หนุมานคชสาร เหรียญลพ.ณรงค์ วัดมะเกลือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญหลวงพ่อวาสน์ วัดบ้านแพน 2509 พระอาจารย์ของหลวงพ่อพน วัดบ้านแพน ศิษย์ในสายหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เหรียญสร้างล้อพิมพ์หลวงพ่อปาน ด้วยครับ

    ให้บูชา700บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C-jpg.jpg 5%E0%B8%9E-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu
    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบหรือทางPMแล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ทองนพเก้า สายหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา, อีกหนึ่งสายวิชาที่แทบจะสูญหายไป
    กระทู้โดย : potigo
    เห็นคุงเขาได้เล่าเรื่องสายหลวงปู่ทอง วัดราชโยธาในสวนขลังผมเห็นว่าเป็นสายของหลวงปู่ทองที่ควรจะเพยแพร่เลยขออนุญาตคุงและwebmasterนะครับ
    หลวงปู่ทอง อายะนะ วัดราชโยธา (หรือวัดลาดบัวขาวในปัจจุบัน) ท่านที่เป็นนักเล่นพระ หรือ ถวิลหาความขลัง ย่อมเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ทั้งการสร้างพระเครื่อง วิชาอาคม สักยันต์ และอื่นๆอีกมากมาย ท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดมณีชลขัณธ์ร่วมกับ "มหาโต" หรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆษิตาราม และยังเป็นพระเกจิที่เป็นครูบาอาจารย์ของบรรพชิตและฆราวาส อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ทางฆราวาสก็มี อาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ ท่านพ่อเที่ยง น่วมมานา อาจารย์สักชื่อดังแห่งบางกอกน้อย อาจารย์เจ๊ก สามแยกไฟฉาย เป็นต้น

    แต่ลูกศิษย์หลวงปู่ท่านที่ผมจะกล่าวถึงอีกรูปหนึ่งคือ

    หลวงพ่อพระครูพิชัยณรงฤทธิ์ วัดสิตาราม หรือ วัดคอกหมู กรุงเทพ ผู้รับการถ่ายทอดวิชาการลงทองนพเก้า จากหลวงปู่เพียงรูปเดียว (เนื่องจากได้สืบเสาะดูแล้ว ไม่พบศิษย์หลวงปู่รูปใดหรือท่านใด ได้สืบต่อวิชานี้เลย)

    หากท่านอายุ 60 ปีขึ้นไป น่าจะเคยได้ยินชื่อหลวงพ่อพิชัยฯ เพราะท่านลงข่าวหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ ในการลงทองแล้วใช้มีด( ด้ามใหญ่) ฟันหลังทันทีหลังจากลงทองเสร็จ

    หลวงพ่อพระครูพิชัยณรงฤทธิ์ ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ทองตั้งแต่ยังเยาว์วัย เนื่องจากสมัยเด็กท่านเป็นศิษย์วัด วัดสามปลื้ม ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ทองได้เดินทางไปมาหาสู่เป็นประจำ หลวงพ่อท่านจึงรู้จักมักคุ้นจนได้ครอบครองตะกรุดใต้น้ำที่หลวงปู่ท่านจาร และไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่เป็นเวลาถึง 3 ปี

    วิชาการที่หลวงปู่ถ่ายทอดให้หลวงพ่อมีมากมาย ทั้งทำตะกรุด รดน้ำมนต์ ถอดถอนคุณไสย แต่ที่สำคัญคือการลงทองนพเก้านั่นเอง

    การลงทองนพเก้านั้น จะเป็นการลงทอง 9 แผ่น ไว้บริเวณต่างๆของร่างกาย คือ หน้า หน้าอก และหลัง ซึ่งหากจะลงให้สมบูรณ์ต้องลง 3 ครั้ง จะคุ้มครองตลอดชีวิต หากลง 1 ครั้ง คุ้มครอง 3 เดือน 2 ครั้ง คุ้มครอง 3 ปี ถ้าจะให้ติดตัวตลอดไปต้อง 3 ครั้ง

    การลงทองนพเก้านี้มิใช่เพื่อทางเมตตามหานิยมดั่งลงนะหน้าทองเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมไปถึง คงกระพัน แคล้วคลาด เมตตา มหานิยม อำนาจ อีกทั้งยังป้องกันคุณและของที่เขากระทำมาอีกด้วย ดังคำที่อาจารย์ท่านให้ลูกศิษย์พูดกำกับเวลาลงทองทุกครั้งว่า "อยู่ คง เหนียว สวย งาม มีอำนาจ"

    สมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่นั้นเมื่อลงเสร็จก็จะฟันหลังทันที มีดที่ฟันนั้นผมเห็นมาแล้ว ไม่ใช่มีดแบบปัจจุบัน แต่เป็นดาบแบบโบราณที่มีความหนักและคมอยู่ในตัวเอง ซึ่งการลงดาบที่หลังนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาพูดว่า เป็นเพราะหนังตึงจึงมีความยืดหยุ่นให้ไม่เข้า แต่เมื่อผมคุยกับวงสนทนารุ่นน้องที่เป็นเด็กช่าง ผ่านชีวิตนักบู๊โชกโชน มันก็ได้แต่บอกว่า "พี่ลองให้พวกที่ออกมาพูดว่าฟันแล้วหนังตึงเลยไม่เข้ามาหาผมสิ เดี๋ยวผมฟันให้ดูว่ามันเข้าไม่เข้า" หลักการทางวิทยาศาสตร์บางอย่างที่หาเหตุผลมาหักล้างเรื่องขลัง เราก็ควรฟังไว้แบบ ฟังหูไว้หูเหมือนกัน เพราะไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่นอกเหนือธรรมชาติอันวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้

    การลงทองนพเก้านั้นเหนียวหรือไม่ ผมไม่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อตามความเห็นของผมได้ แต่เพราะความห่ามของผม เมื่อลงครบสามครั้งไม่รู้เกิดร้อนวิชาอะไรขึ้นมา ผมหยิบที่เปิดกระป๋องซึ่งข้างบนเป็นปลายแหลม (สำหรับเจาะกระป๋องนม) มาดู นึกถึงครูบาอาจารย์ที่ลงให้อันมีหลวงปู่ทองเป็นที่สุด แล้วเอาคมแหลมนั้นกรีดเข้าไปที่หนังตึงๆของผม แบบไม่คณามือ

    ผลออกมามีแค่รอยแดงปรากฎ ไม่มีแม้กระทั่งยางบอน ทั้งที่กรีดลงไปไม่ยั้งเหมือนกัน

    นี่เป็นแค่ประสบการณ์ที่ผมเจอะเจอมา แต่สำหรับลูกศิษย์หลวงพ่อพระครูพิชัยแล้ว หากจะให้เล่าประสบการณ์ก็คงไม่หมดแน่นอน

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา หลังหลวงพ่อพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาท

    %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9E-%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต

    วัดป่าอัมพวัน อำเภอเมือง จังหวัดเลย

    ข้อมูลจาก http://www.thavorn.net/techer/teacher/teacher4.htm

    bar-1s.jpg

    หลวงปู่ซามา ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความเชื่อในตัวเอง และรับฟังครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนนั้นด้วยความศรัทธายิ่งครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเคยได้อยู่ใกล้ชิดปฏิบัติธรรมอยู่เสมอๆ เช่น...หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ศรีจันทร์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่คำดีการที่หลวงปู่ออกติดตามหลวงปู่มั่นไปทางภาคเหนือนั้น ก็เพื่อหวังธรรมเทศนาและอุบายธรรมจากท่านเท่านั้น โดยคิดว่า “ถ้าพบและได้รับอุบายธรรมแล้วจะปฏิบัติตามนั้น แม้ไม่ได้ธรรมที่ตนปฏิบัติก็ยอมตาย” ก่อนจะได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านมีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ถึง ๔ พรรษา

    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต เกิดวันอาทิตย์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ ณ บ้านดอนแขม ต.บางคำ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่นบิดา-มารดาชื่อนายลุย และนางบุญ นามสกุล สินทอน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ใน จำนวน ๘ คน

    บิดามารดามีอาชีพทำนา ท่านอยู่ช่วยบิดาทำงานท้องนาอยู่จนเป็นหนุ่มใหญ่ จึงได้บวชเป็นพระในครั้งแรก ต่อมาได้ลาสึกออกไปช่วยบิดามารดาทำงาน นา-ไร่ต่อไปอีก เพื่อทดแทนบุญคุณท่าน ครั้นหมดภาระหน้าที่ของตน เพราะได้ทำงานหาเงินพอที่บิดามารดาไม่ลำบากแล้ว ท่านก็ได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดข้างๆ บ้าน คราวนี้อยู่ได้ถึง ๔ พรรษา แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย

    สมัยนั้นการควบคุมยังไม่ทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้พระสงฆ์หย่อนยานทางพระธรรมวินัยมาก คือพระธรรมวินัยสอนอย่างหนึ่ง แต่ผู้บวชปฏิบัติตนไปอีกอย่างหนึ่ง ครั้งแรกได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ว่าเป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากและท่านก็เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ท่านหลวงปู่ซามา จึงอยากฝากตัวเป็นศิษย์ แต่หลวงปู่ซามา มีโอกาสดี ได้เข้านมัสการท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับฟังพระธรรมเทศนาจากท่าน ก็เข้าใจว่า “บัดนี้เราได้มาพบพระดีมีวินัยชอบแล้ว” ท่านจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ แต่มีเหตุขัดข้องในเรื่องนิกายอยู่ ท่านจึงต้องให้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์องค์เดิม ก็ได้รับอนุญาตด้วยความเต็มใจ พร้อมกับอวยพรให้มีดวงตาเห็นธรรม

    หลวงปู่ซามา จึงได้มาแปรญัตติใหม่ เป็นพระธรรมยุตนิกาย ที่วัดบ้านเต่าชัยชุมพล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีท่านพระครูพิศาล (ศรีจันทร์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หล้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อาจุตฺโต”

    เมื่อแปรนิกายแล้ว เท่ากับ เป็นพระบวชใหม่ ท่านหลวงปู่ซามาได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จนเกิดสมาธิขั้น “ฌาน” และได้ติดตามเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ขณะนี้ท่านได้สมาธิแล้ว จึงรีบเร่งการภาวนาเดินจงกรม ตลอดวันตลอดเวลา บางวันอดอาหารเสียเพราะเสียดายเวลาการปฏิบัติธรรม

    ต่อมาได้ติดตาม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ไปทางเหนือ และได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่ตื้อ อีก ๑ พรรษา หลวงปู่ซามา ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่คำดี ปภาโส นานถึง ๑๐ พรรษา เพราะว่าท่านเคยพูดว่า “ได้พระอาจารย์ที่วิเศษจึงอยู่นานหน่อย”

    การปฏิบัติธรรมความดีบริสุทธิ์นั้น หลวงปู่ซามาถือว่า... “เป็นกำไรของจิตใจเรา จะได้หมดทุกข์เสียที”

    ท่านเคยได้ร่วมคณะจากพระอาจารย์ใหญ่หลายองค์ ไปเป็นธรรมทูตขอนิมนต์หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ให้กลับมาอยู่ในจังหวัดเลย แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะหลวงปู่แหวนไม่ยอมกลับ ขออยู่บนดอยแม่ปั๋งดังเดิม

    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นเดียวกันกับ พระอาจารย์กว่า

    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต ท่านเคยเดินธุดงค์ไปจนถึงประเทศลาว และได้ไปรับข้ออรรถธรรมทางใจอีกเป็นอันมาก ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญท่าน เดินธุดงคกรรมฐานไปในป่าเขาดงเสืออยู่ตลอดเวลา

    การที่ท่านได้สละกายและใจออกปฏิบัติธรรมกรรมฐานนี้ เป็นความสมัครใจของท่าน เพราะในครั้งแรกที่ได้มีโอกาสพบเห็นพระธุดงคกรรมฐาน คือ พระอาจารย์สิงห์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่อ่อน หลวงปู่เทสก์ และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ครั้นเมื่อได้ฟังธรรมะปฏิบัติ ก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านได้ออกเดินธุดงค์ ไปตามป่าเขา เพื่อแสวงหาวิโมกขธรรมเกือบทั่วประเทศไทย

    หลวงปู่ซามา ได้ไปผนึกกำลังออกเผยแพร่ธรรมะร่วมกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ยังภาคใต้ แม้จะเกิดอุปสรรคต่างๆ นานา ท่านก็มิได้ท้อถอย จนสามารถสร้างความนิยมในสายการปฏิบัติ ไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรม ณ ที่ใด ชาวบ้าน ป่า นา เขา ต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาท่าน และพากันเศร้าโศกเสียใจ เมื่อท่านเสร็จกิจในการเผยแพร่ธรรม และอำลาจากสถานที่แห่งนั้น แต่ธรรมะที่ได้รับจากท่านก็ยังฝังใจเขาไปนานแสนนาน

    หลวงปู่ซามา เคยเล่าเหตุการณ์ตอนหนึ่งให้ฟังว่า

    “อาตมาเคยใช้กรรมครั้งหนึ่งเกือบตายมาแล้ว คือ รถไปคว่ำ การไปให้รถคว่ำได้นี้มีพระอาจารย์หลายองค์ มีอาจารย์ท่อน เป็นต้น ความสำคัญมั่นหมายไม่ได้อยู่กับตอนรถคว่ำนั้นหรอก เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเชิงขบขันมากกว่า แต่ความสำคัญในทางธรรมะนี้ซี ทำให้อาตมารู้ซึ้งถึงแก่นใจเลยทีเดียว

    จึงมาแนะนำญาติโยมว่า ปฏิบัติไปเถิดธรรมสมาธินี้ เมื่อใครได้ปฏิบัติแล้ว แม้เมื่อถึงคราววิบัติ ธรรมะก็ช่วยได้ ธรรมะเป็นเกราะแก้วเกราะขวัญของพวกเราเป็นอย่างดียิ่ง เป็นอะไรล่ะ...เป็นพุทธรักษา ธรรมรักษา สังฆรักษา รักษาให้พ้นความตายได้จริงๆ ภูมิธรรมเกิดขึ้นมากในช่วงนั้น ขณะเจ็บอยู่นะ อาตมารู้วิธี ตอนที่เราจะตายควรไปฝากกับใครแล้วพวกโยมก็ควรปฏิบัติบ้างจึงจะรู้ชัดเจนนะ”

    หลวงปู่ซามาได้มาบูรณะซ่อมแซม วัดป่าอัมพวัน ให้ได้รับความเจริญขึ้น เพราะชาวบ้านไร่ม่วงทุกคนต่างก็มีความศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน จึงนิมนต์มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวันและถือเป็นแหล่งสุดท้ายในชีวิตของ ท่านหลวงปู่ซามา อาจุตฺโต พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแห่งจังหวัดเลยฯ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ซามา ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    (ปิดรายการ)

    อ.ซามา.jpg อ.ซามาหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2018
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม

    วัดป่าวิสุทธิธรรม ต.ตองโขป อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    คัดลอกมาจาก : http://www.sakoldham.com/

    bar-1s.jpg

    หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม มีนามเดิมว่า อุ่นหล้า ผาใต้ เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ณ บ้านโคก ต.เหล่าโพนค้อ อ.เมือง (ปัจจุบันเป็น ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ) จ.สกลนคร โยมบิดาชื่อ รอด ผาใต้ โยมมารดาชื่อ บัวทอง ผาใต้ (โยมมารดาเป็นพี่สาวคนโตของพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๗

