เอธิโอเปียมิได้ยากจนเพราะตนเอง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย PalmPlamnaraks, 16 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px" vAlign=top width=650>เอธิโอเปียมิได้ยากจนเพราะตนเอง โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มติชนรายวัน วันที่ 4 ธันวาคม 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 9400


    ความยากจนข้นแค้น ของผู้คนในบางประเทศมายาวนาน มิได้เกิดจากความโง่ ความขี้เกียจ การไร้ทรัพยากรธรรมชาติ หากแต่มีสาเหตุเกี่ยวพันอย่างสำคัญกับการเมืองระหว่างประเทศที่ตนเองขาดอำนาจที่จะเข้าไปจัดการได้

    ประเทศหนึ่งของตัวอย่างนี้ก็คือ เอธิโอเปีย ประเทศที่คนไทยและชาวโลกนึกถึงกันในเรื่องความยากจน แต่ขาดการตระหนักอย่างแพร่หลายถึงสาเหตุสำคัญ หนึ่งที่ทำให้ต้องยากจนอยู่เช่นนี้

    เอธิโอเปียมีประชากร 67 ล้านคน มีรายได้ประมาณ 100 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี(ไทย 2,000 อินเดีย 400 เหรียญสหรัฐ) ซึ่งต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

    อายุขัยเฉลี่ยของประชากรคือ 42 ปี และประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อยู่ในสภาพขาดอาหาร

    เอธิโอเปียประสบภัยแล้ง และอาหารขาดแคลนรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า ภัยแล้งในปี 1984 ทำให้ประชากรเกือบ 1 ล้านคน ตายไปเพราะขาดอาหาร สงครามกับประเทศเพื่อนบ้านคือ Erotrea ที่เพิ่งสงบศึกไปใน ค.ศ.2000 ทำให้สูญเสียเงินทองไปกับการสู้รบมากมายอย่างน่าเสียดาย

    ในปี 2002 ประชากร 13 ล้านคน รอดชีวิตมาได้ด้วยอาหารบริจาค 17 ล้านตัน ส่วนหนึ่งมาจากการบริจาคเงินของสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

    และเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า

    สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ประเทศที่ถึงแม้จะมีแม่น้ำ Blue Nile ที่ยิ่งใหญ่ไหลผ่านระยะทางยาวถึง 900 กิโลเมตร ก็คือการเมืองของภูมิภาคกลุ่ม แม่น้ำไนล์ แม่น้ำ Blue Nile นี้เกิดจากการรวมตัวของแหล่งน้ำมากหมายจากบริเวณพื้นที่สูงของเอธิโอเปียทางฝั่งตะวันตกและเป็นน้ำของแม่น้ำไนล์ โดยมีส่วนร่วมถึงร้อยละ 85 ของปริมาตรน้ำในแม่น้ำไนล์ทั้งหมดซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของอียิปต์

    เอธิโอเปียตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ทิศใต้จดโซมาเลีย เคนยา ทิศเหนือมี Eritrea คั่นอยู่ก่อนถึงทะเลแดง ฝั่งตะวันตกติดกับซูดาน ซึ่งเหนือขึ้นไปจากซูดานอีกก็คืออียิปต์

    เมื่อแหล่งต้นน้ำในที่สูงของเอธิโอเปียไหลมารวมกันก็เกิดเป็นแม่น้ำ Blue Nile และไหลออกจากเอธิโอเปียด้านตะวันตก ข้ามพรมแดนไปยังซูดาน ไปรวมกับแม่น้ำ White Nile เกิดเป็นแม่น้ำไนล์ ไหลผ่านซูดาน ข้ามพรมแดนไปอียิปต์ ผ่านป่าเขา ทะเลทรายด้วยความยาวถึง 6,400 กิโลเมตร

    แม่น้ำไนล์ เป็นเส้นเลือดของหลายประเทศในบริเวณนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอียิปต์มานับพันปี ปัจจุบันลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นแหล่งชีวิตของประชากร 160 ล้านคน ในประเทศแอฟริกา 10 ประเทศ

    คนเหล่านี้ได้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์มากมาย แต่สำหรับเอธิโอเปียเองที่เป็นแหล่งต้นแม่น้ำไนล์นั้น ได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์

