกอบรมให้ความรู้ความชำนาญด้านการเกษตรแผนใหม่ให้กับราษฎรเหล่านั้น นำกลับไปทำในพื้นที่ของตนเองให้ได้ผลผลิตมากยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

    โครงการดังกล่าวได้ใช้พื้นที่ของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เพื่อจัดทำโครงการฯ ประมาณ 107 ไร่ โดยจัดแบ่งเป็นแปลงที่ดินทำกินให้ราษฎรจำนวน 30 ครอบครัว ๆ ละ 2 ไร่ และจัดสร้างบ้านสำหรับสมาชิกโครงการฯ ในปี 2547 จำนวน 20 หลัง และปี 2548 อีกจำนวน 10 หลัง ใช้พื้นที่ด้านหลังหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อีกประมาณ 200 ไร่ จัดทำโครงการฟาร์มตัวอย่าง (Food Bank) ขณะนี้ได้ดำเนินการสร้างบ้านเสร็จแล้วจำนวน 5 หลัง และได้นำราษฎรเข้าอบรมในโครงการฟาร์มตัวอย่าง เพื่อให้มีความรู้ด้านการเกษตรและปศุสัตว์ โดยใช้การเกษตรแผนใหม่ เช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ โดยไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เน้นการปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อบำรุงดิน และพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว โดยผสมผสานกันในพื้นที่เดียวกัน เช่น ฟักทอง แตงกวา มะระจีน ผักบุ้ง และพืชผักสวนครัว ข้าวโพด กล้วย ผักปลอดสารพิษ ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ทั้งนี้และให้สามารถนำไปดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ในขณะที่เข้ารับการอบรมจะได้รับค่าอาหาร วันละ 100-130 บาท

    “ขณะนี้ได้มีราษฎรเข้าพักอาศัยในบ้านพักแล้วจำนวน3ครอบครัวประกอบด้วยครอบครัวนางหนู มากพูน มีสมาชิกในครอบครัว4คนภูมิลำเนาเดิม จังหวัดสระบุรี ครอบครัวนางมลิวันแก้วพัด มีสมาชิกในครอบครัว5คนภูมิลำเนาเดิมจังหวัดพิษณุโลก และครอบครัวนางวรรณาแย้มภู่และญาติมีสมาชิก 12คนภูมิลำเนาเดิมจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3ครอบครัว เดิมมีอาชีพรับจ้าง แต่มีฐานะยากจนและได้รับพระราชทานบ้านและที่ดินทำกินจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเข้ารับการอบรมเรื่องการทำเกษตรในฟาร์มตัวอย่างเพื่อใช้เป็นความรู้ในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถต่อไป”นายสมพลกล่าว

    สำหรับเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

    ปัจจุบันงานในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้มีความคืบหน้าและได้รับการยอมรับจากสังคมอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อย่างน่ายินดีอยู่ไม่น้อย ส่วนหนึ่งก็เป็นการยืนยันได้ต่อสังคมไทยในวันข้างหน้าว่า จะมีความเข้มแข็ง ที่เข้มแข็งจากข้างในออกสู่ภายนอกของสังคมทีเดียว.



    [​IMG]
    วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550</td></tr></tbody></table>
     
  19. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    ตัวอย่างคนดังที่รู้จักคำว่าพอเพียง......

     
  20. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    จากข้อมูล ข้างต้น พอจะทราบหลักการเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงกันพอสมควรแล้ว ในการนำมาปฎิบัติจริง ต้องตีโจทย์ให้แตกว่า

    " พอเพียงของเราคืออะไร เท่าไร เวลาไหน ต้องใช้ปัญญามากพิจารณาให้ดี เพราะบางทีพอเพียงของเราก็ไม่เท่ากับคนอื่น และบางทีพอเพียงของเรา แท้จริงแล้วคือความฟุ่มเฟือยที่เราไม่รู้ตัวนั่นเอง........

    พอเพียงจึงคล้ายกับคำว่าสมถะนั่นเอง และจุดสูงสุดของความพอเพียง คือความเบา และความสุข ถ้าท่านทำแล้วไม่เบา ไม่มีความสุข สิ่งนั้นไม่พอเพียง..... "
     

แชร์หน้านี้

Loading...