    โยมบิดาของหลวงปู่อุ่นถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเล็กๆ อยู่ ตอนนั้นญาติพี่น้องได้นิมนต์พระมาสวดมาติกาบังสุกุล และบอกให้ท่านกราบ ท่านก็ยังกราบไม่เป็น บอกให้ท่านประนมมือก็ไม่กล้าเพราะอายคน ส่วนโยมมารดาของท่านได้มีชีวิตอยู่มาจนถึงท่านบวช แต่ป่วยเป็นอัมพาตหลายปี ในปีที่โยมมารดาท่านถึงแก่กรรมนั้น ท่านไปจำพรรษาที่ถ้ำบนภูพาน ตามคำอ้อนวอนนิมนต์ของโยมผู้ใหญ่บ้านที่นั้น ทั้งที่ใจจริงแล้วท่านไม่อยากไป เพราะท่านสังเกตดูอาการป่วยของโยมมารดาแล้วคงจะไม่รอดปีนี้

    พอถึงกลางพรรษาประมาณเดือนกันยายน ท่านทราบข่าวโยมมารดากำลังป่วยหนัก จึงได้สัตตาหะมาเยี่ยม คืนแรกที่ท่านมาถึงได้ไปเยี่ยมอาการโยมมารดา เห็นอาการกระวนกระวาย บอกลักษณะให้ทราบว่าธาตุขันธ์กำลังวิปริตแปรปรวนแล้ว ในคืนที่ ๒ ต่อมา ขณะที่ท่านกำลังนั่งภาวนาอยู่ที่กุฏิ ได้รู้สึกในจิตเหมือนกับมีคนขึ้นมาบนกุฏิ ท่านพิจารณาทราบทันทีว่าเป็นวิญญาณของโยมมารดามาอำลา รุ่งเช้าพี่เขยได้มาเรียนท่านว่า “โยมแม่เราสิ้นใจแล้ว” ท่านจึงบอกว่า “เมื่อคืนโยมแม่มาหาที่กุฏิแล้ว”

    จากนั้นท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้นำศพโยมมารดาซึ่งเป็นพี่สาวของท่าน ไปฌาปนกิจที่วัดดอยธรรมเจดีย์ เสร็จงานศพแล้วหลวงปู่อุ่นจึงเดินทางกลับไปที่ท่านจำพรรษา เพื่อไม่ให้พรรษาขาด ในพรรษานั้นท่านได้นำเอาการกระวนกระวายตอนที่ธาตุขันธ์ของโยมมารดาใกล้จะแตกดับ มาพิจารณาว่า ทุกขเวทนาในเวลาใกล้ตายมีความแก่กล้ามาก

    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    ในช่วงวัยเด็ก หลวงปู่อุ่นช่วยครอบครัวเลี้ยงวัวควาย ทำไร่ไถนา ทำมาหากินตามปกติ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๕ หลวงปู่มีอายุย่างเข้า ๒๐ ปี ซึ่งในเวลานั้นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางจากจังหวัดอุดรธานี มาพำนักอยู่ที่วัดร้างชายป่า ใกล้บ้านโคก

    หลวงปู่อุ่นเล่าว่า ท่านพระอาจารย์มั่นได้สั่งให้ปลูกกุฏิไว้คอยพระอาจารย์กงมา ครั้นต่อมาไม่นานพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ซึ่งจากบ้านเกิดไปเผยแผ่ธรรมที่จังหวัดจันทบุรี เป็นเวลาหลายปี ก็เดินทางกลับมาบ้านโคก สมคำพยากรณ์ของพระอาจารย์มั่น

    ท่านพระอาจารย์มั่นปรารภว่าอยากให้เด็กชายอุ่นบวช จึงเป็นพระอุปัชฌาย์ทำการบรรพชาให้เป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นผู้สอนการครองผ้าให้ โดยได้ทำการบรรพชาในศาลาวัดร้างที่พระอาจารย์มั่นพำนักอยู่นั้น นับว่าหลวงปู่อุ่นเป็นสามเณรองค์สุดท้ายที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ให้การบรรพชา เพราะหลังจากนั้นพระอาจารย์มั่นปรารภว่าท่านชราแล้ว จึงยกให้เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นผู้ทำการบรรพชาและอุปสมบทต่อไป

    เมื่อเข้าพรรษา สามเณรอุ่น ผาใต้ จึงได้จำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดร้างชายป่าบ้านโคกนี้ (ซึ่งปัจจุบันได้แก่บริเวณที่เป็นที่ว่าการอำเภอโคกศรีสุพรรณ) พระเณรอื่นที่จำพรรษาร่วมกันได้แก่ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์สิงห์ จากบ้านหนองหลวง, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์พา, พระอาจารย์ทองปาน จากจังหวัดอุบลราชธานี, พระอาจารย์สวัสดิ์ และสามเณรอิ๊ด

    ด้วยความที่หลวงปู่กำลังเข้าวัยหนุ่ม และไม่เคยศึกษาธรรมะมาก่อน การบวชเป็นเณรปีแรกนี้ ท่านจึงยังภาวนาไม่เป็น เวลาบ่ายมักจะหิว เวลาท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์อบรม ท่านก็ตั้งใจฟังโดยเรียบร้อยแม้จะไม่เข้าใจนัก แต่ก็เพียรพยายามนั่งสมาธิ เดินจงกรม ตามแบบที่พระอาจารย์มั่นสอน ดูแลปรนนิบัติรับใช้ครูบาอาจารย์โดยความเคารพ และไม่ขาดตกบกพร่อง จึงได้รับการอนุญาตจากพระอาจารย์มั่นให้อยู่ศึกษาธรรมกับท่านตลอด ๓ ปี

    หลังจากออกพรรษา ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพกวี เดินทางจากจังหวัดอุดรธานี มากราบท่านพระอาจารย์มั่น ที่บ้านโคก และได้เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทให้สามเณรอุ่น เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยมีพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมาหาพิมพ์ ธมฺมทีโป เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำเร็จเมื่อเวลา ๑๑.๐๐ น. ณ อุทกุกเขปสีมา (สิมน้ำ) กลางหนองบัว ซึ่งอยู่ใกล้บ้านโคกนั้น โดยสิมน้ำนี้สร้างเล็กๆ แคบๆ คล้ายเถียงนา มี ๔ เสา ปูไม้กระดานอยู่กลางน้ำ ต้องทำสะพานเดินเข้าไป ท่านได้รับฉายาว่า “กลฺยาณธมฺโม”

    ๏ ลำดับการจำพรรษาและการปฏิบัติศาสนกิจ

    หลังจากอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้พามาสร้างวัดใหม่อยู่ไม่ห่างจากที่เก่านัก เนื่องจากที่เก่าอยู่ใกล้ทางสัญจรของผู้คน จึงไม่ค่อยสงบ เมื่อมาอยู่ที่ใหม่นี้ชาวบ้านจึงถวายที่ตั้งวัด ซึ่งได้แก่วัดป่าวิสุทธิธรรม ในปัจจุบัน ครั้งนั้นมีพระเณรอยู่ ๓-๔ องค์ กับผ้าขาวคนหนึ่ง ส่วนท่านพระอาจารย์มั่น ย้ายไปพำนักที่วัดป่าบ้านนามน (ปัจจุบันคือวัดป่านาคนิมิตต์ บ้านนามน ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ) ซึ่งอยู่ห่างไปราว ๒ กม. และจำพรรษที่นั่นในปี พ.ศ. ๒๔๘๖

    พ.ศ. ๒๔๘๖ พรรษาที่ ๑ หลวงปู่อุ่น จำพรรษาที่วัดป่าวิสุทธิธรรม กับท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และพระเณรไม่กี่องค์ ทุกๆ ๓ วัน จะพากันเดินไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์มั่น ที่บ้านนามน ระยะนั้นเป็นฤดูฝน หลวงปู่เล่าว่าลำบากมาก ต้องเดินตามคันนา เพราะยังไม่มีถนนเหมือนทุกวันนี้ บางครั้งไปเจอแอ่งน้ำใหญ่ขวางอยู่ ก็ต้องลุยน้ำไป ท่านว่ายินดีที่จะลำบาก เพราะปรารถนาจะฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ แม้จะไม่ได้จำพรรษกับท่าน แต่ก็ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างยิ่ง

    ครั้งหนึ่งไปฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นตามปกติ ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า “คนมีนิสัยมาหาเราเมื่อคืนนี้ อุ่นนี่แหละ” ซึ่งหมายความว่า คืนที่ผ่านมา ท่านพระอาจารย์มั่นนิมิตถึงหลวงปู่ว่าเคยบวชมาหลายภพหลายชาติแล้ว หลวงปู่ท่านว่า เมื่อฟังแล้วดีใจปานแผ่นดินสูงขึ้นศอกหนึ่ง เกิดความอัศจรรย์ใจว่า ครูบาอาจารย์รู้วาระจิตของท่าน เมื่อกลับมาบ้านโคกจึงตั้งใจเดินจงกรมภาวนา ทั้งๆ ที่ฝนกำลังตก ใจหนึ่งก็คิดว่าหยุดดีกว่าฝนตกผ้ามันเปียก ใจหนึ่งก็คิดว่าเปียกก็ตากให้แห้งได้ สุดท้ายท่านก็เดินต่อไป ท่านว่ามองกิเลสมันสู้กันภายใน มันกลัวว่าเราจะหนีจากมัน

    ครั้งหนึ่ง ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า “ถึงพุทธัง สรณัง คัจฉามิ แล้วหรือยัง” หลวงปู่อุ่นตอบว่า “ถึงแล้ว” ด้วยความคิดว่า ตอนบวชต้องว่า นโม แล้วก็ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ก่อนจึงค่อยว่าศีล

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์กงมาได้ไปนิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นมาพำนักที่วัดป่าวิสุทธิธรรม และจำพรรษาที่นี่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยมีพระเณรอยู่ร่วมจำพรรษากับท่านได้แก่ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์หลอด ปโมทิโต, พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม, พระอาจารย์คำดี, พระอาจารย์มนู, พระอาจารย์บุญ, เณรดี และเณรได

    พรรษาที่ ๒ นี้หลวงปู่พยายามนั่งสมาธิ เดินจงกรมอย่างยิ่ง เพราะท่านยังไม่เคยประสบผลจากการภาวนาเลย วันหนึ่ง ท่านนั่งภาวนาอยู่ในกลดใต้ต้นค้อในวัดนั้น เดิมเวลานั่งภาวนาจะมีความเจ็บปวดแข้งขามาก มาวันนั้นท่านอธิษฐานลงไปว่าจะเจ็บก็ให้มันเจ็บไป ท่านปล่อยวางได้แล้ว ปรากฏจิตสงบรวมปึ๊บลงเป็นสมาธิ สงบ สว่าง น้ำตาไหลออกมาจนท่านพระอาจารย์กงมาเดินผ่านมา จิตจึงถอนออก ท่านว่านี้เป็นครั้งแรกที่ท่านภาวนาจิตสงบ ปัจจุบันจึงก่ออิฐไว้ใต้ต้นค้อเป็นอนุสรณ์สถาน

    ครั้งหนึ่ง ท่านได้ฟังท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ว่า “พระของเรานี้ไม่มีความอดทน มันไม่ใช่บุรุษ” หลวงปู่ได้ฟังแล้วจึงเกิดความมุ่งมั่นในการทำความเพียร ท่านคิดว่า “เราก็เป็นบุรุษ เป็นชายเต็มตัว วันนี้เราจะไม่นอน” จากนั้นก็นั่งสมาธิ ปรากฏว่าคืนนั้นจิตรวมถึง ๓ ครั้ง เมื่อจิตถอนออกมาเป็นเวลาใกล้รุ่งเช้าแล้ว

    หลวงปู่เล่าว่า ท่านพระอาจารย์มั่นญาณความรู้แจ่มชัดมาก พระเณรรูปไหนไม่สวดมนต์ไหว้พระ ไม่ขยันภาวนาท่านทราบหมด แม้ท่านจะอยู่ที่กุฏิ, โรงครัว โรงน้ำร้อน เก็บสิ่งของเรียบร้อยหรือไม่ ท่านก็รู้หมดเช่นกัน หากสิ่งใดไม่ถูกต้องแล้ว ท่านจะกล่าวตักเตือน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุให้หลวงปู่เกรงกลัวท่านพระอาจารย์มั่นมาก ต้องคอยระมัดระวังทั้งกายทั้งจิต ท่านจึงไม่เคยถูกท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ดุเอาหนักๆ หลวงปู่ว่า แค่ท่านส่งสายตามา เหมือนกับมีดเฉือนเข้าไปข้างใน พอท่านถามว่า “เป็นอย่างไรนั่งภาวนา” แค่นี้มันบาดหัวใจอย่างที่สุด

    ท่านพระอาจารย์มั่นเคยเทศน์ให้พระเณร รวมทั้งหลวงปู่ฟังว่า “เป็นอย่างไรภาวนา มีแต่กินแล้วนอน ไม่อดทน ตอนเราอยู่ถ้ำสาริกา นครนายก ป่วยเป็นไข้ป่าเกือบมรณภาพ ฉันเข้าไปแล้วไม่ย่อย ออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม พระอื่นที่เคยไปอยู่ก่อนล้วนมรณภาพหมดทุกองค์ และยังมีนิมิตปีศาจถือกระบองใหญ่จะมาทุบตี เราจึงว่า เรามาเจริญสมณธรรม จะมาฆ่าก็ฆ่าเลย สุดท้ายปีศาจนั้นก็ยอมเข้ามากราบไหว้ เราทำมาไม่ใช่ทำเล่นๆ ทำมาสละความตาย พวกท่านทำอย่างนี้กินแล้วก็นอน มันได้ผลอะไร ทำเล่นๆ ไปเท่านั้น เสียเวลาเปล่าๆ”

    ความที่หลวงปู่กลัวพระอาจารย์มั่น จิตจึงมีกำลังใจในการภาวนา ทำให้การภาวนาก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับ ฟังเทศน์ท่านเริ่มเข้าใจ หลวงปู่กล่าวว่า “ถ้าเป็นเหมือนอย่างทุกวันนี้ท่านเทศน์อย่างไรจะเข้าใจหมด ยิ่งให้ท่านดุด่ายิ่งชอบ เกิดความแจ้งสว่างขึ้นมา เอาฆ้อนแปดปอนด์มาทุบหัวกิเลสลงไป ถ้ามันมีเหตุอะไร ก็พิจารณาดูว่ามันมาจากไหน ไม่สำรวมในศีล หรือเราพูดมากไป พิจารณาดูเหตุมัน มันก็หยุดไปเอง เดี๋ยวนี้มันไม่ดื้อแล้ว แต่ก่อนมันดื้อด้านไม่ฟังเรา จะมานั่งสมาธิ มันก็บอกว่าเดี๋ยวเป็นเหน็บชา เวลาเดินจงกรม มันก็กระซิบว่า เดินเร็วไม่ได้เดี๋ยวเสียเส้นเป็นเหน็บชา เดินไม่ได้ เดี๋ยวสึกออกไปไม่มีใครแต่งงานด้วย เวลานั่งสมาธิมันก็ว่า นี่ไม่ใช่สมัยบรรลุมรรคผล พอไปถามครูบาอาจารย์ ท่านบอกว่าไม่มีกาล ไม่มีเวลา เป็นอกาลิโก สมัยใดก็บรรลุธรรมได้”