    ในการเมืองของภูมิภาค อียิปต์ผู้อยู่ท้ายน้ำแต่มีอิทธิพลเหนือเอธิโอเปีย เพราะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญของตะวันออกกลาง (เพียงข้ามทะเลแดง ก็เป็นซาอุดีอาระเบีย แหล่งน้ำมันใหญ่ของโลกและอยู่ติดกับอิสราเอล) มีประชากร 70 ล้านคน ที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงกว่าเอธิโอเปียมากมาย ผู้นำประเทศใหญ่ของโลก องค์กรให้เงินกู้และเพื่อพัฒนาต่างๆ ของโลก ไม่กล้าสนับสนุนโครงการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าหรือเขื่อนชลประทานในดินแดนต้นน้ำเช่นเอธิโอเปีย เพราะกลัวว่าจะไปกระทบปริมาณการไหลของน้ำในแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นจิตและวิญญาณของอียิปต์ และอาจก่อให้เกิดการไร้เสถียรภาพของภูมิภาคขึ้นได้ หากเกษตรกรอาหรับในแถบลุ่มน้ำนี้เดือดร้อน

    ในทางตรงกันข้าม ผู้นำและองค์กรเหล่านี้ได้ให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนอียิปต์พัฒนาเขื่อนใหญ่ คือเขื่อน Aswan และสร้างเครือข่ายคลองส่งน้ำอย่างกว้างขวาง เพื่อนำน้ำไปสู่ทะเลทรายที่ห่างไกลออกไป พร้อมกับละเลยเอธิโอเปีย เจ้าของต้นน้ำ

    สถานการณ์เช่นนี้เป็นมายาวนาน มีการเกรงว่าหากไปแตะต้องแม่น้ำ Blue Nile ของเอธิโอเปียอาจก่อให้เกิดแรงต่อต้านจากอียิปต์ เพราะน้ำเป็นสิ่งมีค่ายิ่งในบริเวณพื้นที่ฝนแล้งเป็นภาวะปกติ

    สงคราม การเมือง แย่งน้ำในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นที่ทราบกันดี สงครามหลายครั้ง หลายหน รวมทั้งการก่อการรัาย เป็นผลพวงจากการแย่งชิงทรัพยากรอันมีค่านี้ทั้งสิ้น ลุ่มน้ำนี้ถึงแม้จะมีความชุ่มชื้นพอควร แต่ก็เป็นบริเวณที่ยากจนสุดสุด แห่งหนึ่งของโลก มีปัญหาขาดแคลนอาหารและการพังทลายของดินสูง ปัจจุบันมีประชากรอยู่ประมาณ 160 ล้านคนในบริเวณนี้ และคาดว่าจะเพิ่มอีกหนึ่งเท่าตัวในเวลา 25 ปี

    ในปัจจุบันอียิปต์ซึ่งเคยขัดขวางการสร้างเขื่อนกักน้ำผลิตไฟฟ้าหรือชลประทานของเอธิโอเปียมาโดยตลอด เพราะกลัวว่าจะกระทบปลายน้ำในแม่น้ำไนล์ เริ่มมีทีท่าเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ทั้งนี้ เพราะเอธิโอเปียสร้างแรงกดดันมากขึ้นในการหาประโยชน์จากน้ำของตนเอง และต้องการสกัดกั้นการไหลของตะกอนดินที่ไปจาก Blue Nile เนื่องจากการพังทลายของดินขนาดหนักจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเขื่อนใหญ่ Aswan ได้

    การเกิดขึ้นของโครงการ Koga River ในเอธิโอเปีย เพื่อจัดการเรื่องน้ำให้เป็นประโยชน์ต่อดินแดนเจ้าของน้ำมากขึ้น คาดว่าจะทำให้เกิดเขตชลประทานเพิ่มขึ้น 4,000 เฮกเตอร์(25,000 ไร่) และทำให้น้ำถูกผันออกไปเพียง หนึ่งในสิบของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำใน Blue Nile ที่จะไหลไปรวมเป็นแม่น้ำไนล์เท่านั้น

    เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ชลประทานระหว่างอียิปต์ผู้หวงน้ำที่ไหลมาจากดินแดนเอธิโอเปีย กับเอธิโอเปียเจ้าของต้นน้ำก็จะสลดใจ ในขณะที่อียิปต์มีเขื่อนและคลองส่งน้ำยาวนับเป็นพันกิโลเมตร ช่วยให้มีพื้นที่ชลประทานฯ 3.2 ล้านเฮกเตอร์(20 ล้านไร่) เอธิโอเปียมีพื้นที่ชลประทานต่ำกว่า 200,000 เฮกเตอร์(1.25 ล้านไร่) ในขณะที่ทั้งสองประเทศมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกัน

