เสนอแนวทาง9ขั้น-ขจัดสบสน สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 16 เมษายน 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้ให้ข้อคิดในการทำงานแก่ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด มีข้อความตอนหนึ่ง ขอให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ได้เข้าไปเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดของตน และฝากให้คอยกระตุ้นพยายามทำให้สำนักปฏิบัติธรรมเป็นที่พึ่งของชาวบ้านให้ได้

    ตามความในข้อ 5 แห่งระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2543 ระบุว่า "การจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ให้เจ้าคณะจังหวัด ประธานคณะกรรมการ จัดประชุมคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด คัดเลือกวัดที่เหมาะสม ให้เจ้าอาวาสวัดที่จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ยื่นหนังสือขอจัดตั้งตามแบบของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เสนอคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิจารณาแล้วให้ประธานคณะกรรมการรายงานเสนอเจ้าคณะภาคและเจ้าคณะใหญ่พิจารณาเสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาอนุมัติ เพื่อมีพระบัญชาการตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้นทะเบียนเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด"

    ดังนั้น อาศัยตามความแห่งระเบียบนี้ การเสนอเรื่องขอจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด เพื่อให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติอนุมัติ จึงเป็นการดำเนินการโดยเฉพาะของเจ้าคณะปกครองฝ่ายสงฆ์ในนามของคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

    ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมการ, รองเจ้าคณะจังหวัด เป็นรองประธานคณะกรรมการ, เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เป็นกรรมการ โดยมีเจ้าคณะใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เป็นที่ปรึกษา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ปกครองฝ่ายบ้านเมือง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่อย่างใด

    เพื่อให้การจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด เป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ในการเสนอเรื่องขอจัดตั้งกองทุนพุทธศาสนศึกษา

    สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงกำหนดขั้นตอนการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

    ขั้นตอนที่ 1 เจ้าคณะจังหวัด จัดประชุมคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด คัดเลือกวัดที่เหมาะสมแล้วแจ้งเจ้าอาวาสวัดที่ได้รับการคัดเลือกทราบ

    ขั้นตอนที่ 2 เจ้าอาวาสวัดที่ได้รับคัดเลือกเพื่อจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดยื่นหนังสือขอจัดตั้งต่อคณะกรรมการจัดตั้งตามแบบที่กำหนด

    ขั้นตอนที่ 3 เจ้าคณะจังหวัด ประธานคณะกรรมการจัดตั้ง รายงานเสนอเจ้าคณะภาคตามแบบที่กำหนด

    ขั้นตอนที่ 4 เจ้าคณะภาคพิจารณาลงนามเสนอความเห็นและรายงานเสนอเจ้าคณะใหญ่

    ขั้นตอนที่ 5 เจ้าคณะใหญ่พิจารณาลงนามเสนอความเห็น นำเข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคมด้วยตนเองในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งหรือส่งเรื่องโดยตรงให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือส่งเรื่องคืนให้เจ้าคณะจังหวัดดำเนินการจัดส่งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการจัดทำวาระเพื่อนำเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณาอนุมัติ

    ขั้นตอนที่ 6 เลขาธิการมหาเถรสมาคม นำเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณามีมติอนุมัติจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

    ขั้นตอนที่ 7 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดทำมติมหาเถรสมาคมแจ้งให้เจ้าคณะจังหวัดทราบและขึ้นทะเบียนเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

    ขั้นตอนที่ 8 เจ้าคณะจังหวัดแจ้งเจ้าอาวาสวัดที่เป็นสถานที่จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทราบ เพื่อดำเนินกิจกรรมจัดการศึกษาปฏิบัติธรรมให้แก่พุทธบริาทต่อไป

    ขั้นตอนที่ 9 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยกองพุทธศาสนศึกษาจัดสรรงบประมาณอุดหนุนประจำปี ตามโครงการเงินอุดหนุนการดำเนินงานสำนักปฏิบัติธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...