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสุงครับ

    เหรียญหลวงปู่อุ่น ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    อ.อุ่น.jpg อ.อุ่นหลัง.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺโม)

    จากหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ

    พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)

    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร

    วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔

    bar-1.jpg

    lp-one-pic-23.jpg lp-one-pic-25.jpg lp-one-pic-26.jpg
    พระอาจารย์บุญมา
    พระอาจารย์วัน, พระอาจารย์จวน, พระอาจารย์สุพัฒน์

    พระอาจารย์สิงห์ทอง
    lp-one-pic-24.jpg
    lp-one-pic-27.jpg
    ซากเครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุ

    พ.ศ. 2523 เดือนเมษายน ท่านได้รับอาราธนานิมนต์ทางกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยพระคณาจารย์อื่น ๆ อีก 4 รูป คือ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม จึงได้รวมกันที่ จังหวัดอุดรธานี เพื่อขึ้นเครื่องบิน เพราะลูกศิษย์ต้องการถวายความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทาง

    ได้ขึ้นเครื่องบินที่ อุดรธานี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 เมื่อเครื่องบินมาถึงเขตจังหวัดปทุมธานี อำเภอคลองหลวง เหลือระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งลำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม แต่เนื่องจากเครื่องบินได้ประสบพายหมุนและประกอบกับฝนตกหนัก เครื่องบินจึงเสียหลักตกลงที่ท้องนาเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พระอาจารย์วันพร้อมด้วยคณะจึงถึงแก่มรณภาพพร้อมด้วยผู้โดยสารอีกเป็นจำนวนมาก ที่รอดชีวิตเป็นผู้ที่นั่งทางส่วนหางของเครื่องบิน เพราะส่วนหางของเครื่องบินยังอยู่ในสภาพดี

    เมื่อพระอาจารย์วัน และคณะ ถึงแก่มรณภาพแล้วจึงนำศพไปตกแต่งบาดแผลที่โรงพยาบาลภูมิพลและนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่ วัดพระศรีมหาธาตุ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ทั้ง 7 วัน วันแรกพระราชทานหีบทองทึบ วันต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถรับสั่งให้เปลี่ยนใหม่เพราะทรงเห็นว่าไม่สวยงาม จึงได้เปลี่ยนเป็นหีบลายทอง

    lp-one-pic-30.jpg
    lp-one-pic-28.jpg
    ศพพระคณาจารย์ที่ตั้งบำเพ็ญกุศล
    ที่วัดพระศรีมหาธาตุ

    สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดราชบพิตร
    ทรงเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลศพพระอาจารย์วัน

    หลังจาก 7 วันแล้ว ในวันที่ 5 พฤษภาคม สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามทรงเป็นเจ้าภาพ วันที่ 6 พฤษภาคม คณะรัฐบาลซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะศิษย์ที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพนับว่าเป็นเกียรติประวัติแก่พระอาจารย์วัน และคณะที่จากไปอย่างยิ่งยวด ยังความปลื้มปิติยินดีแก่ญาติ เพื่อนสหธรรมิก ลูกศิษย์และท่านที่เคารพนับถือของพระอาจารย์วันและคณะหาที่สุดมิได้

    lp-one-pic-29.jpg
    lp-one-pic-31.jpg
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จร่วมบำเพ็ญกุศล
    ที่วัดพระศรีมหาธาตุ

    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ เสด็จร่วมบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุ

    เมื่อครบกำหนดการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายที่วัดพระศรีมหาธาตุแล้วก็ได้อัญเชิญศพพระอาจารย์วัน และคณะกลับสู่ยังวัดเดิม โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หัวหน้าแผนกพระราชพิธีเป็นผู้ดูแลโดยตลอด

    สำหรับรถยนต์ที่เชิญศพ พระคณาจารย์ต่าง ๆ คุณหมอปัญญา ส่งสัมพันธ์ แห่งโรงพยาบาล แพทย์ปัญญา เป็นผู้จัดหา และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นอย่างดียิ่ง

    lp-one-pic-32.jpg
    รถพยาบาลหลายคันจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เชิญศพพระอาจารย์วัน และพระคณาจารย์ต่าง ๆ เดินทางจากวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี บรรดาพระภิกษุสามเณรและประชาชนไปคอยเคารพศพอยู่อย่างคับคั่ง

    lp-one-pic-35-01.jpg lp-one-pic-35-02.jpg
    ตลอดทางเข้าวัดอภัยดำรงธรรม ชาวบ้านสองข้างทางต่างก็จัดทำซุ้มสักการะเมื่อขบวนศพพระอาจารย์วันผ่านเข้าไป

    วันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2523 เวลา 04.00 น. รถเชิญศพได้เคลื่อนออกจากวัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยมีรถตำรวจทางหลวงนำ ถัดมาเป็นรถหลวง รถพระอาจารย์สมชาย ฐิติวิริโย และรถเชิญศพพระอาจารย์วัน ตามลำดับ เวลา 07.00 น.เศษขบวนเชิญศพถึงจังหวัดนครราชสีมา มีพระภิกษุสามเณรซึ่งมีพระชินวงศาจารย์ พระครูคุณสารสัมบัน พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาได้นำข้าวห่อมาต้อนรับคณะเชิญศพ และมาเคารพศพเป็นจำนวนมาก หลังจากพระฉันอาหารและเจ้าหน้าที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว ขบวนเชิญศพได้ออกเดินทางต่อไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี เมื่อเวลา12.30 น. ทางวัดโพธิสมภรณ์และชาวจังหวัดอุดรธานี ได้จัดต้อนรับเป็นอย่างดี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้นำประชาชนหลายจังหวัดมารอและเคารพศพเสร็จแล้ว เวลาประมาณ 14.00 น.เศษ รถเชิญศพจึงได้แยกย้ายกันไปยังวัดต่าง ๆ สำหรับศพพระอาจารย์วัน ได้ไปถึงวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เมื่อเวลา 17.00 น. นับว่าการเชิญศพถึงวัดได้รับความสะดวกสบายปลอดภัยทุกประการ

    lp-one-pic-36.jpg
    ศพพระอาจารย์วัน ตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่บนศาลา
    ณ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม

    เมื่อเชิญศพไปถึงวัดแล้วได้ตั้งบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นเจ้าภาพ ต่อจากนั้นก็มีหน่วยงานต่าง ๆ รับเป็นเจ้าภาพติดต่อมาอีกหลายรายประชาชนทั้งใกล้และไกลได้มาคารวะศพและเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมจนถึงปัญญาสมวาร (50 วัน) และสตมวาร (100 วัน) โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปเป็นประธาน นับว่าเป็นมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ หลังจาก 100 วันแล้วก็ยังเปิดให้ประชาชนได้บำเพ็ญกุศลเรื่อยมาเพื่อสนองความต้องการของประชาชน

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2523 เวลาประมาณ 18.00 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมคารวะศพและทรงเยี่ยมประชาชนที่มาถวายการต้อนรับ ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว เป็นการส่วนพระองค์

    lp-one-pic-09.jpg lp-one-pic-09-03.jpg
    lp-one-pic-09-01.jpg lp-one-pic-09-02.jpg
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงนมัสการศพพระอาจารย์วัน ณ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๓

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2523 เวลาประมาณ 18.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมคารวะศพ ทรงวางพวงมาลาและทรงจัดดอกไม้ถวายเป็นการส่วนพระองค์

    lp-one-pic-51.jpg lp-one-pic-51a.jpg
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ เสด็จฯไปพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์วัน ณ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๒๔

    วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ จากภูพานราชนิเวศน์ ไปพระราชทานเพลิงศพพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตตโม) ณ เมรุวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

    lp-one-pic-53.jpg
    ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงสนามโรงเรียนอภัยดำรงธรรม ณ ที่นั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จพระราชดำเนิน แล้วประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เสด็จขึ้นประทับ ณ มุขพลับพลา แล้วเสด็จขึ้นเมรุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทอดผ้าไตรและทรงวางกระทงข้าวตอกดอกไม้ ที่จิตกาธานข้างหีบศพ จากนั้น ทรงหยิบธูปเทียน ดอกไม้จันทน์ แล้วทรงจุดไฟชนวนพระราชทานเพลิง เสร็จแล้ว เสด็จลงจากเมรุกลับไปประทับ ณ มุขพลับพลา

    สมควรแก่เวลา จึงเสด็จลงจากมุขพลับพลา เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณนั้น

    เสร็จแล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง กลับมายังโรงเรียนอภัยดำรงธรรม เพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับถึง ภูพานราชนิเวศน์ เมื่อเวลา ๑๗.๒๐ น.

    lp-one-pic-52.jpg
    วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง จากภูพานราชนิเวศน์ ไปเปิดพิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตตโม) ณ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (ถ้ำพวง) ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

    ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงสนามโรงเรียนปทุมวาปี ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตตโม) จากนั้นเสด็จเข้าพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารฯ ทรงสรงอัฐิธาตุพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร จากนั้นเสด็จลงชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารฯ เพื่อทอดพระเนตรภาพวาดชีวประวัติ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร และภาพจิตรกรรมฝาผนัง เสร็จแล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมราษฎรที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณนั้น

    ผลงานโดยสรุปของพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตฺตโม)

    pra-mongkolmujjalin.jpg
    พระอาจารย์วัน อตตโม เป็นนักปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้าสู่พระธรรมวินัย จึงมิได้มุ่งในการทำงาน แต่ก็ได้ช่วยเหลือเพื่อนสหธรรมิกเมื่อมีการงานเกิดขึ้นในวัดที่ไปอยู่ การก่อสร้างถาวรวัตถุจึงไม่ปรากฏนัก ในระยะต้น ๆ มา มีผลงานขึ้นบ้างสมัยที่ท่านมาอยู่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เพราะการก่อสร้างใด ๆ บนภูเขาหรือเชิงเขาทำยากกว่าที่พื้นราบเป็นอันมาก ดังนั้นวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จึงไม่มีถาวรวัตถุอะไรมากมายนัก มีเพียงศาลาการเปรียญหลังเดียวเท่านั้นที่ดูใหญ่โต เพราะศาลาการเปรียญเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากมีประชาชนมารับการอบรมฟังเทศน์ในวันพระ เทศกาลเข้าพรรษาวันละ 300-500 คน ส่วนกุฏิที่ค่อนข้างใหญ่ ก็มีเพียงหลังเดียวที่คุณธเนศ เอียสกุล สร้างถวาย นอกนั้นเป็นเพียงกุฏิไม้อยู่ได้เพียงองค์เดียว แบบกุฏิกรรมฐานทั่ว ๆ ไป

    ที่เห็นว่าท่านริเริ่มสร้างที่สำคัญก็คือ การสร้างทางขึ้นถ้ำพวง เพราะท่านเห็นว่าประชาชนในถิ่นนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นถาวรวัตถุสำหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน เมื่อสร้างทางขึ้นไปแล้ว จึงได้ริเริ่มสร้าง พระพุทธรูปปางนาคปรกที่ถ้ำพวง โดยขนานพระนามพระพุทธรูปว่า พระมงคลมุจจลินท์ โดยถือเอานิมิต พระพุทธรูปปางที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขอยู่ที่ต้นไม้มุจจลินท์ มีพญานาคแผ่พังพานเพื่อกันฝน หลังจากสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว ท่านจึงจัดให้มีงานเทศกาลต้นเดือนเมษายนทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นการสร้างคนทางใจโดยอาศัยวัตถุเป็นเครื่องนำ ความดำริขั้นต่อไปที่ท่านตั้งใจไว้ คือสร้างเจดีย์บนผาดงก่อ ถัดจากถ้ำพวงขึ้นไป ซึ่งเป็นหลังเขาที่สูงที่สุดในบริเวณนั้น แต่น่าเสียดายท่านมาด่วนจากไปเสียก่อน

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญนิรันตรายพระอาจารย์วัน ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาท

    อ.วัน.jpg อ.วันหลัง.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญหลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร ฤาษีลิงดำ ออกให้วัดเมืองที่ฉะเชิงเทรา กะไหล่ทองลงยาสีแดงปี2530 สวยเดิมๆ
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาท

    ลพ.มหาวีระ.jpg ลพ.มหาวีระหลัง.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติ หลวงพ่อบุญเกิด หรือ หลวงพ่อเกิด วัดเขาดิน จ.ชัยนาท

    ประวัติ หลวงพ่อบุญเกิด หรือ หลวงพ่อเกิด วัดเขาดิน จ.ชัยนาท

    ในอดีตย้อนไปซัก 40-50 ปีในแถบหนองมะโมงนี้ค่อนข้างจะทุรกันดาร หรือแทบจะเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ไกลปืนเที่ยง ด้วยสภาพพื้นที่ที่ชุกชุมไปด้วยชุมโจรปล้นวัวปล้นควายประกอบกับเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ไกลหมอ ไกลเจ้าหน้าที่บ้านเมือง สิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นที่พึ่งในยามตกทุกข์ได้ยากของคนทุกชนทุกชั้นในละแวกนั้นไม่ว่าจะเรื่องเจ็บป่วย ผีเข้าเจ้าสิง ถูกกระทำย่ำยี ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล วัวหายควายพลัด มีเหตุลักขโมย ถูกประทุษร้าย และอีกหลากหลายปัญหานานับประการ ที่ชาวบ้านต้องการที่อาศัยพึ่งพิง ผิสำคัญบุคคลผู้นั้นมิใช่อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ หรือผู้มียศถาบรรดาศักดิ์มาจากไหน แต่กลับเป็นพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมีปฏิปทาเคร่งครัดน่าเลื่อมใสและมีวิทยาบารมี พอเป็นที่ผ่อนปรนบรรเทาทุกข์โศกสงเคราะห์สังคมโลกให้ร่มเย็นเป็นสุขได้ ภิกษุรูปนั้นชาวบ้านคุ้นปากกันในนาม “หลวงพ่อเกิด”

    lungporkirt.jpg

    หลวงพ่อเกิด หรือพระครูอุดมชัยกิจ เจ้าอาวาสวัดเขาดิน ต.หนองมะโมง อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท นามเดิม บุญเกิด จันทรา เป็นบุตรของนายกรม จันทรา นางสี จันทรา เกิดเมื่อวันที่ ๔ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ณ บ้านเขาดิน ต.หนองมะโมง อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท อุปสมบทเมื่อ วันที่ ๕ ธ.ค. พ.ศ.๒๔๙๕ ณ พัทธสีมาวัดเขาดิน โดยมีพระครูสิงหชัยสิทธิ์(ฉะอ้อน) วัดพาณิชย์ ต.วัดสิงห์ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสมทบ วัดศรีสโมสร ต.กุดจอก อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการบรรจง วัดเขาดิน ต.หนองมะโมง อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปัณฑิโตภิกขุ” หมายถึง “ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญาฉลาดรอบรู้”