    ในขณะที่คนอียิปต์ ในพื้นที่ชลประทานสามารถปลูกพืชผักผลไม้ได้ถึง 2-3 ครั้งต่อปี คนเอธิโอเปียส่วนใหญ่ ต้องพึ่งพาน้ำฝน ที่มีความไม่แน่นอน จนปลูกพืชได้ เพียงหนึ่งครั้งต่อปี ถึงแม้จะมีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านเป็นระยะทางยาวไกลก็ตามทีตราบที่ไม่มีเขื่อนไว้กักน้ำ

    การขาดแคลนทุนของตนเอง ความแห้งแล้ง การขาดความสนใจจากการเมืองโลกและองค์กรกู้ยืมของโลก ทำให้เอธิโอเปียยากจนข้นแค้น ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ คนเอธิโอเปียถามคำถามที่ตอบได้ยากว่า ทำไมองค์กรพัฒนาโลกไม่เอาเงินบริจาคปีละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ มารวมกัน สร้างเขื่อนชลประทานหรือผลิตไฟฟ้า ให้แก่คนเอธิโอเปียแทน

    เอธิโอเปีย ประมาณการว่า ถึงแม้ปัจจุบันจะผลิตไฟฟ้าได้ต่ำกว่าปีละ 500 เมกะวัตต์ ให้บริการประชาชนได้เพียงร้อยละ 10 แต่โดยแท้จริงแล้วมีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ 15,000 เมกะวัตต์ และสร้างพื้นที่ชลประทานได้ถึง 3.6 ล้านเฮกเตอร์(22.5 ล้านไร่) ถ้าได้รับความร่วมมือ และช่วยเหลืออย่างจริงจัง

    ความลำบากยากแค้นของคนเอธิโอเปียมีให้เห็นทุกวันในอาดิสอะบาบา เมืองหลวง ในตอนเย็นทุกวันจะลาคร่ำด้วยผู้หญิงประมาณ 15,000 คน แบกกิ่งไม้และฟืนหนักคนละ 30-45 กิโลกรัม เดินลงจากเขามา 15 กิโลเมตร เพื่อเอามาขายในราคา 70 เซนต์ของเหรียญสหรัฐ(28 บาท)ต่อหนึ่งกองที่เธอแบกมา เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนสำหรับหุงหาอาหาร

    นับแต่ฟาโรห์ สร้างพิระมิดขนาบแม่น้ำไนล์จนถึงปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าน้ำในแม่น้ำไนล์เป็นของตนที่ใครจะละเมิดมิได้ ในยุคอาณานิคม ชาวยุโรปผู้ปกครองได้มีสนธิสัญญา แบ่งปันน้ำกันใช้ในเขตแม่น้ำไนล์ตอนล่างระหว่างอียิปต์ และซูดาน โดยมิได้เคยเอาเอธิโอเปียผู้เป็นต้นน้ำเข้าไปรวมด้วยเลย แต่ก็บังคับด้วยอำนาจโดยตรงและโดยอ้อม มิให้เอธิโอเปียกระทำการอย่างใด ที่จะขัดขวางมิให้มีน้ำให้ไหลต่อไปลงแม่น้ำไนล์

    กรณีการสร้างเขื่อนของจีนหลายสิบเขื่อนพ้นน้ำออกไปจากแม่น้ำล้านช้าง ซึ่งเป็นส่วนต้นของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับกรณีของเอธิโอเปีย ในกรณีนี้ผู้กระทำกับต้นน้ำมีอำนาจมากจนผู้ใช้น้ำตอนล่าง คือแม่น้ำโขง ไม่กล้าหือ

    ส่วนกรณีของเอธิโอเปียนั้นผู้ใช้น้ำตอนปลายคืออียิปต์ มีอิทธิพลเหนือเจ้าของต้นน้ำ โดยมีข้อได้เปรียบในเรื่องสถานที่ตั้งและการเมืองระหว่างประเทศ เป็นแรงสนับสนุน

    โดยทั้งหมดนี้เป็นพลังซ้ำเติม ให้เอธิโอเปียซึ่งยากเข็ญอยู่แล้ว เพราะความแห้งแล้ง และสารพัดปัญหา ต้องตกอยู่ในสภาพอดอยากและยากจนยิ่งขึ้นอย่างน่าเวทนา



    :)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
  3. Des

    Des เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,264
    ค่าพลัง:
    +303
    ความเห็นแก่ตัวไม่เข้าใครออกใคร ... น่าสงสารคนในเอธิโอเปีย
     
  4. เจ้าโก้

    เจ้าโก้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,221
    ค่าพลัง:
    +939
    อือ แม่น้ำโขงไทย-ลาว ของเราก็แห้งแล้วเหมือนกัน เดินข้ามได้เลยล่ะ
     
  5. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...