    ในปี 2495 หลังจากอุปสมบทแล้วได้จำพรรษาฉลองศรัทธาโยมบิดา โยมมารดา ณ วัดเขาดิน ประจวบเหมาะกับในปีนั้นนั่นเองท่านเจ้าขุนวาปินทร์ (หรือเจ้าขุนเล็กแห่งบ้านหนองขุ่น)ศิษย์ฆราวาสก้นกุฏิรุ่นอาวุโสของหลวงปู่ศุขอีกท่านหนึ่ง ได้ถือเอาฤกษ์วัน 5 เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำจัดเป็นพิธีไหว้ครูเสาร์ 5 ขึ้น นับว่าเป็นพิธีไหว้ครูครั้งยิ่งใหญ่กว่าพิธีไหว้ครูครั้งอื่นๆ ในงานไหว้ครูครั้งนี้เจ้าขุนวาปินทร์ได้เปิดโอกาสถ่ายทอดและประสิทธิ์ประสาทเวทวิทยาอาคมให้แก่เหล่าศิษย์ด้วยตัวท่านเอง ใครสนใจในด้านใดก็เลือกเรียนเอาตามวาสนาบารมีและจะต้องทำให้เห็นผลในวันนั้น มีทั้งวิชาเสกหุ่นชกกัน เสกข้าวสารให้เป็นกุ้ง เสกเป่าผงให้เป็นนะปัดตลอด สารพัดวิชาที่เจ้าขุนท่านทำสำเร็จชำนาญแล้ว ส่วนหลวงพ่อท่านเห็นว่าเรียนวิชาที่สามารถช่วยผู้อื่นได้จะเป็นประโยชน์กว่าท่านจึงเลือกเรียนวิชาแก้วิชาถอนวิชาป้องกันรักษา และถือได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในวันนั้นที่ได้รับการประสิทธิ์ประสาทวิชาเฑาะว์มหาวิเศษ และวิชาแก้พิษหมาบ้าจากท่านเจ้าขุนโดยตรง

    ในปี 2496 ท่านจึงไปศึกษาพระปริยัติธรรมและกรรมฐานเบื้องต้นในสำนักวัดสิงห์ในสมัยที่พระครูฉะอ้อนองค์อุปัฌชาย์เป็นเจ้าสำนัก พระครูฉะอ้อนท่านนี้เป็นเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับองค์หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคคลองมะขามเฒ่าและพระครูฉะอ้อนท่านนี้แหละที่เป็นแม่งานใหญ่ในการจัดการงานศพหลวงปู่ศุข ด้วยความใกล้ชิดทั้งพระครูฉะอ้อนและอาจารย์ฆราวาสอีกหลายท่านที่เป็นศิษย์สายตรงในองค์หลวงปู่ศุข ประกอบกับความใฝ่รู้ หลวงพ่อท่านจึงได้ซึมซับศึกษาสรรพวิทยาการในสายหลวงปู่มาพอสมควร ทั้งวิชาปรอท จากหมอยาเฒ่า วิชาเสกขี้ผึ้ง อาจารย์ของท่านเสกขี้ผึ้งบนมือให้เป็นน้ำได้อย่างอัศจรรย์ ท่านจึงได้เรียนรู้หลักในการใช้ธาตุ ตั้งธาตุต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสรรพวิชาและเคล็ดคาถาอีกบางบท ที่ท่านได้ตั้งแต่ในพรรษาต้นๆ อย่างเช่นการทดลองวิชาหายตัว โดยเขียนอักขระลงบาตรแล้วบริกรรม ปรากฏว่าเช้าวันนั้นชาวบ้านใส่บาตรข้ามท่านไปหมด สร้างความประหลาดใจแก่หมู่เพื่อนภิกษุที่ร่วมออกภิกขาจาร

    • ปี 2497 ได้ไปศึกษาวิชา 12 ภาษากับ อ.เฉลิม คราวเดียวกันกับหลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู จ.นครสวรรค์ วิชา 12 ภาษานี้เป็นวิชานี้ว่ากันว่าผู้ทำสำเร็จจะสามารถทำสมาธิจิตให้ไปสัมผัสกับภพภูมิจิตในระดับต่างๆทั้ง 31 ภูมิได้ แม้ในภูมิมนุษย์เองก็สามารถฟังและสื่อสารกับภาษาอื่นๆได้ตามใจปารถนา
    • ปี 2498 ได้พบกับ อาจารย์ชื้นศิษย์ฆราวาสคนสำคัญอีกท่านหนึ่งที่สืบสานกรรมฐานสายหลวงพ่อเขาสาลิกา ภายหลังได้บวชและรู้จักกันในนามหลวงพ่อชื้น วัดเขาพลอง หลวงพ่อเกิดได้ศึกษากับท่านอาจารย์ชื้นตั้งแต่อาจารย์ชื้นยังดำรงเพศเป็นฆราวาส และอาจารย์ชื้นท่านนี้เองเป็นผู้เชื้อเชิญให้ท่านได้ไปนมัสการหลวงพ่อเขาสาลิกาที่สำนักเขาสาลิกาท่านเล่าว่าหลวงพ่อเขาสาลิกาท่านไม่พูด ท่านจุดเทียนตั้งไว้ 6 เล่มแล้วใช้มือดับทีละเล่มจนเหลือเทียนเล่มเดียวท่านจึงหยิบเทียนเล่มนั้นขึ้นมานั่งเพ่งเท่านั้น ท่านว่าเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับการสอนเรื่องอายตนะ ผัสสะ การแยกรูป –นาม แยกกองกรรมฐานจนถึงขั้นกายละเอียด
    • ปี 2499– 2500 ออกจาริกธุดงค์ปลีกวิเวกกระทำความเพียรทางจิต ขึ้นไปทางนครสวรรค์โดยมุ่งหน้าไปทางเหนือ
    • ปี 2501-2506 กลับมาเยี่ยมโยมบิดามารดาและออกธุดงค์ต่อจนกระทั่งกลับมาพบสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติและมีนิมิตมหัศจรรย์ให้ต้องจำพรรษาและถือได้ว่าเป็นภิกษุรูปแรกที่เปิดถ้ำเขาตะพาบ จ.อุทัยธานีในถ้ำแห่งนี้หลวงพ่อพบกับความมหัศจรรย์ในโลกวิญญาณมากมายโดยเฉพาะเรื่องพระธาตุ ในระหว่างนั้นท่านได้ไปเชิญพระธาตุที่เขาบางแกรกและได้พบกับ หลวงพ่อปะขาวหายพระผู้ทรงอภิญญาอีกรูปหนึ่งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นพบเห็นมาช้านาน แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าท่านเป็นใครมาจากไหน รุ่งเช้าท่านก็มาปรากฏในรูปของพระภิกษุห่มผ้าสีกรักบ้าง บางคราวก็นุ่งขาวห่มขาวแบบชีปะขาวบ้าง ชาวบ้านแปลกใจจึงได้พยามสะกดรอยตามพอถึงริมลำน้ำชาวบ้านก็แอบดูปรากฎว่าเผลอแผลบเดียวหลวงพ่อท่านข้ามไปฝั่งโน้นได้ในพริบตาชาวบ้านจึงเรียกกันว่าหลวงพ่อชีปะขาวหาย
    • ปี 2507 ชาวบ้านและบรรดาญาติโยมจึงได้ร่วมใจนิมนต์ท่านมาจำพรรษา ณ วัดเขาดินท่านจึงได้ทำการปกครองวัดเขาดินตั้งแต่นั้นสืบมาจนถึงปัจจุบันและนับได้ว่าเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ดำรงตำแหน่งได้นานที่สุด เนื่องจากก่อนหน้านั้นเจ้าอาวาสแต่ละรูปล้วนมีเหตุให้สึกหาลาเพศไปด้วยเหตุต่างๆ ว่ากันว่าเจ้าเขาแห่งนี้แรงนักแต่ท่านก็แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าท่านสามารถปกครองได้ทั้งรูป-นาม จนกระทั่งก่อให้เกิดความเจริญตราบเท่าปัจจุบัน
    • อื่น
      • ท่านเป็นพระนักพัฒนาตัวอย่าง เมื่อสมัยก่อน ชาวบ้านเดือนร้อนเรื่องปัญหาการ สีข้าว ท่านจึงได้สร้างโรงสีข้าวชุมชนขึ้นมา ให้ชาวบ้านได้มาใช้บริการที่นี่ เป็นโรงสีใหญ่นะครับไม่ใช่เล็ก แต่ตอนนี้ได้กลายเป็น ศาลาอเนกประสงค์ไปแล้ว
      • และท่านก็สร้างโรงลิเกด้วยนะครับ
      • ยังสร้างห้องอบสมุนไพรด้วย
      • สรุปหลวงพ่อท่านสร้างแต่เรื่องดี และ ทำเพื่อชาวบ้านทั้งนั้น
    ใครไปหาท่านไม่จำเป็นต้องควักปัจจัยอะไรทั้งสิ้นท่านก็จะมอบ พระให้ติดไม้ติดมือกันมาทุกคน ส่วนผมนั้น ทั้งบวชนี่ และ รุ่น ปู่ย่า ก็ใกล้ชิดกับท่านมาก ผมประทับใจและฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อจากใจครับ
    Ref:http://sitluangporguay.com/forum/index.php?topic=1829.0

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อเกิดปี2522 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.เกิด.jpg ลพ.เกิดหลัง.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    1789-12707.jpg
    1789-2d032.jpg
    ก่อนอื่นผมต้องกราบขอขมาต่อองค์หลวงปู่พระมหาเจียน กนฺตสาโร ผู้เป็นที่เคารพยิ่งของศิษย์ ที่ได้นำเอาประวัติของหลวงปู่มาเผยแพร่โดยมิได้ขออนุญาติจากหลวงปู่ฯโดยตรง เพราะในขณะที่หลวงปู่ยังทรงขันธ์อยู่นั้น หลวงปู่ฯไม่ได้อนุญาติให้นำประวัติท่านเผยแพร่เป็นสาธารณะ แม้จะมี ผู้จัดทำหนังสือพระเครื่องมาขออนุญาติก็ตาม


    แต่บัดนี้หลวงปู่ฯได้ละสังขารไปแล้ว ศิษย์คนนี้ขอกราบอนุญาติบันทึกประวัติหลวงปู่ไว้เพื่อเป็นการรวบรวมเรื่องราวของหลวงปู่ไว้เป็นเครื่องชูใจและเสริมศรัทธาในยามที่นึกถึงหลวงปู่ไว้ด้วยเถิด


    หลวงปู่พระมหาเจียน เป็นพระที่พูดน้อย น้อยมาก เรื่องราวของหลวงปู่จึงเหมือนความลับดำมืดที่กระจัดกระจายอยู่ในความทรงจำของศิษย์แต่ละคน แล้วแต่ใครจะได้รู้ได้สัมผัสมาแบบไหน สำหรับกระผมเองเป็นผู้ที่เข้าไปนับถือศรัทธาหลวงปู่ฯในชั้นหลัง คือได้มีโอกาสไปกราบในช่วง2ปีสุดท้าย และได้พูดคุยกับศิษย์ในยุคก่อนหน้าบางท่านแล้วนำมาบันทึกไว้


    สำหรับถ้ำสว่างอารมณ์ ที่ีหลวงปู่ฯได้ไปพำนักนั้น เป็นถ้ำๆหนึ่งที่อยู่บนเขาบันไดอิฐ จะอยู่เยื้องออกไปทางด้านหลังวัดเขาบันไดอิฐ อยู่สูงขึ้นไป เป็นถ้ำที่มีพระสงฆ์อยู่มาก่อนแล้ว ดังหลักฐานที่ปรากฏเจดีย์บรรจุศพของหลวงพ่อทุ้ย (ผู้สร้างถ้ำ) แป๊ะงัน ,ซินแซเซี่ยงคุณ (ผู้ดูแลถ้ำ) เป็นต้น ภายหลังหลวงปู่ฯจึงได้มาอยู่ที่ถ้ำนี้ดังจะได้กล่าวต่อไป


    ประวัติหลวงปู่มหาเจียน กนฺตสาโร ถ้ำสว่างอารมณ์ วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
    (คัดลอกมาจากเอกสารประวัติหลวงปู่พระมหาเจียน ที่อ่านในงานสวดพระอภิธรรมของหลวงปู่ฯ)

    พระมหาเจียน กนฺตสาโร นามเดิมว่านายเจียน ศรีสม

    โยมบิดาชื่อนายจันทร์ ศรีสม โยมมารดาชื่อนางอยู่ ศรีสม

    เกิดเมื่อ2ฯ2 ปีมะโรง ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 ที่ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี

    มีพี่น้องทั้งหมด5คน ดังนี้

    1.นายอินทร์ ศรีสม (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    2.พระอาจารย์เปลื้อง ถาวโร (มรณภาพ)

    3.พระมหาเจียน กนฺตสาโร (มรณภาพ)

    4.นางลำจวน ศรีสม (มั่งคั่ง)

    5.นางสาวจอน ศรีสม


    อุปสมบท

    พระมหาเจียน ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ21ปี (20ปี5เดือน) ตรงกับวันที่ 17 ก.ค. พ.ศ.2491 เวลา15.05น.

    ณ.วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี

    โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระอาจาย์แดง (พระครูญาณวิลาส แดง) วัดเขาบันไดอิฐ

    พระกรรมวาจาจารย์ พระอาจาย์ผ่าน วัดยาง

    พระอนุสาวนาจารย์ พระมหาผล(พระครูพิทักษ์พุทธไสยาสน์) วัดพระนอน

    ได้รับฉายาว่า กนฺตสาโร

    หลังจากอุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษา ณ.วัดยาง ต.คลองระนง อ.เมือง จ.เพชรบุรี

    ได้มุ่งมั่น ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยทางบาลีจนสามารถสอบธรรมสนามหลวงได้ เปรียญธรรม4ประโยค

    ต่อมาย้ายมาอยู่วัดเขาบันไดอิฐ ราวปี2502 เพื่อต้องการศึกษาทาง สมถวิปัสสนากรรมฐาน

    *หมายเหตุ ลูกศิษย์เคยถามหลวงปู่ว่า หลวงปู่อยู่ที่วัดยางกี่ปีครับ ท่านตอบว่า11ปี ฉนั้นก็น่าจะประมาณปี พ.ศ.2502หรือใกล้เคียง

    ที่ท่านย้ายมาวัดเขาบันไดอิฐ

    เตี่ยเต็งเล้ง แซ่เจี่ย มาหาท่านปี พ.ศ.2502

    เฮียเก็งไล้มาหาท่าน ปีพ.ศ.2506

    ทั้ง2ท่านเป็นศิษย์ยุคแรก ที่มาหาท่านและท่านอยู่ที่ถ้ำสว่างอารมณ์แล้ว ดังนั้นจึงประมาณได้ว่าหลวงปู่น่าจะขึ้นมาอยู่ที่ถ้ำ

    อย่างน้อยที่สุดคือปี2502 จนถึงแก่มรณภาพ รวมแล้วหลวงปู่อยู่ที่ถ้ำสว่างอารมณ์ประมาณ 55ปี และอยู่องค์เดียวมาตลอด


    หลวงปู่พระมหาเจียน กนฺตสาโร

    ชาตะ 4 ก.พ.2471

    อุปสมบท 17ก.ค.2491

    มรณภาพ 17ม.ค.2557

    อายุรวม86ปี แต่หลวงปู่เคยพูดเอาไว้ว่าต้องผ่านวันที่4ก.พ.(วันเกิด)ไปก่อน จึงจะครบ ฉะนั้นอายุตามที่บอกก็

    น่าจะประมาณ 85ปี 11เดือน 17 วัน


    ...ในความทรงจำของศิษย์ที่มีต่อหลวงปู่ฯ...

    *เรื่องต่อไปนี้เป็นบันทึกเรื่องราวที่ผมได้พุดคุยกับศิษย์ยุคก่อนเกี่ยวกับหลวงปู่ ซึ่งบางเรื่องก็จดไว้บางเรื่องก็จำเอา

    ดังนั้นหากมีข้อผิดพลาดหรือถ่ายทอดไว้ไม่ครบกระผมต้องขออภัยทุกท่านด้วย

    1.ศีล สมาธิ ปัญญา

    หลวงปู่เป็นพระที่พูดน้อย ธรรมะหรือคำสอนที่ท่านให้กับศิษย์ จึงมักจะเป็นคำสอนสั้นๆ และหลวงปู่ก็ไม่ได้เลือกว่าจะต้องเทศน์ตอนนั้น

    ตอนนี้ ขึ้นอยู่กับโอกาสเวลาที่เหมาะสม หรือต้องการจะสอนให้ตรงกับใจตรงกับส่วนที่บกพร่องศิษย์คนนั้นๆ ให้ได้จดจำไป

    หลวงปู่เคยพูดถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้ว่า

    ศีล คือความสำรวมในกาย วาจา

    สมาธิ คือตั้งใจมั่น

    ปัญญา คือความรอบรู้ในกองสังขาร



    2.เทศน์ของหลวงปู่ฯ

    เรื่องนี้เป็นบันทึกของศิษย์ท่านหนึ่งที่ได้ไปกราบท่านครั้งแรกแล้วหลวงปู่ได้สอนธรรมะให้ฟังแล้วบันทึกไว้

    ผมได้ขออนุญาตินำมารวบรวมไว้ครับ

    ..."หลังจากผมเดินทางไปถึงวัดเขาบันไดอิฐ แล้ว ผจญกับฝูง ลิง ฝูงบริวาร(สุนัข)เดินหลงทาง เหงื่อแตกเหมือนอาบน้ำ พร้อมหอบหิ้วสังฆทานยาของผมเพื่อจะไปถวายหลวงปู่ โทรศัพท์สอบถามทางกับพี่เปิดโลก อยู่ 2 รอบ จนในที่สุดไปถึงที่พำนักของหลวงปู่ประมาณ 9 โมงเช้า จึงได้ทราบว่าตอนนี้หลวงปู่ ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่

    ระหว่างนั่งรอหลวงปู่ออกจากห้องก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับโยมอุปัฏฐากของหลวงปู่ ถึงเรื่องสารทุกข์สุขดิบเรื่องต่างๆ จนกระทั่ง ผู้ดูแลหลวงปู่บอกว่า ถึงตอนนี้หลวงปู่ จะชราภาพมากแล้วและมีโรคประจำตัวคือเบาหวาน(เดินไม่สะดวกแล้ว) แต่ทุกกึ่งเดือน ลูกศิษย์ของท่าน จะต้องนำท่าน(โดยให้ท่านนั่งเสลี่ยงแล้ว 4 คนช่วยกันแบกไป) ลงพระอุโบสถวัดเขาบันไดอิฐเพื่อฟังสวดพระปาฏิโมกข์ อีกทั้งผู้ดูแลฯ ยังเล่าเกร็ดเล็กๆน้อยๆของหลวงปู่ให้ผมฟังไปเรื่อยๆ

    จนกระทั่ง 9.50 หลวงปู่ ออกมาจากห้อง ผู้ดูแลฯ ได้จัดเตรียมของให้ผมเพื่อถวายสังฆทาน โดยก่อนหน้านั้นผู้ดูแลฯ ได้บอกกับผมว่า ให้พยายามชวนท่านคุยนะ ท่านจะไม่ค่อยพูด ที่จะพูดต้องเป็นสาระหรือเรื่องจริงเท่านั้นท่านถึงจะพูด

    เมื่อท่านออกมาจากห้องแล้ว ผมก็ถวายสังฆทาน ท่านก็ให้พรตามธรรมดาทั่วไป แต่ท่านก็ไม่ได้พูดอะไรกับผม ไม่ได้ถามผมด้วยซ้ำว่ามาจากไหน มายังไง(คือตั้งแต่ผมเห็นท่านและเข้าไปกราบท่าน ท่านไม่พูดอะไรกับใครเลยด้วยซ้ำ) พอท่านให้พรเสร็จท่านก็มองหน้าผมแล้วยิ้ม เป็นอย่างนี้ซักประมาณ 2-3 นาที แต่สำหรับผมเหมือนกับนานเป็นชั่วโมงเลยครับ จนกระทั่งผมทนไม่ไหวกับความเงียบสงบ เลยถามเรื่องสุขภาพของท่าน ท่านก็ไม่ตอบมองหน้าผมแล้วก็ยิ้ม เป็นอย่างนี้อีกประมาณ 5 นาที

    จนกระทั่งผู้ดูแลฯ เห็นทั้งท่านและผมไม่มีการสนทนาอะไร จึงบอกว่าชวน เอ้า!ชวนท่านคุยซิ ผมเลยพูดตรงๆว่า ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าจะคุยอะไรกับท่าน เพราะในใจผมคิดแค่จะมากราบท่าน,ขอพระ และพาแฟนมาทำบุญวันเกิด เท่านั้น ส่วนเรื่องการปฎิบัติธรรม ผมมีวิธีปฎิบัติของผมอยู่แล้ว ไม่รู้จะถามไปทำไมศึกษาจากครูบาอาจารย์มาก็เยอะ อ่านหนังสือมาก็มาก ( อันนี้คิดในใจนะครับไม่ได้พูดออกไป)

    อีกซักประมาณ 2-3 นาที ท่านก็หยิบแว่นตาขึ้นมาใส่ แล้วชะโงกหน้ามาเหมือนจะมองหน้าผมให้เห็นชัดๆ แล้วท่านก็นั่งนิ่งไปอีกซักพัก ผมยิ่งรู้สึกอึดอัดมาก ผมเลยจะกราบลาท่าน ขณะที่ผมกราบท่านแล้วกำลังจะเอามือดันตัวจะลุกขึ้น

    ทันใดนั้น อยู่ๆท่านก็พูดขึ้นมาว่า “อันเสียงที่เราได้สัมผัสฟังแล้วไพเราะเสนาะหู เป็นที่ชอบใจ” นั่นเป็นประโยคแรกที่ท่านพูดกับผม มันเหมือนฟ้าผ่ามากเลยครับ คืออยู่ดีๆก็ผ่าเปรี้ยงลงมาแบบไม่ทันตั้งตัว ผมเลยต้องรีบนั่งลงแล้วพนมมือ ใจก็คิดว่าจะให้แฟน(ตอนนั้นนั่งพนมมืออยู่หลังผมและกล้องอยู่ที่แฟน) ถ่ายเป็นคลิปเอาไว้เพื่อเอามาเรียบเรียงและเผยแพร่ แต่กลัวว่าถ้าหันหน้าไปแล้วท่านจะหยุดสอนและอีกอย่างไม่อยากจะพลาดสาระสำคัญที่ท่านสอนอารมณ์กรรมฐาน เลยไม่ทันได้ทำอะไรซักอย่างนอกจากนั่งฟังแล้วมาสรุปให้พี่ๆน้องๆฟัง แต่อาจจะไม่ครบทุกคำพูดนะครับ

    ท่านพูดต่อว่า อันรสที่เราสัมผัสแล้วเป็นที่พึงพอใจ แล้วท่านก็อธิบายเรื่องผัสสะและอายตนะซึ่งเป็นเครื่องปรุงแต่งที่ทำให้เกิดความลุ่มหลงมัวเมาจนครบทั้ง 6 แล้ว ท่านก็สอนกรรมฐานต่อว่าด้วยปัญจกรรมฐานว่าด้วยขน ผม เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้เพิกถอนตัวให้พ้นจากการลุ่มหลงมัวในเมาในผัสสะและอายตนะ โดยท่านยกตัวอย่างขึ้นมา 1 ข้อ

    เช่น “ผม” ท่านอธิบายว่ากรรมฐาน 5 นั้น จะเป็นปฎิบัติให้เป็นสมาธิก็ได้เป็นวิปัสสนาก็ได้ให้เลือกเอา ยกตัวอย่างเช่น (ประโยคในย่อหน้านี้เป็นคำพูดของท่านนะครับผมจำได้ขึ้นใจ) ผม ถ้าภาวนาว่า ผม ผม ผม หรือ เกศา เกศา เกศา จนกระทั่งจิตสงบ อันนี้คือสมาธิ ส่วนวิปัสสนานั้น เป็นสิ่งที่พิจารณาให้รู้แจ้ง ท่านสอนแค่นั้นแล้วท่านก็หยุดแบบผมไม่ทันตั้งตัว

    ผมนั่งพนมมือมองท่านอีกประมาณ 5 นาที ท่านก็มองหน้าผมแล้วยิ้มโดยไม่มีคำสอนใดออกมาอีก ผมเลยถามท่านถึงการปฎิบัติที่ผมติดขัด โดยหวังว่าท่านจะตอบให้ผมหายข้องใจซะที หลังจากที่ผมถามไปประมาณ10 นาที ท่านก็นั่งนิ่งโดยไม่ได้ตอบปัญหาของผม ระหว่างนั้น ได้มีหมอจากโรงพยาบาลศิริราช และบรรดาญาติๆ รวมถึงผู้ศรัทธาท่านอื่น ทยอยกันมากราบท่านเป็นระยะ ผมเลยกราบท่านแล้วหลีกไปนั่งรอรับพรอีกครั้งหลังท่านฉันเพล

    ถ้าพี่ๆน้องๆอ่านถึงตอนนี้ อาจจะคิดว่าเรื่องกรรมฐาน 5 ใครๆที่ศึกษาเกี่ยวกับสมาธิก็รู้ การยกจิตขึ้นวิปัสสนา ในตำราก็มีให้อ่านเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่มันไม่ใช่ความรู้สึกและอารมณ์เดียวกันกับผมที่สัมผัสได้ครับ คำพูดของท่านแทงเข้าไปที่จิตใจผม มีความชัดเจนและสว่างไสว เปรียบเสมือนเวลาเราได้ยินข่าวว่าญาติคนโน้นเสีย ญาติอื่นตาย เราคงจะรู้สึกเฉยๆ แต่ถ้าเป็นญาติของเรา เป็นเรื่องที่เกิดเกี่ยวข้องกับเรา เราจะมีอารมณ์และความรู้สึกร่วมอย่างชัดเจน ฉะนั้นผมถึงบอกว่า อารมณ์ที่ผมได้สัมผัสจากคำสอนของท่าน มันแทงเข้าไปในจิตใจ

    จนกระทั่งผมกลับ ผมทบทวนเรื่องที่ท่านไม่ตอบคำถามผมอยู่ตลอดว่าทำไม ผมถึงเข้าใจว่า “สิ่งที่ผมถามเป็นสิ่งที่ผมเคยปฏิบัติ” ผมตั้งวัตถุประสงค์ไว้ผิดเพราะมิได้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ท่านจึงไม่ตอบ ท่านจึงได้เมตตาสอนวิธีปฏิบัติสมาธิที่เป็นไปเพื่อความขจัดความยึดมั่นให้กับผมไปปฏิบัติ นั่นคือจบไม่มีสิ่งที่ต้องพูดอีก เหลือแต่เราจะนำไปปฏิบัติหรือไม่ ผมเคยอ่านเจอว่า “อุปัชฌาย์ ผู้มากด้วยสติปัญญานั้น พึงสอนปัญจกรรมฐานให้แก่กุลบุตร” ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งก็วันนี้เอง

    จนกระทั่งช่วงบ่ายพี่ผม โทรศัพท์มาสอบถามเรื่องการเดินทางด้วยความเป็นห่วง ก็คุยกันหลายเรื่อง ผมเลย เอะใจขึ้นมาเรื่องหนึ่ง ก็เลยถามกับแฟนว่าตั้งแต่เราไปกราบท่าน นอกจากเราแล้วเห็นหลวงปู่ พูดคุยกับใครบ้างหรือเปล่า

    แฟนผมตอบว่า “ไม่เห็นท่านพูดกับใครเลยนะ ไม่ว่าใครจะเข้าไปพูดอะไรท่านก็พยักหน้าแล้วก็ยิ้มเฉยๆ” นั่นยิ่งทำให้ผมเกิดปีติยิ่งขึ้นไปอีก

    สุดท้ายต้องขอบพระคุณพี่เปิดโลก/พี่ดอกรัก อีกครั้งนะครับ ในความเป็นกัลยาณมิตร ให้ผมได้พบกับมงคลของชีวิต “บูชาบุคคลผู้ควรแก่การบูชา เป็นมงคลของชีวิตอย่างยิ่ง” สมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มองเห็นธงชัยของพระอรหันต์ชัดเจน ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ผมกับแฟนได้กระทำให้กับพวกพี่โดยเท่าเทียมกัน

    ปล.เรื่องเล่านี้อาจจะยาวไปหน่อยนะครับ ผมอยากให้ทุกคนพบกับสิ่งที่เป็นมงคลกับชีวิตเหมือนอย่างผม และขอแบ่งปันบุญกุศลที่ผมได้กระทำมาต่อพี่ๆน้องๆเพื่อนๆ ที่ได้อ่านในสิ่งที่ผมเขียนทุกท่านครับ สาธุ


    3.ธุดงค์หรือเปล่า

    ครั้งหนึ่งมีศิษย์ขึ้นไปกราบหลวงปู่ฯที่ถ้ำ สนทนาในเรื่องทั่วๆไป แล้วก็เลยถามหลวงปู่ว่า

    "หลวงปู่ครับ ตั้งแต่บวชมานี่หลวงปู่เคยไปธุดงค์บ้างไหมครับ"

    ที่ศิษย์ถามเรื่องนี้ก็เป็นเพราะต้องการอยากทราบประวัติชีวิตของท่านบ้าง หรือถ้าโชคดีก็อาจจะได้ฟังเรื่องราวธุดงค์ในสมัยหนุ่มๆของหลวงปู่

    บางทีอาจจะมีเรื่อง ประสบการณ์ธุดงค์แปลกๆบ้างก็ได้

    แต่สิ่งที่หลวงปู่ตอบมาสั้นๆ ตามอุปนิสัยของท่านก็มีแค่ว่า

    "แล้วที่อยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่ธุดงค์หรือ"

    ทำให้ศิษย์ท่านนั้นถึงกับอึ้ง และประจักษ์แก่ใจว่า แท้จริงแล้ว ที่หลวงปู่ปลีกวิเวกมาอยู่ในป่าในถ้ำ กว่าค่อนชีวิตของท่าน การปฏิบัติของท่าน

    ก็เป็นหนึ่งในธุดงค์วัตรทั้ง13 นั้นเอง ดังนั้นถึงแม้ว่าหลวงปู่จะไม่ได้เดินทางธุดงค์ไปไกลๆเหนือจรดใต้ แต่สิ่งที่ท่านทำมาตลอดก็คือการธุดงค์นั้นเอง


    4.ดูด้วยตา อยู่ที่ใจ...

    ในยุคแรกๆนั้น ยังมีคนมาหามานับถือหลวงปู่ไม่มากนัก แต่ก็มีศิษย์ท่านหนึ่ง ที่นับถือหลวงพ่ออย่างมาก

    เพราะในช่วงวัยกลางๆของหลวงปู่นั้น เขาได้เห็นอภินิหารหลายครั้งของหลวงปู่ และก็ได้นำไปบอกเล่า

    ให้ผู้อื่นฟัง (ไม่ได้เล่าต่อหน้าหลวงปู่) หวังที่จะบอกถึงความเก่งของครูบาอาจารย์ของตน จนวันหนึ่งที่เขาไปกราบหลวงปู่

    หลวงปู่กลับจ้องมองหน้าเขาอย่างไม่วางตา แล้วพูดกับเขาสั้นๆช้าๆว่า

    " ดูด้วยตา เห็นด้วยใจ อย่าอวด! "

    ท่านบอกเขาเพียงเท่านี้ แต่หลังจากนั้นเขาก็ไม่คุยเรื่องอภินิหารให้ใครฟังเป็นสาธารณะอีก

    พี่ท่านนี้ได้บอกกับผมว่า สิ่งที่ท่านทำนั้นท่านทำให้เราเห็นคนเดียว เพื่อต้องการให้เราได้รู้ได้เห็น

    แต่เรากลับเอาไปพูดจนมากเข้าท่านจึงตำหนิ

    เพราะท่านเองไม่ได้ต้องการความมีชื่อเสียงแต่อย่างใด คนทำหนังสือพระมาขอประวัติจะเอาไปลงท่านยังไม่ให้เลย


    5.มหาก็เป็นแล้ว

    ในงานสวดพระอภิธรรมของหลวงปู่ มีพระคุณเจ้ารูปหนึ่งได้มาในงาน แล้วได้เล่าให้ศิษย์ของหลวงปู่ฟังว่า ท่านบวช

    เป็นเณรอยู่ที่วัดยาง พร้อมกับในขณะนั้นที่หลวงปู่เจียน ก็บวชเป็นพระอยู่ที่วัดยางเช่นกัน และท่านเองก็ได้เรียนนักธรรม

    เรียนเปรียญ อยู่ในรุ่นๆเดียวกับหลวงปู่ ท่านเองได้เปรียญ4ตั้งแต่เป็นเณร และได้เปรียญ5ตอนเป็นพระภิกษุ

    (ปัจจุบันท่านอายุ70กว่า และเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาลูกช้าง จ.เพชรบุรี)

    ท่านเล่าว่า หลังจากที่หลวงปู่เจียนได้เปรียญ4(มหา) แล้ว ท่านก็ได้ปรารภถึงการแสวงหาโมกขธรรม เพื่่อถึงซึ่งความ

    หลุดพ้น โดยท่านได้ปรารภก่อนที่จะเดินทางมาอยู่ที่ถ้ำสว่างอารมณ์ ว่า

    "นักธรรมก็ได้เเล้ว มหาก็ได้แล้ว ลองดูซิ โสดาบันเป็นอย่างไร"

    และนี่คือมูลเหตุแห่งการที่หลวงปู่ได้ย้ายมาที่วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อต้องการศึกษาและปฏิบัติ

    ทั้งๆที่ในยุคสมัยที่หลวงปู่ได้เปรียญ4นั้น พระที่เป็นเปรียญเป็นมหา มีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไปในทางการปกครองสงฆ์อยู่มาก

    นับว่าเป็นการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวและเข้มแข็งมากทีเดียว


    6.ภาวนายังไงครับ

    ครั้งหนึ่งมีศิษย์ของหลวงปู่ถามท่านว่า "หลวงพ่อ...ถ้าจะภาวนานี่ทำยังไงครับ"

    หลวงปู่ได้สอนวิธีภาวนาให้กับศิษย์ท่านนี้ว่า

    "ให้พิจารณาลมหายใจ

    เข้ายาว ก็รู้ว่า เข้ายาว

    เข้าสั้น ก็รู้ว่า เข้าสั้น"

    แล้วต้องท่องพุทโธไหมครับ ศิษย์ถาม หลวงปู่ได้สอนต่อว่า

    "ไม่ต้อง ให้พิจารณา ลมหายใจ

    ออกยาว ก็รู้ว่า ออกยาว

    ออกสั้น ก็รู้ว่า ออกสั้น

    ต้นลมอยู่ที่ปลายจมูก กลางลมอยู่ที่หน้าอก ปลายลมอยู่ที่สะดือ

    พอหายใจออก

    ต้นลมอยู่ที่สะดือ กลางลมอยู่ที่หน้าอก ปลายลมอยู่ที่ปลายจมูก

    นี่เป็นการภาวนาที่หลวงปู่ได้เคยสอนไว้ครับ ผมได้บันทึกมาจากคำบอกของศิษย์ท่านนั้น


    7.คาถา

    หลวงปู่นั้นท่านเป็นพระที่พูดน้อย น้อยมาก ดังนั้นในหลายๆครั้งจะพบว่า เราได้คุยได้ถามหลวงปู่ถึงเรื่องต่างๆ

    แต่หลวงปู่ก็ไม่ได้ตอบอะไร นั่งยิ้มมองดูเราซะเฉยๆอย่างนั้น แต่บางครั้งเมื่อโอกาสเวลาเหมาะอยู่ดีๆหลวงปู่ก็จะพูด

    จะถาม หรือสอน โดยที่เราไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน และเท่าที่พบถ้าเป็นเรื่องทางโลกๆ แล้วหลวงปู่มักจะนิ่งเฉย

    ผมเองเคยเห็นศิษย์ท่านหนึ่ง ไปกราบหลวงปู่ แล้วนั่งไปนั่งมา ก็ถามหลวงปู่ว่า เขากำลังจะขายรถ จะขายได้ไหมครับหลวงปู่

    ซึ่งหลวงปู่ก็มองและยิ้มเฉยๆอย่างนั้น เขาพนมมือรอคำตอบจนนานแต่หลวงปู่ก็ไม่ได้ตอบอะไร

    หรือแม้กับตัวผมเองในช่วงแรกๆ ก็ถามเรื่องโลกๆกับหลวงปู่ เช่นครั้งหนึ่งผมเอารูปของเพื่อนที่ลงสมัครเลือกตั้งในสนามการเมืองท้องถิ่น

    ผมเอาไปให้หลวงปู่ให้พร หลวงปู่ก็ให้พร แต่พอผมถามว่าจะได้รับเลือกไหม หลวงปู่ยิ้มและก็นิ่งไม่ตอบ

    หรือแม้แต่บางครั้งผมถามหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ ผีมีจริงไหมครับ"

    คราวนี้หลวงปู่ยิ้มแบบขันๆ แต่ก็ไม่ตอบเหมือนเคย สำหรับหลวงปู่แล้วเรื่องทางโลกๆ ที่เรานำไปหาท่าน กลับเป็นเพียงสายลมเท่านั้นเอง

    แต่ในบางครั้งที่ไม่ได้ถามอะไรแต่หลวงปู่กลับบอกออกมาเองก็มี

    ดังครั้งหนึ่งที่ลูกศิษย์ไปกราบท่าน แล้วก็เล่าให้ท่านฟังว่า แถวบ้านมีการลักขโมย เวลาเขาออกจากบ้าน ปิดประตูต้องท่องคาถา

    คำนี้ๆ(ผมจำมาไม่ได้) เพื่องป้องกันอันตรายต่างๆ หลวงปู่ก้ฟังๆ แล้วอยู่ดีๆท่านก็ท่องออกมาว่า

    "กันนัก กันหนา

    กันนอก กันใน

    กันสารพัดภัย

    อุทธัง อัทโธ

    อิติปิโิส ภควา"

    ลูกศิษย์ที่นั่งฟังในวันนั้นจึงจดจำไว้ แล้วถ่ายทอดกันมา จะถือว่าเป็นคาถาที่หลวงปู่ให้ไว้ก็คงพอได้นะครับ


    8.การมรณภาพพิสูจน์ธรรมที่สอนไว้

    ในช่วงชีวิตของหลวงปู่การเทศน์เป็นคำพูดนั้นดูจะน้อยเหลือเกิน แต่การปฏิบัติให้ดู นั้นมากและเป็นที่ประทับอยู่ในใจ

    ของศิษย์ทั้งหลาย หลายๆท่านที่มากราบหลวงปู่ ในครั้งแรก อาจจะมีความรู้สึกเหมือนผมคือรู้สึกประทับใจในรอยยิ้ม

    ในความเป็นหลวงปู่ที่สงบนิ่ง และแม้ครั้งแรกที่ไปกราบท่านจะไม่ได้คุยอะไรเลย แต่กลับมีแรงดึงดูดให้ผมประทับใจและ

    อยากจะมาอีก เพราะผมรู้สึกว่าหลวงปู่องค์นี้แปลกเพราะ ไม่ว่าใครจะเอาเรื่องทางโลกมาถมทับมาทิ้งไว้กับท่าน

    แต่ท่านก็มิได้แสดงอารมณ์ หรืออาการขึ้นลง หรือใครเอาอะไรมาถวายท่านก็รับไว้โดยมิได้แสดงอาการใดๆนอกจากรอยยิ้มเมตตา

    ท่านอยู่ท่านทำราวกับว่า โลกเบื้องหน้านั้นเป็นเพียงอากาศธาตุที่ว่างเปล่า และท่านเพียงพิจารณาความเป็นไปของอากาศเหล่านั้น

    โดยมิได้ขึ้นลงหวั่นไหวไปตามโลกเลย

    และถ้าสังเกตในหลายๆครั้งที่หลวงปู่ได้เทศน์ท่านมักจะกล่าวถึงสติ การมีสติ การพิจารณาด้วยสติ

    เหมือนที่หลวงปู่เคยพูดไว้ว่า

    "ทำอะไรให้รู้อยู่"

    เมื่อพิจารณาจากคำที่ท่านสอน การประพฤติที่ท่านทำ จะเห็นได้ว่าหลวงปู่มีสติไม่หวั่นไหวไปตามโลก

    แม้กระทั่งในการมรณภาพของท่าน ...

    ในวันที่17ม.ค.2557 เป็นเวลาเย็นราว5โมงกว่า หลวงปู่ซึ่งรักษาตัวอยู่ที่ ร.พ. หลวงปู่มีอาการสำลัก มีอาการไอ

    และมีอาการทรุดหนักลง ......

    หลวงปู่ได้สั่งให้ลูกศิษย์ที่ดูแล ถอดสายยาง สายต่างๆที่ต่ออยู่กับตัวท่านออกให้หมด

    หลังจากนั้นหลวงปู่ได้เปลี่ยนไปนอนตะแคง และก็ค่อยๆหายใจช้าลงๆ และมรณภาพไปด้วยอาการสงบ

    โดยที่ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากท่ามกลางความตกตะลึงของศิษย์ที่เฝ้าพยาบาลอยู่

    หลวงปู่จากไป ด้วยความมีสติเหมือนกับที่ท่านได้เคยสอนเหล่าศิษย์ไว้นั่นเอง

    ท่านได้พิสูจน์คำสอนให้เราเห็นตราบจนวาระสุดท้าย


    9.พระมหาเจียน

    ในพรรษาสุดท้ายก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพไม่นาน ได้มีศิษย์คณะหนึ่งได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ(องค์ใหญ่)

    โดยหลังจากหล่อเป็นองค์พระแล้ว ก็ได้นำขึ้นมาไว้ที่ถ้ำฯ ตั้งไว้บนฐานปูนยกพิ้นตรงข้ามกับที่หลวงพ่อนั่งรับแขก

    และได้ว่าจ้างช่างมาทำการลงรักปิดทองให้งดงาม ซึ่งในระหว่างนั้นหลวงพ่อท่านก็เสกของท่านไปเรื่อยๆ

    เมื่อทำการตกแต่งเสร็จคณะผู้สร้างจึงได้ขึ้นไปถามหลวงพ่อว่า

    "หลวงพ่อครับพระพุทธรูปองค์นี้จะให้ชื่อว่าอะไรดีครับ"

    "จะเอาชื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไหนครับ"

    ที่ถามแบบนี้เพราะว่าที่ผ่านๆมาเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปถวาย หลวงพ่อก็จะตั้งพระนามของพระพุทธรูปเป็นพระนาม

    ของพระพุทฑเจ้าองค์ก่อนๆ เช่นพระพุทธรูปยืนที่หน้าถ้ำฯ หลวงพ่อท่านก็ตั้งพระนามตามพระพุทธเจ้าองค์ก่อนหน้าในภัทรกัปนี้

    คือพระโกนาคม และพระกัสสป เป็นต้น หรือหากว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีปางเฉพาะก็จะตั้งชื่อตามปางนั้นเช่น พระปางป่าเลไลยก์ เป็นต้น

    แต่สำหรับพระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ เมื่อคณะผู้สร้างถามท่านว่าหลวงพ่อจะให้นามว่าอะไร

    หลวงพ่อตอบสั้นๆว่า

    "พระมหาเจียน"

    คณะผู้สร้างจึงได้สลักนามไว้ที่ฐานผ้าทิพย์ ตามที่หลวงพ่อสั่ง นับเป็นพระพุทธรูปองค์สุดท้ายในชีวิตของหลวงปู่

    **หมายเหตุ:สำหรับเรื่องนี้ผมลังเลอยู่นานว่าจะเขียนดีหรือเปล่า เพราะมีหลายๆประเด็นให้คิด แต่เมื่อหวนคิดถึง

    เมื่อครั้งที่ตนเองไปที่ถ้ำแล้วเห็นนามของพระที่สลักไว้ที่ฐานแล้ว ก็ยังนึกตำหนิในใจว่าไม่น่าเขียนโดยพลการแบบนี้

    โดยที่ไม่ทราบความเป็นมาที่แท้จริง กลับนึกตำหนิผู้สร้างผมต้องขอขมาไว้ ณ.ที่นี้ด้วย จึงคิดว่าสมควรที่จะบันทึกเรื่องนี้ไว้

    น่าจะเป็นการดีกว่า

    ส่วนสำหรับปริศนาธรรมที่หลวงพ่อทิ้งไว้ นั้นผมว่าลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง


    10.กนฺตสาโร

    กนฺตสาโร คือฉายาของหลวงพ่อ แปลได้ความว่า

    "ผู้มีแก่นแท้อันเป็นที่รัก"

    ซึ่งตรงกับอุปนิสัยของท่านเป็นอย่างยิ่ง การที่หลวงพ่อเป็นที่รัก ที่ศรัทธา ต่อเหล่าศิษย์นั้นเกิดขึ้นเพราะธรรมภายในของท่านล้วนๆ

    สำหรับผมแล้วผมก็บอกไม่ถูกว่าทำไมผมถึงรัก ศรัทธา ในหลวงพ่อ ทั้งๆที่ตลอดเวลาที่เทียวไปหาหลวงพ่อที่เพชรบุรีนั้น

    ท่านไม่เคยพูดกับผมเลย

    อย่างดีก็พยักหน้า เท่านั้นเอง แม้ในภายหลังผมได้ชักชวนเพื่อนไปกราบหลวงพ่ออีก2ท่าน หลวงพ่อก็ไม่ได้พูดอะไรกับเพื่อนผมเหมือนกัน

    คงมีแต่ยิ้มน้อยๆแบบเมตตาเท่านั้นที่มอบให้ทุกคน

    แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า เพื่อนผมอีก2คน กลับมีความต้องการที่จะกลับมากราบหลวงพ่ออีกครั้ง และอีกครั้ง และก็ได้มาประจำเมื่อ

    มีเวลาว่าง จนดูเหมือนว่าจะศรัทธามากกว่าผมซะด้วยซ้ำไป ทั้งๆที่หลวงพ่อก็ไม่เคยพูดอะไรกับทั้ง2คนเหมือนกัน

    แม้เมื่อหลวงพ่อมรณภาพ เมื่อเขาทราบในบ่ายของงานสวดวันที่2 ตกเย็นก็มางานทันที และ ตกกลางคืนก็นอนเฝ้าหลวงพ่ออยู่ในถ้ำ

    เช้ากลับไปทำงานเย็นมาใหม่ให้ครบที่ตั้งใจไว้ว่ามาจนครบสวด9คืน เป็นการแสดงคารวะและอาลัยให้กับหลวงพ่อเป็นครั้งสุดท้าย

    ทั้งที่ปกติแล้วเพื่อนผมนั้นเป็นผู้ที่มีภาระในธุรกิจค่อนข้างรัดตัว แต่ด้วยความรักในหลวงพ่อ ในแก่นแห่งธรรมของหลวงพ่อ

    จึงมาจนครบตามที่ตั้งใจ

    การที่ผมเขียนล้ำเข้าไปในเรื่องของเพื่อนตัวเองนั้นก็เพื่อยกตัวอย่างที่ชัดเจนและเขียนได้ง่ายที่สุด ซึ่งศิษย์ท่านอื่นๆที่มีความรักและศรัทธา

    ในแก่นแห่งธรรมของหลวงพ่อก็ยังมีอีกมากมาย แต่ผมยังมิได้ขออนุญาติท่านเจ้าตัวจึงมิกล้าจะเขียนถึงนะครับ



    ปัจจุบันร่างของหลวงปู่ยังเก็บไว้ที่ถ้ำสว่างอารมณ์ หากท่านใดมีโอกาสไปไหว้พระที่เขาบันไดอิฐท่านสามารถขึ้น

    ไปกราบหลวงปู่ได้นะครับ

    สำหรับบันทึกประวัติและเรื่องราวของหลวงพ่อมหาเจียน กนฺตสาโร ที่ผมเขียนนี้นับเป็นส่วนน้อยในเรื่องทั้งหมด

    ทั้งนี้เพราะผมเป็นผู้ที่เข้าไปในชั้นหลัง ได้รับรู้เรื่องราวมาน้อยประกอบกับมีภูมิลำเนาที่ห่างออกไป จึงมิได้ไปหาหลวงพ่อฯบ่อยๆ

    และไม่มีโอกาสได้สนทนากับศิษย์ที่ได้สัมผัสหลวงพ่อฯในยุคแรกๆ ทำให้ไม่อาจบันทึกเรื่องราวไว้ได้มาก

    ผมได้แต่หวังว่า สักวันหนึ่งจะมีผู้ที่รวบรวมประวัติของหลวงพ่อ... หลวงพ่อของเรา ไว้ได้มากกว่านี้

    การเกิดขึ้น การคงอยู่ การจากไป ของหลวงพ่อ ล้วนแต่เต็มไปด้วยธรรม และเป็นประโยน์ให้ผู้ที่ยังอยู่


    "ประวัติวีรบุรุษไซร้ เตือนใจ เรานา

    ว่าอาจจะยังชนม์ เลิศได้

    แลยามจะบรรลัย ทิ้งซึ่ง

    รอยบาทเหยียบแน่นไว้ แทบพิ้น ทรายสมัย"

    พระราชนิพนธ์ของล้นเกล้า ร.6


    ขอได้รับความขอบคุณจากผม หนึ่ง สมุทรสาคร

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อเจียนปี 2535 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับวัตถุมงคลท่านสร่างไม่เยอะครับ
    ลพ.เจียน.JPG ลพ.เจียนหลัง.JPG
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญที่ระลึกงานผูกพันธสีมา ปี 18 วัดคันลัด (พิธีใหญ่+เกจิดัง)
    เหรียญที่ระลึกงานผูกพันธสีมา ปี 2518 วัดคันลัด ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ หน้าเป็นองค์พระพุทธชินราช หลังหงษ์ เนื้อทองแดง สภาพสวยและหายากมาก พุทธาภิเษกพิธีใหญ่ โดยหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และ พระเกจิแห่งยุคนั้นจำนวนมากได้แก่ หลวงปู่โต๊ะ, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว , หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม , หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หลวงปู่เย่อ วัดอาษาสงคราม ฯลฯ เพื่อแจกในงานผูกพันธสีมาวัดคันลัด ประสบการณ์สูงมาก คนในพื้นที่ หรือ ผู้ที่ทราบถึงประวัติการสร้างจะเก็บกันหมด

    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาท(ปิดรายการ)

    ลพ.หล่อ.JPG ลพ.หล่อหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2018
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    ประวัติโดยสังเขป
    พระครูวุฒิวรคุณ
    อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญผล

    สถานเดิม
    พระครูวุฒิวรคุณ นามเดิม วุฒิ นามสกุล หลวงกิจจา นามฉายา คุณธมฺโม เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ. บ้านเลขที่ 676 หมู่ 1 ต.บางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ บิดาชื่อ นายบุญมา มารดาชื่อนางทรัพย์ ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกัน ๑๐คน คือ-

    1 . พระครูวุฒิวรคุณ (วุฒิ หลวงกิจจา)
    2. นายนวล หลวงกิจจา
    3. นางพริ้ว หลวงกิจจา
    4. นายวิลาศ หลวงกิจจา
    5. นายบุญถึง ปัญญากา
    6. นางประเทือง ปัญญากา
    7. น.ส.บุญธรรม ปัญญากา
    8. น.ส.อุดม ปัญญากา
    9. นางมณี วจีสัจจะ
    10. นายบุญทิ้ง ปัญญากา

    อุปสมบท

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ณ พัทธสีมา วัดส้มเสี้ยว ต. ท่างิ้ว อ. บรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ โดยมีพระครูนิรุติธรรมธร(หลวงพ่อน้อย) วัดส้มเสี้ยว เป็นอุปัชฌาย์ และมีหลวงพ่อพระปลัดบุญเพ็งเป็นพระกรรมวาจารย์(คู่สวด)

    การจำพรรษา

    พ.ศ. 2472-2477 จำพรรษาอยู่ ณ วัดส้มเสี้ยว เป็นจำนวน 6 พรรษา
    พ.ศ. 2478-2534 จำพรรษา ณวัดเจิญผล ต . เจริญผล อ.บรรพตพิสัย 56 พรรษา

    [วิทยะฐานะ

    พ.ศ. 2462 ได้เข้าศึกษากับพระอาจารย์แก่น เจ้าอาวาสวัดมงคลสถิตย์ ต. บางตาหงาย จนอ่านออกเขียนได้
    พ.ศ. 2477 สอบนักธรรมเอก ได้ในสนามหลวง วัดส้มเสี้ยว สำนักเรียนคณะจังหวัดนครสวรรค์ มีความรู้ทางแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างดี จนสามารถรักษาคนไข้ในสมัยนั้นได้อย่างกว้างขวาง

    งานปกครอง

    พ.ศ. 2478 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเจริญผล อ.บรรพตพิสัย
    พ.ศ. 2491 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญผล
    พ.ศ. 2494 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะตำบลบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย
    พ.ศ. 2501 ได้รับแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ประเภทสามัญ

    งานด้านการศึกษา

    พ.ศ. 2476เป็นครูสอนปริยัติธรรมวัดส้มเสี้ยว อ. บรรพตพิสัย
    พ.ศ.2478 เป็นครูสอนปริยัติธรรมวัดเจริญผล อ. บรรพตพิสัย
    พ.ศ. 2491 เป็นเจ้าสำนักเรียนศาสนศึกษาวัดเจริญผล อำเภอบรรพตพิสัย
    พ.ศ. 2505 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ตรวจประโยคธรรมชั้นตรี สนามหลวง
    พ.ศ. 2512 ได้เป็นผู้อุปการะ ณ.ร.ร.ประชาบาลวัดเจริญผล อำเภอบรรพตพิสัย

    งานเผยแผ่

    พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำ ต. บางตาหงาย


    งานสาธารณูปการ

    พ.ศ. 2478-24-534 ได้ก่อสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถูภายในวัดเจริญผล ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อาทิ ก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ กุฏิ อุโบสถ ศาลาธรรมสังเวช เมรุ ห้องน้ำ กำแพงรอบวัด วิหารหลวงพ่อน้อย ณ.ร. วัดเจริญผล ซุ้มประตู และสิ่งก่อสร้าง ทั้งหมดภายในวัดเจริญผลอีกมากมาย

    พ.ศ. 2515 ได้เป็นประธานควบคุมการก่อสร้าง วัดเขาประตูชัย อ.ขาณุ

    พ.ศ. 2518 ได้เป็นประธานร่วมกับหลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู จัดสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิ พระพุทธรูปปางประธานพร และอื่นๆอีกมากภายในวัดสี่แพง อ. บรรพตพิสัย

    พ.ศ.2528 เป็นประธาน ก่อสร้างสำนักสงฆ์ วัดโพธิธรรมคุณาราม อ. บรรพตพิสัย

    สมณ ศักดิ์

    พ.ศ. 2493 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ ในฐานานุกรม ของพระครูนิรุติธรรมธร (หลวงพ่อเฉย)

    พ.ศ. 2506 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นตรี ที่ พระครูวุฒิวรคุณ

    พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระครูชั้นโทตามนามเดิม

    ปฏิปทา และศีลาจารวัตร

    พระเดชพระคุณพระครูวุฒิวรคุณ เป็นพระสงฆ์สุปฏิปันโน มีปฏิปทาและศีลาจารวัตร เป็นที่น่ายกย่องและความเคารพรักของสาธุชนทุกชั้นทั้งพระภิกษุ สามเณรและญาติโยม มีอัธยาศรัยนุ่มนวล สุภาพอ่อนโยน เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวท่าน อยู่ในตำแหน่งฐานะใดๆ ก็เหมาะสมกับฐานะนั้นๆ กล่าวคือ อัตตสัมมาปณิธิธรรมเป็นวัตรปฏิบัติ เป็นบุตรที่ดีของวงศ์ตระกูล เป็นศิษย์รักของครูบาอาจารย์ เป็นอาจารย์ที่ดีของศิษย์ สงเคราะห์ญาติอยู่เป็นนิจ เป็นกัลยาณมิตรแห่งมิตรทั้งปวง เป็นผู้สอนเป็นนักเทศน์ เป็นนักปฏิบัติ ตั้งตน อยู่ในธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ดังปรากฏปฏิปทาที่เด่นๆพอยกเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
    ความมั่นคงในหลักกตัญญูกตเวทิตาธรรม

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวุฒิวรคุณ ได้ปฏิการะเลี้ยงตอบแทนโยมมารดา บิดา เกื้อหนุนมิให้เดือดร้อนตลอดมา จวบจนทั้งท่านทั่งสองชราภาพตราบจนสิ้นชีวิต และได้นำศพมาบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจอย่างสมเกียรติ

    สำหรับอุปัชฌาย์อาจารย์ หลวงพ่อได้ปรนนิบัติทั้งภาระกิจส่วนตัวและสนองงานในหน้าที่ ไม่มีบกพร่องตลอดจนอายุขัย ของพระอุปัชฌาย์ กล่าวคือหลวงพ่อได้มาอยู่วัดเจริญผล ตั้งแต่หลวงพ่อมีพรรษา 7 โดยเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดของพระครูนิรุตติธรรมทร (หลวงพ่อน้อย) และอุปสมบท ก็ได้พระเดชพระคุณหลวงพ่อน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีพระปลัดบุญเพ็ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์(คู่สวด) พระอุปัชฌาย์และอาจารย์ทั้งสองนี้ เป็นแบบฉบับแห่งเนติแบบแผนประเพณีและการคณะสงฆ์เป็นอันมากตลอดชนมายุ

    พระเดชพระคุณพระครูวุฒิวรคุณ จึงนับได้ว่า ได้ครูดีเป็นแม่แบบ หลวงพ่อปฏิบัติภารกิจของศิษย์ที่ดีไม่มีบกพร่อง ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยยาก จะเห็นได้ว่า หลวงพ่อได้รับหลวงพ่อปลัดบุญเพ็งซึ่งอยู่จำพรรษาที่วัดส้มเสี้ยว มาอยู่จำพรรษา ณ วัดเจริญผลด้วย และหลวงพ่อปลัดบุญเพ็งอยู่ที่วัดเจริญผลได้ไม่นานก็มรณะภาพลง หลวงพ่อวุฒิ ก็ได้บำเพ็ญกุศลหน้าศพ 7 วัน 50 วัน 100 วัน ณ วัดเจริญผลอย่างสมเกียรติโดยลำดับ นั่นแสดงถึงความตั้งมั่นคงอยู่ในความกตัญญูกตเวทิตาธรรมตลอดมา
    ความดำรงมั่นคงอยู่ในพรหมวิหารธรรม

    หลวงพ่อวุฒิเป็นเอกลักษณ์เป็นเลิศในธรรมข้อนี้ หลวงพ่อเป็นผู้ตั้งความปราถนาดีต่อบุคคลทั่วไป ญาติมิตรศิษย์ใกล้ไกล เมื่อมีปัญหาหลวงพ่อได้ช่วยแก้ไขให้ทุกคนที่มาหาหมดทุกข์ เมื่อประสบความสำเร็จก็ได้ให้กำลังใจพลอยยินดี มอบรางวัลให้จะเห็นได้ จากที่พระลูกศิษย์ท่านสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ คือพระครูศรีนิทัศน์วรพรต (เจ้าคณะ อ. โกรกพระ )และพระมหาชิงชัย วชิรมโน เมื่อหลวงพ่อท่านทราบข่าว ท่านได้เรียกพระลูกศิษย์ให้กลับไปรับรางวัล แสดงว่า ท่านคอยให้ความสนับสนุน และให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลาที่หลวงพ่อท่านได้จัดส่งพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษาในสำนักเรียนทุกแห่ง เมื่อกรณีสุดที่จะแก้ไขไม่ได้ ก็ตั้งอยู่ในอุเบกขาไม่หวั่นไหว ปฏิปทาข้อนีปรากฏชัดเป็นลำดับต่อมา

    ปฏิปทาในสังคหวัตถุ

    ธรรมปฏิบัติอีกข้อหนึ่ง ที่ยกมากล่าวคือสังคหวัตถุธรรม หลวงพ่อถือปฏิบัติจนเป็นนิสัย กล่าวคือท่านเป็น ผู้ให้ ผู้บริจาคอย่างสม่ำเสมอ จนตลอดชีวิต หลวงพ่อไม่ใช่พระสะสม เป็นผู้เจรจาอ่อนหวานไพเราะ ไม่ทำลายน้ำใจคนมีจิตเป็นกุศลช่วยเหลือการงานร่วมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์เป็นประจำ หลวงพ่อได้ปฎิบัติตนต่อผู้อาวุโส และศิษย์ทั้งอยู่ไกลและอยู่ใกล้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิปทาข้อนี้นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีอีกประการหนึ่ง
    ด้านวัตถุมงคล

    พระที่ท่านทำขึ้นมาส่วนมากท่านจะทำแจกมากกว่าที่จะออกจำหน่าย ครั้งหนึ่งเคยมีเจ้าของหนังสือพระเครื่องรายหนึ่งมาหาท่านพร้อมที่จะขอนำประวัติท่านและวัตถุมงคลออกเผยแผ่ ท่านได้กล่าวว่า " ท่านไม่อยากที่จะดังอะไร พระท่านไม่มีราคาอะไร ทำแจกญาติโยมเฉยๆให้ไปหาหลวงพ่อพิมพาโน้น " เพราะท่านเป็นสหธรรมมิกกับหลวงพ่อพิมพา เท่าที่ลูกศฺษย์รวบรวมได้มีอยู่จำนวนหนึ่งพระแต่ละรุ่นของท่านล้วนมีประสบการณ์ประจักษ์ชัดให้ได้เห็นจนเป็นที่กล่าขวัญกันในอำเภอบรรพตและในกลุ่มลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดถึงความเป็นพระผู้มีอภิญญาจิตอันแก่กล้า ซึ่งจะขอยกตัวอย่างเป็นเรื่องๆที่ได้ยินมาจากผู้ที่ได้ประสบพบเห็นหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดในเหตุการณ์

    เหรียญปี 2520

    ลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อเป็นลูกคนจีนสมัยก่อนแกเป็นขาลุย โดนคัดเลือกได้เป็นทหาร สมัยนั้นทางปราจีนไม่ค่อยสงบตามแนวชายแดนได้ขอเหรียญปี2520 หลวงพ่อวุฒิไป แล้วไปลองยิง ด้วยปืนเอ็มสิบหก ปรากฏว่ายิงไม่ออก เมื่อมีเวลาได้ลากลับมาบ้าน จึงเข้าไปหาหลวงพ่อวุฒิพร้อมเล่าให้ท่านฟังถึงเรื่องการลองเอาพระท่านไปยิง หลวงพ่อท่านจึงต่อว่า ไม่ควรนำพระท่านไปลอง ห้ามลอง เมื่อถึงเวลาอำนาจพุทธคุณจะคุ้มครองเอง ถ้าไม่ถึงคราวตาย ท่านสั่งห้ามเลยตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครกล้านำพระท่านมาลอง ท่านกล่าวแต่ละคำเป็นความจริง วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์นัก ชาวบ้านตลาดเจริญผลรู้จักกันดีในเรื่องนี้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสุงครับ
    เหรียญหลวงพ่อห้อย ปี2520 รุ่นประสพการณ์ ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.ห้อย.JPG ลพ.ห้อยหลัง.JPG
     
  12. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +821
    จองครับ
     
  13. psp1

    psp1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +461
     
  14. psp1

    psp1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +461
    โอนแล้ว 251.- ส่งรายละเอียดในข้อความครับ
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    จัดส่ง

    ET 9837 7281 8 TH สมุทรปราการ

    ET 9837 7282 1 TH กันทรารมย์

    ขอบคุณครับ
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-phun/lp-phun-hist-01-01.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระปิดตา๙องค์หลังพระสิวลี ธุดงค์สถานน้ำตกกะอางค์ นครนายก เนื้อหามวลสารสายพระป่าปฎิบัติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยมีพระอาจารยฦ์ฝั้นอาจาโร อธิฐานจิต และครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ เช่น พระอาจารย์ จันทร์ เขมปัตโต พระอาจารย์กว่า สุมโน พระอาจารย์วัน อุตโม พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ พระอาจารย์สม พุทธจาโร พระอาจารย์พุธ ฐานิโย
    พิมพ์นี้หายากไม่ค่อยเจอสภาพสวยสมบูรณ์ๆ พระสร้างมาร่วม 40 กว่าปีครับ

    ให้บูชา 3500 บาทครับ

    %E0%B8%AD-%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-jpg.jpg %E0%B8%AD-%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1460547685
    ขอขอบคุณบทความที่มาข้อมุลอย่างสุงครับ
    พระปิดตาหลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.ทองหยิบ.JPG ลพ.ทองหยิบหลัง.JPG
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    http://www.tnews.co.th/contents/204590
    ขอขอบคุณบทความที่มาข้อมุลอย่างสูง
    เหรียญพ่อท่านคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ให้บูชา 70 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    พ่อคล้อย.JPG พ่อคล้อยหลัง.JPG
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    หลวงพ่อจำเนียน โชติธัมโม” เกิดเมื่อเดือน 4 ปีเถาะ พ.ศ. 2451 นามเดิม “จำเนียน เรืองศรี” เกิดที่ บ้านหัวไทร ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา บิดา-มารดาชื่อ “อุ้ย-ทอง เรืองศรี” เมื่อครั้งอุปสมบทมี “ท่านพระครูคลิ้ง” (พระครูอุเทศอัตตัญญู) วัดคลองรี ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระอาจารย์เหลือ ธรรมโฆติ” วัดประดู่หอม ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “พระอธิการขันธ์ ธมมรังสี” วัดกระดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า “โชติ ธัมโม” แปลว่า “ธรรมะอันสว่างไสว” หลังจากบวชแล้วได้ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน-เจริญกสิณ-เวทวิทยาคมจากสำนัก “วัดเขาอ้อ” โดยศึกษากับ “พระอาจารย์ยู” วัดปากพล อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง “อาจารย์ทวดขาว” ซึ่งเป็นฆราวาสจอมขมังเวทแห่ง จ.พัทลุง จนมีความเชี่ยวชาญทางพุทธาคมและมีลูกศิษย์ลูกหามากจึงได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นส่วนใหญ่ จะเป็นรูป “หลวงปู่ทวด” เพราะที่สำนักสงฆ์ต้นเลียบนี้เป็นสถานที่ “ฝังรก” ของ “หลวงปู่ทวด” ไว้ที่ “ใต้ต้นเลียบ” จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล “หลวงพ่อจำเนียน” มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2539 เวลา 21.20 น. ณ สำนักสงฆ์ต้นเลียบ สิริอายุ 100 ปี 40 พรรษา โดยก่อนมรณภาพมีเหตุอัศจรรย์ให้ลูกศิษย์ประจักษ์ เพราะท่านสามารถระบุวันละสังขารเหมือนท่านรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าโดยบอกว่า ก่อนเข้าพรรษา 7 วัน จะละสังขารจากนั้นท่านยังระบุไว้ในพินัยกรรมว่า “ร่างของท่านจะไม่เน่าเปื่อย” จะแห้งไปเองซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ท่านระบุทุกประการก็เป็นจริง ปัจจุบันสังขารธรรมของท่านยังคงสถิตอยู่ในโลงแก้ว ณ สำนักสงฆ์ต้นเลียบ ให้สาธุชนได้กราบไหว้ ขอพึ่งบารมีธรรมของท่านตลอดกาลนานสืบไป ท่านใดมีโอกาสเดินทางไปสงขลา ก็ไปกราบร่างของท่านได้ทุกวันจากนั้นไปสักการะ สถานที่ฝังรกของหลวงปูทวดจะมีมงคลมากขึ้น

    เหตุระเบิดที่อำเภอ 'รือเสาะ' จังหวัดนราธิวาส

    นับเป็นอีกเรื่องที่ต้องบอกว่า “เหนือความลิขิต” โดยแท้เนื่องจากเป็นเรื่องที่ “ไม่ธรรมดา” ทั้งที่ระหว่างเกิดเหตุมีผู้ที่โดน “ระเบิด” ครั้งนั้นหลายรายแต่ก็มี “ผู้หญิง” ผู้หนึ่งทั้งที่ยืนอยู่ในกลุ่มของผู้ที่โดนระเบิดซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุเพียง “10 เมตร” แต่ผู้หญิงคนนั้นกลับไม่เป็นอะไรเลยชนิด “เหนือลิขิต??... ประกาศิตฟ้าดิน ??” ตรงนี้ต้องสืบเสาะเจาะมานำเสนอเพื่อพิสูจน์ว่า “ปาฏิหาริย์” บนแผ่นดินไทยนี้ “ยังมีให้ประจักษ์” อยู่เสมอเพราะเหตุ การณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2550 นี้เองโดย “นางสำลี สมมิตร” อยู่บ้านเลขที่ 319/1 หมู่ 10 ต.รือ เสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส อายุ 55 ปี มีอาชีพเป็น “แม่บ้าน” ได้เผยถึงเหตุระทึกขวัญที่เกิดขึ้นกับนางว่า “ในวันที่ 4 สิงหาคม 2550 เวลาประมาณ 07.30 น. ได้ไปจ่ายตลาดตามปกติทุกวันที่ “ตลาดนัดสถานีรถไฟรือเสาะ” ขณะเดินอยู่ในตลาดห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 8-10 เมตร ก็ได้ยินเสียงระเบิด (รีโมตคอนโทรล) ที่ซุกอยู่ใต้เบาะ “รถจักรยานยนต์” ที่คนร้ายนำมาจอดไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ดังสนั่นปานฟ้าถล่ม ผลจากระเบิดปรากฏว่ารถจักรยานยนต์คันนั้นขาดออกเป็น “2 ท่อน” ส่วน “นางสำลี” เกิด “อาการช็อก” ทำอะไรไม่ถูก ยังยืนตะลึงอยู่กับที่กระทั่ง “เจ้าหน้าที่” ซึ่งประจำอยู่ “สถานีรถไฟ” ที่ห่างออกไปหลายสิบเมตรได้ยินเสียงระเบิดจึงหันมามองยังต้นเสียงระเบิดได้ตะโกนบอกให้หมอบลง “นางสำลี” จึงกุลีกุจอล้มตัวลงหมอบอย่างตกใจ

    ครั้นควันระเบิดจางผู้คนรวมทั้ง “เจ้าหน้าที่ตำรวจ” จึงกรูกันมาสำรวจความเสียหายปรากฏว่ามีผู้บาดเจ็บ “สาหัสถึง 2 ราย” ซึ่งทั้ง 2 รายนี้ล้วนยืนซื้อของอยู่ติดกับ “นางสำลี” นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บจาก “สะเก็ดระเบิด” อีก 6 คน (รวม 8 คน) เจ้าหน้าที่จึงหามส่งโรงพยาบาลกันวุ่นวายโดยมี “นางสำลี” ติดร่างแหไปด้วยจึงทราบว่า “ตัวเอง” ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใดจะมีเจ็บก็เพียง ตอนทิ้งตัวลงหมอบกับพื้นตามเสียงตะโกนบอกเท่านั้นคือปรากฏ “รอยถลอก” ที่ฝ่ามือและหัวเข่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และจากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ชำนาญ “วัตถุระเบิด” จึงทราบว่าระเบิดที่ “คนร้าย” นำมาซุกไว้ใต้เบาะรถจักรยานยนต์แล้วทำการ “กดรีโมตคอนโทรล” ครั้งนี้มีน้ำหนักถึง “10 กิโลกรัม” และมีรัศมีการทำลายล้างถึง “50 เมตร” จากนั้นจึงนำ “นางสำลี” ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ “อำเภอรือเสาะ” พร้อมสอบสวนถึงช่วงที่เกิดเหตุเนื่องจาก “นางสำลี” เป็นผู้ที่ยืนอยู่ใกล้จุดเกิดระเบิดที่สุด แถมไม่ได้รับบาดเจ็บอีกด้วยและคำถามหนึ่งที่บรรดา “เจ้าหน้าที่ตำรวจ” ทำการถามก็คือมี “ของดี” อะไรจึงรอดจากการบาดเจ็บ “นางสำลี” จึงโชว์ “ของดี” ให้ดูปรากฏว่าเป็น “เหรียญรูปไข่กะไหล่ทองเหลืองอร่าม” โดยด้านหน้าเป็นรูป “หลวงปู่ทวดนั่งสมาธิเต็มองค์” ส่วนด้านหลังเป็นรูป “หลวงพ่อจำเนียนครึ่งองค์” ที่เรียกกันว่า “เหรียญกันภัย (รุ่น 1) สำนักสงฆ์ต้นเลียบ จ.สงขลา” ซึ่งนางสำลีแขวนไว้เพียงองค์เดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้นางสำลีจึงเชื่อมั่นว่าเป็นเพราะบารมีของ “หลวงปู่ทวด” และ “หลวงพ่อจำเนียน” คุ้มครองทำให้แคล้วคลาดจากระเบิดที่เกิดขึ้น

    อีกรายหนึ่งที่มีประสบการณ์จากเหรียญ “หลวงปู่ทวด” ที่ “หลวงพ่อจำเนียน” เป็นผู้สร้างไว้คือเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 “นายฐิติ ลัมพชวา” อายุ 15 ปี เรียนหนังสืออยู่ “ชั้น ป.4 โรงเรียนวัดบวรนิเวศ” โดยมีบ้านพักอยู่เลขที่ 79/27 ซึ่งเป็นบ้านพักในกรมพลาธิการทหารบก สนามบินน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี วันนั้นเดินทางไปเรียนหนังสือตามปกติด้วยการ “โดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา” ที่ “ท่าน้ำนนทบุรี” เมื่อเรือโดยสารมาถึง “นายฐิติ” ก็ลงเรือเฉกเช่นผู้โดยสารคนอื่น ๆ และตรงไปนั่งยัง “บริเวณท้ายเรือ” ใกล้ห้องเครื่องและขณะเรือเร่งเครื่องลอยลำออกจากท่าปรากฏว่ามี “เรือโดยสาร” อีกลำแล่นสวนทางมาเร็วมากพร้อมพุ่งเข้าชนเรือที่ “นายฐิติ” นั่งอยู่ตรงท้ายเรือแบบประสานงาเป็นผลให้ “นายฐิติ” กระเด็นตกน้ำทันทีซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ “นายฐิติ” ได้เล่าเหตุการณ์ให้เพื่อน ๆ ฟังว่า

    “เรือโดยสาร 2 ลำประสานงากันอย่างแรงเศษไม้ของเรือ แตกเป็นชิ้น ๆ กระเด็นใส่ผมเร็วมากตอนนั้นผมตกใจมาก เพราะไม่ได้ระวังตัวจึงกระเด็นลงในแม่น้ำแล้วจมลงไปทันที ระหว่างนั้นผมรู้สึกสำลักน้ำเพราะหายใจไม่ออก ได้แต่ตะเกียกตะกายช่วยตัวเองให้ขึ้นบนพื้นน้ำ ระหว่างนั้นก็เบิ่งตามองขึ้นไปบนผิวน้ำเลยเห็นมีอะไรดำ ๆ ลอยอยู่ ผมจึงใช้ขาถีบตัวทะลึ่งพรวดขึ้นบนผิวน้ำจึงทราบว่าที่เป็นเงาดำนั้นก็คือ “ห่วงยาง” ที่มีผู้โยนให้ตอนผมตกลงไปในน้ำ จากนั้นก็มีคนนำเชือกมาโยนให้และดึงเข้าฝั่งในที่สุด ผมว่ายน้ำไม่เป็นเลย ถ้าตอนนั้นไม่เห็นห่วงยางแล้ว หากผมจมไปครั้งที่สองก็คงสำลักน้ำขาดใจตายแน่ เพราะไม่เห็นมีใครว่ายน้ำมาช่วยเลยผมจึงมั่นใจว่าที่รอดมาได้ก็เพราะบารมี “หลวงปู่ทวด” ที่ผมห้อยคอเพียงองค์เดียวคือ “เหรียญรุ่นที่หลวงตาเนียน” สร้างไว้ที่สำนักสงฆ์ต้นเลียบซึ่งปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้ว”
    ขอขอบคุณบทความที่มาข้อมุลอย่างสูง
    เหรียญหลวงปู่ทวดหลังพ่อท่านเนียน วัดต้นเลียบ ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    พ่อท่านเนียร.JPG พ่อท่านเนียรหลัง.JPG
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,192
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู อุดรธานี

    ให้บูชา 70 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    ลป.ขาว.JPG ลป.ขาวหลัง.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...